****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

บอร์ดนี้ คุยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดความเร็ว ทั้งไมล์ธรรมดา ไร้สาย หรือระบบ GPS

ผู้ดูแล: seven@klein, Cycling B®y, tntm, เสือ Spectrum

กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดนี้ คุยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดความเร็ว ทั้งไมล์ธรรมดา ไร้สาย หรือระบบ GPS
รูปประจำตัวสมาชิก
picasso
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 226
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 00:42
team: WE R SOITAN

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย picasso »

ถ้าเดินหาในเมืองไทยไม่พบ ก็สั่งจาก Amazon ได้เลย ประมาณไม่เกิน 14วันได้หนังสือมาอ่านแล้ว

ที่ร้านคิโนฯเอ็มโพเรียมมีขายเล่ม700กว่ามั้งครับผมซื้อเมื่อปีที่แล้ว เดินผ่านก็ยังเห็นอยู่

แนะนำให้ซื้ออีกเล่มวางอยู่ใกล้ๆกัน training bible ของ joe friel อันนี้ดีมากๆเริ่มตั้งแต่ base Training วางตารางซ้อม จนไปถึงโปรเลย
เอามาประยุกต์ใช้กับpowermeter ก็พอได้ แถมอ่านเข้าใจง่าย ส่วนเล่มของhunter allenมันคล้ายๆคู่มือการใช้wko ยังไงไม่รู้ สงสัยอยากให้ซื้อคอร์ดกับเค้ามากกว่า


ถ้าในบ้านเรามีขายก็ซื้อในบ้านเราเถิดครับ ซื้อใน อเมซอน มันเสียค่าส่งแพง อีกอย่างช่วยอุดหนุนร้านที่เอาหนังสือเกี่ยวกับจักรยานเข้ามาขาย เผื่อวันข้างหน้าเค้าจะได้เอาเล่มอื่นๆ เข้ามาขายอีก
กรอกไปสมัคร online Doi Suthep ITT 20140921
https://docs.google.com/forms/d/1aOCLLg ... =send_form
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

มองต่างมุมนะ
1. ราคาหนังสือในเมืองไทย 700กว่าใช่ไหมครับ (แต่เป็น edition แรก ซึ่งไม่ได้มีเนื้อหาสำคัญที่ต้องการจริงๆ) ไม่รู้ว่าedition 2 ราคาเท่าไหร่
2. เช็คใบเรียกเก็บเงินบัตรเครดิต หนังสือเล่มนี้จ่ายไปทั้งหมด 920.99 บาท
3. คิดว่าค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา ค่าเสียอารมณ์เวลาเจอรถติดตอนขับรถเข้าไปหาซื้อหนังสือ แล้วค่าที่จอดรถอีก (ถ้าต้องเสีย)( ใครอยู่ใกล้รถไฟฟ้าก็อาจจะเสียแค่ไปกลับแพงหน่อยก็ 40+40 ) ไหนจะต้องเดินเข้าไปหา เข้าไปเลือก เจอวันเสาร์อาทิตย์ที่คนเยอะก็เบียดคนกันไป ใช่ปล่าว
4. เอาส่วนต่างตรงนี้ ไปใช้แลกกับค่าน้ำมันรถ ค่าเสียเวลา ค่าเสียอารมณ์ ค่าที่จอดรถ และค่าบริการที่หนังสือมาถึงมือของเราเลย ตรงนี้ส่วนต่างที่ไม่ถึง 200 บาท คุ้มค่ากว่าไหมครับ
5. ตอนนี้มันเป็นยุคของระบบทุนนิยม ผู้บริโภคเหนือกว่าผู้จำหน่ายและผู้ให้บริการ คล้ายๆกับซื้ออะไหล่จักรยานแหละ ขับรถไปซื้อที่ร้านที่รู้จักกัน ได้ราคาถูกกว่า ถ้าจะไปซื้อกรุปเซท กับเฟรม และล้อ ยาง จะประกอบรถใหม่ทั้งคัน แบบนั้นขับรถไปหาก็คงจะคุ้มกว่า แต่ต้องการสั่งแค่ตีนผีชิ้นเดียว บางทีสั่งจากร้านค้าonline ราคาแพงกว่าร้านสนิทกันบ้าง บวกค่าส่งบ้าง แต่ส่วนต่างนี้ก็ยังถูกกว่าค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา ค่าเสียอารมณ์ ค่าเสี่ยงต่อการเดินทาง ใช่เปล่าครับ
6. ร้านค้าที่เอาหนังสือพวกนี้มาขาย เป็นร้านค้าใหญ่ระดับนายทุน เช่าห้างเปิดร้านขายหนังสือจากต่างประเทศ เงินทุนหมุนเวียนสูง ถ้าสะดวกจะไปอุดหนุน เช่น ไปธุระผ่านไปพอดี แบบนี้ก็อาจจะเข้าท่าหน่อย แต่สำหรับคนที่นานๆจะผ่านไปซะที หรือ บ้านอยู่ไกล จะไปก็คือต้องตั้งใจไป แบบนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะคิดกัน

มองต่างมุมนะครับ มองในแง่ผู้บริโภค เงินเป็นของเรา เลือกจ่ายให้คุ้มค่า เพราะการซื้อสินค้าสัก 1 ชิ้น ไม่ได้แปลว่าจ่ายค่าสินค้าเพียงอย่างเดียว จะต้องจ่ายค่า"ไปให้ถึงสินค้า"นั้นด้วย ตรงนี้แหละที่ต้องคิด
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Gymie
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 180
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 14:37
team: True sawasdee hotel bike station rama9
Bike: Allumilized Tarmak , Colnatouy Master sEX, CAN-GIAOUN super69 , etc....

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Gymie »

lucifer เขียน:มองต่างมุมนะ
1. ราคาหนังสือในเมืองไทย 700กว่าใช่ไหมครับ (แต่เป็น edition แรก ซึ่งไม่ได้มีเนื้อหาสำคัญที่ต้องการจริงๆ) ไม่รู้ว่าedition 2 ราคาเท่าไหร่
2. เช็คใบเรียกเก็บเงินบัตรเครดิต หนังสือเล่มนี้จ่ายไปทั้งหมด 920.99 บาท
3. คิดว่าค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา ค่าเสียอารมณ์เวลาเจอรถติดตอนขับรถเข้าไปหาซื้อหนังสือ แล้วค่าที่จอดรถอีก (ถ้าต้องเสีย)( ใครอยู่ใกล้รถไฟฟ้าก็อาจจะเสียแค่ไปกลับแพงหน่อยก็ 40+40 ) ไหนจะต้องเดินเข้าไปหา เข้าไปเลือก เจอวันเสาร์อาทิตย์ที่คนเยอะก็เบียดคนกันไป ใช่ปล่าว
4. เอาส่วนต่างตรงนี้ ไปใช้แลกกับค่าน้ำมันรถ ค่าเสียเวลา ค่าเสียอารมณ์ ค่าที่จอดรถ และค่าบริการที่หนังสือมาถึงมือของเราเลย ตรงนี้ส่วนต่างที่ไม่ถึง 200 บาท คุ้มค่ากว่าไหมครับ
5. ตอนนี้มันเป็นยุคของระบบทุนนิยม ผู้บริโภคเหนือกว่าผู้จำหน่ายและผู้ให้บริการ คล้ายๆกับซื้ออะไหล่จักรยานแหละ ขับรถไปซื้อที่ร้านที่รู้จักกัน ได้ราคาถูกกว่า ถ้าจะไปซื้อกรุปเซท กับเฟรม และล้อ ยาง จะประกอบรถใหม่ทั้งคัน แบบนั้นขับรถไปหาก็คงจะคุ้มกว่า แต่ต้องการสั่งแค่ตีนผีชิ้นเดียว บางทีสั่งจากร้านค้าonline ราคาแพงกว่าร้านสนิทกันบ้าง บวกค่าส่งบ้าง แต่ส่วนต่างนี้ก็ยังถูกกว่าค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา ค่าเสียอารมณ์ ค่าเสี่ยงต่อการเดินทาง ใช่เปล่าครับ
6. ร้านค้าที่เอาหนังสือพวกนี้มาขาย เป็นร้านค้าใหญ่ระดับนายทุน เช่าห้างเปิดร้านขายหนังสือจากต่างประเทศ เงินทุนหมุนเวียนสูง ถ้าสะดวกจะไปอุดหนุน เช่น ไปธุระผ่านไปพอดี แบบนี้ก็อาจจะเข้าท่าหน่อย แต่สำหรับคนที่นานๆจะผ่านไปซะที หรือ บ้านอยู่ไกล จะไปก็คือต้องตั้งใจไป แบบนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะคิดกัน

มองต่างมุมนะครับ มองในแง่ผู้บริโภค เงินเป็นของเรา เลือกจ่ายให้คุ้มค่า เพราะการซื้อสินค้าสัก 1 ชิ้น ไม่ได้แปลว่าจ่ายค่าสินค้าเพียงอย่างเดียว จะต้องจ่ายค่า"ไปให้ถึงสินค้า"นั้นด้วย ตรงนี้แหละที่ต้องคิด
เมื่อวานนั่งรถไฟฟ้ากลับ ออฟฟิต ต้องลงที่พร้อมพงศ์อยู่แล้ว เลยแวะไปดูหาหนังสือใหม่ๆ , training with a powermeter หมดแล้วครับพึ่งมีคนซื้อไปถ้าจะเอาต้องสั่งใหม่เป็นคำตอบจากคนขาย แต่ยังมีเล่มอื่นๆอยู่ ของjoe friel ก็ยังมี สำหรับผมซื้อที่ไหนก็ได้ถ้าสะดวก แต่เดินที่เอ็มโพที่ไร ได้อาหารตากลับบ้านเป็นทุกครั้งไปครับ :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

