"..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

ห้องนี้เทียบได้กับ "ห้องนั่งเล่น" ในกระดานเดิมนะครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..ความรู้สึกที่ไม่อยากเอา-ไม่อยากเป็น นี่แหละ มีอำนาจเพียงพอที่จะคุ้มครองคนเราไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลส หรือของอารมณ์ทุกชนิด และทุกประการ; บุคคลชนิดนี้จึงไม่สามารถที่จะทำความชั่วอะไรได้ ไม่สามารถจะหลงใหลพัวพันอยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเอนเอียงไปตามสิ่งยั่วยวนใด ๆ ได้ ย่อมมีจิตใจเป็นอิสระอยู่เสมอ ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมที่สุดที่อาตมาเห็นว่าจำเป็นสำหรับบุคคลผู้จะดำรงตนเป็นตุลาการ. ถ้ามีวิถีทางใดทางหนึ่ง ที่จะทำให้จิตใจเป็นอิสระที่สุด ก็ควรจะเป็นวิถีทางนั้น ที่เหมาะที่สุดสำหรับการศึกษาฝึกฝนของบุคคลผู้จะเป็นตุลาการ ซึ่งอาตมาจะถือโอกาสบรรยายในคราวหน้า๑ สักคราวหนึ่ง ถึงลักษณะนั้นโดยเฉพาะ.


-------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. ดูคำบรรยายครั้งที่ ๖-๗/๒๔๙๙ ในเล่มนี้
.
สำหรับวันนี้นั้น จะบรรยายเฉพาะข้อที่ว่า ความรู้สึกที่รู้สึกว่า “ไม่น่าเอา – ไม่น่าเป็น” นั้น เป็นอย่างไร และเราจะมีวิธีปฏิบัติได้อย่างไร ความรู้สึกที่รู้สึกว่า “ไม่น่าเอา – ไม่น่าเป็น” นี้ เป็นสำนวนโวหารอยู่หน่อยหนึ่ง : คำว่า “เอา” และ “เป็น” ในที่นี้ หมายถึงการเอาหรือการเป็นด้วยจิตใจที่หลงใหล ด้วยจิตใจที่ยึดถือด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริง ๆ ; มิได้หมายความว่าคนเราจะอยู่ได้โดยไม่มีอาการที่เรียกว่าเอาอะไรเป็นอะไรเสียเลย. ตามปรกติ คนเราจะต้องเอาอะไรเป็นอะไรอยู่เป็นประจำ เช่นจะต้องมีทรัพย์สมบัติเงินทอง มีบุตรมีภรรยา เรือกสวนไร่นา เหล่านี้เป็นต้น หรือว่าเราจะต้องเป็น เช่นเป็นคน เป็นคนดี หรือเป็นตุลาการ หรือเป็นอย่างอื่น ๆ เช่นเป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ เป็นผู้เอาเปรียบ เป็นผู้ถูกเอาเปรียบเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีความเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอตามที่รู้กันอยู่. แต่แล้วทำไมหลักของพุทธศาสนาจึงมาสอนให้พิจารณาในทางที่จะไม่เอา ไม่เป็น. ข้อนี้หมายความว่า พุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นว่า การเอา การเป็นนั้น เป็นแต่เรื่องสมมติของโลกอ่างโลก ๆ อย่างหนึ่ง. และเป็นไปได้ด้วยอำนาจของความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง อีกอย่างหนึ่งเท่านั้น. เพราะว่าโดยที่แท้แล้ว คนเราเอาอะไรไม่ได้ เป็นอะไรไม่ได้ ในเมื่อพูดกันด้วยความจริงชั้นที่จริงเด็ดขาดที่สุด ซึ่งเรียกว่าจริงชั้นปรมัตถ์.


ไฟล์แนบ
images (68).jpg
images (68).jpg (13.65 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..โดยความจริงชั้นปรมัตถ์อันเด็ดขาดนั้น คนเราจะเอาอะไรไม่ได้เลย เป็นอะไรไม่ได้เลย. เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่า ทั้งคนที่จะเอาและสิ่งที่จะถูกเอานั้น มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น. ขอจงได้พิจารณากันตรงนี้ให้มาก คือว่าคนที่จะเอาหรือจะเป็นอะไรก็ตาม สิ่งที่จะถูกเอาหรือความมีความเป็น ที่จะถูกมี ถูกเป็น ก็ตาม มีนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. แต่แล้วบุคคลที่มีจิตใจยังประกอบอยู่ด้วยความไม่รู้ รู้ไม่ถึงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยังมีอวิชชาอยู่เช่นนั้น ย่อมจะมีความรู้สึกว่า “เราเอา” “เรามี” “เราเป็น” เป็นธรรมดา. นี่, เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้. แต่แล้วความรู้สึกว่าเอา-ว่าเป็นนั่นเอง ได้ทำให้เกิดมีความหนัก หรือความทุกข์ขึ้นมา. ความทุกข์ทั้งหลายต้องเกิดขึ้นมาจาก การเอา – การเป็น หรือความอยากเอาอยากเป็นทั้งนั้น. การเอา-การเป็น นั้น ก็เป็นความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัวเอง, คืออยากไม่ให้สิ่งที่ตนกำลังเอา กำลังเป็นอยู่นั้นสูญหาย หรือหลุดลอยไป นั่นเอง. ไม่มีความทุกข์อันใด ที่เกิดมาจากสิ่งอื่น นอกจาก ความอยากมี - อยากเป็น – อยากได้ อันรวมเรียกสั้น ๆ ว่าความอยาก ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่า ตัณหา. การที่อยาก ก็เพราะไม่รู้ว่าสิ่งนี้ หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรอยาก. เพราะเหตุที่มีความสำคัญผิดติดมาแต่ในท้อง โดยสัญชาตญาณ เราเกิดมาในโลกนี้ตั้งแต่เล็ก ๆ ก็รู้จักอยาก รู้จักทำตามความอยาก แล้วก็เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งจริงตามที่ตนอยากก็มี ไม่ตรงก็มี. ถ้าได้ผลตรงตามที่ตนอยาก ก็อยากได้มากขึ้นไปอีก, ครั้นยิ่งอยากได้อีก ก็ยิ่งทำมากขึ้นไปอีกเหมือนกัน. ถ้าไม่ได้ผลตามที่ตนอยาก ก็ดิ้นรนอยากทำอย่างอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปอีก จนกว่าจะได้ผลตามที่ตยอยาก; นั่นก็เป็นเหตุให้ลงมือทำต่อไปอีกเหมือนกัน. เมื่อลงมือทำลงไป มันก็ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งมาอีก วนเป็นวงกลมของกิเลส-กรรม-วิบาก อยู่อย่างนี้ อันท่านเรียกว่า วัฏฏะ หรือวัฏฏสงสาร. คำว่าวัฏฏสงสารนั้น อย่าเพ่อไปเข้าใจว่าเป็นเรื่องเวียนวน ชาติโน้น ชาตินี้ ชาตินั้น แต่อย่างเดียว, แท้จริงเป็นเรื่องการเวียนวนของ ของ ๓ สิ่ง คือของความอยาก ของการกระทำตามความอยาก และของการได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งมาจากการกระทำนั้นแล้ว ไม่สามารถจะหยุดความอยากต่อไปอีกได้ เลยต้องอยากอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปอีก เป็นวงกลมซึ่งประกอบด้วยส่วน ๓ ส่วน อยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด; ท่านเรียกว่าวัฏฏะ หรือวัฏฏสงสาร เพราะเป็นวงกลมที่วนเวียนไม่มีสิ้นสุด.


. คนเราต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในวงกลมนี้เอง. ถ้าออกไปจากวงกลมนี้ได้ ก็เป็นอันว่าพ้นไปจากความทุกข์โดยแน่นอน, แต่ถ้ายังตกอยู่ในวงกลมของความอยาก และของการกระทำตามความอยาก และของการได้ผลมาจากการกระทำ ซึ่งส่งให้เกิดความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปอีก ไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นยาจกเข็ญใจ หรือเศรษฐี หรือเป็นมหากษัตริย์ เป็นจักรพรรดิ เป็นเทวดา เป็นพรหม หรือเป็นอะไรก็ตามที. ทุกคนล้วนแต่ตกอยู่ในวงกลมนี้ทั้งนั้น จะต้องมีความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับความอยากและการกระทำตามความอยากของตนทั้งนั้น; ฉะนั้นจึงกล่าวว่าในวัฏฏสงสารนี้ เต็มไปด้วยความทรมาน : ทรมานด้วยความอยาก ทรมานด้วยการกระทำด้วยอำนาจความอยาก และทรมานด้วยการที่ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว ก็ยังหยุดอยากไม่ได้ ยังจะต้องอยากต่อไปอีก โดยไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็กระทำอีก และได้ผลมาก่อให้เกิดความอยากต่อไปอีก ไม่มีที่สิ้นสุด. นี้เรียกว่าเป็นการทรมานอันใหญ่หลวงในวัฏฏสงสาร ซึ่งท่านจะเห็นได้ว่าโดยลำพังของสิ่งที่เรียกกันว่า ศีลธรรม หรือ จริยธรรม นั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหาข้อนี้ได้เลย; เราจึงต้องพึ่งพาอาศัยตัวแท้ของศาสนา ที่เป็นหลักธรรมชั้นสูงสำหรับจะแก้ไขในเรื่องนี้โดยเฉพาะทีเดียว. ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้แล้วว่า ความทุกข์นั้น มาจากความอยาก สมดังที่พระพุทธเจ้าท่านจัดจำแนกไว้เป็น ๓ อย่าง ในเรื่องอริยสัจจ์ข้อที่สอง ในฐานะเป็นมูลเหตุให้เกิดทุกข์โดยตรง.
ไฟล์แนบ
images (67).jpg
images (67).jpg (9.37 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

.. ความอยาก ๓ อย่าง นั้น อย่างแรกเรียกว่า กามตัณหา อยากในสิ่งที่ตนรักใคร่พอใจ จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่พอใจ. ความอยากอย่างที่สอง เรียกว่า ภวตัณหา คือความอยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่ตนอยากจะเป็น. ความอยากอย่างที่สาม เรียกว่า วิภวตัณหา คือความอยากไม่ให้เป็นอย่างนั้น ไม่ให้เป็นอย่างนี้ ตามที่ตนอยากจะไม่ให้เป็น. รวมกันเป็น ๓ ความอยาก. สำหรับหลักเกณฑ์อันนี้ เรากล้าท้าให้ใครพิสูจน์หรือแย้งกันอย่างไรก็ได้ ว่ายังมีความอยากอะไรอีกบ้างนอกเหนือไปกว่านี้.


.ในที่สุดใคร ๆ ก็ต้องยอมรับว่า ในบรรดาความอยากทั้งหลาย ของสิ่งที่มีชีวิตและวิญญาณนั้น มันจะสรุปลงในความอยาก ๓ ประการนี้เท่านั้น, ความอยากอันนี้เอง เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์. เกือบจะไม่ต้องอธิบาย ท่านทั้งหลายก็จะมองเห็นได้ว่า เมื่อมีความอยากที่ไหน ก็มีความร้อนใจที่นั่น; และเมื่อต้องการกระทำตามความอยาก ย่อมมีความทุกข์ยากตามส่วนของการกระทำ; ได้ผลมาแล้ว ก้หยุดอยากไม่ได้ ยังอยากต่อไปอีก ก็ต้องมีความร้อนต่อไปอีก เพราะยังไม่เป็นอิสระจากความอยาก ยังต้องเป็นทาสของความอยากต่อไป; เพราะเหตุฉะนี้แหละ จึงได้กล่าวว่าคนชั่วทำชั่วเพราะอยากทำชั่ว มันก็มีความทุกข์ไปตามประสาคนชั่ว. แม้คนดีอยากทำความดี ก็ต้องมีทุกข์อีกแบบหนึ่งไปตามประสาของคนดี. แต่ข้อนี้อย่าเพ่อเข้าใจว่า เป็นการสั่งสอนให้เลิกละจากการทำความดี มีปัญหาหรือมีข้อซึ่งจะต้องทำความเข้ากันอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวทีหลัง. เฉพาะในที่นี้ ประสงค์จะชี้ให้เห็นกันว่า ความทุกข์นั้น มีอยู่หลายระดับหลายชั้น ละเอียดจนคนธรรมดาเข้าใจไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภทพระพุทธเจ้า; ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เราจะพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงด้วยกำลังเพียงการกระทำความดีอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่พอ ยังจะต้องทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง ที่ยิ่งหรือเหนือไปกว่าการกระทำความดีอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งได้แก่การทำจิตให้หลุดพ้นไปจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของความอยากทุกชนิดนั่นเอง. นี้, เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีทางแพ้ศาสนาใด ๆ , ซึ่งศาสนาใด ๆ จะไม่อาจเข้ามาเทียบคู่ หรือเคียงคู่ได้ในส่วนนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องจำไว้ให้แม่นยำ เพื่อทำความเข้าใจหรือศึกษากันต่อไป กว่าจะเข้าใจถึงที่สุดเพื่อเอาชนะความอยากทั้ง ๓ อย่างที่กล่าวแล้วได้; นั่นแหละ จะเป็นการพ้นจากความทุกข์หรืออยู่เหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง.
ไฟล์แนบ
images (65).jpg
images (65).jpg (11.97 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

...ทีนี้ ก็มาถึงปัญหาที่ว่า เราจะกำจัดความอยาก หรือจะระงับความอยากให้ได้ หรือจะตัดรากเหง้าของความอยากให้สิ้นเชิงได้นั้น เราจะกระทำอย่างใด. คำตอบก็คือหลักการพิจารณาให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนมองเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าอย่างนั่นเอง. มันมีอะไรบ้าง ที่น่าเอา-น่าเป็น ซึ่งเมื่อเอาหรือเป็นเข้าแล้ว จะไม่โยนความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่ให้บุคคลนั้น ? ขอให้ตั้งปัญหาขึ้นอย่างนี้. ที่ว่ามีการได้ หรือการมี-การเป็น ชนิดใดบ้าง ที่บุคคลใดไปได้ ไปมี ไปเป็นแล้ว จะไม่โยนความทุกข์ ความหม่นหมองชนิดใดชนิดหนึ่งมาให้บุคคลนั้น ข้อนี้หมายความว่า บุคคลนั้น ๆ ได้ไปมี หรือไปเป็นอะไรเข้า ด้วยอำนาจของความอยาก ซึ่งเป็นต้นเหตุของความทุกข์ดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง. คนธรรมดานั้นอย่างไรเสียก็จะต้องทำอะไรลงไป ด้วยอำนาจของความอยากทั้งนั้น : อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จึงทำเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นได้วัตถุสิ่งของก็ได้ ได้ตำแหน่งหน้าที่ก็ได้ ได้เกียรติยศชื่อเสียง ความดีความเด่นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้; สิ่งเหล่านั้นเมื่อได้มาแล้ว สิ่งใดบ้างที่จะไม่ทำให้เกิดความต้องทนทำเพื่อจะรักษา หรือเพื่อจะยังทำให้คงมีอยู่ก็ตาม หรือจะไม่ทำให้เกิดความหนักอกหนักใจ ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นวิบัติพลัดพรากสูญหายเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม, ในเมื่อสิ่งต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนแปลง คงที่อยู่ไม่ได้ ดังนี้.


.สำหรับคำว่า การได้ ในที่นี้ หมายถึงเรื่องทางวัตถุ เช่น ได้เงินได้ทอง ได้สิ่งของต่าง ๆ . สำหรับคำว่า ความมี ความเป็น นั้น หมายถึงการเป็น เช่นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นคนดีคนเลว เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา และอื่น ๆ อีกมากมาย. รวมทั้งสองประเภทเรียกว่า “การได้” กับ “การเป็น” สำหรับ การได้ กับการเป็น สองอย่างนี้ ได้อะไรหรือเป็นอะไรบ้าง ที่จะไม่นำมาซึ่งความหนักอกหนักใจ ขอให้เราลองคิดดู. เช่นการได้เงินได้ทองที่ปุถุชนคนธรรมดาได้มา เงินหรือทองนั้น นำเอาความเบากายสบายจิต เย็นอกเย็นใจมาให้ หรือว่าเอาความหนักอกหนักใจ วิตกกังวล ในการเก็บรักษาเป็นต้น มาให้ ? การได้บุตรได้ภรรยา เอาความเบากายเบาใจมาให้ หรือเอาภาระอย่างอื่นอีกหลายอย่างมาให้ ? การได้เป็นนั่น เป็นนี่ ในตำแหน่งหน้าที่อย่างนั้นอย่างนี้ก็ดี ถึงแม้ที่สุดแต่โดยเกียรติยศว่า เป็นนั่นเป็นนี่โดยเกียรติก็ดี เป็นการได้มาซึ่งความสงบเย็น หรือว่าได้มาซึ่งภาระหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้น ? โดยนัยนี้ อาจจะเห็นได้โดยง่ายแก่บุคคลทุกคนว่า ล้วนแต่นำมาซึ่ง“ภาระและหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง”ทั้งนั้น. เพราะเหตุว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนแต่เป็นภาระ เพราะความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของมัน นั่นเอง. เราได้อะไรมา เราจำต้องจัดการกับสิ่งนั้น ๆ ในลักษณะที่จะให้มันยังคงอยู่กับเรา เป็นไปตามใจเรา หรือมีประโยชน์แก่เรา. แต่แล้วสิ่งนั้น ๆ ตามปรกติมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือไม่รู้ไม่ชี้ต่อความประสงค์มุ่งหมายของบุคคลใด มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุไปตามปัจจัยของมันเอง การพยายามของคนเราจึงเป็นการต่อสู้ หรือเป็นการต้านทานต่อกฎแห่งความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้นจึงเกิดเป็นการยากลำบาก หรือเป็นการทนทรมานขึ้น ในการที่จะเป็นอยู่หรือทนอยู่ หรือการทำสิ่งทั้งหลายทั้งปวงให้เป็นไปตามความประสงค์ของเรา. นี่แหละ คือ ความจริง.
ไฟล์แนบ
images (64).jpg
images (64).jpg (7.17 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

.. อุบายวิธีอันหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เข้าถึงความจริงที่จะให้รู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่น่าเอา-ไม่น่าเป็น นั้นมีอยู่. ข้อนี้ได้แก่การพิจารณาให้ลึกซึ้ง จนพบความจริงอย่างหนึ่งว่า เมื่อยังมีกิเลสตัณหา ยังสำคัญผิด ยังไม่รู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง ความรู้สึกในการเอา-การเป็นนั้น, ย่อมมีลักษณะไปในทางหนึ่ง. ถ้าไม่มีกิเลสตัณหา มีแต่ปัญญาซึ่งรู้จักถูกต้องดีว่าอะไรเป็นอะไร ความรู้สึกในการเอา-การเป็น หรือการได้ ของบุคคลนั้น ย่อมมีอยู่ในลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการบริโภคสิ่งของหรือการกินอาหาร ถ้าการกินนั้น เป็นการกินด้วยตัณหา หรือความอยากในความเอร็ดอร่อย การกินอาหารของบุคคลผู้นั้นต้องมีลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างจากบุคคลหนึ่ง ซึ่งไม่กินอาหารด้วยตัณหา แต่กินด้วยสติสัมปชัญญะหรือปัญญา อันรู้จักสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นว่า อะไรเป็นอะไร. นี่ก็เป็นคนด้วยกัน เป็นมนุษย์ด้วยกัน แต่คนหนึ่งกินอาหารด้วยตัณหา อีกคนหนึ่งกินอาหารด้วยความรู้สึกตัว ด้วยปัญญา การกินจะต้องผิดกัน แม้แต่กิริยาอาการที่กิน และความรู้สึกในขณะกินก็จะต้องผิดกันเป็นอย่างยิ่ง และในที่สุดผลอันเกิดมาจากการกินนั้น ก็จะต้องผิดกันอย่างยิ่งอีกเหมือนกัน เพราะว่าคนหนึ่งกินด้วยตัณหา อีกคนหนึ่งกินด้วยปัญญา. คนที่กินด้วยปัญญานั้นไม่ได้กินด้วยตัณหาหรือความอยาก. เราจะต้องทำความเข้าใจในข้อนี้ว่า แม้จะไม่มีตัณหาความอยากในรสอร่อย คนเราก็ยังกินอาหารได้. ไม่จำเป็นต้องมีตัณหา คนเราก็ยังทำอะไรได้ด้วยสติปัญญา คือทำโดยมีปัญญารอบรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำ หรืออะไรไม่ควรทำ ก็ยังคงทำสิ่งต่าง ๆ ไปได้.


เพื่อเข้าใจได้ง่าย ขอกระโดดข้ามไปกล่าวถึงพระอรหันต์ หรือพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีกิเลสตัณหา แต่ท่านก็ยังทำอะไร ๆ ได้ ยังเป็นอะไร ๆ ได้ แม้ว่าคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป มองแล้วจะรู้สึกว่าท่านก็ทำอะไรหรือเป็นอะไร ท่านก็ยังทำงานมาก ไม่น้อยกว่าพวกเราซึ่งยังมีกิเลสตัณหา. แต่ท่านทำด้วยอำนาจของอะไร ? เหมือนกับพวกเราที่ทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา อยากได้เป็นนั่นเป็นนี่ หรือไม่ ? คำตอบที่ถูกต้องที่สุดนั้นคือ ท่านเหล่านั้นทำด้วยอำนาจของปัญญา คือความรู้ที่แจ่มแจ้งถึงที่สุด ว่าอะไรเป็นอะไร. การกระทำของท่าน ไม่มีตัณหาเป็นมูล แต่มีปัญญาเป็นมูล เพราะฉะนั้นจึงผิดแผกแตกต่างจากพวกเรา ซึ่งทำอะไร ๆ ก็กระทำด้วยตัณหา อย่างตรงกันข้ามทีเดียว. ผิดแผกกันตรงที่ว่า ผลที่เกิดขึ้นนั้น พวกเราเป็นทุกข์กันตลอดเวลา ส่วนท่านเหล่านั้นไม่มีความทุกข์เลย. ท่านเหล่านั้นไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเอาอะไร ผลนั้นก็ไปได้กับคนอื่น แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น, เป็นความพ้นทุกข์ของคนทั้งหลายเหล่าอื่น ด้วยความเมตตาของท่าน ดังนี้เป็นต้น.
ไฟล์แนบ
images (63).jpg
images (63).jpg (9.88 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..ต่อไปนี้จะชี้ให้เห็นว่า เมื่อไม่อาศัยกิเลสตัณหา หรือหมดกิเลสตัณหาแล้วก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราจะทำอะไรไม่ได้. เรายังคงทำอะไรได้ทุกอย่าง, หากแต่บัดนี้ทำด้วยอำนาจของปัญญาและเมตตานั่นเอง. ทำด้วยความรู้สึกที่ไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร; ฟังดูก็แปลกดี. พระอรหันต์ผู้หมดกิเลส ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกที่ไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร เป็นแต่ว่า มีปัญญาเป็นเครื่องบ่งเป็นเครื่องบอก ว่านี้ควรจะทำ แทนที่จะอยู่เฉย ๆ . เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำการสืบอายุพระศาสนามาจนถึงพวกเราได้ และทั้งทำประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ตามสติปัญญาของท่านระบุว่าควรจะทำ; ร่างกายและจิตใจ ซึ่งปราศจากกิเลสตัณหา ก็แสวงหาและบริโภคอาหารได้ด้วยอำนาจสติปัญญา ไม่แสวงหาและบริโภคด้วยกิเลสตัณหาเหมือนแต่กาลก่อน. เมื่อเราหวังว่าจะเป็นผู้พ้นทุกข์ ตามรอยทางของพระพุทธเจ้า หรือของพระอรหันต์ทั้งหลาย เราก็ควรฝึกฝนตัว ในการที่จะทำอะไรลงไปแต่ด้วยอำนาจของสติปัญญา อย่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา. ถ้าเราเป็นคนศึกษาเล่าเรียน ก็ทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ว่ามันเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างนี้. ถ้าประกอบการงานอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่า เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำและทำให้ดีที่สุด ด้วยความเยือกเย็น เท่าที่สติปัญญาจะอำนวยให้ทำได้อย่างนั้น ๆ : ถ้าทำไปด้วยตัณหา มันร้อนใจตั้งแต่ก่อนที่จะทำ ร้อนใจในเมื่อกำลังทำ และร้อนใจทั้งเมื่อทำเสร็จแล้ว. แต่ถ้าทำด้วยอำนาจของปัญญาควบคุมอยู่ จะไม่ร้อนใจตั้งแต่ก่อนทำ ในเมื่อทำอยู่ก็ไม่ร้อนใจ ทำเสร็จแล้วก็ไม่ร้อนใจ. ผลย่อมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอย่างนี้.


คนที่จะศึกษาเล่าเรียนก็ดี คนที่จะประกอบอาชีพการงานก็ดี คนที่จะมีบุตรภรรยาทรัพย์สินเงินทอง มีอะไรต่าง ๆ ที่เขาอยากจะมีกันก็ดี ถ้ามีหรือทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี คือด้วยอำนาจของปัญญาแล้ว จะไม่ร้อนเหมือนคนที่ทำไปด้วยอำนาจของตัณหา; เพราะฉะนั้น เราจำเป็นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ด้วยความรู้สึกของปัญญา ที่รู้สึกอยู่เสมอว่า “สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ โดยที่แท้แล้ว เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, ไม่น่าเอา-ไม่น่าเป็น”. แต่เมื่อเรายังตัดไม่ได้ ยังละไม่ได้ ยังมีกิเลสอยู่ ยังจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่; ก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความรู้สึกที่เป็นความรอบรู้ ที่เรียกว่าปัญญา นั้นเอง. การกระทำของเราก็จะไม่ตกหล่มของกิเลสตัณหา, ทำไปได้ด้วย “ความลืมตา” ทำด้วยสติปัญญา จึงไม่มีความทุกข์ตั้งแต่เบื้องต้นจนปลาย โดยจิตใจไม่มีความหลงยึดถือโดยความเป็นตัวตนหรือของตน อย่างหลับหูหลับตา โดยที่จิตใจไม่ยึดถือสิ่งเหล่านั้นในฐานะเป็นของน่าเอา-น่าเป็น; คงทำไปโดยรู้สึกผิดชอบชั่วดี ปล่อยให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือตามที่กฎหมายและอะไรอื่นจะคุ้มครองให้ได้ก็ได้. ยกตัวอย่างเช่นว่า เรามีที่ดินเป็นทรัพย์สมบัติอยู่ เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึกที่เป็นตัณหา ไม่อยากไปยึดถือในสิ่งนั้น จนถึงกับว่าเป็นที่หนักอกหนักใจ แผดเผาหัวใจอยู่เสมอก็ได้; ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายท่านยังคงคุ้มครองที่ดินผืนนั้นให้ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอยู่นั่นเอง เราไม่ต้องไปยึดถือผูกพันด้วยกิเลสตัณหาให้เป็นความทุกข์ร้อน วิตกกังวลแก่เรา มันก็ไม่หลุดมือหายไปไหนเสีย. แม้ว่าจะมีใครมาแย่งชิงก็ยังคงทำการต้านทานป้องกันไปได้ด้วยสติปัญญา ไม่ต้องทำการต้านทานด้วยกิเลสตัณหา ให้เร่าร้อนด้วยไฟคือโทสะ ก็ยังอาศัยอำนาจขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายทำการต้านทานได้ โดยไม่ต้องมีความทุกข์ เราก็ยังคงรักษาคุ้มครองเอาไว้ได้. ถ้าหากว่ามันจะต้องหลุดมือไปจริง ๆ เราจะมีกิเลสตัณหา หรือไม่มีกิเลสตัณหาก็ตาม มันช่วยไม่ได้ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ ดังนี้ มันก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร แม้จะมีกิเลสตัณหาหวงแหนสักเท่าใด ถึงคราวที่มันจะเปลี่ยนแปลงไปมันก็ช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะไปผูกพันยึดถือในการมีของสิ่งใด หรือวัตถุสังขารเหล่าใด ด้วยกิเลสตัณหาเลย. นี้เป็นวิธีปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
ไฟล์แนบ
images (61).jpg
images (61).jpg (9.83 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..ต่อไปนี้จะชี้ให้เห็นว่า เมื่อไม่อาศัยกิเลสตัณหา หรือหมดกิเลสตัณหาแล้วก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราจะทำอะไรไม่ได้. เรายังคงทำอะไรได้ทุกอย่าง, หากแต่บัดนี้ทำด้วยอำนาจของปัญญาและเมตตานั่นเอง. ทำด้วยความรู้สึกที่ไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร; ฟังดูก็แปลกดี. พระอรหันต์ผู้หมดกิเลส ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกที่ไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร เป็นแต่ว่า มีปัญญาเป็นเครื่องบ่งเป็นเครื่องบอก ว่านี้ควรจะทำ แทนที่จะอยู่เฉย ๆ . เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำการสืบอายุพระศาสนามาจนถึงพวกเราได้ และทั้งทำประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ตามสติปัญญาของท่านระบุว่าควรจะทำ; ร่างกายและจิตใจ ซึ่งปราศจากกิเลสตัณหา ก็แสวงหาและบริโภคอาหารได้ด้วยอำนาจสติปัญญา ไม่แสวงหาและบริโภคด้วยกิเลสตัณหาเหมือนแต่กาลก่อน. เมื่อเราหวังว่าจะเป็นผู้พ้นทุกข์ ตามรอยทางของพระพุทธเจ้า หรือของพระอรหันต์ทั้งหลาย เราก็ควรฝึกฝนตัว ในการที่จะทำอะไรลงไปแต่ด้วยอำนาจของสติปัญญา อย่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา. ถ้าเราเป็นคนศึกษาเล่าเรียน ก็ทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ว่ามันเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างนี้. ถ้าประกอบการงานอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่า เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำและทำให้ดีที่สุด ด้วยความเยือกเย็น เท่าที่สติปัญญาจะอำนวยให้ทำได้อย่างนั้น ๆ : ถ้าทำไปด้วยตัณหา มันร้อนใจตั้งแต่ก่อนที่จะทำ ร้อนใจในเมื่อกำลังทำ และร้อนใจทั้งเมื่อทำเสร็จแล้ว. แต่ถ้าทำด้วยอำนาจของปัญญาควบคุมอยู่ จะไม่ร้อนใจตั้งแต่ก่อนทำ ในเมื่อทำอยู่ก็ไม่ร้อนใจ ทำเสร็จแล้วก็ไม่ร้อนใจ. ผลย่อมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอย่างนี้.


คนที่จะศึกษาเล่าเรียนก็ดี คนที่จะประกอบอาชีพการงานก็ดี คนที่จะมีบุตรภรรยาทรัพย์สินเงินทอง มีอะไรต่าง ๆ ที่เขาอยากจะมีกันก็ดี ถ้ามีหรือทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี คือด้วยอำนาจของปัญญาแล้ว จะไม่ร้อนเหมือนคนที่ทำไปด้วยอำนาจของตัณหา; เพราะฉะนั้น เราจำเป็นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ด้วยความรู้สึกของปัญญา ที่รู้สึกอยู่เสมอว่า “สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ โดยที่แท้แล้ว เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, ไม่น่าเอา-ไม่น่าเป็น”. แต่เมื่อเรายังตัดไม่ได้ ยังละไม่ได้ ยังมีกิเลสอยู่ ยังจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่; ก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความรู้สึกที่เป็นความรอบรู้ ที่เรียกว่าปัญญา นั้นเอง. การกระทำของเราก็จะไม่ตกหล่มของกิเลสตัณหา, ทำไปได้ด้วย “ความลืมตา” ทำด้วยสติปัญญา จึงไม่มีความทุกข์ตั้งแต่เบื้องต้นจนปลาย โดยจิตใจไม่มีความหลงยึดถือโดยความเป็นตัวตนหรือของตน อย่างหลับหูหลับตา โดยที่จิตใจไม่ยึดถือสิ่งเหล่านั้นในฐานะเป็นของน่าเอา-น่าเป็น; คงทำไปโดยรู้สึกผิดชอบชั่วดี ปล่อยให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือตามที่กฎหมายและอะไรอื่นจะคุ้มครองให้ได้ก็ได้. ยกตัวอย่างเช่นว่า เรามีที่ดินเป็นทรัพย์สมบัติอยู่ เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึกที่เป็นตัณหา ไม่อยากไปยึดถือในสิ่งนั้น จนถึงกับว่าเป็นที่หนักอกหนักใจ แผดเผาหัวใจอยู่เสมอก็ได้; ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายท่านยังคงคุ้มครองที่ดินผืนนั้นให้ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอยู่นั่นเอง เราไม่ต้องไปยึดถือผูกพันด้วยกิเลสตัณหาให้เป็นความทุกข์ร้อน วิตกกังวลแก่เรา มันก็ไม่หลุดมือหายไปไหนเสีย. แม้ว่าจะมีใครมาแย่งชิงก็ยังคงทำการต้านทานป้องกันไปได้ด้วยสติปัญญา ไม่ต้องทำการต้านทานด้วยกิเลสตัณหา ให้เร่าร้อนด้วยไฟคือโทสะ ก็ยังอาศัยอำนาจขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายทำการต้านทานได้ โดยไม่ต้องมีความทุกข์ เราก็ยังคงรักษาคุ้มครองเอาไว้ได้. ถ้าหากว่ามันจะต้องหลุดมือไปจริง ๆ เราจะมีกิเลสตัณหา หรือไม่มีกิเลสตัณหาก็ตาม มันช่วยไม่ได้ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ ดังนี้ มันก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร แม้จะมีกิเลสตัณหาหวงแหนสักเท่าใด ถึงคราวที่มันจะเปลี่ยนแปลงไปมันก็ช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะไปผูกพันยึดถือในการมีของสิ่งใด หรือวัตถุสังขารเหล่าใด ด้วยกิเลสตัณหาเลย. นี้เป็นวิธีปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
ไฟล์แนบ
images (61).jpg
images (61).jpg (9.83 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..แม้ “การเป็น” ก็เหมือนกัน เราต้องไม่ยึดถือในการเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะว่าโดยที่แท้แล้ว ไม่มีอะไรน่าสนุกเลยในการเป็น ล้วนแต่นำมาซึ่งความทุกข์ทรมานอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งนั้น. อุบายอย่างง่าย ๆ ที่เราจะพิจารณา ซึ่งเรียกว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง หรือการปฏิบัติธรรมโดยตรง ก็คือพิจารณาให้เห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าเป็น หรือไม่มีการเป็นอะไรที่น่าสนุกเลย. ท่านทั้งหลายลองตั้งปัญหาสำหรับพิจารณาในข้อนี้ดูได้ทุก ๆ คน ว่ามีการเป็นอะไรบ้างที่น่าสนุก : เช่นเป็นบุตรของบิดามารดาน่าสนุกไหม ? หรือเป็นบิดามารดาของบุตรเสียเอง น่าสนุกไหม ? คนที่มีอายุผ่านมาถึงขนาดมีบุตรมีหลานแล้วจะตอบปัญหาข้อนี้ได้ดี ว่าเป็นพ่อเขาก็ไม่สนุก เป็นลูกเขาก็ไม่สนุก เพราะต่างมีภาระที่จะพึงปฏิบัติ. ทีนี้ เป็นสามีเขาสนุกไหม ? เป็นภรรยาเขาสนุกไหม ? เป็นนายเขาสนุกไหม ? เป็นบ่าวสนุกไหม ? ตลอดถึงที่ไกลออกไปถึงกับว่าเป็นคนเอาเปรียบเขา โกงเขา สนุกไหม ? เป็นคนถูกเขาโกง สนุกไหม ? เป็นคนแพ้สนุกไหม ? เป็นคนชนะสนุกไหม ? ดังนี้เป็นต้น; ขยายเรื่อยออกไป จนถึงเรื่องเป็นสัตว์สนุกไหม ? เป็นมนุษย์สนุกไหม ? จนกระทั่งถึงว่าเป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ เป็นก้อนดิน ก้อนหิน อีกทางหนึ่งนี้ สนุกไหม ? กระทั่งว่าเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นอะไรที่สูง ๆ ขึ้นไป สนุกไหม ? ถ้าท่านมีความรู้ชนิดที่เรียกว่า รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างแท้จริงแล้ว ความรู้สึกที่จะทำให้เห็นว่าไม่น่าสนุกนั้น จะแสดงอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง ในสิ่งทุกสิ่ง, และในความมีความเป็น หรือในภาวะทุกอย่าง, ทุกอย่างล้วนแต่ว่าไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลย เราต้องทนทำ ทนเป็น ทนเอา ทนอยู่ โดยไม่รู้สึกตัว. ทำไมเราจะต้องไปมอบกายถวายชีวิต หลงใหลเอา หลงใหลเป็น หรือทำไปด้วยด้วยอำนาจของกิเลสตัณหาเล่า ? เราควรจะมีความรู้สึกที่ถูกต้องในสิ่งเหล่านี้ ซึ่งไม่น่าเอา-ไม่น่าเป็น ให้ถูกต้องจริง ๆ แล้วเป็นอยู่ด้วยความรู้สึกของปัญญาเข้าไปเกี่ยวข้องในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ในลักษณะที่จะให้เป็นทุกข์น้อยที่สุดหรือไม่ให้เป็นทุกข์เลย.


