????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ วันนี้เป็นวันลอยกระทง ผมขอส่งความสุข ความสมหวังในชีวิตมายังท่านผู้มีเกียรติและญาติธรรมที่เคารพทุกท่าน ขอให้สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ นานา ตลอดจนสิ่งไม่ดีทั้งหลายทั้งปวงจงลอยไปกับ "กระทง" ที่ทุกท่านจะได้ปล่อยลอยไปในสายน้ำ ฝากพระแม่คงคาพาไปให้ไกลสุดกู่ อย่าได้หวนทวนกลับมาอีก และนับแต่นี้ต่อไปขอความดีทั้งหลาย จงทวนหวนกลับคืนมายังดวงจิตดวงใจ ดวงวิญญาณที่ยังมีลมหายใจนี้ ขอให้ดวงจิตดวงใจดวงวิญญาณดวงนี้ จงพบแต่สิ่งมงคลสมบูรณ์พูลผลด้วย "วิชาและจรณะ" อันมุ่งสู่ความสุขที่แท้จริงคือ "ความพ้นทุกข์" จงทุกท่านทุกคนเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ :) :D

:D :D รำวงลอยกระทง - สุนทราภรณ์ 【LYRIC VIDEO】 :) :)

:o :o สวัสดียามสาย ๆ ของวันลอยกระทง วันนี้เป็นวันแรกที่ผมและคุณนายเริ่มจับจักรยานทดสอบ(ลองปั่น) ครั้งแรกคุณนายไม่อยากให้ฝืน ขอรอให้ครบอย่างน้อยสัก ๒ เดือน (เหลือเวลาอีกแค่อาทิตย์เดียวจะครบ ๒ เดือนครับ) ผมให้เหตุผลว่าสังเกตุอาการแล้ว "OK..sure !!" ขืนนั่ง ๆ นอน ๆ รอเวลาผมไม่ไหวแล้วจริง ๆ "เบื่อครับ" อีกอย่างเราก็แค่ปั่นไปเก็บภาพเพื่อนำมาเล่าเรื่องต่อ เป็นการยืดเส้นยืดสายและออกกำลังเบา ๆ ไม่น่ามีปัญหา "คุณนายยอมครับ ๕๕" จากนี้ไปผมก็มีกิจกรรมหายเบื่อ-หายเหงา และจะพยายามเก็บภาพมาเล่าสู่กันฟังเป็นความรู้ อย่าลืมติดตามเป็นกำลังใจเหมือนเดิมนะครับ :) :)
ไฟล์แนบ
อำเภอสารภี (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)<br /><br />สารภี (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทุก ๆ ด้านจนเป็นอำเภอขนาดใหญ่ในแง่สถานประกอบการและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ของจังหวัด ได้รับประโยชน์มาจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ปัจจุบันอำเภอสารภีถือได้ว่ามีการพัฒนาจนสภาพความเจริญเป็นเขตเมืองที่เชื่อมต่อกับนครเชียงใหม่ มีประชากรหนาแน่นรองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเป็นอำเภอที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่เพื่อขยายไปยังเมืองลำพูน<br /><br />อำเภอสารภีเป็นอำเภอที่มีพื้นที่เล็กที่สุดและเป็นเพียงอำเภอเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่ไม่มีภูเขา นอกจากนี้อำเภอสารภียังมีจุดเด่น คือ ถนนสายต้นยางซึ่งมีอายุกว่าร้อยปีเรียงรายตลอดสองข้างทาง มีความยาวเริ่มตั้งแต่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ไปจรดเขตอำเภอเมืองลำพูน<br /><br />อำเภอสารภีเดิมชื่อ อำเภอยางเนิ้ง ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2434 เหตุที่ใช้ชื่อว่าอำเภอยางเนิ้งเพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง คำว่า &quot;ยาง&quot; หมายถึง ต้นยางนา ส่วนคำว่า &quot;เนิ้ง&quot; มาจากภาษาถิ่น หมายถึง &quot;เอน, โน้มเอียง&quot; เพราะเดิมเป็นป่ายาง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยราษฎรได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร นายอำเภอในสมัยนั้น เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เนื่องจากไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น &quot;อำเภอสารภี&quot; ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ โดย &quot;สารภี&quot; เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอม มีอายุยืน พบขึ้นมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี และที่อื่น ๆ บริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันเดิมเป็นที่ตั้งของวัดร้างชื่อ วัดเชียงยืน มีกำแพงล้อมรอบ เรียกชุมชนว่า เวียงหมาก สันนิษฐานว่าเป็นเวียงชั้นนอกของเวียงกุมกาม<br /><br />ในช่วงแรกอำเภอสารภีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล ต่อมาได้รับการโอนตำบลขัวมุงและตำบลสันทราย อำเภอหางดง มาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสารภี จึงรวมเป็น 12 ตำบล<br /><br />อำเภอสารภีตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้<br /><br />-ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองเชียงใหม่<br />-ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสันกำแพง<br />-ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน (จังหวัดลำพูน) และอำเภอหางดง<br />-ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหางดงและอำเภอเมืองเชียงใหม่<br /><br />ท้องที่อำเภอสารภีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่<br /><br />1.เทศบาลตำบลยางเนิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางเนิ้งทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลสารภีและตำบลหนองผึ้ง<br />2.เทศบาลตำบลสารภี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสารภี (นอกเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง)<br />3.เทศบาลตำบลชมภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมภูทั้งตำบล<br />4.เทศบาลตำบลหนองผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผึ้ง (นอกเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง)<br />5.เทศบาลตำบลสันทรายมหาวงศ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายทั้งตำบล<br />6.เทศบาลตำบลไชยสถาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยสถานทั้งตำบล<br />7.เทศบาลตำบลหนองแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแฝกทั้งตำบล<br />8.เทศบาลตำบลท่ากว้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากว้างทั้งตำบล<br />9.เทศบาลตำบลท่าวังตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวังตาลทั้งตำบล<br />10.เทศบาลตำบลขัวมุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวมุงทั้งตำบล<br />11.เทศบาลตำบลดอนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแก้วทั้งตำบล<br />12.เทศบาลตำบลป่าบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าบงทั้งตำบล
อำเภอสารภี (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

สารภี (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทุก ๆ ด้านจนเป็นอำเภอขนาดใหญ่ในแง่สถานประกอบการและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ของจังหวัด ได้รับประโยชน์มาจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ปัจจุบันอำเภอสารภีถือได้ว่ามีการพัฒนาจนสภาพความเจริญเป็นเขตเมืองที่เชื่อมต่อกับนครเชียงใหม่ มีประชากรหนาแน่นรองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเป็นอำเภอที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่เพื่อขยายไปยังเมืองลำพูน

อำเภอสารภีเป็นอำเภอที่มีพื้นที่เล็กที่สุดและเป็นเพียงอำเภอเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่ไม่มีภูเขา นอกจากนี้อำเภอสารภียังมีจุดเด่น คือ ถนนสายต้นยางซึ่งมีอายุกว่าร้อยปีเรียงรายตลอดสองข้างทาง มีความยาวเริ่มตั้งแต่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ไปจรดเขตอำเภอเมืองลำพูน

อำเภอสารภีเดิมชื่อ อำเภอยางเนิ้ง ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2434 เหตุที่ใช้ชื่อว่าอำเภอยางเนิ้งเพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง คำว่า "ยาง" หมายถึง ต้นยางนา ส่วนคำว่า "เนิ้ง" มาจากภาษาถิ่น หมายถึง "เอน, โน้มเอียง" เพราะเดิมเป็นป่ายาง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยราษฎรได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร นายอำเภอในสมัยนั้น เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เนื่องจากไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสารภี" ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ โดย "สารภี" เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอม มีอายุยืน พบขึ้นมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี และที่อื่น ๆ บริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันเดิมเป็นที่ตั้งของวัดร้างชื่อ วัดเชียงยืน มีกำแพงล้อมรอบ เรียกชุมชนว่า เวียงหมาก สันนิษฐานว่าเป็นเวียงชั้นนอกของเวียงกุมกาม

ในช่วงแรกอำเภอสารภีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล ต่อมาได้รับการโอนตำบลขัวมุงและตำบลสันทราย อำเภอหางดง มาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสารภี จึงรวมเป็น 12 ตำบล

อำเภอสารภีตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

-ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองเชียงใหม่
-ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสันกำแพง
-ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน (จังหวัดลำพูน) และอำเภอหางดง
-ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหางดงและอำเภอเมืองเชียงใหม่

ท้องที่อำเภอสารภีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

1.เทศบาลตำบลยางเนิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางเนิ้งทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลสารภีและตำบลหนองผึ้ง
2.เทศบาลตำบลสารภี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสารภี (นอกเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง)
3.เทศบาลตำบลชมภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมภูทั้งตำบล
4.เทศบาลตำบลหนองผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผึ้ง (นอกเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง)
5.เทศบาลตำบลสันทรายมหาวงศ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายทั้งตำบล
6.เทศบาลตำบลไชยสถาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยสถานทั้งตำบล
7.เทศบาลตำบลหนองแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแฝกทั้งตำบล
8.เทศบาลตำบลท่ากว้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากว้างทั้งตำบล
9.เทศบาลตำบลท่าวังตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวังตาลทั้งตำบล
10.เทศบาลตำบลขัวมุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวมุงทั้งตำบล
11.เทศบาลตำบลดอนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแก้วทั้งตำบล
12.เทศบาลตำบลป่าบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าบงทั้งตำบล
สารภี ๑๒.jpg (90.66 KiB) เข้าดูแล้ว 1143 ครั้ง
จากนี้ไปผมจะพาท่องเที่ยวเจาะเฉพาะเส้นทางถนนวัฒนธรรมนะครับ ตลอดเส้นทางถนนวัฒนธรรมจะมีอยู่ ๓ ตำบล ได้แก่ ต.สารภี ต.ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง <br /><br />ต.สารภี คือสถานที่ผมและคุณนายอยู่อาศัย หมู่บ้านของเราคือ หมู่บ้านปากกอง หมู่ที่ ๑๐ ครับ สำหรับคุณนายแล้วเป็นคนสารภีเติบโตและเรียนที่ รร.ปากกอง และ รร.มัธยมสารภี จนไปจบ ป.ตรีที่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ส่วนผมเป็นคนในเมือง บ.ประตูช้างเผือก มาเป็นเขยบ้านปากกองเรียกว่าครึ่งชีวิตแล้วครับ ๕๕๕๕
จากนี้ไปผมจะพาท่องเที่ยวเจาะเฉพาะเส้นทางถนนวัฒนธรรมนะครับ ตลอดเส้นทางถนนวัฒนธรรมจะมีอยู่ ๓ ตำบล ได้แก่ ต.สารภี ต.ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง

ต.สารภี คือสถานที่ผมและคุณนายอยู่อาศัย หมู่บ้านของเราคือ หมู่บ้านปากกอง หมู่ที่ ๑๐ ครับ สำหรับคุณนายแล้วเป็นคนสารภีเติบโตและเรียนที่ รร.ปากกอง และ รร.มัธยมสารภี จนไปจบ ป.ตรีที่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ส่วนผมเป็นคนในเมือง บ.ประตูช้างเผือก มาเป็นเขยบ้านปากกองเรียกว่าครึ่งชีวิตแล้วครับ ๕๕๕๕
536926_0.jpg (26.02 KiB) เข้าดูแล้ว 1143 ครั้ง
เช้านี้ปั่นในเส้นทางถนนวัฒนธรรม ชิว ๆ ๗ กม.สังเกตุอาการพอไปได้ ยามที่เรานั่งบนอานเริ่มปั่น &quot;สันดานเดิม&quot; คือตั้งใจปั่นนั่นคือการกดเท้า ต้องใช้สติกำกับไม่ให้หลงลืมตัว ผ่อนไปเบา ๆ และคอยจับอาการ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปด้วย ดีครับ &quot;สติมา - ปัญญาเกิด&quot; เรียกว่าปั่นด้วย &quot;สติ สมาธิ ปัญญา จริง ๆ &quot;
เช้านี้ปั่นในเส้นทางถนนวัฒนธรรม ชิว ๆ ๗ กม.สังเกตุอาการพอไปได้ ยามที่เรานั่งบนอานเริ่มปั่น "สันดานเดิม" คือตั้งใจปั่นนั่นคือการกดเท้า ต้องใช้สติกำกับไม่ให้หลงลืมตัว ผ่อนไปเบา ๆ และคอยจับอาการ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปด้วย ดีครับ "สติมา - ปัญญาเกิด" เรียกว่าปั่นด้วย "สติ สมาธิ ปัญญา จริง ๆ "
สารภี ๙.jpg (104.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1143 ครั้ง
สารภี ๑๐.jpg
สารภี ๑๐.jpg (186.08 KiB) เข้าดูแล้ว 1143 ครั้ง
สารภี ๑๑.jpg
สารภี ๑๑.jpg (163.96 KiB) เข้าดูแล้ว 1143 ครั้ง
เลขวันที่ผิดครับต้องวันนี้ 27 Nov.23 ครับ
เลขวันที่ผิดครับต้องวันนี้ 27 Nov.23 ครับ
17 otb 23 (76).jpg (111.05 KiB) เข้าดูแล้ว 1143 ครั้ง
ต้องขออภัยเลขที่ระบุวันที่ว่า 17 Otb 23 ความจริงไม่ใช่ครับเป็นภาพสด ๆ วันนี้ 27 Nov.23 เมื่อเช้านี้ครับ ตอนนำภาพมาลง บันทึกวันที่ พ.ศ.ผิด ไม่ทราบคิดอะไร คาดว่า &quot;โรคชรา มาเยือนจริง ๆ แล้ว&quot; พอตรวจสอบอีกครั้งตกใจแก้ไขไม่ได้ต้องไปแก้ในไฟล์รูปภาพ ซึ่งแก้ไขแล้วส่วนภาพที่นำมาลงแก้ไม่ได้ ต้องปล่อยตามเลย  กราบขออภัยด้วยครับ
ต้องขออภัยเลขที่ระบุวันที่ว่า 17 Otb 23 ความจริงไม่ใช่ครับเป็นภาพสด ๆ วันนี้ 27 Nov.23 เมื่อเช้านี้ครับ ตอนนำภาพมาลง บันทึกวันที่ พ.ศ.ผิด ไม่ทราบคิดอะไร คาดว่า "โรคชรา มาเยือนจริง ๆ แล้ว" พอตรวจสอบอีกครั้งตกใจแก้ไขไม่ได้ต้องไปแก้ในไฟล์รูปภาพ ซึ่งแก้ไขแล้วส่วนภาพที่นำมาลงแก้ไม่ได้ ต้องปล่อยตามเลย กราบขออภัยด้วยครับ
เราไปเริ่มกันที่ ศาลหลักเมืองกันเลย นะครับ ศาลหลักเมืองนี้เป็นจุดแบ่งแดนระหว่าง เชียงใหม่ - ลำพูน ชาวบ้านเรียกกันว่า &quot;แดนเมือง&quot; ครับ
เราไปเริ่มกันที่ ศาลหลักเมืองกันเลย นะครับ ศาลหลักเมืองนี้เป็นจุดแบ่งแดนระหว่าง เชียงใหม่ - ลำพูน ชาวบ้านเรียกกันว่า "แดนเมือง" ครับ
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 27 พ.ย. 2023, 19:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »


:idea: :idea: นำชมเสาแดนเมืองหรือศาลหลักเมืองเชียงใหม่-ลำพูน พร้อมชมต้นยางที่ใหญ่ที่สุดบนถนนสายนี้ :idea: :idea:


:o :cry: เมื่อ ๑ ต.ค.๖๔ ต้นยางล้มทับศาลหลักเมืองเสียหายด้วยครับ :( :(

:o :o ต้องกราบขออภัยนะครับ วันที่ เดือน ที่ประทับใต้ภาพทุกภาพ เป็นภาพจริงวันนี้ ๒๗ พ.ย.๖๖ [27 Nov.23] ไม่ใช่ 17 Otb 23 จำวันผิดครับ โรคชรา :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
17 otb 23 (74).jpg
17 otb 23 (75).jpg
17 otb 23 (75).jpg (104.25 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (76).jpg
17 otb 23 (76).jpg (111.05 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (77).jpg
17 otb 23 (77).jpg (140.87 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (78).jpg
17 otb 23 (78).jpg (142.16 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (79).jpg
17 otb 23 (80).jpg
17 otb 23 (81).jpg
17 otb 23 (81).jpg (116.58 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (82).jpg
17 otb 23 (83).jpg
17 otb 23 (84).jpg
17 otb 23 (84).jpg (136.71 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (85).jpg
17 otb 23 (85).jpg (145.92 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (86).jpg
17 otb 23 (86).jpg (144.75 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (91).jpg
17 otb 23 (92).jpg
17 otb 23 (93).jpg
17 otb 23 (93).jpg (122.97 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (94).jpg
17 otb 23 (95).jpg
17 otb 23 (95).jpg (131.2 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
17 otb 23 (96).jpg
“ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน” จากวัดร้างสู่เขตแบ่งแดนสองจังหวัด<br /><br />ท่านที่สัญจรไปมาระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนบนถนนสายต้นยาง (เชียงใหม่ – สารภี – ลำพูน) เป็นประจำ คงคุ้นตากับ “ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน” กันเป็นอย่างดี ซึ่งบางท่านเมื่อขับรถผ่านก็จะกดแตรรถเป็นการสักการะ เพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายอย่างปลอดภัย โดยศาลหลักเมืองฯแห่งนี้ มีความเป็นมาอย่างไรนั้น เรามาดูกัน!?!<br /><br />“ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน” ตั้งอยู่ระหว่างหมู่ 5 บ้านปากกอง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่ 1 บ้านอุโมงค์ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เดิมทีเป็นที่ตั้งของวัดร้าง นามว่า “วัดนางเหลียว” ปัจจุบันยังปรากฎซากอิฐ ซากปูนที่เป็นแนวเขตกำแพงวัด ซากวิหาร และซากเจดีย์ แต่ว่าอยู่ลึกลงไปใต้ดินประมาณ 1 เมตรเศษ ที่ผ่านมานั้นคณะนักสำรวจจากกรมศิลปากรได้ร่วมกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ (เชียงใหม่ – ลำพูน) ได้ร่วมกันขุดสำรวจ และพบซากดังกล่าวอยู่อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม การขุดสำรวจก็มีอันต้องหยุดลง เนื่องมาจากเมื่อขุดต่อไปอีก กรมศิลปากรก็จะกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ จะส่งผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชน ที่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดร้างดังกล่าว รวมทั้งถนนที่ใช้สัญจรกันไปมาทุกวัน<br /><br />ความเป็นมาจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และผู้รู้ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่เด็กๆ สรุปพอสังเขปได้ว่า เริ่มต้นจากเจ้าหลวงเมืองลำพูนขณะนั้น ชื่อ เจ้าอนันตยศ และเจ้ามหันตยศ ได้เดินทางจากเมืองลำพูนขึ้นมาทางทิศเหนือ เพื่อต้องการหาแนวเขตแดนสิ้นสุดของเมืองลำพูน ซึ่งเจ้าหลวงเมืองลำพูนได้นั่งช้างพัง ชื่อ ช้างปู้ก่ำงาเขียว และขณะนั่งช้างมานั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่ช้างปู้ก่ำงาเขียวได้หยุดพักยังบริเวณวัดร้าง คือ วัดนางเหลียว แห่งนี้ ไม่ยอมเดินทางต่อ <br /><br />เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เจ้าหลวงเมืองลำพูน จึงกำหนดให้เลือกบริเวณวัดร้างแห่งนี้ เป็นแนวเขตแบ่งระหว่างเมืองลำพูนและเมืองเชียงใหม่ โดยเจ้าหลวงเมืองลำพูนได้ใช้ไม้เนื้อแข็งปักเป็นเขตแดนไว้ ซึ่งตรงนี้ชาวบ้านทั้งสองจังหวัด เรียกว่า “เสาแดนเมืองระหว่างเชียงใหม่และลำพูน”<br /><br />ต่อมาเสาแดนเมืองฯได้เกิดการผุกร่อนเนื่องจากถูกแดด ถูกฝน เจ้าหลวงฯจึงสั่งให้เกณฑ์นักโทษจากเมืองลำพูนจำนวนหนึ่งให้มาช่วยก่อสร้าง โดยใช้วัสดุ คือ “ดินเผาและปูนขาว” มาโบกแทนหลักไม้เนื้อแข็งเดิม แล้วให้เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า “หลักเขตแดนเมืองเชียงใหม่-ลำพูน” ต่อจากนั้นก็สั่งให้นักโทษนำกล้าต้นไม้ คือ “ต้นขี้เหล็ก” มาปลูก เริ่มจากบริเวณเขตแดนของเฉพาะเมืองลำพูน โดยปลูกทั้งสองฝั่งถนน เพื่อแสดงให้รู้ว่า ฝั่งถนนที่เป็นต้นขี้เหล็ก คือ เขตของเมืองลำพูน ส่วนเมืองเชียงใหม่ ก็มีการปลูก “ต้นยางนา” เป็นสัญลักษณ์ ดังที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน<br /><br />จากนั้นเป็นต้นมา พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณทั้งสองฝั่ง คือ เชียงใหม่และลำพูน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน ตลอดจนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันบูรณะ ซ่อมแซม ตกแต่งภูมิทัศน์ พร้อมมีการสร้างศาลาสามัคคีฯ และอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐาน คือ “พระศรีสองเมือง” และที่สำคัญ มีการทำพิธีปั้นรูปช้าง “ปู้ก่ำงาเขียว” ที่เจ้าหลวงลำพูนใช้เป็นพาหนะเดินทาง<br /><br />ข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม , www.umongcity.go.th
“ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน” จากวัดร้างสู่เขตแบ่งแดนสองจังหวัด

ท่านที่สัญจรไปมาระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนบนถนนสายต้นยาง (เชียงใหม่ – สารภี – ลำพูน) เป็นประจำ คงคุ้นตากับ “ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน” กันเป็นอย่างดี ซึ่งบางท่านเมื่อขับรถผ่านก็จะกดแตรรถเป็นการสักการะ เพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายอย่างปลอดภัย โดยศาลหลักเมืองฯแห่งนี้ มีความเป็นมาอย่างไรนั้น เรามาดูกัน!?!

“ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน” ตั้งอยู่ระหว่างหมู่ 5 บ้านปากกอง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่ 1 บ้านอุโมงค์ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เดิมทีเป็นที่ตั้งของวัดร้าง นามว่า “วัดนางเหลียว” ปัจจุบันยังปรากฎซากอิฐ ซากปูนที่เป็นแนวเขตกำแพงวัด ซากวิหาร และซากเจดีย์ แต่ว่าอยู่ลึกลงไปใต้ดินประมาณ 1 เมตรเศษ ที่ผ่านมานั้นคณะนักสำรวจจากกรมศิลปากรได้ร่วมกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ (เชียงใหม่ – ลำพูน) ได้ร่วมกันขุดสำรวจ และพบซากดังกล่าวอยู่อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม การขุดสำรวจก็มีอันต้องหยุดลง เนื่องมาจากเมื่อขุดต่อไปอีก กรมศิลปากรก็จะกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ จะส่งผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชน ที่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดร้างดังกล่าว รวมทั้งถนนที่ใช้สัญจรกันไปมาทุกวัน

ความเป็นมาจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และผู้รู้ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่เด็กๆ สรุปพอสังเขปได้ว่า เริ่มต้นจากเจ้าหลวงเมืองลำพูนขณะนั้น ชื่อ เจ้าอนันตยศ และเจ้ามหันตยศ ได้เดินทางจากเมืองลำพูนขึ้นมาทางทิศเหนือ เพื่อต้องการหาแนวเขตแดนสิ้นสุดของเมืองลำพูน ซึ่งเจ้าหลวงเมืองลำพูนได้นั่งช้างพัง ชื่อ ช้างปู้ก่ำงาเขียว และขณะนั่งช้างมานั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่ช้างปู้ก่ำงาเขียวได้หยุดพักยังบริเวณวัดร้าง คือ วัดนางเหลียว แห่งนี้ ไม่ยอมเดินทางต่อ

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เจ้าหลวงเมืองลำพูน จึงกำหนดให้เลือกบริเวณวัดร้างแห่งนี้ เป็นแนวเขตแบ่งระหว่างเมืองลำพูนและเมืองเชียงใหม่ โดยเจ้าหลวงเมืองลำพูนได้ใช้ไม้เนื้อแข็งปักเป็นเขตแดนไว้ ซึ่งตรงนี้ชาวบ้านทั้งสองจังหวัด เรียกว่า “เสาแดนเมืองระหว่างเชียงใหม่และลำพูน”

ต่อมาเสาแดนเมืองฯได้เกิดการผุกร่อนเนื่องจากถูกแดด ถูกฝน เจ้าหลวงฯจึงสั่งให้เกณฑ์นักโทษจากเมืองลำพูนจำนวนหนึ่งให้มาช่วยก่อสร้าง โดยใช้วัสดุ คือ “ดินเผาและปูนขาว” มาโบกแทนหลักไม้เนื้อแข็งเดิม แล้วให้เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า “หลักเขตแดนเมืองเชียงใหม่-ลำพูน” ต่อจากนั้นก็สั่งให้นักโทษนำกล้าต้นไม้ คือ “ต้นขี้เหล็ก” มาปลูก เริ่มจากบริเวณเขตแดนของเฉพาะเมืองลำพูน โดยปลูกทั้งสองฝั่งถนน เพื่อแสดงให้รู้ว่า ฝั่งถนนที่เป็นต้นขี้เหล็ก คือ เขตของเมืองลำพูน ส่วนเมืองเชียงใหม่ ก็มีการปลูก “ต้นยางนา” เป็นสัญลักษณ์ ดังที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

จากนั้นเป็นต้นมา พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณทั้งสองฝั่ง คือ เชียงใหม่และลำพูน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน ตลอดจนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันบูรณะ ซ่อมแซม ตกแต่งภูมิทัศน์ พร้อมมีการสร้างศาลาสามัคคีฯ และอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐาน คือ “พระศรีสองเมือง” และที่สำคัญ มีการทำพิธีปั้นรูปช้าง “ปู้ก่ำงาเขียว” ที่เจ้าหลวงลำพูนใช้เป็นพาหนะเดินทาง

ข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม , www.umongcity.go.th
17 otb 23 (98).jpg (140.71 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D อรุณสวัสดิ์ท่านที่เคารพทุกท่าน ช่วงเวลาชีวิตของแต่ละคนเดินทางไปตามห้วงแห่งกรรมของตน ไม่มีใครสามารถที่จะไปลิขิตชีวิตใครได้ เช่นกันเมื่อ ๒๘ พ.ย.๖๖ เพื่อนรักสมัยเด็ก ๆ ของผมที่เราเคยยกพวกเข้าตะลุมบอนกัน(อยู่กันคนละคุ้ม) จนวันหนึ่งเราต้องเข้าไปเรียนใน รร.เดียวกัน (ยุพราชวิทยาลัย) ยังไม่พอได้มาร่วมรุ่นเดียวกันในอาชีพ ตชด.คือ ตชด.รุ่น ๒ ค่ายดารารัศมีอีก ยังไม่พอเรามีชื่อเล่นว่า "แดง" เหมือนกันด้วย :lol: :lol:

ท่าน วีระพันธ์ ศรีวิรัตน์ บัดนี้ท่านได้จากพวกเราไปแล้วในวัย ๗๓ ปีเกือบจะ ๗๔ ปีอีกแค่ ๒ เดือน ทุกครั้งที่เราเจอกัน..พันธ์ จะพูดย้ำเสมอ ๆ ว่า "คิงต้องไปก่อนฮาเน้อ" (มึงต้องตายก่อนกูนะ) เพราะ "คิงปิคตั๋วเป๋นคนดีได้แล้ว ฮา..ยังเลยบ่าเฮ้ย..ฮาเลยฮ้ายกว่าคิง ยมบาลมันบ่าต้องก๋าน มันต้องก๋านคนดี ๆ อย่างคิง ฮาก้อยโตยคิงไปเมื่อลุนเน้อเปื้อน" (มึงกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้แล้ว กู...ยังเลยโว้ย...กูเลยร้ายกว่ามึง ยมบาลมันไม่ต้องการ มันต้องการคนดี ๆ อย่างมึง กูค่อยตามมึงไปทีหลังนะ"....แต่สุดท้ายท่านวีระพันธ์ ฯ ก็ต้องมาจากไปก่อน ไม่ทำตามสัญญาที่คุยกันไว้

นี่ละชีวิตครับ...ไม่มีใครสามารถลิขิตชีวิตตนเองได้ เมื่อวานนี้ ๓๐ พ.ย.๖๖ พวกเรา ตชด.รุ่น ๒ ได้ไปร่วมไว้อาลัยและวางพวงหรีดเคารพศพ ขอให้ดวงวิญญาณของเพื่อนสู่สคิภพ อีกไม่นานก็จะตามเพื่อนไปนะ
:( :(

:idea: :idea: เราสองคนคารวะศาลหลักเมืองเก็บภาพมาฝากท่านผู้มีเกียรติพอสมควรแล้ว เราก็เริ่มเดินทางในถนนวัฒนธรรมจากต้นยางที่ ๑ และจะแวะเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ๆ ที่อยู่ ๒ ฝั่งถนนไปจนสุดเขตรับผิดชอบของ อ.สารภีที่บริเวณ ต.ท่าวังตาลอันเป็น Hilight สุด ๆ ของ อ.สารภี นั่นคือ เวียงกุมกามครับ ติดตามเป็นกำลังใจกันไปเรื่อย ๆ นะครับ ขอบคุณมากครับ :lol: :lol:



:idea: :idea: 139 ปี ต้นยางนา ถนนเส้นเชียงใหม่-ลำพูน เรื่องนี้มีตำนาน I ร้อยเรื่องเมืองล้านนา :idea: :idea:
ไฟล์แนบ
264810.jpg
264810.jpg (66.94 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
546189_2.jpg
546189_2.jpg (106.92 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
546190_0.jpg
546190_0.jpg (155.06 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
สารภี ๑๙๑.jpg
สารภี ๑๙๑.jpg (173.97 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
สารภี ๒๑.jpg
สารภี ๒๑.jpg (64.02 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
สารภี ๑๙.jpg
สารภี ๑๙.jpg (181.34 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
สารภี ๒๐.๑.jpg
สารภี ๒๐.jpg
สารภี ๒๐.jpg (214.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
ประวัติถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (สายเก่า)<br /><br />ประมาณปี พ.ศ. 1837 พญามังรายทรงสถาปนาเวียงกุมกามให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา แต่เนื่องจากเวียงกุมกามเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ จึงย้ายมาอยู่ที่เวียงเชียงใหม่ ซึ่งทำเลที่ตั้งเหมาะสมกว่าในอดีตการคมนาคมระหว่างเชียงใหม่เวียงกุมกาม เวียงหริภุญไชยและอาณาจักรอื่นๆ จะใช้แม่น้ำปิงเป็นหลัก<br /><br />ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำปิงเปลี่ยนร่องน้ำจากเดิมไหลผ่านด้านทิศตะวันออกของเวียงกุมกามมาเป็นด้านทิศตะวันตก ร่องน้ำเดิมถูกตะกอนทับถมจนตื้นเขิน เหลือเป็นเพียงร่องน้ำขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกร่องน้ำนี้ว่าปิงห่าง (สรัสวดี,2537) ต่อมามีการตั้งบ้านเรือนตามแนวปิงห่างมากขึ้นเกิดเป็นชุมชนหลายแห่ง ชุมชนแต่ละแห่งมีการติดต่อไปมาหาสู่เป็นประจำ จึงเกิดเป็นทางสัญจรระหว่างชุมชนและพัฒนาเรื่อยมาเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน และมีการปรับปรุงและซ่อมแซมตลอดมา<br /><br />ประมาณปี พ.ศ.2438 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง ได้ปรับปรุงและขยายเส้นทางสายนี้ให้กว้างขึ้น จนเกวียนสามารถเดินได้ (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 114) และในปี พ.ศ. 2449 ( ร.ศ. 124) เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ได้ปรับปรุงเส้นทางสายนี้อีกครั้งโดยให้ มิสเตอร์ โรเบิร์ต ข้าหลวงโยธาเป็นผู้ให้คำแนะนำซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้เส้นทางสายนี้สภาพดีขึ้นและมีความกว้างกว่า 3 วา เท่ากันตลอดทั้งเส้น (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 124) เป็นที่มาของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถนนสายนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนวรัฐ ตรงไปตำบลหนองหอย และเริ่มเลียบแนวปิงห่างที่วัดกู่ขาวไปจนถึงลำพูน<br /><br />โดยถนนบางช่วงอยู่บนผนังดินดินธรรมชาติของปิงห่าง มีความยาวทั้งหมด27.25 กิโลเมตร ความกว้างผิวทางเฉลี่ย 5.98 เมตร ต้นยางนาสองข้างท่งถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนคาดว่าปลูกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 (Loetsch &amp; Halle, 2505) โดยปลูกต้นยบางในเขตเชียงใหม่และปลุกต้นขี้เหล็กในเขตลำพูนและมีการกำหนดกฎระเบียบ ในการดูแลรักษาอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์บนเขตถนนและที่ทำการของราชการ<br /><br />หากสัตวเลี้ยงของผู้ใดเหยีบย่ำต้นไม้ที่ปลูกไว้จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 120) ถ้าต้นยางนาปลูกตรงกับหน้าบ้านใด ก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้นเอาใจใส่ทำรั้วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายเข้ามาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้า ใส่ปุ๋ย สำหรับต้นยางนาที่ไม่ตรงกับหน้าบ้านผู้ใดจะมอบหมายให้หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับผิดชอบ โดยให้หัวหน้าหมู่บ้านนำลูกบ้านมาช่วยกันดูแลรักษา(เทศบาลตำบลยางเนิ้ง,2546) ด้วยเหตุนี้ต้นยางนาจึงเจริญเติบโตได้ดีและสวยงามมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้<br /><br />ต้นยางที่ปลูกบนถนนสายเชียงใหม่ – สารภีนั้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้สงวนประเภท ข จากบันทึกของปิแอร์ โอร์คนักเดินทางชาวเบลเยี่ยมที่เดินทาง เข้ามาในสยามประเทศ สมัยรัชกาลที่ 5 และท่านได้บันทึกการเดินทางไว้ในหนังสือ “ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง” เรียบเรียงโดย พิษณุ จันทร์วิทัน กล่าวว่า “ถนนจากเชียงใหม่ไปลำพูน ซึ่งข้าพเจ้าเคยกล่าวถึงด้วยความชื่นชมนั้น มิได้มีสิ่งใดพิเศษ เป็นเพียงเส้นทางที่คดเคี้ยวไปมา ใต้ต้นไม้สูงหรือป่าไผ่มีธารน้ำไหลผ่านหลายแห่ง”<br /><br />ต้นยางนา สองข้างถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน มีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่คู่เมืองเชียงใหม่มาร้อยปีแล้ว มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ต้นยางนาริมถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนยังให้ความร่มเย็น ปรับสภาพภูมิอากาศไม่ให้ร้อนและหนาวเกินไป ช่วยทำให้ภูมิทัศน์สวยงาม เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยงให้เยี่ยมชมช่วยสงเสริมการท่องเที่ยว เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้ยางนาสำหรับใช้ขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์หรือใช้ในการศึกษาวิจัย<br /><br />ลักษณะทั่วไปของต้นยางนา ต้นยางนา หรือ ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก มีชื่อวิทยศาสตร์คือ Dipterocarpus alatus. ex G.Don จัดอยุ่ในวงศ์ไม้ยาง (Family Dipterocarpaceae) ต้นยางนาเป็นต้นไม้สูงถึง 50 เมตร ไม่ผลัดใบ หรือผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา ค่อนข้างเรียบ สีเทาอบขาว เปลืกในสีน้าตาลอบชมพู โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่ม เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง หูใบ สีเทาอมเหลือง มีขนนุ่ม ใบเดียวรูปไข่หรือรีแกรมรูปขอบขนาน ปลายใบทู่หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ เล็กน้อยแผ่นใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใกล้ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว 5 ครีบ<br /><br />ส่วนกรีบดอกจะเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหันผลกลมรี ยาว3-4 ชม. มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกคู่ยาว2ปีก แต่ยาวไม่เกิน 16 ชม. ปีกสั้น 3 ปีกรูปหูหนู ทั้งเส้นตามยาวและเส้นแขนงย่อยมักคดไปมาไม่ค่อยเป็นระเบียบ ตามธรรมชาติจะพบตามป่าดิบแล้งและเบญจพรรณขึ้นทั่วไปออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ดเพาะ แต่เมล็ดที่นำมาเพาะควรมีอายุไม่เกิน 10 วัน หลังจากร่วงจากต้น การปลูกระยะแรกต้องมีร่มเงาบังแดด และมีความชุ่มชื้นพอควร<br /><br />ต้นยางนามีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมีรายงานว่าพบแถบอันดามันและตอนบนของมาเลเซีย ในประเทศไทยต้นยางนามักพบขึ้นอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำทั่วไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในระดับความสูงไม่เกิน 350 เมตรพบน้อยที่ต้นยางนาจะขึ้นในที่สูงเกินกว่าระดับนี้<br /><br />ลำต้นของต้นยางนามีขนาดใหญ่ เปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อย สามารถแปรรูปเป็นไม้แปรรูปหน้าใหญ่ มีความยาวไม่คดงอ เนื้อไม้มีความคงทนและทำไม้อัดได้คุณภาพดี นอกจากนี้ต้นยางนาสามารถผลิตน้ำมันยาง (Oleoresin) ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำไต้ น้ำมันชักเงา น้ำยาป้องกันรักษาไม้ไผ่ หมึกพิมพ์ ยาเรือ ตะกร้า ภาชนะต่างๆ<br /><br />ข้อมูลโดย : เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
ประวัติถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (สายเก่า)

