แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

บอร์ดนี้ คุยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดความเร็ว ทั้งไมล์ธรรมดา ไร้สาย หรือระบบ GPS

ผู้ดูแล: seven@klein, Cycling B®y, tntm, เสือ Spectrum

กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดนี้ คุยเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดความเร็ว ทั้งไมล์ธรรมดา ไร้สาย หรือระบบ GPS
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย giro »

[align=center]VERVE INFOCRANK CLASSIC
file.php.jpg
file.php.jpg (237.51 KiB) เข้าดูแล้ว 7717 ครั้ง
Verve บริษัทที่เชี่ยวชาญการทำอุปกรณ์วัดแรงบิด(torque) ที่เป็นผู้สร้างระบบการคลาลิเบรทพาวเวอร์มิเตอร์ระดับไฮเอ็นด์อย่าง SRM ได้ก้าวเข้ามาทำพาวเวอร์มิเตอร์(วัตต์มิเตอร์)ของตัวเองออกมาในชื่อผลิตภัณฑ์ "Infocrank" ที่ชูดจุดเด่นด้านความแม่นยำและการเชื่อใจได้ในความเสถียรสูงที่สุด ซึ่งอ้างว่าเทียบเท่าและสูงกว่า SRM ที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับโปรทัวร์หรือนักจักรยานอาชีพ ด้วยความแม่นยำระดับค่าความคลาดเคลื่อน น้อยกว่า 0.5% (เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ SRM 1%, PowerTap 1.5%, Garmin/Quarq/Rotor/Power2max 2-3%, Stages 3-5%)
[align=center]
ifo01.jpg
ifo01.jpg (225.56 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ผมขออธิบายคำว่า"คลาดเคลื่อน" ของบรรดาวัตต์ทั้งหลายให้เข้าใจเบื้องต้นกันก่อนนะครับว่ามันคืออะไร
ความคลาดเคลื่อน 1% หมายถึง พาวเวอร์มิเตอร์เหล่านี้แสดงค่าที่มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าที่ถูกต้อง 1% จะถือว่าแม่นยำแล้ว เช่นค่าแรงบิดจริงเทียบแล้วได้ 100w หากพาวเวอร์มิเตอร์นั้นที่คาดเคลื่อน 1% แสดงค่า 99 หรือ 101 วัตต์ ถือว่าแสดงค่าได้ถูกต้อง
[align=center]
info chart.jpg
info chart.jpg (600.28 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
กราฟฟิคตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อวัตต์จริง 100w พาวเวอร์มิเตอร์ 4 ตัวที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เท่ากันจะแสดงค่าได้ต่างกันโดยที่ยังถือว่าถูกต้องอยู่ เช่น ตัวหนึ่งอาจแสดงค่า 105 วัตต์ ในขณะที่อีกตัวหนึ่งแสดงค่า 97 วัตต์ ที่แตกต่างกันถึง 8 วัตต์ แต่ทั้งสองตัวถือว่าแสดงค่าได้ถูกต้องตามค่าความคลาดเคลื่อนของตัวเองแล้ว และหากนำตัวที่คลาดเคลื่อน 5% สองตัวมาเทียบกันก็อาจพบว่าที่ 100 วัตต์ ตัวหนึ่งอาจแสดงค่า 95 วัตต์ และอีกตัวหนึ่งแสดงค่า 105 วัตต์ โดยที่ทั้งสองตัวถือว่าทำงานได้ถูกต้องตามเสป็ค แม้ว่าค่าที่ได้จะต่างกันถือ 10 วัตต์ก็ตาม

ซึ่งจากความคลาดเคลื่อนนี้ เมื่อนำไปใช้ในการคิดหาอัตราส่วนพลังวัตต์ที่ 400w หมายถึงโอกาสที่พาวเวอร์มิเตอร์สองตัวจะบอกค่าต่างกัน ถึง 40 วัตต์ (ตัวหนึ่งบอกค่า 420 วัตต์ ในขณะที่อีกตัวหนึ่งบอก 380 วัตต์) ย่อมเกิดขึ้นได้ และ 40 วัตต์นั้นถือเป็นค่าที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
[align=center]
info02.jpg
info02.jpg (290.28 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ด้วยเหตุนี้ทำให้โปรระดับนักแข่งอาชีพต้องการความแม่นยำสูงที่สุด ซึ่งในท้องตลาดก็มีเพียงแค่ไม่กี่ยี่ห้อที่สามารถแสดงค่าแม่นยำระดับ 1% หรือน้อยกว่า 1% ซึ่ง InfoCrank เองก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ตัวที่มั่นใจในการออกแบบนี้
[align=center]
info03.jpg
info03.jpg (268.03 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
[align=center]
info04.jpg
info04.jpg (152.15 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ที่มาของความแม่นยำมาจากการที่ Verve ทำขาจานและชินส่วนทั้งหมดเอง เลือกวัสดุเอง และเลือกตำแหน่งที่จะวัดแรงบิดผ่าน Strain Gauge ที่เหมาะสมที่สุดกับขาจานที่ออกแบบเองต่างจากแบรนด์ส่วนมากที่ออกแบบหน่วยวัดแรงและไปติดกับชุดจานของยี่ห้ออื่นๆ โดยมีลักษณะการวัดคล้ายกับการทำงานของกลุ่มที่วัดที่ขาจาน(Stages, 4iii) แต่แตกต่างตรงที่ติดตายเอาไว้จากโรงงานและวัดทั้งสองข้างสัมพันธ์กันผ่าน Strain Gauge ข้างละ 4 ตัวที่วัดกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปจากแรงกระทำที่เกิดขึ้นทำให้ได้ค่าที่ละเอียดมาก และจุดเด่นของ InfoCrank ที่ทำให้มีความแม่นยำสุงมากก็คือตำแหน่งและการวาง Strain Gauge ที่ตอบสนองต่อแรงที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเท่านั้น แรงอื่นๆที่ทำกับขาจานที่ไม่ได้อยู่ในแนววงการเคลื่อนที่จะไม่มีผลทั้งสิ้น ค่าที่ได้จึงเป็นแรงกระทำต่อการขับเคลื่อนจักรยานล้วนๆ ต่างจากระบบหลายๆยี่ห้อที่อาจมีแรงในแนวอื่นๆที่ส่งผลจนทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน 2-5% ดังกล่าวนั่นเอง
[align=center]
info05.jpg
info05.jpg (205.35 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
เอาล่ะครับฝอยกันมามากแล้วสำหรับเจ้าพาวเวอร์มิเตอร์แม่นแบบระดับเทพตัวนี้ มาดูแกะกล่องกันเสียที ราคาของมันอยู่ที่ราวๆ 58,000 (ส่วนลดสอบถามผู้จำหน่าย) สำหรับตัว InfoCrank Classic ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ที่ออกมากับเสป็คแกน 24 มม. และ BCD130 มีให้เลือกสองสีได้แก่สีดำและสีเงิน
[align=center]
info06.jpg
info06.jpg (227.14 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ราคานี้รวมของที่ได้ 3 กล่องได้แก่ ชุดขาจาน, ใบจาน Praxis 53/39 และชุดเซ็นเซอร์วัดรอบขาแบบแม่เหล็ก (เนื่องจาก Verve เชื่อว่าแม่นยำกว่าการใช้ระบบเซ็นเซอร์จับการเคลือ่นไหวมาก) แพ็คเกจเรียบร้อยสวยงามครับ หากซื้อตัวรุ่นเก่า(ที่ออกมาก่อนแต่กลไกและการทำงานไม่ต่างกัน) จะมาในเสป็คแกน BB30 และ BCD110 เท่านั้น มาพร้อมกับใบจาน 50/34 พร้อมเลือกกระโหลกสำหรับใส่กับเฟรมไปได้อีก 1 แบบ
ในอนาคต InfoCrank Classic จะออกรุ่นที่รองรับ BCD110 ออกมาอย่างแน่นอนครับ สามารถนำไปใส่ใบ 50/34 หรือ 52/36 ได้
[align=center]
info weight 1.jpg
info weight 1.jpg (176.04 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
แกะกล่องมาชั่งน้ำหนักกันแบบยังไม่ประกอบอะไร ขาจานข้างขวา น้ำหนัก 441 กรัม(ยังไม่ใส่ถ่านนะครับ)
[align=center]
info weight 2.jpg
info weight 2.jpg (205.66 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ส่วนขาจานด้านซ้ายชั่งน้ำหนักได้ 246
ดังนั้นรวมกันสองข้าง น้ำหนักเท่ากับ 441+246 = 687 กรัม
[align=center]
info weight 3.jpg
info weight 3.jpg (174.68 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
[align=center]
info weight 4.jpg
info weight 4.jpg (222.55 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
เมื่อประกอบใบจาน 53/39 ที่มาพร้อมกันในชุดก็จะได้น้ำหนัก 847 กรัม (ยังไม่ใส่ถ่าน) เทียบได้กับน้ำหนักของชุดจาน Dura Ace 9000 และเพิ่มเข้าไปอีก 200 กรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติที่ไม่ได้มากมายอะไร (อัตราเดียวกับพาวเวอร์มิเตอร์อื่นๆในยุคนี้ที่เพิ่มน้ำหนักเข้าไปราวๆ 180-230 กรัม)