ท่าทาง อาหารตานี่จะคุ้มเกินค่าส่วนต่าง 200 บาทแน่นอน :lol: :lol:
เดินเซนทรัลฝั่งธนว่างั้นๆ พอไปเดินพารากอนทีไรเป็นอึ้งทุกที ยุบหนอ พองหนอ สังขารไม่เที่ยง :lol: :lol: :lol:
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
iPoseidon
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 32
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 23:40
Tel: #########

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย iPoseidon »

สอบถามครับ...

1.มีเพื่อนบอกว่า ปั่น200วัตต์ 300วัตต์ นี่คือ AV ใช่ไม๊ครับ หรือว่าการแต่ละรอบขา หรือว่าเค้านับรอบการปั่นยังไงครับ
ถ้าเป็น AV วัตต์ แล้วทำไม ยังไม่จบทริป เพื่อนผมก็บอกได้เลยว่า ขนาดตอนวอร์มขา รถคันนี้ประหยัดไปถึง30-40วัตต์

2.ผมน้ำหนักประมาณ60kg ค่าFTP ควรอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
phok8
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 156
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 06:41
team: 347 Cycling Team / Mammoths

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย phok8 »

[quote="iPoseidon"]สอบถามครับ...

1.มีเพื่อนบอกว่า ปั่น200วัตต์ 300วัตต์ นี่คือ AV ใช่ไม๊ครับ หรือว่าการแต่ละรอบขา หรือว่าเค้านับรอบการปั่นยังไงครับ
ถ้าเป็น AV วัตต์ แล้วทำไม ยังไม่จบทริป เพื่อนผมก็บอกได้เลยว่า ขนาดตอนวอร์มขา รถคันนี้ประหยัดไปถึง30-40วัตต์

2.ผมน้ำหนักประมาณ60kg ค่าFTP ควรอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ[/

คงไม่ใช่avgมั้งคับจากที่บอกมาคับยังไม่จบทริปถ้าavg300watts ต้องอยู่ที่ว่า300
Watts ทำได้นานเท่าไหนคับ สมมุติ300วัตต์ทั้งทริปใช้เวลา4ชั่วโมงavg300 คงไม่ใช่
พวกนักจักรยานสมัครเล่นคับ คงเป็นนักแข่งมืออาชีพคับ แต่ถ้ากดlap เป็นช่วงสั้นๆช่วงละ5-20นาทีอาจเป็นไปได้
หรือ เค้าอาจไปดูwatts current ที่วิ่งไปมาตลอดเวลา ส่วนค่าFTPคาดคะเนไม่ได้เลยคับเพราะ
ความแข็งแรงแต่ละคนไม่เท่ากันคับ ความฟิตการสะสมแต่ละคนไม่เท่ากันคับ บางคนหนัก60เทสได้220วัตต์
บางคนได้230วัตต์ รอพี่ๆท่านอื่นมาช่วยเพิ่มรลยละเอียดให้น่ะคับ :D
beeggs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3183
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 16:51
Tel: 0947963336
team: kNightBIKE
Bike: oltre, cervelo s5, super6 evo, canyon ult slx
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย beeggs »

FTPลดลงทุกวัน ติดเท่ๆแทนครับตอนนี้ :lol:
วัยทำงาน มีแรง มีตังค์ ไม่มีเวลา
รูปประจำตัวสมาชิก
gregwatana
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 647
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 16:29
Tel: 081-4423512
team: Token, REZ, Power2Max, ทุ่งสร้าง
ตำแหน่ง: 88/6 ถ.ศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย gregwatana »

phok8 เขียน:
iPoseidon เขียน:สอบถามครับ...

