เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

ห้องนี้เทียบได้กับ "ห้องนั่งเล่น" ในกระดานเดิมนะครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


ทุกชีวิตต้องการไฟฟ้า !!

สปอตโฆษณาตัวใหม่ล่าสุดของ กฟผ.



:arrow: http://www.youtube.com/watch?v=YlkuSPY_nTA

รูปประจำตัวสมาชิก
ธานินทร์๙๙
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1560
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 09:22
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Lemond

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย ธานินทร์๙๙ »

สวัสดีครับ พี่สมพิศ
ผมเพิ่งเห็นข่าวอขศ.คนใหม่ เพิ่งย้ายมาจากตำแหน่งเดิมอขส.
เป็นคนคุ้นเคย รู้จักกันมานาน ย้ายมาอยู่ใกล้ขึ้น อยากแวะไปเยือน :D
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


สวัสดีครับพี่ธานินทร์

พอผมเกษียณออกมาแล้วก็เหมือนบุคคลภายนอกเลยครับ การรับรู้ข่าวสารภายในขาดหายไปทั้ง EGAT-mail และ Intranet นาน ๆ ทีก็เข้าไปเบิกเงินที่สหกรณ์ออมทรัพย์และซื้อของที่สหกรณ์ร้านค้า แต่ก็ไม่ได้ขึ้นไปบนตึกที่เคยนั่งทำงาน เกรงใจน้อง ๆ ครับ

ในทริปทำบุญโรงเรียนที่บางไทรกลางปีนี้ คุณชนินทร์แคยแนะนำให้รู้จักผู้อำนวยการฝ่ายขนส่ง (อขส.) ที่มาปั่นจักรยานด้วย ไม่แน่ใจว่าเป็นคนเดียวกันหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ จัดทริปปั่นไปเยือนผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ (อขศ.) ดีไหม :lol: :lol: (ถ้าไม่ใช่ก็ขอโทษด้วยครับ ผมไม่ค่อยแน่ใจ)

พูดถึงเขื่อนศรีนครินทร์ถิ่นเก่าที่พี่สร้างมากับมือ ทำให้นึกถึงน้ำตกห้วยแม่ขมิ้นที่เราเคยปั่นไปสำรวจเส้นทางแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จนั้น ทราบมาว่าตอนนี้เขาลาดยางตลอดเส้นทางแล้ว น่าสนใจนะครับพี่ :mrgreen:

รูปประจำตัวสมาชิก
ธานินทร์๙๙
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1560
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 09:22
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Lemond

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย ธานินทร์๙๙ »

แหะ แหะ เขื่อนที่ผมมีส่วนร่วมเล็กน้อยในการก่อสร้างคือเขื่อนบางลาง กับ เขื่อนวชิราลงกรณ(เขื่อนเขาแหลม) ครับ.. พี่สมพิศ.. ไม่ใช่เขื่อนศรีนครินทร์ ;)

จัดไปเยือนเขื่อนศรีนครินทร์ก็ไม่เลวครับ ..ใช่ครับ "อขศ." คือผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์.. ผมโทรศัพท์ไปทักทายแสดงความยินดีแล้ว เมื่อวาน
รู้จักกันมานานมาก เพราะตอนเป็นเด็กบ้านอยู้ใกล้กัน หนุ่มกว่าผมเก้าปีครับ :P

แต่.. เอ.. ในประกาศของกฟผ.นั้น "อขส." คือผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ ที่เป็นตำแหน่งก่อนหน้าของ อขศ. ครับ :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


อุ้ย ! ผมเลอะเลือนครับ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่ง ย่อ ฝขส. ส่วน อขส. ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ ถูกต้องแล้วครับ :oops: :oops:
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »

ประกาศรับสมัคร.gif
ประกาศรับสมัคร.gif (104.58 KiB) เข้าดูแล้ว 1150 ครั้ง



กฟผ. ประกาศรับสมัครงาน รอบ 2 จำนวน 15 อัตรา

รายละเอียด :arrow: http://www.egat.co.th/index.php?option= ... Itemid=182


รูปภาพ

รูปภาพ
Announcement2556_round2 # 3.jpg
Announcement2556_round2 # 3.jpg (86.49 KiB) เข้าดูแล้ว 1149 ครั้ง
ไฟล์แนบ
Announcement2556_round2 # 2.jpg
Announcement2556_round2 # 2.jpg (173.42 KiB) เข้าดูแล้ว 1000 ครั้ง
Announcement2556_round2 # 1.jpg
Announcement2556_round2 # 1.jpg (205.07 KiB) เข้าดูแล้ว 1000 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »

กฟผ.ประกาศรับสมัครงาน.gif
กฟผ.ประกาศรับสมัครงาน.gif (117.33 KiB) เข้าดูแล้ว 1110 ครั้ง

กฟผ.รับสมัครงาน ปี 2557 จำนวน 533 อัตรา

ตั้งแต่ 22 ม.ค. - 21 ก.พ. 2557

รายละเอียด :-
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


ประกาศ เรื่อง การรับสมัครงาน


:arrow: http://www.egat.co.th/images/recruitmen ... nt2557.pdf


รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ รูปภาพ
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »

กฟผ. ฝ่ายสื่อสารองค์การ เขียน:
"ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 68 หรือกว่า 2,400 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน ในขณะที่แหล่งก๊าซฯ ในอ่าวไทยมีเหลือใช้อีกแค่ 7 ปี เท่านั้น เราคงต้องช่วยกันคิดตั้งแต่วันนี้ว่า "อนาคตพลังงานไทยจะก้าวไปในทิศทางใด"
550253_468432826590098_637419703_n.jpg
550253_468432826590098_637419703_n.jpg (93.43 KiB) เข้าดูแล้ว 1104 ครั้ง
:arrow: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=468432826590098
[/color]
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »

EGAT.jpg
EGAT.jpg (274.39 KiB) เข้าดูแล้ว 1096 ครั้ง

กฟผ.พร้อมรับมือ JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซ 28 วัน มั่งใจประชาชนร่วมใจประหยัดไฟฟ้า นำพาภาคใต้ผ่านพ้นวิกฤต

Created on Monday, 09 June 2014 11:20

เปิดแผนจัดหาพลังงานไฟฟ้ารองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ประมาณ 2,450 Glossary Link เมกะวัตต์ ช่วงเวลาที่แหล่งก๊าซฯ JDA-A18 หยุดจ่าย 28 วัน รวส. แย้ม อาจมีความเสี่ยงจากการที่แหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่มีไม่เพียงพอ จนต้องพึ่งพาการส่งไฟฟ้าจากภาคกลาง สูงถึง 844 Glossary Link เมกะวัตต์ ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานความมั่นคงระบบไฟฟ้าที่รองรับ N-1 ประมาณ 144 เมกะวัตต์ วอนประชาชนภาคใต้ทุกคนร่วมใจกันประหยัดพลังงาน เพื่อให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้มีความมั่นคงและสามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยกัน

นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง (รวส.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่แหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย แปลง A-18 (แหล่ง JDA-A18) มีความจำเป็นต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มแรงดันก๊าซฯ (Booster Compressor) และดำเนินการเชื่อมหลุมก๊าซฯ เพิ่มเติม (BLC Tie-in) เพื่อรักษาความสามารถในการจ่ายก๊าซฯ จึงมีกำหนดการหยุดจ่ายก๊าซฯ เพื่อดำเนินงานดังกล่าวในช่วงระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน–10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 รวมระยะเวลา 28 วัน นั้น จะส่งผลกระทบใน 2 ส่วนหลัก คือ

1. การขาดก๊าซฯ ปริมาณ 300 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน สำหรับส่งจ่ายมายังจังหวัดระยอง เพื่อเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าในส่วนภาคกลาง ซึ่ง บมจ.ปตท. สามารถจัดหาก๊าซธรรมชาติอัดเหลว (LNG) มาทดแทนได้อย่างเพียงพอ