[align=center]
info07.jpg
info07.jpg (280.31 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ใบจานที่แถมมาด้วยสำหรับรุ่น InfoCrank Classic จะมากับใบจาน 53/39 เท่านั้น ณ เวลานี้ ทางผู้นำเข้าแจ้งว่าในอนาคตมีการผลิต BCD110 ออกมาอย่างแน่นอนและสามารถรองรับทั้ง 50/34 และ 52/36 ได้ด้วย หรือถ้าใครมีใบจานอื่นๆอยู่แล้วที่เป็นระบบ 5 ขา(Sram, FSA,Rotor) ก็สามารถเอามาใส่ได้เลยโดยที่ไม่มีผลใดๆต่อความแม่นยำของการวัดวัตต์ทั้งสิ้น

[align=center]
info08.jpg
info08.jpg (327.7 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
กล่องเล็กคือเซ็นเซอร์รอบขาแบบแม่เหล็กปกติ ทำงานไร้สายด้วย ANT+ กับไมล์มาตรฐานที่เป็น ANT+ พาวเวอร์มิเตอร์หลายๆตัวจะมีเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวในตัวและใช้นับรอบขา หรือ PowerTap ใช้การจับแรงปั่นแล้วนับรอบขาตามแรงกดที่จับได้ ซึ่ง Verve เลี่ยงการใช้เหล่านั้นมาใช้เซ็นเซอร์แบบแม่เหล็กเนื่องจากแม่นยำที่สุด
[align=center]
info09.jpg
info09.jpg (263.08 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]

[align=center]
info10.jpg
info10.jpg (380.26 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ระบบพลังงาน ใช้ถ่านกระดุม SR44/357 ข้างละ 2 ก้อน ใช้งานได้ประมาณ 500 ชม. คิดง่ายๆถ้าซ้อมสัปดาห์ละ 20 ชม. จะมีอายุใช้งานได้ 2 เดือนครึ่ง อยู่ในเกณฑ์เดียวกับพาวเวอร์มิเตอร์ทั่วไปเช่นกัน
[align=center]
info11.jpg
info11.jpg (366.16 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
ขาจานทางด้านซ้ายทำหน้าที่เป็นตัวสื่อสารกับไมล์ผ่าน ANT+ ส่วนขาจานทางด้านขวาจะสื่อสารกับทางด้านซ้าย ดังนั้น InfoCrank ไม่สามารถแยกขาสองข้างไปใส่จักรยานสองคันได้นะครับ วิธีนี้ทำให้ขาจานทั้งสองข้างวัดวัตต์ที่ได้แม่นที่สุดแม้ว่าขาอีกข้างจะถ่านอ่อนหรือใกล้หมดจนติดๆดับๆ และได้ค่าวัตต์ที่เพี้ยนไป[align=center]
info12.jpg
info12.jpg (338.86 KiB) เข้าดูแล้ว 9906 ครั้ง
[/align]
InfoCrank ติดตั้งระบบตรวจจับอุณหภูมิและชดเชยการเปลี่ยนแปลงของโลหะและกระแสไฟฟ้าเอาไว้ในตัวทั้งสองข้าง ดังนั้นค่าที่ได้ก็จะคงที่เสมอไม่ว่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนไประหว่างปั่นหรือไม่
ความเสถียรระดับนี้จึงทำให้ InfoCrank ไม่จำเป็นทำต้อง Zero Setup หรือการตั้งค่า 0 ก่อนการขี่เหมือนพาวเวอร์มิเตอร์หลายๆตัว

เอาล่ะครับ พรีวิวแกะกล่องกันไปพอได้ไอเดียว่ามันทำงานยังไงบ้าง แบบไหน เดี๋ยวต่อไปจะทดลองใช้งานเเจ้า InfoCrank ก่อนจะมารีวิวให้ชมกัน แน่นอนครับว่าคงยากมากที่จะรีวิวทดสอบความแม่นยำว่ามันวัดแรงบิดได้เท่าไหร่ แม่นแค่ไหน ตรงหรือเพี้ยนไปกี่นิวตันต่อพื้นที่และคำนวนเป็นวัตต์เท่าไหร่ เพราะคงหาห้องทดลองมาเล่นไม่ง่าย แต่ผมจะลองใช้งานมันในสภาพ"เหนือจริง" ดูว่าค่าที่ได้ยังคงน่าพอใจแค่ไหน ลองจินตนาการว่าพาวเวอร์มิเตอร์ที่ต้องทำงานในอุณหภูมิ 15 องศา สลับกับ 40 องศา แล้วยังได้ค่าเดิมรึเปล่า หรือลองจับใส่ถ่าน ถอดถ่านเล่นดูว่าจะเพี้ยนแค่ไหน มั้ย นอกเหนือจากลองเทียบกับตัวอื่นๆ (แต่ส่วนมากจะเทียบกับตัวที่แม่นกว่า บังเอิญเจ้านี่แม่นสุดที่เคลมมา จะเทียบยังไงนั้น ขอหาวิธีก่อนนะครับ)

ขอบคุณ ร้านค้าออนไลน์ Blue Planet ผู้สนับสนุนอุปกรณ์ทดสอบ
ติดต่อ: 0818090160

. [homeimg=300,200]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 7745-0.jpg[/homeimg]

ดูข้อมูลจากเพจของ Verve Cycling
https://www.facebook.com/VerveCycling?fref=ts
website : InfoCrank "True Data"
http://www.vervecycling.com/
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
ifinxz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 452
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2012, 14:13
Bike: Giant TCR SCR
ติดต่อ:

Re: UNBOXING Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย ifinxz »

:shock: รู้สึกพักนี้จะเห็น power meter ตัวใหม่ๆ และรุ่นปรับปรุงเยอะขึ้นจริงๆ :D
ผิดพลาดขออภัย มือใหม่หัดหมอบ
รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

Re: UNBOXING Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย ตาโจ »

[align=center]ข้อมูลเพิ่มเติมครับ[/align]

[align=center][/align]

[align=center]ติดตั้งก็ง่ายๆครับ[/align]

[align=center][/align]
รูปประจำตัวสมาชิก
Kan-
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1608
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 16:51
team: แสงเพชร
Bike: TREK 2.5 TREK 8500 TREK 8900 Specialized SL3 tamrac S-Work กำลังหา TREK 6.9 SSL

Re: UNBOXING Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย Kan- »

:D :D
ทำงานเห็นแก่หน้า...!จะต้องตามแก้ปัญหาไม่รู้จบ...!