1.มีเพื่อนบอกว่า ปั่น200วัตต์ 300วัตต์ นี่คือ AV ใช่ไม๊ครับ หรือว่าการแต่ละรอบขา หรือว่าเค้านับรอบการปั่นยังไงครับ
ถ้าเป็น AV วัตต์ แล้วทำไม ยังไม่จบทริป เพื่อนผมก็บอกได้เลยว่า ขนาดตอนวอร์มขา รถคันนี้ประหยัดไปถึง30-40วัตต์

2.ผมน้ำหนักประมาณ60kg ค่าFTP ควรอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ[/

คงไม่ใช่avgมั้งคับจากที่บอกมาคับยังไม่จบทริปถ้าavg300watts ต้องอยู่ที่ว่า300
Watts ทำได้นานเท่าไหนคับ สมมุติ300วัตต์ทั้งทริปใช้เวลา4ชั่วโมงavg300 คงไม่ใช่
พวกนักจักรยานสมัครเล่นคับ คงเป็นนักแข่งมืออาชีพคับ แต่ถ้ากดlap เป็นช่วงสั้นๆช่วงละ5-20นาทีอาจเป็นไปได้
หรือ เค้าอาจไปดูwatts current ที่วิ่งไปมาตลอดเวลา ส่วนค่าFTPคาดคะเนไม่ได้เลยคับเพราะ
ความแข็งแรงแต่ละคนไม่เท่ากันคับ ความฟิตการสะสมแต่ละคนไม่เท่ากันคับ บางคนหนัก60เทสได้220วัตต์
บางคนได้230วัตต์ รอพี่ๆท่านอื่นมาช่วยเพิ่มรลยละเอียดให้น่ะคับ :D
การอ้างถึงนั้นต้องพูดถึงวัตต์เฉลี่ยนะครับโดยส่วนมาก โดยที่คนบอกว่ารถประหยัดไป30วัตต์นั้นจะใช้ความเร็วที่เคยปั่นคงที่ตลอดในช่วงระยะเวลานึง 10 20 60นาทีก็ว่ากันไปแล้วค่อยมาดูค่าเฉลี่ยที่เปลี่ยนแปลงไป
แต่การทดสอบส่วนมากจะใช้ความเร็วที่ 40kmh ในเวลา 1ชั่วโมงแล้วค่อยมาดูถึงค่าวัตต์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าคนใช้วัตต์เก็บข้อมูลมานานๆแล้วเนี่ยทดสอบintervalไม่กี่ครั้งก็รู้ถึงสิ่งที่เปลี่ยนไปแล้วล่ะครับ
เฟรมอะไรเหรอลดไปได้30วัตต์ ผมจะไปซื้อมาใช้ด้วย
โก๋Carbonmania
รูปประจำตัวสมาชิก
Sam Gamgee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2268
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 20:40
team: TBA
Bike: Infinito(50) w/ Edge 500, Force G/S Compact, 3T's C/P, D/A C50 Whl & Trance X3(S), XT DC, Thomson's C/P, Fox Float RL, X-Max SLR Whl & Standard Mu P8 & Strida Mini w/ 16" Whl

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Sam Gamgee »

ขอความรู้หน่อยนะครับ พอดีสนใจเรื่องวัตต์กับการปั่นอยู่พอสมควรแต่ยังมีคำถามในใจอยู่บางประเด็นตามนี้ครับ
- ใช้วัตต์มิเตอร์ (พาวเวอร์มิเตอร์) ในการปั่นแล้วยังต้องคุมฮาร์ทเรทขณะปั่นด้วยรึเปล่าวครับ? เช่น ถ้าปั่นคุมวัตต์อยู่แต่บังเอิญใช้รอบต่ำไปนิด (กดหนักเกินพอดี) HR น่าจะต้องขึ้นเกินปกติ...สุดท้ายเหนื่อยเร็วทำให้ค่าวัตต์เฉลี่ยลดลง กรณีนี้คนใช้วัตต์จะต้องคุมยังงัยให้ได้ค่าวัตต์เฉลี่ยที่สูงสุดและใช้เกียร์ที่เหมาะสมในเวลาเดียวกันครับ? (ขออภัยถ้าคำถามดูวกวนไปนิด)
- ผมปั่นเน้นสุขภาพและออกทริปแบบค่อนข้างเข้มข้นนิดนึง...ยังไม่คิดจะแข่งขัน ปกติยังมีเวลาในการซ้อมไม่ได้เต็มที่อย่างที่ต้องการด้วยเหตุผลเรื่องเวลายังไม่ลงตัว เลยคิดว่าการลงทุนกับเพาเวอร์มิเตอร์น่าจะยังไม่คุ้มค่า...ผมคิดถูกมั้ยครับ? ตอนนี้ได้แต่ใช้งาน Edge 500 ซ้อมคุม HR, cadence (ใช้ Strava ดูวัตต์ไปด้วย) ไปเรื่อยๆเท่าที่พอมีเวลา ซึ่งก็พัฒนาขึ้นในระดับที่ตัวเองคิดว่าพอใจแล้วกับเวลาที่พอมี
- ถ้าไม่มีวัตต์มิเตอร์ใช้จะพออ่านคู่มือการฝึกซ้อมเล่มที่แนะนำเข้าใจมั้ยครับ? หรือว่าต้องมีอุปกรณ์ใช้งานทำความเข้าใจตามไปด้วยจึงจะเข้าใจหลักการและการใช้งานได้ดี?