ประมาณปี พ.ศ. 1837 พญามังรายทรงสถาปนาเวียงกุมกามให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา แต่เนื่องจากเวียงกุมกามเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ จึงย้ายมาอยู่ที่เวียงเชียงใหม่ ซึ่งทำเลที่ตั้งเหมาะสมกว่าในอดีตการคมนาคมระหว่างเชียงใหม่เวียงกุมกาม เวียงหริภุญไชยและอาณาจักรอื่นๆ จะใช้แม่น้ำปิงเป็นหลัก

ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำปิงเปลี่ยนร่องน้ำจากเดิมไหลผ่านด้านทิศตะวันออกของเวียงกุมกามมาเป็นด้านทิศตะวันตก ร่องน้ำเดิมถูกตะกอนทับถมจนตื้นเขิน เหลือเป็นเพียงร่องน้ำขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกร่องน้ำนี้ว่าปิงห่าง (สรัสวดี,2537) ต่อมามีการตั้งบ้านเรือนตามแนวปิงห่างมากขึ้นเกิดเป็นชุมชนหลายแห่ง ชุมชนแต่ละแห่งมีการติดต่อไปมาหาสู่เป็นประจำ จึงเกิดเป็นทางสัญจรระหว่างชุมชนและพัฒนาเรื่อยมาเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน และมีการปรับปรุงและซ่อมแซมตลอดมา

ประมาณปี พ.ศ.2438 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง ได้ปรับปรุงและขยายเส้นทางสายนี้ให้กว้างขึ้น จนเกวียนสามารถเดินได้ (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 114) และในปี พ.ศ. 2449 ( ร.ศ. 124) เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ได้ปรับปรุงเส้นทางสายนี้อีกครั้งโดยให้ มิสเตอร์ โรเบิร์ต ข้าหลวงโยธาเป็นผู้ให้คำแนะนำซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้เส้นทางสายนี้สภาพดีขึ้นและมีความกว้างกว่า 3 วา เท่ากันตลอดทั้งเส้น (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 124) เป็นที่มาของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถนนสายนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนวรัฐ ตรงไปตำบลหนองหอย และเริ่มเลียบแนวปิงห่างที่วัดกู่ขาวไปจนถึงลำพูน

โดยถนนบางช่วงอยู่บนผนังดินดินธรรมชาติของปิงห่าง มีความยาวทั้งหมด27.25 กิโลเมตร ความกว้างผิวทางเฉลี่ย 5.98 เมตร ต้นยางนาสองข้างท่งถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนคาดว่าปลูกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 (Loetsch & Halle, 2505) โดยปลูกต้นยบางในเขตเชียงใหม่และปลุกต้นขี้เหล็กในเขตลำพูนและมีการกำหนดกฎระเบียบ ในการดูแลรักษาอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์บนเขตถนนและที่ทำการของราชการ

หากสัตวเลี้ยงของผู้ใดเหยีบย่ำต้นไม้ที่ปลูกไว้จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 120) ถ้าต้นยางนาปลูกตรงกับหน้าบ้านใด ก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้นเอาใจใส่ทำรั้วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายเข้ามาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้า ใส่ปุ๋ย สำหรับต้นยางนาที่ไม่ตรงกับหน้าบ้านผู้ใดจะมอบหมายให้หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับผิดชอบ โดยให้หัวหน้าหมู่บ้านนำลูกบ้านมาช่วยกันดูแลรักษา(เทศบาลตำบลยางเนิ้ง,2546) ด้วยเหตุนี้ต้นยางนาจึงเจริญเติบโตได้ดีและสวยงามมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

ต้นยางที่ปลูกบนถนนสายเชียงใหม่ – สารภีนั้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้สงวนประเภท ข จากบันทึกของปิแอร์ โอร์คนักเดินทางชาวเบลเยี่ยมที่เดินทาง เข้ามาในสยามประเทศ สมัยรัชกาลที่ 5 และท่านได้บันทึกการเดินทางไว้ในหนังสือ “ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง” เรียบเรียงโดย พิษณุ จันทร์วิทัน กล่าวว่า “ถนนจากเชียงใหม่ไปลำพูน ซึ่งข้าพเจ้าเคยกล่าวถึงด้วยความชื่นชมนั้น มิได้มีสิ่งใดพิเศษ เป็นเพียงเส้นทางที่คดเคี้ยวไปมา ใต้ต้นไม้สูงหรือป่าไผ่มีธารน้ำไหลผ่านหลายแห่ง”

ต้นยางนา สองข้างถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน มีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่คู่เมืองเชียงใหม่มาร้อยปีแล้ว มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ต้นยางนาริมถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนยังให้ความร่มเย็น ปรับสภาพภูมิอากาศไม่ให้ร้อนและหนาวเกินไป ช่วยทำให้ภูมิทัศน์สวยงาม เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยงให้เยี่ยมชมช่วยสงเสริมการท่องเที่ยว เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้ยางนาสำหรับใช้ขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์หรือใช้ในการศึกษาวิจัย

ลักษณะทั่วไปของต้นยางนา ต้นยางนา หรือ ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก มีชื่อวิทยศาสตร์คือ Dipterocarpus alatus. ex G.Don จัดอยุ่ในวงศ์ไม้ยาง (Family Dipterocarpaceae) ต้นยางนาเป็นต้นไม้สูงถึง 50 เมตร ไม่ผลัดใบ หรือผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา ค่อนข้างเรียบ สีเทาอบขาว เปลืกในสีน้าตาลอบชมพู โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่ม เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง หูใบ สีเทาอมเหลือง มีขนนุ่ม ใบเดียวรูปไข่หรือรีแกรมรูปขอบขนาน ปลายใบทู่หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ เล็กน้อยแผ่นใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใกล้ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว 5 ครีบ

ส่วนกรีบดอกจะเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหันผลกลมรี ยาว3-4 ชม. มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกคู่ยาว2ปีก แต่ยาวไม่เกิน 16 ชม. ปีกสั้น 3 ปีกรูปหูหนู ทั้งเส้นตามยาวและเส้นแขนงย่อยมักคดไปมาไม่ค่อยเป็นระเบียบ ตามธรรมชาติจะพบตามป่าดิบแล้งและเบญจพรรณขึ้นทั่วไปออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ดเพาะ แต่เมล็ดที่นำมาเพาะควรมีอายุไม่เกิน 10 วัน หลังจากร่วงจากต้น การปลูกระยะแรกต้องมีร่มเงาบังแดด และมีความชุ่มชื้นพอควร

ต้นยางนามีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมีรายงานว่าพบแถบอันดามันและตอนบนของมาเลเซีย ในประเทศไทยต้นยางนามักพบขึ้นอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำทั่วไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในระดับความสูงไม่เกิน 350 เมตรพบน้อยที่ต้นยางนาจะขึ้นในที่สูงเกินกว่าระดับนี้

ลำต้นของต้นยางนามีขนาดใหญ่ เปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อย สามารถแปรรูปเป็นไม้แปรรูปหน้าใหญ่ มีความยาวไม่คดงอ เนื้อไม้มีความคงทนและทำไม้อัดได้คุณภาพดี นอกจากนี้ต้นยางนาสามารถผลิตน้ำมันยาง (Oleoresin) ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำไต้ น้ำมันชักเงา น้ำยาป้องกันรักษาไม้ไผ่ หมึกพิมพ์ ยาเรือ ตะกร้า ภาชนะต่างๆ

ข้อมูลโดย : เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สารภี ๒๑.๑.jpg (243.09 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
สารภี ๒๒.jpg
สารภี ๒๒.jpg (175.76 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
สารภี ๒๓.jpg
สารภี ๒๓.jpg (200.08 KiB) เข้าดูแล้ว 1081 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 03 ธ.ค. 2023, 10:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D
ไฟล์แนบ
สารภี ๑๘.jpg
สารภี ๑๘.jpg (93.25 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
สารภี ๑๗.jpg
สารภี ๑๗.jpg (199.16 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
544433_1.jpg
544433_1.jpg (103.67 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
๒๘ พ.ย.เราออกกำลังทดสอบร่างกาย ผ่านแหล่งผลิตแคบหมูรายใหญ่ แวะไปเที่ยวชมพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ได้รับทราบเรื่องราวชีวิตดี ๆ มากมาย ชีวิตในปัจจุบันไม่ธรรมดา &quot;อยู่ยากขึ้น&quot; ดูแลตัวเองและครอบครัวนะครับ<br /><br />๒๙ พ.ย.คุณนายติดภารกิจไปเลี้ยงรุ่นสมัย วค.ผมเลยแอบปั่นคนเดียวเล่นซะยี่สิบโล เป็นการทดสอบและแอบสปีดนิด ๆ รู้สึกได้ยังไม่โอเคครับ เฮ้อ....รังของโรคเป็นแบบนี้.
๒๘ พ.ย.เราออกกำลังทดสอบร่างกาย ผ่านแหล่งผลิตแคบหมูรายใหญ่ แวะไปเที่ยวชมพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ได้รับทราบเรื่องราวชีวิตดี ๆ มากมาย ชีวิตในปัจจุบันไม่ธรรมดา "อยู่ยากขึ้น" ดูแลตัวเองและครอบครัวนะครับ

๒๙ พ.ย.คุณนายติดภารกิจไปเลี้ยงรุ่นสมัย วค.ผมเลยแอบปั่นคนเดียวเล่นซะยี่สิบโล เป็นการทดสอบและแอบสปีดนิด ๆ รู้สึกได้ยังไม่โอเคครับ เฮ้อ....รังของโรคเป็นแบบนี้.
544435_1.jpg (111.47 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
สารภี ๒๖.jpg
สารภี ๒๖.jpg (187.06 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
สารภี ๒๗.jpg
สารภี ๒๘.jpg
สารภี ๒๘.jpg (155.5 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
สารภี ๒๔.๑.jpg
ห่างจากต้นยางที่ ๑ มาประมาณ ๔-๕๐๐ ม.ด้านซ้ายมือ ท่านจะเจอกับโรงงานย่อม ๆ ที่สร้างปราสาทสำหรับใส่ร่างที่ไร้วิญญาณ(โลงศพ) ที่นี่ทำกันมา ๒ ชั่วอายุคนแล้ว และที่ บ.ปากกองนี้เรามีชื่อเสียงเรื่องการทำปราสาทมาก ๆ
ห่างจากต้นยางที่ ๑ มาประมาณ ๔-๕๐๐ ม.ด้านซ้ายมือ ท่านจะเจอกับโรงงานย่อม ๆ ที่สร้างปราสาทสำหรับใส่ร่างที่ไร้วิญญาณ(โลงศพ) ที่นี่ทำกันมา ๒ ชั่วอายุคนแล้ว และที่ บ.ปากกองนี้เรามีชื่อเสียงเรื่องการทำปราสาทมาก ๆ
543151_0.jpg
543151_0.jpg (132.6 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
543152_0.jpg
543152_0.jpg (136.7 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
543153_0.jpg
543153_0.jpg (142.08 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
543154_0.jpg
543155_0.jpg
543156_0.jpg
“ปราสาทศพ” อัตลักษณ์ความเชื่อของชาวล้านนา ในโลกหลังความตาย<br /><br />ประเพณีวัฒนธรรมของคนล้านนา เมื่อมีคนตายจะต้องจัดพิธีงานศพขึ้น เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของคนล้านนา จะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือแห้ง ให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้า ปราสาทงานศพจะนิยมใช้ในพิธีงานศพของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเมืองเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลไทแต่ดั่งเดิม<br /><br />รูปแบบของปราสาทงานศพมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ปราสาทที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นวัสดุดั่งเดิมส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ฉำฉา เพราะมีน้ำหนักเบาและเวลาเผาจะไหม้ไฟได้ง่าย ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นวิวัฒนาการของปราสาท สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำโต๊ะ เก้าอี้มาประดับในปราสาท เมื่อเวลาเผาศพแล้วก็จะนำโต๊ะ เก้าอี้เหล่านั้นไปมอบถวายให้กับวัด เพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ต่อไป<br /><br />ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพ มีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกระพริบอย่างสวยงาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์ คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้าน และบรรดาลูกหลานของคนตายจะช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทานประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วัน<br /><br />ในพิธีงานศพแถบหมู่บ้านรอบนอก จะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3 – 5 วัน นิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน แต่ปัจจุบันความนิยมดังกล่าวลดลง จะมีให้เห็นและเหลืออยู่ก็เพียงชาวบ้านที่อยู่ในชนบท ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะตั้งปราสาท และทำพิธีศพได้ ส่วนคนในเมืองที่มีบริเวณบ้านคับแคบก็จะเอาศพไปตั้งไว้ที่วัด<br /><br />วัดในแถบภาคเหนือจะต่างจากวัดของภาคอื่น ๆ คือ ในวัดจะไม่มีเมรุเผาศพ เพราะการเผาศพจะไม่ได้เผาที่วัด แต่จะนำไปเผาที่สุสาน หรือ ป่าช้า คนล้านนาเรียก ป่าเหี้ยว นอกจากปราสาทที่พบอยู่ในพิธีกรรมงานศพของคนธรรมดาแล้ว ยังมีปราสาทอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้บรรจุศพของพระที่มรณภาพ จะแตกต่างกัน ในรายละเอียดและทำขึ้นอย่างสวยงามมากกว่าของคนธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งตามตำนานเชื่อว่า นกหัสดีลงค์เป็นนกในวรรณคดีไทย ที่มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง และเป็นพาหนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์<br /><br />การประดับประดางานศพของพระดูจะหรูหรามากกว่าของคนทั่วไป โดยเฉพาะระดับเจ้าอาวาส หรือ พระที่มีอายุพรรษามาก ๆ หรือเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ก็จะจัดงานที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น สำหรับการจัดงานศพของพระในภาคเหนือจะนิยมเก็บศพของพระไว้จนถึงหน้าแล้ง หรือราวเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน สิ่งที่น่าสังเกตุอีกอย่างหนึ่งสำหรับพิธีเผาศพพระนั่นก็คือ พิธีจะจัดอยู่ในบริเวณวัดและจะทำการเผาศพพระในบริเวณนั้นเลย ซึ่งต่างจากของคนทั่วไปที่จะไม่ให้เผาในวัด<br /><br />พิธีเผาศพแบบโบราณของคนเมืองล้านนาถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง ในงานพระราชทานเพลิงของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินพื้นบ้านล้านนาและผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม พิธีดังกล่าวจัดขึ้นตามความเชื่อแบบดั่งเดิมของคนเมืองเหนือ โดยจะเห็นว่ารูปทรงของปราสาทงานศพแตกต่างไปจากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นปราสาททรงสูงไม่มียอด นอกจากนั้น ในขบวนแห่ศพของคนเมืองยังมีความเชื่อเก่าแก่ คือจะนิยมให้คนถือตุงสามหางสะพายย่ามใส่ข้าวด่วนและคนหามโคมไฟ ตามความเชื่อของคนล้านนา ว่าเป็นการนำทางผู้ตายไปสู่สรวงสรรค์ เดินนำหน้าขบวนแห่ศพ เมื่อเวลาที่ศพเคลื่อนมาถึงสุสาน ก็จะมีการจุดบอกไฟเพื่อให้เทวดารับรู้ สมัยก่อนการเผาศพจะนิยมเผาพร้อมกับปราสาทกลางลานในสุสาน<br /><br />หลังจากที่ยุคสมัยของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป พิธีกรรมดังกล่าวก็เปลี่ยนแปลงไป เราจะเห็นว่าในสังคมปัจจุบันไม่ได้มีการเผาศพกลางแจ้งอีกแล้ว ส่วนใหญ่จะนิยมเผาในเตา ซึ่งไม่เป็นที่อุจาดตาแก่ผู้พบเห็น อีกทั้งขั้นตอนต่าง ๆ ก็ถูกตัดทอนให้สั้นลง เช่น การจุดประทัด พลุ หรือ บอกไฟ ที่คนล้านนามีความเชื่อต้อง การส่งวิญญาณของผู้ตายให้ขึ้นสู่สวรรค์นั้น ปัจจุบันทางราชการมีประกาศห้ามจุดพลุ หรือ บอกไฟในพิธีงานศพ เพราะทำให้เกิดเสียงดังเป็นที่รำคาญแก่คนในชุมชน<br /><br />ปัจจุบันการทำปราสาทงานศพเหลือเพียงไม่กี่แห่ง ตามชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำปราสาทงานศพก็ได้แก่ ที่หมู่บ้านปากกอง อำเภอสารภี หมู่บ้านนี้ได้ชื่อว่าทำปราสาทงานศพมาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน แม้ว่าบางบ้านจะเลิกทำอาชีพนี้แล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านของที่นี่ ยังประกอบอาชีพทำประสาทงานศพกันอยู่<br /><br />เจ้าของร้านปากกองศิลป์ ซึ่งเป็นร้านทำปราสาทงานศพ คุณอินทร ทาระวรรณ บอกว่า “เริ่มทำปราสาทสำหรับศพมากว่า 30 ปีแล้ว โดยได้สืบทอดกิจการต่อจากพ่อหนานคำซึ่งเป็นบิดา เมื่อก่อนนั้นแถบอำเภอสารภีจะมีการทำปราสาทงานศพกันไม่กี่เจ้า แต่ที่หมู่บ้านปากกองนี้ ถือว่าพ่อหนานคำได้ทำขึ้นเป็นเจ้าแรก”สนนราคาของปราสาทไม้ต่ำสุดนั้นราคาประมาณ 2,000 บาท เรื่อยไปจนถึงราคาหมื่นกว่าบาทก็มี แต่ที่เห็นมีราคาแพงมาก ๆ ก็เป็นปราสาทที่ทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลาทำนาเกือบ 2 เดือน ราคาก็ตกประมาณ 8 หมื่น ถึง 2 แสนบาท แล้วแต่ความยากง่ายของลวดลาย และขนาดเล็กหรือใหญ่ด้วย<br /><br />ปราสาทงานศพของคนล้านนา นอกจากจะเป็นวัฒนธรรมตามความเชื่อ ที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษแล้ว ถ้ามองในแง่ของงานศิลปะถือได้ว่า เป็นงานที่สะท้อนฝีมือและความคิดในการสร้างสรรค์ ที่ไม่มีชุมชนใดของประเทศเสมอเหมือน นอกจากบนผืนแผ่นดินล้านนานี้เท่านั้น.<br /><br />บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง<br /><br />(สนใจแบบไหนอย่างไร เรียนเชิญติดต่อสอบถามสั่งได้นะครับ เจ้าของนัยว่าน่าจะรุ่นเดียวกับคุณนายด้วยครับ ๕๕๕)
“ปราสาทศพ” อัตลักษณ์ความเชื่อของชาวล้านนา ในโลกหลังความตาย

ประเพณีวัฒนธรรมของคนล้านนา เมื่อมีคนตายจะต้องจัดพิธีงานศพขึ้น เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของคนล้านนา จะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือแห้ง ให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้า ปราสาทงานศพจะนิยมใช้ในพิธีงานศพของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเมืองเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลไทแต่ดั่งเดิม

รูปแบบของปราสาทงานศพมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ปราสาทที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นวัสดุดั่งเดิมส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ฉำฉา เพราะมีน้ำหนักเบาและเวลาเผาจะไหม้ไฟได้ง่าย ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นวิวัฒนาการของปราสาท สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำโต๊ะ เก้าอี้มาประดับในปราสาท เมื่อเวลาเผาศพแล้วก็จะนำโต๊ะ เก้าอี้เหล่านั้นไปมอบถวายให้กับวัด เพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ต่อไป

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพ มีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกระพริบอย่างสวยงาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์ คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้าน และบรรดาลูกหลานของคนตายจะช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทานประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วัน

ในพิธีงานศพแถบหมู่บ้านรอบนอก จะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3 – 5 วัน นิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน แต่ปัจจุบันความนิยมดังกล่าวลดลง จะมีให้เห็นและเหลืออยู่ก็เพียงชาวบ้านที่อยู่ในชนบท ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะตั้งปราสาท และทำพิธีศพได้ ส่วนคนในเมืองที่มีบริเวณบ้านคับแคบก็จะเอาศพไปตั้งไว้ที่วัด

วัดในแถบภาคเหนือจะต่างจากวัดของภาคอื่น ๆ คือ ในวัดจะไม่มีเมรุเผาศพ เพราะการเผาศพจะไม่ได้เผาที่วัด แต่จะนำไปเผาที่สุสาน หรือ ป่าช้า คนล้านนาเรียก ป่าเหี้ยว นอกจากปราสาทที่พบอยู่ในพิธีกรรมงานศพของคนธรรมดาแล้ว ยังมีปราสาทอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้บรรจุศพของพระที่มรณภาพ จะแตกต่างกัน ในรายละเอียดและทำขึ้นอย่างสวยงามมากกว่าของคนธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งตามตำนานเชื่อว่า นกหัสดีลงค์เป็นนกในวรรณคดีไทย ที่มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง และเป็นพาหนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์

การประดับประดางานศพของพระดูจะหรูหรามากกว่าของคนทั่วไป โดยเฉพาะระดับเจ้าอาวาส หรือ พระที่มีอายุพรรษามาก ๆ หรือเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ก็จะจัดงานที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น สำหรับการจัดงานศพของพระในภาคเหนือจะนิยมเก็บศพของพระไว้จนถึงหน้าแล้ง หรือราวเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน สิ่งที่น่าสังเกตุอีกอย่างหนึ่งสำหรับพิธีเผาศพพระนั่นก็คือ พิธีจะจัดอยู่ในบริเวณวัดและจะทำการเผาศพพระในบริเวณนั้นเลย ซึ่งต่างจากของคนทั่วไปที่จะไม่ให้เผาในวัด

พิธีเผาศพแบบโบราณของคนเมืองล้านนาถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง ในงานพระราชทานเพลิงของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินพื้นบ้านล้านนาและผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม พิธีดังกล่าวจัดขึ้นตามความเชื่อแบบดั่งเดิมของคนเมืองเหนือ โดยจะเห็นว่ารูปทรงของปราสาทงานศพแตกต่างไปจากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นปราสาททรงสูงไม่มียอด นอกจากนั้น ในขบวนแห่ศพของคนเมืองยังมีความเชื่อเก่าแก่ คือจะนิยมให้คนถือตุงสามหางสะพายย่ามใส่ข้าวด่วนและคนหามโคมไฟ ตามความเชื่อของคนล้านนา ว่าเป็นการนำทางผู้ตายไปสู่สรวงสรรค์ เดินนำหน้าขบวนแห่ศพ เมื่อเวลาที่ศพเคลื่อนมาถึงสุสาน ก็จะมีการจุดบอกไฟเพื่อให้เทวดารับรู้ สมัยก่อนการเผาศพจะนิยมเผาพร้อมกับปราสาทกลางลานในสุสาน

หลังจากที่ยุคสมัยของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป พิธีกรรมดังกล่าวก็เปลี่ยนแปลงไป เราจะเห็นว่าในสังคมปัจจุบันไม่ได้มีการเผาศพกลางแจ้งอีกแล้ว ส่วนใหญ่จะนิยมเผาในเตา ซึ่งไม่เป็นที่อุจาดตาแก่ผู้พบเห็น อีกทั้งขั้นตอนต่าง ๆ ก็ถูกตัดทอนให้สั้นลง เช่น การจุดประทัด พลุ หรือ บอกไฟ ที่คนล้านนามีความเชื่อต้อง การส่งวิญญาณของผู้ตายให้ขึ้นสู่สวรรค์นั้น ปัจจุบันทางราชการมีประกาศห้ามจุดพลุ หรือ บอกไฟในพิธีงานศพ เพราะทำให้เกิดเสียงดังเป็นที่รำคาญแก่คนในชุมชน

ปัจจุบันการทำปราสาทงานศพเหลือเพียงไม่กี่แห่ง ตามชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำปราสาทงานศพก็ได้แก่ ที่หมู่บ้านปากกอง อำเภอสารภี หมู่บ้านนี้ได้ชื่อว่าทำปราสาทงานศพมาเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน แม้ว่าบางบ้านจะเลิกทำอาชีพนี้แล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านของที่นี่ ยังประกอบอาชีพทำประสาทงานศพกันอยู่

เจ้าของร้านปากกองศิลป์ ซึ่งเป็นร้านทำปราสาทงานศพ คุณอินทร ทาระวรรณ บอกว่า “เริ่มทำปราสาทสำหรับศพมากว่า 30 ปีแล้ว โดยได้สืบทอดกิจการต่อจากพ่อหนานคำซึ่งเป็นบิดา เมื่อก่อนนั้นแถบอำเภอสารภีจะมีการทำปราสาทงานศพกันไม่กี่เจ้า แต่ที่หมู่บ้านปากกองนี้ ถือว่าพ่อหนานคำได้ทำขึ้นเป็นเจ้าแรก”สนนราคาของปราสาทไม้ต่ำสุดนั้นราคาประมาณ 2,000 บาท เรื่อยไปจนถึงราคาหมื่นกว่าบาทก็มี แต่ที่เห็นมีราคาแพงมาก ๆ ก็เป็นปราสาทที่ทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลาทำนาเกือบ 2 เดือน ราคาก็ตกประมาณ 8 หมื่น ถึง 2 แสนบาท แล้วแต่ความยากง่ายของลวดลาย และขนาดเล็กหรือใหญ่ด้วย

ปราสาทงานศพของคนล้านนา นอกจากจะเป็นวัฒนธรรมตามความเชื่อ ที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษแล้ว ถ้ามองในแง่ของงานศิลปะถือได้ว่า เป็นงานที่สะท้อนฝีมือและความคิดในการสร้างสรรค์ ที่ไม่มีชุมชนใดของประเทศเสมอเหมือน นอกจากบนผืนแผ่นดินล้านนานี้เท่านั้น.

บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

(สนใจแบบไหนอย่างไร เรียนเชิญติดต่อสอบถามสั่งได้นะครับ เจ้าของนัยว่าน่าจะรุ่นเดียวกับคุณนายด้วยครับ ๕๕๕)
543157_0.jpg (109.63 KiB) เข้าดูแล้ว 1076 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติและญาติธรรมที่เคารพรักทุกท่าน เราออกจากโรงงานทำปราสาทและโลงศพเพื่อเดินทางต่อไป ห่างจากโรงงานประมาณ ๒๐๐ ม.ก็มาถึงบ้านที่อยู่อาศัยของครอบครัวเราครับ ย้อนหลังไปเมื่อ ๑ ต.ค.๖๔ บ้านของเราก็โดนภัยพิบัติเหมือนกับ ศาลหลักเมืองคือต้นยางนาต้นที่ ๕๘ ที่ตั้งอยู่ริมถนนหน้าบ้านของเรา ก็โดนพายุพัดโค่นล้มทับบ้านพังเสียหายหนัก ย้อนหลังไปชมข่าวที่ทางไทยพีบีเอส เข้าไปทำข่าวนำเสนอในวันนั้นกันครับ :( :(

:( :( เรียกร้องแก้ปัญหาต้นยางนาถนนสาย ชม.-ลพ. :( :(
ไฟล์แนบ
1000032514.jpg
1000032514.jpg (92.49 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
เราได้บ้านหลังใหม่ด้วยความช่วยเหลือจากทาง อบจ.เยียวยาให้ ๑/๔ ส่วน งานนี้เรียกว่าขาดทุนหนักถือเสียว่า &quot;กรรมเก่า&quot; ถ้าคิดจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมก็ได้ ทาง อบจ.ก็เปิดโอกาสให้ฟ้องได้ ถามว่า &quot;ฟ้องทำไม ฟ้องแล้วเงินที่ได้นั้นก็คือภาษีของ ปชช.?&quot; เราจะอยู่เป็นสุขหรือ ? สู้รับเคราะห์กรรมและยินดีตามที่ได้รับความช่วยเหลือ มีความสุขกว่า ไม่ต้องเทียวไล้เทียวขื่อขึ้นโรงขึ้นศาล กว่าคดีจะเสร็จคิดว่าคงเนิ่น และนานนนนน ๒ ปีจะยุติ?  หาความสุขไม่ได้เลย &quot;ตัดใจเดินหน้าถือเสียว่าเราบำเพ็ญบารมี&quot; สบายใจ
เราได้บ้านหลังใหม่ด้วยความช่วยเหลือจากทาง อบจ.เยียวยาให้ ๑/๔ ส่วน งานนี้เรียกว่าขาดทุนหนักถือเสียว่า "กรรมเก่า" ถ้าคิดจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมก็ได้ ทาง อบจ.ก็เปิดโอกาสให้ฟ้องได้ ถามว่า "ฟ้องทำไม ฟ้องแล้วเงินที่ได้นั้นก็คือภาษีของ ปชช.?" เราจะอยู่เป็นสุขหรือ ? สู้รับเคราะห์กรรมและยินดีตามที่ได้รับความช่วยเหลือ มีความสุขกว่า ไม่ต้องเทียวไล้เทียวขื่อขึ้นโรงขึ้นศาล กว่าคดีจะเสร็จคิดว่าคงเนิ่น และนานนนนน ๒ ปีจะยุติ? หาความสุขไม่ได้เลย "ตัดใจเดินหน้าถือเสียว่าเราบำเพ็ญบารมี" สบายใจ
สารภี ๒๙.jpg
สารภี ๒๙.jpg (191.66 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
ตามสภาพถ้ามองแบบเผิน ๆ ไม่น่าจะเสียหายมาก แต่พอให้ช่างทำการรื้อ ปรากฏโครงสร้างพังหมด ไม่สามารถจะซ่อมแซมได้ ต้องรื้อทั้งหมด โชคดีที่ต้นยางเขาไม่ล้มทับตรง ๆ เขาเอียงข้างแล้วล้มลงระหว่างกลางช่องว่าง ทำให้บ้านปูนไม่ได้รับความเสียหาย เสียหายแต่บ้านไม้หลังดั้งเดิม ของแม่ใหญ่ กับรถยนต์อีก ๓ คัน
ตามสภาพถ้ามองแบบเผิน ๆ ไม่น่าจะเสียหายมาก แต่พอให้ช่างทำการรื้อ ปรากฏโครงสร้างพังหมด ไม่สามารถจะซ่อมแซมได้ ต้องรื้อทั้งหมด โชคดีที่ต้นยางเขาไม่ล้มทับตรง ๆ เขาเอียงข้างแล้วล้มลงระหว่างกลางช่องว่าง ทำให้บ้านปูนไม่ได้รับความเสียหาย เสียหายแต่บ้านไม้หลังดั้งเดิม ของแม่ใหญ่ กับรถยนต์อีก ๓ คัน
สารภี ๓๐.jpg (186.4 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
ตลาดกับบ้านไม่ห่างกันประมาณ ๒๐๐ ม.มองขึ้นเหนือก็เห็นแล้วไปเที่ยวตลาดยามเช้ากันครับ
ตลาดกับบ้านไม่ห่างกันประมาณ ๒๐๐ ม.มองขึ้นเหนือก็เห็นแล้วไปเที่ยวตลาดยามเช้ากันครับ
27 Nov. 23 (16).jpg (142 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (121).jpg
27 Nov. 23 (121).jpg (144.93 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
555467_0.jpg
555468_0.jpg
555468_0.jpg (96.84 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
1000032508.jpg
1000032508.jpg (127.97 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
เยื้องตลาดตรงข้ามกันก็จะเป็น รร.วัดปากกอง และวัดปากกองครับ
เยื้องตลาดตรงข้ามกันก็จะเป็น รร.วัดปากกอง และวัดปากกองครับ
InFrame_1701564755025.jpg (129.7 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (29).jpg
27 Nov. 23 (29).jpg (127.88 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (30).jpg
27 Nov. 23 (30).jpg (119.59 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
ที่นี่ รร.วัดปากกองคุณนายและน้องสาวก็จบจาก รร.นี้ก่อนจะไปต่อที่ รร.มัธยมสารภี ปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยใหญ่ส่วนมาก ส่วนลูกชาวบ้านนิยมส่งเข้าไปเรียนในเมืองกันหมด ดีนะว่า ผอ.ที่มานั่งหนักล้วนแต่มีฝีมือจึงยังพอประคองไม่ต้องยุบ รร.เหมือนหลาย ๆ แห่ง ปัจจุบันนี้ชาวบ้านก็ให้ความสนใจและช่วยเหลือกันดีอยู่ รร.จึงยังตั้งอยู่ได้
ที่นี่ รร.วัดปากกองคุณนายและน้องสาวก็จบจาก รร.นี้ก่อนจะไปต่อที่ รร.มัธยมสารภี ปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยใหญ่ส่วนมาก ส่วนลูกชาวบ้านนิยมส่งเข้าไปเรียนในเมืองกันหมด ดีนะว่า ผอ.ที่มานั่งหนักล้วนแต่มีฝีมือจึงยังพอประคองไม่ต้องยุบ รร.เหมือนหลาย ๆ แห่ง ปัจจุบันนี้ชาวบ้านก็ให้ความสนใจและช่วยเหลือกันดีอยู่ รร.จึงยังตั้งอยู่ได้
27 Nov. 23 (31).jpg (126.89 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (19).jpg
27 Nov. 23 (19).jpg (127.48 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (20).jpg
27 Nov. 23 (20).jpg (90.87 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (21).jpg
27 Nov. 23 (21).jpg (131.67 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (123).jpg
27 Nov. 23 (123).jpg (130.11 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (124).jpg
27 Nov. 23 (124).jpg (124.47 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
27  Nov. 23 (125).jpg
27 Nov. 23 (125).jpg (120.27 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
วัดปากกอง เลขที่ 15/6 หมู่ 6 บ้านปากกอง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140<br /><br />วัดปากกอง บ้านปากกอง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2462 ได้รับพระราชทานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2490<br /><br />เดิมวัดปากกองเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ในอดีตประมาณ 130 ปี บริเวณวัดเป็นป่าดงพงไพร เต็มไปด้วยวัชพืช ณ เวลานั้นมีผู้เฒ่านามว่า พ่อเฒ่าหนานต๊ะ ได้พบพระธาตุ พ่อเฒ่าหนานต๊ะจึงจับจองทำมาหากิน โดยครอบครองเอาไว้เฉยๆ เกรงว่าผู้อื่นจะทำลายพระธาตุ ต่อมามีพระผู้เฒ่ารูปหนึ่ง คือ พระครูบาปัญญา ได้มาพบสถานที่นี้ พ่อเฒ่าหนานต๊ะจึงนิมนต์ท่านให้มาสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นวัด ข่าวการสร้างวัดจึงแพร่หลาย จึงร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดขึ้น ในปี พ.ศ.2402 (ปีวอก) วัดปากกองได้ถูกยกให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาพระครูบาปัญญา ได้สร้างวิหาร ศาลา โบสถ์ และตั้งชื่อวัดว่า “วัดศรีบุญเรือง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดปากกอง” จนถึงปัจจุบัน
วัดปากกอง เลขที่ 15/6 หมู่ 6 บ้านปากกอง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

วัดปากกอง บ้านปากกอง ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2462 ได้รับพระราชทานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2490

เดิมวัดปากกองเคยเป็นวัดร้างมาก่อน ในอดีตประมาณ 130 ปี บริเวณวัดเป็นป่าดงพงไพร เต็มไปด้วยวัชพืช ณ เวลานั้นมีผู้เฒ่านามว่า พ่อเฒ่าหนานต๊ะ ได้พบพระธาตุ พ่อเฒ่าหนานต๊ะจึงจับจองทำมาหากิน โดยครอบครองเอาไว้เฉยๆ เกรงว่าผู้อื่นจะทำลายพระธาตุ ต่อมามีพระผู้เฒ่ารูปหนึ่ง คือ พระครูบาปัญญา ได้มาพบสถานที่นี้ พ่อเฒ่าหนานต๊ะจึงนิมนต์ท่านให้มาสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นวัด ข่าวการสร้างวัดจึงแพร่หลาย จึงร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดขึ้น ในปี พ.ศ.2402 (ปีวอก) วัดปากกองได้ถูกยกให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาพระครูบาปัญญา ได้สร้างวิหาร ศาลา โบสถ์ และตั้งชื่อวัดว่า “วัดศรีบุญเรือง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดปากกอง” จนถึงปัจจุบัน
27 Nov. 23 (126).jpg (136.62 KiB) เข้าดูแล้ว 996 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดีครับท่านที่เคารพทุกท่าน เดินเรื่องมาถึงวัดปากกอง สารภี ผมก็เกิดอัศจรรย์ใจว่า "ผมมาเป็นเขย บ.ปากกองได้อย่างไร" ย้อนอดีตมันก็แปลกครับ สมัยเด็กช่วงที่ผมเป็นนักดนตรีประจำวงศรีสมเพชร(วงดังของเชียงใหม่) เคยมาเปิดการแสดงที่วัดปากกอง ๒-๓ ครั้ง(สาว ๆ ปากกองสวยครับ) หลังจากนั้นอีกนานเมื่อผมรับราชการ และได้ก่อตั้งวงดนตรี รัศมีดารา (วง ปจว.กก.ตชด.เขต ๕)

ช่วงนี้ละครับที่ผมได้ทราบกิตติศัพท์ ของหลวงพ่อท่าน และวันที่ทีมเราไปแสดงดนตรีที่วัด ก็ได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงพ่อ ท่านก็ได้มอบเหรียญรุ่นแรกให้เราคนละองค์ ประมาณปี ๒๕๒๐-๒๑ ผมได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในสนามชายแดน เหรียญของหลวงพ่อได้คุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัยหลายครั้ง จากนั้นสำนึกเหมือนจะผูกพันสารภี เมื่อได้เจอะเจอกับคุณนายคนปากกอง สารภี "ชีวิตที่เกกมะเหรกเกเรของผมจบครับ"

และวันที่เราทั้งสองตกลงใช้ชีวิตร่วมกัน ก็ได้หลวงพ่อมาเป็นประธานสงฆ์ ในวันมงคลสมรสให้กับเรา เมื่อผมได้มาอยู่ บ.ปากกอง ผมยิ่งดีใจเพราะหลวงพ่อท่านยังเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อ ปัญญา นันทภิกขุ ด้วย ยามใดที่หลวงพ่อปัญญา ฯ ขึ้นเชียงใหม่มักจะมาจำวัดที่ วัดปากกองเสมอ ๆ คิด ๆ ก็อัศจรรย์ใจครับ
:lol: :lol:

:idea: :idea: ครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกอง :idea: :idea:
ไฟล์แนบ
556791_0.jpg
556791_0.jpg (126.25 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
556792_0.jpg
556790_0.jpg
ทางเข้าวัดปากกองสารภี ซ้านมือคือ รร.วัดปากกอง
ทางเข้าวัดปากกองสารภี ซ้านมือคือ รร.วัดปากกอง
download.jpg
download.jpg (8.6 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
&quot;พระครูสิริธรรมโฆษิต&quot; หรือ &quot;ครูบาสิงห์แก้ว ญาณวโร&quot; หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า &quot;ครูบาผีกลัว&quot; แห่งวัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองเชียงใหม่ มาอย่างยาวนาน<br />ครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกองอัตโนประวัติ ครูบาสิงห์แก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐กรกฎาคม ๒๔๔๘ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๔ ปี เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมีครูบาเตชะ วัดศรีโพธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระไชยลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และครูบาพรหมมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ญาณวโร<br /><br />เมื่ออุปสมบทแล้ว ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมต่างๆ จากหลายที่ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาสม วัดป่าแดด พระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ร่ำเรียน วิชากับครูบาสมอยู่นานหลายปี และได้วิชาต่างๆ อาทิ วิชาขับไล่ผีและลูคีเมีย ด้วยในสมัยนั้น มีชาวบ้านหลายพื้นที่โดนผีเข้า โดยนำวิชาความรู้มาสร้างวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง เป็นตะปูเสกก่าสะท้อน และลูกอมเกศา ซึ่งมีคุณวิเศษทางด้านขับไล่ผีสางอย่างได้ผล จนได้รับฉายาว่า ครูบาผีกลัว ตราบจนทุกวันนี้<br /><br />ครูบาสิงห์แก้ว เป็นพระที่สมถะ สมัยที่ท่านมีชีวิต ท่านได้บอกไว้ว่า &quot;ข้าไม่อยากดัง&quot; แต่วัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้ ล้วนก่อเกิดประสบการณ์มากมายต่อผู้ครอบครองจนสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปโดย ปริยาย<br />  <br />หลักธรรมคำสอนที่ครูบาสิงห์แก้ว อบรมสอนญาติโยม เป็นเรื่องของความไม่เที่ยงของสังขาร สรรพสิ่งในโลกมีเกิดมีดับ ดังนั้นควรดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นประพฤติปฏิบัติแต่ความดี ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ท่านมีอาการอาพาธด้วย โรคภัยไข้เจ็บมะเร็ง สุดท้ายได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๗มีนาคม ๒๕๓๕ สิริอายุ ๘๗ ปีพรรษา ๗๓ ยังความเศร้าสลดแก่คณะสงฆ์และชาวเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง<br />แม้ครูบาสิงห์แก้ว จะละสังขารไปจากโลกนี้ แต่คุณงามความดีของท่านยังอยู่ในศรัทธาของชาวล้านนาไปตลอดกาลนาน
"พระครูสิริธรรมโฆษิต" หรือ "ครูบาสิงห์แก้ว ญาณวโร" หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า "ครูบาผีกลัว" แห่งวัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองเชียงใหม่ มาอย่างยาวนาน
ครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกองอัตโนประวัติ ครูบาสิงห์แก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐กรกฎาคม ๒๔๔๘ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๔ ปี เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมีครูบาเตชะ วัดศรีโพธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระไชยลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และครูบาพรหมมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ญาณวโร

เมื่ออุปสมบทแล้ว ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมต่างๆ จากหลายที่ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาสม วัดป่าแดด พระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ร่ำเรียน วิชากับครูบาสมอยู่นานหลายปี และได้วิชาต่างๆ อาทิ วิชาขับไล่ผีและลูคีเมีย ด้วยในสมัยนั้น มีชาวบ้านหลายพื้นที่โดนผีเข้า โดยนำวิชาความรู้มาสร้างวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง เป็นตะปูเสกก่าสะท้อน และลูกอมเกศา ซึ่งมีคุณวิเศษทางด้านขับไล่ผีสางอย่างได้ผล จนได้รับฉายาว่า ครูบาผีกลัว ตราบจนทุกวันนี้

ครูบาสิงห์แก้ว เป็นพระที่สมถะ สมัยที่ท่านมีชีวิต ท่านได้บอกไว้ว่า "ข้าไม่อยากดัง" แต่วัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้ ล้วนก่อเกิดประสบการณ์มากมายต่อผู้ครอบครองจนสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปโดย ปริยาย

หลักธรรมคำสอนที่ครูบาสิงห์แก้ว อบรมสอนญาติโยม เป็นเรื่องของความไม่เที่ยงของสังขาร สรรพสิ่งในโลกมีเกิดมีดับ ดังนั้นควรดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นประพฤติปฏิบัติแต่ความดี ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ท่านมีอาการอาพาธด้วย โรคภัยไข้เจ็บมะเร็ง สุดท้ายได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๗มีนาคม ๒๕๓๕ สิริอายุ ๘๗ ปีพรรษา ๗๓ ยังความเศร้าสลดแก่คณะสงฆ์และชาวเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง
แม้ครูบาสิงห์แก้ว จะละสังขารไปจากโลกนี้ แต่คุณงามความดีของท่านยังอยู่ในศรัทธาของชาวล้านนาไปตลอดกาลนาน
get_auc1_img.jpg (23.37 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
hh73f1654856263-1.jpg
hh73f1654856263-1.jpg (85.51 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
hh73f1654856263-2.jpg
hh73f1654856263-2.jpg (85.16 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
556795_0.jpg
556795_0.jpg (141.01 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
556796_0.jpg
556794_0.jpg
ประวัติการจัดตั้งเทศบาลตำบลสารภี<br /><br />เทศบาลตำบลสารภี เดิมเป็นสภาตำบลสารภี และได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสารภี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 และประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 112 ตอนพิเศษ 6 ง ลงวันที่ 3 มีนาคม 2538 โดยมีผลบังคับตั้งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นมา ต่อมาได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลสารภี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล มีผลตั้งแต่วันลงนามในประกาศ คือ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป<br /><br />ประวัติการดำรงตำแหน่งคณะบริหารเทศบาลตำบลสารภี<br />เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 สภาตำบลสารภีได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสารภี มีกำนันดำรงตำแหน่งประธานบริหารกรรมการบริหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งได้แก่ พ่อกำนันประชัน คำบุญเรือง และคณะกรรมการบริหารอีก 7 คน โดยการเลือกตั้งกันในกลุ่มสมาชิกสภา อบต. จนครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ.2542<br /><br />ต่อมาในปี พ.ศ.2542 สมาชิกฯ เดิมได้ครบวาระจึงมีการเลือกตั้งสมาชิกฯใหม่ขึ้นโดยมีสมาชิกฯในหมู่บ้านละ 2 คน และสมาชิกฯ ชุดใหม่ได้เลือกให้ พ่อครูบุญศรี บุญทวี สมาชิก อบต. หมู่ที่ 5 เป็นประธานกรรมการบริหารอีก 2 ท่านได้แก่ 1.นางศรีนวล สุภาวัฒน์ 2. จ.ส.อ. ประสงค์ คำมงคล คณะกรรมการดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่ง 2 ปี เศษ ก็ได้มีการเลือกตั้งประธานกรรมการบริการชุดใหม่ขึ้น คือ นางแย้มมณี ณ บุญหลง เป็นประธานกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการบริหารอีก 2 ท่าน ได้แก่ 1. นายธนากร วรรณติ 2.นายประสงค์ จันต๊ะกอง คณะกรรมการดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งได้ประมาณ 1 ปีเศษ ก็ได้มีการเลือกตั้งคณะบริหารชุดใหม่ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 3 โดยมี นายสัญญา พรหมศาสตร์ เป็นประธานกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการอีก 2 ท่าน คือ 1. นายสมศักดิ์ ปัญเจริญ 2. นายศุภกร สุวรรณมณี เป็นคณะกรรมการบริหารจนครบวาระ 4 ปี ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ชุดที่ 2 ในปี พ.ศ.2546 เมื่อครบวาระลงก็ได้มีการเลือกตั้งใหม่ในครั้งที่ 3 โดยมีนายสัญญา พรหมศาสตร์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และรองนายกองค์การบริหารฯ อีก 2 ท่าน คือ 1. นายสมศักดิ์ ปัญเจริญ และ 2. นายศุภกร สุวรรณมณี บริหารงานอีกครั้งจนครบวาระครั้งที่ 3<br /><br />ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลสารภีได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลสารภี ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนายสัญญา พรหมศาสตร์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีตำบลสารภี โดยมีรองนายกเทศมนตรี 2 ท่าน คือ 1. นายศุภกร สุวรรณมณี 2. นายบรรชา บารมี มีเลขานุการนายกฯ คือ นางเตือนใจ สุรินทรามนต์ และมีที่ปรึกษานายกฯ คือ นายคณกฤต เลาหกุลทรัพย์ รวมเป็นคณะบริหารจำนวน 5 ท่าน และสมาชิกเทศบาลทั้ง 2 เขตเลือกตั้ง จำนวน 12 คน โดยมี นายประสงค์ จันต๊ะกอง เป็นประธานสภา, นายสมศักดิ์ ปัญเจริญ เป็นรองประธานสภา และ นายปิยะ ทรงสุภา เป็นเลขานุการสภาฯ จากการเลือกตั้งผู้บริหารและสภาชิกสภาเทศบาล เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2550 มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2552 รองนายกคนที่ 2 นายบรรชา บารมี ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมี นายวิโรจน์ เลาหกุล ดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีแทน<br /><br />ขอบคุณข้อมูลจาก เทศบาล ต.สารภี อ.สารภี เชียงใหม่
ประวัติการจัดตั้งเทศบาลตำบลสารภี

เทศบาลตำบลสารภี เดิมเป็นสภาตำบลสารภี และได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสารภี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 และประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 112 ตอนพิเศษ 6 ง ลงวันที่ 3 มีนาคม 2538 โดยมีผลบังคับตั้งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นมา ต่อมาได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลสารภี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล มีผลตั้งแต่วันลงนามในประกาศ คือ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

ประวัติการดำรงตำแหน่งคณะบริหารเทศบาลตำบลสารภี
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 สภาตำบลสารภีได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสารภี มีกำนันดำรงตำแหน่งประธานบริหารกรรมการบริหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งได้แก่ พ่อกำนันประชัน คำบุญเรือง และคณะกรรมการบริหารอีก 7 คน โดยการเลือกตั้งกันในกลุ่มสมาชิกสภา อบต. จนครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ.2542

ต่อมาในปี พ.ศ.2542 สมาชิกฯ เดิมได้ครบวาระจึงมีการเลือกตั้งสมาชิกฯใหม่ขึ้นโดยมีสมาชิกฯในหมู่บ้านละ 2 คน และสมาชิกฯ ชุดใหม่ได้เลือกให้ พ่อครูบุญศรี บุญทวี สมาชิก อบต. หมู่ที่ 5 เป็นประธานกรรมการบริหารอีก 2 ท่านได้แก่ 1.นางศรีนวล สุภาวัฒน์ 2. จ.ส.อ. ประสงค์ คำมงคล คณะกรรมการดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่ง 2 ปี เศษ ก็ได้มีการเลือกตั้งประธานกรรมการบริการชุดใหม่ขึ้น คือ นางแย้มมณี ณ บุญหลง เป็นประธานกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการบริหารอีก 2 ท่าน ได้แก่ 1. นายธนากร วรรณติ 2.นายประสงค์ จันต๊ะกอง คณะกรรมการดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งได้ประมาณ 1 ปีเศษ ก็ได้มีการเลือกตั้งคณะบริหารชุดใหม่ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 3 โดยมี นายสัญญา พรหมศาสตร์ เป็นประธานกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการอีก 2 ท่าน คือ 1. นายสมศักดิ์ ปัญเจริญ 2. นายศุภกร สุวรรณมณี เป็นคณะกรรมการบริหารจนครบวาระ 4 ปี ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ชุดที่ 2 ในปี พ.ศ.2546 เมื่อครบวาระลงก็ได้มีการเลือกตั้งใหม่ในครั้งที่ 3 โดยมีนายสัญญา พรหมศาสตร์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และรองนายกองค์การบริหารฯ อีก 2 ท่าน คือ 1. นายสมศักดิ์ ปัญเจริญ และ 2. นายศุภกร สุวรรณมณี บริหารงานอีกครั้งจนครบวาระครั้งที่ 3

ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลสารภีได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลสารภี ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนายสัญญา พรหมศาสตร์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีตำบลสารภี โดยมีรองนายกเทศมนตรี 2 ท่าน คือ 1. นายศุภกร สุวรรณมณี 2. นายบรรชา บารมี มีเลขานุการนายกฯ คือ นางเตือนใจ สุรินทรามนต์ และมีที่ปรึกษานายกฯ คือ นายคณกฤต เลาหกุลทรัพย์ รวมเป็นคณะบริหารจำนวน 5 ท่าน และสมาชิกเทศบาลทั้ง 2 เขตเลือกตั้ง จำนวน 12 คน โดยมี นายประสงค์ จันต๊ะกอง เป็นประธานสภา, นายสมศักดิ์ ปัญเจริญ เป็นรองประธานสภา และ นายปิยะ ทรงสุภา เป็นเลขานุการสภาฯ จากการเลือกตั้งผู้บริหารและสภาชิกสภาเทศบาล เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2550 มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2552 รองนายกคนที่ 2 นายบรรชา บารมี ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมี นายวิโรจน์ เลาหกุล ดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีแทน

ขอบคุณข้อมูลจาก เทศบาล ต.สารภี อ.สารภี เชียงใหม่
about_11_1.jpg (36.99 KiB) เข้าดูแล้ว 976 ครั้ง
554417_0.jpg
554417_0.jpg (74.48 KiB) เข้าดูแล้ว 971 ครั้ง
เกิดข้อกังขาในหัวใจว่า เอ...สารภี..มีแค่ถนนวัฒนธรรมสายต้นยางแค่นี้หรือ แล้วลึกเข้าไปจะมีอะไรให้ได้ทัศนาบ้าง เช้าของวันที่ ๕ ธ.ค.เป็นวันพ่อซึ่งทางเทศบาลตำบลสารภีได้จัดให้มีการใส่บาตร เป็นประจำทุกปีช่วงเช้าผมเลยถือโอกาสแอบ(หนี) ปั่นคนเดียว เพราะถ้าคุณนายไปด้วย โอกาสที่จะตลุยคงไม่ง่าย ซึ่งปรากฏว่าลึกเข้าไปจากถนนไม่กี่ร้อยเมตร จะเป็นบ้านคน ทุ่งนา สวนลำใย สวนผัก ผมตลุยปั่นลึกเข้าไปตามหลืบต่าง ๆ สรุปได้ว่า ความเจริญจริง ๆ อยู่แถบบริเวณริมถนนต้นยาง หรือที่เรียกกันว่า &quot;ถนนวัฒนธรรม&quot; แค่นั้นจริง ๆ (หายข้องใจ).
เกิดข้อกังขาในหัวใจว่า เอ...สารภี..มีแค่ถนนวัฒนธรรมสายต้นยางแค่นี้หรือ แล้วลึกเข้าไปจะมีอะไรให้ได้ทัศนาบ้าง เช้าของวันที่ ๕ ธ.ค.เป็นวันพ่อซึ่งทางเทศบาลตำบลสารภีได้จัดให้มีการใส่บาตร เป็นประจำทุกปีช่วงเช้าผมเลยถือโอกาสแอบ(หนี) ปั่นคนเดียว เพราะถ้าคุณนายไปด้วย โอกาสที่จะตลุยคงไม่ง่าย ซึ่งปรากฏว่าลึกเข้าไปจากถนนไม่กี่ร้อยเมตร จะเป็นบ้านคน ทุ่งนา สวนลำใย สวนผัก ผมตลุยปั่นลึกเข้าไปตามหลืบต่าง ๆ สรุปได้ว่า ความเจริญจริง ๆ อยู่แถบบริเวณริมถนนต้นยาง หรือที่เรียกกันว่า "ถนนวัฒนธรรม" แค่นั้นจริง ๆ (หายข้องใจ).
554418_0.jpg (113.16 KiB) เข้าดูแล้ว 971 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 08 ธ.ค. 2023, 17:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:o :( ช่วงนี้สังเกตุมีแต่เรื่องไม่ค่อยเป็นมงคล "เศร้า ๆ " อย่างไรบอกไม่ถูก หรือว่าเราอินในธรรมเกินไป(ก็เป็นได้) คือไม่วางอุเบกขา จึงพาให้จิตเศร้าหมองไปบ้าง อย่างเช่นเรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ :( :(

:o :o จบแล้วนะครับกับกรณีครูที่ตรวจรับอาหารกลางวันแม้ลูกศิษย์ที่เคยเรียนจะยื่นทัดทานอย่างไรแต่ผล สุดท้ายลงเอยโดยการถูก "ปลดออกจากราชการ"

ทางเพจ "วันนั้นเมื่อฉันสอน" ติดตามกรณีครูทำอาหารกลางวันในโรงเรียนขยายโอกาสเลี้ยงเด็กบนดอยซึ่งงบประมาณครอบคลุมแค่ ป.6 แต่นำไปเลี้ยงจนถึง ม.3 คำว่าโรงเรียนขยายโอกาส คือโรงเรียนที่เด็กไม่มีทางเลือก ยากจนและขาดโอกาส ทำให้คนเป็นครูอดไม่ได้ที่จะเห็นลูกศิษย์ทนหิวคนหนึ่งกินอีกคนไม่ได้กิน ไม่มีนิยามใดบนโลกที่บอกว่าเมื่อขึ้น ม.1 ความยากจนจะหมดพ้นไป จึงต้องกระทำไปแบบนั้น

งบเท่าเดิมคนมากขึ้นย่อมกระทบต่อปริมาณและคุณภาพเป็นมูลเหตุให้ผู้ปกครองบางคนไม่พอใจและร้องเรียน แทนที่จะชื่นชมว่างบประมาณเท่านี้แต่สามารถเลี้ยงคนได้มากกว่าที่ให้ กลับหาทางเล่นงาน

ครูชัยยศเองมีชื่อเป็นกรรมการตรวจรับ ซึ่งยอมรับว่าไม่ได้มีความความรอบคอบมากพอโดนหางเลขไปด้วยเนื่องจากมีการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามระเบียบ ผลสุดท้ายไม่ว่าจะทำคุณงามความดีมาขนาดไหน ได้รางวัลอะไร ส่งนักเรียนเรียนต่อถึงปริญญาตรี อุทิศเวลาทั้งชีวิตเพื่อสั่งสอนเด็ก แต่เส้นทางราชการก็ต้องสิ้นสุดลง ไม่มีใครช่วยเหลือได้ ไม่มีอะไรปกป้อง

ผมขอคุยกับครูชัยยศแต่เจ้าตัวเหมือนรับสภาพไปแล้ว สูญสิ้นศรัทธาต่อความดีงามไม่อยากที่จะคุยกับผม จนกระทั่งเย็นแกจึงยอมเล่าเพื่อเป็นอุทาหรณ์

ผู้ชายคนหนึ่งที่ใช้เงินตัวเองส่งเสียลูกศิษย์บ่มเพาะและสั่งสอนจนเรียนจบได้ดีมีการมีงาน มั่นใจอย่างแน่แท้ว่าเขาไม่ได้มีผลประโยชน์จากอาหารกลางวันนี้ แต่ต้องมาจบเส้นทางราชการลงเพราะมีชื่อเป็นกรรมการตรวจรับทั้งที่เขาไม่เคยได้รับผลประโยชน์อันใดจากมัน

ด้วยคำตัดสินที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มีสถานอื่นใดนอกจากออกจากราชการเท่านั้น ครูชัยยศยอมรับว่าไม่ได้มีความรู้มากมายในเรื่องพัสดุเพราะตนเป็นครูผู้สอน แต่ความผิดที่ได้รับนั้นตนไม่ได้ประโยชน์แต่กับลงทัณฑ์อย่างสาหัส ไม่มีรอมชอม และถูกตราหน้าว่าผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

คนที่ไม่เคยได้ประโยชน์อันใดจากสิ่งที่ทำกลายเป็นคน "ทุจริต"

ใครที่ผ่านไปทางอมก๋อยก็ฝากอุดหนุนโรตีของครูเขาด้วยนะครับ เพราะนั่นคืออาชีพเดียวที่เขาหลงเหลืออยู่ ชายที่อุทิศทั้งชีวิตเพื่อนักเรียนหมดสิ้นแล้วทุกสิ่ง

เรื่องนี้อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนเห็นว่าในโรงเรียนขยายโอกาส ถ้าโรงเรียนบริหารจัดการได้ก็ควรให้เลี้ยงได้ถึง ม.3 เลย หรือจะให้ดีก็ควรมีงบประมาณมาเพิ่ม

ความยุติธรรมที่มาช้า คือความอุยติธรรม บางทีผมก็สงสัยนะว่าทำไมครูไทยต้องมาทำอะไรแบบนี้ เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่งยังเอากระดูกมาแขวนคอ เมื่อไหร่จะให้ครูได้ต่อสู้แค่กับความไม่รู้ของนักเรียนเพียงอย่างเดียว นี่คือสิ่งที่กระทำต่อครูโดยระบบการศึกษา ครูไม่ได้ประโยชน์จากการตรวจรับแต่เวลาลงทัณฑ์ ประหัตประหารกันถึงขีดสุด

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้กับครูรุ่นใหม่ว่าหากไม่อยากออกจากราชการและอยู่จนเกษียณอย่าไปยุ่งกับการตรวจรับ ไม่รู้อย่าเซ็น ไม่แน่ใจอย่าเซ็น ไม่ละเอียดอย่าเซ็น ผิดมาจะอ้างไม่รู้ไม่ได้ เพราะไม่มีความดีใดปกป้องคุณได้ และเรื่องนี้จะยังเป็นชะตากรรมที่ครูไทยต้องพบเจอสืบไป

หากคุณคิดว่าสิ่งที่ครูคนหนึ่งที่ทำเพื่อเด็กเหมาะสมแล้วก็เลื่อนผ่านโพสนี้ไปไม่ใช่เรื่องของเราซักหน่อย แต่หากคุณคิดว่ามันไม่ถูกต้องโปรดช่วยแชร์เรื่องราวนี้ออกไปเพื่อช่วยเหลือให้มนุษย์ผู้หนึ่งยังไม่สิ้นศรัทธาในความถูกต้องและขอให้ทบทวนเพื่อมีการเปลี่ยนแปลง

Chaiyot Suktor
:o :o

8-) 8-) เรื่องราวแบบนี้ผมก็ผ่านมาเยอะครับ หวุดหวิด ๆ ให้ออก ไล่ออก เหมือนกัน (อาศัยบุญ บารมีแต่ปางหลังกับความซื่อสัตย์ จริงใจเป็นที่ตั้ง จึงรอดมาได้) เคยใช้หนี้แทนลูกน้องเพราะตรวจรับงาน เพราะเชื่อใจ...ในคณะกรรมการ เขาบอกตรวจสอบแล้ว เรางานเยอะในฐานะประธาน ก็เชื่อใจคน...สุดท้ายจนใจเอง..สนน.(สมน้ำหน้า) แต่ในรายของครูแว่ว ๆ ข่าวดีอาจจะรอด เป็นกำลังใจให้ละกันครับ :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
ข่าวแว่ว สส.ยื่นมือเข้าไปช่วยแล้ว ก็ขอให้ความดีของครูจงเป็นความดีจริง ๆ ที่จะสามารถปกป้องคุ้มครองครูได้ รอฟังและเป็นกำลังใจครับ
ข่าวแว่ว สส.ยื่นมือเข้าไปช่วยแล้ว ก็ขอให้ความดีของครูจงเป็นความดีจริง ๆ ที่จะสามารถปกป้องคุ้มครองครูได้ รอฟังและเป็นกำลังใจครับ
994148.jpg (122.43 KiB) เข้าดูแล้ว 952 ครั้ง
554371.jpg
554371.jpg (75.69 KiB) เข้าดูแล้ว 952 ครั้ง
เช้าวันที่ ๖ ธ.ค.๖๖ ครบ ๒ เดือนกับอีก ๒ วันหลังการผ่าตัด(หมอให้ปั่นจักรยานได้) ผมขอจัดหนักสักนิดนึง ? (เพราะปั่นเบามาแล้ว) คุณนายไม่ขัดข้องครับ ผมจึงขอไปสำรวจเบื้องต้นสำหรับข้อมูล ๓ ตำบล(สำรวจแล้ว ต.สารภี เหลือ ต.ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง) ผมพาเลยไปถึง ต.ท่าวังตาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของเวียงกุมกาม และอยู่ในเขตรับผิดชอบของ อ.สารภี ด้วย  ที่เข้าไปสำรวจเพราะนานมากแล้วไม่ได้ไปเยี่ยมเยียนเลย ไปถึงก็ &quot;เศร้าใจครับ&quot; ส่วนจะเศร้าอย่างไร ขนาดไหน ติดตามไปเรื่อย ๆ เมื่อถึง ต.ท่าวังตาลก็จะเล่าให้ฟังละกัน <br /><br />ปั่นกันได้ ๓๖ กม.สบาย ๆ ในความรู้สึกผม ผมว่าผ่านนะ (หมอรู้คงเอ็ดแน่ ๆ ๕๕๕.)
เช้าวันที่ ๖ ธ.ค.๖๖ ครบ ๒ เดือนกับอีก ๒ วันหลังการผ่าตัด(หมอให้ปั่นจักรยานได้) ผมขอจัดหนักสักนิดนึง ? (เพราะปั่นเบามาแล้ว) คุณนายไม่ขัดข้องครับ ผมจึงขอไปสำรวจเบื้องต้นสำหรับข้อมูล ๓ ตำบล(สำรวจแล้ว ต.สารภี เหลือ ต.ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง) ผมพาเลยไปถึง ต.ท่าวังตาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของเวียงกุมกาม และอยู่ในเขตรับผิดชอบของ อ.สารภี ด้วย ที่เข้าไปสำรวจเพราะนานมากแล้วไม่ได้ไปเยี่ยมเยียนเลย ไปถึงก็ "เศร้าใจครับ" ส่วนจะเศร้าอย่างไร ขนาดไหน ติดตามไปเรื่อย ๆ เมื่อถึง ต.ท่าวังตาลก็จะเล่าให้ฟังละกัน

ปั่นกันได้ ๓๖ กม.สบาย ๆ ในความรู้สึกผม ผมว่าผ่านนะ (หมอรู้คงเอ็ดแน่ ๆ ๕๕๕.)
554372.jpg (170.73 KiB) เข้าดูแล้ว 952 ครั้ง
27  Nov. 23 (132).jpg
27  Nov. 23 (134).jpg
ออกจากวัดปากกอง ขอคุณนายเก็บภาพ รร.เก่าของตัวเองสวย ๆ สักภาพก่อนที่จะออกเดินทางไปอีกประมาณ ๓๐๐ ม.ก็ถึง รพ.สารภี เป็น รพ.ใหญ่ สามารถรักษาได้ทุกโรค เป็นที่พึ่งของคน อ.สารภีได้เป็นอย่างดีครับ
ออกจากวัดปากกอง ขอคุณนายเก็บภาพ รร.เก่าของตัวเองสวย ๆ สักภาพก่อนที่จะออกเดินทางไปอีกประมาณ ๓๐๐ ม.ก็ถึง รพ.สารภี เป็น รพ.ใหญ่ สามารถรักษาได้ทุกโรค เป็นที่พึ่งของคน อ.สารภีได้เป็นอย่างดีครับ
ประวัติโรงพยาบาล<br /><br />เริ่มแรกตำบลสารภีไม่มีโรงพยาบาล มีเพียงอาคารสถานีอนามัยชั้น 2 จากนั้นกรรมการวัดปากกอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันประชุม ตกลงหารือกันใช้พื้นที่ของวัดร้างซึ่งเป็นที่ดินของกรมศาสนาสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 โดยเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2508 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2510 และขึ้นตรงกับอนามัยอำเภอสารภี ต่อมาในปีเดียวกันได้สร้างสถานีอนามัยชั้น 1 ตามแบบแปลนของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มอีก 1 หลัง ในพื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน กระทรวงสาธารณสุขได้เช่าที่ดินวัดร้างซึ่งเป็นของกรมศาสนา ตั้งอยู่หมู่ 3 ตำบลสารภี อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 14 กิโลเมตรและห่างจากตัวเมืองลำพูน 11 กิโลเมตร สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2511 เปิดให้บริการวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีนายแพทย์สมบูรณ์ ผ่องอักษร เป็นประธานเปิดโรงพยาบาล<br /><br />พ.ศ. 2518  ได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์แพทย์และอนามัย<br /><br />พ.ศ. 2519  ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง<br /><br />พ.ศ. 2520  จากดำริของท่านพระครูศิริธรรมโฆษิต เจ้าอาวาสวัดปากกอง (ในขณะนั้น) พร้อมด้วยประชาชนในอำเภอสารภีและตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน ได้จัดผ้าป่าสามัคคี สร้างตึกผู้ป่วยนอน ซื่ออาคารราษฎร์สามัคคีเพิ่ม 1 หลัง และขยายเป็นห้องตรวจโรค ห้องเก็บเวชภัณฑ์และห้องคลอด<br /><br />พ.ศ. 2530  ได้รับบริจาคจากบริษัทโรงงานยาสูบไซแอมโทแบคโค เป็นจำนวน 1 ล้านบาท สร้างเป็นอาคารผู้ป่วยห้องพิเศษจำนวน 6 ห้อง สามารถรับผู้ป่วยนอนได้ 10 เตียง และห้องทันตกรรม 1 ห้อง<br /><br />พ.ศ. 2536  กระทรวงสาธารณสุขได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 15,750,000 บาท ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง แต่ไม่มีที่ดินเพียงพอ คณะกรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาลจึงประชุมหารือจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อหาเงินสมทบ จนขยายเป็นโรงพยาบาล 30 เตียงได้ ส่วนบ้านพักแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้สร้างในที่ดินเช่าและซื้อเพิ่มรวม 4 ไร่ ที่บ้านช่างเคิ่ง ตำบลสารภี<br /><br />พ.ศ. 2547  ได้รับการยกฐานะให้ขยายเป็นโรงพยาบาล 60 เตียงแบบพึ่งพาตนเอง<br /><br />พ.ศ. 2552  เนื่องจากโรงพยาบาลมีปัญหาสถานที่คับแคบโดยเฉพาะในส่วนที่จอดรถของผู้มารับบริการและผู้มาติดต่อราชการ จึงจัดตั้งกองทุนจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่ให้ บริการของโรงพยาบาล<br /><br />พ.ศ. 2553  ได้เปิดบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านโดยได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่ให้บริการจากวัดต้นเหียว และได้รับบริจาคที่ดินจาก คุณแม่แก้วเรือน จิวหานัง จำนวน 8 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลขัวมุง พร้อมทั้งบุตรสาวคือคุณจันทร์ฉาย ใจสันต์ ได้บริจาคอาคาร 1 หลังสำหรับให้บริการในที่ดินพื้นนี้ และโรงพยาบาลสารภีใช้เงินบำรุงสร้างขึ้นอีก 1 หลัง เปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นสาขาของโรงพยาบาลสารภี<br /><br />พ.ศ. 2556  พิธิเปิดอย่างเป็นทางการศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นสาขาของโรงพยาบาลสารภี<br /><br />ขอขอบคุณข้อมูล จาก โรงพยาบาลสารภี 147 ม.3 ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
ประวัติโรงพยาบาล

เริ่มแรกตำบลสารภีไม่มีโรงพยาบาล มีเพียงอาคารสถานีอนามัยชั้น 2 จากนั้นกรรมการวัดปากกอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันประชุม ตกลงหารือกันใช้พื้นที่ของวัดร้างซึ่งเป็นที่ดินของกรมศาสนาสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 โดยเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2508 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2510 และขึ้นตรงกับอนามัยอำเภอสารภี ต่อมาในปีเดียวกันได้สร้างสถานีอนามัยชั้น 1 ตามแบบแปลนของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มอีก 1 หลัง ในพื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน กระทรวงสาธารณสุขได้เช่าที่ดินวัดร้างซึ่งเป็นของกรมศาสนา ตั้งอยู่หมู่ 3 ตำบลสารภี อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 14 กิโลเมตรและห่างจากตัวเมืองลำพูน 11 กิโลเมตร สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2511 เปิดให้บริการวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีนายแพทย์สมบูรณ์ ผ่องอักษร เป็นประธานเปิดโรงพยาบาล

พ.ศ. 2518 ได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์แพทย์และอนามัย

พ.ศ. 2519 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง

พ.ศ. 2520 จากดำริของท่านพระครูศิริธรรมโฆษิต เจ้าอาวาสวัดปากกอง (ในขณะนั้น) พร้อมด้วยประชาชนในอำเภอสารภีและตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน ได้จัดผ้าป่าสามัคคี สร้างตึกผู้ป่วยนอน ซื่ออาคารราษฎร์สามัคคีเพิ่ม 1 หลัง และขยายเป็นห้องตรวจโรค ห้องเก็บเวชภัณฑ์และห้องคลอด

พ.ศ. 2530 ได้รับบริจาคจากบริษัทโรงงานยาสูบไซแอมโทแบคโค เป็นจำนวน 1 ล้านบาท สร้างเป็นอาคารผู้ป่วยห้องพิเศษจำนวน 6 ห้อง สามารถรับผู้ป่วยนอนได้ 10 เตียง และห้องทันตกรรม 1 ห้อง

พ.ศ. 2536 กระทรวงสาธารณสุขได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 15,750,000 บาท ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง แต่ไม่มีที่ดินเพียงพอ คณะกรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาลจึงประชุมหารือจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อหาเงินสมทบ จนขยายเป็นโรงพยาบาล 30 เตียงได้ ส่วนบ้านพักแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้สร้างในที่ดินเช่าและซื้อเพิ่มรวม 4 ไร่ ที่บ้านช่างเคิ่ง ตำบลสารภี

พ.ศ. 2547 ได้รับการยกฐานะให้ขยายเป็นโรงพยาบาล 60 เตียงแบบพึ่งพาตนเอง

พ.ศ. 2552 เนื่องจากโรงพยาบาลมีปัญหาสถานที่คับแคบโดยเฉพาะในส่วนที่จอดรถของผู้มารับบริการและผู้มาติดต่อราชการ จึงจัดตั้งกองทุนจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่ให้ บริการของโรงพยาบาล

พ.ศ. 2553 ได้เปิดบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านโดยได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่ให้บริการจากวัดต้นเหียว และได้รับบริจาคที่ดินจาก คุณแม่แก้วเรือน จิวหานัง จำนวน 8 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลขัวมุง พร้อมทั้งบุตรสาวคือคุณจันทร์ฉาย ใจสันต์ ได้บริจาคอาคาร 1 หลังสำหรับให้บริการในที่ดินพื้นนี้ และโรงพยาบาลสารภีใช้เงินบำรุงสร้างขึ้นอีก 1 หลัง เปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นสาขาของโรงพยาบาลสารภี

พ.ศ. 2556 พิธิเปิดอย่างเป็นทางการศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านซึ่งเป็นสาขาของโรงพยาบาลสารภี

ขอขอบคุณข้อมูล จาก โรงพยาบาลสารภี 147 ม.3 ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
550014_0.jpg (184.07 KiB) เข้าดูแล้ว 952 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ มีข่าวคราวที่เพื่อน ๆ เขาส่งมาให้ผมรับทราบในทางไลน์ ผมก็ขออนุญาตินำมาเผยแพร่ เป็นข้อคิดสำหรับท่านผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่จะคิดกันแก้ไข(เรื่องนี้มีมานานพอสมควรตอนนี้เริ่มมีผลแล้ว)

:idea: :idea: #ภาษาอังกฤษกับคนไทย

เห็นข่าวว่า ภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่อันดับที่ 101 จาก 113 ประเทศ ต่ำกว่าพม่า กัมพูชา ไม่น่าแปลกใจ แต่รู้สึกสมเพศเวทนาการศึกษาไทย ที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ซ้ำยังเคยมีรัฐมนตรีศึกษาฯ ที่พูดแบบกบในกะลาว่า “ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่เรา” ไม่ได้สนใจให้มีการเรียนการสอนที่ดีมีประสิทธิภาพ

คงไม่ใช่แต่ภาษาอังกฤษ แม้แต่ภาษาไทยเองก็เถอะ อ่านออกเขียนได้แค่ไหน ไม่ต้องพูดถึงวิชาอื่นๆ ตั้งแต่ประถมไปจนถึงมหาวิทยาลัย จึงไม่แปลก ที่ได้ปริญญาแต่หางานทำไม่ได้ ทั้งๆ ที่ขาดแรงงานในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมจำนวนมาก เพราะเรียนทุกอย่างแบบท่องจำ แต่ทำไม่เป็น

ครูสอนภาษาอังกฤษเก่งๆ บอกว่า คนไทยเรียนภาษาอังกฤษ (ให้ตาย) ก็พูดไม่ได้ เขียนไม่เป็น ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเรียนเพื่อไปสอบ สอบเสร็จก็ลืมหมด เพราะเรียนแบบท่องจำ

ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร เป็น “รูปแบบชีวิต” ถ้าไม่ใช้ ไม่ซึมซับให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นลมหายใจเข้าออก ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่นานก็ลืม ยิ่งวันนี้มีมือถือ มีอินเทอร์เน็ต มีโซเชียล มีเทคโนโลยีที่แปลได้ “ไฟปรารถนา” (passion) ทีจะเรียนภาษาก็ยิ่งน้อยลงไปอีก

คนวันนี้ไม่ได้สนใจภาษาในฐานะรูปแบบชีวิต ที่มีมิติทางจิตวิญญาณอยู่ในนั้น สนใจแต่ว่าเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารเท่านั้น ไม่รู้ก็สื่อได้ แล้วจะเรียนไปทำไม