บันทึก VDO การปั่นของผมครับ http://goo.gl/DCNt3D
รูปประจำตัวสมาชิก
nbt
Site Admin
Site Admin
โพสต์: 2713
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 23:44
Tel: 0882160166
team: thaimtb , osk
Bike: Trek Procaliber, Bianchi OrtheXR2 , cBroadman CX , Canyon Enduro
ติดต่อ:

โพสต์ โดย nbt »

รีวิวได้เห็นภาพมากๆครับว่า 3-5% มีผลมากจริงๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
punya467
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2222
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 14:55
team: Rayong road bike, On/Off cycling
Bike: NICH LTD

Re:

โพสต์ โดย punya467 »

nbt เขียน:รีวิวได้เห็นภาพมากๆครับว่า 3-5% มีผลมากจริงๆ
ผมกลับไม่คิดอย่างนั้นนะครับ ถ้าวัดเป็นช่วงๆ ยังไงค่าเฉลี่ยก็คงไม่หนีกันมาก ยกเว้นจะวัดเป็นจุดๆ เช่น ค่า max อันนี้อาจมีโอกาส ต้องอย่างลืมว่าพวกค่าพวกนี้เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น เวลาคิดต้องเอาเรื่องความน่าจะเป็นมาคิดด้วย ลองนึกถึงกราฟการกระจายตัวปกติรูประฆังคว่ำดูครับ ค่าพวกนี้มันไปอยู่ตรงปลายๆหางของกราฟแล้ว มีพื้นที่นิดเดียว เอาเป็นว่าถ้าเอามาซ้อมควบคุมค่าเฉลี่ยของแต่ล่ะโซนก็ไม่น่าจะมีผลมาก อีกอย่างเวลาเราซ้อมเราไม่ได้เอาค่าของเราไปเปรียบเทียบกับใครอยู่แล้ว เราะเปรียบเทียบกับตัวเราเองคือ ftp แต่ผมก็ไม่เถียงนะครับว่าคลาดเคลื่อนน้อยกว่าก็ย่อมดีกว่า แล้วแถมตัว infocrank ยังวัดแยกซ้ายขวา ได้ใบจานของ praxis work อายุแบตเตอรี่ที่นาน ในราคาแค่นี้ ผมถือว่าคุ้มมากๆครับ
ลูกเผลอแล้วเจอกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
nbt
Site Admin
Site Admin
โพสต์: 2713
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 23:44
Tel: 0882160166
team: thaimtb , osk
Bike: Trek Procaliber, Bianchi OrtheXR2 , cBroadman CX , Canyon Enduro
ติดต่อ:

Re: Re:

โพสต์ โดย nbt »

punya467 เขียน:
nbt เขียน:รีวิวได้เห็นภาพมากๆครับว่า 3-5% มีผลมากจริงๆ
ผมกลับไม่คิดอย่างนั้นนะครับ ถ้าวัดเป็นช่วงๆ ยังไงค่าเฉลี่ยก็คงไม่หนีกันมาก ยกเว้นจะวัดเป็นจุดๆ เช่น ค่า max อันนี้อาจมีโอกาส ต้องอย่างลืมว่าพวกค่าพวกนี้เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น เวลาคิดต้องเอาเรื่องความน่าจะเป็นมาคิดด้วย ลองนึกถึงกราฟการกระจายตัวปกติรูประฆังคว่ำดูครับ ค่าพวกนี้มันไปอยู่ตรงปลายๆหางของกราฟแล้ว มีพื้นที่นิดเดียว เอาเป็นว่าถ้าเอามาซ้อมควบคุมค่าเฉลี่ยของแต่ล่ะโซนก็ไม่น่าจะมีผลมาก อีกอย่างเวลาเราซ้อมเราไม่ได้เอาค่าของเราไปเปรียบเทียบกับใครอยู่แล้ว เราะเปรียบเทียบกับตัวเราเองคือ ftp แต่ผมก็ไม่เถียงนะครับว่าคลาดเคลื่อนน้อยกว่าก็ย่อมดีกว่า แล้วแถมตัว infocrank ยังวัดแยกซ้ายขวา ได้ใบจานของ praxis work อายุแบตเตอรี่ที่นาน ในราคาแค่นี้ ผมถือว่าคุ้มมากๆครับ
ใช่ครับ ถ้าคิดเปรียบเทียบค่าของตัวเองเท่านั้นก็ไม่ต้องไปสนใจมากเพราะมันเป็นค่าเฉลี่ยของเราเอง

เรื่องกราฟผมกลับคิดอีกอย่างนึง น่าจะเป็นระฆังหงายมากกว่านะครับ เพราะถ้ากราฟส่วนใหญ่ผลิตมาระฆังคว่ำ คือแม่น 0% มากๆๆ ทุกเจ้าก็คง reject และคัดเอาเฉพาะเปอร์เซ็นน้อยๆมาขาย คุยว่าตัวเองแม่นยำกว่าได้อีก การทำให้แม่นๆคงยากกว่ามาก
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย giro »

ผมเคยใช้ทั้งตัวที่เพี้ยนเยอะ(8%) และเพี้ยนน้อย(1.5%) ผมขอตอบให้ครับว่าความแม่นยำมันมีผลครับ แต่มีผลมากแค่ไหนต้องดูบริบทในการใช้งาน
สมมุติว่ามันคือ 8% ของ 400 วัตต์นะครับ มันเท่ากับว่าพาวเวอร์มิเตอร์ตัวนั้นสามารถบอกค่า 376-424 w โดยที่ถือว่ายังคงถูกอยู่ ซึ่งเท่ากับช่วงต่างสุงถึง 48 w และความเพี้ยนเหล่านี้เกิดขึ้นเรื่อยๆในการปั่นทุกค่าวัตต์ที่ได้มาครับไม่ได้แปลว่าเครื่องนั้นมันเพี้ยนสม่ำเสมอ ตรงบ้าง เป๊ะบ้าง ใกล้บ้าง แต่ต้องไม่เกิน 8% ซึ่งมันก็คืออาการ"แพว่ง"นั่นเอง
แล้วหากยิ่งเวลาน้อยๆเช่น 1 นาที หรือ 30 วินาที โอกาสที่ค่าที่ได้จะเพี้ยนไปจากความจริงยิ่งมากเพราะสัดส่วนความแม่นยำน้อยลง เมื่อซ้อมพวกความหนักสูงๆ ต่อให้เทียบกับ FTP เช่น 1min interval @Z7 ตัวที่ผมเคยใช้มันแทบเอาแน่ไม่ได้เลยครับ พอเปลี่ยนไปใช้ตัวที่ 1.5% ชีวิตดีขึ้นเห็นๆครับ

ดังนั้น ถามว่าความแม่นมีผลอย่างไร หากต้องการซ้อมโซนสูงๆ หนักๆ ระยะเวลาสั้นๆ ยังไงแม่นกว่าย่อมดีกว่ามากๆ และนี่คือเหตุผลที่ทำไมโปรนิยมพวกแม่นต่ำกว่า 1%
แต่ถ้าซ้อมทั่วไป 5 นาทีขึ้นไป แม่น 1% หรือ 3% ไม่ได้ต่างกันหรกอครับ ยิ่งถ้าโซนต่ำๆขี่กันนานๆ 8% ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเลย

และจุดเด่นหนึ่งที่ infocrank ต้องการชูความแม่นระดับนี้เพราะ เวลาซ้อมคุณซ้อมเทียบค่ากับตัวเอง แต่เวลาวิเคราะห์บางอย่างต้องการค่าที่ชัดเจนและแม่นยำเช่น power to weight ratio ที่นักปั่นจริงจังสนใจมากๆ การที่ค่ามันแกว่งและเพี้ยนแบบที่แสดงในกราฟฟิค มันหมายถึง ratio ที่ต่างและส่งผลกับการประเมิน เช่นโปรที่ FTP 450 ที่คลาดเคลื่อน 5% จะได้ค่าแกว่งระหว่าง 427.5-472.5 ที่ต่างกันราว 45 วัตต์ ถ้านักปั่นคนนั้นหนัก 65 กก. เท่ากับ P/W 6.57 และ 7.26 เชียวนะครับ นี่ยังไม่นับว่าเวลาจะประเมินศักยภาพนักกีฬาแต่ละคนที่ใช้คนละเครื่องกัน(ที่แต่ละเครื่องก็คลาดเคลื่อนเท่ากัน)จะแน่ใจได้อย่างไรว่านักกีฬาแต่ละคนมีศักยภาพและต้องการพัฒนาด้านไหนจริงๆ

มันเป็นเรื่องปกติที่ใช้เทียบสัดส่วนกับ FTP แต่การวิเคราะห์หลายๆอย่าง ความแม่นยำสำคัญมากๆครับ ดังนั้นเจ้าที่แม่นสุดๆจึงยังเป็นที่นิยม แต่ตัวที่โปรใช้กันบางตัวก็คลาดเคลื่อนอยู่ที่ 2.5-3 % ก็ยังใช้กันได้ครับ จะต้องการความแม่นยำและเห็นความสำคัญขนาดไหนมันอยู๋ที่ว่าต้องการเอาวัตต์ไปทำอะไรบ้าง และลึกซึ้งกับการใช้งานมันแค่ไหนครับ (มันไม่ได้จบแค่แบ่งโซนและเทียบ FTP ครับ )
และอย่างที่ว่าล่ะครับ ทำได้ขนาดนี้ แม่นขนาดนี้ ราคาเท่านี้ ผมว่า InfoCrank เป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลยทีเดียว
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย lucifer »

ประเด็นเรื่องความแม่นยำ 1% กับ 2-3% นี่คงจะพูดกันไม่จบหรอกครับ ขึ้นอยู่กับว่ามองกันอย่างไร
ถามว่าถ้ามี power meter แค่เพียงชุดเดียว ค่า FTPที่ได้ก็คือค่าที่ได้จาก power meter ตัวเดียว ไม่ได้เอาค่าจากpower meter ตัวอื่นๆมาเทียบด้วยแล้วหละก้อ ผมไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนี้เลย

อย่างแรกคือ หากไม่ใช่โปรแล้ว มีใครที่มีค่า FTP ถึง 400W บ้าง
อย่างที่สอง ในเมืองไทย มีโปรกี่คนที่ใช้ Power meter มีทีมชาติกี่คนที่ใช้ power meter
อย่างที่สาม หลายๆคนในเมืองไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับ power meter ส่วนใหญ่เป็นมือสมัครเล่นที่จริงจัง

ความคลาดเคลื่อนที่พูดกันนั้น ก็ยังมีวิธีการวัดที่แตกต่างกันไปอีก วัดค่าเฉลี่ยบ้าง วัดค่าPeak to Buttom บ้าง
จะมีเพียงไม่กี่การทดสอบและการรีวิวที่กล้าเอาอุปกรณ์เหล่านี้มาทดสอบพร้อมๆกัน บน Reference ที่เชื่อถือได้สูงสุด ซึ่งอันที่จริงแล้ว ส่วนใหญ่ก็อยู่ในช่วง 1.5 -2% ( Power2Max claim ไว้ที่ บวกลบ 2% นะครับ ไม่ใช่ 2-3% )


ว่าถึงน้ำหนักกันบ้าง เอาเป็นข้อมูลไปก็แล้ว
ขาจาน 3D+ ขายาว 170mm กับ Power2Max typeS BCD110 ไม่รวมแบตเตอรี่ น้ำหนักรวมกัน 592.40 กรัม
ขาจาน 3D ขายาว 170mm กับ Power2Max typeS BCD110 ไม่รวมแบตเตอรี่ น้ำหนักรวมกัน 640 กรัม
ขาจาน ROTOR power ขายาว 170mm Spyder MAS BCD 110 บวกแบตเตอรี่ 2 ก้อน น้ำหนักรวมกัน 597.20 กรัม



ชุดล้อ PowerTap ขอบล้อRenold + ดุม PowerTap G3 ราคาตั้งอยู่ที่ 5หมื่นกลางๆ
Power2Max TypeS lotหน้า ตัว Power Unit ราคาหล่นลงมาเหลือ 3หมื่นกลางๆ
ชุด Rotor Power LT ราคาพร้อมใช้งานก็ลงมาอยู่ที่ 3หมื่นกลางๆ ( ถ้าจำราคาผิดก็ขออภัย แต่ราคาลงมากว่าตอนแรก )

Power meter ในปัจจุบัน ราคาลดลงมากว่าสมัยก่อนมาก
จ่ายแพง กับ จ่ายเหมาะสม เพื่อตัวเลข 3 หลักที่วิ่งไปวิ่งมา ดูกันตาลาย เอามาเป็นเพียงเครื่องประดับในเหล่าฟรุ้งฟริ้งมุ้งมิ้ง ผมว่าเหล่าสายแฟชั่นคงมองกันคนละแบบเช่นกัน
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Bkkbikelove
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1010
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:30
Tel: 089xxxxxxx
Bike: Thorn Raven, Principia, GT Grade carbon

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย Bkkbikelove »

lucifer เขียน:ประเด็นเรื่องความแม่นยำ 1% กับ 2-3% นี่คงจะพูดกันไม่จบหรอกครับ ขึ้นอยู่กับว่ามองกันอย่างไร
ถามว่าถ้ามี power meter แค่เพียงชุดเดียว ค่า FTPที่ได้ก็คือค่าที่ได้จาก power meter ตัวเดียว ไม่ได้เอาค่าจากpower meter ตัวอื่นๆมาเทียบด้วยแล้วหละก้อ ผมไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนี้เลย

อย่างแรกคือ หากไม่ใช่โปรแล้ว มีใครที่มีค่า FTP ถึง 400W บ้าง
อย่างที่สอง ในเมืองไทย มีโปรกี่คนที่ใช้ Power meter มีทีมชาติกี่คนที่ใช้ power meter
อย่างที่สาม หลายๆคนในเมืองไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับ power meter ส่วนใหญ่เป็นมือสมัครเล่นที่จริงจัง

ความคลาดเคลื่อนที่พูดกันนั้น ก็ยังมีวิธีการวัดที่แตกต่างกันไปอีก วัดค่าเฉลี่ยบ้าง วัดค่าPeak to Buttom บ้าง
จะมีเพียงไม่กี่การทดสอบและการรีวิวที่กล้าเอาอุปกรณ์เหล่านี้มาทดสอบพร้อมๆกัน บน Reference ที่เชื่อถือได้สูงสุด ซึ่งอันที่จริงแล้ว ส่วนใหญ่ก็อยู่ในช่วง 1.5 -2% ( Power2Max claim ไว้ที่ บวกลบ 2% นะครับ ไม่ใช่ 2-3% )