อีกประการหนึ่ง เราจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่อยู่ร่วมโลกกันในโลก ซึ่งจะเป็นมิตรสหายชาวเกลอที่ดี แม้ที่สุดแต่จะเป็นบุตรภรรยาผู้ใกล้ชิดสนิทสนมที่สุดก็ดี ว่าสิ่งทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้ ให้เขามีความเข้าใจที่ถูกต้องเหมือนกับเรา แล้วก็จะไม่มีอะไรขัดขวางกันในครอบครัวหรือในบ้านในเมืองตลอดถึงในโลก. ต่างคนต่างมีจิตใจไม่ยึดถือหลงใหลในสิ่งใด ๆ หรือในกันและกัน ด้วยอำนาจกิเลสและตัณหา แต่ว่าคงมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยอำนาจของปัญญา มองเห็นชัดอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะยึดถือจริงจังได้ ในการที่จะให้มาเป็นตัวเราหรือเป็นของของเรา. ทุกคนควรมีความรู้สึกว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นอย่างนั้นเอง คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่เช่นนั้นเอง ไม่น่าหลงปรารถนาด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้น ควรยับยั้งไว้ด้วยปัญญา เข้าไปเกี่ยวข้องในสิ่งนั้น ๆ แต่ในลักษณะที่จะมีความทุกข์น้อย หรือปลอดภัย คือไม่มีความทุกข์เลย. บุคคลชนิดนี้ เรียกว่าผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา มีสัมมาทิฏฐิตามทางแห่งพระพุทธศาสนาถึงที่สุด ควรจะเรียกว่าเป็นพุทธบริษัทโดยแท้จริง. แม้จะไม่เคยบวชเคยเรียน แม้จะไม่เคยรับศีล แม้จะไม่เคยสมาทานอะไรก็ตาม แต่ก็เป็นบุคคลที่เต็มไปด้วยศีล ด้วยธรรม เป็นบุคคลที่เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริง. เขาเหล่านั้นมีจิตใจอย่างเดียวกันกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือมีความสะอาด สว่าง สงบในใจ เพราะเหตุที่ไม่หลงยึดถือสิ่งใด ว่าน่าเอา หรือน่าเป็น. เขาเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาได้โดยสมบูรณ์ โดยง่ายดาย และโดยแท้จริงด้วย ด้วยอาศัยอุบายวิธีที่ถูกต้องที่พิจารณาเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเกิดความรู้สึกว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอา-น่าเป็น.
ไฟล์แนบ
images (59).jpg
images (59).jpg (7.35 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..ความชั่วทั้งหลายที่เป็นชั้นเลวทรามที่สุด ก็มาจากความอยากเอาอยากเป็น ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา. แม้ความชั่วที่เบาขึ้นมา ก็ทำกันด้วยอำนาจของความรู้สึกที่เป็นกิเลสตัณหา อยากเอาอยากเป็น. แม้ความดีทั้งปวง ก็ทำกันด้วยอำนาจตัณหาชนิดที่ประณีตละเอียดสูงขึ้นมา ที่เป็นความอยากเอาอยากเป็น ในชั้นดี. แม้ความดีถึงที่สุด ก็ทำด้วยกิเลสตัณหาที่ประณีตละเอียดที่สุด จนไม่จัดว่าเป็นความชั่วหรือเป็นบาปเลย แต่แล้วก็ยังไม่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่พ้นทุกข์ถึงที่สุด คือพระอรหันต์ จึงเป็นผู้ที่หมดจากการกระทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา และกลายเป็นบุคคลที่ทำชั่วก็ไม่ได้ ทำดีก็ไม่ได้ ได้แต่ทำสิ่งที่เหนือไปกว่าความชั่วและความดี คือมีใจที่เป็นอิสระอยู่เหนือความครอบงำของความชั่วและความดี จึงไม่มีความทุกข์เลย ดังนี้. ทั้งนี้เป็นเพราะท่านเห็นว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีความปรารถนาอยากเอา-อยากเป็น ในสิ่งใดเลย ดังกล่าวแล้ว.


อาตมาได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า แนวแห่งพุทธศาสนาของเรามีอยู่อย่างนี้ ท่านทั้งหลายจะทำได้หรือไม่ได้นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่จะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม แนวของพุทธศาสนาก็ยังคงมีอยู่ดังนี้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. ท่านทั้งหลายจะปรารถนาหรือไม่ปรารถนาก็ตาม แนวของความพ้นทุกข์ ย่อมมีอยู่ดังนี้. บัดนี้ยังไม่ปรารถนา วันหน้าสักโอกาสหนึ่งก็ต้องปรารถนาอยู่ดี เพราะว่าเมื่อละความชั่วเสร็จแล้ว ความดีก็ได้ทำเต็มเปี่ยมดีอยู่แล้ว จิตยังหม่นหมองด้วยกิเลสตัณหาชั้นประณีตบางประการอยู่ ก็ไม่รู้ว่าจะดับได้ด้วยวิธีใด นอกจากจะพยายามศึกษาในชั้นที่อยู่เหนืออำนาจกิเลสตัณหา คืออยู่เหนือการที่จะไปอยากได้-อยากเป็น ในสิ่งที่ชั่วหรือที่ดีก็ตาม. ต้องไม่มีความอยากได้โดยสิ้นเชิงแต่อย่างเดียวเท่านั้น จึงจะพ้นจากความทุกข์ได้โดยประการทั้งปวง. ส่วนที่พวกเราควรจะศึกษากันอย่างไร เพียงไร เท่าใดนั้น ไว้ทำความเข้าใจกันในวันหลัง. ในวันนี้ก็หมดเวลาแล้ว.


ขอสรุปความว่า พุทธศาสนานั้น คือหลักวิชาและระเบียบวิธีปฏิบัติที่ให้รู้ว่า “อะไรเป็นอะไร” การรู้ว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุดนั้น คือรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. เมื่อรู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยแท้จริงแล้ว จะเกิดมีความรู้สึกชนิดที่จิตใจจะไม่อยากอะไร : ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเป็นอะไรด้วยความยึดถือ. ถ้าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด ๆ โดยลักษณะที่เรียกกันว่า “ความมี-ความเป็น” บ้าง ก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสติสัมปชัญญะ โดยอำนาจของปัญญา ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยอำนาจของตัณหา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความทุกข์ หรือมีความทุกข์แต่น้อยที่สุด. นี้, เป็นผลของการเห็นแจ้งในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งสรุปอยู่ในหลักที่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีลักษณะที่ใคร ๆ ไม่น่ามอบตัวเข้าไปเป็นทาส เพื่อจะเอาหรือจะเป็น แต่ประการใดเลย. ขอให้ท่านทั้งหลาย กำหนดใจความของหลักแห่งพุทธศาสนา เท่าที่ได้บรรยายในวันนี้ไว้ดังนี้.
ไฟล์แนบ
images (58).jpg
images (58).jpg (12.63 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 22/entry-5

คู่มือมนุษย์(ฉบับสมบูรณ์)/ท่านพุทธทาส : บทที่ ๓/อุปาทานสี่

..ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย,

อาตมาได้บรรยายแล้วแต่วันก่อน ๆ ถึงข้อที่ว่า พุทธศาสนา นั้นคือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อจะให้รู้ถึงความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง ว่าอะไรเป็นอะไร, และต่อจากนั้นได้บรรยายให้ทราบถึงข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงนั้นทุกสิ่งมีปรกติเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีลักษณะที่ไร้ความหมายแห่งความมีตัวตน, เพื่อให้ทราบใจความสำคัญว่า สิ่งทั้งปวงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะยึดถือเอาด้วยกิเลสด้วยตัณหา เพราะว่าการทำอย่างนั้นนั่นแหละเป็นความทุกข์ หรือเป็นทางให้เกิดความทุกข์ และได้กล่าวเรื่อย ๆ มา เป็นเครื่องตักเตือนไว้ทุกครั้งว่า. พุทธศาสนาเรามีความมุ่งหมายจะแก้ปัญหาเรื่องความทุกข์ในทางใจ ที่สูงและลึกยิ่งไปกว่าความมุ่งหมายของ ศีลธรรม หรือ จริยธรรม ตามธรรมดา.
ไฟล์แนบ
images (57).jpg
images (57).jpg (8.3 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

.. เพื่อให้เข้าใจในเรื่องความทุกข์นี้ยิ่งขึ้น เรามีทางที่จะเปรียบเทียบลักษณะของความทุกข์ให้เห็นว่ามีอยู่เป็นชั้น ๆ ซึ่งชั้นสุดท้ายจะต้องอาศัยสติปัญญาหรือความรู้ที่สูงสุดจริง ๆ จึงจะดับมันได้. ลักษณะที่จะกำหนดได้ง่าย ๆ ในทางเปรียบเทียบ หรือจะไม่ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบก็ตาม ในที่นี้ก็คือ ลักษณะของการเป็นโรค; การเป็นโรคนั้น เราอาจจะจำแนกให้สิ้นเชิงได้โดยจัดเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน คือการเป็นโรคทางกาย ทางร่างกายซึ่งเราเห็นกันอยู่ทั่ว ๆ ไป นี้อย่างหนึ่ง. ที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่ง ก็คือการเป็นโรคทางจิต ทีนี้เราลองคิดกันดูว่าจะมีโรคอะไรอีกไหม ที่สูงไปกว่าโรคทางจิต ? ถ้าเข้าใจความข้อนี้จะดีมาก. ในบัดนี้ ตามทางธรรมหรือทางปรัชญาที่เกี่ยวกับศาสนา ได้มีการบัญญัติคำขึ้นใช้อีกคำหนึ่ง ซึ่งเป็นคำสำหรับเรียกโรคในทาง ซึ่งเราขอเรียกกันไปทีก่อนว่า ทางวิญญาณ. อาตมาเองก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้คำว่าอะไรดี. โรคทางกายนั้นคงใช้คำว่า Physical Disease. โรคทางจิตก็คือ Mental Disease ต่อมาถึงโรคประเภทสุดท้ายนี้ เรียกว่า Spiritual Disease. คำนี้ ตามธรรมดาหรือถ้าเป็นคนธรรมดาก็มักจะเข้าใจไปว่า เป็นเรื่องผีเรื่องสาง หรือเรื่องอะไรทำนองนั้น, แต่ความจริงนั้น Spiritual Disease นี้ มิได้หมายถึงโรคเกี่ยวกับผีสางอะไรทำนองนั้นเลย. มันหมายถึงโรคที่เกี่ยวกับกิเลสแผดเผา ! ถ้าจะชี้ที่ตัวจริงของโรคนี้ก็คือ ความทนทรมานทางจิตที่เกิดมาจากกิเลส. แต่โรคนั้นปรากฏทางจิตหรือวิญญาณล้วน ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า Spiritual. ซึ่งสูงไปกว่าคำว่า Mental. เพราะคำว่า Mental นั้น กระเดียดไปทางเกี่ยวพันกับ Physical อยู่มาก. โรคทางกาย คือความเจ็บไข้ทางกาย, โรคทางจิต ก็คือความป่วยในทางจิต, แต่โรคทางวิญญาณ นี้ยิ่งไปกว่านั้น; แม้ไม่ป่วยทางกาย ไม่ป่วยทางจิต แต่ถ้ายังมีกิเลสตัณหาอวิชชาอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นคนป่วยในทาง Spirit หรือวิญญาณ๑ อยู่ด้วยกันทุกคน. อวิชชาคือความไม่รู้ ตัณหาคือความอยาก อุปาทานคือความยึดมั่น เหล่านี้เป็นเครื่องทำให้คนเราตกอยู่ในสภาพของความป่วยในทางวิญญาณ. สิ่งนี้ยิ่งไปกว่าความป่วยทางจิต.


(สาธุ..ท่านอธิบายชัดเจน เข้าใจได้โดยง่าย)
ไฟล์แนบ
images (56).jpg
images (56).jpg (9.48 KiB) เข้าดูแล้ว 1018 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..๑. คำว่าวิญญาณโดยทั่วไป ตรงกับคำว่า Consciousness. ที่ตรงกับคำว่า Spirit นี้เป็นคำพิเศษของฝ่ายพวกที่ถือว่ามี เจตภูต หรือตัวตน, มิใช่ศัพท์ทางพุทธศาสนาโดยตรง พุทธศาสนาปฏิเสธตัวตน ทำนองนั้น.
.
.
คำว่าจิต หรือวิญญาณนี้ ออกจะปนกันยุ่ง ฉะนั้นอย่าไปยึดถือถ้อยคำนัก, ขอให้ยึดถือกิริยาอาการที่เกิดขึ้นจริง ๆ ก็แล้วกัน; ถ้าป่วยทางกาย ก็ไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลทั่ว ๆ ไป, ถ้าป่วยทางจิต ก็ไปโรงพยาบาลพิเศษ เช่นที่ปากคลองสานเป็นต้นโดยเฉพาะ. แต่ถ้าป่วยทางวิญญาณ หรือ Spiritual แล้ว ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลของพระพุทธเจ้าโดยตรง อย่างนี้เป็นต้น. ถ้าเราเข้าใจว่าโรคของคนทุกคน มีอยู่เป็น ๓ ชั้นดังนี้แล้ว เราก็จะรู้จักอานิสงส์ รู้จักประโยชน์ รู้จักความสำคัญของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นทันที. เมื่อเป็นดังนี้ เราจะเห็นได้ว่า การที่จะแก้ปัญหาในการเป็นโรคทางวิญญาณนี้ มันเหลือวิสัยที่ศีลธรรมสากลทั่ว ๆ ไป จะช่วยแก้ไขได้ ต้องอาศัยหลักธรรมในพระพุทธศาสนาในส่วนที่เป็นชั้นสูง คือส่วนที่สามารถจะกำจัดกิเลสตัณหาได้จริง ๆ เท่านั้น เป็นเครื่องเยียวยารักษา. นี่แหละ จะทำให้เราสนใจในตัวพุทธศาสนายิ่งขึ้น : เราจะมองเห็นความที่ศาสนาหรือพุทธศาสนามีสภาพอยู่เหนือกว่าศีลธรรมทั่ว ๆ ไป. ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ใจความสำคัญของพระพุทธศาสนานั้น คือวิชาและระเบียบปฏิบัติจนเกิดความรู้อันถูกต้องว่าอะไรเป็นอะไร ถ้ารู้ถูกต้องแล้ว อย่างน้อยก็รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา; ใครไปยึดถือว่าเป็นตัวตน หรือของตนเข้า มันก็เป็นทุกข์; เราเรียกความทุกข์ หรือความทรมานนี้เองว่าเป็นโรคทางวิญญาณ, ซึ่งสัตว์กำลังเป็นกันอยู่ทุกรูปทุกนาม.

นี้ก็มาถึงปัญหาที่ว่าเราต้องการจะปลีกตัว ลากตัว ถอนตัว ออกมาเสียจากสังขารหรือจากสิ่งทั้งหลายที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหล่านั้น เราจะมีวิธีอย่างไร ? คำตอบคือเราจะต้องศึกษาไปถึงข้อที่ว่า “อะไรเป็นเหตุให้เราเข้าไปอยาก และเข้าไปติดยึดถือสิ่งเหล่านั้น ?” เราจะต้องศึกษาเรื่องของสิ่งลึกลับ ที่ทำให้เราหลงเข้าไปยึดถือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่เป็นอนัตตา. ถ้าเรารู้ลึกซึ้งถึงสิ่งที่เป็นต้นเหตุ ให้เราเข้าไปหลงยึดถือแล้ว เราอาจจะตัดการยึดถือเสียได้. เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีความรู้ในข้อนี้โดยตรง เราจึงจะสามารถทำตนให้ถอยออกไปเสียให้ห่างไกล หรือให้เป็นอิสระออกไปเสียจากสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของความหลงใหลยึดถือ ทั้งที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุก ๆ วิถีทาง.

อีกประการหนึ่ง อาตมาเห็นว่าการศึกษาให้เข้าใจเรื่องกิเลสส่วนที่เป็นเหตุให้ยึดถือ หรือที่เรียกว่า “อุปาทาน” นี่แหละเสียก่อน จะเป็นการช่วยให้เราเข้าใจพุทธศาสนาได้ชัดเจนลึกซึ้งถึงที่สุด และโดยง่าย. จึงขอร้องให้บรรดาท่านนักศึกษาทั้งหลายได้สนใจในเรื่องอุปาทาน หรือความยึดถือนี้ให้มากเป็นพิเศษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอให้ศึกษาจนรู้จักตัวความยึดถือที่แท้จริงที่ท่านกำลังมีอยู่ในท่านทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง หรือว่าจะเป็นตัวบุคคลที่เรากำลังจะไปช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์ภัยที่เกิดมาแต่กิเลส.

กิเลส ซึ่งเป็นความยึดถือ หรือเป็นเครื่องยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั้น พุทธศาสนาเรียกว่า “อุปาทาน” คำว่า อุปาทาน ก็แปลว่า ความยึดถือ. ถ้าตามตัวหนังสือจริง ๆ ก็แปลว่าการเข้าไปถือเอาหรือการเข้าไปทรงไว้เป็นต้น; แต่โดยใจความแล้ว คือการเข้าไปยึดถือเอาด้วยกำลังจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นนั่นเอง.

อุปาทาน หรือกิเลสเป็นเครื่องให้ยึดถือนี้ ท่านจำแนกเป็น ๔ ประการด้วยกัน ประการแรกเรียกว่า กามุปาทาน คือการยึดถือในของรักของใคร่ทั่วไป. ประการที่สองเรียกว่า ทิฏฐุปาทาน การยึดถือทิฏฐิความคิดเห็นตามที่ตนมีอยู่. ประการที่สามเรียกว่า สีลัพพตุปาทาน ยึดถือในศีลและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่ตนเคยประพฤติปฏิบัติกระทำโดยงมงายมาแต่เดิม และประการสุดท้าย คือประการที่สี่นั้น เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน คือ การยึดถือด้วยการกล่าวว่า เป็นตัวเป็นตน.

กามุปาทาน ยึดมั่นในกาม ซึ่งเป็นประการแรกนั้น เห็นได้จากการที่คนเราตามธรรมดา มีความติดพันในสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด คือจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม. รูปก็คือ สิ่งที่น่ารักใคร่ในทางรูป หรือทางที่เห็นด้วยตา, เสียง ก็หมายถึงเสียงไพเราะที่จะผูกพันจิตใจ, กลิ่น ก็คือกลิ่นหอม, รส ก็คือรสที่อร่อย, โผฏฐัพพะ คือการสัมผัสทางกาย ตามที่สัญชาตญาณตามปรกติของคนเรารู้สึกว่าเป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือเอร็ดอร่อย. วัตถุที่ตั้งของกามารมณ์ ๕ อย่างนี้ กล่าวเพียงเท่าที่รู้จักกันทั่วไป. แต่ตามหลักธรรมในพุทธศาสนานั้น ขยายออกไปเป็น ๖, คือมี “ธรรมารมณ์” เพิ่มอีกอย่างหนึ่ง หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึกในใจ, เป็นเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ เกี่ยวกับวัตถุภายนอกหรือภายในก็ได้, เป็นของจริงหรือเป็นเพียงคิดฝันก็ได้, ซึ่งอาจให้เกิดเอร็ดอร่อยทางจิตในขณะที่รู้สึก. เมื่อทารกเกิดมา ได้รู้รสของอารมณ์ทั้ง ๖ นี้เป็นครั้งแรก ก็เกิดความยึดถือในอารมณ์นั้นขึ้น และยึดถือยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ๆ มาจนกระทั่งบัดนี้ มีความยึดถือในสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่เช่นนั้นอย่างแน่นแฟ้น อย่างที่เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะถอนได้. เพราะฉะนั้นจึงเป็น ปัญหาสำคัญ ที่เราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้อง และประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านั้น. มิฉะนั้นความยึดถือในกามนี่แหละ จะนำไปสู่ความพินาศฉิบหาย ขอให้เราพิจารณาดูความพินาศฉิบหายของคนทั่ว ๆ ไปตามปรกติก็จะมองเห็นว่า มีมูลมาจากความยึดมั่นถือมั่นในกามอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่กล่าวมาแล้ว. คำว่า “กาม” ในภาษาบาลี มีขอบเขตกว้าวขวางกว่าในภาษาไทย ซึงหมายถึงแต่ความรู้สึกในทางเพศตรงข้ามอย่างเดียว, ถึงเพียงนี้.

นักคิดแห่งยุคปัจจุบัน เช่นนักจิตวิทยาที่ชื่อ Sigmund Freud ยอมเชื่อหรือยอมมีหลักว่า อะไรทุกอย่างที่มนุษย์ทำกันอยู่ในโลก ไม่ว่าอะไร ล้วนแต่มีมูลมาจากสิ่งที่เรียกว่ากามารมณ์นี้ทั้งนั้น. ถ้ามองดูกันในแง่ที่เกี่ยวกับสัตว์โลกทั่ว ๆ ไปแล้ว จะเห็นว่าข้อนี้เป็นความจริงถึงที่สุดจริง ๆ ด้วย, เพราะว่าคนเราจะรักกันก็มีมูลมาจากกามารมณ์, เราจะโกรธกัน เกลียดกัน อิจฉาริษยาฆ่าฟันกันหรือฆ่าตัวเองก็ตาม ก็จะต้องมีมูลมาจากกามารมณ์. เพราะว่าความโกรธความเกลียดนั้น จะต้องมาจากการที่ต่างฝ่ายต่างหวังในกามารมณ์อันใดอันหนึ่ง แล้วมีประโยชน์อันขัดกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ยิ่งคิดไปยิ่งจะเห็นได้ว่า การที่มนุษย์ต้องทำงานต้องขวนขวายต่าง ๆ นานาประการ หรือทำอะไรก็ตาม เราอาจจะสืบสาวเรื่องราวไปจนพบว่ามีความอยากในสิ่งที่ตนใคร่จะได้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมูลฐานอยู่ในส่วนลึกทั้งนั้น. ขอให้พินิจคิดดูแม้แต่ว่าที่เราอุตส่าห์เล่าเรียนเพื่อประกอบอาชีพนี้ ก็ต้องมีมูลมาจากกามารมณ์ เพราะว่าเป็นไปเพื่อให้ได้ผลจากอาชีพ แล้วก็ไปจัดหาความสบายในทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งนั้น; จะมีอะไรมากไปกว่านี้เล่า ! แม้แต่เรื่องทำบุญให้ทานเพื่อไปสวรรค์ ก็เป็นการกล่าวว่ามีมูลมาจากความหวังในทางกามารมณ์ เพราะฉะนั้นอาตมาจึงจำกัดความลงไปว่า “เพียงเรื่องของโลก” อย่าให้ก้าวก่ายไปถึงเรื่องของโลกุตตระ เช่นการที่ออกบวช ทำความเพียรเพื่อตัดกิเลสเสียให้สิ้น เราไม่ถือว่ามีมูลเพื่อจะให้ได้ซึ่งกามารมณ์ เว้นแต่การกระทำของคนบางพวกหรือนักบวชบางพวก ที่ทำเพื่อกามารมณ์ในโลกในภพสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งนั้นก็มีเหมือนกัน, แต่นั่นไม่ใช่ในพุทธศาสนา. แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เรายังมีทางที่จะกล่าวได้โดยอ้อมอีกว่า เพราะเกลียดกลัวกามารมณ์ ซึ่งเป็นเครื่องครอบงำย่ำยีโลกนั่นเอง เราจึงออกประพฤติพรหมจรรย์เพื่อหาวิธีที่จะอยู่เหนืออำนาจของกามารมณ์เหล่านี้เป็นต้น. นี้ก็เรียกว่าการบวชนั้น มีมูลมาจากกามารมณ์โดยอ้อม คือคนละแนว. แต่รวมความแล้ว ก็อาจที่จะกล่าวว่า ความยุ่งยากปั่นป่วนของสัตว์ ของมนุษย์ ของโลกทั้งสิ้นนั้น มีมูลมาจากกามารมณ์ ได้อยู่นั่นเอง.

ทำไมกามารมณ์จึงมีอำนาจร้ายกาจถึงเพียงนี้ ? ก็เพราะเหตุว่า เพราะอำนาจของ กามุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ยึดติดอย่างเหนียวแน่นในกามตัวนี้เอง พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ในฐานะเป็นอุปาทานข้อต้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับโลกโดยตรง. โลกจะตั้งอยู่หรือจะหมุนไป หรือจะแตกดับวินาศฉิบหาย หรือจะเป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีมูลมาจากกามุปาทานนี้โดยตรงและทั่วไป. เราควรจะพิจารณาให้มองเห็นชัดในตัวเราเองว่า เรามีกามุปาทานกันอย่างไร มาตั้งแต่เมื่อไหร่ และเหนียวแน่นเพียงไร และอยู่ในลักษณะที่ออกจะเหลือวิสัยที่เราจะละได้จริง ๆ หรือไม่. ถ้าหากว่าเราไม่พึ่งสติปัญญาของพระพุทธเจ้าแล้ว เราจะสามารถละกามุปาทานกันได้อย่างไร ดูยังมืดมนมาก. สิ่งนี้แหละ คือสิ่งที่เรียกว่า กามุปาทาน อันจะตัดหรือละได้ด้วยการประพฤติปฏิบัติในทางพุทธศาสนาชั้นสูง ไม่ใช่ชั้นศีลธรรม หรือจริยธรรมตามธรรมดา. ถ้าว่ากันอย่างตามธรรมดาหรือพื้น ๆ ทั่วไปอย่างโลก ๆ แล้ว กามุปาทานเสียอีก กลับจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างใหญ่หลวง, ที่ว่ามีประโยชน์ หมายความว่าจะทำให้รักครอบครัว จะทำให้ขยันขันแข็งในการแสวงหาทรัพย์และชื่อเสียง ฯลฯ อะไรเหล่านี้เป็นต้น ล้วนแต่มีมูลมาจากกามุปาทานอยู่ทั้งนั้น ถ้าจะเพ่งไปในทางดีอย่างโลก ๆ ก็นับว่าเป็นกำลังอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนขยันขันแข็ง. แต่ถ้ามองกันในแง่ของธรรม จะรู้สึกว่าเป็นทางมาแห่งความทุกข์ทรมานอันเร้นลับ; เพราะฉะนั้นในทางธรรม กามุปาทานจึงเป็นสิ่งที่ต้องควบคุม หรือถึงกับเป็นสิ่งที่จะต้องละในที่สุด. เราละได้หรือยัง ? เราจะละกันหรือยัง ? นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง. ขอแต่ให้เข้าใจไว้อย่างชัดเจน ว่านี่แหละคือสิ่งที่พุทธศาสนามุ่งหมายจะให้ได้รับการควบคุม, มุ่งหมายจะให้ละในที่สุด; นับเป็นอุปาทานข้อแรก.

ทิฏฐุปาทาน ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ คือความคิดความเห็น ซึ่งเป็นอุปาทานข้อที่สองนั้น ก็เป็นสิ่งที่จะมองเห็นและเข้าใจได้ไม่ยากนักเหมือนกัน พอเราเกิดมาในโลก เราก็ต้องได้รับการศึกษาอบรม ให้เกิดเป็นความเห็นชนิดที่เรียกว่า ทิฏฐิ คือความเห็นชนิดที่มีไว้สำหรับถือรั้นยึดมั่น ไม่ค่อยยอมใครง่าย ๆ นี่เรียกว่า ทิฏฐิ. ความเห็นชนิดนี้ คนทุกคนจะต้องยึดมั่นของตนด้วยกันทั้งนั้น อยู่ในลักษณะที่อาจจะจัดเป็นสัญชาตญาณ; กล่าวอย่างนี้ก็ไม่ผิด. ลักษณะที่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิความคิดเห็นของตนนี้ เป็นไปตามธรรมชาติ เราไม่ติเตียนกันนัก และเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ. แต่ถ้าเรามองให้ดี ก็จะเห็นเป็นโทษเป็นภัยที่ร้ายกาจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน คือไม่น้อยไปกว่ากามุปาทาน. ถ้าคนเรายึดมั่นในทิฏฐิความคิดความเห็นเดิม ๆ ของตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นคนดื้อดึงโดยเด็ดขาดแล้ว ก็แปลว่าจะต้องได้รับความวินาศ. เราจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงทิฏฐิความคิดเห็นของเรานี้ให้ถูกยิ่ง ๆ ขึ้น ให้ดีให้สูงยิ่งขึ้น. แม้ว่าเราจะยังคงยึดถือทิฏฐิอยู่ก็ตาม เราจะต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น คือจากมิจฉาทิฏฐิ ให้ค่อย ๆ กลายมาเป็นสัมมาทิฏฐิ และยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนเป็นสัมมาทิฏฐิถึงที่สุด ชนิดที่รู้อริยสัจจ์ ดังที่อาตมาได้บรรยายแล้วแต่วันก่อน.
ทิฏฐิที่เป็นเหตุแห่งความถือรั้น มีมูลมาจากทางหลาย ๆ ทาง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว มักจะเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี หรือลัทธิศาสนาเป็นส่วนใหญ่. เมื่อกล่าวดังนี้ ก็พอจะเข้าใจกันได้ว่า สิ่งใดที่เราเห็นว่าถูกที่สุด หรือดีที่สุด สิ่งนั้นเราก็จะยึดถือมากที่สุด. ความยึดมั่น ถือมั่น เกี่ยวกับทิฏฐิ จึงมักจะต้องตกไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือลัทธิศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีไว้แสดงถึงสิ่งที่ถือว่าดีที่สุด. ส่วนที่จะมีทิฏฐืถือรั้นเป็นของส่วนตัวเองล้วน ๆ นั้นยังไม่เท่าไหร่ ยังไม่มากมายเท่ากับที่งอกงามมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีหรือศาสนา ที่ค่อย ๆ อบรมสะสมกันมากขึ้น ๆ. ยังมีข้อที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ทิฏฐิต่าง ๆ นี้ ยังเกี่ยวกับความไม่รู้ที่เรียกว่า อวิชชา. เมื่อมีความไม่รู้ ก็มีความเข้าใจเอาเองตามอำนาจกิเลสพื้นฐาน ว่าสิ่งนี้น่ารัก สิ่งนี้น่ายึดเมื่อมีความไม่รู้ ก็มีความเข้าใจเอาเองตามอำนาจกิเลสพื้นฐาน ว่าสิ่งนี้น่ารัก สิ่งนี้น่ายึดถือ สิ่งนี้เที่ยงแท้ถาวร สิ่งนี้เป็นความสุข สิ่งนี้เป็นตัวเป็นตน แทนที่จะเห็นว่าสังขารเหล่านั้นเป็นของปฏิกูล เป็นมายา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้เป็นต้น กระทั่งว่าอะไร ๆ ที่ตนเคยสำคัญมั่นหมาย เคยเข้าใจมาแล้วละก็ ต้องเป็นของถูก ไม่ยอมให้เป็นของผิด เป็นผู้ไม่ยอมผิด ทั้ง ๆ ที่บางทีก็เห็นอยู่ว่าผิด แต่ก็ยอมให้ไม่ได้ เพราะยังสงวนทิฏฐิ ความเห็นอันนี้ไว้เรื่อย. ความเป็นผู้ที่ดื้อดึงซึ่งหน้าอย่างนี้ นับว่าเป็นอุปสรรค หรือศัตรูของคนเราอย่างยิ่ง. มันจะทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลัทธิแห่งความคิดความเห็น หรือความเชื่อในลัทธิศาสนาหรือลัทธินิกายอื่น ๆ ที่จะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น. ปัญหานี้ ย่อมจะเกิดแก่บุคคลผู้ถือลัทธิศาสนาหรือลัทธิอะไรก็ตาม ที่ยังต่ำอยู่. ทั้ง ๆ ที่ตัวเห็นว่าต่ำ ก็เปลี่ยนไม่ได้ เพราะถือเสียว่า เป็นของที่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยถือกันมาบ้าง หรือไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับแก้ตัวขึ้นมาจริง ๆ ก็ถือเสียเพียงว่ามันเป็นสิ่งที่เคยถือมาอย่างนี้ก็ดีแล้ว ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนี้เอง จึงถือว่า ทิฏฐิเป็นกิเลสตัวร้ายกาจ เป็นสิ่งที่น่าอันตรายที่สุดอย่างหนึ่ง, ซึ่งจะถือเป็นของเล็กน้อยไม่ได้, จะต้องพยายามอย่างยิ่ง ให้หน่าย ให้จาง และให้หลุดถอน.