2. การขาดก๊าซฯ ปริมาณ 120 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน สำหรับส่งจ่ายเข้าโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 จังหวัดสงขลา ซึ่งจากการออกแบบระบบส่งจ่ายก๊าซฯ โรงไฟฟ้าแห่งนี้สามารถรับก๊าซฯ ได้จากช่องทางเดียว ประกอบกับการออกแบบโรงไฟฟ้าให้สามารถเดินเครื่องได้เพียงเชื้อเพลิงเดียว (การดัดแปลงให้สามารถเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซลยังไม่แล้วเสร็จ) ส่งผลให้โรงไฟฟ้าดังกล่าว ต้องหยุดเดินเครื่องไปด้วย คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าที่หายไป 710 เมกะวัตต์ และต้องมีการจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าแห่งอื่นในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงการส่งไฟฟ้าจากภาคกลาง มาทดแทน

“มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ของพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงที่มีการหยุดจ่ายก๊าซฯ จากจากแหล่ง JDA-A18 น่าจะอยู่ที่ 2,450 เมกะวัตต์ โดยมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ในช่วงระยะเวลา 18.30-22.30 น. (เป็นช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุดของแต่ละวัน) ซึ่งการจัดหาพลังงานไฟฟ้าตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในระดับดังกล่าว สามารถพึ่งพาแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ได้เพียง 1,606 เมกะวัตต์ เท่านั้น (ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา กำลังผลิต 225 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง กำลังผลิต 66 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสันติ กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) กำลังผลิต 29 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าขนอม กำลังผลิต 710 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากระบี่ กำลังผลิต 315 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี กำลังผลิต 234 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าดีเซลในค่ายทหาร กำลังผลิต 26 เมกะวัตต์) ส่วนที่เหลืออีก 844 เมกะวัตต์ ต้องพึ่งพาการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางลงสู่ภาคใต้ผ่านทางระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง (Tieline) ซึ่งอาจมีความเสี่ยง เพราะเกินจากมาตรฐานความมั่นคงระบบไฟฟ้า N-1 Criteria (รองรับกรณีอุปกรณ์ใดๆ ขัดข้อง 1 อุปกรณ์ ซึ่งควรควบคุมไว้ไม่เกิน 700 เมกะวัตต์) ประมาณ 144 เมกะวัตต์”

รวส. อธิบายเพิ่มเติมถึงมาตรการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการจัดหาพลังงานไฟฟ้า (Supply Side) ซึ่งมีอยู่ 4 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ด้านโรงไฟฟ้า คือ การเตรียมความพร้อมของโรงไฟฟ้าทุกแห่งในพื้นที่ภาคใต้ ให้มีความพร้อมในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในช่วงที่แหล่ง JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซฯ โดยในช่วงดังกล่าวจะไม่มีการหยุดเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าใดๆ ทั้งสิ้น

2. ด้านเชื้อเพลิง เนื่องจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ และโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ต้องใช้น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล ตามลำดับ จึงต้องมีการประสานงานกับ บมจ.ปตท. เพื่อให้สามารถจัดหาน้ำมันสำรองให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยในเบื้องต้นจะต้องมีน้ำมันเต็มคลังน้ำมันสำรองของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง ก่อนที่แหล่ง JDA-A18 จะเริ่มหยุดจ่ายก๊าซฯ จากนั้นทยอยจัดหามาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแหล่ง JDA-A18 จะกลับมาจ่ายก๊าซฯ อีกครั้ง