รบกวนแค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณครับ :D
กีฬาอื่นเพื่อสันทนาการ แต่ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ
รูปประจำตัวสมาชิก
น่องนิ่ม
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 297
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2008, 21:00
Tel: 0817051288
team: SoitanHansa
Bike: Madone

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย น่องนิ่ม »

Sam Gamgee เขียน: - ผมปั่นเน้นสุขภาพและออกทริปแบบค่อนข้างเข้มข้นนิดนึง...ยังไม่คิดจะแข่งขัน ปกติยังมีเวลาในการซ้อมไม่ได้เต็มที่อย่างที่ต้องการด้วยเหตุผลเรื่องเวลายังไม่ลงตัว เลยคิดว่าการลงทุนกับเพาเวอร์มิเตอร์น่าจะยังไม่คุ้มค่า...ผมคิดถูกมั้ยครับ? ตอนนี้ได้แต่ใช้งาน Edge 500 ซ้อมคุม HR, cadence (ใช้ Strava ดูวัตต์ไปด้วย) ไปเรื่อยๆเท่าที่พอมีเวลา ซึ่งก็พัฒนาขึ้นในระดับที่ตัวเองคิดว่าพอใจแล้วกับเวลาที่พอมี
- ถ้าไม่มีวัตต์มิเตอร์ใช้จะพออ่านคู่มือการฝึกซ้อมเล่มที่แนะนำเข้าใจมั้ยครับ? หรือว่าต้องมีอุปกรณ์ใช้งานทำความเข้าใจตามไปด้วยจึงจะเข้าใจหลักการและการใช้งานได้ดี?

รบกวนแค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณครับ :D
ถูกต้องครับการลงทุนกับ power meter ยังไม่คุ้มค่าแน่นอนครับ ส่วนคู่มือการฝึกซ้อมเล่มที่แนะนำ ถ้ามี power meter และมีเวลาและวินัยในการซ้อม จะมีประโยชน์มากครับ
ถ้าอยากพัฒนาแบบง่าย ๆ ใน 1 สัปดาห์ขอให้มีการปั่นแบบ endurance ซักประมาณ 2 วันครับ โดยปั่นประมาณ 3-4 ชั่วโมงไปเรื่อย ๆ หัวใจอย่าให้เกินโซน endurance (แต่ละคนไม่เท่ากัน ลอง search ในกระทู้เก่า ๆ ดู) รอบขาประมาณ 100 ทดลองดูครับประมาณ 2 เดือนจะเห็นการพัฒนามากขึ้อย่างเห็นได้
แต่ถ้าอยากพัฒนาถึงขีดสุดก็คงต้องมี power meter และมีการ analysis ข้อมูลที่ดีด้วยครับ
!!! บุกเข้าไป บุกเข้าไป ๆ ๆ บุกเข้าปายยยยย !!!
รูปประจำตัวสมาชิก
Domi
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 782
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 14:49
Tel: 0989564945
team: หมอบทางตัน & สิงห์สลาตัน
Bike: BIACHI 928SL IASP , Specialized S-Work Tarmac SL3 , Specialized S-Work M5 , Pink Brompton

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Domi »

ขอผมตามอ่านด้วนคนกำลังศึกษาและเรียนรู้เพื่อจะได้ใช้มันเป็นพื้นฐานในการซ้อม

อนาคตอาจจะมีคำถามยังไงฝากตัวด้วยครับ :) :)
ซ่อมบำรุงจักรยานนอกสถานที่ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ด้วยอุปกรณ์มาตรฐาน
ยินดีรับใช้และให้คำปรึกษาครับ
Call: 087-813-7117 Jumm(Bilingual)
BB: 222D76B7

Ps. Jumm's Bike Studio is coming soon!!

[youtube]GtPBLHOA7Qs&feature=related[/youtube]
BIACHI 928SL IASP
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

เรื่องความคุ้มค่า ผมว่าอยู่ที่มุมมองนะครับ เพราะเวลาที่แต่ละคนมองออกมานั้น ตำแหน่งที่เข้าไปยืนอยู่นั้นมันแตกต่างกัน ดังนั้นจึงเห็นอะไรที่แตกต่างกันเป็นธรรมดา

ถ้ามุมมองของผม ถ้ามีwatt meter แล้วเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกตามวิธีที่ถูกต้อง ผมว่าแค่นี้ก็คุ้มค่าแล้วครับ
ผมกลับมาเคาะสนิมได้ปีหนึ่งพอดี
9 เดือนแรก ฝึกโดยใช้ HRM กับ รอบขา พยายามเน้นbase trainingเป็นหลัก แต่ฝึกอย่างไรก็ไม่ค่อยจะเห็นความก้าวหน้าเท่าไหร่ resting HR ก็ยังไม่ค่อยจะลดลงมาเท่าไหร่เลย รู้สึกว่าความก้าวหน้าที่เห็นกับเวลาที่สูญไป ไม่ค่อยจะคุ้มกันเท่าไหร่