สีลัพพตุปาทาน อันเป็นข้อที่สามนั้น หมายถึงความถือมั่นในการประพฤติกระทำ ที่เคยประพฤติกระทำสืบปรัมปรากันมาอย่างไร้เหตุผล หรือที่ถือว่าเป็นการประพฤติกระทำที่นิยมกันว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ยึดถือไว้ในฐานะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมสละคืน. คนไทยเราทั่วไป ก็มีสิ่งที่เรียกว่า สีลัพพตะ หรือ ศีลพรต ในที่นี้กันไม่น้อยกว่าชนชาติอื่นเหมือนกัน, มีการถือเครื่องรางของขลังและลัทธิพิธีเคล็ดลับต่าง ๆ เช่นว่าตื่นขึ้นมา บางคนจะต้องเสกน้ำล้างหน้า, จะถ่ายอุจจาระเป็นต้น ก็ต้องมีเคล็ดอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นจะต้องผินหน้าทิศนั้นทิศนี้, ขะบริโภคอาหารหรือจะนอน ก็ต้องมีเคล็ดอย่างนั้นอย่างนี้, มีการเชื่อผีสางเทวดา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น, ซึ่งเป็นเรื่องของคนโบราณ. แม้แต่คนสมัยปัจจุบันนี้ก็ยังมีสิ่งที่ตัวยึดถือ หรือมีความยึดถือในทำนองนี้ และโดยเฉพาะก็มักจะเป็นของที่เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี หรือลัทธิศาสนานั่นเอง.
ใจความสำคัญของเรื่องสีลัพพตุปาทาน นี้ อยู่ตรงที่ว่าเป็นระเบียบวิธีประพฤติปฏิบัติที่ทำไปโดยไร้เหตุผล โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผล โดยไม่อาศัยเหตุผล; คงมีแต่ความยึดมั่นถือมั่น แต่ตามตัวหนังสืออย่างเดียวบ้าง, ในฐานะที่เป็นของที่เคยทำแล้ว ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงบ้าง แม้แต่ที่เป็นพุทธบริษัทเป็นอุบาสกอุบาสิกาแท้ ๆ ก็ยังมีของอย่างนี้ ยึดมั่นถือมั่นกันไว้คนละอย่างสองอย่าง; แม้ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ ก็ยังยึดมั่นถือมั่นอะไรบางสิ่งบางอย่างหรือหลาย ๆ อย่าง ในทำนองนี้ ซึ่งเป็นตัวศีลวัตร หรือศีลพรต ชนิดที่ยึดถือไว้ด้วยอุปาทาน. โดยเฉพาะลัทธิศาสนาต่าง ๆ ที่ถือพระเป็นเจ้า ถือเทวดา ถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำนองนั้นด้วยแล้ว จะต้องมีการถือชนิดนั้นมากอย่างยิ่ง. สำหรับพุทธศาสนาเราไม่สู้จะมีมากเหมือนอย่างนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็มีไม่น้อย. ข้อนี้เป็นได้โดยเหตุที่ว่าเมื่อมาประพฤติศีล หรือธรรมะข้อใดข้อหนึ่ง แล้วไม่ทราบความมุ่งหมาย ไม่คำนึงถึงเหตุผล ได้แต่ลงสันนิษฐานเอาเสียว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เมื่อลงได้ปฏิบัติของศักดิ์สิทธิ์แล้ว ย่อมต้องได้รับผลดีเอง; ฉะนั้นคนเหล่านี้จึงสมาทานศีล หรือประพฤติธรรมะ แต่เพียงตามแบบฉบับ ตามตัวอักษร ตามประเพณี ตามตัวอย่าง ที่สืบปรัมปรากันมาเท่านั้น, ไม่เข้าถึงเหตุผลของสิ่งนั้น ๆ แต่เพราะอาศัยการประพฤติกระทำมาจนชิน การยึดถือจึงเหนียวแน่นเป็นอุปาทานชนิดที่แก้ไขยาก. ด้วยเหตุนี้แหละ การที่ใครจะเปลี่ยนจากลัทธิหนึ่ง ไปสู่อีกลัทธิหนึ่ง หรือเปลี่ยนจากศาสนาหนึ่ง ไปสู่ศาสนาหนึ่งนั้น จึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำได้ เพราะอำนาจของศีลวัตรที่ตนประพฤติปฏิบัติสมาทานอยู่ด้วยความยึดถือ หลายวัน หลายเดือน หลายปี หลายสิบปี จนแน่นแฟ้นเปลี่ยนไม่ได้. อันนี้เรียกว่า อุปาทาน ในการประพฤติปฏิบัติที่เคยกระทำสืบ ๆ กันมาอย่างผิด ๆ หรืองมงาย. ต่างจากอุปาทานข้อที่สองข้างต้น ซึ่งหมายถึงการถือในตัวทิฏฐิ หรือความคิดความเห็นที่ผิด. ส่วนข้อนี้เป็นการยึดถือในตัวการปฏิบัติ หรือการกระทำทางภายนอก.

แม้การประพฤติวิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐาน อย่างที่ประพฤติ ๆ กันอยู่ก็ตาม ถ้าหากว่าทำไปด้วยความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย ไม่รู้ความมุ่งหมายอันแท้จริง เหล่านี้แล้ว ก็ต้องเป็นการทำไปด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทานนี้ทั้งนั้น. การกระทำทางศาสนาของคนสองพวก ที่ดูภายนอกเหมือนกันนั่นแหละ จะกลายเป็นว่าพวกหนึ่ง กำลังทำอยู่ด้วยอำนาจสีลัพพตปรามาส เป็นความโง่เขลาชนิดหนึ่งไป เพราะความยึดถือเหนียวแน่นในทางขลังและศักดิ์สิทธิ์ โดยไม่ต้องสงสัย. แม้ที่สุดแต่เราจะรักษาศีล, จะเป็นศีลห้า หรือศีลแปด ศีลสิบ หรือศีลอะไรก็ตาม ถ้ารักษาโดยคิดว่าเราจะเป็นผู้ขลัง ผู้ศักดิ์สิทธิ์ จะมีอำนาจวิเศษอะไรขึ้นมา เพราะการรักษาศีลนั้นแล้ว ก็กลายเป็นสีลัพพตปรามาส ซึ่งทำโดยอำนาจสีลัพพตุปาทานนี้ทั้งนั้น, ไม่จำต้องกล่าวถึงการประพฤติวัตรแปลก ๆ ของพวกเดียรถีย์ ภายนอกพุทธศาสนาเลย; ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องระมัดระวังให้มาก. ในการที่จะประพฤติปฏิบัติตามหลักของธรรมะหรือของศาสนาที่ถูกต้องนั้น มันจะต้องเป็นการถูกต้องไปตั้งแต่ทิฏฐิความคิดความเห็น และความพอใจในผลของการปฏิบัติที่มีเหตุผล ในการทำลายกิเลสไปตั้งแต่ต้นทีเดียว ความประพฤติปฏิบัตินั้น จึงจะไม่เป็นไปเพื่อความยึดถือด้วยอุปาทานที่เหนียวแน่น นอกลู่นอกทางยิ่งขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีสิ่งที่ควรจะมองด้วยเหมือนกัน ว่าเราทุกคน มีอะไรที่เราถือรั้นเหนียวแน่นอยู่ในทางการกระทำหรือประพฤติ ในฐานะที่เป็นลัทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเราถือเสียว่าอยู่เหนือเหตุผลที่จะพิสูจน์. อาตมาอยากจะยืนยันว่า ข้อนี้เป็นทางที่จะทำให้เราตกหลุมพราง ของสีลัพพตุปาทานข้อนี้ โดยไม่รู้สึกตัว, และเป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน ทั้งคนสมัยเก่าทั้งคนสมัยใหม่หรือคนสมัยใหม่เจี๊ยบก็ตาม. ขอให้พิจารณาดูเถอะว่า เรากำลังเชื่อ กำลังพอใจ กำลังยึดถือ ในระเบียบแห่งการประพฤติ การกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดของตน อย่างเหนียวแน่น อย่างที่ใคร ๆ จะมาง้างไม่ได้ทีเดียว ดังนี้ด้วยกันทุกคน, หากแต่ว่ามันแตกต่างกันเป็นหลาย ๆ อย่าง เป็นคน ๆ ไปเท่านั้น. คนเรามามัวหลงใหลอยู่ในสิ่ง ๆ นี้กันเสีย จึงเป็นเหตุให้ติดเหนียวแน่นอยู่ในสิ่งที่ตนเคยถือรั้นผิด ๆ มาแต่เดิม เป็นทางไม่ให้ก้าวหน้าไปในทางสูงของจิตใจ. จิตใจยังคงถูกหุ้มห่อให้มืดมิดอยู่ด้วยอุปาทานข้อที่สามนี้ตลอดเวลา.
อัตตวาทุปาทาน อันเป็นอุปาทานข้อสุดท้ายนั้น แปลว่าความยึดมั่นด้วยวาทะว่าตัวตน. ท่านใช้คำว่า ยึดมั่นด้วยวาทะ คือคำพูดว่าตัวตน แต่ที่จริงไม่ใช่คำพูด. มันเป็นความยึดถือในใจ. หรือถ้าจะพูดว่า ก็เป็นใจพูด คือใจพูดข้างใน ว่านี้มันตัวตน. ความยึดถือว่าตัวว่าตนนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เท่า ๆ กับที่เป็นสิ่งเร้นลับอย่างยิ่ง. ถ้าจะกล่าวให้กว้างออกไปอีก ก็กล่าวได้ว่า เป็นตัวสัญชาตญาณโดยตรง. ความรู้สึกที่มีประจำอยู่ในชีวิตจิตใจของสิ่งที่มีชีวิตนั้น ย่อมจะมีความรู้สึกในข้อที่ว่า เราเป็นเรา หรือเราเป็นตัวตนของเราอยู่ดังนี้เสมอไป อย่างที่จะช่วยไม่ได้ เพราะเหตุว่าความรู้สึกอันนี้แหละ เป็นสัญชาตญาณชั้นมูลฐานที่สุด ของสิ่งที่มีชีวิต และเป็นสัญชาตญาณมูลฐาน ของสัญชาตญาณอื่น ๆ . สัญชาตญาณอื่น ๆ ในที่นี้ ก็เช่นสัญชาตญาณเพื่อจะหาอาหาร กินอาหาร เพื่อให้มีความเจริญงอกงามใหญ่โต รวมทั้งสัญชาตญาณเพื่อต่อสู้อันตราย เพื่อจะหลบหนีอันตราย หรือว่าสัญชาตญาณที่จะสืบพันธุ์เอาไว้ไม่ให้สาบสูญ และสัญชาตญาณอื่น ๆ อีกมาก. แต่ว่าสัญชาตญาณทั้งหมดนั้น ต้องอาศัยอยู่บนสัญชาตญาณแห่งการรู้สึกยึดถือว่าตัวเรา. มันต้องมีตัวเรา หรือมีความยึดถือว่าตัวเราเสียก่อน มันจึงจะไม่อยากตาย มันจึงจะอยากหาอาหารมาเลี้ยงร่างกาย มันจึงอยากจะต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด หรือไม่ให้ได้รับอันตราย มันจึงอยากจะสืบพันธุ์ของมันไว้. มันจะเป็นสัญชาตญาณใด ๆ ก็ตาม ก็ต้องอาศัยอยู่บนสัญชาตญาณที่เป็นมูลฐาน คือสัญชาตญาณที่เป็นความรู้สึกยึดถือว่ามีตัวตนนี่เอง. ความยึดถือว่ามีตัวตนจึงเกิดเป็นสิ่งที่จะต้องมีประจำอยู่ในสิ่งทุกสิ่งที่มีชีวิต ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว มันจะมีชีวิตรอดมาไม่ได้. ขอให้เข้าใจสั้น ๆ อย่างนี้ก็แล้วกัน ว่า ถ้าปราศจากความรู้สึกยึดถือว่าตัวตนแล้ว มันจะมีชีวิตมาไม่ได้ คือมันจะไม่แสวงหาอาหาร มันจะไม่หลบหลีกอันตราย มันจะไม่สืบพันธุ์ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นมีชีวิตมาได้ถึงบัดนี้ ก็หมายความว่ามีสัญชาตญาณแห่งความยึดถือตัวตนนี่แหละเป็นมูลฐาน. แต่พร้อมกันนั้น, พร้อมกันทีเดียว, พร้อมกันไปในตัวนั่นเอง, มันก็เป็นสิ่งให้เกิดความทุกข์ ในการแสวงหาอาหาร ในการต่อสู้ ในการสืบพันธุ์ หรือในการทำอะไรทุก ๆ อย่าง ซึ่งต้องอาศัยความอยาก คือกิเลสตัณหา; เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า มันเป็นมูลฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวงด้วย, ข้อนี้มีพระบาลีที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นใจความว่า ถ้าเราจะพูดกันโดยสรุปความให้สั้นที่สุดแล้ว ก็พูดว่า “สิ่งต่าง ๆ ที่มีอุปาทานยึดครองอยู่นั่นแหละ เป็นตัวความทุกข์ หรือเป็นมูลเหตุของความทุกข์” หรือให้สั้นกว่านั้นอีก ก็ว่า “ร่างกายและจิตใจที่มีอุปาทานเข้าไปยึดถือหรือครอบครองอยู่นั่นแหละ เป็นตัวความทุกข์”๑ ดังนี้. เมื่อเป็นดังนี้ เราเห็นได้พร้อม ๆ กันไปในคราวเดียวกันว่า อุปาทานข้อนี้ เป็นมูลกำเนิดของชีวิตด้วย เป็นมูลกำเนิดของความทุกข์ด้วย พร้อมกัน หรือเคียงคู่กันมา และคำที่ว่า “ชีวิตคือความทุกข์ ความทุกข์คือชีวิต” นี้ ท่านหมายความถึงข้อนี้เอง หรือมีข้อเท็จจริงอยู่ตรงนี้เอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษาดูให้ดี.

ยิ่งกว่านั้น ยังมีคำกล่าวในพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวในฐานะเป็นอุปมาว่า ผู้ที่จะเอาตัวรอดจากความทุกข์ให้ได้นั้น ให้ฆ่าพ่อฆ่าแม่เสีย.๒ ที่ว่า ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ในที่นี้นั้น ก็หมายถึง ฆ่าอุปาทาน หรือ ฆ่าอวิชชา อันเป็นมูลเหตุของตัณหาและอุปาทาน นี้เอง; หมายความว่าถ้าดับอุปาทานที่ยึดถือว่าตัวตนเสียได้ ก็จะหมดความทุกข์ ชีวิตก็จะถึงที่สุดแห่งความทุกข์ หมายความว่า จะไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตายอีกต่อไป จะหมดเหตุหมดปัจจัยที่จะปรุงแต่งให้มีภพมีชาติเกิดใหม่อีกต่อไป, ชาติที่เป็นอยู่ในบัดนี้ จะเป็นชาติสุดท้ายขึ้นมาทันที. การที่เรารู้จักมูลกำเนิดของชีวิต หรือของความทุกข์นี้น่าจะถือว่าเป็นการรู้ในสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุด หรือที่ควรรู้ที่สุด เพราะว่าเป็นทางที่ทำให้เราสามารถกำจัดความทุกข์ได้เด็ดขาดหมดจดสิ้นเชิงถึงที่สุด. ข้อนี้เราอยากจะอวดว่าเป็นวิชาความรู้เฉพาะของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่อาจจะหาพบได้ในศาสนาอื่นที่มีอยู่ในโลกนี้ เท่าที่หลักฐานยืนยันอยู่ในปัจจุบันนี้; ฉะนั้น อาตมาจึงย้ำในข้อนี้ในฐานะที่เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาเรา. ขอให้ท่านนักศึกษาตั้งใจกำหนดจดจำเอาไปศึกษาพินิจพิจารณาให้ละเอียดสุขุมเป็นพิเศษ.
----------------------------------------------------------------------------------------
๑. สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา - โดยสรุปย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน เป็นตัวทุกข์.
๒. มาตรํ ปิตรํ หนฺตวา ราชาโน เทฺว ชตฺติเย ฯ ไตร. ล. ๒๕ น. ๕๔ อุปาทานว่า ตัวตนเป็นเหตุให้มีภพ มีชาติ, จึงถูกเปรียบด้วย พ่อแม่.

วิธีปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับอุปาทาน ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น จะต้องอาศัยการที่เรารู้จักตัวอุปาทาน โดยเฉพาะ อัตตวาทุปาทาน ข้อสุดท้ายนี้ ให้มากเป็นอย่างยิ่ง, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งขึ้นไปอีก ก็ในแง่ที่อาตมาได้กล่าวแล้ว ว่าเป็นมูลฐานของสิ่งที่เรียกว่า ชีวิตหรือของสิ่งที่มีชีวิต และเป็นสิ่งที่มีอยู่เอง เป็นอยู่เอง, มีประจำอยู่เสร็จแล้วในตัว โดยไม่ต้องสอนอะไรกันอีก. ตัวอย่างเช่นเด็กเล็ก ๆ พอเกิดมาจากครรภ์มารดา หรือว่าลูกสัตว์เล็ก ๆ พอเกิดมาจากท้องแม่ ก็มีสัญชาตญาณอันนี้มาด้วยเสร็จ. เราจะเห็นได้ว่าลูกสัตว์เล็ก ๆ เช่นลูกแมว รู้จักขู่ฟ่อ ๆ ในเมื่อเราเข้าไปใกล้มัน ซึ่งเป็นสัญชาตญาณแห่งการต่อสู้ป้องกันตัวเอง. สัญชาตญาณในการรู้จักอยากอาหาร รู้จักแสวงหาอาหาร รู้จักทำอะไร ๆ ที่เข้าข้างตัว ก็เป็นอย่างเดียวกัน. ยิ่งกว่านั้น อัตตวาทุปาทานนี้ ยังเป็นไปมากจนถึงกับว่าเป็นความรู้สึกที่อยู่เหนือเหตุผล คือไม่ต้องอาศัยเหตุผล อาศัยแต่ความรู้สึกที่รู้สึกอยู่แล้วในจิตใจเท่านั้น. ยกตัวอย่างเด็กเล็ก ๆ เขาเดินเซไป เผอิญศีรษะไปกระทบเข้ากับประตู เจ็บ แล้วร้องไห้. พี่เลี้ยงหรือมารดาก็แก้ได้โดยวิธีที่ไปตีประตูแก้แค้นแทนให้, เด็กนั้นก็หายโกรธหรือหายร้องไห้ ดังนี้เป็นต้น. อาการอันนี้ติดมาจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังโกรธสิ่งที่ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณเหล่านั้นได้อยู่เหมือนกัน. เราจะเห็นคนโต ๆ ในขนาดพวกเรานี้ขว้างปาวัตถุสิ่งของนั่นนี่ ลงไปด้วยความโกรธ ในฐานะที่โกรธราวกับว่าสิ่งของนั้นเป็นบุคคลอีกคนหนึ่ง ที่ไม่ทำตามความประสงค์ของตน หรือสิ่งของนั้นมีเจนาที่จะขัดคอขัดขวางตน ดังนี้เป็นต้น. ขอให้พิจารณาถึงข้อที่เด็ก ๆ บางทีก็เตะประตู ตีประตู ตีอะไรต่อมิอะไร ที่ไม่มีชีวิตวิญญาณด้วยความโกรธ. แม้ที่สุดแต่สิ่งที่ไม่มีชีวิตวิญญาณ ถ้าเผอิญมันกระดุกกระดิกได้ เช่นเครื่องจักรของนาฬิกาที่กำลังเดินอยู่เป็นต้น ก็จะเผลอรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีชีวิตวิญญาณขึ้นมาทันที.
เพราะเหตุที่มีอุปาทานว่า มีอะไรที่เป็นตัวตนอยู่ประจำอยู่ในสิ่งทั้งหลาย และอุปาทานนั้นก็สิงประจำอยู่ในจิตในใจของคนทุกคน ฉะนั้นเราจึงสู้ไม่ได้ หรือช่วยไม่ได้ แก้ไม่ไหว ในการที่จะป้องกันมิให้อุปาทานในข้อนี้ แสดงอิทธิพลอะไรออกมา. มันย่อมมีอิทธิพลในการกระทำทุกสิ่งทุกอย่างของคนเรา, เรามีทางทำได้อย่างเดียว คือจะควบคุมมันไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้, จนกว่าจะเจริญด้วยวิชาความรู้ในทางธรรมมากขึ้น ในภายหลัง เราจึงจะสามารถควบคุมมันได้ถึงที่สุด หรืออาจจะเรียกได้อีกโวหารหนึ่งว่า ตัดให้เด็ดขาดลงไปด้วยหลักวิธีที่ทางพุทธศาสนาสอนไว้ จนเราชนะสัญชาตญาณข้อนี้. ถ้ายังเป็นคนธรรมดา คือเป็นปุถุชนแล้ว ย่อมไม่มีทางที่จะเอาชนะสัญชาตญาณข้อนี้ได้เลย. แม้จะเป็นพระอริยเจ้า ก็มีแต่พระอริยเจ้าอันดับสุดท้ายที่สุด คือพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเอาชนะสัญชาตญาณข้อนี้ได้. เราต้องเข้าใจไว้ว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหาของสิ่งที่มีชีวิตทั่ว ๆ ไป ทั้งหมดทั้งสิ้น. ถ้าเราต้องการจะเป็นพุทธบริษัทเต็มตัว คือห้ได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาโดยครบถ้วนแล้ว ก็จำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องนี้ และเอาชนะอุปาทานข้อนี้ให้ได้ให้มากที่สุด เราก็จะได้รับประโยชน์เต็ม ตามที่พระพุทธศาสนามีให้เรา และเราก็จะเป็นพุทธบริษัทแท้.
แม้ในขั้นที่เรายังละไม่ได้ ยังตัดไม่ได้นี้ อาตมาก็ยังขอยืนยันว่าอุปาทานทั้งหมดนี้ ยังเป็นสิ่งที่ควรศึกษา พินิจพิจารณาอย่างละเอียดสุขุม และทำการควบคุมมันให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้; นั่นแหละ เราจึงจะค่อย ๆ เป็นอิสระแก่ตัวเราเอง คือเป็นอิสระแก่กิเลส แต่เราใช้คำว่าเป็นอิสระแก่ตัวเราเอง. ในการที่เราจะปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของเราให้ถูกต้องตรงตามอุดมคติของเรา ยกตัวอย่างเช่นบรรดาท่านทั้งหลายเหล่านี้ ที่จะออกไปเป็นตุลาการประจำศาล อย่างน้อยที่สุด ท่านก็ต้องมีหลักหรืออุดมคติในข้อที่ว่า จะไม่ลำเอียงด้วยอคติทั้งสี่. แต่ว่าเพียงความรู้หรือความตั้งใจว่าจะไม่ลำเอียงด้วยอคติทั้งสี่ ในขณะที่เราควบคุมอุปาทานข้อนี้ไม่ได้เสียเลยนั้น จะเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด. การที่เราจะไม่มีอคติขึ้นมาเฉย ๆ ง่าย ๆ นั้น ไม่ได้แน่. นั่นเป็นสิ่งที่มีได้ยาก หรือเป็นสิ่งที่เหลือวิสัย. แต่ถ้าหากว่าเราได้ศึกษารู้จักกิเลสตัณหาอุปาทาน หรืออัตตวาทุปาทานข้อนี้โดยเฉพาะ ให้แจ่มแจ้งที่สุด และทำให้อยู่ในความควบคุมของเราให้มากที่สุดแล้ว การที่จะเป็นคนไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง จะเป็นของง่ายที่สุด ทั้งจะเป็นของสบายที่สุดด้วย; และเราจะไม่ต้องเสียใจภายหลัง. เมื่อเราปฏิบัติหน้าที่ของเราได้บริสุทธิ์ผุดผ่องตามอุดมคติแล้ว เราก็มีแต่ความสุขใจแท้จริงตลอดไป. ถ้าเราปฏิบัติไม่ได้เพราะว่าเราสู้มันไม่ได้ ควบคุมมันไว้ไม่ได้ เราก็ต้องเสียใจภายหลังเป็นธรรมดา และเป็นทางมาแห่งการเสื่อมเสียอย่างอื่นสืบไปอีก ไม่มีที่สิ้นสุด.
การที่เรารู้จักมูลฐานของสิ่งที่เป็นปัญหาประจำวันของเรานั้น นับเป็นกุศล หรือความฉลาดถึงที่สุด อาตมาจึงรบเร้าท่านนักศึกษาทั้งหลาย ให้สนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะก็คือเรื่องอุปาทานทั้งสี่ อันเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า ทั้ง ๆ ที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่น่ายึดถือ-ไม่น่าเอา-ไม่น่าเป็นอยู่ตามธรรมชาติ เราก็ยังตกไปเป็นบ่าวเป็นทาสมันอย่างเหนียวแน่น. นั่นเพราะอะไร ? ก็เพราะอำนาจของอุปาทานทั้งสี่นี่เอง. ฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาให้รู้จักสิ่งที่เป็นอันตรายเป็นพิษร้ายนี้ให้มากที่สุด. สิ่งนี้มิได้แสดงตัวเป็นพิษหรือเป็นอันตรายอย่างลุกโพลง ๆ เช่นกับไฟ หรือรู้จักได้ง่ายเช่นอาวุธหรือยาพิษเป็นต้น; แต่มันเป็นของที่เร้นลับแนบเนียน อยู่ในลักษณะหรือฐานะเป็นของความเอร็ดอร่อย เป็นของหอมยวนใจ เป็นของสวยงาม เป็นของไพเราะ เหล่านี้ทั้งนั้น. เมื่อมันมาในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเป็นการยากที่เราจะรู้สึกตัวหรือควบคุมมันได้ จึงต้องอาศัยสติปัญญาของพระพุทธเจ้า อาศัยความรู้ของพระพุทธเจ้ามาศึกษาปฏิบัติ ควบคุมอุปาทานเหล่านี้ ให้อยู่ในอำนาจของปัญญา ก็จะสามารถดำรงชีวิตนี้ ให้เป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็นทุกข์ทรมาน หรือเป็นทุกข์ทรมานแต่น้อยที่สุด หรือสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่การงาน มีชีวิตเป็นคนมีลมหายใจอยู่ในโลกนี้ ในลักษณะที่เยือกเย็น มีความสะอาด สว่าง สงบ ตามสมควร.
เป็นอันว่าในวันนี้ อาตมาได้ชี้ให้เห็นสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งมีอยู่ในท่านทุก ๆ คน สำหรับจะเกี่ยวพันท่านทั้งหลายไว้กับความทุกข์ หรือเกี่ยวกันไว้กับโลก อันเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ หรือกับสิ่งทั้งปวง อันเป็นที่ตั้งของความทุกข์ พอควรแก่เวลาแล้ว. โอกาสหลังจะได้บรรยายถึงข้อที่ว่ามันได้ผูกพันเราเข้ากับสิ่งใดในลักษณะอย่างไร๑ เพื่อให้เห็นชัดเจน แล้วจะได้ควบคุมมันให้ดีที่สุด อุปาทานทั้งสี่นี้ เป็นปัญหาอันเดียวที่พุทธบริษัท หรือผู้ประสงค์จะรู้พุทธศาสนาจะต้องเข้าใจ เพราะว่า ที่สุดที่จบของพรหมจรรย์ในพุทธศาสนานี้ก็คือการทำจิตให้หลุดพ้นจากอุปาทาน. ท่านทั้งหลายจะได้พบคำกล่าวนี้ในท้ายสูตร ในพระบาลีทุก ๆ สูตร ที่กล่าวถึงการบรรลุธรรมชั้นพระอรหันต์. ในที่นั้นจะมีคำว่า “จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน” แล้วก็จบกัน เพราะว่าเรื่องการบรรลุมรรคผลจบกันเพียงเท่านั้นเอง. เมื่อจิตหลุดพ้นจากอุปาทานแล้ว ก็หมายความว่าไม่มีอะไรที่มาผูกคล้องจิตนั้น ให้ไปตกเป็นทาสของโลกได้ หรือเวียนเกิดในโลกอีกต่อไป เรื่องมันจึงจบหรือกลายเป็นโลกุตตระ คือพ้นโลกซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์; เหตุนั้นการหลุดพ้นจากอุปาทานจึงเป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา. อาตมาเห็นว่าเรามีเวลาน้อยด้วยกัน จึงได้เลือกสรรเอาแต่เรื่องที่เป็นใจความสำคัญมากล่าว. ขอให้ท่านทั้งหลายผู้หวังจะศึกษาพระพุทธศาสนา จงกำหนดจำให้แม่นยำ นำไปพินิจพิจารณาโดยละเอียดสุขุม เป็นประจำทุกครั้งที่ได้บรรยายด้วย. อาตมาขอแสดงความขอบคุณล่วงหน้าต่อท่านที่ทำเช่นนั้น.
ขอยุติคำบรรยายวันนี้ เพราะหมดเวลาเพียงเท่านี้.
-------------------------------------------------------------------------
ไฟล์แนบ
images (46).jpg
images (46).jpg (13.11 KiB) เข้าดูแล้ว 1016 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 22/entry-6

..คู่มือมนุษย์(ฉบับสมบูรณ์)/ท่านพุทธทาส : บทที่ ๔/ไตรสิกขา


ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย,
อาตมาได้บรรยายให้ทราบ ในการบรรยายครั้งแรกที่สุด ถึงข้อที่ว่า หลักพระพุทธศาสนาทุก ๆ เรื่อง ล้วนแต่สรุปลงได้ในหลักที่ว่าเป็นการแสดงให้เห็นแจ้งตามที่เป็นจริง ในสิ่งทั้งปวงว่าอะไรเป็นอะไร จนปฏิบัติถูกต่อสิ่งนั้น ๆ เท่านั้นเอง ข้อนี้เท่ากับเป็นการกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า พระไตรปิฎกทุก ๆ หน้า ล้วนแต่เป็นคำบอกกล่าวว่า “อะไรเป็นอะไร” เท่านั้น. ในครั้งถัดมาได้บรรยายให้ทราบชัดลงไปว่า ที่ว่าอะไรเป็นอะไร นั้น ใจความที่สำคัญที่สุดก็คือ ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรที่น่าหลงใหลปรารถนาหรือยึดถือเลย อันเรียกว่า เรื่องไตรลักษณ์. ถัดมาอีก ได้แสดงให้ทราบว่า การที่เข้าไปหลงใหลในสิ่งต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นเป็นเพราะการผูกพันของอุปาทาน หรือความยึดถือถึง ๔ ประการ ด้วยอำนาจของอวิชชา จึงได้เป็นทุกข์นานาชนิดและไม่สร่าง. ทั้งหมดนี้เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่ง อันเป็นส่วนที่ลึกซึ้ง และเป็นใจความสำคัญที่เราจะต้องเข้าให้ถึงในเบื้องต้นเสียก่อน เราจึงจะเข้าใจในข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นหมวดเป็นหมู่ เพื่อดับความทุกข์ต่าง ๆ ที่มีมูลมาจากตัณหา หรืออุปาทานเหล่านั้นได้โดยง่าย, ฉะนั้นในวันนี้ เราก็มาถึงวาระที่จะต้องบรรยายให้ทราบกันต่อไปว่า ทำอย่างไรหรือมีวิธีใด ที่จะตัดอุปาทานเหล่านั้นเสียให้ได้ โดยเฉพาะหลักพุทธศาสนาทั่ว ๆ ไป เราจะได้ยินได้ฟังคำต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้เฉพาะเป็นอันมาก แต่เกี่ยวกับกรณีนี้ ก็คือคำ ๓ คำที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา. ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ มีมูลสำคัญอยู่ตรงที่มีไว้เพื่อดับความทุกข์อันเกิดมาจากอุปาทาน ๔ ประการ ดังที่กล่าวแล้วนั่นเอง. ข้อปฏิบัติสำหรับให้ทุกคนปฏิบัตินั้น ท่านมีลำดับไว้เป็นชั้น ๆ. สำหรับคนที่ยังไม่สามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติในขั้นสูง ก็มีข้อปฏิบัติต้น ๆ ให้ปฏิบัติไปก่อน แล้วก็จะค่อยก้าวเข้าไปหาข้อปฏิบัติในชั้นสูง ที่จะตัดอุปาทานหรือตัดกิเลสส่วนลึกได้อยู่ดี; เหตุนี้จึงต้องมีข้อปฏิบัติหรือสิกขาเป็นชั้น ๆ.
.
ข้อปฏิบัติ ๓ ชั้น ที่เรียกว่า ไตรสิกขา หรือสิกขา ๓ อย่างนั้น ชั้นแรกที่สุด เรียกว่า “ศีล” หมายถึงการประพฤติดีประพฤติถูกตามหลักทั่ว ๆ ไป ที่มีหลักอยู่ว่า ไม่เป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ในการที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่เป็นสังคมมนุษย์ หรือเกี่ยวข้องกันภายในครอบครัว หรือแม้ที่สุดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ที่เป็นของจำเป็นแก่ชีวิต ซึ่งทั้งหมดนั้น เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ในลักษณะที่จะไม่เกิดโทษ หรือเกิดอันตรายขึ้นจากสิ่งเหล่านี้. ข้อปฏิบัติเหล่านี้ ในชั้นนี้ เรียกว่า ศีล. ถ้าเรียกเต็มที่ ก็เรียกว่า “สีลสิกขา” แปลว่า สิ่งที่ควรศึกษา หรือควรอบรมที่เป็นชั้นศีล. แม้จะมีการจำแนกไว้เป็น ศีลห้า ศีลแปด หรือศีล ๒๒๗ และอื่น ๆ อีกเป็นอันมากก็ตาม แต่รวมใจความแล้ว ก็อยู่ตรงที่เป็นการปฏิบัติ เพื่อความปรกติสงบเรียบร้อย ปราศจากโทษชั้นต้น ๆ ที่เป็นไปทางกาย ทางวาจา ทั้งที่เกี่ยวกับสังคม หรือส่วนตัว หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การเป็นอยู่ ดังที่กล่าวมานี้ทั้งนั้น, รายละเอียดเรื่องศีลนั้น ๆ จะหาศึกษาได้จากตำรับตำราอันว่าด้วยเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เป็นราย ๆ ไป