3. ด้านระบบส่ง คือ การตรวจสอบอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้าที่สำคัญ และระบบป้องกันต่างๆ (ป้องกันการเกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง)ให้มีความพร้อมใช้งาน พร้อมทั้งปรับปรุงเพิ่มเติมระบบป้องกันพิเศษให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการประสานงานด้านการจัดเตรียมแผนการบริหารจัดการกับความต้องการใช้ไฟฟ้า (ย้ายโหลด/ปลดโหลด) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สำหรับใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอื่นๆ เพิ่มเติม

4. ด้านการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ โดยประสานขอรับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาเลเซีย ผ่านระบบ HVDC ในช่วงเวลา 18.00-21.00 น. ของทุกวัน ตลอดช่วงที่แหล่ง JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซฯ ซึ่งการไฟฟ้ามาเลเซียจะขายไฟฟ้าให้ไทยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพระบบไฟฟ้าของมาเลเซียในขณะนั้น

ขณะเดียวกัน ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านผู้ใช้ไฟฟ้า/การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side) ได้แก่ 1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) รับบทบาทในการขอความร่วมมือกับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ (ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ฯลฯ) ในพื้นที่ภาคใต้ ให้ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา 18.30-22.30 น. ของวันจันทร์-เสาร์ โดยตั้งเป้าลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลง 200 เมกะวัตต์ 2. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับบทบาทในการรณรงค์ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย/ภาคครัวเรือน ให้ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา 18.30-22.30 น. ของวันจันทร์-เสาร์ โดยตั้งเป้าลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลง 34 เมกะวัตต์ 3. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) รับบทบาทในการประสานงานกับภาคเอกชนที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในหน่วยงาน เพื่อลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง คาดว่าจะช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงได้ประมาณ 35 เมกะวัตต์

“หากสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้งหมดก็น่าจะผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากดังกล่าวไปได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหาไฟฟ้าตก/ดับใดๆ แต่หากเกิดเหตุฉุกเฉิน อาทิ ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเกินกว่าคาดการณ์ หรือแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ไม่สามารถเดินเครื่องได้ตามเป้าหมาย จนต้องพึ่งพาการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางเพิ่มมากขึ้น ก็จะยอมให้มีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางมาสู่ภาคใต้ได้สูงสุดที่ 950 เมกะวัตต์ จากนั้น จำเป็นต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการบริหารจัดการกับความต้องการใช้ไฟฟ้า (ย้ายโหลด/ปลดโหลด)ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่ง กฟภ. จะเป็นผู้ดำเนินการตามแผนที่ขออนุมัติไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 19 ขั้นตอน รวม 992 เมกะวัตต์ โดยอาจเป็นการเวียนดับไฟฟ้าในบางพื้นที่ตามความจำเป็นและความเหมาะสม เพื่อควบคุมมิให้เกิดเหตุไฟฟ้าดับในวงกว้าง และเกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด แต่น่าจะดีกว่าหากประชาชนภาคใต้ทุกคนร่วมใจกันประหยัดพลังงาน เพื่อให้ระบบไฟฟ้าภาคใต้มีความมั่นคงและสามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ด้วยกัน” รวส. กล่าวในท้ายที่สุด


คัดมาจาก
:arrow: http://www.egat.co.th/index.php?option= ... Itemid=208
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘

๔๖ ปี กฟผ.


:arrow: https://www.youtube.com/watch?v=Isk_-bjVrW0
รูปประจำตัวสมาชิก
nirooth-theframe
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 809
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 15:32
Tel: 0815974652
team: ทีมegle
Bike: บิลชี่

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย nirooth-theframe »

รุ่นเดียวกันตอนนี้เงินเดือนเป็นแสนแล้วอยู่บางกรวย เฮ้อสมัยก่อนจบเทเวศก็หรูแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


เพราะชีวิตมี "สองด้าน" ให้คิดถึง

มีชอบ ก็ต้องมีด้านที่ไม่ชอบ
มีด้านของความสุข ก็ต้องมีอีกด้าน ที่ต้องบรรเทาทุกข์
มีชีวิตกลางวัน อีกด้านก็ต้องมีชีวิตกลางคืน
ด้านหนึ่งอยู่กับวิถีเดิม อีกด้านอยู่กับวิถีใหม่
มีด้านที่เน้นการพัฒนา ก็ต้องมีอีกด้าน ที่เน้นการอนุรักษ์
เพราะชีวิตมีด้านหนึ่ง ก็ต้องมีอีกด้านหนึ่งให้คิดถึง

ชมภาพยนตร์โฆษณา กฟผ. ชุด 2 ด้าน ...