2เดือนครึี่งที่ผ่านมา ผมเริ่มใช้ watt meter เริ่มต้นด้วยการทดสอบหา FTP แล้วก็set ตารางฝึก endurance โดยอิงเอา %FTPเป็นตัวตั้งต้น ส่วน HRMเอาไว้ดูว่าร่างกายตอบสนองอย่างไร ผ่านไปแค่ 2เดือน ผมรู้สึกว่ามันคุ้มค่ากว่า 9 เดือนแรกมาก ผมเริ่มรู้สึกว่าร่างกายกลับมาฟิตขึ้นกว่าเดิม ไขมันส่วนเกินถูกเอาไปใช้ได้มากขึ้น เพราะการอิงHRMในการฝึกในช่วงแรก เราเข้าใจอะไรผิดๆไปอย่างหนึ่งก็คือ HRMมันบอกถึงความหนักของการออกกำลังกายได้ดีที่สุดในช่วงแค่ 30นาทีแรกเท่านั้นแหละ เลยจากนี้ไปมันจะเริ่มเชื่อไม่ค่อยได้ เพราะส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อท่อนบน อารมณ์ สายลม แสงแดด สาวๆนุ่งสั้นๆรอรถเมลล์ข้างทาง เอ๊ย ไม่เกี่ยว แถวเส้นที่ผมปั่นหายากมาก :lol: มอเตอร์ไซด์ที่พร้อมจะแวบเข้ามาหาบ่อยๆ พอเราไปยึดถือมันมากไป เราก็เดินผิดทาง

แต่พอใช้ watt เป็นตัวอ้างอิงแทน ผมฝึก endurance ได้ดียิ่งขึ้น เริ่มเพิ่มระยะเดินทางจากเดิมที่ทำได้ราวๆ 30 - 35 กม. เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันได้ถึง 50 กม. ต่อเที่ยว ทำความเร็วเฉลี่ยได้ดีขึ้น และ หัวใจเฉลี่ยที่เริ่มช้าลง

ในมุมมองของผมนั้น ผมมีอายุมากกว่าหลายๆคนนะ โอกาสที่จะกลับมาฟิตเท่ากับเมื่อ 10ปีที่แล้ว ประเภทปั่นขึ้นดอยแล้วยังยิ้มๆแหย่ๆน้องๆที่ปั่นไป หน้าเหยเกไป มันค่อนข้างจะไม่ง่ายดายเหมือนกับตอนนั้น
ทางลัด หรือ เคล็ดวิชา จึงเป็นสิ่งจำเป็นครับ

แต่สำหรับคนอายุแค่ 30 ผมว่าบางทีนะ บางที ถ้าไม่จริงจัง ถ้าไม่อยากจะเสียตังค์ ถ้าไม่อยากทุ่มเทจนเกินเหตุ การฝึกด้วยHRM และ รอบขา ก็ยังสร้างความแกร่งขึ้นได้อีกเสมอครับ

ทางเดินมันมีหลายทางให้เลือกเดิน เพียงแต่เลือกเดินทางหลัก ทางลัด ทางที่สั้นที่สุด ก็ย่อมจะไปถึงเร็วที่สุด ( เมื่อเทียบกับความสามารถในการก้าวเท้าเดินของแต่ละคน , เพราะบางคนก้าวขาได้ยาว เดินอ้อมก็ยังอาจไปถึงก่อน )

เมื่อวานเพิ่งจะทดสอบหา FTP อีกครั้งหนึ่ง เพิ่มขึ้นมาจากเมื่อตอนเริ่มใช้Watt เกือบ 20% แล้ว :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Gymie
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 180
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 14:37
team: True sawasdee hotel bike station rama9
Bike: Allumilized Tarmak , Colnatouy Master sEX, CAN-GIAOUN super69 , etc....