สิกขาชั้นที่ ๒ ที่สูงขึ้นไปอีก เรียกว่า “สมาธิ” ข้อนี้ได้แก่การที่ผู้นั้นสามารถบังคับจิตใจของตัวไว้ได้ ในสภาพที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดตามที่ตนต้องการ. ขอให้นักศึกษาทั้งหลายตั้งข้อสังเกตความหมายของคำว่าสมาธิไว้ ให้ถูกต้อง : โดยมากท่านทั้งหลายย่อมจะได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า สมาธินั้นคือ ความตั้งใจมั่นแน่วแน่ ถึงกับว่าผู้นั้นแน่นิ่งเหมือนกับท่อนไม้หรือคนตายไปเลย อย่างนั้นเสียโดยมาก; หรือที่ดีกว่านั้น ก็มักจะกล่าวกันแต่เพียงว่า เป็นจิตที่สงบ เป็นจิตที่บริสุทธิ์. แต่ลักษณะเพียง ๒ อย่างนั้น ยังไม่ใช่ความหมายอันแท้จริงของสิ่งที่เราเรียกว่าสมาธิโดยสมบูรณ์ เพราะยังมีอีกคำหนึ่ง ซึ่งถ้ากล่าวโดยภาษาไทย ก็ได้แก่การทำจิตนั้นให้เหมาะสมที่จะให้ทำการงานทางจิต; เป็นการบังคับจิต ฝึกฝนจิต หรืออบรมจิต หรืออะไรก็สุดแท้ ให้จิตอยู่ในลักษณะที่พร้อม ที่มีสมรรถภาพถึงที่สุด ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางจิต. ข้อนี้เอง เป็นความมุ่งหมายอันแท้จริงของสิ่งที่เรียกว่าสมาธิ. การกล่าวเช่นนี้มีหลักในพุทธวจนะนั่นเอง : พระองค์ทรงแสดงลักษณะของจิตด้วยคำอีกคำหนึ่งซึ่งเป็นคำสำคัญที่สุด คือคำว่า กมฺมนิโย แปลว่า สมควรแก่การทำงาน; และคำนี้ เป็นคำสุดท้ายที่ทรงแสดงลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ. เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจคำว่า สมาธิ ๆ นี้ ว่ามีความมุ่งหมายถึงการบังคับจิต สามารถบังคับจิตให้ตั้งอยู่ในภาวะที่พร้อมที่สุด ที่จะทำการงานในทางจิต; ไม่ใช่ให้บริสุทธิ์เฉย ๆ ไม่ใช่ให้ตั้งมั่นสงบเงียบหรือแน่นิ่งไปอย่างเดียว ก็หามิได้. ข้อนี้มีความหมายที่กำกวม อันอาจทำให้เข้าใจผิดได้ดังนี้. คำว่า สมาธิ แปลว่าจิตตั้งมั่นก็จริง แต่ต้องหมายถึงตั้งมั่นในลักษณะที่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน ไม่ใช่ตั้งมั่นในลักษณะที่ไม่ปฏิบัติงานใด ๆ คือสงบนิ่งเงียบอยู่เฉย ๆ เพราะมีความเข้าใจผิดบางสิ่งบางอย่างในเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก ๆ แล้วก็เลยยึดถือกันเสียอย่างนั้น

อีกประการหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสับสนกันขึ้น หรือพอใจในทางที่จะยึดถือความหมายเป็นความสงบเงียบ มากกว่าอย่างอื่นนั้น มันมีลู่ทางอยู่บ้างเหมือนกัน คือเมื่อจิตเป็นสมาธิสงบเงียบ ไม่มีอะไรรบกวนแล้ว ในขณะนั้นย่อมรู้สึกเป็นความสุขอย่างยิ่ง; ทีนี้คนก็เกิดชอบความสุข พอใจความสุขชนิดนั้น เลยรักการสมาธิในทางที่เป็นเช่นนั้น ไม่ได้พอใจสมาธิในลักษณะที่จะปรับปรุงจิตให้เหมาะสมที่จะทำการพิจารณาหรือค้นคว้าสืบไป. เพราะเหตุฉะนี้เอง นักสมาธิส่วนใหญ่ จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของความสุข อันเกิดจากความสงบของจิต แล้วก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ไม่สามารถทำสมาธิของตนให้สูงขึ้นไป จนถึงกับเป็นพื้นฐานหรือเป็นบาทฐานของการเจริญปัญญา อันจะทำให้เข้าถึงพระนิพพานได้. มิหนำซ้ำ ยังจะตกอยู่ในลักษณะของความหลง คือหลงเอารสแห่งความสุขที่เกิดจากสมาธินั้น เป็นพระนิพพานไปเสียตั้งแต่ขั้นนี้ก็มี แล้วก็เลยติดตังถอนตัวออกจากความพอใจนั้นไม่ได้ ทำให้เกิดการไม่ก้าวหน้าไปจนถึงปัญญาชนิดที่จะตัดตัณหาหรืออุปาทานได้. ฉะนั้นเราควรจะเข้าใจคำว่า สมาธิ กันให้ถูกต้อง. สิ่งที่เรียกว่าสมาธินี้ ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จิตตสิกขา” แปลว่า สิ่งที่ควรศึกษาหรืออบรมในทางบังคับจิต หรือเกี่ยวกับจิต; จัดเป็นสิกขาข้อที่ ๒ ต่อจากสีลสิกขา.

ส่วน สิกขา ชั้นที่ ๓ นั้น เรียกว่าปัญญาสิกขา. สิกขาคำนี้หมายถึงการฝึกฝนอบรม ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุด ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง. ความหมายของเรื่องนี้ สำคัญอยู่ตรงที่คำว่า “ตามเป็นจริง” หรือตามที่พระบาลีว่า ยถาภูตัง แปลว่า ตามที่มันเป็นจริง. คนเราตามปรกติไม่สามารถรู้อะไร ๆ ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง คือมักถูกต้องแต่ตามที่เราเข้าใจเอาเอง หรือสมมติกันโดยมาก มันจึงไม่ใช่ตามที่เป็นจริง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่สมบูรณ์; ด้วยเหตุนี้ ทางพุทธศาสนาจึงมีระเบียบปฏิบัติ ที่เรียกว่า ปัญญาสิกขา ขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เป็นส่วนสุดท้าย สำหรับจะได้ฝึกฝนอบรมให้เกิดความเข้าใจ และความเห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ตามที่เป็นจริงและโดยสมบูรณ์.

ขอให้ตั้งข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ตำว่า “ความเข้าใจ” กับ คำว่า “ความเห็นแจ้ง” นั้น ในทางธรรมแล้ว ไม่อาจจะเป็นอันเดียวกันได้. ความเข้าใจ นั้น ต้องอาศัยอยู่บนการคิดคำนวณไปตามหลักของคณิตศาสตร์บ้าง ของตรรกคือการใช้เหตุผลบ้าง หรือตามวิธีของปรัชญาคือการอนุมานเอาตามเหตุผลต่าง ๆ บ้าง, นี้เรียกว่าเป็น “ความเข้าใจ” เท่านั้น. ส่วนความเห็นแจ้ง นั้น ไปไกลกว่านั้น คือต้องเป็น สิ่งที่เราได้ซึมซาบมาแล้ว ด้วยการผ่านสิ่งนั้น ๆ มาแล้วด้วยตนเอง หรือว่า ด้วยการบ่มจิตใจให้เกี่ยวเนื่องอยู่กับสิ่งนั้น ด้วยพิจารณาจนเกิดเป็นความรู้สึกในใจขึ้นมาจริง ๆ ในลักษณะที่จะเบื่อหน่ายหรือไม่หลงใหลในสิ่งนั้น ๆ ด้วยใจจริง ๆ ไม่ใช่ด้วยเหตุผล. เพราะฉะนั้นคำว่า ปัญญาสิกขา ตามหลักของพุทธศาสนาจริง ๆ นั้น จึงไม่ได้หมายถึงปัญญาที่เป็นไปตามอำนาจเหตุผลเหมือนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษา ของวิชาการสมัยปัจจุบัน, แต่เป็นคนละอย่างทีเดียว. ปัญญาในทางพุทธศาสนา ต้องเป็นการรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยใจจริง ๆ ด้วยการผ่านสิ่งนั้น ๆ ไปแล้ว โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง. ที่เรียกว่าผ่านสิ่งนั้น ๆ ไปแล้วนั้น หมายถึงอาการที่เราชอบใช้เรียกด้วยคำต่างประเทศคำหนึ่ง คือคำว่า Experience. คำนี้หมายถึงความรู้สึกด้วยใจจริงในสิ่งที่ได้ผ่านไปแล้ว จนฝังใจแน่วแน่ ไม่อาจจะลืมเลือนได้. เพราะฉะนั้นในการพิจารณาทางปัญญา ตามสิกขาข้อนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งต่าง ๆ ที่ได้ผ่านมาแล้วแต่หนหลังในชีวิตของเราเอง เป็นเครื่องพินิจพิจารณา. หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ต้องใช้เรื่องที่มีน้ำหนักมาก พอที่จะทำให้จิตใจของเราเกิดความสลดสังเวชเบื่อหน่าย ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เหล่านั้นได้จริง ๆ. ถ้าเราจะคำนวณตามหลักของเหตุผลหรืออะไรทำนองนั้น มาทำการวินิจฉัยลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กันสักเท่าไรก็ตาม มันก็ได้แต่ความเข้าใจอยู่นั่นเอง ไม่มีทางให้เกิดความสลดสังเวชได้ ไม่มีทางให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงหรือในโลกได้. ขอให้เข้าใจว่า กิริยาอาการที่จิตใจเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งที่ตนเคยหลงรักนั่นแหละ คือตัวความเห็นแจ้งในที่นี้. ตามหลักของธรรมะ ได้บัญญัติไว้ชัดเจนทีเดียวว่า ถ้าเห็นแจ้งจริง ๆ ก็ต้องเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จะหยุดอยู่เพียงแค่เห็นแจ้งนั้นไม่ได้. ถ้าเราเข้าใจสังขารข้อใดข้อหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในโลกนี้ อย่างที่เรียกว่าเห็นแจ้งแล้ว ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในสิ่งนั้น จะต้องเกิดติดตามขึ้นมาทันควัน โดยไม่ต้องแยกกัน เพราะมันแยกกันไม่ได้ เมื่อมีผลถึงขนาดที่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายคลายกำหนัดแล้ว เราจึงจะเรียกว่าเป็นการเห็นแจ้ง หรือเป็น ปัญญา ในที่นี้; เรียกว่ารู้จักและเข้าใจสิ่งนั้น ๆ อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริงและสมบูรณ์.

โดยเหตุดังกล่าวมานี้ ผู้ที่ปฏิบัติในทางปัญญาตามหลักของธรรมในทางพุทธศาสนา จึงไม่ค่อยจะใส่ใจถึงเรื่องการใช้เหตุผลกันนัก ไม่เหมือนกับการศึกษาในทางศาสตร์ต่าง ๆ ของสมัยปัจจุบัน. เราจะอาศัยความรู้สึกในใจจริง ๆ ที่เคยมี เคยเป็น เคยผ่านมาแล้วแต่หนหลัง เป็นสำคัญ; หรือแม้จะมีการเทียบเคียงด้วยเหตุผลกันบ้าง ก็ต้องใช้เหตุผลโดยเอาสิ่งที่ได้ผ่านมาแล้วแต่หนหลังนั้น มาเป็นเหตุผล ไม่ใช่เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทางคำนวณอะไรทำนองนั้นเป็นต้น ก็หามิได้; การเห็นแจ้งนั้นจึงจะเป็นปัญญาชนิดที่ออกผลแก่จิตแก่ใจในขณะนั้นเลยทีเดียว ไม่ใช่เป็นความรู้ความเข้าใจชนิดที่จะต้องเก็บสะสมไว้มาก ๆ เรื่อย ๆ ไป จนกระทั่งลืมเลือนฟั่นเฟือนไปด้วยเหตุผลนั้นเอง. เหตุผลก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้; ถ้ายังคงเรียกว่าเหตุผลอยู่เพียงใดแล้ว ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่เพียงนั้น, เพราะฉะนั้นตัวเหตุผลเองก็เปลี่ยนแปลงได้. เมื่อเหตุผลเปลี่ยนแปลงได้ ความรู้ความเข้าใจของบุคคลนั้น ก็เปลี่ยนแปลงได้และไม่ที่สิ้นสุด; ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่อาจจะพ้นทุกข์ด้วยลำพังความเข้าใจ, จะพ้นทุกข์ได้ก็ต้องด้วยความเห็นแจ้ง. เพราะเหตุนี้แหละ ท่านจึงมีระเบียบให้พิจารณาธรรมจากของจริง และด้วยความรู้สึกอันแท้จริง จึงจะเรียกว่าเป็น ปัญญา ในที่นี้. เมื่อมีปัญญาในลักษณะเช่นนี้แล้ว ก็สามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงได้จริง ๆ , รวมเรียกว่าปัญญาสิกขา.

สรุปความในตอนนี้ว่า สิกขามีอยู่ ๓ สิกขาด้วยกัน คือ สีลสิกขา ได้แก่การฝึกฝนอบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติถูกต้อง ทั้งที่เกี่ยวแก่สังคมทั้งหมด ทั้งที่เกี่ยวแก่ครอบครัว ทั้งที่เกี่ยวกับสิ่งของไม่มีชีวิตวิญญาณ; และ จิตตสิกขา คือการฝึกฝนอบรมให้มีความสามารถบังคับจิต ให้อยู่ในอำนาจ ให้สงบเงียบเป็นสุขก็ได้ ให้บริสุทธิ์สะอาดดีก็ได้ ให้สามารถ คือว่ามีสมรรถภาพพร้อมที่จะปฏิบัติงานใด ๆ ต่อไปก็ได้; และสิกขาที่ ๓ คือ ปัญญาสิกขา นั้นหมายถึงการอบรมจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่จริงถึงที่สุด จนถึงกับถอนความยึดถือด้วยอุปาทาน คือถอนความโง่หลงต่าง ๆ ออกไปได้จากใจ ซึ่งเป็นการถอนจิตใจให้หลุดออกมาเสียจากสิ่งที่มันเคยเข้าไปผูกพันไว้ตั้งแต่ต้นมา.

คำว่า สิกขา นี้ เป็นภาษาบาลี. ภาษาสันสกฤตก็คือ ศึกษา. ที่เราเขียนกันในภาษาไทยว่า ศึกษา นั้น เป็นรูปสันสกฤต. ที่แท้ก็เป็นคำ ๆ เดียวกันกับคำว่า สิกขา, ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงจะได้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกสักอย่างหนึ่งว่า เกี่ยวกับภาษานี้ มันมีการเลื่อนหรือการดำเนินไปตามลำดับ ดังที่จะเห็นได้ว่า คำว่า สิกขา ในภาษาบาลีนั้น เขาหมายถึงการอบรมหรือการกระทำลงไปจริง ๆ ทีเดียว, เช่น สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ที่กล่าวมาแล้วนั้น หมายถึงการอบรมกาย วาจา ใจ ลงไปตรง ๆ ทีเดียว, ไม่ใช่หมายถึงการเล่าเรียนอย่างที่เราหมายถึงกันเดี๋ยวนี้ด้วยคำว่าศึกษานี้. นี้, เป็นเรื่องของภาษาเดินได้. ภาษาเดินไปในทิศทางต่าง ๆ จนเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้. ในที่นี้อาตมาต้องการให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจถูกต้องว่า คำว่า สิกขา หรือ ศึกษา นั้น ในทางธรรม เขาหมายถึงการประพฤติปฏิบัติ ชนิดที่เป็นการอบรมกายวาจาใจโดยตรง คืออบรมตัวเองให้เปลี่ยนจากลักษณะหนึ่ง ไปสู่ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ตามที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นไป.

เมื่อกล่าวถึงหลักของพุทธศาสนา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าพุทธศาสนามีใจความสำคัญอยู่ตรงที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามที่เป็นจริง แล้วถอนกิเลสตัณหาออกเสียได้ เพราะการรู้นั้น ๆ; เมื่อถือตามหลักนี้ เราจะเห็นได้ว่า สีลสิกขานั้นเป็นเพียงสิกขาเบื้องต้น เป็นการตระเตรียมในเบื้องต้น เพื่อให้เรามีการเป็นอยู่ในสังคมชนิดที่จะไม่มีการรบกวน ไม่มีการยุ่งยากลำบาก และเป็นการเตรียมให้เรามีการเป็นอยู่ในครอบครัวที่ผาสุก มีสิ่งแวดล้อมที่ผาสุก เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในทางภายนอก ในขั้นต้นนี้เสียชั้นหนึ่งก่อน, ไม่ใช่สีลสิกขานี้จะไปทำให้เกิดความรู้อะไรสิ้นเชิง หรือทำให้ตัดกิเลสตัณหาอุปาทานได้เด็ดขาด ก็หามิได้; แต่ว่าเป็นการจำเป็นที่เราจะต้องเตรียมตัวเรา ให้เป็นคนเหมาะสมที่จะอยู่ในโลก โดยมีความผาสุกอย่างที่เรียกว่าพื้นฐานทั่ว ๆ ไปกันเสียก่อน. เมื่อเรามีความเป็นอยู่อย่างผาสุก ไม่ถูกรบกวน ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ง่าย ๆ ว่ามันช่วยได้มากเพียงไร ในทางที่จะช่วยให้จิตใจเป็นปรกติ. เพราะฉะนั้นนทางธรรม จึงแสดงอานิสงส์ของศีลไว้หลายอย่างด้วยกัน; แต่อย่างที่สำคัญที่สุด ที่ถือว่าเป็นยอดอานิสงส์ศีลนั้น ท่านเรียกเป็นบาลีว่า สมาธิสํวตฺตนิกา แปลว่า “เป็นไปเพื่อให้เกิดสมาธิ”. อานิสงส์อย่างอื่น ๆ ของศีล เพียงว่าให้อยู่เป็นผาสุก หรือให้ไปเกิดในสวรรค์เป็นต้นก็ตามนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงมุ่งหมายโดยตรง. ท่านทรงมุ่งหมายโดยตรงถึงข้อที่ว่า สมาธิตํวตฺตนิกา นี้เอง, คือจะเป็นบาทฐาน ที่งอก ที่เกิด ที่เจริญ ของสมาธิ. ฉะนั้นเราจึงต้องเตรียมตัวหรือปรับปรุงตัวเรา ให้เป็นผู้อยู่ในโลกด้วยลักษณะที่สะอาดบริสุทธิ์หมดจดเสียก่อน คือให้มีศีลดีเสียก่อนจึงจะส่งเสริมให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสมาธิได้โดยง่าย. ถ้าเรามีเรื่องรบกวนใจมาก เช่นทางสังคมก็มีเรื่องรบกวนมาก มีเรื่องผิด มีเรื่องเสียหาย ในครอบครัวก็มีเรื่องรบกวน มีเรื่องผิด มีเรื่องเสียหาย, แม้ที่สุดแต่เครื่องใช้เครื่องสอยเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวเราอยู่ ก็มีเรื่องผิด เรื่องเสียหาย แล้วจิตใจของเราจะเป้นสมาธิได้อย่างไรกัน. ถ้าเราจะปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราต้องมีศีลดีเสียก่อน จึงจะเกิดผลอันสูงสุด คือส่งเสริมให้เกิดสมาธิในขั้นต่อไปได้โดยง่าย.

ศีลที่ปฏิบัติดีถึงที่สุด ท่านเรียกว่า “ศีลชนิดที่เป็นที่ชอบใจของพระอริยเจ้า” ข้อนี้ท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจได้ไม่ยาก. เราจะเทียบเคียงกันได้โดยลักษณะที่ว่า ถ้าความประพฤติเป็นอยู่ของพวกเรา เป็นที่พอใจของสุภาพบุรุษทั้งหลายได้ ก็แปลว่าความประพฤติของเราใช้ได้, คือมีความประพฤติดี ประพฤติชอบ มีศีล, เพราะคำว่า สุภาพบุรุษ นั้น ท่านหมายถึงคนดี คือเป็นสุภาพบุรุษกันจริง ๆ . แต่ตามทางธรรมนั้น ท่านใช้ว่า พระอริยเจ้าซึ่งยิ่งไปกว่าสุภาพบุรุษ แทนคำว่า สุภาพบุรุษ, คือเอาเป็นว่า เขาเป็นผู้มีกิริยามารยาทหรือการประพฤติปฏิบัติ เป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า, สำนวนอย่างนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน เป็นการแสดงถึงลักษณะของผู้มีศีลได้. ถ้ามีการประพฤติทางกาย ทางวาจา ยังไม่เป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า ก็เรียกว่ายังไม่มีศีลที่ถูกต้อง และสมบูรณ์, ทำนองเดียวกับว่าถ้าเราในปัจจุบันนี้ ประพฤติตนไม่เป็นที่พอใจของสังคมสุภาพบุรุษ ก็แปลว่าเรายังมีความป่าเถื่อน มีความประพฤติที่ไม่น่าคบหาสมาคม. ดังนั้น ถ้าท่านไม่ชอบใช้คำว่า “พระอริยเจ้า” จะใช้คำว่า “สุภาพบุรุษ” แทนก็ได้ แต่ขอให้เป็นสุภาพบุรุษจริง ๆ เป็นผู้ที่เป็นสัตบุรุษจริง ๆ คือเป็นคนดีจริง ๆ . เมื่อมีศีลในลักษณะเป็นที่พอใจของคนดีเช่นนี้แล้ว ไม่ต้องสงสัย ย่อมจะเป็นที่ตั้ง ที่เกิด ที่เจริญของสมาธิได้ นี้เป็นอันเห็นได้ว่า เราได้ปฏิบัติลุล่วงมาด้วยดี ไม่มีช่องทางที่ใครจะติเตียนได้ สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว.

ทีนี้ก็มาถึงบทเรียน ขั้นที่ ๒ คือการสามารถควบคุมจิต หรืออาจใช้จิตของเรานี้ให้บำเพ็ญหน้าที่ของมัน ให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุด. ถ้าฟังดูให้ดี ๆ ท่านก็จะเข้าใจ ความแตกต่างกัน ระหว่างศีล กับสมาธิ ได้โดยง่าย. ลำพังศีล อยู่ที่การประพฤติดี ไม่มีที่ตำหนิ. ส่วนสมาธินั้น เลื่อนขึ้นมาอยู่ตรงที่การมีจิตดี มีความประพฤติทางจิตดี. ในศีลนั้น มีการประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่แสดงออกทางภายนอกดี. ครั้นมาถึงสมาธินี้ มีการประพฤติในทางจิตดี คือไม่มีความผิด ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีความฟุ้งซ่าน และอยู่ในสภาพที่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของตน. อย่างนี้เรียกว่า เป็นผู้อบรมจิต หรือฝึกฝนจิตได้ถึงที่สุด มีผลเกิดขึ้นเรียกว่า สมาธิ แล้ว.

ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ทั่ว ๆ ไปในทางโลก ท่านนักศึกษาทั้งหลายก็เคยได้ยินได้ฟังกันอยู่แล้ว ว่าสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ นั้น เป็นของจำเป็นในทุกกรณี ไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าไม่ทำด้วยจิตที่เป็นสมาธิแล้ว ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์โดยทั่ว ๆ ไป ท่านจึงจัดสมาธินี้ไว้ ในลักษณะเป็นองค์ประกอบอันสำคัญองค์หนึ่ง ของบุคคลประเภทที่เรียกว่ามหาบุรุษ; ไม่ว่าจะเป็นมหาบุรุษทางโลกหรือทางธรรม ล้วนแต่จำเป็นจะต้องมีสมาธิเป็นคุณสมบัติประจำตัวทั้งนั้น. แม้ที่สุดแต่จะเป็นเด็ก ๆ นักเรียน ถ้าไม่มีจิตเป็นสมาธิแล้ว จะคิดเลขได้อย่างไร หรือคนที่จะคิดนึกคำนวณสิ่งใด ๆ ก็ตาม ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิแล้วจะคิดนึกได้อย่างไร แม้ที่สุดแต่ละคนจะเล่นกีฬา แม้แต่คนจะยิงปืนหรืออะไรทำนองนั้น ก็ล้วนแต่ต้องอาศัยสมาธิทั้งนั้น มันจึงทำสิ่งนั้น ๆ สำเร็จไปได้ด้วยดี. หากแต่ว่าสมาธิในทำนองนั้น เป็นสมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติ มันยังอยู่ในระดับอ่อน ๆ หรือต่ำ ๆ . ส่วนสมาธิในทางหลักพระศาสนาที่เรากำลังพูดถึงนี้ เป็นสมาธิที่เราฝึกให้สูงให้ดี ยิ่งขึ้นไปกว่าที่จะเป็นไปตามธรรมชาติ; เพราะฉะนั้นเมื่อฝึกกันสำเร็จแล้ว จึงกลายเป็นจิตที่มีสมรรถภาพ หรือมีกำลังมีคุณสมบัติพิเศษอย่างอื่น ๆ มากมายเหลือเกิน; มันยิ่งไปกว่าเพียงแต่ที่จะคิดเลขถูก หรือยิงปืนถูก หรืออะไรทำนองนั้น. ด้วยเหตุนี้เอง แม้จะไม่คำนึงถึงเรื่องมรรค ผล นิพพาน ที่สูงสุด จะคำนึงกันแต่เรื่องปฏิบัติหน้าที่การงานที่เป็นอาชีพก็ตาม เราก็ยังต้องอาศัยสมาธิกันเสียแล้ว. แม้ที่สุดแต่ท่านทั้งหลายผู้จะเป็นตุลาการในอนาคต ท่านจะต้องอาศัยความเป็นผู้มีความประพฤติดี น่าเลื่อมใส น่านับถือ อย่างจำเป็น นั่นก็ส่วนหนึ่ง; แต่แล้วในที่สุดท่านก็ยังจะต้องอาศัยการมีสมาธิดี ท่านจึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ของท่านให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทำตัวเองให้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลของโลกได้. ถ้าผิดไปจากนั้นแล้ว แม้ไม่ตั้งใจ แม้ไม่มีเจตนาชั่ว เราก็คงจะปฏิบัติงานได้ผลเช่นเดียวกับคนที่มีเจตนาชั่วก็เป็นได้. ฉะนั้นจึงขอให้สนใจในเรื่องของสมาธิไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในฐานะที่เป็นสิกขา ที่มนุษย์เราทุกคนจะต้องศึกษาปฏิบัติอบรมทำให้มี ให้มาก เท่าที่ตนจะทำได้.

การที่คนเราสามารถถือเอาประโยชน์จากสมาธิได้เห็นปานนี้นั้น เรียกว่ามนุษย์ในชั้นนี้ ได้ก้าวขึ้นมาถึงการรู้ ความลับของธรรมชาติ อีกขั้นหนึ่งแล้ว. ข้อนี้หมายถึง การรู้วิธีบังคับจิตให้เป็นจิตที่มีสมรรถภาพยิ่งไปกว่าธรรมดา. คำว่า “ยิ่งไปกว่าธรรมดา” นี้ ก็คือยิ่งไปกว่าที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้. สมาธิตามธรรมดาที่มนุษย์มี ๆ กันอยู่นั้น ไม่เป็นของแปลก. แต่ถ้ามีการฝึกฝนให้ถูกต้องตามวิธี หรือโดยเฉพาะตามหลักของพุทธศาสนานี้แล้ว ก็จะเป็นสมาธิที่เลยระดับของมนุษยธรรม และท่านเรียกว่า อุตตริมนุสสธรรม ชนิดหนึ่งด้วยเหมือนกัน. คำว่า อุตตริมนุสสธรรมนี้ ขอให้จำไว้ด้วย; คงไม่เป็นคำที่สูงเกินไป หรืออยู่นอกวงเกินไป. คำนี้เป็นคำที่ใช้ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาทำไม่ได้ก็แล้วกัน เรียกว่า อุตตริมนุสสธรรม แปลว่า ยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์. ในเพียงชั้นศีล ยังไม่ถือว่าเป็น อุตตริมนุสสธรรม, แม้จะอวดกันบ้าง ก็ยังไม่ถือว่า เป็นอวดอุตตริมนุสสธรรม ยังไม่น่าเกลียด. แต่พอมาถึงขั้นที่เป็นสมาธิ เป็นฌาน เป็นสมาบัติ ที่รวมเรียกว่าสมาธิ นี้แล้ว ท่านจัดเป็นขั้นอุตตริมนุสสธรรม คือยิ่งไปกว่าธรรมดาของมนุษย์, ซึ่งพระภิกษุนี้จะอวดไม่ได้; ขืนอวดก็ชื่อว่าไม่เป็นพระที่ดี, หรือถึงกับไม่เป็นพระเลย แล้วแต่กรณี. พูดตรง ๆ ก็ว่าอย่างนั้น. เพราะฉะนั้นควรจะทราบไว้ว่ามันไม่ใช่เรื่องธรรมดา มันเป็นเรื่องที่สูงกว่าธรรมดา. เมื่อเป็นเรื่องที่สูงกว่าธรรมดา เราก็ต้องลงทุนสักหน่อย คือลงทุนในการที่ต้องอดกลั้นอดทน ในการศึกษาอบรมและปฏิบัติ จนเรามีสมาธิตามสมควรที่เราจะมีได้ แล้วปฏิบัติหน้าที่ของตน และในที่สุดเราก็จะได้ผลในการปฏิบัติหน้าที่ของเรามากไปกว่าที่มนุษย์ธรรมดาเขาได้ ๆ กันเป็นแน่นอน เพราะเรามีเครื่องมือที่สูงไปกว่าที่มนุษย์ธรรมดาเขามี ๆ กัน. เพราะฉะนั้นจึงขอให้สนใจไว้ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ควรสนใจศึกษาอบรมและปฏิบัติ ขออย่าได้ถือว่าเป็นของครึคระโง่เขลางมงายหรือพ้นสมัยแล้ว. จะไปถือว่าเดี๋ยวนี้มันสองพันกว่าปีล่วงมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้ พ้นสมัยแล้วอย่างนี้ หาได้ไม่. มันยังคงเป็นของใหม่สด ที่ต้องการใช้กันอยู่เรื่อยไป และยิ่งในสมัยที่โลกมีอะไร ๆ หมุนเร็วแทบจะลุกเป็นไฟอย่างนี้ด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องการสมาธิมากไปเสียกว่าครั้งพุทธกาลด้วยซ้ำไป; เพราะฉะนั้นขอให้สนใจกันบ้าง อย่าไปหลงคิดว่าเป็นเรื่องในวัด เรื่องสำหรับคนวัด หรือคนงมงายเลย.

ถัดจากนี้ไป เราก็มาถึงความเกี่ยวเนื่องกันในระหว่าง สมาธิสิกขา กับ ปัญญาสิกขา. เมื่อจิตเป็นสมาธิแท้จริงแล้ว เป็นการง่ายดายที่สุดที่จะมีการเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง. ถ้าถือเอาตามคำของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านตรัสไว้เสียเลยทีเดียวว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง” ท่านตรัสไว้สั้น ๆ อย่างนี้ แต่โดยกิริยาอาการนั้นท่านหมายถึงอาการที่จิตประกอบด้วยสมาธิในลักษณะที่เป็นการพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่. ถ้าจิตมีลักษณะเป็นสมาธิในลักษณะเช่นนี้แล้ว ก็จะรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงขึ้นมาได้จริง. ข้อนี้มีความลับอยู่หน่อยหนึ่ง คือว่าเรื่องอะไร ๆ ที่เราอยากจะรู้ หรือปัญหาที่เราอยากจะสางนั้น ตามปรกติมันฝังตัวประจำอยู่ในใจของคนเราทั้งนั้น. เราอาจไม่รู้สึกก็ได้ คือมันอยู่ใต้สำนึก หรือที่เรียกว่า Subconscious ก็ได้ แต่ก็กล่าวได้ว่ามันยังคงมีอยู่นั่นแหละ. ปัญหาอะไรที่สำคัญมาก ที่เราเดือดร้อนมาก ที่ต้องสะสางเพื่อหาคำตอบให้ได้ หรือแม้ที่สุดเพราะมันชวนรู้ น่ารู้ ก็ตาม หรือมันรบกวนความสงสัยไม่มีที่สุดก็ตาม, ตัวปัญหานั้นมันเก็บตัวเองซ่อนอยู่ภายใต้สำนึกเรื่อยไปตลอดเวลา. ในขณะที่เราตั้งใจสะสางให้ออก มันก็ไม่ออก เพราะเหตุว่าบางสิ่งบางอย่างยังไม่บริบูรณ์. มันไม่พร้อมบริบูรณ์ โดยเฉพาะคือความเป็นไปของจิตในขณะนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะสะสางปัญหานั้นออก นั่นเอง, ถ้าผู้ใดเจริญสมาธิ ในลักษณะที่ถูกต้องตามเรื่องของพระพุทธเจ้า คือมีลักษณะที่เรียกว่า กมฺมนิโย พร้อมที่จะปฏิบัติงานทางจิตแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ใต้สำนึกนั้น มันจะมีคำตอบโพล่งออกมา ในขณะที่ได้จัดเตรียมปรับปรุงจิตให้เป็นสมาธิ ในลักษณะที่เรียกว่า กมฺมนิโย นั้นเอง ความรู้นั้นจะออกมาเฉย ๆ เหมือนไม่มีเหตุผล อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ต่อเนื่องจากขณะที่จิตเป็นสมาธิในลักษณะเช่นนั้น. ทีนี้ ถ้าหากมันไม่โพล่งออกมาในลักษณะเช่นนั้น เราก็ยังมีระเบียบวิธีอีกอันหนึ่งที่วางไว้ว่าให้น้อมจิตที่เป็นสมาธิในลักษณะเช่นนั้น แล้วไปสู่การพิจารณาปัญหาที่เรากำลังมีอยู่นั่นเอง. การพิจารณาด้วยกำลังของสมาธิในลักษณะเช่นนี้เอง เรียกว่า ปัญญาสิกขา, หรืออย่างน้อยก็สงเคราะห์เข้าใน ปัญญาสิกขา.