ว่าถึงน้ำหนักกันบ้าง เอาเป็นข้อมูลไปก็แล้ว
ขาจาน 3D+ ขายาว 170mm กับ Power2Max typeS BCD110 ไม่รวมแบตเตอรี่ น้ำหนักรวมกัน 592.40 กรัม
ขาจาน 3D ขายาว 170mm กับ Power2Max typeS BCD110 ไม่รวมแบตเตอรี่ น้ำหนักรวมกัน 640 กรัม
ขาจาน ROTOR power ขายาว 170mm Spyder MAS BCD 110 บวกแบตเตอรี่ 2 ก้อน น้ำหนักรวมกัน 597.20 กรัม



ชุดล้อ PowerTap ขอบล้อRenold + ดุม PowerTap G3 ราคาตั้งอยู่ที่ 5หมื่นกลางๆ
Power2Max TypeS lotหน้า ตัว Power Unit ราคาหล่นลงมาเหลือ 3หมื่นกลางๆ
ชุด Rotor Power LT ราคาพร้อมใช้งานก็ลงมาอยู่ที่ 3หมื่นกลางๆ ( ถ้าจำราคาผิดก็ขออภัย แต่ราคาลงมากว่าตอนแรก )

Power meter ในปัจจุบัน ราคาลดลงมากว่าสมัยก่อนมาก
จ่ายแพง กับ จ่ายเหมาะสม เพื่อตัวเลข 3 หลักที่วิ่งไปวิ่งมา ดูกันตาลาย เอามาเป็นเพียงเครื่องประดับในเหล่าฟรุ้งฟริ้งมุ้งมิ้ง ผมว่าเหล่าสายแฟชั่นคงมองกันคนละแบบเช่นกัน
+100 like :D
ราคาตั้ง 58,000 มันสูงอยู่ แต่ก็ยังเทียบกับ SRM ไม่ได้
นักปั่นวันหยุด FTP ต่ำ 200 แบบผมเลือกคบกัน Power meter ราคาสบายกระเป๋าแบบ 4iiii ที่สนนราคาไม่ถึง 20,000 ดีกว่า ถึงแม้ว่ามันจะวัดข้างซ้ายข้างเดียว แต่อย่าลืมว่า Sky ก็ใช้ Stage ที่วัดข้างซ้ายข้างเดียวเหมือนกัน
ส่วนเรื่องค่า Error สำหรับผม 2% กับ 0.1% แทบไม่มีนัยยะสำคัญอะไร เพราะตัวเลขมันวิ่งไปวิ่งมาตลอด แค่เกร็งขาตอนกด วัตต์ก็วิ่งแล้ว "การเลี้ยงแรงกดให้วัตต์นิ่งได้ตามโปรแกรมซ้อมต่างหากที่สำคัญกว่า"
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย lucifer »

เมื่อกี้ต้องรีบไปทำงาน ยืดยาวมากไม่ได้ เลยไม่จบในpost เดียว

concept ของผมคือ concept ของมือสมัครเล่นที่จริงจัง

การฝึกด้วย power meter นั้น ปฐมบทก็คือ จะต้องหาค่า FTP ให้ได้เสียก่อน หาทำไม หาเพื่อกำหนด Zone ในการฝึก
ดังนั้นการตั้งค่าบน Head Unit ที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การตั้งค่าแสดงเป็น %FTP ครับ

ต่อให้Power meter ที่แม่นแบบอุดมคติ คือ ไม่เพี้ยนเลย เอามาใช้วัด FTP ได้ 400Watts นั่นก็คือ 100%FTP แล้วเอาPower meter อีกตัวหนึ่งที่เพี้ยน 2% วัดค่า FTP ได้อยู่ระหว่าง 392 - 408 Watts ( ซึ่งนั่นก็คือ 100%FTP เช่นกัน )

แล้วเรามาดูโปรแกรมการฝึกกัน โปรแกรมการฝึกถูกออกแบบโดยอิงกับ power zone และกำหนดค่า %FTPเป็นตัวตั้งต้นในการใช้อ้างอิงเสมอๆ เช่น แช่ที่ 105% FTP ติดต่อกัน 4 นาที ถามว่า ถ้าเอามา Power meter 2 ตัวนี้มาrunพร้อมๆกัน ด้วย Head Unit ของใครของมัน ค่าที่อ่านได้ก็คือ 105%FTPเหมือนๆกัน ไม่ได้แตกต่างอะไรกันหรอกครับ ( ยกเว้น power meter มันจะห่วยได้โล่ ที่slope มันไม่เป็นเส้นตรง หรือ strain gauge มันห่วยได้โล่ที่พอออกแรงมากๆแล้วมันล้าตัว ซึ่งอันที่จริงแล้ว มันก็ไม่ได้เลวร้ายถึงระดับนั้นหรอกครับ )

จริงๆแล้วการผลิตเครื่องมือเหล่านี้ โดยผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง มีเครื่องมือเทียบวัดที่ดี เขาไม่ได้ทำเพียงแค่ one-point calibration แต่จะทำอย่างน้อยก็ต้อง two-point calibration ขึ้นไป โดยต้องเทียบหัวกับท้ายของslope แล้วปรับเทียบให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงมาตรฐานที่สุด ถ้ามันจะเพี้ยนมันก็เพี้ยนไปตาม %ความเพี้ยนนั้น โดยจะเพี้ยนในลักษณะนั้นตราบเท่าที่ตัว strain gauge ยังไม่ผิดคุณสมบัติ หรือ ยังไม่ล้าจนfail โดยslopก็จะเป็นไปตามที่เป็นมาตรฐานหรือเพี้ยนไปจากมาตรฐานบวกลบไม่เกิน 2% ( ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับกันได้ สำหรับการใช้งานจริง )

ดังนั้นในจุดที่ serious ที่สุด ก็คือ ตรงจุดที่เป็น FTP นั้น หากมันจะเพี้ยน มันก็เพี้ยนในคาบความเพี้ยนของpower meterตัวนั้นๆเอง เมื่อเราsetตรงนั้นให้เป็น 100%FTP ซะ ค่าอื่นๆมันก็จะตามกันมา

แต่สิ่งที่เราจะต้องพบกันกับการใช้ Power meter ก็คือ ในเมื่อเราไม่สามารถรักษา spin scan ให้มีค่าเท่ากับ 100% ได้ เพราะกล้ามเนื้อแต่ละมัดมันแข็งแรงไม่เท่ากัน สุดแล้วแต่ว่า Head Unit จะ refresh ตรงกับช่วงไหนของรอบองศาของบันได ค่าpowerที่วัดได้ จึงวิ่งไปวิ่งมาเป็นเรื่องปกติสามัญ จึงไม่มีใครที่สามารถปั่นให้ตัวเลข 380วัตต์นี้มีค่าคงที่เป๊ะๆได้หรอก แต่ถ้าsetเป็น %FTP แล้วค่าที่แกว่งจะดูน้อยลง คิดเอาเองง่ายๆแล้วจะเข้าใจ


ถ้าจะถามผมว่าผมมั่นใจในสิ่งที่ผมเขียนมาแค่ไหน ผมก็จะบอกว่า ครั้งหนึ่ง ผมมีอุปกรณ์พวกนี้มากมาย Power meter ที่ผ่านมือผมมา ถ้าเป็นดุม Power Tap G3 นี่ มีตั้งแต่ดุมเปล่าเอามาขึ้นล้อเอง , ล้อ CycleOp ขอบ Enve Classis 45 , ล้อ CycleOp ขอบ Enve Classis 65 , ล้อ CycleOp ขอบ Enve Smart 3.4 , ล้อ CycleOp ขอบอลูมิเนียมสำหรับซ้อม หรือ ถ้าเป็น Power meter ที่วัดผ่าน crank ก็ใช้มาตั้งแต่ Power 2Max classic รุ่นแรกที่ยังไม่มี Temperature compensate , Power 2Max type S ทั้งใช้กับ Rotor 3D และ 3D+ , Rotor Power ที่วัดแยก 2 ขา , และตัวที่เป็น reference ก็คือ Computrainer Lab version ซึ่งตัวนี้คืออุปกรณ์ที่แม่นยำสูงสุด ( ภายใต้การใช้งานที่ถูกกำหนดตามเงื่อนไข )

