*********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
CyclingSyndrome
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 540
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 15:22
ตำแหน่ง: 232/5 ม.8 อ.ผาขาว จ.เลย

*********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย CyclingSyndrome »

บทความที่ผมพิมพ์ขึ้นมานี้(เยอะมาก)มาจากหนังสือ Sport Street Vol.172 ครับ ขอหยิบยืมมาเผยแผ่ในวงการนี้ด้วยนะครับ ถ้ากระทู้ไม่เหมาะสมก็ลบได้เลยนะครับ.....ขอบคุณครับ(พิมพ์ตกหล่นที่ไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ)

ทันที่ที่เกิดกรณีอื้อฉาวระหว่างแลนซ์ อาร์มสตรองกับสำนักต่อต้านการใช้สารกระตุ้นแห่งสหรัฐ์ (USADA) ชื่ออีกชื่อหนึ่งประกอบด้วยภาษาอังกฤษ 3 ตัวปรากฏขึ้น มันถูกกว่าวขานมานานแล้วไม่ใช่เพิ่งมามีในคดีดังนี้เพราะนักจักรยานรู้จักและใช้มันมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 เพื่อเพิ่มสมรรถนะของตนเองเพื่อให้สามารถทนต่อความเจ็บปวด มีพละกำลังขี่จักรยานได้มากกว่าปกติ เหน็ดเหนื่อยช้าลง สำหรับการแข่งจักรยานทางไกลระดับแกรนด์ ทัวร์ ซึ่งต้องแข่งเป็นสเตจ (ช่วง) กินระยะทางช่วงล่ะ 100 กว่าถึง 200 กม.ทุกวันนานสิบวันติดกัน เว้นให้พักผ่อนเพื่องวันเดียวก่อนจะขับเคี่ยวกันต่อทั้งแบบทางเรียบและขึ้นเขาอีกสิบกว่าวัน ซืื่อสำคัญนี้คือ EPO ย่อมาจากชื่อเต็ม Erythropoietin (อะริโธรโพอิทีน)
อีพีโอ นี้แท้จริงแล้วคือฮอร์โมนตามธรรมชาติซึ่งมีในตัวเราทุกคน มันถูกผลิตขึ้นจากเซลของไตเพื่อนทำหน้าที่เป็นตัวเซ็นเซอร์ที่ไวมากๆต่อระดับของออกซิเจนในเลือดที่หมุนเวียนผ่านไต จะตรวจจับระดับออกซิเจนไปทำไหม? คำตอบคือเมื่อระดับออกซิเจนที่ผ่านไตลดลงไม่ว่าจะเพราะออกกำลังกายหนัก หรืออยู่ในที่สูงมากๆจนออกซิเจนเบาบางบนยอดเขาสูง เซลไตจะปลดปล่อยฮอร์โมนอีพีโอนี้ออกสู่กระแสเลือด หลังจากถูกปลดปล่อยออกมาแล้วอีพีโอจะไปกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเซลเม็ดเลือดแดงมากขึ้น เพื่อ.....ให้ไปจับออกซิเจนให้มากขึ้นนันเอง
ในทางการแพทย์ อีพีโอในปริมาณพอเหมาะถูกใช้เพื่อรักษาอาการโลหิตจาง (ซึ่งในหลายกรณีที่เกิดจากไตผิดปกติเรื้อรัง) ด้วยเหตุผลที่ว่ามันสามารถกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเซลเม็ดเลือดแดงได้มากเพื่อเพิ่มปริมาณการดักจับออกซิเจน ก็หมายความว่าใครมีเซลเม็ดเลือดแดงมากกว่าก็ย่อมมีออกซิเจนในกระแสเลือดและที่สุดคือในกล้ามเนื้อ "มากกว่า" การออกกำลังกายโดยออกซิเจนลดลงน้อยหรือลดลงได้เท่ากันแต่ใช้เวลายาวนานกว่าหมายความว่ากล้ามเนื้อคงทนต่อสภาวะหนักหน่วงได้มากและนานกว่า เพราะเมื่อกล้ามเนื้อยังมีออกซิเจนในเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ ร่างกายก็จะผลิตกรดแลคติคซึ่งเป็นตัวการแห่งอาการปวดเมื้อยกล้ามเนื้อออกมาน้อยนั้นเอง กล้ามเนื้อที่ไม่เจ็บปวดย่อมทำงานได้หนักและยาวนาน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ EPO คือสารที่ใช้กระตุ้นได้แทบจะเนียนที่สุดในปัจจุบัน
เพราะถึงไม่มีอีพีโอสังเคราะห์ร่างกายเราก็สร้างขึ้นมาเองอยู่แล้ว แต่เมื่ออีพีโอในธรรมชาติไม่มากพอที่จะตอบสนองความต้องการด้านกีฬาประเภทอดทนได้จึงต้องมีกรรมวิธีเพื่อเพิ่มมันให้สูงกว่าระดับปกติ ที่ง่ายที่สุดคือฉีดเข้าไปตรงๆ รองลงมาคือการโด๊บเลือดตัวเอง ด้วยการดูดเลือดออกไปปริมาณหนึ่งแล้วเก็บไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด 3 สัปดาห์ ให้ร่างกายสร้างเซลเม็ดเลือดแดงขึ้นทดแทนในช่วงนั้นแล้วจึงรับเลือดที่ดูดเก็บใว้กลับเข้าไป ซึ่งจะทำให้ปริมาณเซลเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เสมือนอีพีโอธรรมชาติไปกระตุ้น มักจะทำกันก่อนการแข่งขันรายการใหญ่ๆแต่เป็นวิธีที่ถือว่าผิดกฏหมาย ไม่ใช่เพราะเป็นการเอาเปรียบคู่ต่อสู้แต่เพราะมันอันตราย การมีเซลเม็ดเลือดมากเกินทำให้เลือดข้นจนเป็นลิ่ม แล้วหากลิ่มนี้ไปไหลอุดตันก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นเมื่อเลือดเข้าสู่หัวใจอุดตันก็จะทำให้หัวใจวายได้
นี้เป็นเพื่ยงส่วนหนึ่งของบทความคอลัม จักรยาน..ชีวิต..ชัยชนะ ในหนังสือ สปอตร์ สตรีท ผมอยากพิมพ์ให้ท่านผู้ที่ไม่รู้รึผู้ที่รู้แล้วแต่ยังไม่เข้าใจถึงอันตรายของสารตัวนี้ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ส่วนตัวอยากพิมพ์คอลัมนี้ให้จบครับ ใว้ถ้า ADMIN อนุมัติแล้วผมจะมาพิมพ์ต่อให้จบนะครับ ขอบคุณที่อ่าน ขอบคุณครับ
https://www.facebook.com/CyclingSyndrome
รูปประจำตัวสมาชิก
CyclingSyndrome
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 540
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 15:22
ตำแหน่ง: 232/5 ม.8 อ.ผาขาว จ.เลย

