Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

จำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรจุน้ำเพื่อลดขยะจากพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ขวดน้ำสเตนเลส ขาขวดน้ำ Klean Kanteen, Zefal, Velo Orange, Stanley flask และอื่นๆที่เกี่ยวกับขวดน้ำค่ะ
กฏการใช้บอร์ด
จำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรจุน้ำเพื่อลดขยะจากพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ขวดน้ำสเตนเลส ขาขวดน้ำ Klean Kanteen, Zefal, Velo Orange, Stanley flask และอื่นๆที่เกี่ยวกับขวดน้ำค่ะ
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

"ถ้าคุณถอดเบรกหรือเกียร์คุณจะได้ Fix gear ถ้าคุณ
เอาจานเฟืองออก จะเหลือ Draisine แต่ถ้าคุณเอาล้อออก
คุณจะได้เศษเหล็ก"
โดย โรเบิร์ต เพน จากหนังสือ It's About The Bike

ขอเริ่มต้นกระทู้ด้วยส่วนหนึ่งจากหนังสือของโรเบิร์ตเพนซึ่งเขียนตอนหนึ่งได้น่าสนใจ
เป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของล้อจักรยานล้อจักรยานกว่าจะเป็นรูปแบบที่ใช้กัน
ปัจจุบันมันผ่านการพัฒนามาอย่างยาวนาน เริ่มจากล้อไม้ปรับเปลี่ยนเรื่อยมาจนเป็น
เหล็กที่มีน้ำหนัก และพัฒนามาเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบัน เป็นขอบล้อ(Rim)ถูกขึงด้วย
ซี่ลวด(Spoke)กับดุมล้อ(Hub) ประวัติของล้อที่ขึงด้วยซี่ลวดนั้นน่าสนใจไม่แพ้รูป
ทรงของเฟรมที่ใช้ในอยู่ปัจจุบันเลยที่เดียว

รูปภาพ
ภาพแสดง: วิวัฒนาการของจักรยาน


อยากจะขอเริ่มต้นด้วยการอธิบายส่วนประกอบต่างๆของล้อ ซึ่งในวงล้อที่ดีแต่ละ
วงนั้นมีองค์ประกอบด้วยกันหลายส่วนขาดส่วนใดส่วนหนึ่งจะเป็นวงล้อที่ดีไปไม่ได้

ขอบล้อ(Rim)
ปัจจุบันมีขอบล้อหลากหลายประเภท โดยมันถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับกิจกรรม
ที่แตกต่างกัน เช่นขอบสำหรับ Road bike ซึ่งต้องการความเบาเพื่อเร็วที่มากขึ้น
ขอบล้อของ MTB ที่ต้องการหน้ายางที่กว้างเพื่อรับแรงกระแทกและยึดเกาะทาง
ได้ดีขึ้น บทความนี้ผมขอพูดถึงขอบล้อเพื่อใช้งานจักรยานทัวร์ริ่งเนื่องจากมีความ
ชำนาญในจักรยานทัวร์ริ่งเป็นหลักครับ ขอบจักรยานที่ใช้กับจักรยานทัวร์ริ่งนั้น
ในปัจจุบันถือว่ายังมีน้อยและราคาสูงเนื่องด้วยวัสดุที่ต้องการความทนทานต่อการ
บรรทุกและการดินทางรอนแรมไปบนทองถนนอันยาวไกล อายุการใช้งานที่ยาวนาน
โดยไม่ต้องการการซ่อมบำรุงมากนักเป็นสิ่งที่นักปั่นท่องเที่ยวปรารถนา แต่ก็มีนักปั่น
จักรยานทัวร์ริ่งบางท่านเลือกใช้ขอบล้อที่ใช้กับจักรยาน MTB มาประกอบเป็นล้อ
จักรยานทัวร์ริ่งเนื่องจากหาได้ง่ายและการใช้งานมีความใกล้เคียงกัน