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Gymie »

คุ้มหรือไม่คุ้ม มันอยู่แต่ละคนจริงๆครับ
1. บางคนมองว่าน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชิ้นส่วนจักรยานที่มี
2. บางคนเป็นเพียงแค่วัตถุแสดงถึงความโก้หรู ดูโปร หรือเอาไว้แค่คุยว่า"ติดวัตต์"
3. บางคนไว้เป็นเครืองมือบอก ลิมิต ของตัวเอง
4. บางคนใช้ซ้อมเพื่อการพัฒนา
5. บางคนเอาไว้ทดสอบอุปกรณ์ บอกว่าคันโน้นดีกว่าคันนี้ เซพแรงได้กี่วัตต์ (?)
มุมมองของผม อุปกรณ์มันเป็นแค่การเริ่มต้น การไขว่คว้าหาSoftware หรือ พวกโปรแกรมซ้อม หากเป็นสิ่งสำคัญ หลายๆคนยังไม่รู้เลยว่าการขี่ ด้วยpowermeter นั้นต้องหาค่าอะไรบ้าง มันมีกี่โซน ไม่สนใจที่จะหาโปรแกรมซ้อม หรือแม้กระทั้งเอาข้อมูลการขี่ของตัวเองมา Analysis ถ้าอย่างงั้น ถ้าไม่มีเงินเหลือจริงๆ ก็อย่าไปซื้อมันเลยครับ หนักเปล่าๆ ส่วนตัวผมเองตอนนี้ก็ไม่ค่อยจะมีความจำเป็นต้องใช่เลย ที่มีก็แต่เอาไว้ขี่ตามเพื่อนๆทันบ้าง ไปออกทริปได้จบ จะได้ไม่บ้าบิ่นเกินไปนัก


ช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมาผมได้ออกไปขี่ซ้อมมากกว่าปกติ และพยายามที่จะเพิ่ม Aerobic capacity ให้กับตัวเอง หลังจากไหหัก และขี่หยุดๆ ไม่ได้ซ้อมต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ผมขอแนะนำ tip เล็กๆน้อย ของการซ้อม endurance ซึ่งเป็นการเริ่มต้น basic เลย
หลังจากที่เรารู้ค่า FTP ให้เราคุมการขี่ใน Zone 2 แบบ Flat (พยายามหาค่า "สวีตสปอต" ของZone2อีกทีที่จะทำให้เราขี่ได้นานๆๆๆ) ควรขี่ต่อเนื่องคนเดียวให้ได้ 2-5 ชม.
ดังนั้นถ้าขี่ 2ชม. ก็ค่าAv.หนึ่ง ขี่4ชมก็ค่าAv.หนึ่ง แล้วนำHR.การขี่ครึ่งแรก กับ ครึ่งหลังมาเปรียบเทียบกัน เพื่อที่จะดูความฟิด และความพร้อมของการขี่ Aerobic Endurance ก่อนที่จะก้าวข้ามไปฝึกซ้อม ในขั้นต่อๆไป
ถ้า ผลต่างของ หัวใจ น้อยกว่า 5% ก็ขึ้นไปซ้อม พวก Build ได้เลย ถ้ายังไม่ถึงก็แล้วแต่ละครับกลัวไม่ทันเพื่อนๆก็คงต้องทำใจเหนื่อยหน่อย
ส่วนผู้ที่ใช้ Training peaks Wko+ ก็ลากใน Graph ดูใน Pw:Hr เป็น % ได้เลยครับ
อันนี้คัดลอกของ Joe Friel มาให้อ่านกัน

Aerobic Endurance and Decoupling, by Joe Friel
By Joe Friel ©Joe Friel 2007



An important lesson every competitive endurance athlete eventually learns is that the general preparation ("base") period of the season is the most important time of the year. It's then that the fundamental abilities of aerobic endurance, force and speed skill are developed. If these abilities are fully formed then the more advanced, race-specific abilities of muscular endurance, anaerobic endurance and power may be built on this solid foundation in the specific-preparation ("build") period. Excellent general fitness created in the base period is necessary to produce high levels of sport-specific fitness for later in the season. Summer races are won with winter training.

Of the basic abilities, the most critical for endurance athletes is aerobic endurance. Sports such as triathlon, road cycling, mountain biking and distance running are first and foremost dependent on the aerobic system-composed primarily of the heart, lungs, blood and the muscles' aerobic enzymes.

The way to cause any physiological system to become more fit is to stress it regularly with an appropriate level of intensity for an appropriate duration until it has reached an optimal level of adaptation. Once this is accomplished the system's new level of function may be maintained for several weeks with stress at the same level of intensity and for a similar duration but with far less frequent training stress. Coaches and athletes once believed that long, slow distance (LSD) was the key to developing the aerobic system. But now the trend is toward employing a moderate intensity at or slightly above one's aerobic threshold coupled with an appropriate workout duration to produce optimal aerobic endurance. The trick is getting the intensity and the duration of such workouts right.

So how do you find the level of intensity that targets the aerobic threshold (AeT)? This is dependent on your sport. For cycling the AeT is generally to be found in the range of 55% to 75% of Functional Threshold Power (cFTP). Experienced, serious riders typically reap a greater reward by working in the upper half of this power zone when doing AeT training with a power meter. Runner will use pace or speed to do AeT workouts at 75% to 85% of Functional Threshold Pace (rFTP). And just as with cycling, the serious and experienced runner with do AeT workouts in the upper half of this zone-80% to 85% of rFTP.