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย CyclingSyndrome »

:)
https://www.facebook.com/CyclingSyndrome
รูปประจำตัวสมาชิก
dinsodum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2659
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 09:37
Tel: 0923936424
team: พิชเชอร์แมน วัดดงน้อย
ตำแหน่ง: *7/8 หมู่ 13 ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย dinsodum »

ปักไว้ติดตามครับผม
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=397&t=412895
รูปประจำตัวสมาชิก
swasin185
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 247
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2011, 18:54
Bike: CANYON AEROAD
ตำแหน่ง: ภูเก็ต

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย swasin185 »

ติดตามอ่าน
รูปประจำตัวสมาชิก
bigoads
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 463
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2012, 00:52
Bike: Trek Domane 5.2

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย bigoads »

Follow
รับถ่ายภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง โฆษณา ไวรัล พรีเซนต์ รายการ
โทร 0949635695,0983636935 ไลน์ BIGOAD56
https://www.facebook.com/oatsurachet.khemtrong
รูปประจำตัวสมาชิก
Frogman_twin
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5682
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 19:32
team: KCC, DEEP TEAM
Bike: Klein

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย Frogman_twin »

:P
ไม่ต้องประสบความสำเร็จทุกอย่าง แต่สิ่งที่เลือกทำขอให้ทำให้เต็มที่น๊ะลูก
รูปประจำตัวสมาชิก
nbt
Site Admin
Site Admin
โพสต์: 2713
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 23:44
Tel: 0882160166
team: thaimtb , osk
Bike: Trek Procaliber, Bianchi OrtheXR2 , cBroadman CX , Canyon Enduro
ติดต่อ:

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย nbt »