รูปภาพ
ภาพแสดง: รูปตัดขอบล้อจักรยานต่างๆ

รูปภาพ
ภาพแสดง: ขอบล้อจักรยานทัวร์ริ่ง

รูปภาพ
ภาพแสดง: ขอบล้อจักรยาน MTB ที่นิยมนำมาใช้กับจักรยานทัวร์ริ่ง

ขนาดของขอบล้อ ที่นิยมใช้สำหรับทัวร์ริ่งมีทั้งขนาด 26"และ 700C โดยขณะ
ที่ล้อ 26" จะให้ความสามารถในการบรรทุกและความนุ่มนวลที่มากกว่าล้อขนาด
700C ทั้งนี้ทั้งนั้นขนาด 700c ก็จะได้เปรียบทางด้านความเร็ว การเลือกล้อที่
เหมาะกับจริตของตนเองนั้นมีสิ่งควรพึงพิจารณาหลายประการ เช่น ต้องการความ
เร็วใช้มากน้อยเพียงใด ลักษณะการบรรทุกในแต่ละทริปการเดินทาง เส้นทางที่เดิน
ทางไปนั้นเป็นเช่นไร การใช้อุปกรณ์ไม่ตรงวัตถุประสงค์ส่งผลหลายอย่างกับผู้ใช้
การเลือกล้อที่ดีราคาสูงแต่ใช้งานเพียง 1-2วัน น้ำหนักบรรทุก 10-15 กิโลกรัม
เป็นการใช้งานที่ไม่คุ้มค่า เป็นต้น


ผม ฉาย Chaygrid.g ขอยืม User ของ Maesaa Hawaii มาเขียนบทความซึ่งเป็น
Know How ที่ได้รับการฝึกสอนจากรุ่นพี่และจากการศึกษาส่วนตัว)
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

ดุมล้อ(Hub)
ในท้องตลาดมีดุมวางขายอยู่อย่างมากมายหลากหลายรุ่นในปัจจุบัน ทำให้เกิดคำถาม
ว่าแล้วจะเลือกยังไงดีเมื่อนำมาใช้กับจักรยานทัวร์ริ่ง(เรายังอยู่ในจักรยานประเภท
จักรยานทัวร์ริ่งอยู่) มันก็ไม่แตกต่างจากการเลือกขอบล้อการเลือกดุมอยู่บนพื้นฐาน
การใช้งานเช่น ความแข็งแรง ความคุ้มค่า ลักษณะการใช้งาน และMatching กับ
ส่วนประกอบอื่นๆ ผมขอแบ่งดุมล้อตามการรับแรงของจุดหมุนเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

ดุม Seal Bearing Hub เป็นดุมที่มีจุดเด่นด้านความลื่นไหลของลูกปืน
เนื่องจากลูกปืนถูกเรียงอยู่ในตลับซึ่งถูกบังคับให้มีระยะช่องว่างในแต่ละเม็ดเท่าๆกัน
ส่งผลให้การหมุนของแกนล้อมีแรงเสียดทานที่น้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของชุด
ลูกปืนและวัสดุที่ใช้ทำลูกปืนด้วย

รูปภาพ
ภาพแสดง:ทิศทางที่ดุมสามารถรับแรงกระทำได้

รูปภาพ
ภาพแสดง:ลักษณะของเม็ดลูกปืน

ดุม ฺBall Bearing Hub เป็นดุมที่ใช้ลูกปืนเม็ดเข้าไปเรียงในเบ้าลูกปืนของ
ตัวดุมและใช้จี๋เป็นตัวประคองลูกปืน ความลื่นขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ทั้งคุณภาพ
ลูกปืน การตั้งจี๋เราสามารถเห็นดุมเรียงเม็ดลูกปืนได้ในยี่ห้อ Shimano ทุกรุ่น คงมี
เหตุผลบางอย่างที่ Shimano ยังคงเลือกใช้ลูกปืนเรียงเม็ดนี้ พอนึกกันออกไหมครับ?

