เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
ตอบกลับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย giro »

เรียนรู้การใช้เกียร์
บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

รูปภาพ

สำหรับนักปั่นมือใหม่ๆ หรือผู้ที่เริ่มปั่นจักรยานมาแล้วระยะหนึ่ง แม้แต่มือเก่าๆที่ปั่นมานานก็ยังคงมีเรื่องสับสนคาใจเกี่ยวกับการเลือกใช้เกียร์อย่างไรให้เหมาะสมอยู่บ้างไม่มากก็น้อย บทความเรื่องเกียร์นี้จะมีอยู่ 2 ตอนได้แก่ตอนแรกเป็นเรื่องราวพื้นฐานและการเลือกเปลี่ยนเกียร์ จวบจนวิธีการ"เล่น"ไล่เกียร์สำหรับทางราบและภูเขาอย่างไรให้ขี่ได้อย่าง"ฉลาด"ที่สุด ส่วนบทที่สองจะเป็นเนื้อหาเชิงลึกเกี่ยวกับการเลือกใช้เกียร์ขนาดต่างๆ รวมถึงการเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับเส้นทางที่ต้องการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักปั่นทุกท่าน
เอาล่ะ...มาเข้าเนื้อหากันเลย

เกียร์จักรยานมีทั้งความเหมือนและความต่างจากเกียร์รถยนต์และจักรยานยนต์อยู่ ในความเหมือนก็คือ การทดอัตราทดของระบบส่งกำลัง โดยที่มีจานหน้าเป็นฟันเฟืองใหญ่หมุน 1 รอบพาเอาฟันเฟืองเล็กด้านหลังหมุนไปหลายๆรอบ ซึ่งอัตราส่วนระหว่างจานหน้าและเฟืองเล็กเรียกว่า Gear Inch Ratio หรือเรียกกันง่ายๆว่าค่า GI (คนไทยเรียกกันติดปากว่า"เกียร์เรโช") เป็นตัวบอกว่าหากจานหน้าหมุนไป 1 รอบ เฟืองหลัง(และล้อหลัง)จะหมุนไปกี่รอบ ซึ่งพื้นฐานของแนวคิดนี้คือ ยิ่งอัตราส่วนยิ่งมาก จานหน้าหมุนหนึ่งรอบ เฟืองหลังยิ่งหมุนไปได้หลายๆรอบ (จานใหญ่-เฟืองเล็ก) หรือถ้าอัตราดรโชต่ำ จานหน้าหมุนไปได้หนึ่งรอบเฟืองหลังจะหมุนน้อยลง(จานเล็ก-เฟืองใหญ่) ซึ่งก็ส่งผลต่อการออกแรงถีบและความรู้สึกของเรา


รูปภาพ
ซึ่งก็คือความต่างระหว่างจักรยานและพาหนะเครื่องยนต์ทั้งหลาย เพราะเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนคือ"ร่างกาย"ของเรา มีแหล่งพลังงานชีวะเคมีมหัศจรรย์ทำงานได้หลากหลายอยู๋ในตัวท้งกล้ามเนื้อ ไขมัน ไกลโคเจน มีระบบการทำงานซับซ้อนขั้นสุดยอดการออกแบบ เมื่อัตราทดเกียร์หนักขึ้นและเรายังต้องรักษารอบเครื่องให้เท่าเดิม ก็แปลว่าร่างกายต้องออกแรงมากขึ้น หรือในทางกลับกันหากเราลดอัตราเรโชลงและรักษารอบให้เท่าเดิม ร่างกายก็จะทำงานเบาลง ซึ่งส่งผลกับการปั่นจักรยานมีเกียร์อย่างชัดเจนเลยทีเดียว เช่นเมื่อเราพบอุปสรรคที่เพิ่มแรงต้านของการเคลื่อนที่ เช่นเนินเขา ลมต้าน ทางขรุขระ หากเราต้องการรักษารอบเครื่องยนต์ที่ทำงานต่อหนึ่งนาทีเอาไว้เท่าเดิมก็จะรู้สึกว่าต้องต่อสู้ฝ่าฟันกับมันมากขึ้น แต่เกียร์จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนอัตราทดของรอบเครื่องไปสู่ล้อหลัง เมื่อเราลดอัตราทดลง เราก็สามารถออกแรงรอบเครื่องเท่าเดิมได้โดยที่รู้สึกผ่อนแรงลง ช่วยให้รักษาการเคลื่อนที่เอาไว้ได้
รอบเครื่องที่ว่าก็คือ"รอบขา"หรือ cadence ที่มีหน่วยเป็น RPM หรือ "รอบต่อนาที" ยิ่งเรารักษารอบขาเราได้คงที่เท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้สึกสบายขึ้น การใช้เกียร์ที่เหมาะสมและชาญฉลาดก็คือการเลือกใช้อัตราทดเกียร์ให้ร่างกายเราออกแรงและรู็สึกสบายต่อเนื่องให้เหมาะสมกับอุปสรรคและสถานการณ์นั่นเอง
ความเข้าใจผิดๆของนักปั่นมือใหม่ก็คือ