But how do you know if your aerobic endurance is progressing? And how do you know when you've done enough such training to reach an optimal AeT fitness level? The answer to both of these questions may be found by comparing power or speed with heart rate. When training at the AeT intensities described above you may expect to see heart rates approximately in zone 2 according to the heart rate zones as described in my Training Bible books.

While there is little on this in the scientific literature, the limited research available appears to indicate that when aerobic endurance improves there is reduced heart rate drift relative to constant outputs (power and speed). And, of course, the reverse of this is that when heart rate is held steady during extensive endurance training, output may be expected to drift downward. This parallel relationship between input (heart rate) and output (power or speed) is referred to as "coupling." When they are no longer parallel in a workout as one variable remains steady while the other drifts the relationship is said to have "decoupled." Excessive decoupling would indicate a lack of aerobic endurance fitness.

WKO+ software can help you to determine your degree of aerobic endurance conditioning by displaying and measuring your level of decoupling. Once you achieve an excellent level of aerobic fitness the heart rate and power or speed graphs on WKO+ will be parallel or nearly so. Here is how decoupling is determined using WKO+ software.

The AeT portion of the workout is split into halves. For each half the normalized power (cycling) or speed (running) is divided by the average heart rate to establish two ratios. The ratios are then compared by subtracting the first half ratio from the second half ratio and dividing the remainder by the first half ratio. This produces a power-to-heart rate-ratio percentage of change from the first half to the second half of the aerobic threshold ride. That percentage of change is your rate of decoupling. The following is an example of how power-to-heart rate ratio percentage of change is calculated. The same method is used for running by substituting speed for power.



Determine power-heart rate ratio for first half of ride: Power average = 180 watts, Heart rate average = 135 bpm. First half power-heart rate ratio = 1.33 (180 / 135)
Determine power-heart rate ratio for second half of ride: Power average = 178 watts, Heart rate average = 139 bpm. Second half power-heart rate ratio = 1.28 (178 / 139)
First half ratio minus second half ratio = 0.05 (1.33 - 1.28)
Remainder divided by the first half ratio = 0.038 (0.05 / 1.33)
Decoupling rate is 3.8%



I have found that aerobically fit endurance athletes experience a decoupling rate of less than 5%. The accompanying figures illustrate different rates of decoupling from less than 2% to more than 11%. As decoupling increases it becomes obvious simply by observing the separation in the charts without even knowing the calculations.
Beer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 931
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 09:24
Tel: 081-825-5188
team: 347team rama9 sawasdee-bikestation
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย Beer »

iPoseidon เขียน:ผมน้ำหนักประมาณ60kg ค่าFTP ควรอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ
ได้ค่าFTPหารด้วยน้ำหนักแล้วเลือกเอาเลยครับ....อยากอยู่ระดับไหน :D :D :D

รูปภาพ

ส่วนตัวเรื่องคุ้มหรือไม่คุ้ม.....แค่ทำให้ปั่นจักรยานแล้วสนุกขึ้น....รู้ว่าออกไปซ้อมแล้วต้องทำอะไร....

กลับบ้านแล้วมีข้อมูลมาดูสิ่งที่ทำของแต่ละครั้งก็สนุกและคุ้มแล้วครับ.....

แล้วยิ่งตั้งใจซ้อม.....ผลระยะยาว....คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มอีกครับ :D :D :D
gregwatana เขียน:เฟรมอะไรเหรอลดไปได้30วัตต์ ผมจะไปซื้อมาใช้ด้วย
ฝากซื้อด้วย :lol: :lol: :lol:
Gymie เขียน:แล้วนำHR.การขี่ครึ่งแรก กับ ครึ่งหลังมาเปรียบเทียบกัน เพื่อที่จะดูความฟิด และความพร้อมของการขี่ Aerobic Endurance ก่อนที่จะก้าวข้ามไปฝึกซ้อม ในขั้นต่อๆไป
ถ้า ผลต่างของ หัวใจ น้อยกว่า 5% ก็ขึ้นไปซ้อม พวก Build ได้เลย
ลืมไปเลย....ต้องทดสอบใหม่....ขอบคุณครับจิม :mrgreen: :D :lol:
WE LOVE THE KING.....WE LOVE THAILAND
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ****** Power Watt meter สาระ น่ารู้ ******

โพสต์ โดย lucifer »

ขอบคุณครับ ของดีๆแบบนี้ ต้องเอาไปใช้ปฏิบัติครับ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ไมล์วัดความเร็ว (HRM/GPS/Power meter)”