รูปภาพ
ภาพแสดง:ทิศทางที่ดุมสามารถรับแรงกระทำได้

รูปภาพ
ภาพแสดง:ลักษณะของเม็ดลูกปืน

เป็นเหตุผลที่นักปั่นจักรยานทัวร์ริ่งยังนิยมเลือกใช้ดุมประเภทนี้ เนื่องจากมิติการรับแรง
กระทำมีมากกว่า และเม็ดลูกปื่นที่ใหญ่ ส่งผลในภาพรวมให้ดุมแบบนี้แข็งมากกว่า
ทำให้ต้องการการบำรุงรักษาน้อย แต่ก็ยังมีดุมแบบ Bearing ที่แข็งแรงอยู่เช่นกัน
ในส่วนนี้ขอพูดถึงทางกายภาพให้เห็นภาพเท่านั้น


ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งานเป็นการเลือกที่ดีที่สุด การใช้งานที่
ตรงวัตถุประสงค์ส่งผลให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกใน
การเลือกใช้เช่น วัสดุ, จำนวนซี่ลวด ซึ่งขอกล่าวในส่วนของซี่ลวดต่อไป และยังมี
ดุมประเภทอื่นๆอีก เช่น เกียร์ดุม ดุมปั่นไฟ ไม่ขอลงในรายละเอียด
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

ซี่ลวด(Spoke) & Nipple
ลวดมีทั้งคาร์บอน ไทเทเนียมซึ่งมันเหมาะกับการแข่งขันที่ความเร็วสำคัญกว่าราคา
และความแข็งแรง ส่วนลวดที่นิยมใช้กับจักรยานทัวร์ริ่งนั้นต้องการความทนต่อแรงดึง
และแรงกด เกลียวที่แข็งแรงเพื่อสามารถดึงรั้ง nipple ได้วัสดุที่นิยมเป็นสเตนเลส
ที่ไม่เกิดการกัดกร่อนจากสนิม

รูปภาพ
ภาพแสดง:ลักษณะของล้อเมื่อรับน้ำหนัก

ในนักปั่นหลายคนที่มองข้ามซี่ลวดที่ดีไป โดยไปให้ความสำคัญกับดุมและขอบล้อ
มากกว่า อาจเพียงเพราะสามารถเห็นผลของคุณภาพได้ชัดเจนต์กว่า ซึ่งความเป็น
จริงแล้วซี่ลวดมีความสำคัญอันดับต้นๆขององค์ประกอบล้อที่ดี คุณเคยบิดลวดไป
มาไหม? สำหรับลวดธรรมที่ใช้มัดของเราบิดเพียงไม่กี่ครั้งก็ขาดแล้ว แต่ซี่ลวด
จักรยานละ? มันต้องรับแรงกดและแรงดึงกระทำตลอดเวลาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรอบ
การหมุน แค่ส่วนของการรับแรงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้วยังมีเรื่องน้ำหนัก
บรรทุก ทั้งตัวจักรยานเอง ทั้งผู้ปั่น และสัมภาระอีก ถ้าเราเลือกใช้ลวดคุณภาพต่ำ
ย่อมมีโอกาสสูงที่ลวดจะขาดระหว่างทางเนื่องจากอายุการใช้งานสั้น

รูปภาพ
ภาพแสดง:กราฟแสดง young modulus ของลวด DT Compittion

จากกราฟแสดง young modulus ของลวด DT competition ลวดจะเสียความ
ยืดหยุ่นไปเมื่อมีแรงดึงเกิน 2800 newton เมื่อใช้ไปลวดจะยืดออกไม่คืนรูปและมี
โอกาศขาดเมื่อรับแรงดึงที่ 2500 newton ค่าการรับแรงดึงของลวดแต่ละชนิดไม่
เท่ากัน ซึ่งลวดที่มีราคาสูงมักมีความสามารถรับแรงดึงมากกว่า ควรพิจารณาเลือกใช้
ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆด้วย

ลักษณะของลวดมีหลากหลายรูปแบบ
1.แบบกลม(Straight or Round Spoke) เป็นลวดพื้นฐานที่ใช้กับรถทั่วไป มีน้ำหนักมากเมื่อ
เทียบกับชนิดอื่น เส้นผ่านศูนย์เท่ากันตลอดเส้น ขอดีหาง่ายราคาไม่สูงมาก