รูปภาพ
"ปั่นช้าใช้จานเล็ก ปั่นเร็วใช้จานใหญ่" หรือแปลง่ายๆว่าใช้อัตราทดเกียร์ตามย่านความเร็วของการเดินทางบนจักรานนั้น ...คำอธิบายแก้ข้อเข้าใจผิดนี้ ต้องดูจากตารางในภาพประกอบ เป็นตัวอย่างจากชุดเกียร์ จานหน้า 53/39 ฟัน ร่วมกับเฟือง 11-28 คำนวนรอบวงล้อขนาด 700x23 และใช้รอบขาสมมุติที่ 90 รอบต่อนาที พบว่าอันที่จริงแล้วทั้งจานหน้าใบใหญ่(53 ฟัน) และจานหน้าใบเล็ก(39 ฟัน) ต่างก็สร้างอัตราทดอยู่ในระดับเหลื่อมกัน
จานใหญ่จะมีอัตราทดที่สูงกว่าจานเล็กอย่างสิ้นเชิงที่เกียร์หนักที่สุด 4 เกียร์ที่เฟือง 11 ถึงเฟือง 14 ฟันเท่านั้น แต่ต่อจากนั้นอัตราทดที่ไล่ต่อกันจะไปอยู่ที่จานเล็กเฟืองเล็กสุดแทน และจะสลับไล่กันไปเรื่อยๆจนถึง ขานใหญ่เฟือง 19 และจานเล็กเฟือง 14 จะมีอัตราทดที่เหมือนกัน



ดังนั้นที่อัตราทดดังกล่าวจะได้ความรู้สึกทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด มีรอบขาเท่ากัน เหนื่อยเท่ากัน ได้ความเร็วเท่ากัน ใช้พลังงานเหมือนกัน กล้ามเนื้อทำงานไม่ต่างกัน หรือเรียกง่ายๆว่าเป็น"เกียร์แฝด"กัน
ดังนั้นจากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วเราสามารถใช้จานหน้าทั้งสองใบได้ในย่านความเร็วทั่วไปทดแทนกันได้แทบทั้งสิ้น ที่สำคัญยังช่วยในการรักษาระดับความเหนื่อยช่วยได้เช่น หากเราปั่นจานใหญ่ที่เฟือง 23 แล้วรู้สึกว่าอัตราทดมันหนักเกินไป แต่เมื่อปรับเฟืองไปที่เฟือง 25 ก็รู้สึกว่ามันเบาขาเกินไป ลองสับจานลงไปจานเล็กและใช้เฟือง 14 ก็จะได้อัตราทดที่อยู๋ตรงกลางระหว่างทั้งสองเฟืองดังกล่าว
มาพูดถึงเรื่องพื้นฐานมากๆของการเปลี่ยนเกียร์กันก่อนนะครับ ปกติแล้วระบบการเปลี่ยนเกียร์ของจักรยานือการสลับโซ่ที่วิ่งไปบนชุดเฟืองท้ายและจานหน้าให้เกิดอัตราทดต่างๆ โดยที่มือซ้ายเราจะคุมการสับจานไม่ว่าจะสองหรือสามใบ มือขวาจะคุมการไล่เฟืองท้ายจะเป็น 7 เฟืองหรือ 11 เฟืองก็ใช้งานไม่ต่างกัน ต่างกันแค่ความต่อเนื่องของแต่ละเฟืองในชุดเฟืองเท่านั้น thaimtb ขอเสนอข้อคิดสำหรับมือใหม่ใช้เกียร์จักรยานดังนี้
รูปภาพ


1.ไล่เกียร์มือขวา
มือขวาเราคุมตัวเปลี่ยนเฟียร์ที่เฟืองหลัง การใช้งานปกติเราจะใช้การไล่เฟืองหลังไปมาเป็นหลัก หากพบอุปสรรคหรือต้องการเพิ่มความหนักเราจะเลือกใช้เฟืองขนาดใหญ่หรือเล็กเพื่อให้ได้ผลามที่ต้องการ หากเปลี่ยนเฟืองใหญ่ขึ้น อัตราทดขาจะเบาลง หากกดลงเฟืองเล็กลงก็จะรู้สึกว่าหนักขาขึ้นแต่ก็แปลว่าสามารถทำความเร็วได้มากขึ้นในรอบขาที่เท่าเดิม

2.เล่นใบจานหน้า
ลองใช้ใบจานหน้าไม่ว่าจะ 2 หรือ 3 ใบ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเท่าไหร่ก็ตาม ลองเล่นสลับไปมาดู บางครั้งการสลับเปลี่ยนไปใช้จานอีกใบ และทดเฟืองหลังให้รู้สึกต่อเนื่องช่วยรักษาพลังงานและความเร็วที่คงที่ได้มากกว่า ช่วยใหไม่ต้องออกแรงถีบแล้วคอยฟรีขา หรือไม่ต้องควงขาปั่นยิกๆแต่ความเร็วไม่ไปไหน ที่สำคัญ ในขั้นการเล่นเกียร์แบบฉลาด เราต้องรู้จักเล่นเกียร์โดยใช้ทั้งจานหน้าและเฟืองหลังร่วมกัน