เมืองไทยวันนี้มีครูภาษาอังกฤษเก่งๆ มากมาย ทั้งฝรั่งและคนไทย มีวิธีการเรียนภาษาในอินเทอร์เน็ตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาก แต่ระบบการศึกษาและครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่ไม่ดี ทำให้เด็กไทยเรียนไปก็ไม่รู้ภาษาอังกฤษ

การเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้ช่วยให้สื่อสารได้เท่านั้น แต่เป็นการเปิดโลกทัศน์ชีวทัศน์ให้กว้างขึ้น ให้เป็นสากล ให้เข้าใจโลก เข้าใจคนอื่นที่แตกต่างทางวัฒนธรรม แต่มีความเหมือนเมื่อปรับตัวให้เป็นสากล

การรู้ภาษาอังกฤษจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง

ขออนุญาตพูดจากประสบการณ์ (จะว่าอวดก็ยอมให้ว่า) ผมเรียนภาษาอังกฤษกับมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสในโรงเรียนประจำ ตอนอายุ 10 ขวบ ชั้นม. 1 (เท่ากับป.5 วันนี้) ปีเดียวก็อ่านออกเขียนได้ พูดได้ขั้นพื้นฐาน 2-3 ปี อ่านหนังสือนวนิยายภาษาอังกฤษที่เขาทำให้ง่ายหลายระดับได้

นั่นเมื่อ 65 ปีที่แล้ว ยังไม่มีทีวี ไม่มีมือถือ ครูฝรั่งมีวิธีสอนที่ดีมาก มีแรงจูงใจให้เด็กเรียนภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาอังกฤษด้วยการเขียนตอบคำถามท้ายหนังสือนวนิยาย แล้วรวมเป็นคะแนนเอาไปแลกของในร้านเล็กๆ มีขนมและของที่เด็กๆ อยากได้ ให้ท่องบทสนทนาแล้วเอาไปคุยกันเอง นับเป็นคะแนนด้วย ให้ฝึกสนทนากันในห้องเรียน

บางครั้งมีฝรั่งไปเยี่ยมที่โรงเรียน พวกเราไม่ได้วิ่งหนี แต่วิ่งไปหาฝรั่งเพื่อสนทนาภาษาอังกฤษ นอกนั้น เรายังเรียนภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส ทำให้รู้ “เคล็ดลับ” และ “คุณค่า” ของการเรียนภาษา เมื่อไปยุโรปผมก็เรียนภาษาอิตาเลียน ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ด้วยทัศนคติที่เป็นบวก และวิธีการที่ใด้ผล

แต่ถ้าเรียนแล้วไม่ได้ใช้อีกอย่างภาษาฮีบรูและภาษากรีก ที่เรียนเพียงปีเดียวเพื่อประกอบการศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล ก็คืนครูไป วันนี้จำอะไรไม่ได้ จึงพอเข้าใจคนเรียนภาษาอังกฤษที่สอบเสร็จก็คืนครู

ถ้ารู้หลายภาษา ทำให้มองโลกได้กว้างกว่ารู้ภาษาเดียว ทำไมเราไม่เรียนหลายภาษา อย่างภาษาเพื่อนบ้าน

รัฐบาลคิดแต่จะ “ขายวัฒนธรรม” แต่ไม่สนใจปฏิรูปการศึกษา สุดท้ายก็ได้แต่ไปลอกเลียนแบบเขา เพราะการศึกษาทำให้คิดเป็น สร้างนวัตกรรมได้ รวมทั้งทำให้ของดีที่เรามีอยู่มีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น

รัฐบาลและกระทรวงศึกษาฯ อย่ารอให้เด็กๆ เดินขบวนมาถอนหงอกเลย โลกเปลี่ยนไปแล้ว และสิ่งที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้

และสิ่งที่เป็นเหมือนน้ำมันหล่อลื่น คือ ภาษา ที่จะทำให้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ซึ่งมีอยู่ “ในมือ” ของทุกคน

เสรี พพ 5 ธ.ค. 66
:( :(
ไฟล์แนบ
ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายก รมต.โจว เอินไหล ชาวจีนกลุ่มหนึ่งมาร่วมงานในฐานะเจ้าบ้าน คณะแขกในงานคือ ชนชั้นสูงที่ส่วนใหญ่เป็นวงศาคณาญาติของเครือราชวงศ์ในแถบประเทศยุโรป <br /><br />แขกทุกคน ล้วนมีการศึกษาสูง และกิริยามารยาทในสังคมดีเลิศทั้งนั้น แต่เบื้องหลังแต่ละคน ล้วนซ่อนความหยิ่งยโสไว้เกือบทุกคน อาจเป็นเพราะงานคืนนั้น เป็นงานเลี้ยงส่งคณะผู้มาเยือนเป็นคืนสุดท้าย แต่ละคนอาจดื่มหนักไปหน่อยเลยพูดจาค่อนข้างปล่อยวางตามอำเภอใจ<br /><br />และแล้ว ก็มีฝรั่งท่านหนึ่ง ลุกขึ้นยืน แล้วถามว่า<br /><br />&quot;ขอทราบเหตุผลหน่อย ทำไมปีนักษัตร ๑๒ ราศีของจีน จึงมีแต่พวกหมู หมา กา ไก่ มาเป็นตัวสัญลักษณ์ ไม่เห็นจะเหมือนของพวกเราเลย ล้วนฟังดูดี มีสกุล  เช่น กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวแมงป่อง ไม่รู้บรรพบุรุษพวกคุณ เอาส่วนไหนของร่างกายมาคิดตั้งราศีบ้านๆ พวกนี้ออกมา?&quot;<br /><br />พอพูดจบ ก็เป็นเสียงฮาเฮของเหล่าฝรั่งหัวแดง พร้อมชนแก้วดื่มกันสนั่นหวั่นไหว ความเป็นผู้ดีหายไปในชั่วพริบตา<br /><br />เมื่อถูกเขาเจริญพรถึงบรรพบุรุษกันขนาดนี้ จะเถียงเขาอย่างไรดี จะทุบโต๊ะแสดงความไม่พอใจก็ย่อมจะทำได้  แต่อาจเพราะยังตั้งหลักไม่ทัน ต่างคนต่างยังเก็บความเคืองแค้นด้วยความเงียบ<br /><br />แต่แล้วก็มีชาวจีนท่านหนึ่ง ลุกขึ้นยืน แล้วใช้น้ำเสียงอันราบเรียบที่สุภาพพูดขึ้นว่า<br /><br />&quot;ท่านทั้งหลาย  บรรพบุรุษของพวกเรามักยืนอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง ปีราศีของพวกเราจับกันเป็นคู่ๆ  หมุนเวียนกันหกรอบ แสดงถึงความหวังและความต้องการของบรรพบุรุษของเราที่มีต่อพวกเราทุกคน&quot;<br /><br />ในเวลานั้น เสียงฮาเฮเริ่มค่อยๆ เบาบางลง แต่สีหน้าของชาวต่างชาติแทบทุกคนยังคงแฝงไว้ด้วยแววตาที่เย้ยหยัน<br /><br />&quot;ราศีคู่แรก คือหนูและวัว หนูคือ ตัวแทนของความเฉลียวฉลาด วัวคือ สัญลักษณ์ของความขยัน หากคนเราฉลาด แต่ขี้เกียจ ก็ไปไม่ได้ไกล<br />แต่ถ้าขยันแล้ว แต่ไร้หัวคิด ก็กลายเป็นไอ้โง่ สองสิ่งนี้ ต้องบวกกันเป็นหนึ่ง ก็คือคนฉลาดที่ขยัน  นั่นคือสิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บรรพบุรุษคาดหวังในตัวพวกเรา&quot;<br /><br />&quot;คู่ที่สองคือเสือและกระต่าย เสือ มีความกล้าหาญเต็มร้อย กระต่าย มีความระมัดระวังเป็นคุณสมบัติประจำตัว ความกล้าบวกกับความระมัดระวัง ถึงจะเรียกว่าคนใจถึง แต่รอบคอบ หากมีแต่ความกล้า มันคือ ความมุทะลุ  หากมีแต่ความระแวดระวังเกินกว่าเหตุ มันคือความขี้ขลาด&quot;<br /><br />คนจีนผู้นั้น มองกลุ่มฝรั่งนิดนึง แล้วพูดต่อ เพื่อรักษามารยาทอันดีงาม<br /><br />&quot;บางครั้ง อาจเห็นพวกเรามักนิ่งเงียบ คงจะกำลังครุ่นคิด จงอย่าเข้าใจว่าพวกเราไม่มีความกล้าซ่อนอยู่&quot; <br /><br />&quot;คู่ที่สามคือมังกรและงู (งูใหญ่และงูเล็กของไทย) มังกรคือความแข็งแกร่ง งูคือ ความพลิ้วไหว ชีวิตที่แข็งทื่อเกินไปอาจต้องเผชิญกับการแตกหัก 'ยอมหักไม่ยอมงอ' จึงอาจไม่ใช่สิ่งดีเสมอไป แต่พลิ้วไหวไป ก็ไร้จุดยืน เพราะฉะนั้น ในความแข็งแกร่ง ต้องมีความอ่อนโยนซ่อนอยู่  ผู้ใหญ่ท่านสอนไว้แบบนี้&quot;<br /><br />&quot;ชุดต่อไปคือ ม้าและแพะ ม้า มุ่งตะลุยไปข้างหน้าอย่างเดียว แพะ คือ สัญลักษณ์ของความอ่อนโยน หากคนเราเอาแต่ลุยไปข้างหน้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง คงต้องกระทบกระทั่งเขาไปทั่ว หนทางสู่จุดหมายปลายทาง คงทุลักทุเลน่าดู แต่ถ้ามีแต่ความอ่อนโยน ว่านอนสอนง่าย สุดท้ายต้องหลงทางแน่นอน สองสิ่งนี้ ต้องรวมกัน เส้นทางสู่จุดหมายจึงจะราบเรียบ&quot;<br /><br />&quot;คู่ต่อไปคือ ลิงกับไก่ ลิง มีความว่องไว ไก่ ขันตามเวลาทุกเช้า มันคือความแน่นอน ความว่องไว ที่ปราศจากความแน่นอน เขาเรียกว่าความวุ่นวาย ความแน่นอน แต่เชื่องช้าเกินเหตุ อันนี้ชีวิตอับเฉา ไร้รสชาติ ชีวิตต้องดำเนินไปด้วยความสมดุลของสองสิ่งนี้ แล้วชีวิตจะสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น&quot;<br /><br />&quot;คู่สุดท้ายคือสุนัขและสุกร สุนัข มีความซื่อสัตย์สูงสุด  สุกรว่านอนสอนง่ายที่สุด คนเรา ถ้าซื่อตรงจนเกินไป ไม่รู้จักผ่อนกฎผ่อนเกณฑ์กันบ้าง จะสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว หรืออาจเครียดเกินเหตุ แต่หากหัวอ่อนไป ก็จะไม่มีบรรทัดฐานของตัวเอง ลู่ไปตามลม คงไม่ดีแน่ แต่การรวมกันของสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ความสมดุลจะเกิดขึ้นภายในจิตใจเรา&quot;<br /><br />พออธิบายที่มาของสิบสองราศีจนครบถ้วน ชาวจีนผู้นั้นจึงถามชาวยุโรปว่า &quot;คงต้องขอทราบว่า สิบสองราศีของพวกคุณ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวแมงป่อง คนแบกหม้อ คนยิงธนู มีความหมายต้องการจะสื่ออะไรหรือเปล่า แล้วที่บรรพบุรุษพวกคุณคัดสรรพวกนี้ออกมา ต้องการหรือคาดหวังอะไรจากพวกคุณบ้าง ช่วยชี้แนะด้วยครับ&quot;<br /><br />มีแต่ความเงียบ......ไม่มีคำตอบ ไม่ได้ยินแม้แต่เสียงหายใจแรงๆ<br /><br />ชาวจีนที่อาสาเป็นผู้อธิบายถึงความหมายและที่มาของสิบสองราศีท่านนี้ ก็คืออดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน ที่ชื่อว่า &quot;โจว เอิน ไหล&quot;<br /><br />&quot;ขจรศักดิ์&quot; แปลและเรียบเรียงมา
ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายก รมต.โจว เอินไหล ชาวจีนกลุ่มหนึ่งมาร่วมงานในฐานะเจ้าบ้าน คณะแขกในงานคือ ชนชั้นสูงที่ส่วนใหญ่เป็นวงศาคณาญาติของเครือราชวงศ์ในแถบประเทศยุโรป

แขกทุกคน ล้วนมีการศึกษาสูง และกิริยามารยาทในสังคมดีเลิศทั้งนั้น แต่เบื้องหลังแต่ละคน ล้วนซ่อนความหยิ่งยโสไว้เกือบทุกคน อาจเป็นเพราะงานคืนนั้น เป็นงานเลี้ยงส่งคณะผู้มาเยือนเป็นคืนสุดท้าย แต่ละคนอาจดื่มหนักไปหน่อยเลยพูดจาค่อนข้างปล่อยวางตามอำเภอใจ

และแล้ว ก็มีฝรั่งท่านหนึ่ง ลุกขึ้นยืน แล้วถามว่า

"ขอทราบเหตุผลหน่อย ทำไมปีนักษัตร ๑๒ ราศีของจีน จึงมีแต่พวกหมู หมา กา ไก่ มาเป็นตัวสัญลักษณ์ ไม่เห็นจะเหมือนของพวกเราเลย ล้วนฟังดูดี มีสกุล เช่น กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวแมงป่อง ไม่รู้บรรพบุรุษพวกคุณ เอาส่วนไหนของร่างกายมาคิดตั้งราศีบ้านๆ พวกนี้ออกมา?"

พอพูดจบ ก็เป็นเสียงฮาเฮของเหล่าฝรั่งหัวแดง พร้อมชนแก้วดื่มกันสนั่นหวั่นไหว ความเป็นผู้ดีหายไปในชั่วพริบตา

เมื่อถูกเขาเจริญพรถึงบรรพบุรุษกันขนาดนี้ จะเถียงเขาอย่างไรดี จะทุบโต๊ะแสดงความไม่พอใจก็ย่อมจะทำได้ แต่อาจเพราะยังตั้งหลักไม่ทัน ต่างคนต่างยังเก็บความเคืองแค้นด้วยความเงียบ

แต่แล้วก็มีชาวจีนท่านหนึ่ง ลุกขึ้นยืน แล้วใช้น้ำเสียงอันราบเรียบที่สุภาพพูดขึ้นว่า

"ท่านทั้งหลาย บรรพบุรุษของพวกเรามักยืนอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง ปีราศีของพวกเราจับกันเป็นคู่ๆ หมุนเวียนกันหกรอบ แสดงถึงความหวังและความต้องการของบรรพบุรุษของเราที่มีต่อพวกเราทุกคน"

ในเวลานั้น เสียงฮาเฮเริ่มค่อยๆ เบาบางลง แต่สีหน้าของชาวต่างชาติแทบทุกคนยังคงแฝงไว้ด้วยแววตาที่เย้ยหยัน

"ราศีคู่แรก คือหนูและวัว หนูคือ ตัวแทนของความเฉลียวฉลาด วัวคือ สัญลักษณ์ของความขยัน หากคนเราฉลาด แต่ขี้เกียจ ก็ไปไม่ได้ไกล
แต่ถ้าขยันแล้ว แต่ไร้หัวคิด ก็กลายเป็นไอ้โง่ สองสิ่งนี้ ต้องบวกกันเป็นหนึ่ง ก็คือคนฉลาดที่ขยัน นั่นคือสิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บรรพบุรุษคาดหวังในตัวพวกเรา"

"คู่ที่สองคือเสือและกระต่าย เสือ มีความกล้าหาญเต็มร้อย กระต่าย มีความระมัดระวังเป็นคุณสมบัติประจำตัว ความกล้าบวกกับความระมัดระวัง ถึงจะเรียกว่าคนใจถึง แต่รอบคอบ หากมีแต่ความกล้า มันคือ ความมุทะลุ หากมีแต่ความระแวดระวังเกินกว่าเหตุ มันคือความขี้ขลาด"

คนจีนผู้นั้น มองกลุ่มฝรั่งนิดนึง แล้วพูดต่อ เพื่อรักษามารยาทอันดีงาม

"บางครั้ง อาจเห็นพวกเรามักนิ่งเงียบ คงจะกำลังครุ่นคิด จงอย่าเข้าใจว่าพวกเราไม่มีความกล้าซ่อนอยู่"

"คู่ที่สามคือมังกรและงู (งูใหญ่และงูเล็กของไทย) มังกรคือความแข็งแกร่ง งูคือ ความพลิ้วไหว ชีวิตที่แข็งทื่อเกินไปอาจต้องเผชิญกับการแตกหัก 'ยอมหักไม่ยอมงอ' จึงอาจไม่ใช่สิ่งดีเสมอไป แต่พลิ้วไหวไป ก็ไร้จุดยืน เพราะฉะนั้น ในความแข็งแกร่ง ต้องมีความอ่อนโยนซ่อนอยู่ ผู้ใหญ่ท่านสอนไว้แบบนี้"

"ชุดต่อไปคือ ม้าและแพะ ม้า มุ่งตะลุยไปข้างหน้าอย่างเดียว แพะ คือ สัญลักษณ์ของความอ่อนโยน หากคนเราเอาแต่ลุยไปข้างหน้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง คงต้องกระทบกระทั่งเขาไปทั่ว หนทางสู่จุดหมายปลายทาง คงทุลักทุเลน่าดู แต่ถ้ามีแต่ความอ่อนโยน ว่านอนสอนง่าย สุดท้ายต้องหลงทางแน่นอน สองสิ่งนี้ ต้องรวมกัน เส้นทางสู่จุดหมายจึงจะราบเรียบ"

"คู่ต่อไปคือ ลิงกับไก่ ลิง มีความว่องไว ไก่ ขันตามเวลาทุกเช้า มันคือความแน่นอน ความว่องไว ที่ปราศจากความแน่นอน เขาเรียกว่าความวุ่นวาย ความแน่นอน แต่เชื่องช้าเกินเหตุ อันนี้ชีวิตอับเฉา ไร้รสชาติ ชีวิตต้องดำเนินไปด้วยความสมดุลของสองสิ่งนี้ แล้วชีวิตจะสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น"

"คู่สุดท้ายคือสุนัขและสุกร สุนัข มีความซื่อสัตย์สูงสุด สุกรว่านอนสอนง่ายที่สุด คนเรา ถ้าซื่อตรงจนเกินไป ไม่รู้จักผ่อนกฎผ่อนเกณฑ์กันบ้าง จะสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว หรืออาจเครียดเกินเหตุ แต่หากหัวอ่อนไป ก็จะไม่มีบรรทัดฐานของตัวเอง ลู่ไปตามลม คงไม่ดีแน่ แต่การรวมกันของสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ความสมดุลจะเกิดขึ้นภายในจิตใจเรา"

พออธิบายที่มาของสิบสองราศีจนครบถ้วน ชาวจีนผู้นั้นจึงถามชาวยุโรปว่า "คงต้องขอทราบว่า สิบสองราศีของพวกคุณ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวแมงป่อง คนแบกหม้อ คนยิงธนู มีความหมายต้องการจะสื่ออะไรหรือเปล่า แล้วที่บรรพบุรุษพวกคุณคัดสรรพวกนี้ออกมา ต้องการหรือคาดหวังอะไรจากพวกคุณบ้าง ช่วยชี้แนะด้วยครับ"

มีแต่ความเงียบ......ไม่มีคำตอบ ไม่ได้ยินแม้แต่เสียงหายใจแรงๆ

ชาวจีนที่อาสาเป็นผู้อธิบายถึงความหมายและที่มาของสิบสองราศีท่านนี้ ก็คืออดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน ที่ชื่อว่า "โจว เอิน ไหล"

"ขจรศักดิ์" แปลและเรียบเรียงมา
551926.jpg (101.48 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
สารภี ๑๙๒.๑.jpg
สารภี ๑๙๒.๑.jpg (230.51 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
สารภี ๑๙๒.jpg
สารภี ๑๙๒.jpg (225.7 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
ผ่าน รพ.สารภี ไปอีก ๕-๖๐๐ ม.ก็จะเจอสุสานปิงห่าง ซึ่งไว้ใช้สำหรับการฌาปนกิจศพคนใน ต.สารภี แต่ก่อนนั้นคนจะกลัวกันมากกับป่าช้า ปัจจุบันไม่แล้ว เพราะป่าช้าคึกคัก กลายเป็นสถานที่วางจำหน่ายสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้งกาแฟสดก็ไปจอดขายอยู่หน้าป่าช้าคนก็ไปอุดหนุนกัน ประกอบกับ อบต.สารภี ได้จัดซื้อที่ดินตรงหน้าป่าช้าและได้ย้ายหน่วยปฏิบัติการออกไปอยู่ตรงข้ามป่าช้า ก็เลยยิ่งทำให้ป่าช้าครึกครื้นขึ้นมา
ผ่าน รพ.สารภี ไปอีก ๕-๖๐๐ ม.ก็จะเจอสุสานปิงห่าง ซึ่งไว้ใช้สำหรับการฌาปนกิจศพคนใน ต.สารภี แต่ก่อนนั้นคนจะกลัวกันมากกับป่าช้า ปัจจุบันไม่แล้ว เพราะป่าช้าคึกคัก กลายเป็นสถานที่วางจำหน่ายสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้งกาแฟสดก็ไปจอดขายอยู่หน้าป่าช้าคนก็ไปอุดหนุนกัน ประกอบกับ อบต.สารภี ได้จัดซื้อที่ดินตรงหน้าป่าช้าและได้ย้ายหน่วยปฏิบัติการออกไปอยู่ตรงข้ามป่าช้า ก็เลยยิ่งทำให้ป่าช้าครึกครื้นขึ้นมา
สารภี ๑๙๓.๑.jpg (115.04 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
สารภี ๑๙๓.jpg
สารภี ๑๙๓.jpg (164.33 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
สารภี ๑๙๔.๑.jpg
สารภี ๑๙๔.๑.jpg (184.15 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
วัดสารภี เดิมขึ้นชื่อว่ามีดอกสารภีเยอะ อยู่ติดถนนต้นยาง เป็นวัดเก่าแก่ของชาวเชียงใหม่อีกวัดหนึ่ง วัดสวยงามมาก ชื่อวัดสารภีมาจากแต่เดิม มีต้นสารภีจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อวัดสารภีนั่นเอง เป็นวัดที่เงียบสงบ สะอาด ไม่มีร้านค้าจำหนายดอกไม้ธูปเทียน ใครจะมาทำบุญไหว้พระต้องเตรียมมาเองนะครับ ภายในวัดมีรูปปั้นครูบาอาจารย์ต่างๆที่เคารพนับถือ ไว้ให้กราบไหว้ขอพร และทางวัดยังได้จัดให้มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ให้กับชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย
วัดสารภี เดิมขึ้นชื่อว่ามีดอกสารภีเยอะ อยู่ติดถนนต้นยาง เป็นวัดเก่าแก่ของชาวเชียงใหม่อีกวัดหนึ่ง วัดสวยงามมาก ชื่อวัดสารภีมาจากแต่เดิม มีต้นสารภีจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อวัดสารภีนั่นเอง เป็นวัดที่เงียบสงบ สะอาด ไม่มีร้านค้าจำหนายดอกไม้ธูปเทียน ใครจะมาทำบุญไหว้พระต้องเตรียมมาเองนะครับ ภายในวัดมีรูปปั้นครูบาอาจารย์ต่างๆที่เคารพนับถือ ไว้ให้กราบไหว้ขอพร และทางวัดยังได้จัดให้มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ให้กับชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย
สารภี ๑๙๔.jpg
สารภี ๑๙๔.jpg (205.05 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
27  Nov. 23 (153).jpg
27  Nov. 23 (154).jpg
27 Nov. 23 (154).jpg (123.32 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
ตรงข้ามวัดสารภี จะเป็นวัดช่างเคิ่งครับ <br /><br />วัดช่างเคิ่ง (สารภี) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๔ บ้านช่างเคิ่ง ถนนเชียงใหม่ –ลำพูน หมู่ที่ ๔ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒งาน ๕๓ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ - งาน ๖๐ ตารางวา<br /> <br />วัดช่างเคิ่ง (สารภี) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๒๙ เมตร มีพระวิหารรูปทรงแบบลานนาที่มีจิตกรฝาผนังด้านบน มีลวดลายแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นลานนา ด้านล่างมีภาพจิตกรร่วมสมัย, พระอุโบสถที่มีองค์พระพุทธรูปที่เก่าแก่<br /> <br />ปัจจุบัน มีพระมหามงคล มหาปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส และท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสารภี-หนองแฝก ด้วย<br /><br />จากวัดช่างเคิ่งไปอีกประมาณ ๕๐๐ ม.ก็จะเป็นเขต ต.ยางเนิ้ง สารภี ครับ
ตรงข้ามวัดสารภี จะเป็นวัดช่างเคิ่งครับ

วัดช่างเคิ่ง (สารภี) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๔ บ้านช่างเคิ่ง ถนนเชียงใหม่ –ลำพูน หมู่ที่ ๔ ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒งาน ๕๓ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ - งาน ๖๐ ตารางวา

วัดช่างเคิ่ง (สารภี) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๒๙ เมตร มีพระวิหารรูปทรงแบบลานนาที่มีจิตกรฝาผนังด้านบน มีลวดลายแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นลานนา ด้านล่างมีภาพจิตกรร่วมสมัย, พระอุโบสถที่มีองค์พระพุทธรูปที่เก่าแก่

ปัจจุบัน มีพระมหามงคล มหาปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส และท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสารภี-หนองแฝก ด้วย

จากวัดช่างเคิ่งไปอีกประมาณ ๕๐๐ ม.ก็จะเป็นเขต ต.ยางเนิ้ง สารภี ครับ
27 Nov. 23 (155).jpg (139 KiB) เข้าดูแล้ว 870 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Deang-sarapee เมื่อ 12 ธ.ค. 2023, 16:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »


:) :D วัดสารภี บนถนนสายต้นยาง เชียงใหม่-ลำพูน เคยเข้าไปชมหรือยัง :) :D


:lol: :lol: ที่วัดช่างเคิ่ง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านแห่รับใบสลากกินแบ่งรัฐบาลอย่างคึกคัก :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
สารภี ๑๙๕.jpg
สารภี ๑๙๕.jpg (121.46 KiB) เข้าดูแล้ว 868 ครั้ง
สารภี ๑๙๖.jpg
สารภี ๑๙๖.jpg (153.91 KiB) เข้าดูแล้ว 868 ครั้ง
สารภี ๑๙๗.jpg
สารภี ๑๙๗.jpg (199.64 KiB) เข้าดูแล้ว 868 ครั้ง
เราปั่นชมวัดสารภีและวัดช่างเคิ่ง เนื่องจากเป็นเวลาเช้าพระท่านยังทำกิจของสงฆ์ เราจึงไม่ได้พบปะและสนทนากับท่านพระครู ทั้งสองรูป ซึ่งท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนสารภีครับ ออกจากวัดช่างเคิ่งเราปั่นตรงไปอีก ๓๐๐ ม.ก็จะเป็นทางเลี้ยวขวา ปั่นข้ามรางรถไฟกลับบ้านครับ เข้าทางด้านหลังบ้าน รวมระยะทางเช้าวันนั้นแค่ ๗ กม.
เราปั่นชมวัดสารภีและวัดช่างเคิ่ง เนื่องจากเป็นเวลาเช้าพระท่านยังทำกิจของสงฆ์ เราจึงไม่ได้พบปะและสนทนากับท่านพระครู ทั้งสองรูป ซึ่งท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนสารภีครับ ออกจากวัดช่างเคิ่งเราปั่นตรงไปอีก ๓๐๐ ม.ก็จะเป็นทางเลี้ยวขวา ปั่นข้ามรางรถไฟกลับบ้านครับ เข้าทางด้านหลังบ้าน รวมระยะทางเช้าวันนั้นแค่ ๗ กม.
สารภี ๑๙๘.jpg (104.39 KiB) เข้าดูแล้ว 868 ครั้ง
ก่อนจะจบพื้นที่ ต.สารภี มีของดีประจำตำบล(ถือเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจ) ซึ่งทำกันมานานเป็นอาชีพโดยรวมกลุ่มกันทำ ไม่น้อยหน้าที่ จ.ลำพูน แต่ของเราไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนมากนัก(ไม่ได้สร้างแบรนด์) แต่บรรดาพ่อค้า แม่ค้า จะรู้จักกันดีและส่วนใหญ่ก็จะมาสั่งทำที่นี่ นั่นคือ โคมไฟลานนาน(ทำส่งครับ) อยู่หมู่ ๖ ตรงข้ามบ้านผม น้องจันทร์แรม(แรม) เป็นเจ้าของและโต้โผใหญ่ แจกงานให้สมาชิกแบ่งกันทำ ตั้งแต่ ขึ้นโครง ติดกระดาษ ตัดลวดลาย ต่อหาง ฯ ราคาขายส่งจะอยูที่ ๔-๕๐ บ.แล้วแต่ขนาด(ที่เห็นเดี่ยวคือขนาดใหญามาก) เป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนตลอดทั้งปีครับ<br /><br />โคมล้านนา มีปรากฏจากหลักฐานภาพโคมบนผืนผ้าพระบฏสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังรายเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อน ซึ่งค้นพบโดย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี แห่งกรมศิลปากร เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๐๑ ที่วัดดอกเงิน จังหวัด เชียงใหม่ <br /><br />ทำให้สันนิษฐานได้ว่า การทำโคมเป็นงานช่างฝีมือดั้งเดิมของไทยมาแต่โบราณ ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะของตนเอง รูปทรงของโคมล้านนาทำขึ้น จากโครงไม้ไผ่เฮียะ ซึ่งเป็นไม้ไผ่ปล้องยาวและขึ้นเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น นำมาหักเป็นวงโค้งแล้วหุ้มทับด้วยกระดาษสาหรือผ้าฝ้าย <br />ทอมือ ประดับลวดลาย กระดาษตัดฉลุที่มีความหมายเป็นมงคล เช่น ลายดอกก๋ากอก (ลายประจำยาม)  และลายดวงตะวัน <br /><br />โคมล้านนามักใช้ในประเพณียี่เพ็ง บางครั้งจึงเรียกว่าโคมยี่เพ็ง (หรือ ยี่เป็ง) จัดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ การประดิษฐ์โคมจะเริ่มทำกันในช่วง ก่อนวันงานเพื่อเตรียมโคมไว้ใช้ในการจุดผางประทีปบูชาที่วัด <br /><br /> ผางประทีป คือ ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ด้านในใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมันใช้วางไว้ ในโคม โดยจะแขวนใส่ค้างโคม (ค้างโคม คือ เสาไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ส่วนปลายเสา มีค้างไม้และรอกสำหรับชักโคมขึ้นแขวน) บูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้า วิหาร กลางวิหาร ลักษณะของโคมล้านนามีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น ที่ยังคงสืบทอดมาจนปัจจุบัน
ก่อนจะจบพื้นที่ ต.สารภี มีของดีประจำตำบล(ถือเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจ) ซึ่งทำกันมานานเป็นอาชีพโดยรวมกลุ่มกันทำ ไม่น้อยหน้าที่ จ.ลำพูน แต่ของเราไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนมากนัก(ไม่ได้สร้างแบรนด์) แต่บรรดาพ่อค้า แม่ค้า จะรู้จักกันดีและส่วนใหญ่ก็จะมาสั่งทำที่นี่ นั่นคือ โคมไฟลานนาน(ทำส่งครับ) อยู่หมู่ ๖ ตรงข้ามบ้านผม น้องจันทร์แรม(แรม) เป็นเจ้าของและโต้โผใหญ่ แจกงานให้สมาชิกแบ่งกันทำ ตั้งแต่ ขึ้นโครง ติดกระดาษ ตัดลวดลาย ต่อหาง ฯ ราคาขายส่งจะอยูที่ ๔-๕๐ บ.แล้วแต่ขนาด(ที่เห็นเดี่ยวคือขนาดใหญามาก) เป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนตลอดทั้งปีครับ

โคมล้านนา มีปรากฏจากหลักฐานภาพโคมบนผืนผ้าพระบฏสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังรายเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อน ซึ่งค้นพบโดย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี แห่งกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ ที่วัดดอกเงิน จังหวัด เชียงใหม่

ทำให้สันนิษฐานได้ว่า การทำโคมเป็นงานช่างฝีมือดั้งเดิมของไทยมาแต่โบราณ ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะของตนเอง รูปทรงของโคมล้านนาทำขึ้น จากโครงไม้ไผ่เฮียะ ซึ่งเป็นไม้ไผ่ปล้องยาวและขึ้นเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น นำมาหักเป็นวงโค้งแล้วหุ้มทับด้วยกระดาษสาหรือผ้าฝ้าย
ทอมือ ประดับลวดลาย กระดาษตัดฉลุที่มีความหมายเป็นมงคล เช่น ลายดอกก๋ากอก (ลายประจำยาม) และลายดวงตะวัน

โคมล้านนามักใช้ในประเพณียี่เพ็ง บางครั้งจึงเรียกว่าโคมยี่เพ็ง (หรือ ยี่เป็ง) จัดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ การประดิษฐ์โคมจะเริ่มทำกันในช่วง ก่อนวันงานเพื่อเตรียมโคมไว้ใช้ในการจุดผางประทีปบูชาที่วัด

ผางประทีป คือ ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ด้านในใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมันใช้วางไว้ ในโคม โดยจะแขวนใส่ค้างโคม (ค้างโคม คือ เสาไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ส่วนปลายเสา มีค้างไม้และรอกสำหรับชักโคมขึ้นแขวน) บูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้า วิหาร กลางวิหาร ลักษณะของโคมล้านนามีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น ที่ยังคงสืบทอดมาจนปัจจุบัน
561909_0.jpg (177.26 KiB) เข้าดูแล้ว 863 ครั้ง
561911_0.jpg
561911_0.jpg (105.3 KiB) เข้าดูแล้ว 863 ครั้ง
561912_0.jpg
561912_0.jpg (79.45 KiB) เข้าดูแล้ว 863 ครั้ง
561913_0.jpg
561913_0.jpg (74.15 KiB) เข้าดูแล้ว 863 ครั้ง
561910_0.jpg
561910_0.jpg (172.22 KiB) เข้าดูแล้ว 863 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดียามบ่ายครับ เมื่อเช้าเราสองคนได้ปั่นออกกำลังตามปกติ แต่เช้านี้เราต้องไปตามภารกิจที่ค้างไว้นั่นคือสำรวจ ถนนวัฒนธรรม อ.สารภี (ถนนต้นยาง) ตอนนี้จะเป็นเรื่องราวเขต ต.ยางเนิ้ง ต่อจาก ต.สารภีครับ ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักเรื่องราวของ ต.ยางเนิ้งกับชุดวีดีโอ ของทางเทศบาลกันก่อนนะครับ :) :D