รูปภาพ
ภาพแสดง:ลวดแบบ Straight Spoke

2.แบบรีดตรงกลาง (Butted Spoke) เป็นลวดที่มีขนาดเส้นผ่านศุนย์กลางไม่เท่ากัน
ทั้งเส้น ช่วงตรงกลางของลวดจะเล็กกว่าส่วนหัวและท้าย ให้ทำให้การรับแรงดีขึ้น
มีความนุ่มนวลและน้ำหนักเบา

รูปภาพ
ภาพแสดง:ลวดแบบ Butted Spoke

3.แบบแบน (Blade or Aero Spoke) นิยมใช้กับล้อที่ต้องการความเร็ว ลดการต้านอากาศ
แต่ความสามารถในการรับแรงน้อยกว่าแบบอื่นๆ

รูปภาพ
ภาพแสดง:ลวดแบบ Blade Spoke

รูปภาพรูปภาพ
ภาพแสดง:ลวดรูปแบบต่างๆของ Sapim

รูปภาพ
Sapim เป็นผู้ผลิตลวดเจ้าแรกๆทางฝั่งยุโรปที่ผลิตลวดมาเป็นระยะเวลานาน

Nipple
nipple ที่ดีต้องแข็งแรงมีกำลังในการจับยึดเกลียวของซี่ลวดได้ดีแล้วทนต่อ
การหมุนตั้งลวดไม่เสียรูปเมื่อปรับแต่งความตึงลวด nipple มีหลากหลายวัสดุ
ด้วยกัน เช่น อลูมิเนียม น้ำหนักเบามีหลากสี ทองเหลืองหนักแต่แข็งแรงกว่า
แบบแรก Titanium เบาแต่ราคาสูง

รูปภาพ
ภาพแสดง:เปรียบเทียบน้ำหนักระหว่าง nipple อลูมิเนียมกับ Nipple ทองเหลือง

รูปภาพ
ภาพแสดง:Nipple Secure Lock ของ Sapim เทคโนโลยี่กันเกลียวคลายตัว

รูปภาพ
ภาพแสดง:ต่ำแหน่งที่ถูกต้องของ nipple
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

ขั้นตอนการประกอบ (ฺBike Building Process)
เมื่อส่วนต่างๆทุกอย่างถูกเลือกอย่างดีและถูกต้อง แต่ไม่ได้รับการประกอบอย่างถูกต้อง
และได้มาตรฐานที่ควรแล้ว ย่อมเป็นล้อที่ดีไม่ได้เลย ล้อที่กลมแต่ความตึงลวดที่
หย่อนกว่าเพียงเส้นเดียวอาจส่งผลให้กับลวดเส้นอื่นอย่างมาก วิธีการขึ้นล้อนั้นมี
ขั้นตอนอย่างไรนั้นผมจะขออธิบายเป็นข้อๆ โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวนความยาวลวด
จนการตั้งความตึงความกลมของล้อ

1.เตรียมวัสดุและอุปกรณ์

วัสดุประกอบล้อ
รูปภาพ

-ขอบ 32รู หรือ 36รู ยิ่งซี่มากการรับน้ำหนักยิ่งดีแต่ น้ำหนักจะมากขึ้นควรเลือกให้
เหมาะสมกับการบรรทุก

-ดุม เลือกจำนวนรูให้ตรงกับขอบ และ ความกว้างของระยะห่างของ Chain stay
หรือตะเกียบหน้า ล้อหน้าส่วนใหญ่จะมีขนาดดุมกว้าง 100มม. ในส่วนล้อหลัง
ส่วนใหญ่จะมีขนาด 130-135มม. เราควรต้องทราบความห่างของหางหลังเฟรมก่อน

-Nipple กรณีใช้ขึ้นล้อทัวร์ริ่งนิยมใช้ Nipple ทองเหลือง เนื่องจากแข็งแรงกว่า
แบบอื่น

-ลวด ใช้ลวดตามจำนวนของรู โดยสามารถคำนวนหาความยาวได้จาก
http://sapim.be/spoke-calculator
บางครั้ง ในล้อข้างเดียวกันอาจได้ขนาดลวดต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุมนั้นๆ