ที่ยังไม่เคยลองก็คือ Garmin Vector , Stage , Rotor ขาเดียวทั้ง2 แบบ , SRM , Quark เนื่องจากเริ่มรู้ตัวว่าชักจะไปกันใหญ่แล้ว มันเริ่มจะกลายเป็นนักทดลองอุปกรณ์มากกว่านักปั่นจักรยานไปแล้ว สุดท้ายเหลืออยู่แค่ Power2Max typeS กับ Computrainer เท่านั้น

ผมเคยเปรียบเทียบ power meter เหล่านี้ด้วยกัน เช่น ใช้ Power 2Max กับ CycleOp ปั่นบนเทรนเนอร์ธรรมดา , ใช้ Rotor Power ปั่นบน computrainer ภายใต้โปรแกรม Trainerroad ที่สั่งคุมให้ตัว Computrainer generateค่าความต้านทานให้ได้ค่าวัตต์ตามที่ต้องการ แล้วดูค่าที่วัดได้ หรือ แกว่งในพิสัย , เคยแม้กระทั่งใช้ทั้ง Power 2Max type S กับ CycleOp ดุม G3 ร่วมกับ Computrainer ที่ถูกสั่งให้ generate ความต้านทานเป็นค่าวัตต์ตามคำสั่งของ Trainerroad

ผมจะบอกเลยว่า แต่ละตัวหนะ มันไม่เคยวัดได้เท่ากันอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ มันมีเทรนด์ที่สอดคล้องไปด้วยกันในลักษณะที่เชื่อถือได้ทั้งสิ้น หากเอา Computrainer Lab version เป็น reference ที่ถือว่าเชื่อถือได้สูงสุดหละก้อ (​เพราะมันถูกcalibrate มาให้ใช้ในระดับหัองปฏิบัติการ แล้วยังใช้ PC ในการคำนวณ ยังไงๆเสีย CPU ของPC ย่อมทำงานได้เร็วกว่า และคำนวณเป็นจุดทศนิยมแยกย่อยได้เหนือกว่า CPU ของ Head Unit ทั้งหลายอยู่แล้ว ) อย่างน้อยค่าวัตต์ที่โปรแกรมกำหนดให้ computrainer ทำงานนั้น ก็มีค่าใกล้เคียงกับค่าวัตต์ที่วัดได้จาก Power2Max typeS และ ดุมPowerTap G3 มากทีเดียว โดยทำงานสอดคล้องกันในลักษณะที่เป็นTrend เดียวกันทั้งหมด

ผมว่าแค่นี้ คำว่าเป๊ะ เพี้ยนน้อยกว่า 1% ในราคาที่แพงที่สุดนั้น อาจจะไม่ได้มีคุณค่าอะไรเลย ถ้าหากพิจารณาจากสิ่งที่ผมเขียนไว้ข้างต้นมาแล้ว เพราะเมื่อสุดท้ายเทียบเป็น %FTP ด้วยแล้ว ภายใต้ความเพี้ยนของใครของมัน 100%FTPของใครของมัน ถ้าคุณจะฝึกInterval ที่ 120%FTP ด้วยpower meter ตัวที่คุณเอามาใช้วัด FTP ของคุณแล้วก็ตาม ค่าความหนักที่ฝึกก็คือ 120%FTP วันยังค่ำ

เข้าใจตรงกันตรงนี้หรือเปล่าครับ ?


และที่สำคัญนะครับ โปรแกรมฝึกบอกให้ปั่นที่ 120% FTP ถามว่าการปั่นที่ 120%FTPเป๊ะๆให้คงเส้นคงวานี่ มันยากสุดๆนะ ดังนั้นลืมไปได้เลยว่า Power meter มันจะแม่นเพียงไหน ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกแล้ว

ยาวหน่อยนะครับ และสุดท้าย ทฤษฏีก็เก็บมันเอาไว้ในตำรา ส่วนของจริงๆนั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเข้าไปขุดค้นกันเอาเอง

ปอลิง .
ส่วนจะเอาไปเทียบค่าเป็น power per weight ratio เช่น ได้ค่า FTP 4Watt/KG มันก็คงจะไม่ได้แตกต่างมากมายกับ 3.92 หรือ 4.08Watt/KG หรอกครับ

เพราะ power meter อาจจะเพี้ยน 2% แต่ตาชั่งหนะมันเพี้ยนอยู่กี่เปอร์เซนต์ เคยcalibrate ตาชั่งกันบ้างไหม

แล้วร่างกายของเราหละ แค่ออกไปฉี่ทิ้งทีหนึ่ง นน.ก็หายไปแล้วอย่างน้อยก็ 3ขีด กินน้ำเข้าไปแก้วหนึ่ง น้ำหนักก็ขึ้นมาอย่างน้อยก็ 2ขีดครึ่ง ออกไปเดินเล่นสักหน่อย เหงื่อออกนิดหนึ่ง นน.ก็หายไปนิดหนึ่ง กินข้าวเข้าไป นน.ก็ขึ้นมาอีก

แล้ว CP20 ที่ทดสอบกันในแต่ละครั้งหนะ จริงๆมันก็เป็นค่าMax. Average 20min ซึ่งเอาค่าวัตต์ตลอด 20 นาทีมาเฉลี่ยกันอยู่ดีแหละ การวัดแต่ละครั้งก็ยังมี error มากบ้างน้อยบ้าง แล้วทราบกันดีอยู่แล้วนี่ครับว่า ถ้าวัดจริงบนถนนก็จะได้ค่ามากกว่าบนเทรนเนอร์ เพราะความฮึกเหิมมากกว่า หรือ ถ้าวัดบนเทรนเนอร์ในวันที่อารมณ์ดี แอร์และพัดลมทำงานได้ดี อากาศเป็นใจ ก็วัดค่า FTPได้มากกว่าในบางสภาพอีกเช่นกัน

ในเมื่อทุกๆปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ล้วนแล้วก็มีความคลาดเคลื่อนทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเป็นค่าในอุดมคติสักอย่าง ก็คงจะป่วยการสำหรับการจ่ายเงินแพงๆเพื่อให้ได้ของที่ดีที่สุด แม่นยำที่สุด ในขณะที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยสำคัญอื่นๆที่อยู่รอบตัวได้เลย

จริงปะ



จบแล้วจริงๆ จะหนีไปซ้อมหละครับ เดี๋ยวของที่มีอยู่จะใช้ไม่คุ้มค่า
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย giro »

ปัญหาของการใช้งานนี้คือ คนส่วนมาก (เกือบทั้งหมดแน่นอน) ใช้งาน power meter ด้วยการซ้อมโซนตาม FTP ใช่มั้ยครับ นั่นมันแค่ส่วนหนึ่งของการใช้งาน แต่มีคนส่วนน้อย น้อยมากๆ (อย่างน้อยก็มีผมนี่แหละ) ที่นำค่าที่ได้มานั่งดูจริงๆว่าปั่นอะไรลงไป ผมไม่ได้สนใจแค่เปอร์เซ็นเทียบกับเทรสโชลด์ แต่ผมสนใจวัตต์ที่ผมทำได้ในแต่ละพิกัดเวลาด้วย และผมสนใจกับ power to weight ด้วยครับ เพราะทั้งสองส่วนนี้มันบ่งบอกจุดเด่นและจุดด้อยของเราได้ง่ายมากๆ ปัญหาที่คนไม่ค่อยสนใจดูกันเพราะก็ใช้ซ้อมแล้วอัพลง garmin connect แล้วไปนั่งดูกราฟฟิตเนสบน strava น้อยคนใช้ใช้โปรแกรมที่วิเคราะห์ลึกๆ แต่ถ้าใช้จะรู้ครับว่าค่าพวกนี้ที่ระยะ 3 วินาที หรือ 15 วินาที มันต้องแม่นมากๆ