:idea: :idea: เทศบาลตำบลยางเนิ้ง อ สารภี จ.เชียงใหม่ :) :D
ไฟล์แนบ
cats๑.jpg
cats๑.jpg (172.76 KiB) เข้าดูแล้ว 798 ครั้ง
cats๒.JPG
cats๒.JPG (123.08 KiB) เข้าดูแล้ว 798 ครั้ง
cats๓.JPG
cats๓.JPG (123.47 KiB) เข้าดูแล้ว 798 ครั้ง
cats๔.jpg
cats๔.jpg (140.44 KiB) เข้าดูแล้ว 798 ครั้ง
ต.ยางเนิ้ง ถือเป็นตำบลหลักของ อ.สารภี เพราะเป็นที่ตั้งของส่วนราชการได้แก่ ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ  และสถานที่สำคัญ ๆ หลายอย่างเช่น ธนาคาร ไปรษณีย์ ร้านค้าใหญ่ ๆ จะมารวมกันที่ยางเนิ้งครับ กระทู้ของพันทิพย์ได้ให้ข้อมูล ต.ยางเนิ้ง ไว้น่าสนใจมาก เราไปทำความรู้จักและศึกษากันขึ้นต้นกระทู้ว่า : # เชียงใหม่-รู้จักกับคำว่า &quot;ยางเนิ้ง&quot; เปลี่ยนชื่อเป็น &quot;สารภี&quot; ;<br /><br />ยางเนิ้งเคยเป็นชื่อของอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ คำว่ายางเนิ้งเป็นภาษาล้านนา หมายถึง ต้นยางที่โน้มเอน ต้นยางเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนนานมาก เป็นไม้ที่มีลำต้นตั้งตรง แข็งแรงและสูงลิบลิ่ว<br /><br />เมื่อท้องถิ่นหนึ่งเกิดมีต้นยางบางต้นที่ยืนโน้มเอนจึงเป็นเรื่องแปลกประหลาด ยางเนิ้ง จึงกลายเป็นลักษณะพิเศษของท้องถิ่นนั้น และได้กลายเป็นชื่อของท้องถิ่นในที่สุด<br /><br />ในปี พ.ศ.2434 รัฐบาลสยามได้ก่อตั้งอำเภอยางเนิ้ง เพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านยางเนิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ด้วยความรู้สึกที่ว่าภาษาท้องถิ่นฟังไม่เพราะหูของนักปกครองจากส่วนกลาง อำเภอยางเนิ้งจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสารภี เพื่อมิให้ชื่อใหม่ต่างจากชื่อเก่ามากเกินไป โปรดสังเกตว่าชื่อของอำเภอใหม่ก็ยังเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งเพียงแต่ฟังดูเป็นภาษากรุงเทพฯ มากกว่าคำว่ายางเนิ้ง<br /><br />นี่เป็นตัวอย่างที่แจ่มชัดของการครอบงำวัฒนธรรมจากส่วนกลาง กล่าวคือ ส่วนกลางต้องการให้ท้องถิ่นรับวัฒนธรรมส่วนกลางไปใช้ หมิ่นแคลนวัฒนธรรมท้องถิ่น ขณะเดียวกันฝ่ายท้องถิ่นก็เห็นว่าวัฒนธรรมของตนเองด้อยกว่า กระทั่งดูหมิ่นและละทิ้งวัฒนธรรมของตัวเอง และหันไปยอมรับวัฒนธรรมส่วนกลางเป็นหลัก<br /><br />เหมือนกับคนล้านนาบางท้องที่เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านของตนจากหนองบัวเป็นประทุมนิเวศน์ เรียกหมู่บ้านหลักปันว่า หลักพัน และเรียกหมู่บ้านตีนดอยว่า เชิงดอย ฯลฯ<br /><br />ในปี พ.ศ.2442 ข้าหลวงคนแรกของมณฑลพายัพ คือ เจ้าพระยาสุรสีห์ วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงถนนในเชียงใหม่ ด้วยการปลูกต้นไม้ริมถนนสายต่างๆ<br /><br />ให้ปลูกต้นไม้เมืองหนาวในตัวเมืองเชียงใหม่ ให้ปลูกต้นสัก และต้นสน รอบๆ คูเมืองให้ปลูกต้นขี้เหล็กริมถนนสายเชียงใหม่-หางดง-สันป่าตอง และให้ปลูกต้นประดู่ริมถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ฯลฯ<br /><br />มาถึงปีนี้อำเภอยางเนิ้งก่อตั้งมาครบรอบ 100 ปีต้นยางที่ข้าหลวงมณฑลพายัพกำหนดให้ปลูกอายุได้ 92 ปี ในช่วงวันที่ 2-4 สิงหาคมที่ผ่านมา อำเภอสารภีได้จัดงานสำคัญ คืองานอนุรักษ์ต้นยางครบรอบ 100 ปี<br /><br />ที่ว่าสำคัญก็เพราะต้นยางที่ปลูกสองข้างถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ยังหลงเหลืออยู่ถึง 1,227 ต้น อยู่ในเขตอำเภอสารภี 903 ต้น กล่าวได้ว่าเป็นถนนใหญ่สายเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ร่มรื่นเรียงรายตลอดสองข้างทาง และอาจเป็นถนนใหญ่สายเดียวในเมืองไทยที่มีลักษณะเช่นนี้<br /><br />ขณะที่ต้นไม้เมืองหนาวสูญหายไปหมดแล้วในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ เหลือต้นสักเพียงไม่กี่ต้น ต้นสนไม่หลงเหลืออยู่เลยแต่กลับมีต้นคอนกรีตและคอนโดฯ ริมคูเมืองขึ้นมาแทนที่ ส่วนต้นขี้เหล็กริมถนนสายเชียงใหม่-สันป่าตองและต้นประดู่ริมถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ก็แทบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน<br /><br />คนอำเภอสารภีตระหนักถึงคุณค่าของการรักษาต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาความชุ่มฉ่ำให้กับผู้คนและบ้านเมือง ดังนั้นประชาชนที่นี่จึงร่วมใจกันสละเงินคนเล็กละน้อยจัดพิธี &quot;บวชต้นยาง&quot; ขึ้น เพื่อหวังจะรักษาชีวิตของต้นยางที่ยังหลงเหลืออยู่ให้ยืนยาวต่อไป พร้อมกันนี้ก็ได้ปลูกต้นยางขึ้นใหม่ด้วยซึ่งการรณรงค์ของชาวอำเภอสารภีนี้ควรได้รับการปรบมือจากคนล้านนาและทั่วประเทศทีเดียว<br /><br />การยืนหยัดอยู่ของต้นยางริมถนนสายนี้ และการจากไปของต้นสัก ต้นสน ต้นขี้เหล็กและต้นประดู่ในเขตอำเภออื่นๆ ของเชียงใหม่ เกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันไป เช่น ต้นสักและต้นสนริมคูเมืองถูกโค่นเพราะผู้บริหารเทศบาลนครเชียงใหม่ในอดีต ไม่เห็นคุณค่าและมองว่ากีดขวางการจราจร ส่วนต้นประดู่และต้นขี้เหล็กถูกโค่นเพราะมีการขยายถนน ส่วนต้นยางยังคงอยู่เพราะเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก บริเวณสองข้างถนนมีบ้านเรือนและร้านค้าหนาแน่น ต่อมามีการสร้างถนนไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ซึ่งสามารถแยกเข้าลำพูนได้ ถนนสายเชียงใหม่-สารภี-ลำพูน จึงไม่จำเป็นต้องขยายออกไป<br /><br />&lt;&lt;&lt; บันทึกท้ายกระทู้ &gt;&gt;&gt;<br />เป็นอีกกระทู้หนึ่งที่บันทึกไว้เป็นที่ระลึกถึงเชียงใหม่ 0 4 Force8949  17 เมษายน 2565 เวลา 14:18 น.
ต.ยางเนิ้ง ถือเป็นตำบลหลักของ อ.สารภี เพราะเป็นที่ตั้งของส่วนราชการได้แก่ ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ และสถานที่สำคัญ ๆ หลายอย่างเช่น ธนาคาร ไปรษณีย์ ร้านค้าใหญ่ ๆ จะมารวมกันที่ยางเนิ้งครับ กระทู้ของพันทิพย์ได้ให้ข้อมูล ต.ยางเนิ้ง ไว้น่าสนใจมาก เราไปทำความรู้จักและศึกษากันขึ้นต้นกระทู้ว่า : # เชียงใหม่-รู้จักกับคำว่า "ยางเนิ้ง" เปลี่ยนชื่อเป็น "สารภี" ;

ยางเนิ้งเคยเป็นชื่อของอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ คำว่ายางเนิ้งเป็นภาษาล้านนา หมายถึง ต้นยางที่โน้มเอน ต้นยางเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนนานมาก เป็นไม้ที่มีลำต้นตั้งตรง แข็งแรงและสูงลิบลิ่ว

เมื่อท้องถิ่นหนึ่งเกิดมีต้นยางบางต้นที่ยืนโน้มเอนจึงเป็นเรื่องแปลกประหลาด ยางเนิ้ง จึงกลายเป็นลักษณะพิเศษของท้องถิ่นนั้น และได้กลายเป็นชื่อของท้องถิ่นในที่สุด

ในปี พ.ศ.2434 รัฐบาลสยามได้ก่อตั้งอำเภอยางเนิ้ง เพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านยางเนิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ด้วยความรู้สึกที่ว่าภาษาท้องถิ่นฟังไม่เพราะหูของนักปกครองจากส่วนกลาง อำเภอยางเนิ้งจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสารภี เพื่อมิให้ชื่อใหม่ต่างจากชื่อเก่ามากเกินไป โปรดสังเกตว่าชื่อของอำเภอใหม่ก็ยังเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งเพียงแต่ฟังดูเป็นภาษากรุงเทพฯ มากกว่าคำว่ายางเนิ้ง

นี่เป็นตัวอย่างที่แจ่มชัดของการครอบงำวัฒนธรรมจากส่วนกลาง กล่าวคือ ส่วนกลางต้องการให้ท้องถิ่นรับวัฒนธรรมส่วนกลางไปใช้ หมิ่นแคลนวัฒนธรรมท้องถิ่น ขณะเดียวกันฝ่ายท้องถิ่นก็เห็นว่าวัฒนธรรมของตนเองด้อยกว่า กระทั่งดูหมิ่นและละทิ้งวัฒนธรรมของตัวเอง และหันไปยอมรับวัฒนธรรมส่วนกลางเป็นหลัก

เหมือนกับคนล้านนาบางท้องที่เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านของตนจากหนองบัวเป็นประทุมนิเวศน์ เรียกหมู่บ้านหลักปันว่า หลักพัน และเรียกหมู่บ้านตีนดอยว่า เชิงดอย ฯลฯ

ในปี พ.ศ.2442 ข้าหลวงคนแรกของมณฑลพายัพ คือ เจ้าพระยาสุรสีห์ วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงถนนในเชียงใหม่ ด้วยการปลูกต้นไม้ริมถนนสายต่างๆ

ให้ปลูกต้นไม้เมืองหนาวในตัวเมืองเชียงใหม่ ให้ปลูกต้นสัก และต้นสน รอบๆ คูเมืองให้ปลูกต้นขี้เหล็กริมถนนสายเชียงใหม่-หางดง-สันป่าตอง และให้ปลูกต้นประดู่ริมถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ฯลฯ

มาถึงปีนี้อำเภอยางเนิ้งก่อตั้งมาครบรอบ 100 ปีต้นยางที่ข้าหลวงมณฑลพายัพกำหนดให้ปลูกอายุได้ 92 ปี ในช่วงวันที่ 2-4 สิงหาคมที่ผ่านมา อำเภอสารภีได้จัดงานสำคัญ คืองานอนุรักษ์ต้นยางครบรอบ 100 ปี

ที่ว่าสำคัญก็เพราะต้นยางที่ปลูกสองข้างถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ยังหลงเหลืออยู่ถึง 1,227 ต้น อยู่ในเขตอำเภอสารภี 903 ต้น กล่าวได้ว่าเป็นถนนใหญ่สายเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ร่มรื่นเรียงรายตลอดสองข้างทาง และอาจเป็นถนนใหญ่สายเดียวในเมืองไทยที่มีลักษณะเช่นนี้

ขณะที่ต้นไม้เมืองหนาวสูญหายไปหมดแล้วในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ เหลือต้นสักเพียงไม่กี่ต้น ต้นสนไม่หลงเหลืออยู่เลยแต่กลับมีต้นคอนกรีตและคอนโดฯ ริมคูเมืองขึ้นมาแทนที่ ส่วนต้นขี้เหล็กริมถนนสายเชียงใหม่-สันป่าตองและต้นประดู่ริมถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ก็แทบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน

คนอำเภอสารภีตระหนักถึงคุณค่าของการรักษาต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาความชุ่มฉ่ำให้กับผู้คนและบ้านเมือง ดังนั้นประชาชนที่นี่จึงร่วมใจกันสละเงินคนเล็กละน้อยจัดพิธี "บวชต้นยาง" ขึ้น เพื่อหวังจะรักษาชีวิตของต้นยางที่ยังหลงเหลืออยู่ให้ยืนยาวต่อไป พร้อมกันนี้ก็ได้ปลูกต้นยางขึ้นใหม่ด้วยซึ่งการรณรงค์ของชาวอำเภอสารภีนี้ควรได้รับการปรบมือจากคนล้านนาและทั่วประเทศทีเดียว

การยืนหยัดอยู่ของต้นยางริมถนนสายนี้ และการจากไปของต้นสัก ต้นสน ต้นขี้เหล็กและต้นประดู่ในเขตอำเภออื่นๆ ของเชียงใหม่ เกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันไป เช่น ต้นสักและต้นสนริมคูเมืองถูกโค่นเพราะผู้บริหารเทศบาลนครเชียงใหม่ในอดีต ไม่เห็นคุณค่าและมองว่ากีดขวางการจราจร ส่วนต้นประดู่และต้นขี้เหล็กถูกโค่นเพราะมีการขยายถนน ส่วนต้นยางยังคงอยู่เพราะเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก บริเวณสองข้างถนนมีบ้านเรือนและร้านค้าหนาแน่น ต่อมามีการสร้างถนนไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ซึ่งสามารถแยกเข้าลำพูนได้ ถนนสายเชียงใหม่-สารภี-ลำพูน จึงไม่จำเป็นต้องขยายออกไป

<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
เป็นอีกกระทู้หนึ่งที่บันทึกไว้เป็นที่ระลึกถึงเชียงใหม่ 0 4 Force8949 17 เมษายน 2565 เวลา 14:18 น.
cats๕.jpg (132.81 KiB) เข้าดูแล้ว 798 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: เคยสังเกตไหม เวลาที่คุณอารมณ์ดี ครอบครัวคุณ การงานของคุณ สุขภาพของคุณ การเงินของคุณจะดีตาม

เมื่อใดที่การเงินไม่ดี สุขภาพจะเสีย ครอบครัวจะวุ่นวาย เงินทองจะติดขัด!

จึงต้องหมั่นเตือนตัวเองว่า
"อย่าพกสีหน้าที่บูดบึ้งออกบ้าน
อย่าใช้โทสะจัดการเรื่องราว
อย่าปล่อยให้ความกลัดกลุ้มส่งเข้านอน
อย่าอารมณ์ร้อนตลอดเวลา"

สิ่งที่พึงทำเมื่อตื่นนอน คือ หาหนังสือดี ๆ อ่านสักหนึ่งบท และบอกกับตัวเองว่า "วันนี้ฉันจะคุมอารมณ์ให้ดี"

เก็บไว้เป็นคติเตือนตนว่า
อารมณ์อย่าสูงกว่าตำแหน่ง
ตำแหน่งอย่าสูงว่าคุณธรรม
ทรัพย์สินอย่าสูงกว่าปัญญา
ตัณหาอย่าสูงกว่าศักยภาพ

อารมณ์คือฮวงจุ้ย
คุมอารณ์ได้ ทำการใดย่อมพบความสำเร็จ

นุสนธิ์บุคส์
:idea: :idea:

[youtube]https://youtube.com/shorts/0Ac86-3ZuAg[/youtube]

:) :D สวัสดียามเย็น ๆ ของฤดูหนาวที่ยังคงต้องนอนเปิดแอร์ครับ ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่แน่นอน มันเปลี่ยนแปลงได้ ทำใจให้ร่ม ๆ อยู่กับปัจจุบันให้มีความสุข อดีตที่ผ่านไปกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง มันสุดเอื้อมจริงๆ คงมีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่ต้อง "คิดดี ทำดี พูดดี" เพื่ออนาคต นี่เหลือเวลาอีกแค่ ๑๔ วันเราก็จะฉลองปีใหม่ ๒๕๖๗ กันอีกแล้ว ระยะนี้ทั้งสุขภาพ ทั้งภาระหน้าที่ต่างรุมเร้าเข้ามาเรียกว่า จัดตารางชีวิตแทบไม่ทัน(ใครเป็นเหมือนผมบ้าง?) อยากจะบอก "ชีวิตมีแต่ทุกข์เท่านั้น" ตราบใดที่ยังไม่บรรลุเราก็ต้องพยายามต่อไป :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
535954_0.jpg
535954_0.jpg (24.53 KiB) เข้าดูแล้ว 757 ครั้ง
เราเดินทางกันต่อนะครับ จาก ต.สารภี ต่อไปก็จะเป็น ต.ยางเนิ้ง ทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า เราเริ่มจากทิศใต้เขตแดน ลำพูน - เชียงใหม่ ที่เรียกว่าแดนเมือง ในเขต ต.สารภี มาสิ้นสุดที่ วัดสารภีและวัดช่างเคิ่ง ปั่นมาอีก ๓๐๐ ม.ก็จะเป็นเขตแดนของ ต.ยางเนิ้ง เริ่ม บ.ต้นเหียว กันเลยนะครับ
เราเดินทางกันต่อนะครับ จาก ต.สารภี ต่อไปก็จะเป็น ต.ยางเนิ้ง ทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า เราเริ่มจากทิศใต้เขตแดน ลำพูน - เชียงใหม่ ที่เรียกว่าแดนเมือง ในเขต ต.สารภี มาสิ้นสุดที่ วัดสารภีและวัดช่างเคิ่ง ปั่นมาอีก ๓๐๐ ม.ก็จะเป็นเขตแดนของ ต.ยางเนิ้ง เริ่ม บ.ต้นเหียว กันเลยนะครับ
วัดต้นเหียว หมู่ 6 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วัดต้นเหียว มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2385 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2518 พระศรายุทธ จิรฎฺฐิโก เจ้าอาวาสวัดต้นเหียว<br /><br />วัดต้นเหียว เป็นวัดราษฎร์เล็กๆ ตั้งอยู่ในเขตตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตามประวัติทราบว่าสร้างขึ้นราวๆ ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อายุเก่าแก่ประมาณ ๑๗๑ ปี หากเทียบกับวัดวาอารามหลายๆ แห่งในเมืองเชียงใหม่ วัดต้นเหียวอาจมีความเก่าแก่น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามภายในบริเวณวัดแห่งนี้ มีสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่น่าสนใจ น่าศึกษาเรียนรู้ซ่อนอยู่
วัดต้นเหียว หมู่ 6 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วัดต้นเหียว มหานิกาย ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2385 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2518 พระศรายุทธ จิรฎฺฐิโก เจ้าอาวาสวัดต้นเหียว

วัดต้นเหียว เป็นวัดราษฎร์เล็กๆ ตั้งอยู่ในเขตตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตามประวัติทราบว่าสร้างขึ้นราวๆ ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อายุเก่าแก่ประมาณ ๑๗๑ ปี หากเทียบกับวัดวาอารามหลายๆ แห่งในเมืองเชียงใหม่ วัดต้นเหียวอาจมีความเก่าแก่น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามภายในบริเวณวัดแห่งนี้ มีสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่น่าสนใจ น่าศึกษาเรียนรู้ซ่อนอยู่
สารภี ๒๐๐.jpg (160.08 KiB) เข้าดูแล้ว 757 ครั้ง
สารภี ๒๐๑.jpg
สารภี ๒๐๒.jpg
สารภี ๒๐๓.jpg
สารภี ๒๐๔.jpg
วัดศรีโพธิ์ธาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี เดิมทีนั้นมีชื่อว่า วัดสังก๋า ต่อมาปี ๒๒๐๒ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง เดินธุดงค์ปักกรด ณ บริเวณนี้ ท่านได้เกิดนิมิตเห็นแสงสว่างสุกใส โชติช่วงสีเขียวเป็นประกายเหมือนลูกแก้วดวงหนึ่งขนาดเท่าลูกส้มโอ ลอยวนเวียนอยู่ทางทิศตะวันตก พอท่านออกจากนิมิตนั้นแล้ว ได้เดินไปที่เห็นแสงสว่างนั้น ก็เห็นวิหารที่มีซากชำรุดพร้อมซากปรักหักพังเกลื่อนกลาด ทั่วบริเวณ โดยเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า สถานที่นี้เคยเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาก่อน และห่างออกไปทางทิศตระวันตกของเจดีย์ประมาณ ๒๐๐ ม. มีต้นโพธิต้นใหญ่อยู่ พระภิกษุดังกล่าว พร้อมด้วยชาวบ้าน จึงได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์จนสำเร็จเรียบร้อย และได้ตั้งชื่อวัดว่า &quot;วัดสังก๋า&quot;<br /><br />โดยตั้งชื่อตามนิมิตเจดีย์สององค์ ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านจากที่อื่นเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้าน พร้อมเปลี่ยนชื่อวัดเป็น &quot;วัดศรีก่อเก๊า&quot; โดยตั้งใต้ต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่ขึ้นอยู่ แต่ชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ ชาวบ้านไม่นิยมเรียกจนเลือนหายไปในที่สุด <br /><br />ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้มีคณะสงฆ์มาพักแรมที่วัดนี้ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น &quot;วัดศรีโพธาราม&quot; โดยพระครูปริยัติยานุรักษ์ วัดเกตุการาม อ.เมือง เชียงใหม่ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ จุดเด่นของวัดคือ ประตูโขงทางเข้าวัด และวิหารศรีโพธาราม <br /><br />ขอบคุณข้อมูลจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัดศรีโพธิ์ธาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี เดิมทีนั้นมีชื่อว่า วัดสังก๋า ต่อมาปี ๒๒๐๒ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง เดินธุดงค์ปักกรด ณ บริเวณนี้ ท่านได้เกิดนิมิตเห็นแสงสว่างสุกใส โชติช่วงสีเขียวเป็นประกายเหมือนลูกแก้วดวงหนึ่งขนาดเท่าลูกส้มโอ ลอยวนเวียนอยู่ทางทิศตะวันตก พอท่านออกจากนิมิตนั้นแล้ว ได้เดินไปที่เห็นแสงสว่างนั้น ก็เห็นวิหารที่มีซากชำรุดพร้อมซากปรักหักพังเกลื่อนกลาด ทั่วบริเวณ โดยเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า สถานที่นี้เคยเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาก่อน และห่างออกไปทางทิศตระวันตกของเจดีย์ประมาณ ๒๐๐ ม. มีต้นโพธิต้นใหญ่อยู่ พระภิกษุดังกล่าว พร้อมด้วยชาวบ้าน จึงได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์จนสำเร็จเรียบร้อย และได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดสังก๋า"

โดยตั้งชื่อตามนิมิตเจดีย์สององค์ ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านจากที่อื่นเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้าน พร้อมเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดศรีก่อเก๊า" โดยตั้งใต้ต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่ขึ้นอยู่ แต่ชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ ชาวบ้านไม่นิยมเรียกจนเลือนหายไปในที่สุด

ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้มีคณะสงฆ์มาพักแรมที่วัดนี้ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดศรีโพธาราม" โดยพระครูปริยัติยานุรักษ์ วัดเกตุการาม อ.เมือง เชียงใหม่ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ จุดเด่นของวัดคือ ประตูโขงทางเข้าวัด และวิหารศรีโพธาราม

ขอบคุณข้อมูลจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สารภี ๒๐๖.jpg
สารภี ๒๐๖.jpg (105.86 KiB) เข้าดูแล้ว 757 ครั้ง
สารภี ๒๐๗.jpg
ออกจากวัดศรีโพธาราม ปั่นออกทางหลังวัดไปชมสถานีรถไฟครับ<br /><br />สถานีรถไฟสารภี<br />         <br />สถานีรถไฟสารภี ตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างสถานีรถไฟเชียงใหม่กับสถานีรถไฟป่าเส้า จังหวัดลำพูน ปัจจุบันสถานีรถไฟสารภี ให้บริการรถท้องถิ่น เที่ยวขึ้น ขบวน ๔๐๗ นครสวรรค์ - เชียงใหม่ และเที่ยวล่อง ขบวน ๔๐๘ เชียงใหม่ - นครสวรรค์ นอกจากนั้นเป็นรถผ่าน<br />        <br /> แต่เดิมสถานีรถไฟสารภี มีชื่อว่าสถานีป่ายางเลิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายอำเภอสารภีได้ทำหนังสือติดต่อไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอให้พิจารณาเปลี่ยนชื่อสถานีป่ายางเลิ้ง เป็นสถานีสารภี เนื่องจากชื่อสถานีป่ายางเลิ้งเป็นชื่อที่ไม่เหมาะสมและไม่ตรงกับความเป็นจริง ด้วยคำว่าป่ายางเลิ้งไม่มีชื่อหมู่บ้านและตำบลอยู่ในทำเนียบท้องที่อำเภอสารภี ทำให้ผู้โดยสารรถไฟไม่ได้รับความสะดวกหลายประการ เช่น ผู้โดยสารบางคนต้องการโดยสารรถไฟไปลงที่อำเภอสารภี แต่ไม่ทราบว่าจะลงที่สถานีใด ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อสถานีป่ายางเลิ้งเป็นสถานีสารภี<br />       <br />  อย่างไรก็ตาม กรมมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวว่าสถานีป่ายางเลิ้งตั้งอยู่ในเขตการปกครองท้องที่หมู่บ้าน ตำบล หรือในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี และให้พิจารณาตามหลักการตั้งชื่อสถานีรถไฟตามที่ตั้งตำบลหมู่บ้านหรือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ หากสถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี ก็ควรตั้งชื่อว่า “สถานีสารภี” หากไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ก็ควรใช้ชื่อตำบลเรียกชื่อว่า “สถานียางเนิ้ง”<br />        <br /> หลังจากจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาแล้ว ได้ทำหนังสือแจ้งกรมมหาดไทย เห็นสมควรในการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟดังกล่าว เป็นสถานีสารภี เนื่องจากสถานีนี้ตั้งอยู่ตำบลยางเนิ้ง อันเป็นตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี ซึ่งถือว่าเหมาะสมและสามารถอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้โดยสารที่อยู่ห่างไกลได้<br /><br />ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ออกจากวัดศรีโพธาราม ปั่นออกทางหลังวัดไปชมสถานีรถไฟครับ

สถานีรถไฟสารภี

สถานีรถไฟสารภี ตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างสถานีรถไฟเชียงใหม่กับสถานีรถไฟป่าเส้า จังหวัดลำพูน ปัจจุบันสถานีรถไฟสารภี ให้บริการรถท้องถิ่น เที่ยวขึ้น ขบวน ๔๐๗ นครสวรรค์ - เชียงใหม่ และเที่ยวล่อง ขบวน ๔๐๘ เชียงใหม่ - นครสวรรค์ นอกจากนั้นเป็นรถผ่าน

แต่เดิมสถานีรถไฟสารภี มีชื่อว่าสถานีป่ายางเลิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายอำเภอสารภีได้ทำหนังสือติดต่อไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอให้พิจารณาเปลี่ยนชื่อสถานีป่ายางเลิ้ง เป็นสถานีสารภี เนื่องจากชื่อสถานีป่ายางเลิ้งเป็นชื่อที่ไม่เหมาะสมและไม่ตรงกับความเป็นจริง ด้วยคำว่าป่ายางเลิ้งไม่มีชื่อหมู่บ้านและตำบลอยู่ในทำเนียบท้องที่อำเภอสารภี ทำให้ผู้โดยสารรถไฟไม่ได้รับความสะดวกหลายประการ เช่น ผู้โดยสารบางคนต้องการโดยสารรถไฟไปลงที่อำเภอสารภี แต่ไม่ทราบว่าจะลงที่สถานีใด ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อสถานีป่ายางเลิ้งเป็นสถานีสารภี

อย่างไรก็ตาม กรมมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวว่าสถานีป่ายางเลิ้งตั้งอยู่ในเขตการปกครองท้องที่หมู่บ้าน ตำบล หรือในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี และให้พิจารณาตามหลักการตั้งชื่อสถานีรถไฟตามที่ตั้งตำบลหมู่บ้านหรือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ หากสถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี ก็ควรตั้งชื่อว่า “สถานีสารภี” หากไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ก็ควรใช้ชื่อตำบลเรียกชื่อว่า “สถานียางเนิ้ง”

หลังจากจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาแล้ว ได้ทำหนังสือแจ้งกรมมหาดไทย เห็นสมควรในการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟดังกล่าว เป็นสถานีสารภี เนื่องจากสถานีนี้ตั้งอยู่ตำบลยางเนิ้ง อันเป็นตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี ซึ่งถือว่าเหมาะสมและสามารถอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้โดยสารที่อยู่ห่างไกลได้

ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: สงสารจัง...(จากท่านสมพงษ์ นรินทร์สุขสันติ นักธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์) เป็นจดหมายจากแม่ ถึงลูกทั้งสี่ ก่อนจากโลกนี้ไป

" หากชาติหน้ามีจริง ขออย่าให้พวกเราต้องมาเจอกันอีกเลยนะลูกๆทั้งสี่คนของแม่"

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา แม่มีอายุครบ 80 ปี แม่ให้กำเนิดลูกชายถึง 4 คน แล้วยังช่วยลูกๆ ดูแลเลี้ยงหลานอีก 8 คน ก็เท่ากับว่า..ในชั่วชีวิตนี้ของแม่ แม่..ได้ใช้สองมือของแม่เลี้ยงดูอุ้มชูลูกๆหลานๆ ด้วยความรักถึง 12 คน แต่ทว่า ตอนนี้ แม่แก่แล้ว แก่จนต้องคอยมองดูสีหน้าของพวกแก เพื่อความอยู่รอดของตัวแม่เอง โดยเฉพาะเมื่อสี่ห้าปีก่อน ตอนที่พ่อของพวกแกเสียไปแล้ว แม่รู้สึกได้ทันทีถึงความรำคาญที่พวกแกปฏิบัติตนต่อแม่ และนับวันยิ่งย่ำแย่เข้าไปทุกที

ตอนที่พ่อของพวกแกจากไปใหม่ๆ แม่หวังเหลือเกินว่า..จะมีลูกคนไหน สักคนที่จะยื่นมือมารับแม่ไปอยู่ที่บ้าน บอกตรงๆว่า..แม่อยากใช้ชีวิตอยู่กับพวกแก จะคนไหนก็ได้แม่ยินดีทั้งนั้น แต่รอแล้วรอเล่า สองเดือนผ่านไป แม่จำต้องทำใจ..ยอมรับสภาพของความเป็นจริง ไม่มีลูกคนไหนยอมรับแม่ไปอยู่ด้วยเลย โชคยังดีที่พวกแกยังพอมีน้ำใจ เหลืออยู่บ้าง ที่ในเวลานั้นพวกแกทั้งสี่ผลัดเวรมาเป็นเพื่อนแม่ ที่บ้านทุกคืน แบ่งกันคนละสัปดาห์ แม่ก็ไม่กลัวอะไรอีกแล้ว ในตอนกลางคืน แต่คิดดูแล้วแม่ก็มีอายุอยู่มาถึงป่านนี้ จะต้องไปกลัวอะไรอีก.

แต่สิ่งที่แม่กลัวที่สุดคือ..ความเหงา ลูกๆของแม่ทุกๆคน พวกแก..มาอยู่เป็นเพื่อนแม่ รวมเวลาทั้งสิ้นเป็นเวลา 1 ปี กับ 9 เดือน หรือประมาณ 630 วัน ในฐานะของคนเป็นแม่ รู้สึกขอบคุณน้ำใจของพวกแกที่มอบให้ในครั้งนั้น ช่วงแรกๆ ที่มาอยู่เป็นเพื่อนแม่ ทุกอย่างดูดีมีความเอื้ออาทรให้แม่อยู่บ้าง แต่พอวันเวลาค่อยๆผ่านไป สีหน้าของพวกแกก็แลดูย่ำแย่ลงทุกวัน พอเหยียบเข้ามาถึงบ้านแม่ ไม่มีคำทักทายสักคำเวลาออกจากบ้าน คำอำลาสักคำก็ไม่มีเช่นกัน

แม่เหมือนสิ่งไม่มีชีวิตชิ้นหนึ่งที่ถูกวางอยู่กลางบ้าน บางครั้งก็รู้สึกเหมือนกับว่า..พวกแกกำลังเดินเข้าออกโรงแรมแล้วมียายแก่แปลกหน้า ที่นั่งมองหน้าพวกแกที่เดินผ่านไปมา เหมือนเราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่มีความผูกพันกันเลยแม้แต่น้อย

แม่กลัวที่จะทำให้พวกแกรำคาญหรือรังเกียจ แม่ไม่ได้กินข้าวฟรีของพวกแกแม้แต่คำเดียว เสื้อผ้าข้าวของแม่ ก็ซื้อเองทุกอย่าง แม้กระทั่งสตางค์แดงเดียวก็ไม่เคยใช้ของพวกแก เพียงแค่พวกแกยอมแวะมาอยู่เป็นเพื่อนแม่บ้าง แค่นั้น..แม่ก็รู้สึกเป็นบุญคุณเหลือหลายแล้ว ถึงแม้แม่จะพยายามวางตัวอย่างระมัดระวังที่สุด ไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวชีวิตส่วนตัวของพวกแกเลย แต่พวกแกทุกคน ก็ค่อยๆห่างหาย จากบ้านแม่ไปทีละคน แบบไม่ต้องมีคำร่ำลา ไม่มีใครแวะมาเยี่ยมเยียนแม่อีก แต่ยัดเยียดเอาความเหงามามอบให้แม่แบบไม่มีความปราณีกันเลย

ชีวิตหลังจากนั้นเป็นต้นมา แม่รู้ตัวว่าแม่ต้องเดินด้วยเท้าตัวเองทุกฝีก้าว ต้องพึ่งพาตัวเองทุกอย่างด้วยสองมือของแม่เอง มันยากลำบาก สำหรับคนแก่อย่างแม่พอสมควร ชีวิตที่เต็มไปด้วยความหงอยเหงาและเศร้าหมองนั้น จะมีอายุยืนยาวไปทำไม ช่วงเวลานี้..แม่รู้สึกแน่นหน้าอกมากขึ้นทุกวัน แม่ไม่ได้บอกใคร แท้จริงแล้วก็ไม่รู้จะหันหน้าไปบอกใคร. แม่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โรคภัยไข้เจ็บจะกรุณารีบนำพาแม่จากโลกนี้ไปในเร็ววัน ถ้าเป็นเช่นนั้นได้ แม่ก็รู้สึกว่า ชะตาชีวิตยังคงมีความปราณีต่อแม่บ้าง

หลายคืนก่อน แม่ฝันถึงพ่อของพวกแก พ่อยิ้ม บอกกับแม่ว่า "ไปกันเถอะพ่อมารับแล้ว ไปกับพ่อแล้วแม่จะไม่หงอยเหงาอีกต่อไป"

ตื่นมากลางดึก มองไปบนท้องฟ้าเห็นมีแต่ดาวเต็มฟ้า พระจันทร์ส่องแสงนวลสบายตา ในคืนที่บรรยากาศสงบเงียบเช่นนี้ แม่ฝันถึงพ่อของพวกแก พ่อที่กำลังจะมารับแม่ไป
แม่ขอขอบคุณความรักอันแสนอบอุ่น ที่พ่อได้มอบให้กับแม่มาทั้งชีวิต มันคือสิ่งที่มีค่าที่สุดสิ่งเดียวในชีวิตนี้ของแม่

แม่รู้ตัวว่า..มันคงถึงเวลาแล้ว จึงได้ตัดสินใจเขียนจดหมายฉบับนี้ทิ้งไว้ ความสัมพันธ์ของความเป็นแม่ลูกระหว่างเรา มันก็คงใกล้จะจบเต็มแก่แล้ว แม่มีผมขาวอยู่เต็มหัว แม่ขอใช้ผมขาวทุกเส้นบนหัวสาบานว่า แม่รู้สึกขอบคุณและซาบซึ้งถึงการแวะเวียนมาอยู่เป็นเพื่อนแม่ของลูก นอกจากประโยคนี้แล้ว ยังมีคำพูดที่แม่อยากจะบอกกล่าวก่อนตายว่า

"แม่เสียใจที่สุดที่ให้กำเนิดพวกแก
มาทั้งสี่คน หากชาติหน้ามีจริง
ขออย่าให้พวกเราต้องมาเจอกันอีกเลย"


ในฐานะของคนเป็นแม่ แม่คงไม่ใจร้ายพอที่จะสาปแช่งพวกแก แต่แม่กลับหวังว่า ในยามแก่เฒ่าของพวกแกทั้งสี่คน ขอให้ทุกคนจงพบแต่ความสงบสุขในยามชรา คงไม่ถูกลูกๆของพวกแกทั้ง 8 คน ทอดทิ้ง ความผูกพันระหว่างเราก็คงจบลงเพียงเท่านี้ อะไรที่ตั้งใจจะกล่าว ก็ได้ถ่ายทอดด้วยความอาดูร ออกมาจากใจจนหมดแล้ว ขอให้ทุกอย่างจบสิ้นลงแค่ชาตินี้ชาติเดียว คิดว่ามันก็เกินพอแล้ว

จากแม่

หลังจากนั้นไม่นาน ..คุณแม่ท่านนี้ ก็ได้จากโลกนี้ไปจริงๆ บนเตียงตัวเองอย่างสงบ ในมือ..ถือรูปถ่ายที่เคยถ่ายไว้คู่กับสามี เพียงแค่สองคนเท่านั้น :cry: :cry:

:( :( อ่านแล้วรู้สึกสะท้านใจเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้เป็น "แม่"ได้ดีที่สุด เพราะ เราก็คือ แม่คนหนึ่งซึ่งบางครั้งก็รู้สึก น้อยใจ เศร้า และมีน้ำตาเพราะลูก คนที่เรารักมากที่สุด แต่ลูก ไม่ได้รักแม่เหมือนดั่งเรารักเขา ในความเป็นแม่ ไม่เคยโกรธ หรือเกลียดลูกสักครั้ง แต่ลึกๆในใจปรารถนาเหลือเกิน อยากเห็นความน่ารักของลูกเหมือนในยามวัยเด็กขอความชื่นใจเป็นน้ำหล่อเลี้ยง ให้หญิงแก่ๆคนหนึ่งได้รับความสุข ก่อนที่เขาจะลาจากเจ้าไป และเมื่อถึงวันนั้น มันอาจจะสายไปแล้ว ถ้าลูกยังคิดไม่ได้ เรายินดีและดีใจมาก ที่เพื่อนๆบางคนยังมี "พระในบ้าน" ให้ได้มีโอกาสตอบแทนบุญท่าน และดูแลเป็นอย่างดี ร้อยหมึ่นพันความดีไม่เท่าแรงกตัญญูเพียงหนึ่ง"

# รักแม่มากๆ เหมือนดั่งแม่รักเรานะคะชะเง้อชะแง้แลหา ลูกหลาน มาเยี่ยมหาเหมือนดั่งหมาเหงา รอเจ้าของ
:shock: :shock:


:) :D สวัสดียามสายๆ ใกล้เที่ยงของวันอังคารที่ ๑๙/๑๒/๖๖ บทความเศร้า กินใจข้างต้นที่นำมาเสนอวันนี้ สำหรับผมไม่มีแม่แล้วแต่อ่านแล้วน้ำตาไหล คิดถึงแม่ครับ จึงขอนำมาลงไว้ให้เป็นกุศลผลบุญ เผื่อว่าลูก ๆ ที่ยังมีแม่อยู่จะได้หันกลับไปดูแลพระในบ้านอย่าทอดทิ้งท่านแบบข้างต้นนะครับ

เราไปเที่ยวกันต่อนะครับ ผมจะพาท่องเที่ยวถนนวัฒนธรรมต้นยางสารภีกัน หลังจากที่พาไปหยุดอยู่ที่สถานีรถไฟเพื่อเก็บภาพ ตอนนี้ได้เวลาออกจากสถานีรถไฟกันแล้ว เราจูงจักรยานมาที่หน้าสถานี พาจักรยานเลี้ยวขวาปั่นไปสัก ๓๐๐ ม.ก็จะเจอซอยซ้ายมือ เพื่อมุ่งออกไปถนนต้นยางเป็นที่ตั้งของวัดแสนหลวง ซึ่งจุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของถนนคนเดินฝั่งมาทาง จ.ลำพูน ยาวไปจนถึงขัวขาว(สะพานขาว)ถ้ามาจากเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๕๐๐ ม.กว่า ๆ ทุก ๆ วันเสาร์เวลาบ่าย ๆ ก็จะมีถนนคนเดินให้ชาวบ้านนำสินค้ามาขายมีหลากหลาย สำหรับตัวผมเองไม่ถนัดที่จะไปเดิน แต่เมื่อเสาร์ที่ผ่านมา (๑๖/๑๒/๖๖) ต้องไปเก็บภาพเพื่อมานำเสนอ ก็ได้เปิดหูเปิดตา ทดสอบจิตว่าจะเข้มแข็งต่อ"ผัสสะ"ไหม? สนุกมากครับ :lol: :lol:



:) :D ถนนคนเดินยางเนิ้ง :) :D
ไฟล์แนบ
สารภี ๒๐๙.jpg
สารภี ๒๐๙.jpg (116.45 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
สารภี ๒๑๑.jpg
สารภี ๒๑๒.jpg
สารภี ๒๑๒.jpg (86.5 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
สารภี ๒๑๐.jpg
สารภี ๒๑๓.jpg
วัดแสนหลวง : Wat Saen Luang<br /><br /> วัดแสนหลวง ตำบลยางเนิ้ง สร้างด้วยศรัทธาเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือท่านหนึ่งซึ่งได้รับราชการตำแหน่ง“แสนหลวง” ในราชวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงพระนามว่า “เจ้ากาวิละ” เมื่อปี พ.ศ. 2339 มีประวัติโดยสังเขปดังนี้<br /> <br />ในรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฎิวิสุทธิวงศ์ แห่งราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ 20 ได้เสียเมืองเชียงใหม่ให้แก่พระเจ้าบุเรงนองมหาราช กษัตรย์พม่า เมื่อปี พ.ศ.2102 และพระองค์ได้ถูกจับตัวไปยังกรุงอังวะ นับตั้งแต่นั้นมาลานนาไทยก็หมดอิสรภาพโดยสิ้นเชิงและต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลาช้านานถึง 216 ปี<br /><br />ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญ่าจ่าบ้าน(บุญมา) ซึ่งเป็นน้าของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับพระเจ้ากาวิละ นำทัพของพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งตั้งตนเป็นใหญ่ หลังเสียกรุงศรีอยุธยา เข้าตีเมืองเชียงใหม่ ทำการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินลานนา เมืองเชียงใหม่จึงเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็หาความผาสุกมิได้ ไพร่ฟ้าประชาชนไม่เป็นอันทำมาหากิน เนื่องจากถูกพม่ายกทัพมารบกวนอยู่เสมอ ซ้ำร้ายยังขาดแคลนเสบียงอาหาร ประกอบกับป้อมคูประตูหอรบชำรุดทรุดโทรมมาก จึงปรึกษากันอพยพผู้คนร่นมาจากเมืองเชียงใหม่ มาตั้งรับข้าศึกอยู่ที่เวียงหวาก<br /><br />เมื่อพระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านมาอยู่ที่เวียงหวากแล้วจึงปรึกษาหารือกัน ได้มีมติเห็นชอบตรงกันในอันที่จะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อไว้บำเพ็ญกุศลของข้าราชการในราชสำนักและไพร่ฟ้าประชากร จึงประชุมเสนาอำมาตย์และชาวเมือง ที่ประชุมมีความเห็นชอบพร้อมกัน โดยมอบอำนาจให้พญาแสนหลวงเป็นสล่า (นายช่าง) ออกแบบก่อสร้าง ขึ้นในปี พ.ศ.2338 ตรงกับเดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ใต้) ออก 15 ค่ำ ยามแถลรุ่ง (ใกล้รุ่งอรุณ) เป็นเวลาฤกษ์งามยามดี จึงได้ทำพิธีฝังลูกนิมิตโดยอาราธนามหาเถรเจ้าจ่อคำต๊ะโรเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ พญาแสนหลวงเป็นหัวหน้าฝ่ายฆราวาสแบ่งหน้าที่ให้ผู้ชำนาญแต่ละหมวดหมู่ไปรับงานไปทำ<br /><br />การก่อสร้างดำเนินงานไปเกือบจะเสร็จ ทางสล่าอยากจะได้จอง(เตียง) ไว้ในโฮง(กุฎิ) ให้พระสงฆ์ไว้นอน และอยากจะได้เตียงถวายเจ้าเหนือหัว (พระยากาวิละ) ด้วย จึงได้พาพวกสล่าไปตัดต้นยางต้นหนึ่ง(ในตำนานกล่าวว่าต้นไม้ใหญ่ขนาดสามคนโอบ) มีลำต้นเนิ้ง(เอน) ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าต้นยางนี้คงจะขึ้นอยู่แถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลเดิมเพราะเป็นเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปีแล้ว พอคณะช่างไปถึงต้นยางใหญ่ สล่าหมิ่น จองต๊ะ ผู้เป็นหัวหน้าก็ยกขวานใหญ่ฟันลงไปต้นยางนั้น ก็บังเกิดอาเพศโดยต้นยางต้นใหญ่ต้นนั้น มีอาการสั่นสะเทือน และมีเสียงคราง ฮือๆ เหมือนได้รับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส พวกสล่าเหล่านั้นต่างพากันทิ้งเครื่องมือวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง ผู้ที่มีสติดีกว่าเพื่อนได้แก่พญาแสนหลวงผู้เป็นหัวหน้าได้ตะโกนสั่งให้ลูกน้อง ไปนำเอาข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน เหล้าไห ไก่คู่ หมาก เมี่ยง พลู ยา มาตั้งศาลเพียงตา ทำพิธีบวงสรวง เสร็จแล้วจึงสั่งให้นายช่างเข้าตัดต้นยางต่อไป คราวนี้ปรากฎว่า ไม่มีการสั่นสะเทือนหรือเสียงคราวออกมาจากต้นยางแต่ประการใดอีกเลย<br /><br />การก่อสร้างวัดก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต่อมาไม่นานนัก พญาแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรมลงต่อมาอีกเพียง 3 วัน มหาเถรจ่อคำต๊ะโร เจ้าอาวาสก็ถึงแก่มรณกรรมลงในระยะเวลาใกล้ๆ กันนั้น พระเจ้ากาวิละจึงได้จัดการปลงศพพร้อมกัน เมื่อทำบุญปลงศพเสร็จแล้ว จึงได้ให้สล่าแป๋งหอ (ศาล) ไว้สองหอ หอคำสร้างไว้ที่หลังพระวิหาร ต่อมาหอคำนี้ก็ได้หายสาบสูญไป ส่วนอีกหอหนึ่ง คือ หอพญาแสนหลวงที่สร้างไว้ที่แจ่ง กำแพงวัดด้านเหนือ คือที่ริมศาลาบาตร ใต้ต้นโพธิ์ตราบเท่าทุกวันนี้<br /><br />ต่อมาพระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้าน จึงได้พระกรุณาโปรดให้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดแสนหลวง” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้แก่ “พญาแสนหลวง” นายช่างใหญ่ผู้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างวัดนี้ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2338 ส่วนศาลพญาแสนหลวง ต่อมาได้นามว่า “ศาลเจ้าพ่อแสนหลวง” เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนต่อไปอีกนานเท่านาน<br /><br />ต่อมาในปี พ.ศ.2339 พระเจ้ากาวิละ และพญาจ่าบ้าน(บุญมา) สองน้าหลาน เห็นว่าเมืองเชียงใหม่ได้ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามานานแล้ว ควรจะพากันไปปฎิสังข์เมืองเชียงใหม่อันเป็นเมืองหลวงเดิม คิดได้เช่นนี้แล้ว จึงได้อพยพไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินกลับเข้าเมืองเชียงใหม่ ทำการปฎิสังขรณ์บูรณะจนเจริญรุ่งเรืองมาตราบทุกวันนี้
วัดแสนหลวง : Wat Saen Luang

วัดแสนหลวง ตำบลยางเนิ้ง สร้างด้วยศรัทธาเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือท่านหนึ่งซึ่งได้รับราชการตำแหน่ง“แสนหลวง” ในราชวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงพระนามว่า “เจ้ากาวิละ” เมื่อปี พ.ศ. 2339 มีประวัติโดยสังเขปดังนี้

ในรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฎิวิสุทธิวงศ์ แห่งราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ 20 ได้เสียเมืองเชียงใหม่ให้แก่พระเจ้าบุเรงนองมหาราช กษัตรย์พม่า เมื่อปี พ.ศ.2102 และพระองค์ได้ถูกจับตัวไปยังกรุงอังวะ นับตั้งแต่นั้นมาลานนาไทยก็หมดอิสรภาพโดยสิ้นเชิงและต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลาช้านานถึง 216 ปี

ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญ่าจ่าบ้าน(บุญมา) ซึ่งเป็นน้าของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับพระเจ้ากาวิละ นำทัพของพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งตั้งตนเป็นใหญ่ หลังเสียกรุงศรีอยุธยา เข้าตีเมืองเชียงใหม่ ทำการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินลานนา เมืองเชียงใหม่จึงเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็หาความผาสุกมิได้ ไพร่ฟ้าประชาชนไม่เป็นอันทำมาหากิน เนื่องจากถูกพม่ายกทัพมารบกวนอยู่เสมอ ซ้ำร้ายยังขาดแคลนเสบียงอาหาร ประกอบกับป้อมคูประตูหอรบชำรุดทรุดโทรมมาก จึงปรึกษากันอพยพผู้คนร่นมาจากเมืองเชียงใหม่ มาตั้งรับข้าศึกอยู่ที่เวียงหวาก

เมื่อพระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านมาอยู่ที่เวียงหวากแล้วจึงปรึกษาหารือกัน ได้มีมติเห็นชอบตรงกันในอันที่จะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อไว้บำเพ็ญกุศลของข้าราชการในราชสำนักและไพร่ฟ้าประชากร จึงประชุมเสนาอำมาตย์และชาวเมือง ที่ประชุมมีความเห็นชอบพร้อมกัน โดยมอบอำนาจให้พญาแสนหลวงเป็นสล่า (นายช่าง) ออกแบบก่อสร้าง ขึ้นในปี พ.ศ.2338 ตรงกับเดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ใต้) ออก 15 ค่ำ ยามแถลรุ่ง (ใกล้รุ่งอรุณ) เป็นเวลาฤกษ์งามยามดี จึงได้ทำพิธีฝังลูกนิมิตโดยอาราธนามหาเถรเจ้าจ่อคำต๊ะโรเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ พญาแสนหลวงเป็นหัวหน้าฝ่ายฆราวาสแบ่งหน้าที่ให้ผู้ชำนาญแต่ละหมวดหมู่ไปรับงานไปทำ

การก่อสร้างดำเนินงานไปเกือบจะเสร็จ ทางสล่าอยากจะได้จอง(เตียง) ไว้ในโฮง(กุฎิ) ให้พระสงฆ์ไว้นอน และอยากจะได้เตียงถวายเจ้าเหนือหัว (พระยากาวิละ) ด้วย จึงได้พาพวกสล่าไปตัดต้นยางต้นหนึ่ง(ในตำนานกล่าวว่าต้นไม้ใหญ่ขนาดสามคนโอบ) มีลำต้นเนิ้ง(เอน) ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าต้นยางนี้คงจะขึ้นอยู่แถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลเดิมเพราะเป็นเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปีแล้ว พอคณะช่างไปถึงต้นยางใหญ่ สล่าหมิ่น จองต๊ะ ผู้เป็นหัวหน้าก็ยกขวานใหญ่ฟันลงไปต้นยางนั้น ก็บังเกิดอาเพศโดยต้นยางต้นใหญ่ต้นนั้น มีอาการสั่นสะเทือน และมีเสียงคราง ฮือๆ เหมือนได้รับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส พวกสล่าเหล่านั้นต่างพากันทิ้งเครื่องมือวิ่งหนีไปคนละทิศละทาง ผู้ที่มีสติดีกว่าเพื่อนได้แก่พญาแสนหลวงผู้เป็นหัวหน้าได้ตะโกนสั่งให้ลูกน้อง ไปนำเอาข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน เหล้าไห ไก่คู่ หมาก เมี่ยง พลู ยา มาตั้งศาลเพียงตา ทำพิธีบวงสรวง เสร็จแล้วจึงสั่งให้นายช่างเข้าตัดต้นยางต่อไป คราวนี้ปรากฎว่า ไม่มีการสั่นสะเทือนหรือเสียงคราวออกมาจากต้นยางแต่ประการใดอีกเลย

การก่อสร้างวัดก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ต่อมาไม่นานนัก พญาแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรมลงต่อมาอีกเพียง 3 วัน มหาเถรจ่อคำต๊ะโร เจ้าอาวาสก็ถึงแก่มรณกรรมลงในระยะเวลาใกล้ๆ กันนั้น พระเจ้ากาวิละจึงได้จัดการปลงศพพร้อมกัน เมื่อทำบุญปลงศพเสร็จแล้ว จึงได้ให้สล่าแป๋งหอ (ศาล) ไว้สองหอ หอคำสร้างไว้ที่หลังพระวิหาร ต่อมาหอคำนี้ก็ได้หายสาบสูญไป ส่วนอีกหอหนึ่ง คือ หอพญาแสนหลวงที่สร้างไว้ที่แจ่ง กำแพงวัดด้านเหนือ คือที่ริมศาลาบาตร ใต้ต้นโพธิ์ตราบเท่าทุกวันนี้

ต่อมาพระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้าน จึงได้พระกรุณาโปรดให้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดแสนหลวง” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้แก่ “พญาแสนหลวง” นายช่างใหญ่ผู้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างวัดนี้ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2338 ส่วนศาลพญาแสนหลวง ต่อมาได้นามว่า “ศาลเจ้าพ่อแสนหลวง” เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนต่อไปอีกนานเท่านาน

ต่อมาในปี พ.ศ.2339 พระเจ้ากาวิละ และพญาจ่าบ้าน(บุญมา) สองน้าหลาน เห็นว่าเมืองเชียงใหม่ได้ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามานานแล้ว ควรจะพากันไปปฎิสังข์เมืองเชียงใหม่อันเป็นเมืองหลวงเดิม คิดได้เช่นนี้แล้ว จึงได้อพยพไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินกลับเข้าเมืองเชียงใหม่ ทำการปฎิสังขรณ์บูรณะจนเจริญรุ่งเรืองมาตราบทุกวันนี้
๑๕ ธ.ค.๖๖ ต.ยางเนิ้ง สารภี (61).JPG (121.16 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
ถนนคนเดินยางเนิ้ง  หรือถนนคนเดินสารภี  ตั้งอยู่บริเวณหน้าที่ทำการอำเภอสารภี  บนถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน  หรือถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๖  เริ่มปิดถนนตั้งแต่ขัวขาว  หรือสะพานเฉลิมพระเกียรติสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี  ยาวไปจนถึงวัดแสนหลวง  รวมระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร ถนนเส้นนี้เต็มไปด้วยสินค้ามากมายหลายชนิด  รวมถึงสินค้าหัตถกรรมต่าง  ทีี่พี่น้องชุมชนยางเนิ้งได้เลือกสรรมาให้กับนักท่องเที่ยวและชาวบ้านอำเภอสารภี  โดยเทศบาลได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนสินค้าในเขตชุมชนของเทศบาล  ตามแนวคิด เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง  มีการแสดงและกิจกรรมต่างๆ บริเวณลานเวทีหน้าที่ทำการอำเภอสารภี  พบกับ ถนนคนเดินยางเนิ้ง  ทุกเย็นวันเสาร์  ตั้งแต่เวลา ๔ โมงเย็นเป็นต้นไป  แล้วมาช่วยกันส่งเสริมรายได้ให้แก่ท้องถิ่นเพื่อพี่น้องคนสารภีครับ
ถนนคนเดินยางเนิ้ง หรือถนนคนเดินสารภี ตั้งอยู่บริเวณหน้าที่ทำการอำเภอสารภี บนถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน หรือถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ เริ่มปิดถนนตั้งแต่ขัวขาว หรือสะพานเฉลิมพระเกียรติสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี ยาวไปจนถึงวัดแสนหลวง รวมระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร ถนนเส้นนี้เต็มไปด้วยสินค้ามากมายหลายชนิด รวมถึงสินค้าหัตถกรรมต่าง ทีี่พี่น้องชุมชนยางเนิ้งได้เลือกสรรมาให้กับนักท่องเที่ยวและชาวบ้านอำเภอสารภี โดยเทศบาลได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนสินค้าในเขตชุมชนของเทศบาล ตามแนวคิด เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง มีการแสดงและกิจกรรมต่างๆ บริเวณลานเวทีหน้าที่ทำการอำเภอสารภี พบกับ ถนนคนเดินยางเนิ้ง ทุกเย็นวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา ๔ โมงเย็นเป็นต้นไป แล้วมาช่วยกันส่งเสริมรายได้ให้แก่ท้องถิ่นเพื่อพี่น้องคนสารภีครับ
567919_0.jpg (113.36 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
567921_0.jpg
567921_0.jpg (135.25 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
567922_0.jpg
567922_0.jpg (115.71 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
567934.jpg
567934.jpg (174.56 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
567020_0.jpg
567020_0.jpg (169.34 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
567920_0.jpg
567920_0.jpg (144.78 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
567021_0.jpg
567021_0.jpg (160.71 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
ถนนคนเดินยางเนิ้ง หรืออีกชื่อที่โฟกัสเป้าหมายได้ชัดเจนกว่า คือ ถนนคนเดินสารภี เป็นถนนคนเดินท้องถิ่นอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองมากนัก นับเป็นอีกหนึ่งถนนคนเดินทางเลือกที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น กลิ่นอายของการค้าขายแบบชาวบ้านล้านนา ที่นับวันกลิ่นเหล่านี้จะเจือจางไปทุกที<br /> <br />       ถนนคนเดินยางเนิ้ง หรือถนนคนเดินสารภี เป็นถนนคนเดินน้องใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัวปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ตั้งอยู่บริเวณหน้าที่ทำการอำเภอสารภี บนถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน หรือถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ มีระยะทางให้เดินช๊อปประมาณ ๕๐๐ เมตร ตั้งแต่ขัวขาว หรือสะพานเฉลิมพระเกียรติสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี ยาวไปจนถึงวัดแสนหลวง ปิดถนนให้คนเดินทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลาเย็นๆ ประมาณ ๔ โมงจนตลาดวายราวๆ ๔ ทุ่ม  ถนนคนเดินแห่งนี้เต็มไปด้วยสินค้ามากมายหลายชนิด รวมถึงสินค้าหัตถกรรมต่างๆ ที่พี่น้องชุมชนยางเนิ้งและชาวอำเภอสารภี ได้เลือกสรรมาให้กับนักท่องเที่ยว และชาวบ้านในชุมชนเดียวกันเองได้จับจ่ายเลือกซื้อ โดยเป็นการจัดตั้งของเทศบาลเพื่อเป็นการสนับสนุนสินค้าในท้องถิ่น ตามแนวคิด “เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง” มีกิจกรรมการแสดง บริเวณลานเวทีหน้าที่ว่าการอำเภอสารภี ขอเชิญนักท่องเที่ยวมาช่วยกันส่งเสริมรายได้ให้ท้องถิ่นเพื่อคืนความสุขให้กับคนในชุมชนยางเนิ้ง<br /><br />       จุดเด่นที่ไม่ซ้ำถนนคนเดินแห่งใดในโลก ถือเป็นไฮไลท์และเอกลักษณ์ของถนนคนเดินยางเนิ้งแห่งนี้ ก็คือ ถนนคนเดินแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนที่ขนาบไปด้วยต้นยางนาที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ถนนต้นยางสารภี” เป็นถนนที่มีความสวยงาม ด้วยที่มีต้นยางนาขนานไปกับถนนอยู่สองข้างทางหลายร้อยต้น เริ่มปลูกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จำนวน ๑,๕๐๐ ต้น จากวันนั้นถึงวันนี้เหลือเพียงไม่กี่ร้อยต้น ทำให้ชุมชนคนสารภีได้ทำการอนุรักษ์ต้นยางนาไม่ให้ถูกทำลายตัดโค่น ให้น้อยลงไปกว่านี้ โดยเฉพาะการต่อต้านโครงการขยายถนน “สายเชียงใหม่-ลำพูน” นี้ เพราะต้นไม้มิได้มีไว้ให้ตัด ดั่งเช่นรากเหง้าของวัฒนธรรมที่ควรแก่การจดจำและรักษาไว้<br />   <br />เวลาเปิด : ทุกวันเสาร์ เวลา ๑๗.๐๐-๒๒.๐๐ น.
ถนนคนเดินยางเนิ้ง หรืออีกชื่อที่โฟกัสเป้าหมายได้ชัดเจนกว่า คือ ถนนคนเดินสารภี เป็นถนนคนเดินท้องถิ่นอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองมากนัก นับเป็นอีกหนึ่งถนนคนเดินทางเลือกที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น กลิ่นอายของการค้าขายแบบชาวบ้านล้านนา ที่นับวันกลิ่นเหล่านี้จะเจือจางไปทุกที

ถนนคนเดินยางเนิ้ง หรือถนนคนเดินสารภี เป็นถนนคนเดินน้องใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัวปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ตั้งอยู่บริเวณหน้าที่ทำการอำเภอสารภี บนถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน หรือถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ มีระยะทางให้เดินช๊อปประมาณ ๕๐๐ เมตร ตั้งแต่ขัวขาว หรือสะพานเฉลิมพระเกียรติสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี ยาวไปจนถึงวัดแสนหลวง ปิดถนนให้คนเดินทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลาเย็นๆ ประมาณ ๔ โมงจนตลาดวายราวๆ ๔ ทุ่ม ถนนคนเดินแห่งนี้เต็มไปด้วยสินค้ามากมายหลายชนิด รวมถึงสินค้าหัตถกรรมต่างๆ ที่พี่น้องชุมชนยางเนิ้งและชาวอำเภอสารภี ได้เลือกสรรมาให้กับนักท่องเที่ยว และชาวบ้านในชุมชนเดียวกันเองได้จับจ่ายเลือกซื้อ โดยเป็นการจัดตั้งของเทศบาลเพื่อเป็นการสนับสนุนสินค้าในท้องถิ่น ตามแนวคิด “เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง” มีกิจกรรมการแสดง บริเวณลานเวทีหน้าที่ว่าการอำเภอสารภี ขอเชิญนักท่องเที่ยวมาช่วยกันส่งเสริมรายได้ให้ท้องถิ่นเพื่อคืนความสุขให้กับคนในชุมชนยางเนิ้ง

จุดเด่นที่ไม่ซ้ำถนนคนเดินแห่งใดในโลก ถือเป็นไฮไลท์และเอกลักษณ์ของถนนคนเดินยางเนิ้งแห่งนี้ ก็คือ ถนนคนเดินแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนที่ขนาบไปด้วยต้นยางนาที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ถนนต้นยางสารภี” เป็นถนนที่มีความสวยงาม ด้วยที่มีต้นยางนาขนานไปกับถนนอยู่สองข้างทางหลายร้อยต้น เริ่มปลูกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จำนวน ๑,๕๐๐ ต้น จากวันนั้นถึงวันนี้เหลือเพียงไม่กี่ร้อยต้น ทำให้ชุมชนคนสารภีได้ทำการอนุรักษ์ต้นยางนาไม่ให้ถูกทำลายตัดโค่น ให้น้อยลงไปกว่านี้ โดยเฉพาะการต่อต้านโครงการขยายถนน “สายเชียงใหม่-ลำพูน” นี้ เพราะต้นไม้มิได้มีไว้ให้ตัด ดั่งเช่นรากเหง้าของวัฒนธรรมที่ควรแก่การจดจำและรักษาไว้

เวลาเปิด : ทุกวันเสาร์ เวลา ๑๗.๐๐-๒๒.๐๐ น.
567019_0.jpg (159.91 KiB) เข้าดูแล้ว 683 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดียามสาย ๆ ของวันศุกร์ที่ ๒๒/๑๒/๖๖ วันศุกร์ขอนำเสนอเรื่องดี ๆ มีความสุขดีกว่านะครับ ไปเลยครับ :lol: :lol:

;) ;) ความรู้สึกกตัญญู มันดำรงอยู่ในจิตวิญญาณบูรพา

อาจารย์คริส และอาจารย์ซูซาน .. ๒ สามีภรรยา และเพื่อน ๆ เคยมาเที่ยวสวนเมื่อก่อนเกิดโรคระบาดโควิดโดยปกติอาจารย์ทั้ง ๒ คน จะมาประเทศไทยทุกปี .. แต่ด้วยสุขภาพที่ไม่อำนวย จึงไม่สามารถเดินทางไกลได้ อ.คริส และซูซาน .. พักอาศัยอยู่ที่เกาะแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มีลูก ๕คน เป็นลูกเชื้อชาติเวียดนาม ๒ / ลูกเชื้อชาติไทย ๒ และลูกเชื้อชาติเกาหลีใต้ ๑ ทั้งหมดเป็นลูกบุญธรรม ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่การขอที่ประเทศต้นทาง จนถึงปลายทางกฎหมายของแคนาดา

อ.ทั้งสอง ไม่มีลูกของตนเอง .. เมื่อเดินทางไปเวียดนาม พบเด็กกำพร้าอายุ ๕-๗ ขวบ จึงอยากจะขอนำไปเลี้ยงติดต่อเจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์ .. เจ้าหน้าที่บอกว่า เด็กคนที่อาจารย์ขอเลี้ยง เธอมีพี่น้องอีก ๑ คน ..อาจารย์จะไม่แยกพี่น้องออกจากกัน จึงรับทั้งคู่ไว้

ต่อมาเมื่อเดินทางมาประเทศไทย พบเด็กกำพร้าที่สถานสงเคราะห์สงขลา อายุ ๕-๖ ขวบ จึงอยากขอมาเลี้ยง .. เจ้าหน้าที่บอกว่า เขามีน้องชายที่ถูกทิ้งไว้ .. อาจารย์ไม่อยากแยกความเป็นพี่น้อง จึงรับไว้ทั้งคู่เช่นกัน

เมื่อเดินทางไปเกาหลีใต้ ระหว่างท่าเรือแห่งหนึ่ง พบเห็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ๕-๖ ขวบ แอบอยู่มุมหนึ่งกำลังนั่งร้องไห้ .. อาจารย์เกิดความสงสาร เมื่อรู้ว่าถูกผู้ปกครองนำมาทิ้ง จึงตัดสินใจอุปการะ การอุปการะ เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย คือแจ้งขอกับเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้น ๆ .. แล้วนำเอกสารไปรับรองกับประเทศของตนเอง เด็ก ๕ คน . จากบูรพาทิศ .. สู่เกาะแวนคูเวอร์ ..

๓๐-๔๐ ปีผ่านไป อาจารย์ส่งเด็ก ๆ ทั้งหมดเรียนสำเร็จเท่าที่ความสามารถจะเรียนได้ และเติบโตทำงานอย่างมั่งคง .อาจารย์คริส จะเล่าประวัติของลูก ๆ แต่ละคนให้ฟัง ให้เขาและเธอรู้ว่า เป็นคนชาติไหน มาจากที่ไหน โดยไม่ปิดบัง ทั้ง ๕ คน จำภาษาแผ่นดินแม่ไม่ได้ .. เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความคิด แบบตะวันตกทั้งหมด จนเมื่อปีที่ผ่านมานี้ อ. ซูซาน ภรรยาของ อ.คริส ป่วย / แม่ ป่วย .. อยู่กับ พ่อ สองคน ส่วนลูก ๆ ใช้ชีวิตข้างนอก มีบ้านมีครอบครัวของตนเอง ตามวิถีแบบฝรั่งแต่ใครจะไปคิด .. ลูก ๆ ทั้งหมด ๕ คน .. คุยกันและตัดสินใจกัน พากันกลับมาบ้านพ่อ โดยยอมย้ายงาน ยอมปล่อยบ้านที่อยู่อีกเมืองหนึ่งให้คนเช่า เพื่อกลับมาดูแลพ่อแม่ อ.คริส ผู้เป็นพ่อ (บุญธรรม) เล่าว่า เป็นความโชคดีของเขาและภรรยา เหมือนฝันที่ลูก ๆ มีความกตัญญู เช่นนี้ โดยปกติ การดูแลพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า ในความรู้สึกของฝรั่งจะไม่ลึกซึ้งจริงจังเช่นชาวเอเซีย

คนแก่เฒ่าฝรั่งส่วนใหญ่จะอยู่เพียงลำพัง รัฐมีสวัสดิการดูแล ลูก ๆ ฝรั่งแยกบ้านแยกครอบครัวออกไป ใช้เพียงโทรศัพท์ส่งความห่วงใยโทรหา - นาน ๆ ในเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น คริสต์มาส ถึงมาพบปะร่วมโต๊ะอาหาร แต่ลูกทั้ง ๕ คน .. กลับทยอยกันกลับมา เพื่อดูแลชีวิตประจำวันพ่อแม่ ดูแลบ้าน นั่งพูดคุยเฝ้า ตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอนทั้งหมด พวกเขาพวกเธอ ตกลงกันเอง แบ่งหน้าที่กันเองอย่างเต็มใจ

ลูกคนหนึ่งพูดว่า .. ถ้าเธอไม่มีพ่อและแม่ ก็ไม่มีหนูในวันนี้ - พ่อแม่ทั้งคู่ไม่ได้ให้กำเนิดหนู แต่ให้ชีวิตใหม่กับหนู ให้การศึกษา ให้โอกาส และให้อิสระในการเลือกและการคิด พวกเธอพวกเขา ไม่รู้หรอกว่า ? คำว่ากตัญญูในศัพท์วิชาการ ในภาษาฝรั่ง มันมีความหมายอย่างไร ? แต่มันผุดขึ้นมาในความรู้สึกของพวกเขา .. อธิบายออกไปคนนอกก็ยากจะเข้าใจ อ.คริส และ อ.ซูซาน บอกว่า > ตัวเขาและภรรยาโชคดี .. เพราะการเลี้ยงลูกที่ไม่ใช่ลูกของตัวเอง นับเป็นความเสี่ยง อย่างหนึ่ง !

ผมฟังแล้วผมตื้นตัน อยากบอกอาจารย์ทั้งสอง ว่า ไม่ใช่ความโชคดีครับ แต่เป็นบุญในวาสนาของอาจารย์ .คำว่าบุญและวาสนา อธิบายเป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก แต่ "ความกตัญญู" ที่ลูกทั้ง ๕ คน .. (อันเป็นคนเชื้อสายเวียดนาม ๒ คนเชื้อสายไทย ๒ และคนเชื้อสายเกาหลี ๑) .. มันคือจิตวิญญาณแห่งชาวบูรพา มาตรแม้นแต่ละคน ขาดหายจากแผ่นดินแม่ ไม่เคยได้กลับมา จนพูดภาษาแผ่นดินตนไม่ได้เลย แต่การกตัญญู มันเป็นวิญญาณของชาวบูรพา มันปรากฎขึ้นมาเองอย่างอัศจรรย์ ที่มิอาจลบล้างให้หายไปได้
:o :o

:) :D พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า คนดี จะต้องมีเครื่องหมาย 2 ประการ คือ กตัญญู แปลว่า รู้คุณ และกตเวที แปลว่า ตอบแทนคุณ

ผู้ที่มีคุณต่อเรานั้นมีมาก แต่ในที่นี้จะขอยกมากล่าวเฉพาะบิดาและมารดา ท่านทั้งสองเป็นผู้ให้ชีวิตแก่เรา เรามีวันนี้ได้ก็เพราะท่าน ร่างกายตัวตนเรา มีราคาแพงมากที่สุดในโลก แต่ร่างกายตัวตนของเรานี้ได้มาฟรีๆ โดยบิดามารดาเป็นผู้มอบให้ และยังมีอีกหลายอย่างที่ท่านให้เรามา ถ้าบุคคลมานึกได้ตรงนี้จะเรียกว่าคนนั้นมี กตัญญู อันเป็นเครื่องหมายที่ 1

เมื่อรู้คุณดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่จะพึงกระทำต่อไปก็คือการตอบแทนสิ่งที่บิดามารดาของทุกคนต้องการต่อบุตรธิดา ซึ่งจะมีเหมือนกันทั้งหมด คือต้องการให้บุตรธิดา กระทำตนเป็นคนดี มีชื่อเสียงดี มีฐานะตำแหน่งหน้าที่ที่ดี และมีความรักใคร่สามัคคีกันในระหว่างพี่น้องดี เมื่อสามารถจะทำตนเป็นคนดีได้ บุคคลนั้นจะชื่อว่ามี กตเวที อันเป็นเครื่องหมายที่ 2

เพราะฉะนั้น ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างก็ต้องการจะเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะต้องหมั่นรำลึกนึกถึงพระคุณของท่านอยู่เสมอ และสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็จะต้องสร้างความดีให้เกิดขึ้นกับตน ให้สังคมมองเห็นว่า เราเป็นคนดี ก็เพราะมีบิดามารดาที่ดี ดังนี้ ขอให้คิดว่า

1. คุณต้องตอบแทน เป็นเขตแดนของคนดี จงตั้งตนไว้ในกตัญญูกตเวที
2. ความดีอยู่ที่ผล ความเป็นคนอยู่ที่รู้คุณ ถ้าทำได้ดีจะเป็นคนมีบุญ

ข้อมูลจาก พุทธสุภาษิตสะกิดใจ "กตัญญูกตเวที เป็นคนดีของชาติ"
:idea: :idea:

:( :( ก่อนจะไปเที่ยวกันต่อ เช้าวันนี้ที่กรุงปรากรัฐเช็ก มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอีกแล้ว นักศึกษากราดยิงในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญเขาได้ทำปิตุฆาตุมาแล้วด้วยน่าเสียใจครับก็ขอไว้อาลัยให้กับผู้สูญเสียด้วย :( :(
ไฟล์แนบ
ก่อนมาก่อเหตุมือปืนได้ลงมือสังหารบิดาของตนเองที่บ้านพักในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากกรุงปรากไปทางตะวันตกราว 21 กิโลเมตรเมื่อช่วงสายของวันเดียวกัน ก่อนจะเดินทางออกจากบ้านมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อหวังฆ่าตัวตาย แต่กลับกลายเป็นว่าเขามาก่อเหตุกราดยิงภายในคณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่เขาเป็นนักศึกษาอยู่ (นรกมาเกิดแน่นอน)
ก่อนมาก่อเหตุมือปืนได้ลงมือสังหารบิดาของตนเองที่บ้านพักในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากกรุงปรากไปทางตะวันตกราว 21 กิโลเมตรเมื่อช่วงสายของวันเดียวกัน ก่อนจะเดินทางออกจากบ้านมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อหวังฆ่าตัวตาย แต่กลับกลายเป็นว่าเขามาก่อเหตุกราดยิงภายในคณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่เขาเป็นนักศึกษาอยู่ (นรกมาเกิดแน่นอน)
573319.jpg (67.25 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
เกิดเหตุกราดยิงภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงปราก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และบาดเจ็บอีก 25 ราย นับเป็นเหตุรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศ โดยผู้ก่อเหตุเป็นนักศึกษาวัย 24 ปี<br /><br />เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยชาร์ลส ในย่านเมืองเก่าของกรุงปราก นักศึกษาผู้ก่อเหตุ เริ่มลงมือที่บริเวณอาคารเรียนคณะศิลปศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัย เมื่อเวลา 15.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น<br /><br />หลังเหตุสงบ ตำรวจเช็กระบุว่า ผู้ก่อเหตุเสียชีวิตแล้ว<br /><br />วิดีโอที่ถูกส่งต่อบนโซเชียลมีเดีย เผยให้เห็นภาพของผู้คนหนีออกมาทางช่องหน้าต่างและเกาะขอบหน้าต่างด้านนอกอาคารซึ่งมีความสูงหลายชั้นก่อนกระโดดลงที่ชั้นลอยเพื่อหนีเอาตัวรอด ขณะที่มีเสียงปืนดังไล่หลังมา อีกวิดีโอหนึ่งเป็นภาพของกลุ่มคนที่กำลังตื่นตระหนกวิ่งหนีอยู่ในบริเวณย่านนักท่องเที่ยว<br /><br />นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเล่าเหตุการณ์ว่าพวกเขาต้องซ่อนตัวอยู่ในห้องเรียน นอกจากนี้ รอยเตอร์ยังรายงานด้วยว่ามหาวิทยาลัยได้ส่งอีเมลแจ้งเตือนพนักงานว่ากำลังเกิดเหตุกราดยิง<br /><br />&quot;อย่าไปไหน ถ้าคุณกำลังอยู่ในสำนักงาน ให้ล็อกประตู เข็นเฟอร์นิเจอร์มากั้นที่ประตู และปิดไฟ&quot;<br /><br /> ศ.เซอร์เกย์ เมดเวเดฟ อาจารย์มหาวิทยาลัยชาร์ลส เปิดเผยกับบีบีซีว่า ขณะเริ่มมีการยิงเขากำลังสอนอยู่ในหอประชุมของมหาวิทยาลัย ตอนแรกไม่ได้ยินเสียงแน่ชัดว่าเป็นเสียงอะไร แต่นักศึกษาในห้องก็ได้ยินเช่นกัน หลังจากนั้นพวกเขาก็เข้าใจสถานการณ์ชัดเจนขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้น ระหว่างที่ยังอยู่ในห้อง ยังไม่มีข่าวจากสื่อไหนทั้งสำนักข่าวหรือออนไลน์ หลังจากนั้นไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่บุกเข้ามา พวกเขาเข้ามาค้นห้องและออกไป โดยบอกให้ทุกคนอยู่ในห้อง<br /><br />&quot;หนึ่งชั่วโมงผ่านไป มีตำรวจคนหนึ่งบุกเข้ามาอีก และบอกให้พวกเราหมอบลงกับพื้น ก่อนค้นตัวเราเล็กน้อย หลังจากนั้นก็อพยพพวกเราออกจากอาคาร&quot;<br /><br />ผู้บัญชาการตำรวจของเช็กและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงว่า มือปืนเป็นนักศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ และเจ้าหน้าที่พบศพของพ่อนักศึกษารายนี้เสียชีวิตอยู่ในบ้านซึ่งอยู่นอกกรุงปรากราว 21 กิโลเมตร ก่อนเกิดเหตุกราดยิงในมหาวิทยาลัย<br /><br />ทางการเช็ก ระบุว่า ยังไม่ทราบแรงจูงใจที่แน่ชัดในการก่อเหตุครั้งนี้ และในการเข้าระงับเหตุ เบื้องต้นไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บจากเหตุกราดยิง ตำรวจยังสอบสวนเหตุเชื่อมโยงไปยังการเสียชีวิตของคนอีก 2 ราย ที่ถูกพบร่างในเขตป่าใกล้กับกรุงปราก ว่านักศึกษารายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่<br /><br />มหาวิทยาลัยชาร์ลส ก่อตั้งเมื่อปี 1347 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก และเป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป
เกิดเหตุกราดยิงภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงปราก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และบาดเจ็บอีก 25 ราย นับเป็นเหตุรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศ โดยผู้ก่อเหตุเป็นนักศึกษาวัย 24 ปี