ปัญหาตามปรกติของผู้ปฏิบัติธรรม ก็คือปัญหาที่ว่า ความทุกข์คืออะไร ? เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไร ? ความไม่มีทุกข์คืออะไร ? วิธีดำเนินให้ถึงความไม่มีทุกข์เป็นอย่างไร ? นี้ เป็นปัญหาประธาน เป็นหลักทั่วไป. ปัญหาว่าความทุกข์นี้มาจากอะไร ก็จะรู้ได้ว่ามาจากอุปาทาน, อุปาทานมาจากอะไร ก็รู้ได้ว่ามาจากตัณหา เรื่อย ๆ ไปอย่างนี้ ตามลำดับของปัญหาที่มี แต่แล้วก็ต้องรู้ในขณะแห่งจิตที่เป็นสมาธิในลักษณะตามที่ได้กล่าวไว้. พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในคืนที่ตรัสรู้ คือรู้ปฏิจจสมุปบาทตามลำดับ คือรู้อะไรเป็นอะไร รู้อะไรเป็นอะไร ทยอยกันไปตามลำดับ ก็โดยในลักษณะที่จิตเป็นสมาธิอย่างที่กล่าวแล้ว ซึ่งพระองค์ได้ทรงเล่าเรื่องนี้ไว้ในตอนหลังอย่างละเอียด แต่รวมใจความแล้วก็คือว่า ในขณะที่จิตเป็นสมาธิดีแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อพิจารณาปัญหานั้น.

ท่านนักศึกษาทั้งหลายอาจจะเข้าใจได้ง่ายในข้อนี้ โดยการเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง : ในขณะที่จิตของเรามีลักษณะที่เรียกกันว่าโปร่งดี เราจะน้อมไปเพื่อคิดอะไร สะสางปัญหาอะไร หรือวินิจฉัยอะไร มันก็จะวินิจฉัยได้ดี. นี่แหละคือผลของความเป็นสมาธิ. ถ้าเป็นเรื่องไม่สู้ยากนัก เพียงแต่เราทำจิตให้โปร่ง โดยการไปนั่งหรือไปเดินอยู่ในที่สงัด เช่นในป่าหรือริมทะเล หรือที่ใดก็ตามซึ่งเป็นที่เงียบสงัดเย็นสบายไม่มีอะไรรบกวนจิตใจ อาจทำให้จิตใจโปร่งสงบเย็นเพียงพอ เราก็จะคิดปัญหาข้อนั้นออกได้โดยง่าย แต่มันเป็นปัญหาที่เราคิดในที่วุ่นวาย อึกทึกครึกโครมไม่ออกดังนี้เป็นต้น. ความที่จิตมีลักษณะพร้อมที่จะคิดจะนึกอะไรได้ดี ในที่สงัดดังกล่าวมาแล้วนี้ ก็เป็นลักษณะโดยตรงของจิตที่เป็นสมาธิเหมือนกัน. ส่วนการที่จะคิดปัญหาเกี่ยวกับ มรรค ผล นิพพาน ก็เป็นไปทำนองนั้น. แต่โดยเหตุที่เรื่องนั้นเป็นเรื่องยากมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้สมาธิที่แรงกว่า; เราจึงมีระเบียบวิธีทำจิตให้เป็นสมาธิที่ลึกซึ้งกว่าเป็นพิเศษ. พอเป็นสมาธิได้แล้ว ก็น้อมไปเพื่อพิจารณาปัญหานั้น เพื่อหาคำตอบในทำนองเดียวกัน. ถ้าหากว่าปัญหานั้นมันเต็มปรี่อัดตัวหาทางออกอยู่ในใจเป็นประจำอยู่แล้ว บางทียังไม่ทันน้อมไปเพื่อคิดค้นอะไรนัก คำตอบมันจะโพล่งออกมาได้เองก็มี ตัวอย่างที่ง่าย ๆ เล็ก ๆ ลงไปอีก เช่นว่าก่อนจะนอน เรามีความรำคาญสงสัยอะไรอันหนึ่งอยู่ในใจ คิดเท่าไรก็ไม่ออก แล้วเราก็นอนเสีย. ครั้นได้พักผ่อนตลอดคืน รุ่งเช้าตื่นนอน บางทียังไม่ทันจะล้างหน้า คำตอบของปัญหาข้อนั้น มันก็ออกมาเองเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น. นี้ก็เพราะเหตุว่าร่างกายได้รับการพักผ่อนมีความสดชื่นเป็นเครื่องรองรับจิตได้ดี, จิตได้รับการพักผ่อนปราศจากสิ่งรบกวน แล้วตื่นขึ้นมาในลักษณะที่เป็นสมาธิพอสมควร ปัญหาที่ติดขัดอยู่เมื่อวาน ก็มีคำตอบออกมาเอง เป็นแสงสว่างหรือปัญญาพลุ่งขึ้นมาเองในขณะที่ตื่นนอน.

ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงให้เห็นความจำเป็นที่ว่า ปัญญา กับ สมาธินี้ จะต้องเกี่ยวข้องกันเสมอไป. ถ้าปัญญาไม่ได้อาศัยสมาธิแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้. แต่ว่ากิริยาที่ปัญญาอาศัยสมาธินั้น บางทีเรามองไม่เห็นเลย เช่นในลักษณะที่จิตเป็นสมาธิสดชื่นดี พอตื่นนอนก็รู้อะไร ๆ ที่เป็นคำตอบของปัญหาที่คิดค้างอยู่เมื่อวานได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ทีนี้หลักทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับปัญญาไว้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา ต้องมีปัญญาจึงจะมีสมาธิ. ท่านใช้คำที่ให้น้ำหนักเท่ากันว่า มีปัญญาจึงจะมีสมาธิ มีสมาธิจึงจะมีปัญญา. ข้อนี้เป็นเพราะว่า การที่จะมีสมาธิให้เป็นสมาธิยิ่งไปกว่าสมาธิตามธรรมชาตินั้น มันเป็นเรื่องของปัญญา คือ อย่างน้อยต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับลักษณะอาการต่าง ๆ ของจิต ว่าจะบังคับมันอย่างไรจึงจะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้. ท่านจะเห็นได้ว่าในธรรมที่สำคัญหมวดหนึ่ง คือมรรคมีองค์ ๘ ประการนั้น ท่านยกเอาสัมมาทิฏฐิขึ้นไว้เป็นองค์แรก. สัมมาทิฏฐินั้นหมายถึงปัญญาที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามที่เป็นจริง เหมือนกับที่เราพร่ำพูดกันมามากแล้วข้างต้นนั่นเอง. มันต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อน คนเราจึงอยากทำอะไรที่เป็นฝ่ายดี คือรู้ว่าอะไรมีคุณอย่างไร อะไรไม่ดี มีโทษอย่างไร จึงอยากทำอะไร ๆ ที่ดี ๆ และมีปัญญาทำไปให้ได้ดังที่ต้องการ. ฉะนั้นคนที่มีปัญญาต่างหาก จึงจะสามารถมีสมาธิมากขึ้นได้ตามลำดับ. เมื่อสมาธิมากขึ้น ปัญญาก็ยิ่งมีกำลังมากขึ้นตาม; มันส่งเสริมซึ่งกันและกันไปในตัว กลับไปกลับมากันอยู่ในตัว. ถ้าเรียกอย่างโวหารธรรมะธรรมโมเขาเรียกว่า อัญญมัญญปัจจัย หมายความว่ามันช่วยเหลือแก่กันและกัน. ถ้าอันนี้มากขึ้นมันก็ช่วยอันโน้นให้มากขึ้น, อันโน้นมากขึ้นอีก มันก็กลับช่วยอันนี้ให้มากขึ้นอีก, อันนี้ยิ่งมากขึ้นอีก ก็กลับช่วยอันโน้นให้กลับมากไปกว่าเดิมอีก, เพราะฉะนั้นมันจึงเจริญงอกงามควบคู่กันไปโดยเร็ว.

ทีนี้มีเรื่องที่น่าสนใจอีกว่า คนบางคนมีลักษณะที่เรียกว่าปัญญานำหน้า : ปัญญาแสดงอาการออกหน้าเรื่อย; ลักษณะของสมาธิไม่ค่อยเห็นไม่ค่อยปรากฏ ก็มี. ถ้าเป็นอย่างนี้ เราเรียกเขาว่า คนเจ้าปัญญา จะถูกกว่า คือมีปัญญามาก มีปัญญานำหน้า. คนชนิดนี้ ขอแต่เพียงตั้งใจคิด ลงมือคิดลงมือพิจารณาเท่านั้น ความคิดก็ดำเนินไปได้เป็นปี่เป็นกลองไปทีเดียว เพราะเหตุว่าเขาเอาปัญญานำหน้า สมาธิเป็นแต่คอยช่วยชู ซ่อนอยู่ข้างใน ตามไปข้างหลัง. คนโดยมากอยู่ในจำพวกนี้. การที่คนในโลกนี้ส่วนมากอยู่ในลักษณะเช่นนี้ ก็เพราะว่าเรื่องที่ทำกันอยู่โดยมาก ก็เป็นเรื่องขนาดที่ใช้ปัญญาธรรมดาอย่างโลก ๆ . ส่วน คนอีกพวกหนึ่งนั้น เขามีลักษณะเป็นเจ้าสมาธิ ไม่ใช่เจ้าปัญญาอย่างที่ว่า. ที่ว่าเป็นเจ้าสมาธินั้น คือเขาเป็นคนสุขุม ชนิดที่ต้องรวบรวมกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้น ให้รอบคอบรัดกุมเสียก่อน จึงจะพินิจพิจารณา. หรือดำเนินการพิจารณา เขาเป็นคนชอบทำสมาธิ หรือจะกล่าวว่ามีลักษณะเป็นคนสงบ มีสมาธิอยู่เป็นปรกติ อย่างนี้ก็ได้. แต่ว่าคนประเภทนี้มีน้อย, จัดเป็นคนที่มีสมาธิออกหน้าปัญญา. ในที่สุดเราก็ได้คนเป็น ๒ พวก ที่ต่างกัน, คราวนี้มีคนอีกพวกหนึ่งซึ่งอาจจะมีได้หรือหาได้ในโลกนี้เหมือนกัน. นี้คือ คนที่มีปัญญากับสมาธิพอ ๆ กัน ซึ่งอาตมาเข้าใจว่าจะเป็นพวกที่ปลอดภัยที่สุด สบายที่สุด การฝึกหัดจิตให้เป็นสมาธิ ตามโอกาสที่ควรฝึกหัดอยู่เสมอ ๆ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาในสิ่งที่ควรพิจารณา นาน ๆ เข้าก็จะเป็นนิสัยที่ดี คือเป็นผู้ที่มีสมาธิและปัญญากลมกลืนกัน ซึ่งอาตมาคิดว่าคงจะเหมาะอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับบรรดาท่านทั้งหลายที่จะเป็นตุลาการ.

อาตมาได้อธิบายลักษณะแห่งความสัมพันธ์ของปัญญากับสมาธิพอเป็นที่เข้าใจแล้ว ต่อไปนี้จะได้ระบุ ลักษณะของปัญญา โดยเฉพาะในข้อที่ว่า ถ้ามีสิ่งที่เรียกว่าปัญญาแล้ว จะต้องหมายถึงการมีความเห็นแจ้ง ท่านทั้งหลายจะใช้คำว่าเข้าใจก็ได้ แต่ต้องให้มีความหมายเป็นความเห็นแจ้ง. คือเห็นด้วยปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง; หรือใครจะใช้คำอื่นเช่นคำว่า รู้แจ้ง ก็ตามใจ แต่ต้องให้ได้ความหมายเต็มตามความหมายของพระพุทธเจ้า คือมีผลเป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายสลดสังเวช ถอยหลังออกมาจากสิ่งทั้งปวงที่เคยหลงรัก หลงยึดถือ. ถ้ายังรี่ข้าไปหาสิ่งทั้งปวงด้วยความรัก ความยึดถือ ความหลงใหลแล้ว ไม่ชื่อว่าเป็นปัญญาของพระพุทธศาสนา. ถ้าเป็นปัญญาของพระพุทธศาสนา จะชะงักหรือถอยหลังจากการหลงยึดถือในสิ่งทั้งปวง. ที่ว่าจะชะงักหรือถอยหลังนี้ เป็นทางจิตใจ ไม่ใช่ในทางกิริยาอาการ เช่นจะต้องจับสิ่งนั้นขว้างทิ้งหรือทุบตีให้แตกหัก หรือว่าจะต้องวิ่งหนีเข้าป่าไป อย่างนี้ก็หามิได้; แต่หมายถึงชะงักถอยหลังทางจิตใจโดยเฉพาะ คือมีจิตใจถอยออกจากการที่เคยตกเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง มาเป็นจิตที่อิสระ. ผลของความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งทั้งปวงนั้น เป็นอย่างนี้; ไม่ใช่ให้ไปฆ่าตัวตายหรือไม่ใช่ให้วิ่งหนีเข้าป่าไปบวชเป็นฤๅษี หรือว่าเอาไฟจุดเผาสิ่งต่าง ๆ เสียให้หมด ก็ไม่ใช่. ทางภายนอกจะเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามเรื่อง ยังคงเป็นไปตามเหตุผล ตามความเหมาะสม; แต่ภายในจิตใจนั้น ย่อมเป็นอิสระไม่เป็นทาสของสิ่งใดอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป. นี่และ คืออานิสงส์ของปัญญา, แต่ท่านใช้เรียกด้วยคำบาลีว่า วิมุตติ. ท่านจงจำความหมายของคำว่า วิมุตติ ให้ดี ๆ ; มีคนชอบพูดถึงกันนัก และเอามาล้อเลียนกันอย่างที่ไม่เข้าใจความหมาย. คำว่า วิมุตติ ต้องหมายความว่า หลุดจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะก็เป็นทาสของสิ่งที่เรารัก แต่แม้สิ่งที่เราไม่รัก เราก็ตกเป็นทาสของมันเหมือนกัน ถ้ากล่าวตามโวหารธรรม : เป็นทาสตรงที่ต้องไปเกลียดมันนั่นเอง อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ก็อุตส่าห์ไปเกลียดมัน ไปร้อนใจกับมัน; มันบังคับเราได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับของที่เรารัก แต่อยู่ในลักษณะคนละอย่าง. ฉะนั้น คำว่าเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมหมายถึงทั้งทางที่พอใจและไม่พอใจ.

ทั้งหมดนี้แสดงว่า เราหลุดออกจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงมาเป็นอิสระอยู่ได้ ด้วยอำนาจของปัญญา พระพุทธเจ้าท่านจึงได้วางหลักไว้สั้น ๆ ที่สุดว่า ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ, แปลว่า คนเราบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา. พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตรัสว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ด้วยสมาธิ แต่ตรัสว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา เพราะมันทำให้หลุดออกมาจากสิ่งทั้งปวง. การไม่หลุดออกมาจากสิ่งทั้งปวง หรือการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงนั้น ไม่บริสุทธิ์ คือสกปรกมืดมัวเร่าร้อน. เมื่อหลุดออกมาจากอำนาจครอบงำของสิ่งทั้งปวงในโลกนี้หรือโลกไหน ๆ แล้ว ก็จะมีความบริสุทธิ์สะอาด สว่างไสวแจ่มแจ้ง และสงบเย็น เป็นผลของปัญญา หรือเป็นลักษณะอาการที่แสดงว่า ปัญญาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ของมันถึงที่สุดแล้ว. ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงได้กำหนดพิจารณา สิกขาข้อที่ ๓ คือปัญญานี้ให้ดี ๆ ว่ามันมีอยู่อย่างไร. มันมีอยู่ในลักษณะเป็นของสูงสุดเพียงใด. โดยเฉพาะปัญญาในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ก็คือ ปัญญาที่จะให้ถอนตนออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง โดยการทำลายอุปาทาน ๔ ประการ ดังที่ได้กล่าวแล้วเมื่อวานนี้นั้นเสียให้หมดสิ้น เมื่ออุปาทานทั้ง ๔ นั้น เป็นเหมือนกับเชือกที่ผูกมัด หรือโซ่ตรวนที่ล่ามเราไว้ หรือเป็นกรงที่ขังเราไว้ แล้วปัญญาก็จะเป็นเหมือนมีดหรือวัตถุที่มีคม ที่จะตัดจะทำลายสิ่งเหล่านั้นให้พินาศไป ไม่มีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดเราให้ติดอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ต่อไป.

นี่แหละ คือบทเรียนในพระพุทธศาสนาซึ่งมีอยู่ ๓ บท คือ ศีล สมาธิ ปัญญา. เมื่อว่ากันโดยการปฏิบัติแล้ว พระพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติอย่างนี้. การปฏิบัติ ๓ ประการนี้ ถ้าว่าโดยหลักวิชา ก็คือ วิธีการที่จะทำให้เรารู้ว่าอะไรเป็นอะไร. แต่ถ้าว่าโดยทางปฏิบัติแล้ว ก็คือการปฏิบัติอย่างนี้ เพื่อตัดอุปาทาน ถอนตนออกมาเสียจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง.

ในที่สุดนี้ อาตมาอยากจะแนะให้พิจารณาต่อไปว่า ข้อปฏิบัติทั้ง ๓ อย่างนี้ จะคงทนต่อการพิสูจน์ในตัวมันเองหรือไม่ ? จะเป็นหลักวิชาอันแท้จริง คือว่าเหมาะที่ทุกคนจะปฏิบัติหรือไม่ ? ขอให้พิจารณาดู. เมื่อท่านพิจารณาดู หรือยิ่งพิจารณาดู จะยิ่งเห็นว่าคงทนต่อการพิสูจน์ ไม่มีทางค้านในข้อที่ว่าจะไม่ให้ผลตามที่กล่าวแล้ว. และเมื่อพิจารณาดูต่อไปอีก จะเห็นว่าหลักทั้ง ๓ ข้อนี้จะไม่ค้านกับศาสนาไหนเลย ในเมื่อศาสนานั้นต้องการจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นความทุกข์ของมนุษย์กันจริง ๆ . พุทธศาสนาย่อมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาใด ๆ เพราะมีคำสอนเป็นบทเรียน ๓ บทดังที่กล่าวมานี้. แต่เราอาจจะเห็นได้อีกย่างหนึ่งว่า มันอาจจะมีอะไร ๆ ที่มากออกไปกว่าที่ศาสนาอื่น ๆ มีก็ได้ โดยเฉพาะก็คือปฏิบัติในทางปัญญา อันเป็นสิกขาข้อสุดท้ายเพื่อตัดอุปาทานทั้ง ๔ ประการเสีย แล้วมีการเปลื้องจิตออกมาให้เป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง ไม่ผูกพันเป็นทาสหรืออยู่ใต้อำนาจสิ่งใดทั้งหมด. ข้อนี้แหละ อาจจะไม่มีในศาสนาอื่น ซึ่งไม่กล้าพอที่จะทำตนให้เป็นอิสระสิ้นเชิง หรือตนพึ่งตนโดยสิ้นเชิงก็ได้. ฉะนั้น เราจงเข้าใจหลักที่เป็นใจความสำคัญของพุทธศาสนาไว้ให้ดีดังที่กล่าวมา.

เมื่อความจริงได้แสดงออกมา ในทางที่ว่าหลักพุทธศาสนาทนต่อการพิสูจน์ไม่ค้านกับใคร ๆ และมีอะไร ๆ ทุกอย่างที่ใคร ๆ มี แล้วยังจะมีอะไรบางอย่าง มากไปกว่าที่เขามีกัน แล้วเรายังจะมองเห็นต่อไปในทันทีนั้นอีกว่า หลัก ๓ ประการนี้เป็นของสากล หรือเป็นศาสนาสากลที่จะใช้ได้แก่คนทุกคนทุกยุคทุกสมัย และทั้งใช้ได้แม้แต่สัตว์ในเบื้องต่ำ แก่มนุษย์ในท่ามกลาง แก่เทวดาหรือยิ่งกว่าเทวดาในเบื้องบน เพราะว่าชีวิตทุกหน่วยมีปัญหาเป็นความทุกข์อย่างเดียวกันหมด คือทุกขืเพราะเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์เพราะกิเลสตัณหาอุปาทานครอบงำย่ำยี. ไม่ว่าเทวดา ไม่ว่ามนุษย์ ไม่ว่าสัตว์เดรัจฉาน ย่อมจะมีปัญหาอย่างเดียวกันนี้ เหมือนกันทั้งนั้น, ซึ่งเป็นเหตุให้เรากล่าวได้ว่า โลกทั้งหมดเป็นอันเดียวกัน หรือเป็นชีวิตของชีวิตเดียวกัน เพราะมันมีความทุกข์อย่างเดียวกัน มีปัญหาอย่างเดียวกัน มีสิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวกัน คือต้องตัดกิเลสตัณหาที่เป็นตัวการสำคัญ หรืออุปาทานนี้เสียให้ได้. ฉะนั้นมันจึงเป็นการเพียงพอที่จะเสนอตัวเองได้ ว่าเป็นของสากล ที่จะใช้ได้ทุกชั้น ในที่ทุกแห่ง จะใช้ในทุกกาลสมัย. นี่แหละ คือความหมายของความเป็นศาสนาสากล; ขอให้เข้าใจพระพุทธศาสนาไว้ ในลักษณะเช่นที่กล่าวนี้ โดยเหตุที่มีบทเรียน ๓ บท คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
ไฟล์แนบ
download (1).jpg
download (1).jpg (10.55 KiB) เข้าดูแล้ว 1016 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 22/entry-7

..คู่มือมนุษย์(ฉบับสมบูรณ์)/ท่านพุทธทาส : บทที่ ๕/เบญจขันธ์

ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย,
อาตมาได้บรรยายหลักของพระพุทธศาสนามาโดยลำดับ นับตั้งแต่ว่า พุทธศาสนา คือวิชาหรือหลักปฏิบัติให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร; และที่ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น ก็คือสังขารทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา สัตว์หรือคนทั่ว ๆ ไป ก็ยังหลงยึดถือผูกพันในสิ่งเหล่านั้น, นั่นเป็นเพราะอำนาจของอุปาทานทั้ง ๔; ปัญหาก็เกิดขึ้น คือความทุกข์เนื่องมาจากอุปาทานที่เข้าไปยึดถือในสิ่งทั้งปวง เราจึงต้องมีวิธีปฏิบัติ เพื่อจะตัดอุปาทาน ซึ่งเป็นเครื่องผูกล่ามสัตว์ให้ติดกับความทุกข์. อุบายวิธีนั้นก็ได้แก่สิ่งที่เรียกว่าไตรสิกขา ซึ่งมีอยู่ ๓ ชั้น ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลเป็นเครื่องปรับปรุงในเบื้องต้นให้มีความเป็นอยู่ที่ผาสุกและเหมาะที่จะมีจิตเป็นสมาธิ. จิตเป็นสมาธิหมายถึงมีกำลัง มีสมรรถภาพเพียงพอในการที่จะทำงานทางจิต ซึ่งได้แก่ปัญญา ทำการรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งที่จะต้องรู้แจ้ง โดยเฉพาะคือความทุกข์หรือสิ่งที่ผูกพันมนุษย์ให้ติดอยู่กับทุกข์ อันได้แก่อุปาทาน. แต่ว่ายังมีเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจ อย่างมีความสำคัญเท่ากันอีกเรื่องหนึ่ง คือว่า อะไรเล่าที่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือ หรือที่เกาะเกี่ยวของจิตด้วยอำนาจของอุปาทานนั้น ? เพราะฉะนั้นเราจึงต้องรู้เรื่องนั้น หรือรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งนั้น :