ผมมั่นใจว่า"ความแม่นยำ" มีส่วนสำคัญในฐานะที่ผมเคยใช้ Polar ที่ได้ชื่อว่า"แม่น" น้อยสุดๆ(ดีกว่าพวกคำนวนเอาหน่อยนึง) ผมมีปัญหามากๆกับค่าที่ได้มาโดยเฉพาะในช่วงสั้นๆ เราไม่มานั่งมองนะครับว่ามันไม่แม่นเพราะอะไร เพราะสุดท้ายเค้าก็เคลมความคลาดเคลื่อนเลขหลักเดียวอยู๋แล้ว แต่... ผมไม่สามารถวิเคาะห์ CP3 ได้เลยครับ กราฟกระโดดเกินกว่าจะเชื่อว่าเป็นแรงถีบ และกลุ่มของค่าที่ได้กระจายผิดปกติเกินไป มันก็พาลทำให้คิดไปต่อว่า เฮ้ย แล้ว IF สั้นๆ มันน่าเชื่อถือได้แค่ไหน?

อีกอย่างที่ทำให้แคลงใจก็คือพวก ระเบิด matches ต่างๆ ที่เอาค่ามาเทียบกันแต่ละครั้ง หรือ course ที่ต้องระเบิดแล้ว ทำซ้ำๆ สมัยใช้ Polar บอกได้เลยครับว่าปวดตับมาก ... เอาเป็นว่าขี่ๆอยู่ผมเคยขึ้น 1800 วัตต์มาจากไหน?? บางครั้งกดหนักๆอยู่ เลขวิ่ง 600 แล้วตกไป 400 แล้วเด้งไป 900 (ผมจำเป๊ะๆไม่ได้) ทำนองนี้ใน 5 วินาที สรุปว่า มันตอบโจทย์แบบนี้ไม่ได้

และเมื่อย้ายมา PowerTap ที่แม่น 1.5% อันนี้ผมบอกได้เลยว่าชีวิตดี๊ดีจริงๆครับ สุดยอดแห่งอุปกรณ์ในดวงใจ เสียตรงมันเป็นล้อไม่เหมาะกับผมเท่าไหร่ เลยย้ายมา P2M ซึ่งแม่นน้อยกว่าแต่ก็ไม่ได้มากมาย แต่ถามผมว่าความเสถียรของมันสู้ดุม PT ได้มั้ยผมยันเลยว่าไม่ได้ครับ แม้แต่ตัวที่แก้ปัญหาเรือ่งอุณฆภูมิมาแล้ว เพราะผมเคยปั่นๆโดยไม่ได้ทำ zero (ฟรีขา) เลยเพราะขี่ indoor จากตอนแรกร้อนมากๆเพราะเพิ่งเปิดแอร์ ตอนแรกปั่นรู้สึกว่าวันนี้ความหนักมันไม่ปกติแต่ก็ไม่ได้คิดอะไรอดทนปั่นไปแล้วมีฟรีขา แล้วสปั่นต่อปรากฏว่าที่อัตราทดเดิม วัตต์เปลี่ยน บนถนนทั่วไปอุณหภูมิไม่ต่างมากขนาดนั้นและมีการฟรีขาเรื่อยๆเราไม่รู็สึก แต่ในห้องที่เพิ่งเปิดแอร์ตอนเริ่มปั่น(เย็นสุดๆ)และเป่าพัดลมอัด .... ผมว่าไอ้การอัพเกรดมันเอาไม่อยู๋ครับ 555+
แต่ก็ไม่ได้อะไรกับมันมากครับ อย่างที่เห็นว่าก็ยังใช้ P2M ต่อไป แค่เราต้องู้ปัจจัยการใช้งาน

ตอนนี้ผมดูแลการซ้อมของทีมที่ทดลองใช้ทฤษฏีการซ้อมต่างๆ ผมต้องเช็ค poewr to weight ของแต่ละคน และในอนาคตผมต้องมานั่งดู P:W ในช่วงสั้นๆด้วยอ่างแน่นอน ยังปวดหัวอยู่ว่าพาวเวอร์มิเตอร์แต่ละตัวมันวัดไม่เท่ากัน เวลาวิเคราะห์ค่าคงไม่ง่ายแน่ๆ

ผมได้ใช้ Rotor ทั้งตัวข้างเดียวและสองข้างแล้วครับ มีทั้งจุดดีและความไม่ถูกใจ อยู่บ้างเพราะมันมีปัจจัยบางเรื่องทำให้มันงอแงกับตัวเลขสามหลัก และการตอบสนองของ P2M ถูกใจผมมากกว่า ทว่า P2M เองเคยมีอาการ"ผีเข้า"ครับ จู่ๆพุ่งไปหลายพันวัตต์จากไหนไม่รู้ได้ วันนั้น NP, IF, TSS ใข้ไม่ได้ซักอย่างครับ ต้องไปตัดกราฟช่วงนั้นทิ้งถึงใช้ได้

โดยส่วนตัวนั้นผมมองว่า"จำเป็น" รึเปล่า? อันนี้ต้องถามคนใช้ล่ะครับว่าต้องการเอาไปใช้งานถึงระดับไหน จริงจังกับวัตต์มากแค่ไหน หากจริงจังมากและสนุกกับการเล่นค่านี้(แบบผม) เอาแม่นๆที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ แต่ถ้าไม่คิดอะไรมากเอาแค่เลขสามหลักและเปอร์เซ็นต์ ความเพี้ยนระดับ 8% ยังใช้ได้เลยครับอย่าว่าแต่ 2-3% แต่....(อีกรอบ) ราคาห้าหมื่นกว่า แล้วได้ performance แบบนี้ มันเป็นทางเลือกที่"จบ"ในตัวมันเองครับ

ผมขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ ... เราไม่เคยจำเป็นต้องขี่เฟรมตัวท็อป เราไม่จำเป็นต้องใช้จักรยานคันละสามแสน เราไม่ต้องใช้ล้อชุดละเกือบแสนกันก็ได้ มีใครบ้างที่ต้องการสมรรถนะรถแบบนั้นจริงๆ? ระดับพวกเรา รุ่นกลางๆก็เหลือเฟือแล้ว แต่สุดท้ายนักจักรยานต้องคำสาปให้หลงใหลไปกับคำว่า "จบ" กับสมรรถนะที่สูงสุดเท่าที่จะจับได้ power meter ก็อาจจะไม่ต่างกันครับ ถ้าจับแล้วมันรู้สึกว่าที่สุดแล้วหมดความคาใจ มันก็คือเหตุผลเดียวกับที่น้ำลายหกกับเฟรมใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ที่เบากว่าเดิม 40 กรัม แอโร่กว่าเดิม 13% และสติฟกว่าเดิมวัดที่กระโหลก 18%

ผมว่าเราต้องมองกันว่าราคานี้ กับสิ่งที่ได้"คุ้ม" มั้ย และคำว่า"คุ้ม" สำหรับแต่ละคนมันดันไม่เท่ากันเสียด้วยครับ ถ้าถามเพื่อนผมเค้าบอกว่าเสือหมอบคันละสองหมื่นนี่แหละคุ้มสุดๆแล้ว ขี่ได้เหมือนกัน ออกกำลังกายได้ ซิ่งได้ แต่เราทุกคนล้วนรู้ว่าคันละแสนกว่ามันดีกว่าตรงไหนบ้าง อย่างนั้น อย่างนี้ พุ่ง เบา แข็ง แอโร่ ไหล สบาย ...เพื่อนผมก็บอกว่าราคาเท่านั้นขี่ดีขึ้นแค่นั้น ไม่คุ้มเลย .... เช่นเดียวกันครับ คำตอบอยู่ที่ให้ความสำคัญกับ"คุณค่า"ที่แตกต่างเทียบกับราคามากแค่ไหน