3.หลีเกลี่ยงเกียร์ต้องห้าม
เกียร์ต้องห้ามที่ไม่ควรใช้ไม่ว่ากรณีใดก็ตามคือจานใหญ่เฟืองใหญ่สุด และจานเล็ฏเฟืองเล็กสุด เนื่องจากโซ่จะเฉียงตัวมาก ส่งผลให้สึกหรอมากกว่าปกติ ทำให้อายุการใช้งานของชุดขับเคลื่อนลดลงกว่าปกติ ดังนั้นในชุดเกียร์ 22 ฟือง และ 2 ใบจาน แม้ว่าจะมีอัตราทดให้เลือกใช้ได้ 22 ชุด แต่แปลว่ามีเกียร์ใช้งานได้จริงๆแค่ 20 เกียร์เท่านั้น



thaimtb ขอฝากทริคสุดท้ายเพื่อเฉลี่ยการสึกหรอและยืดอายุของชุดขับเคลื่อน...บนทางราบที่ความเร็วไม่ได้เร็วมาก ลองเลือกใช้จานใบเล็ฏร่วมกับเฟืองกลางๆชุดเฟืองดูนะครับ ที่ความเร็วระดับ 22-27 กม./ชม. เราสามารถใช้เฟืองเล็กปั่นได้สบายๆ โดยที่โซ่จะอยู๋ในแนวตรง แทนที่เลือกใช้จานใหญ่และเฟืองใหญ่ซึ่งโซ่จะเฉียงมากกว่า ทำให้โซ่และเฟืองสึกน้อยกว่า แถมเป็นการสลับใช้ใบจานให้เฉลี่ยการสึกหรอไปด้วยกันทั้งสองใบ


นักปั่นที่อยู๋ในภาคกลาง ทางราบมากๆ ส่วนมากไม่ค่อยได้ใช้จานเล็กเพราะไม่ค่อยได้ขึ้นเขา จะปั่นช้าปั่นเร็วก็ใช้จานใหญ่เนื่องจากเข้าใจผิดว่าจานเล็ฏคือ"เกียร์ขึ้นเขา" ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจานหน้าจะสึกหรอไม่เท่ากัน ส่วนโซ่และชุดเฟืองจะสึกมากกว่าการใช้เกียร์เฉลี่ยและให้แนโซ่อยู่ตรงกลางมากทที่สุดเท่าที่ทำได้
ก่อนจบบทความนี้ อย่าลืมมีสติ รู้ตัวว่าใช้เฟืองและจานอะไรอยู่เสมอๆ เพราะในขั้นตอนขั้นต่อไป เราจะเลือก"เล่น"เกียร์ได้ดี ก็ต่อเมื่อเรารู้ตัวว่าเรากำลังใช้อัตราทดอะไร และนักปั่นที่มีประสพการณ์มากๆจะสามารถปรับเกียร์เล่นทั้งจานหน้าและหลังร่วมกันได้อย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมรับสถานการณ์และเส้นทางที่กำลังจะมาถึง[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 844582.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
irat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 879
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ธ.ค. 2013, 11:57
team: 18+

Re: เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย irat »

มือใหม่ชอบคิดว่า 11 speed ทำให้ไปได้ไวกว่า 10 speed

แล้วก็ประมาณว่า 8 speed ก็พอแล้ว เพราะตอนนี้ยังไม่ได้ใช้เกียร์สุดท้ายเลย
สายแฟชั่น ปั่นเรื่อยเปื่อย
รูปประจำตัวสมาชิก
suwitpr
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 889
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 15:22
Bike: TREK 29er superfly9.6
ตำแหน่ง: เชียงใหม่
ติดต่อ:

Re: เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย suwitpr »

ใช่ที่สุด
เสือภูเขา ... ไม่มีวันตาย !!!
รูปประจำตัวสมาชิก
tawat1991
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 94
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2016, 13:37

Re: เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย tawat1991 »

ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
the_wuth
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ธ.ค. 2015, 12:34
Bike: Diamondback
ตำแหน่ง: กรุงเทพกรีฑา

Re: เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย the_wuth »

:P
sakda015
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 24
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มิ.ย. 2016, 16:18
Tel: 0864175117
Bike: infinite
ติดต่อ:

Re: เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย sakda015 »

ขอบคุณครับ :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
munanza
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 60
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 13:51
Bike: BMC

Re: เรียนรู้การใช้เกียร์ บทที่ 1 อัตราทดและการใช้เกียร์

โพสต์ โดย munanza »

ขอบคุณครับ สัญญาจะตั้งใจเรียนครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”