:arrow: https://www.youtube.com/watch?v=23sgSNw0YVE
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »


วันนี้มีความรู้สึกคิดถึงองค์กร :mrgreen:
ไฟล์แนบ
EGAT.gif
รูปประจำตัวสมาชิก
สมพิศ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 21111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 06:08
Tel: +66894556699
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Jamis Dakota
ตำแหน่ง: สะพานพระราม 7 บางกรวย นนทบุรี
ติดต่อ:

Re: เล่าเรื่องราว ข่าว กฟผ.

โพสต์ โดย สมพิศ »

20151119-A01-01.jpg
20151119-A01-01.jpg (61.22 KiB) เข้าดูแล้ว 962 ครั้ง

IEA เตือน ยิ่งใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์มาก ยิ่งต้องมีไฟฟ้าสำรองมากขึ้น

ในอนาคตโลกจะเผชิญกับการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากการเติบโตอย่างมหาศาลของกำลังผลิตพลังงานหมุนเวียน อย่างพลังงานลมและแสงอาทิตย์ที่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง

IEA (International Energy Agency) หรือ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ กล่าวไว้ในรายงาน World Energy Outlook 2015 ว่า โลกจำเป็นต้องมีกำลังผลิตมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าอัตราการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยจะลดลง เพื่อเป็นไฟฟ้าสำรอง ไว้รับมือกับพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในระบบจำนวนมาก ที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

จากการคาดการณ์ตลาดพลังงานไฟฟ้าของโลกจนถึงปี 2040 ของ IEA กำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จะมาจากพลังงานหมุนเวียนอย่างลมและแสงอาทิตย์มากกว่าครึ่ง จึงจำเป็นต้องมีกำลังผลิตของถ่านหิน ก๊าซ น้ำ และนิวเคลียร์ สำรองเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เพื่อพร้อมจะเดินเครื่องแทนพลังงานหมุนเวียนที่มีความไม่แน่นอน หรือมีการเก็บสำรองไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่

สำหรับการเตรียมกำลังผลิตสำรองทั้งจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซ น้ำ และนิวเคลียร์ หลายประเทศใช้วิธีทำสัญญากับผู้ผลิตไฟฟ้า ให้มีการเดินเครื่องไฟฟ้าสำรองในบางช่วงเวลาหรือบางฤดู ซึ่งประเทศที่นำวิธีนี้มาใช้แล้ว เช่น อังกฤษ ขณะที่เยอรมนีที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าสูง ก็กำลังพิจารณาจะนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ด้วยเช่นกัน จึงนับเป็นความท้าทายใหม่ ของหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรป ในการสร้างความมั่นคงในระบบผลิตไฟฟ้า เมื่อมีการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช่พลังน้ำเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ของ IEA แม้ว่าสัดส่วนเชื้อเพลิงถ่านหินในหลายภูมิภาคของโลกจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการค้นพบ Shale Gas ราคาถูกในทวีปอเมริกา และนโยบายการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยุโรปและอเมริกา แต่ในภาพรวม ปริมาณการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าของโลกจะยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเอเชีย เช่น อินเดียที่ประชากรกว่า 240 ล้านคน ยังเข้าไม่ถึงระบบไฟฟ้า และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่มีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต

:arrow: http://www.egat.co.th/index.php?option= ... Itemid=251
ตอบกลับ

กลับไปยัง “คุยนอกเรื่องใดๆ ที่ไม่เกี่ยวกับจักรยาน”