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยชาร์ลส ในย่านเมืองเก่าของกรุงปราก นักศึกษาผู้ก่อเหตุ เริ่มลงมือที่บริเวณอาคารเรียนคณะศิลปศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัย เมื่อเวลา 15.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น

หลังเหตุสงบ ตำรวจเช็กระบุว่า ผู้ก่อเหตุเสียชีวิตแล้ว

วิดีโอที่ถูกส่งต่อบนโซเชียลมีเดีย เผยให้เห็นภาพของผู้คนหนีออกมาทางช่องหน้าต่างและเกาะขอบหน้าต่างด้านนอกอาคารซึ่งมีความสูงหลายชั้นก่อนกระโดดลงที่ชั้นลอยเพื่อหนีเอาตัวรอด ขณะที่มีเสียงปืนดังไล่หลังมา อีกวิดีโอหนึ่งเป็นภาพของกลุ่มคนที่กำลังตื่นตระหนกวิ่งหนีอยู่ในบริเวณย่านนักท่องเที่ยว

นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเล่าเหตุการณ์ว่าพวกเขาต้องซ่อนตัวอยู่ในห้องเรียน นอกจากนี้ รอยเตอร์ยังรายงานด้วยว่ามหาวิทยาลัยได้ส่งอีเมลแจ้งเตือนพนักงานว่ากำลังเกิดเหตุกราดยิง

"อย่าไปไหน ถ้าคุณกำลังอยู่ในสำนักงาน ให้ล็อกประตู เข็นเฟอร์นิเจอร์มากั้นที่ประตู และปิดไฟ"

ศ.เซอร์เกย์ เมดเวเดฟ อาจารย์มหาวิทยาลัยชาร์ลส เปิดเผยกับบีบีซีว่า ขณะเริ่มมีการยิงเขากำลังสอนอยู่ในหอประชุมของมหาวิทยาลัย ตอนแรกไม่ได้ยินเสียงแน่ชัดว่าเป็นเสียงอะไร แต่นักศึกษาในห้องก็ได้ยินเช่นกัน หลังจากนั้นพวกเขาก็เข้าใจสถานการณ์ชัดเจนขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้น ระหว่างที่ยังอยู่ในห้อง ยังไม่มีข่าวจากสื่อไหนทั้งสำนักข่าวหรือออนไลน์ หลังจากนั้นไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่บุกเข้ามา พวกเขาเข้ามาค้นห้องและออกไป โดยบอกให้ทุกคนอยู่ในห้อง

"หนึ่งชั่วโมงผ่านไป มีตำรวจคนหนึ่งบุกเข้ามาอีก และบอกให้พวกเราหมอบลงกับพื้น ก่อนค้นตัวเราเล็กน้อย หลังจากนั้นก็อพยพพวกเราออกจากอาคาร"

ผู้บัญชาการตำรวจของเช็กและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงว่า มือปืนเป็นนักศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ และเจ้าหน้าที่พบศพของพ่อนักศึกษารายนี้เสียชีวิตอยู่ในบ้านซึ่งอยู่นอกกรุงปรากราว 21 กิโลเมตร ก่อนเกิดเหตุกราดยิงในมหาวิทยาลัย

ทางการเช็ก ระบุว่า ยังไม่ทราบแรงจูงใจที่แน่ชัดในการก่อเหตุครั้งนี้ และในการเข้าระงับเหตุ เบื้องต้นไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บจากเหตุกราดยิง ตำรวจยังสอบสวนเหตุเชื่อมโยงไปยังการเสียชีวิตของคนอีก 2 ราย ที่ถูกพบร่างในเขตป่าใกล้กับกรุงปราก ว่านักศึกษารายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

มหาวิทยาลัยชาร์ลส ก่อตั้งเมื่อปี 1347 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐเช็ก และเป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป
113c0ac0-a066-11ee-91bf-230bfab3fcba.jpg (63.66 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
ออกจากวัดแสนหลวงปั่นขึ้นเหนือตามถนนวัฒนธรรมต้นยาง ท่านจะพบเห็นอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ มีให้ชมอยู่หลายหลังสำหรับผมแล้ว ไม่เคยเบื่อที่จะนั่งชมความเก่าแก่ที่ลงตัว สวยงามเข้ากับบรรยากาศต้นยางมาก ๆ ครับ เสียดายอีกไม่นานอาคารบ้านเก่าเหล่านี้คงต้องถึงเวลาที่เจ้าของต้องลื้อ ขาย หรือเปลี่ยนเเปลงไปแน่นอน ใครผ่านไปผ่านมาอย่าลืมเก็บภาพไว้ อนาคตหาดูยากแน่นอนครับ
ออกจากวัดแสนหลวงปั่นขึ้นเหนือตามถนนวัฒนธรรมต้นยาง ท่านจะพบเห็นอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ มีให้ชมอยู่หลายหลังสำหรับผมแล้ว ไม่เคยเบื่อที่จะนั่งชมความเก่าแก่ที่ลงตัว สวยงามเข้ากับบรรยากาศต้นยางมาก ๆ ครับ เสียดายอีกไม่นานอาคารบ้านเก่าเหล่านี้คงต้องถึงเวลาที่เจ้าของต้องลื้อ ขาย หรือเปลี่ยนเเปลงไปแน่นอน ใครผ่านไปผ่านมาอย่าลืมเก็บภาพไว้ อนาคตหาดูยากแน่นอนครับ
สารภี ๒๑๔.๑.jpg
สารภี ๒๑๔.๑.jpg (114.49 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๑๔.๒.jpg
สารภี ๒๑๔.๒.jpg (107.76 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๑๔.๓.jpg
สารภี ๒๑๔.๓.jpg (123.76 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
ที่ทำการไปรษณีย์ เลขที่ 44 หมู่ 3 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน [106] ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภีเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50140
ที่ทำการไปรษณีย์ เลขที่ 44 หมู่ 3 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน [106] ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภีเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50140
สารภี ๒๑๕.jpg (128.73 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สถานีตำรวจภูธร อ.สารภี เลขที่ 46 หมู่ 3 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน [106] ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภีเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50140 โทรศัพท์ 053321090 <br /> FAX  053322997   E-mail : sarapeepolice@gmail.com<br /><br />CALL CENTER : 191<br />WWW : chiangmaipolice.go.th<br />WWW สภ.สารภี  sarapee.chiangmai.police.go.th<br />TEL 053321090 <br />FAX : 053322997<br />EMAIL  sarapeepolice@gmail.com  <br />LINE สภ.สารภี : sarapeepatrol191   <br />LINE : @191cm<br />FACEBOOK : saraphipolice
สถานีตำรวจภูธร อ.สารภี เลขที่ 46 หมู่ 3 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน [106] ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภีเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50140 โทรศัพท์ 053321090
FAX 053322997 E-mail : sarapeepolice@gmail.com

CALL CENTER : 191
WWW : chiangmaipolice.go.th
WWW สภ.สารภี sarapee.chiangmai.police.go.th
TEL 053321090
FAX : 053322997
EMAIL sarapeepolice@gmail.com
LINE สภ.สารภี : sarapeepatrol191
LINE : @191cm
FACEBOOK : saraphipolice
สารภี ๒๑๖.jpg (105.2 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๑๗.jpg
สารภี ๒๑๗.jpg (110.62 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๑๘.๒.jpg
สารภี ๒๑๘.๒.jpg (107.66 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๑๘.๑.jpg
สารภี ๒๑๘.๑.jpg (87.82 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
คำขวัญอำเภอสารภี<br /><br />“ ต้นยางใหญ่ ลำไยหวาน เมืองโบราณเวียงกุมกาม พระนอนบวรงาม เชิดชูนามสารภี”<br /><br />อำเภอสารภีเดิมชื่อ &quot; อำเภอยางเนิ้ง&quot; ตั้งเป็นอำเภอเมื่อ ปี พ.ศ.2434 (ร.ศ.109) คำว่ายางเนิ้งมาจากคำว่า &quot; ต้นยาง &quot; กับ &quot; เนิ้ง &quot; เป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่าโน้มเอน ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ.2470 ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยประชาชนได้เสนอต่ออำมาตย์ตรี พันธุราษฎร นายอำเภอสมัยนั้นว่าควรเปลี่ยนชื่ออำเภอยางเนิ้ง เสียใหม่เนื่องจาก ไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนชื่อเป็น &quot; อำเภอสารภี&quot;  ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ คำว่า &quot; สารภี &quot; เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอมมาก เป็นต้นไม้ยืนต้นมีอายุยืนและมีมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี<br /><br />ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ	 ที่ว่าการอำเภอสารภี เลขที่ 53 หมู่ที่ 3 ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140<br /><br /> รหัสไปรษีย์	 50140<br /> หมายเลขโทรศัพท์	 053-321253<br /> หมายเลขโทรสาร	 053-321253<br /> เว็บไซต์อำเภอ  	 www.saraphi.go.th<br /> โรงพยาบาลสารภี  	 053420694-5,053322903,053322907,053322813<br /> สภ.อ.สารภี  	 053-321090
คำขวัญอำเภอสารภี

“ ต้นยางใหญ่ ลำไยหวาน เมืองโบราณเวียงกุมกาม พระนอนบวรงาม เชิดชูนามสารภี”

อำเภอสารภีเดิมชื่อ " อำเภอยางเนิ้ง" ตั้งเป็นอำเภอเมื่อ ปี พ.ศ.2434 (ร.ศ.109) คำว่ายางเนิ้งมาจากคำว่า " ต้นยาง " กับ " เนิ้ง " เป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่าโน้มเอน ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ.2470 ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยประชาชนได้เสนอต่ออำมาตย์ตรี พันธุราษฎร นายอำเภอสมัยนั้นว่าควรเปลี่ยนชื่ออำเภอยางเนิ้ง เสียใหม่เนื่องจาก ไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " อำเภอสารภี" ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ คำว่า " สารภี " เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอมมาก เป็นต้นไม้ยืนต้นมีอายุยืนและมีมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการอำเภอสารภี เลขที่ 53 หมู่ที่ 3 ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140

รหัสไปรษีย์ 50140
หมายเลขโทรศัพท์ 053-321253
หมายเลขโทรสาร 053-321253
เว็บไซต์อำเภอ www.saraphi.go.th
โรงพยาบาลสารภี 053420694-5,053322903,053322907,053322813
สภ.อ.สารภี 053-321090
สารภี ๒๑๘.๓.jpg (71.17 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
ตรงข้ามหน้าอำเภอ จะเป็นตลาดสดยามเช้าแต่ก็มีทั้งวัน(๕๕)แต่ช่วงเช้าคนจะเยอะและมีสินค้าประเภท ผักสด ผลไม้ และอาหารสด แห้ง สำเร็จรูป วางขายหลากหลายเรียกว่า &quot;จุใจ&quot; แต่ก่อนเป็นเพิงไม้ ปัจจุบันเจ้าของปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก ๆ เป็นตลาดเก่าแก่ที่อยู่คู่ อ.สารภีมานานนมสมัยที่ทำงานผมและแม่บ้านก็จะแวะมาจับจ่ายซื้อของกินต่าง ๆ ที่นี่เป็นประจำ
ตรงข้ามหน้าอำเภอ จะเป็นตลาดสดยามเช้าแต่ก็มีทั้งวัน(๕๕)แต่ช่วงเช้าคนจะเยอะและมีสินค้าประเภท ผักสด ผลไม้ และอาหารสด แห้ง สำเร็จรูป วางขายหลากหลายเรียกว่า "จุใจ" แต่ก่อนเป็นเพิงไม้ ปัจจุบันเจ้าของปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก ๆ เป็นตลาดเก่าแก่ที่อยู่คู่ อ.สารภีมานานนมสมัยที่ทำงานผมและแม่บ้านก็จะแวะมาจับจ่ายซื้อของกินต่าง ๆ ที่นี่เป็นประจำ
สารภี ๒๑๘.jpg (116.8 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๑๙.jpg
สารภี ๒๑๙.jpg (99.21 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
สารภี ๒๒๐.jpg
สารภี ๒๒๐.jpg (131.3 KiB) เข้าดูแล้ว 588 ครั้ง
เลยตลาดไปนิดเดียวตรงบริเวณสี่แยกไฟแดง จะเป็นสะพานขาว  เสียดายเทศบาลมารื้อของเก่าทิ้งปรับเปลี่ยนใหม่ ตามที่เห็นมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย(ผมคนหนึ่งละ) ทำไมไม่อนุลักษณ์ของเดิมที่มีตั้งแต่โบร่ำโบราณ จำได้เป็นภาพช้างครับ ต่างชาติเขาพากันสงวนของดั้งเดิมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ของไทยเอาความคิดตามใจ..?...นัยว่าสวยงามทันสมัย แต่คุณค่าทางใจมันไม่มี นานไปก็จะโหยหาของเก่า บ้า...??
เลยตลาดไปนิดเดียวตรงบริเวณสี่แยกไฟแดง จะเป็นสะพานขาว เสียดายเทศบาลมารื้อของเก่าทิ้งปรับเปลี่ยนใหม่ ตามที่เห็นมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย(ผมคนหนึ่งละ) ทำไมไม่อนุลักษณ์ของเดิมที่มีตั้งแต่โบร่ำโบราณ จำได้เป็นภาพช้างครับ ต่างชาติเขาพากันสงวนของดั้งเดิมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ของไทยเอาความคิดตามใจ..?...นัยว่าสวยงามทันสมัย แต่คุณค่าทางใจมันไม่มี นานไปก็จะโหยหาของเก่า บ้า...??
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:idea: :idea: ทำไมต้องปฏิบัติธรรมในเมื่อทุกวันนี้ฉันก็สบายดีอยู่แล้ว?

เมื่อครั้งหลวงพ่อชา สุภัทโท ยังมีชีวิตอยู่ มีพระเซนจากญี่ปุ่นมากราบนมัสการท่าน พอพบท่านก็ตั้งคำถามท่านเรื่องการปฏิบัติธรรมเลยว่า “ปฏิบัติไปทำไม ปฏิบัติเพื่ออะไร ทำไมจึงต้องปฏิบัติด้วย ปฏิบัติแล้วได้อะไร” หลวงพ่อชาไม่ได้ตอบตรงๆ แต่ถามกลับไปว่า “กินข้าวไปทำไม กินข้าวเพื่ออะไร ทำไมจึงต้องกินข้าว กินข้าวแล้วได้อะไร” ปรากฏว่าพระเซนรูปนั้นพอใจมากกับคำตอบ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่คำตอบ แต่เป็นการถามกลับ

สาเหตุที่พระญี่ปุ่นพอใจในคำตอบของหลวงพ่อชา ก็เพราะท่านชี้ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ต่างจากการกินข้าว เพียงแต่ว่าการกินข้าวเป็นการบำรุงร่างกาย ส่วนการปฏิบัติธรรมเป็นการบำรุงจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ไม่น้อยไปกว่าการกินข้าว

ใครๆ คงไม่คาดคิดว่าหลวงพ่อชาจะถามกลับว่า "กินข้าวไปทำไม ทำไมถึงกินข้าว" ทั้งนี้ก็เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่เราทำทุกวันจนลืมถามตัวเองว่ากินข้าวไปทำไม ที่จริงไม่ใช่เฉพาะกินข้าวอย่างเดียว มีกิจวัตรอีกมากมายที่เราทำในชีวิตประจำวันโดยไม่เคยถามเลยว่าทำไปทำไม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราไม่ค่อยได้ไตร่ตรองในเรื่องที่สำคัญเท่าไร แต่พอพูดถึงการปฏิบัติธรรม กลับตั้งคำถามมากมาย

จริงๆ แล้วการปฏิบัติธรรมนั้นสำคัญพอๆ กับการกินข้าว เพียงแต่คนเราไม่ได้ตระหนัก เพราะการปฏิบัติธรรมไม่ได้ส่งผล หรือเห็นอานิสงส์ทันทีเหมือนการกินข้าว แต่การปฏิบัติธรรมก็สำคัญพอๆ กับการกินข้าว เพราะถ้าขาดการปฏิบัติธรรมเมื่อไร ชีวิตก็เป็นทุกข์ไม่ต่างจากการไม่มีข้าวกิน หากเราไม่สนใจการปฏิบัติธรรม เวลามีอะไรมากระทบกับชีวิต จะทำให้เสียศูนย์ จิตใจจะเกิดทุกข์ และส่งผลร้ายกับเรา ทำให้เป็นบ้าได้

มีผู้คนมากมายพอไฟไหม้บ้าน ธุรกิจล้มละลาย หรือคู่รักตีจาก ก็เสียศูนย์จนคลุ้มคลั่ง ที่เป็นบ้าไปเลยก็มี บางคนถึงกับฆ่าตัวตาย นั่นเป็นเพราะ (ใจ) ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง คนเราทุกวันนี้ไม่ค่อยมีความทุกข์กายเท่าไร เพราะเราอยู่ในยุคที่มีความสุขสบายเกือบทุกอย่าง บางคนแทบจะไม่รู้จักความหิวโหย ชีวิตประจำวันแทบจะไม่มีเหงื่อออก เพราะไม่ต้องใช้เรี่ยวแรงทำมาหากิน ไม่เหมือนสมัยปู่ย่าตายาย ที่ต้องออกแรงทำงานทั้งวัน แต่ถึงแม้ไม่ค่อยมีความทุกข์กาย แต่คนสมัยนี้มีความทุกข์ใจเยอะมาก แล้วความทุกข์ใจก็บั่นทอนสุขภาพเรา ทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัว ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเราไม่ได้ฝึกฝนจิตใจ

หลายคนตั้งคำถาม ทำไมต้องปฏิบัติธรรมในเมื่อฉันก็สุขสบายดีอยู่แล้ว เขาพูดแบบนี้เพราะมักเห็นคนที่เข้าวัดปฏิบัติธรรมมักเป็นคนที่มีปัญหา เช่นป่วย เป็นมะเร็ง ครอบครัวล้มเหลว ธุรกิจล้มละลาย เป็นเพราะเข้าใจแบบนี้ จึงอยู่ในความประมาท หลายคนที่พูดว่า "ทำไมต้องปฏิบัติธรรมในเมื่อทุกวันนี้ฉันก็สบายดีอยู่แล้ว" อาตมาอยากจะถามกลับว่า "คนที่พูดเช่นนี้มีความสุขจริงหรือเปล่า?" อาตมาสังเกตดู หลายๆ คน เวลาทำงานก็เครียด กลับบ้านก็กังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะห่วงงาน ห่วงลูก ห่วงทรัพย์สมบัติ หลายคนถึงกับกินยานอนหลับ หรือกินยาลดความเครียด

ทีนี้สมมติว่าเขามีความสุขจริงๆ ธุรกิจรุ่งโรจน์ ครอบครัวอบอุ่น กินได้นอนหลับ คำถามก็คือ คนเหล่านี้ไม่ต้องปฏิบัติธรรมแล้วใช่ไหม? อาตมาไม่แน่ใจ เพราะคนที่มีความสุขในวันนี้ ไม่ได้หมายความว่า พรุ่งนี้จะมีความสุขด้วย วันนี้มีครอบครัวอบอุ่น ราบรื่น ไม่ได้แปลว่าพรุ่งนี้ชีวิตจะยังคงราบรื่น อบอุ่น วันนี้มีความสุข แต่แน่ใจได้อย่างไรว่าพรุ่งนี้จะไม่เป็นมะเร็ง หากพรุ่งนี้เขาพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งระยะที่ 3 เขาจะยังคงมีความสุขอยู่ไหม? วันนี้มีลมหายใจ ใช่ว่าพรุ่งนี้จะยังคงมีลมหายใจอยู่ มีภาษิตธิเบตกล่าวว่า “ระหว่างพรุ่งนี้กับชาติหน้า ไม่มีใครรู้หรอกว่า อะไรจะมาก่อน”

บางคนมีชีวิตราบรื่น ตั้งแต่เล็กจนโต ครอบครัวก็มีความสุข วันหนึ่งพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งลามไปถึงกระดูก ทั้งวันเอาแต่บ่นว่าอยากตาย อีกครอบครัวหนึ่ง สามีดูแลภรรยาและลูกดีมาก ครอบครัวก็อบอุ่น วันหนึ่งสามีเป็นมะเร็ง ไม่กี่เดือนต่อมาก็ตาย ภรรยารับไม่ได้ เสียศูนย์ไปเลย แม้จะกลับมาเป็นผู้เป็นคนได้ก็ต้องใช้เวลาเป็นปี แต่ทุกเช้าก็ยังทำอาหารให้สามีทาน โดยเอาอาหารมาวางบนโต๊ะที่มีแต่เก้าอี้ที่ว่างเปล่า ทุกวันก็จะโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของสามี เพื่อจะได้ฟังเสียงของสามี ทั้งนี้เป็นเพราะเธอยอมรับไม่ได้ว่าสามีได้ตายไปแล้ว จึงยังคงทำเสมือนว่าสามียังมีชีวิตอยู่ ลูกสาวมีความทุกข์มาก เพราะแม่เอาแต่คิดถึงพ่อ จนลืมลูกไปเลย

เป็นเพราะไม่มีอะไรแน่นอน ความสุขวันนี้อาจกลายเป็นความทุกข์วันหน้า ดังนั้นเราจึงควรหันมาปฏิบัติธรรม ให้มีสติสัมปชัญญะ และปัญญาเอาไว้รับมือกับความผันผวนปรวนแปรที่อาจเกิดขึ้นกับเรา หรือคนที่เรารักไม่วันใดก็วันหนึ่ง

อย่าประมาท หรือชะล่าใจว่าฉันมีความสุขแล้ว จะปฏิบัติธรรมไปทำไม มันไม่มีหลักประกันเลยว่า พรุ่งนี้เราจะยังมีความสุข เราจะยังมีชีวิตอยู่ เคยคิดเคยเผื่อใจไว้บ้างไหม ว่าสักวันหนึ่ง เราอาจเป็นมะเร็ง สามี ภรรยา ลูก อาจมีอันเป็นไป ทรัพย์สินเงินทองอาจสูญเสีย ถูกทำลาย มันไม่แน่ใช่ไหม เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ที่ภูเก็ต พังงา เช้าวันนั้น แดดใส ฟ้าสวย ไม่มีใครคิดเลยว่าอีกไม่กี่นาทีนรกจะแตก เพราะสึนามิซัดกระหน่ำ

ถ้าเราตระหนักว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน เราจำต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิต สำหรับคนที่มีความทุกข์อยู่แล้วตอนนี้ ก็ยิ่งต้องรีบปฏิบัติธรรม เวลาเราทุกข์ เรามักโทษคนอื่น แต่เราเคยหันมามองตัวเองไหมว่า ที่ทุกข์นี่อาจเป็นเพราะใจของเราเปิดรับเอาความทุกข์เข้ามา

ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
วันนี้ถือเป็นวันที่คนทั่วโลกต่างพากันฉลองควบคู่ไปกับวันขึ้นปีใหม่ส่งท้ายปีเก่านั่นคือ &quot;วันคริสต์มาส&quot; ผมซึ่งเคยเข้าศึกษาในโบถส์คริสต์มา ๙ ปีถือว่ามีความผูกพันกับวันนี้พอสมควร ไม่เสียหายที่จะนำเกร็ดความรู้เรื่องวันคริสต์มาสมานำเสนอ<br /><br />คริสต์มาส  จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br /><br />คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas; อังกฤษเก่า: Crīstesmæsse, หมายถึง &quot;พิธีมิสซาของพระคริสต์&quot;) หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ (อังกฤษ: Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ (Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวันคริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด<br /><br />วันที่พระเยซูประสูติจริง ๆ นั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่คะเนไว้ว่าราว 2 ปีก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 7 ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ตะวันตกกำหนดวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งต่อมาศาสนาคริสต์ตะวันออกได้รับวันดังกล่าวไปด้วย มีทฤษฎีอธิบายว่า เหตุผลที่เลือกวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมฉลองคริสตสมภพนั้นเพราะเป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังคริสต์ศาสนิกชนสมัยแรกเฉลิมฉลองวันแม่พระรับสาร หรือตรงกับวันเหมายันของโรมัน หรือเทศกาลฤดูหนาวเพเกินโบราณเพื่อยุติการเฉลิมฉลองเหล่านี้และแทนที่ด้วยการฉลองของคริสต์ศาสนิกชน<br /><br />วันการเฉลิมฉลองในศาสนาคริสต์ตะวันออกแต่เดิม คือ วันที่ 6 มกราคม โดยเชื่อมโยงกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ในปัจจุบัน วันดังกล่าวยังเป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคริสตจักรอาร์มีเนียอะโพสโตลิกและในประเทศอาร์มีเนียซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จนถึง ค.ศ. 2011 ระหว่างปฏิทินเกรโกเรียนสมัยใหม่และปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า มีวันคลาดเคลื่อนกันอยู่ 13 วัน ผู้ที่ยังใช้ปฏิทินจูเลียนหรือเทียบเท่าต่อไปจึงเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมและ 6 มกราคมที่ประชากรโลกส่วนใหญ่เฉลิมฉลอง ในวันที่ 7 มกราคมและ 19 มกราคมแทน ด้วยเหตุนี้ เอธิโอเปีย รัสเซีย ยูเครน มาเซโดเนียและมอลโดวาจึงเฉลิมฉลองคริสต์มาส ทั้งที่เป็นวันสมโภชของคริสต์ศาสนิกชนและที่เป็นวันหยุดราชการ ตามในปฏิทินเกรโกเรียนคือ วันที่ 7 มกราคม<br /><br />ประเพณีการเฉลิมฉลองอันเป็นที่นิยมที่เหมือนกันในหลายประเทศมีการผสมผสานแนวคิดและกำเนิดก่อนศาสนาคริสต์ สมัยศาสนาคริสต์ และฆราวาส ประเพณีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในวันดังกล่าวมีการให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาสและเพลงเทศกาล การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์ มื้อพิเศษ และการจัดแสดงการประดับตกแต่งหลายอย่าง รวมทั้งต้นคริสต์มาส แสงไฟ ฉากการประสูติของพระเยซู มาลัย พวงหรีด มิสเซิลโทและฮอลลี นอกเหนือจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและแทนกันได้บ่อยครั้งหลายคน เช่น ซานตาคลอส ฟาเธอร์คริสต์มาส นักบุญนิโคลัส และคริสต์คินด์ เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็กในเทศกาลคริสต์มาส และต่างมีประเพณีและตำนานเป็นของตนเอง เพราะการให้ของขวัญและอีกหลายส่วนของเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่มิใช่ วันคริสต์มาสจึงเป็นเหตุสำคัญและช่วงลดราคาหลักสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคทั่วโลก
วันนี้ถือเป็นวันที่คนทั่วโลกต่างพากันฉลองควบคู่ไปกับวันขึ้นปีใหม่ส่งท้ายปีเก่านั่นคือ "วันคริสต์มาส" ผมซึ่งเคยเข้าศึกษาในโบถส์คริสต์มา ๙ ปีถือว่ามีความผูกพันกับวันนี้พอสมควร ไม่เสียหายที่จะนำเกร็ดความรู้เรื่องวันคริสต์มาสมานำเสนอ

คริสต์มาส จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas; อังกฤษเก่า: Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ (อังกฤษ: Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจัดการเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ (Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวันคริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด

วันที่พระเยซูประสูติจริง ๆ นั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่คะเนไว้ว่าราว 2 ปีก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 7 ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ตะวันตกกำหนดวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งต่อมาศาสนาคริสต์ตะวันออกได้รับวันดังกล่าวไปด้วย มีทฤษฎีอธิบายว่า เหตุผลที่เลือกวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเฉลิมฉลองคริสตสมภพนั้นเพราะเป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังคริสต์ศาสนิกชนสมัยแรกเฉลิมฉลองวันแม่พระรับสาร หรือตรงกับวันเหมายันของโรมัน หรือเทศกาลฤดูหนาวเพเกินโบราณเพื่อยุติการเฉลิมฉลองเหล่านี้และแทนที่ด้วยการฉลองของคริสต์ศาสนิกชน

วันการเฉลิมฉลองในศาสนาคริสต์ตะวันออกแต่เดิม คือ วันที่ 6 มกราคม โดยเชื่อมโยงกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ในปัจจุบัน วันดังกล่าวยังเป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคริสตจักรอาร์มีเนียอะโพสโตลิกและในประเทศอาร์มีเนียซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จนถึง ค.ศ. 2011 ระหว่างปฏิทินเกรโกเรียนสมัยใหม่และปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า มีวันคลาดเคลื่อนกันอยู่ 13 วัน ผู้ที่ยังใช้ปฏิทินจูเลียนหรือเทียบเท่าต่อไปจึงเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมและ 6 มกราคมที่ประชากรโลกส่วนใหญ่เฉลิมฉลอง ในวันที่ 7 มกราคมและ 19 มกราคมแทน ด้วยเหตุนี้ เอธิโอเปีย รัสเซีย ยูเครน มาเซโดเนียและมอลโดวาจึงเฉลิมฉลองคริสต์มาส ทั้งที่เป็นวันสมโภชของคริสต์ศาสนิกชนและที่เป็นวันหยุดราชการ ตามในปฏิทินเกรโกเรียนคือ วันที่ 7 มกราคม

ประเพณีการเฉลิมฉลองอันเป็นที่นิยมที่เหมือนกันในหลายประเทศมีการผสมผสานแนวคิดและกำเนิดก่อนศาสนาคริสต์ สมัยศาสนาคริสต์ และฆราวาส ประเพณีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในวันดังกล่าวมีการให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาสและเพลงเทศกาล การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์ มื้อพิเศษ และการจัดแสดงการประดับตกแต่งหลายอย่าง รวมทั้งต้นคริสต์มาส แสงไฟ ฉากการประสูติของพระเยซู มาลัย พวงหรีด มิสเซิลโทและฮอลลี นอกเหนือจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและแทนกันได้บ่อยครั้งหลายคน เช่น ซานตาคลอส ฟาเธอร์คริสต์มาส นักบุญนิโคลัส และคริสต์คินด์ เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็กในเทศกาลคริสต์มาส และต่างมีประเพณีและตำนานเป็นของตนเอง เพราะการให้ของขวัญและอีกหลายส่วนของเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่มิใช่ วันคริสต์มาสจึงเป็นเหตุสำคัญและช่วงลดราคาหลักสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคทั่วโลก
576853.jpg (95.1 KiB) เข้าดูแล้ว 498 ครั้ง
สารภี ๒๒๒.๑.jpg
สารภี ๒๒๒.๑.jpg (129.67 KiB) เข้าดูแล้ว 498 ครั้ง
สารภี ๒๒๒.jpg
สารภี ๒๒๒.jpg (181.98 KiB) เข้าดูแล้ว 498 ครั้ง
จากสะพานขาวขึ้นเหนือไปอีก ๑๐๐ ม.ก็จะเป็นกาดแลง (ตลาดเย็น) ของต.ยางเนิ้ง ที่ตลาดนี้คนสารภีนิยมโดยเฉพาะบรรดาข้าราชการครับ จะแวะมาจับจ่ายใช้สอยช่วงเลิกงานกันแทบจะทุกคน ต่อจากกาดแลงก็จะมีธนาคารกรุงเทพ มีสถานีอนามัย ถัดจากนั้นไปก็จะถึง รร.ที่คุณนายสอนก่อนที่จะเออรี่รีไทน์<br /><br />โรงเรียนวัดเวฬุวัน(สารภีชนานุกูล) ปัจจุบันตั้งอยู่ในหมู่บ้านเวฬุวัน หมู่ที่ 2 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสารภี สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ<br />     <br />  เดิมสังกัดกองการประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2509 ได้โอนมาสังกัดองค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ.2513 ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) (ปี พ.ศ. 2533 สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสารภี ได้ย้ายสำนักงานจากที่ว่าการอำเภอสารภี มาก่อสร้างในบริเวณโรงเรียนวัดเวฬุวัน)<br />     <br /> สถานที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดเวฬุวันแห่งแรกคือ ศาลาวัดแสนหลวง หมู่ที่ 3 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ชื่อครั้งแรกว่า “โรงเรียนประชาบาลที่นายอำเภอจัดตั้งวัดแสนหลวง” นับว่า เป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของอำเภอสารภี ประชาชนโดยทั่วไปมักเรียกว่า “โรงเรียนประจำอำเภอ”<br />       <br />โรงเรียนวัดเวฬุวัน เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2457 เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 15 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 57 คน มีครู 5 คน ครูใหญ่คนแรกคือนายอินตา วรรณพิศิษฐ์<br />      <br />โรงเรียนวัดเวฬุวันได้ย้ายจากวัดแสนหลวง มาตั้งอยู่ในหมู่บ้านเวฬุวัน หมู่ที่ 1 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี บริเวณดังกล่าวอยู่เหนือวัดเวฬุวันเพียงเล็กน้อย ขณะนี้บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ตั้ง สำนักงานเกษตรและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสารภี มีเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา<br />       <br />พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดี กระทรวงธรรมมาการ ได้เสด็จมาเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์อาคารเรียน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2472 เป็นอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น(ได้รื้อถอนไปนานแล้ว) พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า “สารภีชนานุกูล” ใช้อักษรย่อว่า “ส.ช.” ต่อมาสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดหมายเลขของโรงเรียนวัดเวฬุวันคือ 15 จึงใช้เป็นอักษรย่อว่า“ส.ช.15 ”<br />      <br /> โรงเรียนวัดเวฬุวันได้ย้ายอาคารเรียนจากหมู่ที่ 1 มาตั้งในหมู่ที่ 2 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คือสถานที่ปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 30 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา เอกสารเป็นที่ดิน 2 โฉนด หรือ 2 แปลง มีลำเหมืองคั่นระหว่างทั้งสองแปลงดังกล่าว<br />- แปลงที่ 1 มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา<br />- แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา<br /><br /><br />อาคารเรียนเก่าแก่ชื่อว่า อาคารเวฬุชาติ สร้างเมื่อ พ.ศ.2499 แบบ ป.1ก มี 4 ห้องเรียน ปีการศึกษา 2540 ได้เปลี่ยนโครงสร้างหลังคาทาสีใช้งบประมาณ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เป็นงบประมาณของ ทางราชการ 90,000 บาท (เก้าหมื่นบาทถ้วน) และต้นปีการศึกษา 2541 ได้ต่อเติมด้านหลัง ใช้งบประมาณ 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เป็นงบที่ผู้ปกครองร่วมกันบริจาค ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียน ชั้นอนุบาล 2 <br /><br />ต่อมาทางราชการได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และได้ขอใช้อาคารดังกล่าว และใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสารภี” แต่มีครูใหญ่คนเดียวกันคือ นายสวัสดิ์ สายเกิด โรงเรียนสารภี เปิดสอนชั้น ม.1 – ม.3 ซึ่งอยู่ในสังกัดกองการประถมศึกษาพิเศษ ส่วนโรงเรียนสารภีชนานุกุล เปิดสอนชั้น ป.1 – ป.4 ซึ่งสังกัดกองการประถมศึกษา เมื่อทางราชการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ระบบการศึกษา ได้เปลี่ยนเป็นชั้นประถม ขยายเป็นชั้น ป.5–ป.6– ป.7 และเนื่องจากบริเวณเดียวกันมีโรงเรียน 2 โรงเรียน มี 2 ชื่อ คือ “ โรงเรียนสารภีชนานุกูล” กับ “โรงเรียนสารภี” แต่มีครูใหญ่คนเดียวกัน คือ นายสวัสดิ์ สายเกิด จึงได้ขออนุญาตจากทางราชการให้มีชื่อโรงเรียนเพียงชื่อเดียว คือ โรงเรียนวัดเวฬุวัน (สารภีชนานุกูล)
จากสะพานขาวขึ้นเหนือไปอีก ๑๐๐ ม.ก็จะเป็นกาดแลง (ตลาดเย็น) ของต.ยางเนิ้ง ที่ตลาดนี้คนสารภีนิยมโดยเฉพาะบรรดาข้าราชการครับ จะแวะมาจับจ่ายใช้สอยช่วงเลิกงานกันแทบจะทุกคน ต่อจากกาดแลงก็จะมีธนาคารกรุงเทพ มีสถานีอนามัย ถัดจากนั้นไปก็จะถึง รร.ที่คุณนายสอนก่อนที่จะเออรี่รีไทน์

โรงเรียนวัดเวฬุวัน(สารภีชนานุกูล) ปัจจุบันตั้งอยู่ในหมู่บ้านเวฬุวัน หมู่ที่ 2 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสารภี สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

เดิมสังกัดกองการประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2509 ได้โอนมาสังกัดองค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ.2513 ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) (ปี พ.ศ. 2533 สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสารภี ได้ย้ายสำนักงานจากที่ว่าการอำเภอสารภี มาก่อสร้างในบริเวณโรงเรียนวัดเวฬุวัน)

สถานที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนวัดเวฬุวันแห่งแรกคือ ศาลาวัดแสนหลวง หมู่ที่ 3 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ชื่อครั้งแรกว่า “โรงเรียนประชาบาลที่นายอำเภอจัดตั้งวัดแสนหลวง” นับว่า เป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของอำเภอสารภี ประชาชนโดยทั่วไปมักเรียกว่า “โรงเรียนประจำอำเภอ”

โรงเรียนวัดเวฬุวัน เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2457 เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 15 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 57 คน มีครู 5 คน ครูใหญ่คนแรกคือนายอินตา วรรณพิศิษฐ์

โรงเรียนวัดเวฬุวันได้ย้ายจากวัดแสนหลวง มาตั้งอยู่ในหมู่บ้านเวฬุวัน หมู่ที่ 1 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี บริเวณดังกล่าวอยู่เหนือวัดเวฬุวันเพียงเล็กน้อย ขณะนี้บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ตั้ง สำนักงานเกษตรและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสารภี มีเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา

พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดี กระทรวงธรรมมาการ ได้เสด็จมาเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์อาคารเรียน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2472 เป็นอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น(ได้รื้อถอนไปนานแล้ว) พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า “สารภีชนานุกูล” ใช้อักษรย่อว่า “ส.ช.” ต่อมาสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดหมายเลขของโรงเรียนวัดเวฬุวันคือ 15 จึงใช้เป็นอักษรย่อว่า“ส.ช.15 ”

โรงเรียนวัดเวฬุวันได้ย้ายอาคารเรียนจากหมู่ที่ 1 มาตั้งในหมู่ที่ 2 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คือสถานที่ปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 30 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา เอกสารเป็นที่ดิน 2 โฉนด หรือ 2 แปลง มีลำเหมืองคั่นระหว่างทั้งสองแปลงดังกล่าว
- แปลงที่ 1 มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา
- แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา


อาคารเรียนเก่าแก่ชื่อว่า อาคารเวฬุชาติ สร้างเมื่อ พ.ศ.2499 แบบ ป.1ก มี 4 ห้องเรียน ปีการศึกษา 2540 ได้เปลี่ยนโครงสร้างหลังคาทาสีใช้งบประมาณ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เป็นงบประมาณของ ทางราชการ 90,000 บาท (เก้าหมื่นบาทถ้วน) และต้นปีการศึกษา 2541 ได้ต่อเติมด้านหลัง ใช้งบประมาณ 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เป็นงบที่ผู้ปกครองร่วมกันบริจาค ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียน ชั้นอนุบาล 2

ต่อมาทางราชการได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และได้ขอใช้อาคารดังกล่าว และใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสารภี” แต่มีครูใหญ่คนเดียวกันคือ นายสวัสดิ์ สายเกิด โรงเรียนสารภี เปิดสอนชั้น ม.1 – ม.3 ซึ่งอยู่ในสังกัดกองการประถมศึกษาพิเศษ ส่วนโรงเรียนสารภีชนานุกุล เปิดสอนชั้น ป.1 – ป.4 ซึ่งสังกัดกองการประถมศึกษา เมื่อทางราชการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ระบบการศึกษา ได้เปลี่ยนเป็นชั้นประถม ขยายเป็นชั้น ป.5–ป.6– ป.7 และเนื่องจากบริเวณเดียวกันมีโรงเรียน 2 โรงเรียน มี 2 ชื่อ คือ “ โรงเรียนสารภีชนานุกูล” กับ “โรงเรียนสารภี” แต่มีครูใหญ่คนเดียวกัน คือ นายสวัสดิ์ สายเกิด จึงได้ขออนุญาตจากทางราชการให้มีชื่อโรงเรียนเพียงชื่อเดียว คือ โรงเรียนวัดเวฬุวัน (สารภีชนานุกูล)
สารภี ๒๒๔.๑.jpg
สารภี ๒๒๔.๑.jpg (152.77 KiB) เข้าดูแล้ว 498 ครั้ง
535955_0.jpg
535955_0.jpg (121.2 KiB) เข้าดูแล้ว 498 ครั้ง
วันสำคัญอีกวันที่พวกเรายังไม่ทราบกันสักเท่าไหร่นั่นคือ วันก่อนวันคริสต์มาส ๑ วัน ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ ธันวาคมของทุกปี<br /><br />24 ธันวาคม วันคริสต์มาสอีฟ 2566 - Christmas Eve 2023<br />December 24, 2023<br /><br />คริสต์มาสอีฟ คือวันก่อนการฉลองคริสต์มาส ตรงกับวันที่ 24 ธันวาคม ของทุกปี ชื่อ Christmas Eve อาจทำให้เข้าใจผิดว่า Eve มาจาก Evening หมายถึงเฉพาะคืนก่อนวันคริสต์มาสเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วคริสต์มาสอีฟหมายถึงทั้งวันของวันที่ 24 ธันวาคม<br /><br />ประวัติของวันคริสต์มาสอีฟ<br /><br />ตามคำสอนของศาสนาคริสต์นั้น คริสต์มาสอีฟเป็นวันที่แมรีและโยเซฟเดินทางมาถึงเมืองเบธเลเฮม ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซู แต่พบว่าไม่มีที่อยู่ให้ทั้งคู่พัก ทำให้แมรีและโยเซฟต้องเข้าไปพักค้างคืนในคอกม้า ก่อนที่แมรีจะให้กำเนิดเยซูในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นวันคริสต์มาส<br /><br />ในศตวรรษที่ 16 มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) นักปฏิรูปคริสต์ศาสนาชาวเยอรมัน ได้สนับสนุนให้ผู้คนใช้คริสต์มาสเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลองร่วมกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ด้วยการมอบของขวัญให้กันและกัน อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการเฉลิมฉลองในวันคริสต์มาสอีฟได้รับความนิยมอย่างมากในศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษมอบของขวัญให้กันในวันคริสต์มาสอีฟ และประดับต้นคริสต์มาส ซึ่งทำให้ประเพณีเหล่านี้ได้รับการยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก<br /><br />แม้ว่าวันคริสต์มาส (Christmas) จะเป็นเทศกาลฉลองของชาวคริสต์ในวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู หรือ “พระเมสสิยาห์” ผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ และมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมตะวันตก แต่ในปัจจุบันคริสต์มาสได้กลายเป็นเทศกาลที่รู้จักและมีการฉลองกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในวันคริสต์มาสอีฟ เด็ก ๆ ทั่วโลกต่างก็รอคอยให้ซานตาคลอสมาเยือนในวันรุ่งขึ้นพร้อมของขวัญสำหรับเด็กดีทั้งหลาย<br /><br />กิจกรรมที่ชาวคริสต์นิยมทำในวันคริสต์มาสอีฟ เช่น<br /><br />-ไปโบสถ์เพื่อร่วมพิธีมิสซาเที่ยงคืน (Midnight Mass) ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญในวันคริสต์มาสอีฟ เพื่อฟังบทสวด สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาส (Christmas Carols) พิธีดังกล่าวจัดขึ้นในช่วงเที่ยงคืนเพื่อรำลึกถึงเวลาประสูติของพระเยซู<br /><br />-รวมกลุ่มร่วมกันร้องเพลงคริสต์มาส (Caroling) ตามบ้านต่าง ๆ<br /><br />-แขวนถุงเท้า Stocking เตรียมของขวัญและอาหารสำหรับฉลองวันคริสต์มาส<br /><br />-เด็ก ๆ หลายคนอาจนำเอาขนมและของว่างมาวางไว้ให้ซานต้าและรูดอล์ฟ รวมทั้งกวางเรนเดียร์ของซานต้า<br /><br />สมัยเด็ก ๆ ช่วงวันที่ ๒๔ ของทุกปีพวกเราเด็ก ๆ จะมีกีร์ต้า พอเข้าโบถส์ร้องเพลงฟังคำสอนจากท่านอนุศาสน์เรียบร้อย เที่ยงคืนเราก็จะพากันตระเวนไปตามบ้าน ร้องเพลง จิงเกอร์เบลล์หน้าบ้านแต่ละหลัง ก็จะได้ขนม นมเนย สนุกสนานกันมากครับ เป็นกิจกรรมที่พวกเราตื่นเต้นและชอบมาก ๆ (อดีตที่ยังไม่ลืม ๕๕๕)
วันสำคัญอีกวันที่พวกเรายังไม่ทราบกันสักเท่าไหร่นั่นคือ วันก่อนวันคริสต์มาส ๑ วัน ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ ธันวาคมของทุกปี

24 ธันวาคม วันคริสต์มาสอีฟ 2566 - Christmas Eve 2023
December 24, 2023

คริสต์มาสอีฟ คือวันก่อนการฉลองคริสต์มาส ตรงกับวันที่ 24 ธันวาคม ของทุกปี ชื่อ Christmas Eve อาจทำให้เข้าใจผิดว่า Eve มาจาก Evening หมายถึงเฉพาะคืนก่อนวันคริสต์มาสเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วคริสต์มาสอีฟหมายถึงทั้งวันของวันที่ 24 ธันวาคม

ประวัติของวันคริสต์มาสอีฟ

ตามคำสอนของศาสนาคริสต์นั้น คริสต์มาสอีฟเป็นวันที่แมรีและโยเซฟเดินทางมาถึงเมืองเบธเลเฮม ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซู แต่พบว่าไม่มีที่อยู่ให้ทั้งคู่พัก ทำให้แมรีและโยเซฟต้องเข้าไปพักค้างคืนในคอกม้า ก่อนที่แมรีจะให้กำเนิดเยซูในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นวันคริสต์มาส

ในศตวรรษที่ 16 มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) นักปฏิรูปคริสต์ศาสนาชาวเยอรมัน ได้สนับสนุนให้ผู้คนใช้คริสต์มาสเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลองร่วมกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ด้วยการมอบของขวัญให้กันและกัน อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการเฉลิมฉลองในวันคริสต์มาสอีฟได้รับความนิยมอย่างมากในศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษมอบของขวัญให้กันในวันคริสต์มาสอีฟ และประดับต้นคริสต์มาส ซึ่งทำให้ประเพณีเหล่านี้ได้รับการยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก

แม้ว่าวันคริสต์มาส (Christmas) จะเป็นเทศกาลฉลองของชาวคริสต์ในวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู หรือ “พระเมสสิยาห์” ผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ และมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมตะวันตก แต่ในปัจจุบันคริสต์มาสได้กลายเป็นเทศกาลที่รู้จักและมีการฉลองกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในวันคริสต์มาสอีฟ เด็ก ๆ ทั่วโลกต่างก็รอคอยให้ซานตาคลอสมาเยือนในวันรุ่งขึ้นพร้อมของขวัญสำหรับเด็กดีทั้งหลาย

กิจกรรมที่ชาวคริสต์นิยมทำในวันคริสต์มาสอีฟ เช่น

-ไปโบสถ์เพื่อร่วมพิธีมิสซาเที่ยงคืน (Midnight Mass) ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญในวันคริสต์มาสอีฟ เพื่อฟังบทสวด สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาส (Christmas Carols) พิธีดังกล่าวจัดขึ้นในช่วงเที่ยงคืนเพื่อรำลึกถึงเวลาประสูติของพระเยซู

-รวมกลุ่มร่วมกันร้องเพลงคริสต์มาส (Caroling) ตามบ้านต่าง ๆ

-แขวนถุงเท้า Stocking เตรียมของขวัญและอาหารสำหรับฉลองวันคริสต์มาส

-เด็ก ๆ หลายคนอาจนำเอาขนมและของว่างมาวางไว้ให้ซานต้าและรูดอล์ฟ รวมทั้งกวางเรนเดียร์ของซานต้า

สมัยเด็ก ๆ ช่วงวันที่ ๒๔ ของทุกปีพวกเราเด็ก ๆ จะมีกีร์ต้า พอเข้าโบถส์ร้องเพลงฟังคำสอนจากท่านอนุศาสน์เรียบร้อย เที่ยงคืนเราก็จะพากันตระเวนไปตามบ้าน ร้องเพลง จิงเกอร์เบลล์หน้าบ้านแต่ละหลัง ก็จะได้ขนม นมเนย สนุกสนานกันมากครับ เป็นกิจกรรมที่พวกเราตื่นเต้นและชอบมาก ๆ (อดีตที่ยังไม่ลืม ๕๕๕)
113c0ac0-a066-11ee-91bf-230bfab3fcba.jpg (30.78 KiB) เข้าดูแล้ว 498 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
รูปประจำตัวสมาชิก
Deang-sarapee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4367
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 13:48
Tel: 0814730594
team: รักรถรักธรรม
Bike: Trex,Bridgestone,Jagoa,Specailize
ตำแหน่ง: ๑๓ ม.๑๐ บ้านปากกอง ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๔๐

Re: ????...คุณลุงแดง- คุณป้าอ๋อย พา เที่ยว ...???

โพสต์ โดย Deang-sarapee »

:) :D สวัสดียามค่ำคืนของวันที่ ๒๘ ธ.ค.๖๖ ทราบไหมครับว่าวันนี้เป็นวันสำคัญอะไร หลายคนอาจลืมไปก็ได้นะครับ ปัจจุบันวันสำคัญ ๆ มีเป็นร้อยไม่ว่ากัน แต่วันนี้ถือเป็นวันสำคัญสุด ๆ ของประเทศก็ว่าได้เพราะเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" สำคัญอย่างไรขนาดไหนคิดก่อนนะครับ ถ้าคิดไม่ออกค่อยไปฟังเฉลยในท่อนต่อไปครับ ถ้าไม่มีวันนี้เราจะไม่มีประเทศไทยแน่นอนครับ

ประเทศไทยเราสังเกตุกันบ้างไหมครับ มันมีอะไรแปลกประหลาดที่คนธรรมดาแบบเรา ๆ ตามไม่ทันจริง ๆ ผมยอมเลยครับและทำให้นึกไปถึงคำสอนของ พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ ที่เคย ด่า ว่า เตือน อบรม สั่งสอน จ้ำจี้จ้ำไช ผมมานักต่อนักว่า "ให้เลิกยุ่งเรื่องทางโลก" ผมก็ทำได้ไม่เต็มร้อยสักที(กิเลสยังพองอยู่) แต่ยังดีที่ตามรู้ ตามเห็น ตามทัน ความทุกข์จึงไม่รุนแรงไปตามสิ่งกระทบมากมาย เรียกว่า "ทำใจได้ ปล่อยวางได้ อุเบกขาได้"

วันนี้ไม่นับวันกลับไม่คิด เราเหลือเวลาอีกเพียง ๓ วันก็จะเปลี่ยน พ.ศ.ใหม่กันแล้วคือจะเป็นปี พ.ศ.๒๕๖๗ สังเกตุไหมครับว่าปัจจุบันกับคำว่า ๒๕๖๖,๒๕๖๗ เราแทบจะไม่เห็นว่าท่านผู้มีความรู้ทั้งหลายนิยมใช้พูดจากัน พบเห็นใช้แต่ 2023 ปีหน้าก็จะ 2024 แบบนี้เป็นต้น ปฏิทินก็เช่นกันชัก ๆ จะลืมของไทยแล้ว นี่ละพี่ไทย ..มีคนเป็นเพื่อนที่เป็นอดีตผู้ว่ากฟผ...เขียนเรื่องราวดีจริง ๆ (ไม่ทราบชื่อผู้เขียน…แต่เขียนสะท้อนความจริงได้ดีมาก) แพร่หลายใน social ..เขียนได้ยืดยาวอ่านแล้วสะใจ เห็นว่าสมควรที่จะได้รับทราบโดยทั่วกันดังนี้ครับ :shock: :shock:

:lol: :lol: ต่อให้เป็น นายกเทวดา ก็แก้สันดานคนไทยไม่ได้

“ชีวิตจะดีหรือเลว อยู่ที่ตัว คุณเอง ไม่ใช่รัฐบาล” วันนี้ ผมอยากให้คุณเปิดใจเป็นกลาง มองโลกแห่งความเป็นจริง แล้วอ่านสิ่งที่ผมเขียน...

ประชาชน เรียกร้องหา การพัฒนาที่ดี เศรษฐกิจที่ดี ชีวิตที่ดี สวัสดิการที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี ขอให้ทุกคนรวยขึ้น มีความสุขมากขึ้น มีคนจนหมดไป แต่ตัวเองกลับทำตัวตรงข้าม คือ ไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้น

อยากให้ประเทศพัฒนา แต่ไม่เคยพัฒนาคุณภาพตัวเอง นายกคนไหน ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าคนในประเทศยังขี้เกียจ ขาดจิตสำนึก ขาดคุณธรรม ขาดสติ ไร้ปัญญา ไร้การศึกษา หรือมีการศึกษาสูง แตทจิตสำนึกต่ำ คุณธรรมต่ำ คิดแต่จะด่าว่า โทษแต่คนอื่น ไม่เคยโทษตัวเอง หรือนอนรอแต่ความหวัง ลมๆแล้งๆ หวังคนอื่นมาช่วย แต่ไม่เคยช่วยตัวเองอย่างจริงจัง

ประเทศนี้ มีปัญหามาตั้งแต่ รากเหง้าของประเทศ เป็นศูนย์รวม ของคนจำนวนไม่น้อย ที่จอม 'ขี้เกียจ' 'มักง่าย' และ 'รอคอยความหวัง' เห็นแก่ตัว เก่งแต่พูดเก่งแต่โพสต์ พอลงมือทำจริงๆ ก็ทำไม่ได้ อย่างที่คุยโม้โอ้อวด จริงไหม?

ต่อให้นายกรัฐมนตรี เก่งกาจแค่ไหน แก้ปัญหาชาติได้ดีเพียงไร หรือ มีทีมงานไม่โกงกิน แต่บางที ปัญหามาจากรากเหง้าของประเทศ ที่จริงๆแล้ว แก้เท่าไหร่ ก็ไม่สำเร็จหรอก เพราะอาจจะต้องแก้ที่ "คนในชาติก่อน"

“จิตสำนึกที่ดี นั้น มีกันบ้างมั้ย”

- ด้านสถาบันครอบครัว
เพราะความเคยชินของคนไทย ปลูกฝังสั่งสอน ความมักง่าย ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม เลี้ยงเด็กตามมีตามเกิด บางคน แม้รวย ก็เลี้ยงดูลูกแบบตามใจ จนมากเกินไป เหมือนนิทานเรื่อง พ่อแม่รังแกฉัน เลี้ยงผิดๆ ถูกๆ บางบ้าน พูดจาหยาบคาย มึงกูกับลูกตั้งแต่เด็กๆ ปัญหาไม่พร้อมที่จะมีลูกก่อนวัยอันควร สอนกันมาแบบผิดๆ สมองเด็ก ก็ฝังลึกกันแบบผิดๆ​ ที่น่ากลัวคือ พ่อแม่คนเหล่านั้น สอนลูกไม่เป็น ไม่รู้จักผิด/ชอบ/ชั่ว/ดี แม้บางคน พ่อแม่ เป็นถึง ศ.บ้าง รศ.บ้าง บางคนพ่วง ดร. อีกด้วย แต่มีลูกสาว ขนาดเป็นนิสิตจุฬาฯ ในปี 2563 กล้าที่จะแก้ผ้าให้ผู้ชายถ่ายรูปที่เสาชิงช้า อนาคตของชาติ จึงดูไร้คุณภาพ หรือที่เราเรียกว่า อนาคตของสังคมไทย มีแต่ “ขยะสังคม” รัฐบาล ไม่ได้มีหน้าที่ อยู่บ้านเดียวกับคุณ และคอยอบรมสั่งสอน จนลูกคุณโต หรือ จนมีหน้าที่การงาน

- ด้านความยากจน
หนักไม่เอา เบาไม่สู้ หมิ่นเงินน้อย คอยวาสนา บ้าเรื่องดวง ผัวทิ้งทำเสน่ห์คุณไสย งานไกลขี้เกียจไป อ้างว่าไม่มีรถขับ งานใกล้ เงินน้อยขี้เกียจทำ กู้เงินมาขายอาหาร ขายไม่เป็น ทำไม่สะอาด ทำไม่อร่อย ปากไม่ดี พอเจ๊ง ก็โทษรัฐบาล โทษเศรษฐกิจ โทษอากาศมันร้อน ฝนมันตก โทษคนไม่เดิน แต่ไม่เคยโทษตัวเอง เพราะไม่เคยมองเห็นตัวเอง ที่เป็นต้นเหตุปัญหาทั้งปวง

คนจน ที่ขยันก็มีเยอะ แต่ต้องฉลาด มีสมองพัฒนา ใฝ่สูงใฝ่ก้าวไปข้างหน้า เป็นคนจนไม่ผิด แต่จนแล้วโง่ แถมขี้เกียจ เเบบนี้ผิด บางคนที่จน ไม่มีเงินจะเรียน ก็เรียนจบได้ด็อคเตอร์ ก็มีไม่น้อย มิใช่ เอาแต่มานั่งบ่น สิ่งนั้นไม่ดี สิ่งนี้ไม่ดี แต่ไม่เคยโทษตัวเอง ใครจะมาช่วยได้ล่ะ แล้วทำไมคนจน ที่เค้ามีฐานะดีขึ้น ทำงานด้วยสมอง และ มีสองมือเหมือนกัน ก็มีเยอะมากมายที่เขาได้ดี มีความเจริญก้าวหน้า เพราะเค้าไม่มีข้ออ้างแบบคุณนั่นเอง

- ด้านการศึกษา
ไม่รู้เค้าเลี้ยงลูกกันยังไง เด็กบางคนถึงไม่สนใจการเรียน ไม่ชอบมีการบ้าน ไม่ชอบการสอบเก็บคะแนน อ้างว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดความเครียด ไม่ต้องการใส่เครื่องแบบ ไม่ต้องการไว้ผมทรงนักเรียน ไม่เห็นคุณค่าการศึกษา เพราะมีพ่อแม่ไร้คุณภาพ เด็กหลายคนจึงไร้การศึกษาที่ดีและสูง แทนที่จะสอนลูกว่า เรามันจนนะลูก ต้องตั้งใจเรียน​ จะได้​ทุนเรียนปริญญา เอาจริงๆนะ ถ้าลูกรักเรียนต่อ ให้พ่อแม่จนแค่ไหน ก็หาเงินมาให้ลูกเรียนจนจบปริญญาได้

เด็กหลายคนเกเร ไม่สนใจการเรียน พ่อแม่ก็ตัดหางปล่อยวัด ไม่รู้จะทำอะไร ก็กลายเป็นเด็กเกเร เด็กแว๊นซ์ ลักขโมย ดื่มเหล้า ข่มขืน ติดยา ขายตัว สร้างความเดือดร้อน พ่อแม่มันยังไร้คุณภาพ จะเอาปัญญาที่ไหนไปสอนลูก บางครอบครัว พ่อแม่ มีคุณภาพดี แต่ไม่เคยสอนเรื่องคุณธรรมและจริยะธรรมที่ดีให้แก่ลูก พอเกิดเรื่องก็บอก “ลูกฉันเป็นคนดี” กันทั้งนั้น ก็เพราะคิดแบบนี้ ลูกมันถึงเป็นแบบนี้ ผิด/ชอบ/ชั่ว/ดี คนเป็นพ่อแม่ ยังแยกแยะไม่ออก

- ด้านสิ่งแวดล้อม
ถามซิ เลิกเผาป่า เลิกเผาขยะกันหรือยัง​ ข่าวออกมาโครมๆ แต่จิตสำนึกไม่ มีเลย อ้างว่าต้องทำมาหากิน ก็ทำแบบนี้ทุกปี จริงๆแล้วการเผาป่ามันถูกต้องหรือไม่ มันก่อให้เกิดฝุ่นพิษ ควันพิษ เป็นการทำร้ายสุขภาพ หรือเราปล่อยให้ทำๆกันมาจนชิน ไม่รู้สึกอะไร พอรัฐหรือหน่วยงาน เข้ามาห้ามก็ด่า...นี่คือสันดานคนเหล่านั้น คือความเห็นแก่ตัว ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม​ เสียหายปีละเท่าไหร่​...กินตรงไหนทิ้งตรงนั้น คนที่อาศัยตามริมคลอง ก็ทิ้งลงคลองง่ายดี พอน้ำเน่าเหม็น ก็บ่น แล้วมาบอกว่า มันเป็นหน้าที่ของคนเก็บขยะ มีหน้าที่เก็บก็เก็บไป​ คุณจะให้บ้านเมืองมันเจริญได้ไง! ในเมื่อจิตใจคุณยังต่ำตมอยู่เลย

-โกง/คอรัปชั่น​
เจอกันเยอะมั้ย​ ไม่ว่าจะคนรวย คนจน คนในระดับไหน การศึกษาสูง ต่ำ ไม่แตกต่างกัน ​ เป็นเรื่องนิสัย​/สันดาน พอมีโอกาส​ ก็โกงกันทั้งนั้น จิตสำนึกความซื่อสัตย์ไม่มี คนรวยโกงคนจน นักการเมืองโกงชาติ จิตใจทำด้วยอะไร ความเห็นแก่ตัวไง เงินคือพระเจ้าสำหรับพวกมัน และค่านิยมคนไทย “มีเงินเรียกน้อง มีทองเรียกพี่” เป็นพวก ไอ้/อี ที่บ้าเงิน

- ด้านการจราจร
มีกี่คนที่ทำตามกฎจราจร 100% บ้าง ทางม้าลายรถต้องหยุดให้คนข้าม พวกคุณทราบกันหรือเปล่า ใช้ถนนผิดกฎหมาย แล้วคิดว่าตัวเองถูก ดูอย่างข่าวป้าทุบรถ และข่าวจอดรถขวางหน้าบ้าน ทางเข้าออกคนอื่น โดยไร้จิตสำนึกว่า คนในบ้านเขาขับรถเข้า/ออกไม่ได้ มีบ่อย มีหลายๆคดี เรียกตัวเองว่า ชาวพุทธ แต่ไร้ ศีลธรรม การยับยั้งอารมณ์ ใครมีปืนมีมีด ก็ยิงก็ฟันเลย เถื่อนมาก แม้แต่ในโรงพยาบาล ก็ยังบุกไปทำร้ายร่างกายกัน และ พาลไปทำร้ายหมอและพยาบาลอีก แบบนี้ก็มีอยู่ในสังคมไทย แกล้งขับรถขวางทาง ไม่ให้รถ Ambulance ผ่าน ก็มีข่าวมาแล้ว ขับช้า เสือกขับแช่ยาว ในเลนขวาสุด ก็มีให้เห็นบ่อยๆในเวลาไปต่างจังหวัดอยากจอดข้างทางก็จอด เพื่อกินข้าว ที่ร้านอร่อยของตน บนถนนรถติด ขายของริมฟุตบาท ล้นออกมาบนพื้นที่ถนนรถวิ่ง รถยนต์/รถมอเตอร์ไซค์ก็จอดซื้อกันตรงนั้น ทำให้รถติดในซอย

ในเมื่อพฤติกรรมคนไทยจำนวนไม่น้อย มันเป็นแบบเนี้ย รัฐบาลจะไปช่วยอะไรได้ หวังแต่จะให้รัฐแก้ปัญหา และพัฒนาชาติ ตัวคุณเองยังแก้ปัญหาตัวเองไม่ได้ และพัฒนาสมอง คุณภาพตัวเองไม่ได้เลย ถามตัวเองก่อน ด่ารัฐบาล "ทำหน้าที่ตัวเอง" ในฐานะพลเมืองของชาติ ดีที่สุดรึยัง

พูดให้คิด มองความจริงให้ออก อย่าหลอก อย่าหลงตัวเองเจ็บแต่จริง​ หันมามองตัวเองกันหน่อย​ ค่อยๆแก้​ ต่อให้รัฐบาล​/ผู้นำคนไหนๆ​ แปลงร่างมาจากเทวดาชั้นฟ้า​ ปัญหา​เมืองไทย ก็ไม่มีวันหมด แก้รัฐธรรมนูญ ก็เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง เป็นสำคัญ ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง แก้แล้ว ก็เพื่อให้นักการเมืองกลุ่มใหม่ เข้ามาแสวงหาอำนาจ และ ผลประโยชน์ในกลุ่มพรรคพวกเพื่อนพ้องเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องนมนานมา แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น มาให้เห็นตลอดเวลา​ที่ผ่านมา นักการเมืองโกงแล้ว หนีคดีไปต่างประเทศ ส่วนลูกน้อง ที่เคยเป็นคนดี แต่ยอมทำตาม ด้วยเกรงบารมี ก็ต้องติดคุกหัวโตไป เรายังอยากให้คนกลุ่มนี้ มาหาวิธีโกงชาติ โกงแผ่นดินกันอีกหรือ

รักชาติ รักแผ่นดิน​ ให้จริงๆกันบ้างเถิด อย่าอ้างความรักชาติ จนน้ำลายไหล เพราะอดอยากปากแห้งมานาน หันกลับมามองตน แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเองและ คนใกล้ตัวกันหน่อย สงสารนักรบชุดขาว และ อสม. ที่เขาเสียสละ และเสี่ยงกับโรค​ COVID-19 ที่มากกว่าเรา อย่าได้เพิ่มปัญหาให้สังคมและประเทศของเราให้มากกว่า ที่มีอยู่ และเป็นอยู่เลย ในปัจจุบัน ทุกประเทศก็มีปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนทุกประเทศก็ย่ำแย่เดือดร้อนกันทั้งนั้น มิใช่คนไทยเท่านั้นที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ.


ขอบคุณผู้เขียน และ ขอบคุณทุกคนที่แชร์กันต่อไปและแชร์ให้มากครับ
:idea: :idea:
ไฟล์แนบ
171-1.png
28 ธันวาคม เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมไพร่พล 500 คน ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุง มาตามหัวเมืองภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ตั้งมั่นที่จันทบุรีเพื่อรวบรวมกำลังไปกอบกู้เอกราช หลังจากนั้นได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ <br /><br />วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เป็นวันปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่ 4” ซึ่งประชาชนเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” และได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าให้คืนมาแก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว<br /><br />สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า &quot;สิน” (ชื่อจีนเรียกว่า &quot;เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล บิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ &quot;นายไหฮอง” มารดาเป็นหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราช ที่ 3) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย<br /><br />ต่อมาเมื่ออายุครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้น พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช &quot;สมเด็จพระบรมราชาที่ 3” (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากครั้นพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น &quot;พระยาตาก ปกครองเมืองตาก”<br /><br />เมื่อปี พ.ศ. 2309 พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ และได้เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 เหตุการณ์ในกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นเกิดความระส่ำระสาย ทหารพม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ พระยาตากเห็นว่าคงสู้พม่าไม่ได้แล้ว จึงนำทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางหัวเมืองภาคตะวันออก จนเข้ายึดเมืองจันทบุรี โดยใช้ช้างพังคีรีกุญชรพังประตูเมือง เข้ายึดเมืองจันท์ได้สำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน และได้รวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองจันทบุรี พระยาตากสามารถรวบรวมผู้คนกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาจากพม่าได้ภายในเวลา 7 เดือน<br /><br />หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าทางกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมากและยากที่จะ ฟื้นฟูให้เจริญเหมือนเดิมได้ พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบรี แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ 4” ต่อจากนั้นพระองค์ได้ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบ ทรงใช้เวลารวบรวมอาณาเขตอยู่ 3 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2313 จึงได้อาณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวกันดังเดิม<br /><br />สมเด็จพระเจ้าตากสิน เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถกอบกู้ประเทศ ชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า“มหาราช”<br /><br />คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น &quot;วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช&quot; และถวายพระราชสมัญญานามว่า &quot;สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช&quot; เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย และได้สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนืออัศวราชพาหนะ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ประดิษฐานบนแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ บริเวณวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี<br /><br />ที่มา : กรมศิลปากร หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
28 ธันวาคม เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมไพร่พล 500 คน ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุง มาตามหัวเมืองภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ตั้งมั่นที่จันทบุรีเพื่อรวบรวมกำลังไปกอบกู้เอกราช หลังจากนั้นได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์

วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เป็นวันปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่ 4” ซึ่งประชาชนเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” และได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าให้คืนมาแก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า "สิน” (ชื่อจีนเรียกว่า "เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล บิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ "นายไหฮอง” มารดาเป็นหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราช ที่ 3) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย

ต่อมาเมื่ออายุครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้น พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช "สมเด็จพระบรมราชาที่ 3” (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากครั้นพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น "พระยาตาก ปกครองเมืองตาก”

เมื่อปี พ.ศ. 2309 พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ และได้เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 เหตุการณ์ในกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นเกิดความระส่ำระสาย ทหารพม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ พระยาตากเห็นว่าคงสู้พม่าไม่ได้แล้ว จึงนำทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางหัวเมืองภาคตะวันออก จนเข้ายึดเมืองจันทบุรี โดยใช้ช้างพังคีรีกุญชรพังประตูเมือง เข้ายึดเมืองจันท์ได้สำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน และได้รวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองจันทบุรี พระยาตากสามารถรวบรวมผู้คนกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาจากพม่าได้ภายในเวลา 7 เดือน

หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าทางกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมากและยากที่จะ ฟื้นฟูให้เจริญเหมือนเดิมได้ พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบรี แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ 4” ต่อจากนั้นพระองค์ได้ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบ ทรงใช้เวลารวบรวมอาณาเขตอยู่ 3 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2313 จึงได้อาณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวกันดังเดิม

สมเด็จพระเจ้าตากสิน เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถกอบกู้ประเทศ ชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า“มหาราช”

คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย และได้สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนืออัศวราชพาหนะ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ประดิษฐานบนแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ บริเวณวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี

ที่มา : กรมศิลปากร หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
S__43294797.jpg (62.35 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
สารภี ๒๒๔.๓.jpg
สารภี ๒๒๔.๓.jpg (128.22 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
วันนี้ช่วงเวลาแต่ ๑๐.๐๐ น.พวกเรายุพราชรุ่น ๐๘ ได้มีการประชุมคณะกรรมการ หลังเลิกการประชุมเราก็มีการ เลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีเพื่อน ๆ และแม่บ้านมาร่วมงานกันพอสมควร นี่ก็เข้า ๖๐ ปีแล้วที่เรารวมกลุ่มกันมาอย่างเหนียวแน่นตามสโลแกนของ รร.ที่อบรมสอนสั่งพวกเรามาว่า &quot;ชั่วดีอย่างไรเราต้องรักกัน&quot; และก็จะรักกันไปจนกว่าจะตายจากกันครับ ขอให้เพื่อน ๆ รักษาลมหายใจไว้พบกันทุกปี ๆ นะ ๕๕๕.
วันนี้ช่วงเวลาแต่ ๑๐.๐๐ น.พวกเรายุพราชรุ่น ๐๘ ได้มีการประชุมคณะกรรมการ หลังเลิกการประชุมเราก็มีการ เลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีเพื่อน ๆ และแม่บ้านมาร่วมงานกันพอสมควร นี่ก็เข้า ๖๐ ปีแล้วที่เรารวมกลุ่มกันมาอย่างเหนียวแน่นตามสโลแกนของ รร.ที่อบรมสอนสั่งพวกเรามาว่า "ชั่วดีอย่างไรเราต้องรักกัน" และก็จะรักกันไปจนกว่าจะตายจากกันครับ ขอให้เพื่อน ๆ รักษาลมหายใจไว้พบกันทุกปี ๆ นะ ๕๕๕.
หลังจากที่เราเก็บภาพคุณนายกับ รร.เก่าที่คุณเธอเคยสอนประจำ ปั่นต่อไปอีกไม่ถึง ๑๐๐ ม.ก็เป็นวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมาก(ในอดีต)เพราะมีต้นตาลขึ้นเรียงเต็มพื้นที่ ร่มรื่น แปลกตา (แต่ตอนนี้ห่างตาโดนโค่นโดนตัดประมาณนั้น)<br /><br />วัดนี้ถือเป็นวัดประจำ รร.ของคุณนาย ซึ่งครู ๆ ก็จะพานักเรียนมาเข้าวัดทำบุญ ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เช่นวันสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาเป็นต้น
หลังจากที่เราเก็บภาพคุณนายกับ รร.เก่าที่คุณเธอเคยสอนประจำ ปั่นต่อไปอีกไม่ถึง ๑๐๐ ม.ก็เป็นวัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมาก(ในอดีต)เพราะมีต้นตาลขึ้นเรียงเต็มพื้นที่ ร่มรื่น แปลกตา (แต่ตอนนี้ห่างตาโดนโค่นโดนตัดประมาณนั้น)

วัดนี้ถือเป็นวัดประจำ รร.ของคุณนาย ซึ่งครู ๆ ก็จะพานักเรียนมาเข้าวัดทำบุญ ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เช่นวันสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาเป็นต้น
สารภี ๒๒๕.jpg
สารภี ๒๒๖.jpg
สารภี ๒๒๖.jpg (91.79 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
สารภี ๒๒๗.jpg
สารภี ๒๒๗.jpg (98.8 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
สารภี ๒๒๘.jpg
สารภี ๒๒๘.jpg (152.73 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
สารภี ๒๒๙.๑.jpg
สารภี ๒๒๙.๒.jpg
สารภี ๒๒๙.๒.jpg (118.46 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
ค่ำนี้เอาแค่นี้ก่อน ติดตามตอนต่อไป มีเรื่องคาใจที่อยากจะเก็บมาเล่าอีกหลายเรื่อง เกิดในผืนแผ่นดินไทยถือว่าโชคดีมหาศาล แต่มันมาโชคร้ายตรงที่มาเกิดเป็นคนไทย ที่มันมีอะไรแปลก ๆ ดูยาก ฟังยาก ตามยาก เชื่อยาก และอีกหลาย ๆ ยาก ดีหน่อยที่คนไทยเราเป็นคนสบาย ๆ ลืมง่าย อดทน ตามใจ ใครจะทำอย่างไรเอาที่...สบายใจก็แล้วกัน(แล้วไม่ต้องมาดรามาผมนะ ๕๕๕)
ค่ำนี้เอาแค่นี้ก่อน ติดตามตอนต่อไป มีเรื่องคาใจที่อยากจะเก็บมาเล่าอีกหลายเรื่อง เกิดในผืนแผ่นดินไทยถือว่าโชคดีมหาศาล แต่มันมาโชคร้ายตรงที่มาเกิดเป็นคนไทย ที่มันมีอะไรแปลก ๆ ดูยาก ฟังยาก ตามยาก เชื่อยาก และอีกหลาย ๆ ยาก ดีหน่อยที่คนไทยเราเป็นคนสบาย ๆ ลืมง่าย อดทน ตามใจ ใครจะทำอย่างไรเอาที่...สบายใจก็แล้วกัน(แล้วไม่ต้องมาดรามาผมนะ ๕๕๕)
สารภี ๒๒๙.๓.jpg (116.54 KiB) เข้าดูแล้ว 656 ครั้ง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=72&t=890159
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=188&t=745024
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”