รูปภาพ
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

เครื่องมือ
รูปภาพ

1.แท่นตั้งล้อ (Wheel Truing Stand)
เป็นเครื่องมือชิ้นที่สำคัญที่สุด คุณภาพของแต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันออกไป แต่ที่อยาก
แนะนำในการเลือกแท่นควรจะมีความนิ่งมากพอสมควรเมื่อหมุนเพื่อตั้งล้อ อาการสั่น
ของเครื่องตั้งล้อจะทำให้ทำเราทำงานได้ยากขึ้นและใช้เวลามากขึ้น
รูปภาพ


2-3. Dial Indicator Gauge
เป็นเครื่องมือที่ใช้เพิ่มความละเอียดในการตั้งล้อ สามารถควบคุมให้ค่าความ
คลาดเคลื่อนให้อยู่ในช่วงที่เราต้องการได้ง่ายขึ้น ใช้เมื่อใกล้เสร็จงานเพื่อเก็บความ
ละเอียดของล้อ
รูปภาพ


4.เครื่องมือวัดแรงตึงซี่ลวด (Spoke Tension Meter)
เป็นเครื่องที่สำคัญสำหรับล้อคุณภาพอีกชิ้นหนึ่ง ในขอบแต่ละขอบจะสามารถรับ
แรงตึงของลวดได้ไม่เท่ากัน การวัดแรงตึงจึงมีความสำคัญอย่างมาก ส่วนหนึ่งเพื่อ
ไม่ให้เกิดความเสียหายกับขอบล้อจากแรงตึงที่มากเกิน และส่วนต่อมาเพื่อให้ได้
ความตึงลวดที่เหมาะสมกับการใช้งานเช่นต้องการล้อที่มีความ Stiff ลวดควรมี
ความตึง ถ้าต้องการล้อที่มีความนุ่มนวลรับแรงกระแทกได้ดี ลวดก็ไม่ควรตึงจนเกิน
ไป และประการต่อมาใช้วัดลวดให้ค่าความตึงใกล้เคียงกันมากที่สุด เมื่อลวดเส้น
ใดเส้นหนึ่งหย่อนกว่าเส้นอื่นจะส่งผลให้ลวดเส้นอื่นรับภาระมากขึ้น อายุการใช้งาน
หรือความสามารถในการบรรทุกจะน้อยลงอาจเกิดความเสียระหว่างการเดินทางได้

รูปภาพ


5.ประแจขันซี่ลวดแบบก้านยาว(ไม่ใช่ทุเรียนนะครับ) (Spoke Wrench)
ช่วยลดความเหมื่อยล้าเมื่อลวดมีความตึงมาก เพราะประแจมีความยาวช่วยลดแรงที่
ใช้ในการหมุนหรือออกแรงน้อยลงเหมาะกับแต่งซี่ลวดแบบระเอียด
รูปภาพ


6.ที่ขันซี่ลวดแบบนิ้วหมุน (Master Spoke Wrench)
ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งในการหมุนเกลียวเหมาะกับช่วงลวดที่ยังไม่มีความตึงมากนัก
และสามารถหมุนได้เร็วกว่าแบบขายาว มีหลายขนาดและหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับหัว
Nipple ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม การใช้ไม่ตรงขนาดอาจทำให้หัว Nipple เสียหายได้

รูปภาพ


7.เครื่องมือวัด Center ล้อ (Wheel Alignment Gauge)
ใช้วัดหา Center Line ของขอบล้อให้มีระยะทั้งสองด้านเท่ากัน จะกล่าวถึงการใช้
งานในขั้นต่อไป

รูปภาพ


8.ไขควงไฟฟ้า (electric screwdriver)
เครื่องมือทุนแรงกรณีลวดยังไม่เต็มเกลียวหรือต้องการรื้อลวดออก ช่วยร่นระยะเวลา
การทำงาน เลือกใช้ตัวเล็กหน่อย แต่ถ้ามีติดบ้านอยู่แล้วก็นำมาใช้ได้

9.น้ำมันหล่อลื่น
ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างหัว nipple กับรูของขอบล้อ บางครั้งต้องขึ้นล้อที่มี
ความตึงมากๆน้ำมันจะลดแรงเสียดลงช่วยลดโอกาศเสียหายของหัว Nipple ลงได้
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