สำหรับเรื่องของสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของอุปาทานนั้น ถ้าจะชี้กันง่าย ๆ ตรง ๆ ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันว่าโลกนี้เอง. คำว่า โลก ๆ นี้ ในทางธรรมมีความหมายอีกอย่างหนึ่งซึ่งกว้างกว่าความหมายตามธรรมดา. เมื่อพูดว่าโลกทางธรรมะ หมายถึงสิ่งทั้งปวงทั้งหมดทั้งสิ้นกันทีเดียว ไม่ว่าจะเกี่ยวกับโลกมนุษย์นี้หรือโลกอื่น เช่นเทวโลก พรหมโลก หรือโลกที่เลวทราม เช่นโลกสัตว์เดรัจฉาน โลกนรก โลกปีศาจ เปรต อสุรกาย อะไรก็สุดแท้แต่จะมี, รวมแล้วก็เรียกว่าโลก. แต่การรู้จักโลกนี้ มีความยากลำบากอยู่บางอย่าง ตรงที่ว่ามันมีความลึกลับเป็นชั้น ๆ . ที่เรารู้จักกันโดยมากนั้น มักจะรู้จักกันแต่ชั้นนอก ๆ หรือที่เรียกว่า “ชั้นสมมติ”. เราไม่อาจจะรู้จักให้ลึกไปกว่าชั้นสมมติ; นี้หมายถึงตามลำพังสติปัญญาของคนทั่ว ๆ ไป หรือตามที่ปรกติวิสัยของคนทั่ว ๆ ไปจะรู้ได้. โดยเหตุนี้ ในทางพุทธศาสนาจึงมีการสอนให้ดูโลกกันหลาย ๆ ชั้น.
ท่านแนะวิธีให้ดู ด้วยการจำแนกโลกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือที่เป็นฝ่ายวัตถุ เรียกว่า รูป อย่างหนึ่ง. ฝ่ายที่ไม่ใช่วัตถุ ได้แก่ฝ่ายที่เป็นจิตใจ เรียกว่า นามธรรม อีกอย่างหนึ่ง. ถ้าเราฟังคนโบราณพูด หรืออ่านข้อความในหนังสือโบราณ ๆ เราจะได้ยินคำว่า “รูปธรรม นามธรรม” นี้บ่อย ๆ . นั่นแหละ ขอให้เข้าใจว่า การใช้คำว่า รูปธรรม นามธรรม นั้น ก็คือการที่ท่านแบ่งโลกออกเป็น ๒ ฝ่าย; หรือแบ่งสิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก ออกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทที่เป็นรูปธรรมได้แก่วัตถุ, หรือส่วนที่ไม่ใช่จิตใจ ส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นส่วนที่เป็นจิตใจ หรือรู้สึกได้ทางใจ ท่านรวมเรียกว่า นามธรรม. แต่เพื่อให้ละเอียดยิ่งไปกว่านั้นอีก ท่านได้แบ่งส่วนที่เป็นนามธรรมหรือจิตใจนี้ออกเป็น ๔ ส่วน เรียกว่า เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. คำว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นคำที่ใช้กันดื่นในวงพุทธบริษัท เชื่อว่าคงได้ยินได้ฟังกันอยู่มากแล้ว. เมื่อเอาส่วนที่เรียกว่า “รูป” อีกหนึ่ง ซึ่งเป็นประเภทรูปธรรม มารวมเข้ากับ ๔ ส่วนที่เป็นนามธรรม หรือเป็นจิตใจ ก็ได้เป็น ๕ ส่วน; ท่านเลยนิยมเรียกว่า “ส่วน ๕ ส่วน”. ถ้าเรียกเป็นภาษาบาลีก็เรียกว่า เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ห้า แปลว่า ส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลก โดยเฉพาะก็คือเป็นสัตว์เป็นคนเรานี้เอง.
การที่จะดูโลก ก็หมายถึงการที่จะดูสัตว์โลกมากกว่าอย่างอื่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือคน เพราะว่าปัญหานั้นอยู่ที่เรื่องของคน. โลกมีปัญหาที่ต้องรู้มากมาย ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่คน. การศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับคน นับว่าเป็นเรื่องที่เพียงพอ. ถ้าพูดให้ละเอียด เราจะไม่พูดเป็น คน จะพูดเป็น ส่วน ๕ ส่วน ก็ได้ เพราะว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นโลกนี้ จะไม่มีอะไรมากไปกว่าส่วน ๕ ส่วนนี้ แล้วเผอิญส่วน ๕ ส่วนนี้ มีพร้อมอยู่ในคน; มันประกอบกันเข้าเป็นคน พร้อมกันอยู่ในคน ๆ หนึ่งแล้ว.
ในคนคนหนึ่ง ๆ นั้น มีการจำแนกเป็น ๕ ส่วน ส่วนที่เป็นร่างกาย เป็นวัตถุ เรียกว่า รูป หรือ รูปขันธ์ -ส่วนที่เป็นรูป. ส่วนที่เป็นจิตใจอีก ๔ ส่วนนั้น อาจจำแนกออกไปได้ คือ :-
ส่วน ๑ เรียกว่า “เวทนา” นั้น หมายถึงความรู้สึกที่เป็นความสุข หรือเป็นความทุกข์ หรือรู้สึกที่ยังไม่อาจจะเรียกว่าสุขหรือทุกข์. ความรู้สึกที่คนเราจะรู้สึกกันได้โดยทั่ว ๆ ไป ที่จะทำให้เป็นผล หรือที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่าง ๆ ขึ้นนั้น ย่อมมีเพียง ๓ ประการนี้ คือสุขหรือพอใจอย่างหนึ่ง, ทุกข์หรือไม่พอใจอย่างหนึ่ง, อีกอย่างหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจจะเรียกได้ว่าสุขหรือทุกข์ คือเป็นเรื่องที่ยังเฉย ๆ อยู่ แต่ก็เป็นความรู้สึกเหมือนกัน. ความรู้สึกทั้งหมดนี้ ย่อมมีประจำอยู่ในคนเราเป็นปรกติ. วันหนึ่ง ๆ ย่อมเต็มไปด้วยความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างนี้เท่านั้น. ทุกคนมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เป็นปรกติ เช่นว่าเรามานั่งที่นี่ เกิดเมื่อย นี่ก็เรียกว่าเป็น ทุกขเวทนา. ที่ไม่เป็นทุกข์เช่นเราได้รู้สึกพอใจ เพราะได้ยินได้เห็นบางสิ่งบางอย่างในที่นี้ เรียกว่ากำลังมี สุขเวทนา หรือความรู้สึกที่เป็นสุข. ส่วนความรู้สึกเฉย ๆ นั้น เรามีในขณะที่รู้หรือสัมผัสสิ่งบางสิ่ง แต่อยู่ในลักษณะที่เรากำลังสงสัยว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ แล้วก็ตัดสินใจไม่ถูก ว่าจะชอบหรือจะชัง จะรักหรือจะเกลียด จะพอใจหรือไม่พอใจ ยังเป็นปัญหาอยู่ อย่างนี้เกิดเป็นความรู้สึกอันใดขึ้นมา เราก็นิยมเรียกว่า อทุก-ขมสุขเวทนา คือเวทนาที่ยังไม่กล่าวว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ชัดลงไป; เราจึงได้ประมวลแห่งความรู้สึกทั้งหมดเป็น ๓ พวก คือ สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์. ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นประจำในจิตใจของคนเรา เป็นความรู้สึกของใจที่มีประจำใจอยู่นี้ ท่านถือว่าเป็นส่วน ๆ หนึ่ง ที่ประกอบกันเป็นคนเราด้วยกัน และเรียกส่วนนี้ว่าเวทนา, หรือเวทนาขันธ์ นับเป็นส่วนที่ ๑ หรือส่วนแรกของฝ่ายจิต; แต่ก็เป็นส่วนที่ ๒ ของทั้งหมด.
ส่วนที่ ๒ ถัดไป เรียกว่า “สัญญา” คำว่า สัญญา นี้ ตามตัวหนังสือแปลว่า รู้พร้อม; เป็นความรู้สึกเหมือนกัน แต่ไม่ใช่รู้สึกอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น. รู้สึกอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น รู้ไปในทางที่ว่าเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์, ส่วนสัญญานี้ เป็นความรู้สึกตัวอยู่ เหมือนอย่างว่าเรากำลังรู้สึกตื่นอยู่ คือไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตาย หรือเรียกว่ามีสมปฤดี มีสติสมปฤดี. เราจะรู้จักตัวสติสมปฤดีหรือสัญญานี้ได้ โดยเปรียบเทียบดูว่าขณะที่เราไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตาย หรือไม่เมาจนเสียสติ อย่างนี้เป็นต้น สัญญาในที่นี้ยังมี คือยังกำหนัดสิ่งต่าง ๆ ได้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างเราทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย ก็กำหนดได้ว่าอะไรเป็นอะไร. ความมีสมปฤดี หรือความมีสัญญาอยู่ ทำให้เราไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย. ขอให้พยายามคำนึงถึงตัวจริงของมัน ดีกว่าที่จะไปกำหนดเอาแต่ตัวหนังสือ หรือเสียงที่เรียกว่า สัญญา. คำว่า สัญญา ที่แท้ หมายถึงสิ่งที่กล่าวมาแล้ว; แต่โดยมากทั่ว ๆ ไป ท่านมักจะชอบพูดอธิบายกันว่าเป็นความจำ หรือความจำได้หมายรู้. นั้นก็ถูกเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าไม่ถูก ที่จะแปลสัญญา ว่าความจำได้หมายรู้. เพราะว่าถ้าเราจำได้หมายรู้อยู่ ก็คือเรายังไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย ดังที่กล่าวแล้ว. ความที่เมื่อกระทบอะไรทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็รู้สึกหรือจำได้ ว่าเป็นอะไร เช่นรู้ว่าขาว ว่าเขียว ว่าแดง ว่าสั้น ว่ายาว ว่าสูง ว่าต่ำ ว่าคน ว่าสัตว์ ตามแต่จะจำได้ นั่นแหละเป็นความรู้สึกของสมปฤดีหรือสัญญาในที่นี้. ความรู้สึกส่วนที่ทำให้เรายังคงเป็นอย่างนี้อยู่นั่นแหละเรียกว่าสัญญา จัดเป็นส่วนประกอบส่วนที่ ๒ ของพวกที่เรียกว่า นามธรรม หรือจิต.
ส่วนที่ถัดไป ส่วนที่ ๓ เรียกว่า “สังขาร”. คำว่าสังขารนี้ มีความหมายมากที่สุด จนมันปนเปกันยุ่งไปหมด. คำว่า สังขาร ๆ นั้น มีอยู่หลายคำด้วยกัน ฉะนั้นอย่าเพ่อไปพูดไปนึกกันถึงคำว่าสังขารในพวกอื่น หรือหมู่อื่น. เราพูด สังขาร ในที่นี้กันก่อน. สังขารในส่วนที่เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของพวกนามธรรมในที่นี้ ได้แก่ตัวความคิด, คำว่า สังขาร ๆ นี้แปลว่าปรุง. คำว่า ปรุง ท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจได้ว่า มันต้องหลาย ๆ อย่างมารวมกันเข้าด้วยกัน แล้วเกิดเป็นผลอันใดอันหนึ่งขึ้น จึงเรียกว่าปรุง. คำว่าสังขารนี้ ตัวหนังสือแปลว่า ปรุง แต่กิริยาอาการของมัน ที่เป็นอยู่หรือเป็นไปในคน ๆ หนึ่งนั้น ได้แก่การคิดหรือความคิด. ความรู้สึกส่วนที่เป็นความคิด เช่นคิดจะทำนั่น คิดจะพูดนี่ คิดอย่างนั้นคิดอย่างนี้ซึ่งจัดแบ่งเป็นคิดดี คิดเลว คิดชั่วร้าย คิดในทางไหนก็ตาม เหล่านี้จัดเป็นความคิดทั้งนั้น. ความรู้สึกที่เป็นความคิดพลุ่งขึ้นมาจากการปรุงแต่งในภายใน นี้เราเรียกว่าสังขาร, จำกัดความลงไปว่าเป็นความคิด. คำว่าสังขารในที่อื่นนั้น หมายถึงบุญกุศลที่ปรุงแต่งคนให้เกิดก็มี, ในที่อื่นอีก หมายถึงร่างกายหรือโครงร่างโครงสร้างสิ่งทั้งปวง ที่มีจิตใจครอง ไม่มีจิตใจครอง ดังนี้ก็มี. คำว่าสังขารนี้มีความหมายหลาย ๆ ชนิด หลายทาง แต่ว่ามันตรงกันทั้งนั้น โดยเหตุที่มันมีความหมายทางตัวหนังสือที่แปลว่าปรุงนั่นเอง. อะไรที่มีการปรุง ก็เรียกว่ามีสังขารได้, แต่ในองค์ประกอบของการประกอบ ๕ ส่วน ที่ประกอบกันเป็นคนนี้ หมายถึงความคิด. นี่จัดเป็นส่วนที่ ๓ ของนามธรรม, ถ้านับรวมทั้งหมดก็เป็นส่วนที่ ๔ เพราะนับมาแต่รูป.
ทีนี้ ส่วนที่ ๔ ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของฝ่ายนามธรรม เรียกว่า “วิญญาณ”. วิญญาณในที่นี้หมายถึงตัวจิตที่ทำหน้าที่รู้สึก ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กายทั่ว ๆ ไป และตลอดถึงที่มโนทวาร คือที่ใจเองด้วย. ศัพท์ว่า วิญญาณ นี้ แปลว่า รู้แจ้ง ก็จริง แต่ในที่นี้หมายถึงเท่าที่รู้ตามธรรมชาติ ไม่ได้หมายความว่ารู้ถูกต้องก็หามิได้. เพียงแต่รู้ชนิดที่เมื่อมีอะไรมากระทบทางตา ก็มารับอารมณ์ทางตา จนรู้สึกว่ามันเป็นรูปนั้นรูปนี้. เมื่ออะไรกระทบทางหู จะรู้สึกว่าเป็นเสียงนั้นเสียงนี้ขึ้นมา, ถ้ากระทบทางจมูก ก็รู้สึกว่าเป็นกลิ่นขึ้นมาดังนี้เป็นต้น, จิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ตลอดจนถึงทางใจ นี้เอง เรียกว่า วิญญาณ.
ในที่สุดเราก็ได้ส่วนประกอบทางจิตเป็น ๔ ส่วน คือ เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์, สัญญา คือ สมปฤดี ที่ทำให้ยังคงรู้สึกตัวหรือจำอะไรได้, สังขาร คือความคิด, วิญญาณ คือความรู้แจ้ง; ๔ ส่วนนี้เรียกว่า นามธรรม; คู่กันกับร่างกายล้วน ๆ ที่เรียกว่า รูปธรรม จึงเป็นอันว่าถ้าจำแนกละเอียดออกไปก็เป็น ๕. ถ้าจำแนกย่อ ๆ ก็เป็น ๒ ที่เป็นนามธรรมมี ๔, รวมกันกับรูปธรรม ๑ จึงจะเป็น ๕.
ขอให้จำไว้เป็นพิเศษ ว่า คำว่า “โลก” ในพระพุทธศาสนาท่านจำแนกกันอย่างนี้, เพราะว่าไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ในการที่จะเป็นโลกหรือเป็นที่ตั้งของความทุกข์ก็ตาม. เราอย่าไปดูหมิ่นในคำที่เราไม่เข้าใจ เช่นคำว่า ขันธ์ห้า เป็นต้น แล้วจะไม่สนใจเสียเลย. การทำเช่นนี้ มันจะทำให้เราไม่อาจจะเข้าใจพุทธศาสนาได้. ถ้าเรายังมีความประสงค์จะเข้าใจพุทธศาสนาขอให้สนใจคำเหล่านี้ไว้ก่อน, อย่าเห็นเป็นคำนอกเรื่องนอกราว หรือเป็นคำที่มีไว้สำหรับพระ หรือคนแก่คนเฒ่าพ้นสมัย เพราะว่าต่อเมื่อไปศึกษาสิ่งเหล่านี้ให้เข้าใจชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไรแล้วเท่านั้น เราจึงจะเข้าใจตัวความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ และวิธีจะดับทุกข์เสียได้ ซึ่งเป็นตัวพุทธศาสนาจริง ๆ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องสนใจในสิ่งที่เรียกว่ารูปธรรม นามธรรมนี้ หรือขันธ์ห้านี้ให้มากตามสมควร.
ขันธ์ห้า หรือส่วน ๕ ส่วนนี่แหละ เป็นที่เกาะยึดของอุปาทานทั้ง ๔ ที่ได้อธิบายแล้ววันก่อน. ขอให้ย้อนไปนำมาคิดให้เข้าใจกันให้ดีเสียใหม่ ให้รู้ว่าอุปาทานนั้น เป็นสิ่งที่ผูกพันหรือเกาะจับอยู่กับส่วน ๕ ส่วนหรือเบญจขันธ์ล้วน ๆ นี้ มันจึงจะเกิดมีเบญจขันธ์หรือส่วน ๕ ส่วน ที่เต็มแน่นอยู่ด้วยอุปาทาน โดยเฉพาะก็ได้แก่คนเราคนหนึ่ง ๆ นั่นเอง. ความเข้าใจผิดหรืออุปาทานที่กล่าวนี้ อาจยึดถือเอาทุก ๆ ส่วน หรือแต่ละส่วน ว่าเป็นตัวเป็นตนก็ได้ แล้วแต่ความโง่ของเรา การที่ยึดเอาส่วนรูปร่างกายล้วน ๆ เป็นตัวตน นั้นก็มีได้ เหมือนอย่างเด็กเล็ก ๆ ที่เซไปโดนประตูเจ็บ ได้เตะประตูเข้าให้ทีหนึ่ง แล้วก็หายโกรธและหายเจ็บ อย่างนี้หมายความว่ายึดเอารูปล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับจิตใจ คือประตู ซึ่งเป็นไม้แท้ ๆ ว่าเป็นตัวเป็นตน อย่างนี้ก็มีได้; และพึงเข้าใจว่า นั้นเป็นอุปาทานในขั้นต่ำที่สุด. สำหรับคนโต ๆ เช่นพวกเรา ถ้าหากไปเข้าใจผิดมีอุปาทานในร่างกาย เช่น โกรธร่างกายจนถึงกับไปทุบตีร่างกาย หรือโขกศีรษะตัวเอง เหล่านี้ ถ้าใครเคยมีบ้าง ก็ไปคิดดูเอาเอง ว่าเป็นเพราะอะไร. ที่แท้ก็เพราะเหตุอย่างเดียวกันกับเด็กที่กล่าวแล้ว คือไปยึดถือเอาส่วนที่เป็นรูปธรรมนั้น ว่าเป็นตัวตน แล้วจะให้ได้อย่างใจ. ถ้าหากว่าฉลาดขึ้นไปกว่านั้นก็จะไปยึดถือที่เวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ว่าเป็นตัวตน. ถ้าไม่อาจจะแยกออกได้ ก็ยึดถือทั้งกลุ่ม เป็นตัวตน คือเอาทั้ง ๕ ส่วน รวมกลุ่มเป็นตัวตนอย่างนี้ก็ได้ มันเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสติปัญญาความรู้ของแต่ละคน ๆ ไป. แต่เรื่องที่ยึดถือเอารูปหรือวัตถุเป็นตัวเป็นตน แล้วโกรธได้ รักได้นั้น เป็นเรื่องขั้นต้นหรือขั้นต่ำที่สุด.
ถัดมาจากรูป ก็คือเวทนา. เวทนาความรู้สึกว่า สุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างที่กล่าวแล้วนั้น มีทางที่จะถูกยึดเป็นตัวเป็นตนได้มากที่สุดเหมือนกัน. เราจะมองดูตัวอย่างในเรื่องนี้ ตรงที่เราหลงใหลในกามสุข โดยเฉพาะก็คือความเอร็ดอร่อย ความถูกอกถูกใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่าง ๆ ที่ได้รับอยู่. ตัวเวทนาในที่นี้ หมายถึงความรู้สึกเอร็ดอร่อยโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นความสุขชนิดที่ชาวโลกสมมติเอาเอง และเรียกว่าความสุข. ในที่นี้จึงเป็นอันว่า การติดในเวทนาก็คือเราติดในความรู้สึกที่เป็นความสุขหรือความอร่อยนั่นเอง. อาตมาต้องขออภัย ถ้าใช้คำ ๆ นี้มันไม่ตรงกับความหมายที่ท่านเข้าใจ หรือจะรู้สึกว่าเป็นคำที่หยาบโลนโสกโดกไปบ้าง แต่ไม่ทราบว่าจะใช้คำอะไรดี. ถ้าจะใช้คำบาลี ก็มีอยู่คำหนึ่ง ซึ่งคงจะแปลกหูท่านทั้งหลายมาก คือคำว่า “อัสสาทะ” เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงจะไม่เคยได้ยิน. คำว่า อัสสาทะ เป็นคำบาลี ซึ่งหมายถึงความเอร็ดอร่อย ติดอกติดใจของ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ตรงกันข้ามจาก นิพพิทา คือความเบื่อหน่าย ดังที่เราเบื่อหน่ายไม่รู้สึกเพลิดเพลินในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. เรากำลังเอร็ดอร่อยติดใจแน่นแฟ้นอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกว่ากำลังมี อัสสาทะ ในสิ่งนั้น. ความเอร็ดอร่อยนี้ก็คือ เวทนา นั่นเอง. โดยส่วนใหญ่ คนยึดถือเวทนาตัวนี้ เป็นตัวเป็นตนกันอยู่มาก หรือว่าแทบทั้งหมด เพราะว่าไม่มีใครที่จะไม่ชอบความเอร็ดอร่อย โดยเฉพาะทาง โผฏฐัพพะ คือการสัมผัสทางกาย หรือทางผิวหนัง. อำนาจของอวิชชาหรืออุปาทาน ทำให้มองไม่เห็นสิ่งอื่นใด, มองเห็นแต่ความเอร็ดอร่อยแล้วก็ยึดถือเป็นตัวเป็นตน ในลักษณะที่จะเอาเป็นของของตน.
คำที่ว่ายึดถือเอาเป็นตัวเป็นตนนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือยึดถือว่าเป็นตัวตนที่เป็นฝ่ายจะเอา หรือผู้เอา นี้ฝ่ายหนึ่ง, และยึดถือเป็นตัวเป็นตนในฝ่ายที่จะถูกเอา หรือแม้ถูกรังเกียจ เกลียดชัง ก็ตาม นี้อีกฝ่ายหนึ่ง; มีอยู่ ๒ ฝ่ายเท่านั้น สิ่งที่เรียกว่าเวทนานั้น จะถูกยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตนในทางที่จะเอา หรือในทางที่จะไม่เอาก็ตาม เรียกได้ว่า เป็นความรู้สึกที่เป็นความยึดถือ หรือเป็นที่ตั้งของความทุกข์ได้ทั้งนั้น. ถ้ามันตรงกับความต้องการหรือเอร็ดอร่อย มันก็ยึดถือเป็นตัวเป็นตนที่มันจะเอา คือว่ารวบรัดดึงเข้ามาหาตัว. นี้เป็นการกอดรัดเอาไว้ด้วยอุปาทาน, ถ้ามันไม่ถูกไม่ตรงกับความต้องการ กลายเป็นความโกรธความชังอย่างนี้ ก็เป็นเวทนาเหมือนกัน แต่เป็นทุกขเวทนา; มันมีลักษณะที่จะถูกผลักถูกดันออกไปให้ห่าง ตรงกันข้ามจากที่จะดึงเข้ามา, แต่ก็เป็นการผลักออกไปด้วยอำนาจอุปาทานอีกนั่นเอง. เป็นอันว่า ถ้ารัก ก็รักด้วยอุปาทาน, ถ้าเกลียด ก็เกลียดด้วยอุปาทานโดยเท่ากัน. ทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ เป็นที่ตั้งของความทุกข์เท่ากัน.
ความรู้สึกชอบ กับความรู้สึกชังนี้ ตามความหมายอันแท้จริงของทางธรรมแล้ว ท่านถือว่าเป็นความทุกข์เท่ากัน. แต่ความหมายอย่างโลก ๆ ที่คนธรรมดารู้สึกนั้น กลับเห็นว่าฝ่ายที่ชอบที่รักนั้นเป็นความสุข ไม่ใช่ความทุกข์, ฝ่ายที่ไม่ชอบ จึงเป็นความทุกข์. นี่เรียกว่ามองกันอย่างโลก ๆ หรืออย่างติดสมมติ ซึ่งจะอธิบายทีหลัง. ทางธรรมนั้น หมายความว่ามันทำให้เกิดการทรมานเท่ากัน : ความชอบหรือความรัก ก็ทำให้เกิดความฟูขึ้นในทางจิตใจ; ความไม่ชอบไม่รัก ก็ทำให้แฟบลงในทางจิตใจ. การได้กับการเสีย การดีใจกับการเสียใจ เหล่านี้เป็นการทำให้จิตเหน็ดเหนื่อยเท่ากัน; ทำให้เกิดความอยาก ทำให้เกิดการวนเวียนในความทุกข์เท่ากัน. นี่เป็นการมองดูในลักษณะของธรรมะ ตามวิถีทางธรรม. แต่ถ้ามองดูในวิถีทางของโลกียะ ก้เป็นอย่างที่ว่ามาแล้ว คือถ้าเป็นสุขก็มัวแต่รัก ถ้าเป็นทุกข์ก็มัวแต่ชัง ถ้าเป็นอุเบกขาก็มัวรำคาญสงสัยต่าง ๆ นานา อยู่ไม่เว้นแต่ละวัน. ทั้งหมดนั้น เรียกว่าเป็นความยึดถือเวทนานั้น ๆว่าเป็นตัวตน. ขอให้ทุกคนพิจารณาให้เห็นการยึดถือเวทนาเป็นตัวตนของตัวเอง ให้เข้าใจเสียให้ถูกต้อง จะเป็นหนทางที่จะทำจิตให้เป็นอิสระจากเวทนา. เวทนานี่แหละ จะเป็นสิ่งที่ครอบงำใจ แล้วดึงจูงเราไปสู่สภาพที่เราจะต้องเสียใจทีหลัง. ในทางปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหันต์ที่มีปรากฏอยู่ในพระสูตรทั้งหลาย ที่สอนให้พิจารณาเรื่องเวทนาโดยเฉพาะก็มีอยู่มาก; มีผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะกำหนดเวทนาเป็นวัตถุสำหรับการพิจารณา นี้ก็มีมาก.
เวทนานี้ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ง่ายกว่าสิ่งใด ๆ ทั้งหมด เพราะมันเป็นตัวผลสุดท้ายของสิ่งที่เราพากเพียรทำ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องและยึดถือกันอยู่เป็นประจำ. ขอให้คิดดูว่าเราอุตส่าห์ศึกษาเล่าเรียน อุตส่าห์ประกอบการงานอาชีพต่าง ๆ ก็เพื่อให้ได้เงินมา แล้วก็ไปซื้อหาสิ่งต่าง ๆ มา นับตั้งแต่สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องกิน เครื่องบำรุงบำเรอ; ตลอดจนถึงรสจากเพศตรงกันข้าม หรืออะไรทำนองนี้ ก็หามาได้ด้วยเงินที่เราหามาได้ แล้วก็ทำการบริโภคของเหล่านั้นเพื่อผลอย่างเดียวคือสุขเวทนา อย่างวิสัยโลก ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง. เรื่องมันไปจบไปสุดอยู่ตรงสุขเวทนา คือความเอร็ดอร่อย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ซึ่งได้มาจากสิ่งที่เราลงทุนลงแรงทำงาน แล้วซื้อหามา. เราลงทุนด้วยกำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจ ทั้งหมดจัดหามา แล้วก็เพื่อผลคือเวทนาอันเดียว เป็นสุขเวทนาทางลิ้นบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางตาบ้าง ซึ่งทราบกันดีแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องจาระไนให้เป็นรายละเอียด แต่ความสำคัญมีอยู่ตรงที่ว่า ถ้าไม่เพราะอำนาจสุขเวทนานี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็คงจะไม่ลงทุนเรียน ลงทุนทำงาน ลงเรี่ยวลงแรงหาเงิน นี่เป็นส่วนใหญ่, ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เรื่องของเวทนานั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเสียแล้ว. ถ้ามีความรู้ความเข้าใจแล้ว จะสามารถควบคุมมันได้ จะทำให้เรามีจิตใจสูงอยู่เหนือความรู้สึกชนิดนั้น, จะทำให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้สูง หรือดีกว่าที่เราจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดา ฉะนั้นเราจึงควรเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าเวทนานี้กันให้ถูกต้อง.
อาตมาอยากจะชี้ต่อไปถึงข้อที่ว่า แม้เรื่องในระหว่างสังคมที่ไม่เป็นความเรียบร้อย ได้แต่ยุ่งยากต่าง ๆ ก็มีมูลมาจากสุขเวทนานี้เหมือนกัน แม้การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศชาติ หรือระหว่างครึ่งโลกกับครึ่งโลกที่จะต้องรบกัน ก็ขอให้คิดดูเถอะ ว่าเมื่อไล่เบี้ยไปให้ถึงที่สุดแล้ว จะไปสุดตรงความจริงที่ว่า ทุกคนตกเป็นทาสของเวทนา โดยเฉพาะก็คือสุขเวทนาอย่างที่กล่าวมาแล้ว ในทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย. การทำสงครามกันนั้น ไม่ใช่ว่ามีมูลมาจากความยึดถือเกี่ยวกับลัทธิ หรือเกี่ยวกับอุดมคติอะไรโดยแท้จริงก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว มันก็เนื่องมาจากประโยชน์; ต่างฝ่ายต่างมุ่งจะได้ประโยชน์ จะกอบโกยเอาประโยชน์; ส่วนตัวลัทธินั้นเป็นเครื่องบังหน้า หรือเป็นเครื่องมือประกอบรอง ๆ ลงไปเท่านั้นเอง ส่วนลึกที่สุดอยู่ที่การตกเป็นทาสของเวทนา. ฉะนั้นการรู้จักเวทนา ก็หมายถึงการรู้จักมูลเหตุอันสำคัญ ที่ทำให้คนเราตกเป็นทาสของกิเลสหรือความทุกข์.
เมื่อมนุษย์โลกเป็นอย่างไร ในโลกที่สูงไปกว่า เช่น เทวโลก พรหมโลก ก็มีลักษณะอย่างนั้น คือตกอยู่ภายใต้อำนาจเวทนาอย่างเดียวกัน. อย่างชนิดที่เรียกว่าสวรรค์หรือเทวโลก ก็เพ่งถึงสุขเวทนาอย่างเดียวกันกับในมนุษย์โลก เพียงแต่เขาบัญญัติให้เป็นเรื่องที่ดีกว่า ประณีตกว่า สูงกว่า ได้อย่างถึงอกถึงใจกว่า เท่านั้นเอง. แต่ความหมายก็ยังไม่พ้นไปจากเรื่องอร่อยทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อยู่นั่นเอง. ถ้าสูงไปกว่าสวรรค์ ถึงพรหมโลก. นี่ในชั้นนี้ต้องยกเวทนาที่เป็นความอร่อยในทางกามารมณ์ออกเสีย แต่ก็ไม่พ้นจากความเอร็ดอร่อยทางจิตอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ฌาน. เมื่ออยู่ในฌานหรือสมาธิ เกิดความสุขใจเป็นรสอร่อยขึ้น ก็ติดใจในรสอร่อยนั้นเหมือนกัน แม้ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์ ก็เป็นเวทนาอยู่นั่นเอง ดังนี้เป็นต้น. และข้อนี้ไม่ต้องกล่าวถึงสัตว์ที่ต่ำลงไปกว่ามนุษย์ มันย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจของเวทนาอย่างไม่เป็นระเบียบยิ่งกว่ามนุษย์เรา. ฉะนั้น การรู้เรื่องเวทนาว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะรู้เรื่องเวทนาไม่เป็นตัวตน ไม่ควรจะยึดถือ จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์.
ส่วนที่ถัดไปคือ สัญญาขันธ์ หรือสมปฤดีนั้น มีทางที่จะยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตนได้ง่ายเหมือนกัน. เรื่องอย่างที่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป เขาพูดว่า ถ้าเราหลับ มีอะไรบางอย่างออกไปจากตัวเรา จะเรียกว่าเจตภูตหรือเป็นอะไรก็สุดแท้ ในขณะนั้นเราก็เหมือนกับท่อนไม้ไม่มีความรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย. พอมีสิ่งนั้นกลับมาสู่เราอีกตามเดิม จึงรู้สึกมีสมปฤดีตามเดิม มีสติสตังขึ้นมาตามเดิม, เขาสอนและเชื่อกันอย่างนั้น; เขายิ่งมีทางที่จะยึดถือสัญญาหรือสมปฤดีนี้ ว่าเป็นตัวตนมากขึ้น. แต่ถ้าว่าตามทางพุทธศาสนาแล้วสัญญาไม่ใช่เป็นตัวตนอย่างนั้น สัญญาเป็นเพียงสติสมปฤดีหรือความรู้สึกจำได้หมายรู้ที่ยังคงดีอยู่ เพราะว่ายังมีการปรุงแต่งที่เป็นระเบียบในร่างกายนี้ดีอยู่. พอเกิดการไม่เป็นระเบียบในการปรุงแต่งในร่างกายนี้เท่านั้น สิ่งที่เรียกว่าสัญญา หรือเจตสิกธรรมส่วนนี้ ก็จะกลายเป็นใช้ไม่ได้ไปทันที ในพุทธศาสนาไม่ยอมรับว่าสัญญาเป็นตัวตนเพราะเหตุนี้. แต่คนทั่วไปก็ชอบเดา หรือชอบสันนิษฐาน หรือชอบใช้เหตุผลไปในทางที่จะยึดถือเอาสิ่งที่ทำให้เราตามปรกติ ผิดกับคนสลบหรือคนบ้านั่นแหละว่าเป็นตัวตน. การศึกษาทางพุทธศาสนากลับได้ความรู้ที่ตรงกันข้าม ว่านั่นไม่ใช่ตัวตน, นั้นเป็นเพียงผลของการปรุงแต่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติในคนเรา คนหนึ่ง ๆ .
ส่วนหรือขันธ์ ที่ถัดไปคือ สังขาร ได้แก่ความคิด. ความรู้สึกคิด จะทำนั่นจะทำนี่ จะได้นั่น จะได้นี่ จะเป็นความคิดดีก็ตาม ความคิดชั่วก็ตาม นี่ก็ยิ่งจะยึดถือว่าเป็นตัวตนหนักขึ้นไปอีก. ใคร ๆ ก็พอจะรู้สึกได้ว่า ถ้าจะเป็นตัวตนกันบ้างละก็ ตัวผู้คิดนี่น่าจะเป็นตัวตนมากกว่าอย่างอื่น อย่างนักปรัชญาคนหนึ่งของยุคปัจจุบัน ดูเหมือนจะชื่อว่า Bergsgan หรืออะไรทำนองนี้ถ้าอาตมาจำไม่ผิด,๑ ซึ่งเขามีปรัชญาส่วนของเขาง่าย ๆ ว่า “ข้าพเจ้าคิด ข้าพเจ้าจึงมีอยู่” ซึ่งเป็นคำแปลของภาษาละติน แปลแล้วได้อย่างนั้น. นี่เป็นเพราะถือเอาโดยเหตุผลที่ว่า เพราะว่ามีการคิดได้อยู่ จึงมีผู้คิด คือตัวข้าพเจ้า. ในที่นี้เราจะเห็นว่า แม้นักปรัชญาสมัยปัจจุบัน ซึ่งเราเรียกว่าสมัยวิทยาศาสตร์แล้วอย่างนี้ ก็ยังมีผู้ยึดถือตัวตนอย่างเดียวกับในสมัยเมื่อสองสามพันกว่าปีมาแล้ว โดยยึดถือเอาตัวความคิดว่าเป็นตัวตน ยึดถือเอาสิ่งที่ตนเข้าใจว่าเป็น “ผู้คิด” ว่าเป็นตัวตน.
-------------------------------------------------------------------------
๑. ในวันแสดงจริง จำผิด, ที่ถูกเป็น Descartes ไม่ใช่ Bergsgan. แต่การพิมพ์ในที่นี้คงไว้ตามที่แสดงจริง, เพราะเรื่องคาบเกี่ยวกันกับการบรรยายครั้งถัดไป.