ขอบคุณมากครับที่กรุณาพิมพ์เพื่อเพื่อนๆ แต่ว่าบทความนี้นำมาจากวารสารเดือนตุลาคมเล่มล่าสุด คงไม่ดีแน่ เดี๋ยวทางวารสารจะมาว่าเอาได้ว่าทำให้คนไม่ไปซื้ออ่าน เคยคุยกันว่าเนื้อหาในเวบก็สามารถแบ่งปันไปลงวารสารได้ ถ้าเป็นบทความเฉพาะในเล่มเก่าๆก็อาจจะพอนำมาอ้างอิงลงในเวบได้บ้างครับ สรุปว่าตอนนี้ของดก่อนนะครับ ใครสนใจฉบับเต็มช่วยไปอ่านจากวารสารก่อนนะครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
CyclingSyndrome
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 540
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 15:22
ตำแหน่ง: 232/5 ม.8 อ.ผาขาว จ.เลย

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย CyclingSyndrome »

nbt เขียน:ขอบคุณมากครับที่กรุณาพิมพ์เพื่อเพื่อนๆ แต่ว่าบทความนี้นำมาจากวารสารเดือนตุลาคมเล่มล่าสุด คงไม่ดีแน่ เดี๋ยวทางวารสารจะมาว่าเอาได้ว่าทำให้คนไม่ไปซื้ออ่าน เคยคุยกันว่าเนื้อหาในเวบก็สามารถแบ่งปันไปลงวารสารได้ ถ้าเป็นบทความเฉพาะในเล่มเก่าๆก็อาจจะพอนำมาอ้างอิงลงในเวบได้บ้างครับ สรุปว่าตอนนี้ของดก่อนนะครับ ใครสนใจฉบับเต็มช่วยไปอ่านจากวารสารก่อนนะครับ
รับทราบแล้วครับ :) ใว้จะแจ้งเข้าไปอีกรอบนะครับว่าจะให้พิมพ์ต่อได้เมื่อไรขอบคุณมากครับ
https://www.facebook.com/CyclingSyndrome
รูปประจำตัวสมาชิก
aekiji
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1635
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ม.ค. 2012, 13:26
team: ไม่มี
Bike: TREK 3900 Black

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย aekiji »

ขอบคุณมากครับ :lol: :lol: :lol:
Prahp
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 25
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 15:50
Tel: 091-1150271
team: -
Bike: spalding woodstock

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย Prahp »

อ่านแล้วกลัวแทน อันตรายเกินไป อยากชนะขนาดไหนผมก็ไม่เสี่ยงทำอะไรแบบนี้เด็ดขาด ไม่คุ้ม
รูปประจำตัวสมาชิก
CyclingSyndrome
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 540
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 15:22
ตำแหน่ง: 232/5 ม.8 อ.ผาขาว จ.เลย

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย CyclingSyndrome »

เดียวมาพิมพ์ต่อให้จบครับ อันตรายยิ่งกว่านี้อีกครับ รอ admin อนุญาติอีกแปปครับ
https://www.facebook.com/CyclingSyndrome
รูปประจำตัวสมาชิก
pLEK
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 223
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2012, 09:34
Bike: Trek850 MTB, Giant HalfWay, Brompton M6R

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย pLEK »

ต่อๆ :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
JADE555
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 7878
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 06:31
Tel: อยากรู้ให้โทรมาถาม (- -")
team: CARBON ASS!!!
Bike: เหล็กมาร

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย JADE555 »

สงสัยว่าเลือดข้นๆ ทำให้ขาดน้ำไวขึ้นเปล่าหนอ
ปั่นต่อไป จนกว่าตูดจะไหม้เป็นเถ้าถ่าน CARBON ASS TEAM

เฟรมบุบกลาง ยางก็แบน แฮนด์ก็หลุด
โซ่สะดุด ล้อสะบัด เฟืองก็แหลม
ยางนอกโล้น ขอบล้อแตก ยางในแพลม
สนิมแจม ลูกปืนร้าว รองเท้าพัง!!
รูปประจำตัวสมาชิก
ojt
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 11:44
Bike: khs f20-t3

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย ojt »

ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
wichanan
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 119
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ส.ค. 2012, 15:31
Bike: specailize
ติดต่อ:

Re: *********--การใช้สารกระตุ้น EPO--***********

โพสต์ โดย wichanan »

มีหลายตัว เคยอ่านพบ มี insulin ด้วย
.
.
ไวอะกร้าก็ช่วยไม่ได้ถ้าท่านไม่ออกกำลังกาย
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”