จองไว้ก่อนเดี๋ยวมาต่อ :D :D
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
dragonary
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1503
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 11:40
team: 暹罗旅行车团
ตำแหน่ง: Bangkok Thailand
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย dragonary »

8-) 8-) 8-)

เป็นร้านที่น่ารัก
ให้ความรู้แกผู้บริโภค

ขอบคุณมากครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
maesaa hawaii
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1004
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 21:49
Tel: 0869140972
team: Bike Eye View
Bike: JONES bike
ตำแหน่ง: พุทธมณฑลสาย๔
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย maesaa hawaii »

พาลูกชายมาฝึกงานที่ร้าน bike Eye View บ้างซิค่ะ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
I am balancing
Careful and steady
And reveling in energy that everyone's emitting~

สำหรับสาระ และความสนุก https://www.facebook.com/BikeEyeView
Wepsite : http://www.Bikeeyeview.com
LineID: maesaahawaii
puipakkred
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 141
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 10:50
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย puipakkred »

maesaa hawaii เขียน:จองไว้ก่อนเดี๋ยวมาต่อ :D :D
ขอQ2 ด้วยครับ...
เข็นทุกเนิน เดินทุกดอย
รูปประจำตัวสมาชิก
จำรัส ละหานทราย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1039
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 10:47
Tel: 087 261 7279
team: -

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย จำรัส ละหานทราย »

ปักไว้อ่าน ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
ซาเล้งสีแดง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 22913
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 15:13
Tel: 0893200104
team: อกาลิโก
Bike: สับถังเขียวแก่ Fuji Olimpic finest 1970-เขียวอ่อน Bianchi VIRATA 1990 - Dahn Helios p8 - วีนัส Thorn Sherpa 2011 -วีนัส Thorn Raven Nomad MK2 s&s

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย ซาเล้งสีแดง »

ขาดล้อ ก็ขาดการเคลื่อนที่
ล้อเป็นส่วนประกอบ ที่เป็นหัวใจของการเดินทางด้วยจักรยาน
หากเฟรม กับ ล้อ รวมตัวกัน แม้ชุดขับเคลื่อนจะด้อยบ้าง แต่การเดินทาง ยังไปได้
เจ้าของกระทู้ ใจดี และน่ารักจริงๆ ที่เขียน แปล เรื่องนี้้ อย่างละเอียด ขอบคุณครับ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
parinya-ake
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5729
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 18:03
Tel: 0894492ตอง1
team: เทคนิคมีน BikeClub แล้วก็ weekend bike clubด้วยละ
Bike: KHS on-off เหล็กไหลจ้า

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย parinya-ake »

:mrgreen:
สู้ๆๆๆๆ
พรสวรรค์ที่เคียงคู่กับความขยันจะทำให้คุณก้าวไปได้ไกล
สนั่น อันทเกตุ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2802
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 14:51
ติดต่อ:

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย สนั่น อันทเกตุ »

ปักฉึก
"ลูกอิสานพลัดถิ่น จากแดนดินไหปลาแดก เร่ร่อนรอนแรมเดินทางดั้นด้น มาสู่โคนต้นสะตอ ณ เรือนเวียงวิมาน(รูปประจำตัว)คือที่มั่นสุดท้ายของข้าฯ"
รถก็ไม่แพง-แรงก็ไม่มี เลยรั้งท้ายทีม หึ หึ


คลิ๊ก ทริป "บินเดี่ยว ทางไกล ตามใจฝัน"
รูปประจำตัวสมาชิก
Gemini
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 345
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:31
Tel: 087-784-9069
team: ไร้สังกัด
Bike: TREK 4500 / K2ZEED TEAM

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย Gemini »

รอ....... :)
พลาย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 980
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:24
team: สุดแต่ขาจะพาไป
Bike: la,bf,af,amf6

Re: Wheel Building by Bike Eye View (กระทู้เพื่อการเรียนรู้)

โพสต์ โดย พลาย »

:D :D :D รอครับ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ตอบกลับ

กลับไปยัง “Bike Eye View”