ปอลัง(บ้าง) .. ผมเป็นพวกแพ้ของแบบนี้ครับ สังเกตุดีๆผมจะนิยมเชียร์ของ"คุ้ม" ผมใช้ล้อจีน ผมใช้อุปกรณ์กลางๆ ผมเล่นแบรนด์ไม่ได้แฟชั่นมาก แต่กับ"วัตต์" ผมแพ้ของพวกนี้อย่างแรงเลย ถ้ามีเงินจัด SRM มาแล้ว
ปอลิง2... สมัยก่อนที่เริ่มใช้วัตต์แรกๆกัน ผมและสหายร่วมอุดมการณ์เอา หลายๆตัวมาใส่พร้อมกันเพื่อทดสอบกันไปแล้วเช่นกันครับ แถมใช้ตัวหนึ่งเป็นเกณฑ์แล้วทดสอบกับหลายๆตัวเอากราฟมาเทียบ trend กันด้วย บางทีเล่นพิเรนๆพวกนี้มากไปมันเลยทำให้เห็นว่าคำว่า"แม่น" มันเห็นในกราฟได้ (แต่ฟังดูเนิร์ดมาก) ผมจำไม่ได้แล้วว่าเล่นอะไรบ้างน่าจะมี SRM, PowerTap, Quarq, Polar, iBike เดี๋ยวรอบนี้ก็จะหาทางเทียบแบบเดิมอีกครั้งครับ
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
ethylalc
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 634
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 19:59
Bike: Specialized E5 2015
ตำแหน่ง: onnut bkk

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย ethylalc »

เครื่องมือวัดก็แบบนี้แหละครับแล้วแต่คนใช้ว่าจะเอาแม่นขนาดไหนยอมรับ error ได้แค่ไหน
ยกตัวอย่างเครื่องชั่ง 10kg error 10g ชั่งข้าวสารชั่งผักก็ ok ถ้าลองมาชั่งทองก็ไม่มีใครใช้
เครื่องที่มีความแม่นยำระดับนี้มันก็เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการข้อมูลดิบในการวิเคราห์วิจัยและเปรียบเทียบได้อย่างไม่มีข้อกังขา
แต่เรื่องจริงสำหรับผู้ปั่นจักรยานทั่วไปคงไม่มีใครที่สามารถออกแรงเท่านั้นเท่านี้วัตรเปะๆ ความแม่นระดับ 0.5% คงจะละเอียดเกิน
เหมือนเอาเครื่องชั่งมีทศนิยมราคาแพงไปชั่งผักขาย ตราชั่งสปริงไม่กี่ร้อยก็พอมั้ง อะไรประมาณนั้น
ปัญหาสำคัญคือราคามันน่าคบหรือไม่? ใช้งานมันคุ้มไหมต่างหาก
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย giro »

มีการฝึกซ้อมที่ต้องการความแม่นยำระดับนี้ครับ
matches intervals
ซึ่งใช้กันมากสำหรับการพัฒนาการขี่แนวสปรินท์ และบรรดาขาไครทีเรียม
(20sec full gas สลับ 30-40sec Z1)x10
ปั่นเบาๆ 5-10 นาที แล้วทำซ้ำวนอีก 1-2 รอบ
นอกจากซ้อม ต้องเอาค่า matches ที่ได้(ระเบิดสั้นๆ) มาเทียบกันว่าในแต่ละครั้งได้เท่าไหร่ และมีแนวโน้มลดลงมากแค่ไหนเมืื่อต้องทำซ้ำๆหลายๆครับ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมาดูว่าใน CP20s แต่ละอัน มีวัตต์กระจายตัวมากแค่ไหนด้วย ซึ่งถามว่าวัตต์ที่ระยะนี้เยอะมั้ย ต่อให้หน่อมๆเลย ยังไงก็ทะลุ 400w ขึ้นไปไม่ยากครับ ยิ่งถ้าตัวใหญ่ๆ มีเฉียดพันวัตต์ได้เลย

หรือสูตรซ้อมแนวสปรินท์เตอร์แท้ๆ ที่เค้าตั้งเป้า power output เอาไว้เลยว่าที่ CP5s ต้องการเป้า"อย่างน้อย" กี่วัตต์ แล้วเวลาสปรินท์ต้องพ้นเส้นนั้นขึ้นไปให้ได้ แถมเก็บค่ามาวิเคราะห์ต่ออีกด้วยว่าเป็นอย่างไร

สองรูปแบบการซ้อมแบบนี้ต้องการความแม่นในระดับหนึ่ง แถมเมื่อเอามาเทียบขาสองข้าง(ที่ปกติผมไม่ค่อยเน้น) จะมีประโยชน์ในการซ้อมแบบนี้ยิ่งกว่ามานั่งดูว่าควงสองข้างเท่ากันแค่ไหนเวลาปั่นปกติ เพราะที่ความหนักระดับนี้ โอกาสที่ขาสิงข้างจะต่างกันมากมีไม่น้อยครับ (ใครถามผมว่าวัดสองข้างจำเป็นมั้ย ผมก็มักจะตอบว่าคิดว่าจะซ้อมวัตต์แค่ 5 โซนล่าง หรือจะพัฒนาสปรินท์ ถ้าอยากเล่นสปรินท์จริงๆจังๆผมว่าเลือกสองข้างแต่แรกได้ประโยชน์กว่า)

ย้ำครั้งสุดท้ายครับ คุ้มหรือไม่คุ้มค่า อยู่ที่เอาไปใช้ทำอะไร คนส่วนมากใช้พาวเวอร์มิเตอร์ได้ประโยชน์น้อยกว่าที่ควรมากๆครับ หากเข้าใจที่มาและการฝึกซ้อมต่างๆ วัตต์มันบอกอะไรได้มากกว่าแค่คุมโซนมาก
แต่ถามผมว่าผมเห็นด้วยกับหมอลูฯมั้ย ผมเห็นด้วยครับ และเชื่อว่าหมอลูฯเองก็เข้าใจมนสิ่งที่ผมสื่อสาร บอกได้เลยว่าคนที่จะเอามาเล่นกันขนาดนี้ มีไม่เยอะแน่นอนครับ แต่ ... ผมเชื่อว่ามีคนที่มองว่า 0.5% กับราคานี้คุ้มค่า เพราะขนาด SRM แพงกว่านี้สองเท่ากว่า ยังมีคนใช้เลยครับ เพราะต้องการความแม่นยำมากๆนั่นเอง
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: แกะกล่อง Verve Infocrank Power Meter วัตต์ที่แม่นยำระดับโปรทัวร์

โพสต์ โดย lucifer »

ขอบคุณครับ ผมเข้าใจในเรื่องที่เราแลกเปลี่ยนมุมมองกันดี
สุดท้ายคงจะต้องมาทำหรือหาผลการทำ in-depth review มาเทียบกัน ก็อยากจะรู้เหมือนกันว่า บวกลบ 1% นั้น มันศักดิ์สิทธิ์สมคำประกาศหรือเปล่า

จะเสียดายที่มาแต่แกน 24mm BCD 130 และถึงจะเป็น แกน30mm ก็คงจะใช้ไม่ได้อยู่ดี เพราะเจ้ากรรม BBRight มัน"เยอะ"

555
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ไมล์วัดความเร็ว (HRM/GPS/Power meter)”