แต่พุทธศาสนาก็ยังคงเหมือนกันกับข้ออื่น ในการที่ได้ปฏิเสธเวทนาและสัญญา ว่าไม่ใช่ตัวตนมาแล้ว ได้ปฏิเสธความคิด หรือตัวจิตที่เป็นตัวคิด ทำหน้าที่คิดในขณะนั้นก็ตาม ว่าไม่ใช่ตัวตนไปตามเดิม; เพราะกิริยาที่คิดขึ้นมาได้นั้น เป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นผลของการปรุงแต่งของสิ่งหลาย ๆ สิ่ง ไม่ใช่ตัวตน สำเร็จรูปเป็นความคิดขึ้นมาได้ในกลุ่มของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นคนขึ้นมา โดยไม่ต้องมีตัว “ข้าพเจ้า” ที่เป็นตัวเป็นตนอย่างที่ว่า. สังขารหรือความคิดนี้ จึงถูกบัญญัติว่าเป็นอนัตตา คือไม่เป็นตัวเป็นตน อย่างเดียวกันกับขันธ์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว. โดยเฉพาะคำพูดในพุทธศาสนา ก็ระบุชัดอยู่แล้วว่า “สังขาร ๆ” คำว่าสังขาร แปลว่า ของปรุง, คือของหลาย ๆ อย่างมาปรุงกันเข้า จึงยิ่งไม่ใช่ตัวตน. ความลำบากหรือความเข้าใจยากอยู่ตรงที่ว่า เราไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของนามธรรม หรือนามธาตุ อย่างเพียงพอ. เรารู้จักแต่เรื่องของรูปธาตุ ธาตุนั่นธาตุนี่ ที่เป็นวัตถุ. แต่ ธาตุอีกประเภทหนึ่ง ที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่วัตถุ นี่เราแทบจะไม่เข้าใจกันเสียเลย เราจึงเข้าใจยากในเรื่องการปรุงของธาตุที่เป็นนามธาตุ; ฉะนั้นเราต้องศึกษากันต่อไป ในที่นี้บอกได้แต่เพียงหลักตามทางพุทธ-ศาสนา ว่าเป็นการปรุงของธาตุหลาย ๆ ธาตุ รวมทั้งวัตถุและนามธาตุ สิ่งที่เรียกว่าความคิดหรือ “สังขาร” ในที่นี้ จึงเกิดขึ้นในใจ ในสิ่งที่เราเรียกกันว่าตัวเราหรือคนเรานี้ได้ ในลักษณะที่ทำให้เข้าใจไปว่ามีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้คิด หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นผู้คิด จึงทำให้มีทางเชื่อไปในทำนองว่า เป็น เจตภูต เป็นวิญญาณ เป็นตัวตน เป็นตัวเจ้าของร่าง หรืออะไรในทำนองนี้. พุทธศาสนาปฏิเสธสิ่งเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง. เมื่อได้แยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ก็พิสูจน์แต่ละส่วน ๆ ว่าไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวตน, ตลอดถึงส่วนที่เป็นความคิด ก็ไม่ใช่ตัวตนอย่างที่ว่านี้.
ส่วนถัดไปอีก และเป็นส่วนสุดท้ายที่เรียกว่า “วิญญาณ” ซึ่งทำหน้าที่รู้แจ้ง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนเหมือนกัน. เพราะเหตุว่า อวัยวะนั้น ๆ , ซึ่งตามภาษาธรรมะเรียกว่า อายตนะ, คือตาพร้อมทั้งประสาทตา หูพร้อมทั้งประสาทหู จมูกพร้อมทั้งประสาทที่จมูก ลิ้นพร้อมทั้งประสาทที่ลิ้น ผิวกายทั่ว ๆ ไป พร้อมทั้งเส้นประสาทที่นั่น ล้วนแต่มีสมรรถภาพ ที่จะทำการรับอารมณ์ภายนอก ที่เรียกว่าอายตนะภายนอก ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อยู่ตลอดเวลา เมื่อมากระทบกันเข้าพร้อมกันทั้งสองฝ่าย นามธรรมส่วนที่เรียกวิญญาณในที่นี้ ก็เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นสามฝ่ายด้วยกัน และจะมีความรู้แจ้งเกิดขึ้นที่ตรงนั้น เช่นที่ตา ก็มีความรู้แจ้งเกิดขึ้นที่ตา ว่ารูปนั้นมีสัณฐานอย่างไร เป็นรูปคนหรือสัตว์ สั้นหรือยาว ขาวหรือดำ สูงหรือต่ำ อย่างนี้เป็นต้น. ความรู้แจ้งที่เกิดขึ้นทำนองนี้ เป็นเหมือนกับแมคานิคของธรรมชาติ. นี่เป็นการพูดตามหลักของพุทธศาสนา ถือว่ามันเป็นแมคานิคอันหนึ่ง เป็นกลไกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นไปเองตามธรรมชาติอย่างอัตโนมัติ ซึ่งมันจะต้องเกิดขึ้นอย่างนั้นในขณะนั้น สำเร็จเป็นการรู้แจ้ง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย. ทีนี้คนบางพวกยึดถือว่า นั่นเป็นตัวเจตภูต เป็นตัววิญญาณ แล่นออกมาจากใจ มารับอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น อย่างนี้ก็มี, แล้วก็ยึดถือเอาเป็นตัวเป็นตน. แต่ตามหลักพุทธศาสนาถือว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง, มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้น. ถ้ารูปและตา พร้อมทั้งประสาท ได้มีการกระทบกัน ก็จะมีการรู้แจ้งเกิดขึ้น สำเร็จเป็นความรู้แจ้ง ที่เรียกว่าจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น ตามชื่อของที่ตั้งแห่งการกระทบ, โดยไม่ต้องมีตัวตนอะไรที่ไหนอีก.
เมื่อได้แยกดูทีละส่วน ๆ ทั้ง ๕ ส่วน ว่าไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวตน คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ ส่วน ก็ไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวตน ดังนี้แล้ว ก็จะถอนความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวตนเสียได้ในสิ่งทั้งปวง. คำว่าในสิ่งทั้งปวงก็คือว่าในคนทุกคนนั่นเอง. โลกทั้งโลกอาจแยกได้เป็น ๕ ส่วน อย่างนี้ : ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับจิตใจ เป็นวัตถุล้วน ๆ ก็เป็นพวกรูปไป, แต่ถ้ามันมีเรื่องของจิตแทรกแซงอยู่ ก็จัดเป็นของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนใดส่วนหนึ่ง การรู้จักส่วนทั้ง ๕ ส่วนนี้ คือการรู้จักโลกทั้งหมดว่าไม่ใช่ตัวตน. การรู้จัก ในที่นี้หมายถึง การรู้แจ้ง อย่างที่เคยอธิบายมาแล้ว ว่ามันเป็นคนละอย่างกับ ความเข้าใจ.
ถ้าพิจารณาไปในทางเห็นแจ้ง ชนิดที่อาจจะถอนความยึดถือว่าเป็นตัวตนเสียได้แล้ว ต้องมีการวัดกันตรงที่ว่า ไม่เกิดความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งในสิ่งเหล่านั้น คือไม่เกิดความรักหรือความเกลียดในสิ่งเหล่านั้น จึงจะเรียกว่าเห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง ว่าไม่ใช่ตัวตน. ฉะนั้นการคิดเอาตามการใช้เหตุผล จึงถอนตัวตนไม่ได้. การพิสูจน์กันตามทางเหตุผล หรือการคิดกันตามทางเหตุผล ก้พอที่จะทำให้เกิดความเชื่อว่าไม่ใช่ตัวตนได้ แต่มันก็เป็นเพียงแต่ความเชื่อ ไม่ใช่เป็นการรู้แจ้งชนิดที่จะตัดความยึดถือว่าตัวตนได้อย่างเด็ดขาด. โดยเหตุนี้เอง จึงต้องศึกษาพิจารณากันตามหลักแห่งสิกขา ๓ ประการ ดังที่ได้บรรยายไว้แล้วในวันก่อน จึงจะถึงขนาดที่ถอนการยึดถือเป็นตัวตนในสิ่งทั้งปวงได้.
บัดนี้เราได้รู้แล้วว่า สิ่งทั้งปวงนั้น ทั้งที่ไม่ใช่เป็นตัวเป็นตนถึงเพียงนี้ มันก็ยังเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน. ความสำคัญที่ต้องรู้อยู่ตรงนี้. ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกทุก ๆ ส่วน หรือที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเราทุก ๆ ส่วน มันไม่เป็นตัวเป็นตนที่ตรงไหนเลย แต่ก็ยังเป็นที่ตั้งที่ยึดถือว่าเป็นตัวตนได้ เพราะอำนาจอุปาทาน ซึ่งมาจากอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งตามที่เป็นจริงอีกต่อหนึ่ง เพราะฉะนั้น หน้าที่สำคัญอันพึงจะปฏิบัติในเรื่องเบญจขันธ์นี้ อยู่ที่จะต้องทำให้วิชชา คือความรู้แจ้งตามที่เป็นจริงเกิดขึ้น เพื่อจะกำจัดอวิชชาเสีย. เมื่อรู้แจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว มันก็จะเห็นเองว่าไม่มีส่วนไหนเป็นตัวเป็นตนที่น่าหลงใหลยึดถือ, เมื่อนั้นอุปาทานการยึดถือก็แตกสลายลงเอง, แม้ที่เคยยึดถือมาแต่สันดาน แต่กำเนิด แต่ชาติก่อน หรือแต่ไหนก็ตาม มันต้องสลายออกไปทันที เพราะว่าเดี๋ยวนี้ มันได้เห็นแจ้งความจริงว่า สิ่งที่มันเคยหลงยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น มันไม่ใช่เป็นตัวเป็นตนเลย.
ฉะนั้น เราจำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่าเป็นตัวเป็นตนนี้ให้ละเอียด. คำสอนประเภทนี้เรียกกันว่า พหุลานุสาสนี. พหุล แปลว่า มาก. อนุสาสนี แปลว่า คำสอน. พหุลานุสาสนี จึงแปลว่า คำสอนที่สอนมากที่สุด คือพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนี้มากเป็นพิเศษกว่าเรื่องทั้งหลาย เป็นใจความสรุปได้สั้น ๆ ว่า “เบญจขันธ์อันเป็นอนัตตา” และถือว่าเป็นคำสอนที่เป็นตัวพระพุทธศาสนา, เพราะฉะนั้น อาตมาจึงชักชวนรบเร้าท่านทั้งหลาย ให้เกิดความสนใจในเรื่องส่วน ๕ ส่วนนี้ หรือเรื่องเบญจขันธ์นี้ และขออย่าถือว่าเป็นเรื่องที่น่าล้อเลียนถึงกับนำมาล้อกันเล่น. เรื่องนี้เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา ทั้งที่จะมองกันในแง่ปรัชญา หรือจะมองกันในแง่วิทยาศาสตร์ หรือจะมองกันในฐานะเป็นศาสนาก็ตามที; เป็นตัวเรื่องสำคัญที่ถ้ารู้จักตามที่เป็นจริง อุปาทานก็สลายไป ตัณหาทุกชนิดไม่มีทางเกิด, ความทุกข์ก็ไม่มี เพราะเหตุนี้.
ทีนี้ เรามาถึงปัญหาที่ว่า ทำไมเราตามปกติจึงมองส่วน ๕ ส่วนนี้ ไม่ออกตามที่เป็นจริง ? เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่าเมื่อเราเกิดมาจากท้องมารดา ลืมตาขึ้นมาในโลกนี้นั้น เราก็ไม่อาจจะมีปัญญาของเราเอง. เราได้แต่รับการศึกษาแวดล้อมมาตามที่เขาจะสอนให้อย่างไร. สิ่งแวดล้อมเราที่สอนเรานี้ สอนด้วยปากตรง ๆ ก็มี สอนด้วยทำให้ดูก็มี หรือเป็นสิ่งที่กระทบด้วยตนเองแล้วเข้าใจได้เองก็มี; ล้วนแต่เป็นสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นที่สอนเรา แต่ว่าสิ่งทั้งหมดนั้นล้วนแต่สอนเราไปในทางให้เข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นตัวเป็นตนไปเสียทั้งนั้น. ทั้งนี้ก็เพราะอำนาจสัญชาตญาณดั้งเดิม คือสัญชาตญาณแห่งการยึดถือด้วยวาทะว่าตัวตน ที่เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน ซึ่งอาตมาได้อธิบายมาแล้วในวันที่กล่าวถึงเรื่อง อุปาทานสี่ อัตตวาทุปาทาน นี้มันมีติดมาตั้งแต่เราเกิดมา และพอกพูนให้หนายิ่งขึ้นทุกวัน. เรามีการพูดจากับบิดามารดา เพื่อนฝูงทั้งหลาย ก็ล้วนแต่พูดเป็นมึง-เป็นกู เป็นเขา-เป็นเรา เป็นผู้นั้น-ผู้นี้ ผู้กระทำ-ผู้ถูกกระทำ ผู้ได้-ผู้เสีย, ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนแต่เป็นการย้ำความคิด ความรู้สึก หรือความเข้าใจว่ามีตัวตนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น. ตัวอย่างเช่นคนเราเกิดมา ก็ต้องถูกตั้งชื่อว่านายนั่นนายนี่ นาย ก. นาย ข. นาย ค. นาย ง. คนนั้นชื่อนั้น คนนี้เชื่อนี้ เป็นลูกคนนั้น เป็นหลานคนนี้ เป็นสามีคนนั้น เป็นภรรยาคนนี้ เหล่านี้เป็นต้น. สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทั้งหมด ล้วนแต่ระบุไปในทางเป็นตัวเป็นตน เราจึงไม่รู้สึกตัวในการที่เรายึดถือเอาความเป็นตัวเป็นตนเพิ่มขึ้นทุกวัน. สัญชาตญาณดั้งเดิมที่เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน ก็มีแต่หนาขึ้น ๆ พอกพูนหนาขึ้น ๆ แทนที่จะลดลงไป, ความยึดถือว่าตัวตนก็หนาขึ้น ทีนี้ เมื่อมีความยึดถือว่าตัวตน ก็เกิดความเห็นแก่ตัวตนตามมา , คือเห็นแก่ประโยชน์ฝ่ายตัวหรือฝ่ายพวกของตัว แล้วก็ประกอบกระทำไปตามความเห็นแก่ตัวหรือพวกของตัว จนได้ประโยชน์มา สำเร็จประโยชน์มาเลี้ยงตัว หรือบำรุงความใคร่ของตัว. นี่ก็เท่ากับเป็นการเสริมความยึดถือว่าเป็นตัว มีตัวเป็นของตัวมากขึ้น.
ความยึดถือว่าตัว ในลักษณะที่เป็นผู้นั้น ผู้นี้ อย่างนี้ท่านเรียกว่า “ตัว” โดยสมมติ. ถ้าจะพูดว่าเป็นความจริง ก็ต้องว่าเป็น ความจริงอย่างสมมติ; เช่นพูดว่า คนนี้ชื่อ นาย ก. มันก็เป็นความจริง เพราะใคร ๆ ก็เรียกคนนี้ว่า นาย ก. เขาเองก็ถือว่าเขาชื่อ นาย ก. หรือการเรียกสิ่งนี้ว่าคน สิ่งนี้ว่าสัตว์ สิ่งนี้ว่าเทวดา อย่างนี้เป็นต้น ก็เป็นความจริง เพราะว่าใคร ๆ ก็เรียกว่าอย่างนั้น แต่ความจริงนั้น เป็นความจริงที่เท็จ หรือความเท็จที่ถูกสมมติว่า เป็นความจริง. เรียกว่า “จริงโดยสมมติ” นี้ชั้นหนึ่ง; เป็นชั้นแรกที่สุดที่ปิดบังหรือหลอกลวงให้เราเข้าใจไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นตัวตน. ทีนี้ ถ้าหากว่าเราเกิดความฉลาด จนมองเห็นว่านี่เป็นของหลอก ๆ เราก็จะหมดความยึดถือในข้อที่ว่าเป็น นาย ก. นาย ข. นาย ง. เป็นขุน เป็นหลวง เป็นพระ เป็นพระยา เป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นอะไรเหล่านี้เป็นต้นไปได้, โดยเห็นว่าเป็นเรื่องที่สมมติขึ้นพูดกันด้วยการผูกพันกันในสังคม หรืออาศัยประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งผูกพันกัน แล้วจำเป็นจะต้องสมมติเป็นอย่างนี้ก็มี; หรือสมมติขึ้นตามความจำเป็นเพราะธรรมชาติบังคับ เช่นถ้าไม่สมมติ มันก็พูดกันไม่ได้ ไม่อาจจะมีภาษาพูดกันได้. คนเราต้องพูดกัน เพราะฉะนั้นเราจึงสมมติว่านั้นเป็นนั่น นี่เป็นนี่ มันจึงพูดกันได้รู้เรื่อง อย่างนี้ก็มี. ที่มาแห่งสมมติ จะมาโดยทางไหน ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ตรงความจริงที่ว่า มันล้วนแต่เป็นเรื่องที่สมมติ. ถ้าเราเข้าใจในเรื่องสมมตินี้แล้วก็นับว่าเป็นการเพิกถอนสิ่งที่หลอกลวงนั้นได้ชั้นหนึ่ง.
ทีนี้ ก็มาถึงขั้นที่เรียกกันว่า “บัญญัติ” บัญญัติในที่นี้ ตัวอย่างเช่น คน ๆ หนึ่ง เราไม่เรียกว่า นาย ก. นาย ข. นาย ง. อีกแล้ว เราเพ่งไปยังส่วนต่าง ๆ ที่จับกลุ่มประกอบกันอยู่เป็น นาย ก. เป็นต้น. นาย ก. ผู้นี้ เมื่อเราพิจารณาดูร่างกายทั้งหมดของ นาย ก. หรือกลุ่มสังขารที่รวมกันเป็น นาย ก. ก็จะพบว่า นาย ก. นั้น เท่ากับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน. แต่ละส่วน ๆ ถูกบัญญัติเรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้, เช่นส่วนนี้เรียกว่า รูปขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าเวทนาขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าสัญญาขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าสังขารขันธ์, ส่วนนี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์. การเห็นบัญญัติอย่างนี้ค่อยยังชั่วขึ้นมาหน่อย คือฉลาดขึ้นมาหน่อย เรียกว่าไม่ถึงกับหลงในสมมติ; แต่ติดบัญญัติ. ถ้าเราจะแยกบัญญัติให้ละเอียดออกไปอีกก็มีทางทำได้, เช่นส่วนที่เป็นรูปกายนี้ แยกออกเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. หรือถ้าเราไม่แยกอย่างทางในวัดเขาแยกกัน จะแยกอย่างการศึกษาปัจจุบัน เป็นคาร์บอน เป็นอ๊อกซิเจน ไฮโดรเจน หรืออะไรก็ตาม ก็เหมือนกัน. เราก็ยังจะเห็นได้อยู่นั่นเองว่า ส่วน ๆ นั้นก็เรียกชื่อบัญญัติ ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม; หรือบัญญัติว่า ธาตุคาร์บอน ธาตุอ๊อกซิเจน หรืออะไรก็ตาม อย่างนี้เรียกว่าเห็นลึกเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง คือมันหลอกเราได้น้อยเข้าอีกชั้นหนึ่ง กลายเป็นเห็นว่าคนไม่มี มีอยู่แต่ธาตุส่วนที่เป็นร่างกาย คือธาตุนั้น ๆ ตามที่กล่าวแล้ว. ส่วนที่เป็นจิต ก็เป็นนามธาตุ; แยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ ก็เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่นเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. เมื่อเป็นดังนี้ ความรู้สึกว่าคนก็หายไป, ความรู้สึกว่า นาย ก. นาย ข. นาย ค. นาย ง. ก็หายไป. ความรู้สึกว่าลูกของกู ผัวของกู เมียของกู อย่างนี้ก็พลอยหายไป. นี่ เพราะอำนาจของการเข้าถึงบัญญัติ. แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีทางที่จะติดบัญญัติ ท่านจึงสอนให้ดูให้ลึก ให้ละเอียดลงไปอีกชั้นหนึ่ง จนถึงขั้นที่ท่านเรียกว่า “ปรมัตถ์”.
ทีนี้ เมื่อดูกันในแง่ปรมัตถ์ที่ลึกลงไปอีก มันจะปรากฏเป็นความจริงว่า แม้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม; ธาตุอ๊อกซิเจน ธาตุไฮโดรเจน หรืออะไรก็ตาม จะเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตาม, ดูให้ลึกแล้ว ก็จะพบลักษณะอันหนึ่ง ซึ่งเหมือนกันหมด คือ “ความว่าง”. ว่างจากอะไร ? ว่างจากตัวตนนั่นเอง. คำว่าว่างในที่นี้ ก็คือ ว่างจากสิ่งที่เราเรียกว่าตัวตน อย่าไปดูมันตรงที่เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ดูมันตรงที่มันไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน. ดูที่ตรงไหน ๆ มันก็ไม่มีตัวตน, พบแต่ความว่างจากตัวตน, ซึ่งถ้าเรียกอย่างภาษาศาสนา ก็เรียกว่า “สุญญตา” แปลว่า ความเป็นของว่าง, และเล็งถึงความว่างจากความมีตัวตน ว่างจากความหมายที่ควรถือว่ามีตัวตนโดยเฉพาะ. ความว่างจากตัวตนนี้ มีปรากฏอยู่ในทุก ๆ สิ่ง ไม่ว่าสิ่งใดหมด เพียงแต่ดูไม่เป็น ก็ไม่มีทางที่จะเห็นเท่านั้นเอง.
ท่านผู้ใดเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในลักษณะที่เป็นของว่าง เป็นสุญญตา ดังนี้แล้ว ความยึดถือหรืออุปาทานย่อมไม่มีทางที่จะเกิดได้, ที่เกิดแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะเหลืออยู่ได้ มันจะสูญหายละลายไปหมด ปราศจากอุปาทานโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นอุปาทานข้อไหนใน ๕ ข้อนั้นก็ตาม มันจึงไม่มีสัตว์ ไม่มีคน ไม่มีธาตุ ไม่มีขันธ์ ไม่มีอายตนะ ไม่มีอะไรทั้งหมด อีกชั้นหนึ่ง. นี่แหละเป็นความว่างจากการยึดถือว่าตัวตนจนสิ้นเชิงแล้ว จนกระทั่งความทุกข์ก็ไม่มีที่เกิด และเกิดไม่ได้. ธรรมดาความทุกข์ต้องเกิดมาแต่กิเลส. กิเลสต้องมาจากการที่หลงเข้าไปยึดถือเบญจขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นตัวตน แล้วก็อยากได้ อยากมี อยากเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อน. ความอยากชนิดนี้เป็นกิเลส พอเริ่มอยากก็เริ่มทุกข์. เมื่ออยากก็ต้องทำ เมื่อต้องทำตามอำนาจของความอยาก ก็ต้องทุกข์, ครั้นได้ผลมา ก็เป็นที่ตั้งของกิเลส ของความอยาก สืบต่อไปอีก. ขึ้นชื่อว่าเรื่องของกิเลสแล้ว ก็ต้องเป็นเรื่องของความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุดเช่นนี้.
ความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า สิ่งที่คนธรรมดาเรียกว่าความสุขนั้น ก็คือความทุกข์ตามแบบของพระอริยเจ้าอยู่นั่นเอง. ไม่มีอะไรที่จะไม่เป็นความทุกข์ในโลกนี้ หากแต่บางอย่างเป็นความทุกข์ที่เร้นลับจนคนธรรมดาดูไม่ออก. ความทุกข์ที่ซับซ้อนเร้นลับที่สุดนั้น เช่นคนที่ถือกันว่าดีมีความสุข ก็ต้องทุกข์อย่างคนดีมีความสุข. ขอให้ไปคิดเอาเองก็แล้วกัน ว่าคนดีก็ต้องทุกข์อย่างคนดี. คนมีความสุข ก็ต้องทุกข์อย่างคนมีความสุข. นี้เป็นคำที่ออกจะฟังยาก แต่ก็อาจจะเห็นความจริงของมันได้ไม่ยาก โดยที่จะไปพิจารณาดูเอาเองก็ได้ว่า ความทุกข์นั้นมันมีเลศนัยซับซ้อนและมีความละเอียดมาก. ถ้าเราตกเป็นทาสของกิเลสอย่างใดก็ตาม มันต้องเป็นความทุกข์ทั้งนั้น และไม่เป็นอิสระแก่ตน. คนที่ใคร ๆ ว่าดี มีความสุข ก็ล้วนแต่ยังตกเป็นทาสของกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั่นเอง. ถ้าหมายถึงดีและสุขอย่างโลก ๆ .
แต่เมื่อใด มองเห็นความว่างของสิ่งทั้งปวง คือของโลกทั้งหมด หรือจะเรียกว่าของสัตว์หรือคน หรือของอะไรก็ตาม โดยการเพิกถอนความยึดถือมาตามลำดับ ๆ คือชั้นแรกทีเดียว ก็เพิกถอนสมมติที่ว่า เป็นนาย ก. นาย ข. นาย ง.; เป็นลุก เป็นพ่อ เป็นผัว เป็นเมีย เป็นบ่าว เป็นนาย เป็นอะไรเหล่านี้ จนหมดสมมติก็มาเหลืออยู่ที่บัญญัติว่าเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แล้วมองบัญญัติเหล่านั้นให้ละเอียดยิ่งลงไปอีก จนเห็นว่าเป็นแต่ละบัญญัติ ๆ แล้วเพิกถอนบัญญัติให้เป็นของว่าง เป็นความว่าง คือว่างจากส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะเรียกว่าตัวตน อีกต่อหนึ่งดังนี้แล้ว; เมื่อนั้นเขาจะไม่ตกเป็นทาสของกิเลสอีกต่อไป และความทุกข์ก็ไม่มีที่เกิดทุก ๆ ชนิด และทุกวิถีทาง ใครจะเรียกเขาว่า คนดี คนชั่ว, คนสุข คนทุกข์ หรืออะไรก็ตาม ไม่เป็นของแปลก. ทั้งหมดนี้เป็นผลเกิดมาจากการมีความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นแจ้ง ในความจริงของเบญจขันธ์ จนถอนอุปาทานทั้ง ๔ ประการเสียได้นั่นเอง.
สรุปความว่า สิ่งทั้งปวงในโลก หรือโลกทั้งหมด สรุปรวมอยู่ในคำว่า “เบญจขันธ์” คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. แต่ละส่วนเป็นมายา ไร้ตัวตน. แต่ก็มีเหยื่อล่อให้เกิดอุปาทานการยึดถือ จนเป็นที่ตั้งของความอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากไม่ให้มีไม่ให้เป็น ซึ่งล้วนแต่จะทำให้เกิดทุกข์ ไม่อย่างเปิดเผย ก็อย่างเร้นลับ. ทุกคนจะต้องอาศัยข้อปฏิบัติที่เรียกว่าไตรสิกขา ทำการถอนอุปาทานในเบญจขันธ์เสียให้สิ้นเชิง จึงจะไม่ตกเป็นทาสของเบญจขันธ์ และไม่มีทุกข์อีกต่อไป. โลกหรือสิ่งต่าง ๆ จะอยู่ในลักษณะที่อำนวยความผาสุกสะดวกสบายให้แก่ผู้นั้น ไม่มีเรื่องต้องร้อนใจเพราะสิ่งใด ๆ ; เป็นผู้มีจิตใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงไปจนตลอดชีวิต. นี้แล เป็นผลของการรู้แจ้งแทงตลอดในเรื่องของเบญจขันธ์.
ไฟล์แนบ
images (20).jpg
images (20).jpg (10.24 KiB) เข้าดูแล้ว 1016 ครั้ง
images (21).jpg
images (21).jpg (9.29 KiB) เข้าดูแล้ว 1016 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
รูปประจำตัวสมาชิก
ลุงเนตร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 19852
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 19:20
Tel: 0898133936
team: อิสระ
Bike: Trek 3900, Dark Rock ทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: ๔๖๕ ซอยจ่าโสด ถนนทางรถไฟเก่า แขวง,เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
ติดต่อ:

Re: "..."คู่มือมนุษย์ ของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ"..ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ..ธรรมะกลับมา โลกาไม่พินาศ."

โพสต์ โดย ลุงเนตร »

..http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 22/entry-8

..คู่มือมนุษย์(ฉบับสมบูรณ์)/ท่านพุทธทาส : บทที่ ๖/สมาธิ และวิปัสสนา ตามธรรมชาติ

ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย,
วันนี้อาตมาต้องขออภัย ที่จะเริ่มการบรรยายด้วยการเล่าเรื่องส่วนตัวสักหน่อย เมื่อเช้าวานนี้ พอตื่นนอนขึ้น ก็เกิดรู้สึกขึ้นมาเอง ว่าที่เคยบอกออกไปในการบรรยายเมื่อวันก่อน ถึงหลักปรัชญาที่ว่า “เพราะข้าพเจ้าคิดได้, ข้าพเจ้าจึงมี” และว่านักคิดผุ้นี้ชื่อ Bergson นั้น ไม่ใช่; ที่แท้ชื่อ Descartes; ตลอดถึงนึกได้ว่า ตัวบทเดิมของเขานั้น ว่า Cogito ergosum เป็นภาษาละติน ซึ่งอาตมาออกเสียงไม่ถูก ทราบแต่แปลว่า “ข้าพเจ้าคิดได้, ฉะนั้นข้าพเจ้ามีอยู่”. ครั้นขอยืมปทานุกรมของคนใกล้ ๆ ที่พัก มาตรวจดู ก็ถูกตรงตามนั้น. ถ้าใครอยากจะติดตามดูก็เปิดดูได้. ถ้าใช้ปทานุกรมแชมเบ่อร์ ก็มีอยู่ในพวกเฟรสหรือคำพิเศษต่าง ๆ ตอนท้ายเล่ม.
การที่เอาเรื่องส่วนตัวมาเล่า, หรือจะกล่าวให้ถูกก็ว่าเป็นเรื่องนำมาแก้คำผิด, เป็นการสารภาพว่ามันเป็นการจำผิด อย่างที่เขากล่าวกันว่า “สี่ตีนรู้พลาด นักปราชญ์รู้พลั้ง”; อาตมายังไม่ถึงกับนักปราชญ์ เพราะฉะนั้นก็ต้องพลั้งบ่อย ๆ เป็นธรรมดา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็พลั้งมากที่สุดในเรื่องที่ไม่ค่อยอยากจะจำ คือในเรื่องที่ไม่ค่อยศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ไม่ค่อยอยากจะจำ มันจึงพลั้งง่าย. โดยเหตุที่ว่าคำกล่าวอย่าง Descartes กล่าวนี้ ในอินเดียเขากล่าวกันมาแล้วสองพันกว่าปี ในพวกที่ถือสังขารเป็นตัวตน. แต่ Descartes เป็นคนในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ นี้เอง; เราจึงไม่สู้สนใจกับคนเหล่านี้ เพราะความไม่สนใจหรือไม่สู้ศรัทธาในบุคคลนี่เอง จึงเป็นเหตุให้ความจำนั้นไม่แม่นยำ.
ข้อนี้ เป็นข้อที่อาตมาขอร้องให้สังเกตเอาไว้ด้วยว่า ถ้าเราไม่ศรัทธาหรือไม่ค่อยจะศรัทธาในบุคคลหรือทฤษฎีเรื่องใด มันก็จำไม่ค่อยได้; ถ้าอยากจะให้จำได้ก็ต้องทำความเข้าใจจนมีศรัทธา. ฉะนั้นโดยเฉพาะหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เราต้องศึกษาให้เข้าใจจนมีศรัทธา เราจึงจะจำได้. อีกอย่างหนึ่ง ที่ใคร่จะขอให้คิดให้สังเกต ก็คือว่า เวลาที่จิตใจผ่องใสชุ่มชื่นเยือกเย็น เป็นเวลาที่จะรู้ธรรม หรือเรียกว่าตรัสรู้ คืออาจจะรู้โพล่ง ๆ เฉย ๆ ขึ้นมาได้โดยง่าย. แม้ที่สุดแต่ความจำที่เลอะเลือนก็กลับจะแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นมาใหม่. ในขณะที่เหนื่อยหรือร้อน หรือฟุ้งซ่านด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น แม้ความจำก็ฟั่นเฝือ. เรื่องของความจำก็ยังเป็นถึงอย่างนี้ ฉะนั้นเรื่องของการที่จะมีสมาธิสำหรับจะรู้ความจริงในธรรม ก็ยิ่งเป็นอย่างนั้นมากขึ้นไปอีก. เรื่องส่วนตัวข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างดี. อย่างตัวอย่างที่เล่ามานี้ เป็นเครื่องแสดงว่าเราจะต้องมีปีติปราโมทย์ หรือความสดชื่นในขณะที่จะมีสมาธิสำหรับนึกหรือกล่าวอะไร. อาตมาขอถือโอกาสบรรยายแนว หรือลำดับของการรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไรไปเสียเลย.
ครั้งแรกที่สุด อาตมาได้บอกว่าพุทธศาสนา คือวิชาหรือวิธีปฏิบัติให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร. ถัดมาก็บอกให้รู้ว่า ที่ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา; และบอกให้รู้ว่าสัตว์หลงไปในสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น; แล้วบอกให้ทราบต่อไปว่า ไตรสิกขาเป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้, และบอกให้ทราบในที่สุดว่า ขันธ์ห้า หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งที่เกาะของอุปาทาน; ฉะนั้นเราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้าหรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้. ด้วยหลักปฏิบัติทั่ว ๆ ไป ท่านมีวิธีปฏิบัติอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นศีล คือ ปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ คือ รวบรวมกำลังใจให้เป็นที่ปรับปรุงให้เหมาะสมที่จะทำการงานทางจิต ต่อจากนั้นก็ดำเนินการพิจารณาที่เป็นตัวปัญญา และอาตมายังได้บอกให้ทราบเป็นพิเศษอีกว่า เรายังมีโชคดีที่ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เข้าไปสะสมอยู่ในใจของเรานั้น เมื่อมากเข้ามากเข้า ถึงพร้อมด้วยการศึกษา ถึงวันดีคืนดีโอกาสหนึ่ง คำตอบอาจจะออกมาเองได้ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ หรือขณะที่จิตมีลักษณะอย่างที่เรียกว่า กมฺมนิโย คือ ควรแก่การงานทางจิต.



ในบัดนี้ อาตมาอยากจะบอกให้ทราบต่อไปถึงข้อที่ว่า การที่จิตเป็นสมาธินั้น มิได้หมายความว่าจะต้องมีการกระทำตามแบบตามพิธีรีตอง หรือที่เป็นเทคนิคต่าง ๆ นั้นโดยตรงอย่างเดียวก็หาไม่. โดยที่แท้แล้วสมาธิอาจจะมีได้โดยทางตรงตามธรรมชาติ ซึ่งปราศจากเทคนิคใด ๆ ที่มนุษย์กำหนดขึ้น อีกส่วนหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายมาแล้วตามสมควรในคราวก่อน ๆ ; เราจึงได้ สมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง และ สมาธิที่เกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญตามวิธีที่เป็นเทคนิคโดยเฉพาะนั้นก็อีกอย่างหนึ่ง. ในกรณีที่เราประสงค์นั้น มันมีผลอย่างเดียวกัน คือ เมื่อเป็นสมาธิแล้ว ก็นำไปพิจารณา หรือว่าการพิจารณาจะดำเนินไปได้โดยง่าย โดยตัวมันเองดังนี้ก็ได้. แต่มีข้อควรสังเกตอย่างหนึ่งว่า สมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ นั้น มักจะพอเหมาะพอสมแก่กำลังของปัญญาที่จะทำการพิจารณา. ส่วน สมาธิที่เกิดตามวิธีของการบำเพ็ญเป็นเทคนิคโดยเฉพาะ นั้น มักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป หมายความว่าเหลือใช้ และยังเป็นเหตุให้คนหลงติดชะงัก พอใจแต่เพียงแค่สมาธินั้นก็ได้ เพราะว่าในขณะที่จิตเป็นสมาธิเต็มที่นั้น ย่อมเป็นความสุขชนิดหนึ่ง เป็นความสบายชนิดหนึ่ง ซึ่งให้เกิดความพอใจ จนถึงกับหลงติด หรือหลงเหมาเป็นมรรคผลไปเสียเลยก็ได้. โดยเหตุนี้สมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เหมาะสมกับการพิจารณานั้น จึงไม่เสียหลาย ไม่เสียเปรียบอะไรกันกับสมาธิตามแบบวิธีเทคนิคนัก ถ้ารู้จักประคับประคองทำให้เกิดให้มี และให้เป็นไปด้วยดี.
ข้อความต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกเอง มีเล่าถึงแต่เรื่องการบรรลุมรรคผลทุกชั้นตามวิธีธรรมชาติ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง หรือในที่ต่อหน้าผู้สั่งสอนคนอื่น ๆ ก็มี โดยไม่ได้ไปเข้าป่า นั่งตั้งความเพียรอย่างมีพิธีรีตอง กำหนดอะไรต่าง ๆ ตามวิธีเทคนิคอย่างในคัมภีร์ที่แต่งใหม่ ๆ ชั้นหลังเหล่านั้นเลย โดยเฉพาะในกรณีแห่งการบรรลุอรหัตตผลของภิกษุปัญจวัคคีย์หรือชฎิล ๑๐๐๐ รูป ด้วยการฟังอนัตตลักขณสูตรและอาทิตตปริยายสูตรด้วยแล้ว จะยิ่งเห็นว่าไม่มีการพยายามตามทางเทคนิคใด ๆ เลย. เป็นการเห็นแจ้งแทงตลอดตามวิธีของธรรมชาติแท้ ๆ .
นี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดี หรือเป็นเหตุผลได้ดีว่า สมาธิตามธรรมชาตินั้น ย่อมรวมอยู่ในความพยายามเพื่อจะเข้าใจแจ่มแจ้ง และต้องมีอยู่ในขณะที่มีความเห็นอันแจ่มแจ้งติดแนบแน่นอยู่ในตัวอย่างไม่แยกจากกันได้ และเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ ในทำนองเดียวกันกับตัวอย่างที่ว่า พอเราตั้งใจคิดเลขลงไปเท่านั้น จิตมันก็เป็นสมาธิเอง หรือว่าพอเราจะยิงปืนไปเป็นต้น จิตก็เป็นสมาธิที่จะบังคับให้แน่วแน่ขึ้นมาเองในเวลาเล็ง และเป็นไปตามธรรมชาติในตัวเอง ฉันใดก็ฉันนั้น. แม้ในกรณีที่ท่านทั้งหลายนั่งฟังอาตมาบรรยายอยู่ที่นี้ ถ้าท่านเข้าใจคำบรรยาย หรือถึงกับพิจารณาตามไปอย่างแน่วแน่ตามคำบรรยายนั้น ก็ย่อมแสดงว่ามีสมาธิพร้อมอยู่ในนั้น. นี้แหละเป็นลักษณะของสมาธิที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งตามปรกติถูกมองข้ามไปเสีย เพราะมีลักษณะดูมันไม่ค่อยจะขลัง ดูมันไม่ค่อยจะศักดิ์สิทธิ์ มันไม่ค่อยจะเป็นปาฏิหาริย์อะไร คือไม่ค่อยจะเป็นที่น่าอัศจรรย์อะไร; แต่โดยที่แท้แล้ว คนเรารอดตัวมาได้กันเป็นส่วนใหญ่ก็โดยอำนาจสมาธิตามธรรมชาตินี้เอง. แม้การบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ต่าง ๆ ชนิด ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือในที่อื่น ๆ อีกมากก็ด้วยอาศัยสมาธิตามธรรมชาติทำนองนี้. ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าได้มีความประมาทในเรื่องของสมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติทำนองนี้เลย. มันเป็นเรื่องที่เราอาจจะได้ก่อน ทำได้ก่อนหรือได้อยู่แล้วเป็นส่วนมาก; ควรจะประคับประคองมันให้ถูกวิธี ให้มันเป็นไปด้วยดีถึงที่สุด ก็จะมีผลเท่ากันเหมือนกับผู้ที่บรรลุพระอรหันต์ไปแล้วเป็นส่วนมากไม่เคยรู้จักนั่งทำสมาธิแบบเทคนิคใหม่ ๆ ต่าง ๆ เลยแม้แต่หน่อยเดียว.
ทีนี้ เราก็มาถึงความลับของธรรมชาติที่เกี่ยวกับเรื่องนี้. ในลำดับแห่งความรู้สึกต่าง ๆ ภายในใจจนกระทั่งเกิดการเห็นแจ่มแจ้งตามที่เป็นจริงต่อโลกหรือต่อขันธ์ห้านั้น ขอให้ดูคำลำดับแรกที่อาตมาเขียนในกระดานดำ, ได้แก่คำว่า ปราโมทย์ และ ปีติ. คำว่า ปราโมทย์ หรือ ปีติ นี้ มีความหมายอย่างเดียวกันกับในภาษาไทยเรา คือหมายถึงความชุ่มชื่นใจ หรือความอิ่มใจ. สิ่งนี้ต้องการเป็นข้อแรก. ในพระบาลีมากแห่งด้วยกัน ที่ค้นพบก็พบอย่างนี้. ปีติปราโมทย์ในที่นี้ หมายถึงปีติปราโมทย์ในทางธรรม, หรือที่ประกอบอยู่ด้วยธรรม. โชคดีอยู่หน่อยหนึ่งว่า คำว่า ปราโมทย์หรือปีตินี้ เราไม่เคยเอาไปใช้กันในทางที่เป็นเรื่องกามารมณ์เลย คงใช้แต่ในเรื่องปรกติธรรมดาเป็นอย่างน้อย. หรือถ้าให้ถูกตรงตามความหมายของคำนี้แต่ดั้งแต่เดิมแล้ว ก็ต้องให้ปีติปราโมทย์ เป็นสิ่งที่เกิดมาตามทางธรรม คือเกิดจากการทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง, เกิดมาจากการเคารพนับถือตัวเองโดยเฉพาะว่าตัวเองได้เป็นผู้ทำความดี, หรือการที่บุคคลมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ในตัวด้วยการไม่เคยทำความชั่ว และกำลังกระทำความดีเป็นที่พออกพอใจของตัว จนถึงกับตัวเองก็ยกมือไหว้ตัวเองได้ หรือมีความคิดว่า น่าไหว้ อยู่ดังนี้แล้ว สิ่งที่เรียกว่าปีติปราโมทย์นั้น ก็ต้องเป็นสิ่งที่น่ามี และมีอยู่ในนั้นแล้ว อย่างที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้.
การที่เราทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สุดแต่ การให้ทาน การเผื่อแผ่ ซึ่งถือกันว่าเป็นการกุศลชั้นต้น ๆ ก็เป็นการให้เกิดปีติและปราโมทย์นี้ได้. ถ้าไปถึงชั้นศีล, การมีศีล คือมีความประพฤติทางกายทางวาจาไม่มีที่ด่างพร้อย เกิดนับถือเคารพตัวเองได้ ปีติปราโมทย์ก็มากขึ้น. ถ้าหากว่าไปถึงชั้นสมาธิ จะเห็นได้ว่าในองค์ของสมาธิในอันดับแรก ที่เรียกว่าปฐมฌาน นั้นมีปีติอยู่องค์หนึ่งด้วยโดยแน่นอนไม่ต้องสงสัย. แต่เราไม่พูดถึงสมาธิที่เป็นฌานอะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิค เราจะพูดกันถึงเรื่องสมาธิตามธรรมชาติต่อไป.
ขอให้ย้อนมาพิจารณากันให้มาก ถึงความปีติปราโมทย์ทุกชนิดที่อาจเกิดตามธรรมชาติ นับตั้งแต่เราไปนั่งเล่นในที่สงัด อากาศดี วิวดี สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดี จนมีความชุ่มชื่นใจ อย่างนี้เรียกว่าเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความปีติหรือปราโมทย์ในที่นี้ด้วยเหมือนกัน. ถ้าหากว่าได้ทำความดีอะไร ๆ ไว้ จนตัวเองก็มองเห็นชัดอยู่จริง ๆ ว่าเป็นความดีจริง ก็มีความปีติปราโมทย์มากขึ้นที่สุด. แม้แต่นอนหลับมาอย่างเต็มตื่น เต็มตา มีความสดชื่นสบายใจอย่างนี้ ก็ยังสงเคราะห์อยู่ในพวกปีติและปราโมทย์ด้วยเหมือนกัน. ทังหมดนี้เป็นปีติปราโมทย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ. ในพระบาลีมีกล่าวถึงปีติปราโมทย์ชนิดนี้อย่างน่าอัศจรรย์อยู่หลาย ๆ อย่าง เช่นกล่าวถึงภิกษุที่กำลังแสดงธรรมสอนผู้อื่นอยู่บนธรรมาสน์ บนที่นั่งสอนนั่นเอง ก็ยังมีปีติปราโมทย์ในการที่ตนได้สอนได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดปีติปราโมทย์และอื่น ๆ ตามลำดับ จนกระทั่งบรรลุมรรคผลเพราะเหตุนั้นได้ก็มี.
ปีติปราโมทย์นั้น มีอำนาจอยู่ในตัวมันเองอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ปัสสัทธิ. [คือที่เขียนในกระดานดำ ถัดลงไปจากปีติปราโมทย์] คำว่า ปัสสัทธิ นี้ แปลว่า ความรำงับ. ตามปรกติจิตของคนเราไม่ค่อยจะรำงับ เพราะว่าจิตตกเป็นทาวของความคิดความนึก ของอารมณ์ ของเวทนา ของอะไรต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา, เป็นความฟุ้งอยู่ภายใน ไม่เป็นความรำงับ. หากแต่ถ้าว่าเกิดความปีติปราโมทย์ตามทางธรรม มาครอบงำ มีอำนาจแรงกล้าพอสมควรแล้ว ความสงบรำงับนั้นจะต้องมี คือมีปัสสัทธิขึ้น. ปัสสัทธินี้จะมีมากน้อยตามอำนาจของปีติปราโมทย์ ที่มีมากหรือน้อย เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมมากเพียงไร, ประกอบด้วยปัญญา หรือไม่ประกอบด้วยปัญญามากเพียงไรด้วย.
เมื่อมีความรำงับดังนี้แล้ว ย่อมจะเกิดอาการที่เรียกว่า สมาธิ คือใจอยู่ในสภาพที่เป็น กมฺมนิโย อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วแต่ต้น ขึ้นตามธรรมชาติอีกเหมือนกัน. สำหรับคำว่า กมฺมนิโย อาตมารู้สึกว่า ตรงๆ กับคำที่เราชอบพูดกันในปัจจุบัน นี้คำหนึ่ง คือคำว่า active มากที่สุด, หมายถึงเร็ว คล่อง สะดวก เบาสบาย พร้อมที่จะไหวไปตามความต้องการ ลักษณะที่เรียกว่า active นี้ ตรงกับความหมายของคำว่า กมฺมนิโย อยู่มากทีเดียว.
เมื่อจิตรำงับลงในลักษณะที่เรียกว่าปัสสัทธิแล้ว จะมีลักษณะอันแท้จริงของสมาธิ คือ ลักษณะแห่ง กมฺมนียภาพ หรือภาวะที่เหมาะสมแก่การที่จะประกอบการงานในทางจิต. สมาธิที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรมเพื่อตัดกิเลส จึงไม่ใช่ไปทำจิตให้เงียบเป็นก้อนหิน เงียบอย่างหลบหูหลับ ตัวแข็งทื่อ อะไรทำนองนั้นก็หาไม่, ทีแท้จะยังมีลักษณะต่าง ๆ ปรกติอยู่ แต่ว่ามีจิตสงบเป็นพิเศษเหมาะสมที่จะรู้ กำลังมีความผ่องใสที่สุด เยือกเย็นที่สุด สงบรำงับที่สุด เรียกว่า กมฺมนิโย คือพร้อมที่จะรู้. นี่คือลักษณะแห่งสมาธิที่เราต้องการ ไม่ใช่อยู่ในฌานสมาบัติแข็งทื่อเหมือนตุ๊กตาหิน หรืออะไรทำนองนั้น. การอยู่ในฌานทำนองนั้น จะพิจารณาอะไรไม่ได้เลย. จิตที่ติดในความสุขอันเกิดจากฌาน ก็พิจารณาธรรมไม่ได้, มีแต่จะตกลงสู่ฌานเสียตลอดไป ไม่สามารถยกขึ้นมาใช้ในการพิจารณา จัดว่าเป็นอุปสรรคของการพิจารณาโดยตรงทีเดียว. ผู้จะพิจารณาธรรมได้ จะต้องออกจากฌานแล้วจึงพิจารณา โดยใช้อำนาจการที่จิตมีสมาธิขนาดฌานมาแล้วนั่นเองเป็นเครื่องมือ หรือเป็นกำลังสำหรับจะพิจารณา.
ในที่นี้ เราไม่ต้องการฌาน ไม่ต้องการฌาน หากแต่ว่าต้องการ จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณสมบัติเป็น กมฺมนิโย ครบถ้วนพร้อมที่จะรู้แจ้งจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้ความเห็นตามที่เป็นจริงต่อโลกทั้งหมด หรือต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เราต้องการรู้ ที่เราสะสมไว้ในคลังแห่งความสงสัยของเรา โดยอาการตามธรรมชาติ ทำนองเดียวกันกับที่มีผู้รู้แจ้งตรงที่นั่งฟังตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสดงธรรม, หรือนำไปคิดพิจารณาในที่เหมาะสม จนรู้. ไม่มีพิธีรีตอง หรือปาฏิหาริย์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือหรือหลงใหลต่าง ๆ แต่อย่างใด. แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จะเป็นการเกิดญาณทัสสนะรวดเร็วถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์ไปทันที แต่อย่างเดียวก็หามิได้. ในบางกรณีอาจจะเกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ ขันต้น ๆ ก็ได้ แล้วแต่กำลังของสมาธิอีกเหมือนกัน. ยิ่งกว่านั้น ในกรณีพิเศษบางกรณี อาจจะไม่เกิดเป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริงก็ได้ เพราะว่าตนได้ศึกษามาก่อนอย่างผิด ๆ หรือว่าได้แวดล้อมอยู่ด้วยทิฏฐิที่ผิด ๆ มากเกินไป. แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ความแจ่มแจ้งที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องพิเศษกว่าธรรมดา เช่นว่าใสแจ๋ว ลึกซึ้ง มีเหตุผล มีอะไร ๆ ยิ่งกว่าธรรมดา หรือมีกำลังแรงเท่า ๆ กับที่เป็น ยถาภูตญาณทัสสนะเสมอ. ทีนี้ ถ้าหากว่าความรู้นั้นเป็นไปถูกต้องตามความจริง คือเป็นไปตามทางธรรม ก็เดินไปข้างหน้าจนกระทั่งเป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ คือความรู้ความเห็นในสังขารทั้งปวง ถูกต้องตามที่เป็นจริง ถ้าเกิดขึ้นเพียงน้อย ๆ ก็ทำให้เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น ๆ ได้. หรือถ้าน้อยลงไปอีก ก็เป็นเพียงกัลยาณปุถุชน คือ คนธรรมดาที่เป็นชั้นดีได้. ถ้าหากว่ามีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม และบารมีต่าง ๆ ได้เคยสร้างสมมาเต็มที่ ก็เป็นพระอรหันต์เลยก็ได้. ทั้งนี้ แล้วแต่เหตุการณ์. แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในขณะที่จิตเป็นสมาธิตามธรรมชาตินี้ สิ่งที่เรียกว่า “ญาณทัสสนะ” จะต้องเกิดขึ้น และจะต้องตรงตามที่เป็นจริง ไม่มากก็น้อย เพราะเหตุว่าพุทธบริษัทเรา ย่อมเคยได้ยินได้ฟัง ได้เคยคิด เคยนึก เคยศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้เคยมองดูโลก ดูขันธ์ ดูสังขารทั้งหลาย ด้วยความอยากจะเข้าใจตามที่เป็นจริงมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น ความรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตเป็นสมาธินั้น จึงไม่มีทางเสียหายเลย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยส่วนเดียว.
คำว่า เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ ในที่นี้ หมายถึงการรู้การเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างที่ได้บรรยายแล้วแต่คราวก่อน ๆ ซึ่งอาตมาได้สรุปใจความไว้แล้วสั้น ๆ ว่า ถ้าเป็นตามที่เป็นจริง ก็คือเห็นว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น” ดังกล่าวแล้ว; เพราะฉะนั้น เราจะต้องเข้าใจคำสรุปที่สั้นที่สุดของพุทธศาสนา หรือของไตรลักษณ์ ๓ ประการนั้น ให้ชัดเจน. พระบาลีนั้นมีอยู่ว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย; แต่เป็นบาลีจำยากก็เอาแต่คำไทย ๆ ก็แล้วกัน ซึ่งแปลว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรจะเข้าไปยึดถือเลย” คำว่า ธรรม หรือ สิ่งทั้งปวง ไม่ว่าอะไร ๆ ไม่ควรเข้าไปยึดถือเลยนี้ ก็คือไม่ควรเข้าไปยึดว่าเป็นตัวเป็นตน ว่าของตน ว่าดี ว่าชั่ว หรือกลาง ๆ ว่าน่าเอา ไม่น่าเอา น่ารักหรือน่าชัง อย่างนี้เป็นต้น, ถ้าเข้าไปมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในทางพอใจก็ตาม ไม่พอใจก็ตาม เรียกว่าเข้าไปยึดถือในสิ่งนั้น. ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า ต้องเข้าไปกอบโกยเอามาที่บ้านเป็นของของเราทำนองนี้ก็หามิได้. แม้เพียงแต่รู้สึกคิดนึกหรือความระลึกถึงเท่านั้น ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นการยึดถือในที่นี้ ถ้าหากไประลึกถึงด้วยความรัก ความพอใจ ความไม่พอใจ ความเป็นห่วง ความวิตกกังวล อะไรต่าง ๆ .
ข้อที่ว่า ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น นี่ก็มาจากหลักที่ว่า ไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ นั่นเอง. ถ้าน่ายึดถือ ก็หมายความว่า น่าเอา น่าเป็น. ตัวอย่างในเรื่องเอา ก็คือการปักใจในทรัพย์สมบัติ เงินทอง สัตว์ สิ่งของ อันเป็นที่พอใจต่าง ๆ . การเป็น ก็คือการถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นผู้ชายเป็นผู้หญิง เป็นสามีภรรยา เป็นพ่อแม่ เป็นลูกหลาน เป็นคนมั่งมีคนเข็ญใจ เป็นคนแพ้คนชนะ เป็นคนปกครองเขาหรือถูกเขาปกครอง เป็นคนทำคนอื่น เป็นคนถูกคนอื่นทำ เป็นคนดีคนชั่ว กระทั่งเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เป็นเทวดาหรือเป็นพรหม เป็นอะไรทุก ๆ อย่าง นี่เรียกว่า ความเป็น. กระทั่งความเป็นตัวเองหรือความเป็นตัวเราก็ตาม. ถ้าพิจารณาเห็นลึกซึ้งจนถึงว่าแม้ความยึดถือว่าตัวเองเป็นคน นี้ก็ไม่น่าสนุก น่าเอือมระอา เพราะเป็นที่ตั้งของความทุกข์. เหล่านี้ เรียกว่าเห็นความไม่น่าเป็น ซึ่งมี ใจความสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ก็ต้องมีความทุกข์ตามแบบของความเป็นชนิดนั้น เพราะว่าความเป็นอะไร ๆ นี้ มันต้องทนเป็น ทนอยู่ ทนดำรงอยู่, ต้องมีการต่อสู้เพื่อให้ได้เป็นหรือเป็นอยู่, อย่างน้อยที่สุด ก็คือต้องต่อสู้ในทางใจ ในการที่จะยึดถือเอาความเป็นอะไร ๆ ของตนไว้ให้ได้. นี่ ก็เรียกว่าเป็นความต่อสู้เหมือนกัน. เมื่อมีตน หรือมีตัวตนของตนแล้ว ก็จะต้องมีอะไร ๆ ของตนภายนอกตนออกไปอีก คือมีตนอื่นซึ่งเป็นของตนนี้ ฉะนั้นจึงมีลูกของตน เมียของตน อะไร ๆ ของตนอีกหลาย ๆ อย่าง จนกระทั่งมีหน้าที่แห่งความเป็นผัว เป็นเมีย ความเป็นนาย เป็นบ่าว ความเป็นอย่างนั้น-อย่างนี้ของตนขึ้นมา ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นความจริงในข้อที่ว่า ความเป็น ทุกชนิด ต้องมีการต่อสู้เพื่อดำรงเอาความเป็นนั้น ๆ ไว้เสมอไป. ไม่มีความเป็นชนิดไหน ที่ไม่ต้องอาศัยการดิ้นรนต่อสู้เพื่อดำรงความเป็นนั้นไว้, การดิ้นรนต่อสู้นั้น ก็คือผลหรือปฏิกิริยาของอุปาทาน ซึ่งทำการยึดถือสิ่งต่าง ๆ หรือยึดถือความเป็นต่าง ๆ นั่นเอง
ข้อที่จะเข้าใจไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือถ้าไม่ให้เอา ไม่ให้เป็นกันแล้ว จะอยู่กันได้อย่างไร, นี่คงจะเป็นที่สงสัยอย่างใหญ่หลวง ของผู้ที่ไม่เคยคิดไม่เคยนึกในเรื่องนี้. คำว่า “เอา” คำว่า “เป็น” ในที่นี้ หมายถึงการเอาหรือการเป็นด้วยความยึดถือในทางใจตามลักษณะอาการดังกล่าวแล้ว. ความยึดถือด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปาทาน ว่าน่าเอา น่าเป็น และใจก็ไปเอาเข้าจริง ๆ ไปเป็นเข้าจริง ๆ ตามความยึดถือด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปาทานเหล่านั้น เพราะฉะนั้นมันก็ต้องหนักที่ใจ มันก็ต้องร้อนที่ใจ มันก็ต้องถูกทิ่มแทงตบตีเผาลนผูกพันครอบงำที่ใจ นับตั้งแต่แรกไปทีเดียว และตลอดเวลาทีเดียว. นี่เป็นทุกข์หรือความหนัก ความทรมาน ตามธรรมชาติของความมีความเป็นด้วยอำนาจอุปาทาน. เมื่อเรารู้ความจริงข้อนี้แล้ว เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเครื่องมือ คือความรู้ข้อนี้ ก็สามารถที่จะมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจของตัวเอง ไม่ให้ตกลงไปเป็นทาสของสิ่งต่าง ๆ หรือของความมีความเป็นด้วยอำนาจอุปาทาน, แต่ให้มีสติปัญญาอยู่เหนือสิ่งต่าง ๆ เหนือความมีความเป็น. เมื่อเรารู้สึกอยู่ว่า โดยที่แท้มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น หากแต่เรายังไม่สามารถถอนตัวออกไปเสียจาก ความมีความเป็น เรายังต้องมีต้องเป็น ตามที่เรายังมีกิเลสอยู่มากน้อยเพียงไร เราจึงระมัดระวังมีสติสัมปชัญญะ เข้าไปเอา ไปเป็น ในสิ่งไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น เหล่านั้น ในลักษณะที่พอเหมาะสม คือมัชฌิมาปฏิปทา; เราก็ไม่เดือดร้อน เหมือนคนที่หลับหูหลับตาเข้าไปเอา ไปเป็น อย่างโง่เขลางมงาย ซึ่งผลสุดท้ายก็ตกหลุมตกบ่อของอวิชชาอุปาทานของตัวเอง จนต้องฆ่าตัวตายหรืออะไรที่คล้าย ๆ กัน. นี่แหละ เป็นเครื่องแสดงว่าเราจะอยู่กันอย่างไร โดยไม่มีใจยึดถือในการเอา การเป็น.
ถ้าเราเข้าไปเอา ไปเป็น กับสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น อยู่ตามธรรมชาติเหล่านั้น ด้วยวิชาความรู้ของพระพุทธเจ้า คือรู้ว่าแท้ที่จริง ไม่มีอะไรที่น่าเอา ที่น่าเป็น ก้เรียกว่าเรา เข้าไปเพื่อเอาชนะสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่เข้าไปเพื่อแพ้และตกเป็นทาสสิ่งเหล่านั้น. สมมติตัวอย่างว่า เสือเป็นสัตว์ที่ขายได้แพง หรืองูร้ายเป็นสิ่งที่ขายได้แพง ในเมื่อเราไม่มีวิธีอื่นที่จะประกอบอาชีพ เราจะเข้าไปจับเสือมาขายอย่างนี้ มันก็เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่เราจะต้องเข้าไปจับเสือให้ถูกวิธี เราจึงจะได้เสือมาขายและได้เงินมาเลี้ยงชีวิต. ถ้าทำผิดวิธี เราก็จะต้องตายเพราะเสือนั่นเอง. โลกหรือสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะคือเบญจขันธ์นี้ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. มันจะแผดเผาทิ่มแทงคนผู้ที่เข้าไปยึดถือด้วยตัณหาอุปาทาน นับตั้งแต่วาระแรก คือนับตั้งแต่เมื่ออยากได้ อยากเป็น, กำลังได้ กำลังเป็น, และได้แล้วเป็นแล้ว ตลอดเวลาแห่งกาลทั้งสาม คือทั้งก่อนทำ ทั้งกำลังทำ และทั้งทำเสร็จแล้ว. ถ้าใครเข้าไปยึดถือในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็นนั้น อย่างหลับหูหลับตาแล้ว ก็จะมีความทุกข์อย่างเต็มที่ เหมือนอย่างที่เราเห็นปุถุชนคนเขลาตามปรกติเป็น ๆ กันอยู่.
แม้ที่สุดแต่สิ่งที่เรียกว่า “ความดี” ที่ใคร ๆ บูชากันอยู่ ถ้าหากว่าใครเข้าไปเกี่ยวข้องกับความดีในลักษณะที่ผิดทาง และยึดถืออะไรมากเกินไป ก็จะได้รับความทุกข์จากความดีนั้นเช่นเดียวกัน; เว้นไว้แต่เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน ในลักษณะที่รู้ว่าธรรมชาติของมันเป็นเป็นอย่างนั้น แล้วเราจะต้องทำอย่างนี้ ๆ จึงจะเหมาะสมกัน นั่นแหละจึงจะเรียกว่าเป็นผู้ลืมตา มีสติปัญญาสามารถฉลาด เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีพิษซ่อนเร้นอยู่อย่างไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น. ท่านทั้งหลายอย่าลืมความหมายของคำว่าไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ที่พร่ำบอกอยู่เสมอว่า มันจะใส่ความทุกข์ หรือสาดเทความทุกข์กลับเข้ามาหาบุคคลที่เข้าไปเอา ไปเป็น โดยลักษณะที่ไม่รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น. ถ้าเรายังจำเป็นต้องเอา ต้องเป็น เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะก็คือยังละกิเลสไม่ได้แล้ว เราต้องเข้าไปเอา ไปเป็น ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้อยู่เสมอ ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น; การกระทำนั้น ๆ จะไม่มีผิด จะไม่มากเกินไป หรือไม่น้อยเกินไป แต่จะพอเหมาะพอดีและไม่มีความทุกข์ มีความเป็นอยู่ผาสุกในการเอา การเป็นนั้น ๆ .
อาจจะมีผู้สงสัยต่อไปว่า ถ้าไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็นแล้ว ก็จะไม่มีการประกอบการงานอะไร หรือไม่สามารถจะรักษาทรัพย์สมบัติสิ่งของต่าง ๆ ตามที่ตนมีอยู่ได้มิใช่หรือ ? ข้อนี้จะเป็นปัญหาอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่มีความเข้าใจเพียงพอ. ถ้ามีความเข้าใจเพียงพอแล้ว ก็จะรู้ว่าเราควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงทำสิ่งต่าง ๆ , ดีกว่าที่จะต้องทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความมักมากทะเยอทะยาน โง่เขลางมงาย หลงใหลในสิ่งที่จะทำ; มีใจความสั้น ๆ ว่า ให้เราเข้าไปดกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ด้วยสติปัญญา อย่าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยกิเลสหรือตัณหา; เรื่องมีอยู่เท่านี้เอง. ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ด้วยกิเลสตัณหา ไม่ว่าจะทำอะไรหมด มันจะมีผลเกิดขึ้นเป็นคนละอย่าง ตรงกันข้ามจากที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยปัญญา.
พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้บรรลุมรรคผลชั้นสูงสุดไปแล้ว คือ ไม่มีกิเลสตัณหาอุปาทานเลยแล้ว ท่านก็ยังทำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ได้มากกว่าพวกเราเสียอีก. ขอให้เราคิดดู ถ้าเราไม่เข้าใจในเรื่องนี้ ก็เป็นเพราะเราไม่เข้าใจของเราเอง ไม่ใช่เพราะเรื่องของท่านผิด. มันเป็นเพราะเราไม่เข้าใจในคำว่าหมดกิเลสตัณหา. ผู้หมดกิเลสตัณหาอย่างพระพุทธเจ้า กลับทำงานหามรุ่งหามค่ำ กว่าพวกเราท่านทั้งหลายนี่เสียอีก. ลองหาอ่านดูจากพุทธประวัติ ว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทำอะไรบ้าง. ก็จะพบว่าท่านมีเวลาจำวัดพักผ่อนเพียง ๔ ชั่วโมง นอกนั้นทำงานตลอดหมด ท่านทำมากกว่าพวกเราซึ่งพักเล่นเสียก็มากกว่า ๔ ชั่วโมงแล้ว. นี่ท่านทำไปเพราะอำนาจของอะไร ในเมื่อกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้อยากเป็น อยากเอาสิ่งต่าง ๆ ก็หมดเสียแล้ว ? นี่ท่านทำไปด้วยอำนาจของปัญญาที่บวกกับเมตตา.
ก่อนแต่ท่านจะเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นพระพุทธเจ้านั้น ท่านได้เคยบ่มตัวเอง ฝึกฝนตัวเอง บังคับตัวเอง อบรมตัวเองให้เกิดปัญญา และเมตตาอยู่เสมอ มันจึงมีกำลังแรงขึ้น ๆ ทุกวัน ทุกคืน ทุกปี จนกระทั่งบรรลุความสิ้นอาสวะ. กิเลสหมดไปด้วยอำนาจของปัญญาก็จริง แต่กำลังของปัญญานั้นยังคงมีเหลืออยู่ หาหมดไปด้วยไม่, เมตตาก็ยังคงเหลือเป็นกำลังอยู่; ฉะนั้นการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในตอนหลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, หรือของพระอรหันต์ทั้งหลายก็ตาม ล้วนแต่เป็นไปด้วยกำลังของเมตตาและปัญญาที่เหลืออยู่. มันเหลืออยู่ในฐานะคล้าย ๆ กับว่าเป็นซาก เพราะว่ากิเลสและตัณหาซึ่งวิ่งเต้นเป็นตัวนายโรงนั้นตายไปแล้ว เหือดแห้งไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่ร่างกายกับใจหรือเบญจขันธ์ ในลักษณะที่บริสุทธิ์ คือปราศจากกิเลสตัณหา. แต่ในความบริสุทธิ์หรือขันธ์ห้าที่บริสุทธิ์นั้น มีเมตตาและปัญญาเหลือเป็นซากอยู่ไม่น้อยเลย ฉะนั้นจึง “วิ่ง” ต่อไปได้ด้วยอำนาจของเมตตาและปัญญา. เราอาจจะเปรียบลักษณะเช่นนี้กับรถหรือเรือที่เราหยุดกำลังที่ทำให้มันวิ่งนั้นเสียแล้ว แต่มันก็ยังวิ่งไปได้อีกระยะหนึ่ง ด้วยกำลังของความเร็วที่ยังเหลืออยู่ ที่เรียกว่าโมเมนตั้ม หรืออะไรทำนองนั้น; ไปได้อีกเท่าไร ย่อมแล้วแต่กำลังที่มันวิ่งมาทีแรกนั้นจะมีมากเท่าไร. พระอรหันต์ก็เหมือนกัน แม้จะหมดกิเลสตัณหาด้วยอำนาจของปัญญาและเมตตาแล้ว แต่โมเมนตั้มของปัญญาและเมตตาเหลืออยู่มาก ฉะนั้นท่านจึงทำสิ่งที่ควรทำไปได้ทุกอย่าง ด้วยอำนาจของปัญญาเป็นใหญ่ : ท่านจะไปสอนคน ด้วยความลำบากตรากตรำชนิดที่คนอื่นทำไม่ได้ ท่านก็ทำได้. คนที่หวังจะได้เงินเดือนได้ค่าจ้าง หรืออะไรทำนองนี้ ก็ยังไม่อาจจะทำงานตรากตรำได้ เหมือนอย่างท่านที่ไม่ได้หวังเอาอะไรเลย แต่ทำไปด้วยอำนาจของเมตตาบริสุทธิ์ ปัญญาบริสุทธิ์ที่ยังเหลืออยู่.
แม้สิ่งที่เป็นไปตามความต้องการของร่างกายตามธรรมชาติ เช่นท่านจะต้องไปบิณฑบาตหาอาหารฉันเหล่านี้ ท่านก็ยังคงทำไปได้ด้วยอำนาจของปัญญาที่ยังคงเหลืออยู่เช่นเดียวกัน ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อเป็นอย่างนั้น-เพื่อเอาอย่างนี้. แต่ปัญญาความรู้จักผิดชอบชั่วดีที่ยังเหลืออยู่เป็นกำลังที่พอจะส่งร่างกายนี้ออกแสวงหาอาหาร. มันจะผิดกันอยู่บ้างก็ตรงที่ว่า หาได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้ เท่านั้น. ในกรณีของการเจ็บการไข้ ท่านก็มีปัญญาเหลืออยู่พอที่จะให้รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร ท่านก็ดำเนินการแก้ไขเท่าที่ปัญญามันบอก. ถ้ามันเป็นเรื่องมากเกินไปก็เป็นธรรมดาที่ว่าจะต้องแตกดับ เพราะว่าท่านมีความขวนขวายน้อย. ความอยู่หรือความแตกดับ ไม่มีความหมายสำหรับท่าน หรือมันมีค่าเท่ากัน แต่ปัญญาเหลืออยู่สำหรับการจะรู้ และแก้ไขไปตามมีตามได้ตามที่ควรทำ; นับว่าเป็นความถูกต้องที่สุดสำหรับกรณีที่จะไม่มีความทุกข์เลย. มันไม่ต้องมีตัวมีตนเป็นเจ้าของเรื่องที่ไหน มันมีแต่ปัญญาที่ไปบังคับร่างกายให้เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ เป็นแมคานิคของรูปธรรมนามธรรมล้วน ๆ ไม่มีตัวตนเจืออยู่ในนั้น ก็เป็นไปได้ตามอัตโนมัติของธรรมชาติ. ฉะนั้นท่านจึงไม่มีความขวนขวายมาก ถึงกับว่าจะต้องหายาเป็นพิเศษ หาเงินมาใช้ในการรักษาเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ขวนขวายเลย; ท่านปล่อยไปตามที่ความรู้จักผิดฃอบชั่วดีของท่านจะเชื้อเชิญให้ทำ. ถ้ามันเป็นเรื่องยุ่งยากมาก ท่านก็ไม่ขวนขวาย ท่านอยู่เฉย ๆ จนหายเอง หรืออาจจะนิพพานไปด้วยเหตุนั้นก็ได้ นี่เป็นของธรรมดา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความหมดกิเลสนั้น จะทำให้ไม่รู้สึกในการที่จะเยียวยารักษาอาพาธนั้นก็หาไม่; ฉะนั้นท่านจึงเป็นอยู่ได้เพราะอำนาจของปัญญา; ไม่ต้องตายเพราะอดอาหาร, ไม่ต้องตายเพราะเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วไม่มีการรักษาแต่อย่างใดเลย. นี่เราเห็นได้ว่า เพียงอำนาจของปัญญาบริสุทธิ์ เมตตาบริสุทธิ์ที่เหลืออยู่เท่านั้น ก็ทำให้พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้มีชีวิต หรือยังคงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ได้ และจะทำได้สูงหรือมากกว่าคนที่ยังมีกิเลสตัณหาเสียอีก; คนที่มีกิเลสตัณหา อยากเอาอะไร อยากได้อะไรเป็นของตัวนั้น ย่อมทำแต่ที่จะให้ได้แก่ตัว เพราะความเห็นแก่ตัว; ส่วนท่านนั้น ทำไปด้วยความเมตตาบริสุทธิ์ ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ไม่มีความเห็นแก่ตัว ฉะนั้นมันจึงมากกว่ากัน กว้างกว่ากัน สูงกว่ากัน บริสุทธิ์กว่ากัน ทำนองนี้.
เมื่อเราเอาตัวอย่างของพระอรหันต์มาเปรียบเทียบ เราก็จะเห็นได้ว่า ผู้ที่เห็นเด็ดขาดลงไปแล้ว ว่าไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็นนั่นแหละ กลับเป็นผู้ที่ทำอะไรได้ดีกว่าผู้ที่เอาอะไร เป็นอะไรเสียเรื่อย และกลับจะเป็นผู้ปฏิบัติถูกต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างแท้จริง. ความอยากเอา อยากเป็นนี้ เป็นความมืดอย่างยิ่งชนิดหนึ่ง. ที่ว่าเป็นความมืด ก็เพราะเป็นความหลง ไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร จนกระทั่งไปคว้าเอากงจักรมาเป็นดอกบัว. คนเรามีความมืดครอบงำ หรือมีความมืดเป็นเครื่องจูง แล้วจะไปกันอย่างไรขอให้ลองคิดดู, เพราะฉะนั้นขอให้เราทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่อาชีพการงาน หรือหน้าที่อะไรทุก ๆ ชนิด ด้วยสติปัญญาที่รู้สึกอยู่เสมอ ว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็น หรือน่าหลงใหลยึดถือดังกล่าวแล้ว. จงกระทำไปให้พอเหมาะพอสมกับที่ว่าสิ่งเหล่านั้นมีความไม่น่าเอา ไม่น่าเป็นอยู่ตามธรรมชาติ. เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องให้ถูกวิธีและพอเหมาะ ในเมื่อเรายังต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือยังต้องเอา ต้องเป็นอยู่ก่อน. ข้อนี้เป็นการทำให้จิตของเรายังคงสะอาด สว่างไสวแจ่มใส สงบเย็น อยู่เสมอ แล้วเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกหรือสิ่งทั้งปวงในลักษณะที่จะไม่เป็นพิษเป็นโทษขึ้นมาได้.


(หมายเหตุ ส่วนต่อจากนี้ ท่อนท้าย ขาดหายไป เพราะตัวอักษรโดนดาษมืดทึบหมด)
ไฟล์แนบ
images (16).jpg
images (16).jpg (13.42 KiB) เข้าดูแล้ว 1016 ครั้ง
*..ยิ่งปั่น..ยิ่งแข็ง..แรงยิ่งดี..โรคไม่ค่อยมี..ไม่ทุกข์..*
ตอบกลับ

กลับไปยัง “คุยนอกเรื่องใดๆ ที่ไม่เกี่ยวกับจักรยาน”