ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

สอบถามเทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร เชิญห้องนี้เลย
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
นักรบเจ้าน้ำตา
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 211
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2010, 07:14
team: ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพเสือลั่ลล้า นครไทย
Bike: Trek 4300

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย นักรบเจ้าน้ำตา »

ประวัติจักรยาน


จักรยานคันแรกได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2377 โดย Kirkpatrick Mcmillan แห่งสกอตแลนด์ ได้ดัดแปลงแบบมาจาก Jeen Theson หลักฐานนี้ได้พบในอียิปต์และในปอมเปวี ซึ่งได้เขียนภาพไว้บนผนังปูน

จักรยานได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2408 Pierre Michaux และ Pierre Lallement ได้ประดิษฐ์จักรยานขึ้นใหม่ โดยมีบันไดถีบเหมือนจักรยานในปัจจุบัน และมีสายโซ่โยงไปยังเพลาล้อหลัง แต่อย่างไรก็ตามจักรยานในสมัยก่อนยังไม่มีล้อกันสะเทือน ทำให้เวลาเคลื่อนที่จะสะเทือนมาก

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2422-2428 ได้มีการดัดแปลงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ได้ถูกออกแบบใหม่และปรับปรุงให้ดีขึ้นโดย J.K. Starley มีการอัดลมเข้าไปในยางรถเพื่อกันสะเทือน ในปี พ.ศ. 2436 ประดิษฐ์เบรกให้รถหยุดได้ตามต้องการในปี พ.ศ. 2441 มีผู้ออกแบบให้รถมีล้อหน้าและล้อหลัง จนในที่สุดจักรยานก็มีสภาพเหมือนในปัจจุบัน

การแข่งขันจักรยานครั้งแรกเป็นการแข่งขันจากนครปารีสไปเมืองรูออง ประเทศผรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2412 โดยมีนักจักรยาน ชื่อ James Moore ชาวอังกฤษเป็นผู้ชนะเลิศ สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (International Cycling Union หรือ Union Cycling International, U.C.I) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2443 ณ นครปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นประธานสหพันธ์คนแรก

ในปี พ.ศ. 2507 เมื่อมีการแข่งขันจักรยานจึงได้มีนักกีฬาจักรยานอาชีพเข้าร่วมแข่งขันกับนักกีฬาสมัครเล่นด้วย ทำให้นักจักรยานสมัครเล่นเกิดความเสียเปรียบเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 18 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ขอร้องให้สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (U.C.I.) ได้แยกนักกีฬาจักรยานอาชีพกับนักกีฬาจักรยานสมัครเล่นออกจากกัน โดยมีการบริหารแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด ดังนั้น การแข่งขันจักรยานสมัครเล่นครั้งแรกได้เกิดขึ้นในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2511 ณ กรุงเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก เป็นต้นมา

วันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2508 ณ เมืองซานซีบาสเตีย ประเทศสเปนได้มีการประชุมสหพันธจักรยานนานาชาติ และได้แยกผู้รับผิดชอบจักรยานออกเป็น 2 ส่วนคือ

1. สหพันธ์จักรยานสมัครเล่นนานาชาติ (Federation International Amateur de Cyclisme หรือ มีชื่อย่อว่า (F.I.A.C.)

2. สหพันธ์จักรยานอาชีพ (Federation International de Cyclisme Professional หรือ F.I.C.P.)

ประธานสหพันธ์จักรยานสมัครเล่นนานาชาติ (F.I.A.C.) ได้แก่ Adriano Rodoni ชาวเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี

ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ที่เมืองสมาชิกของ F.I.A.C. จำนวน 130 ประเทศ

กติกาจักรยานเสือภูเขา


1. กติกาทั่วไปในการจัดการแข่งขัน
*สมาคมจักรยานสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (Union Cycliste Internationale) จะเป็นผู้ออกใบอนุญาต แก่จักรยานเสือภูเขาที่เข้าร่วมในการแข่งขันที่จัดขึ้นในประเทศ
*ใบอนุญาตที่ถูกต้องนั้นจะต้องไม่หมดอายุโดยนับจาก วัน / เดือน / ปี ที่ออกให้บนบัตรนั้นเป็นการพิจารณา โดยจะมีผลใช้บังคับเป็นปีต่อปี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) และผู้แข่งขันทุกคนจะต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ ก่อนที่จะเข้าแข่งขันทุกครั้ง
*อายุของผู้แข่งขันแต่ละรุ่นนั้น จะพิจารณาจากปีเกิดของผู้แข่งขันถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ส่วนอายุขั้นต่ำที่สุดของผู้แข่งขันที่ทางสหพันธ์จักรยานนานาชาติอนุญาตให้เข้าแข่งขันได้คือ 17 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถจัดรุ่นพิเศษต่ำกว่า 17 ปี ได้โดย รุ่นอายุของการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาประเภทชายและหญิง มีดังต่อไปนี้
- เยาวชน อายุระหว่าง 17-18 ปี
- รุ่นกระทง อายุ 19 ปีหรือมากกว่า
- รุ่นอาวุโส อายุ 30 ปีหรือมากกว่า
ในกรณีที่มีการแข่งขันในรุ่นเยาวชน หรือ รุ่นอาวุโสน้อยกว่า 15 คน คณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถอนุญาตให้เข้าแข่งขันในรุ่นกระทงได้ แต่ต้องแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ ทราบด้วย
*สมาคมฯ อาจแบ่งรุ่นอื่นๆ นอกเหนือจากที่สหพันธ์ฯ กำหนดได้ เช่น รุ่นเริ่มหัด (Novice), รุ่นนักกีฬา (Sport), รุ่น X วชาญ (Expert)
2. เครื่องแต่งกาย
*การโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ บนเสื้อผู้แข่งขันนั้น อนุญาตให้มีได้ตามพอสมควรเว้นแต่ผู้แข่งขันผู้นั้นได้เป็นแชมเ X ยน และได้เสื้อแชมป์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ ส่วนเสื้อแชมป์นั้นจะต้องทำตามที่สหพันธ์ฯ กำหนดไว้ และอนุญาตให้มีโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ตามตำแหน่งและขนาดที่สหพันธ์กำหนดไว้ดังนี้ คือ ด้านหน้าและหลังเสื้อติดแผ่นโฆษณาเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีส่วนสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตรได้ แต่จะต้องติดเหนือแถบสีรุ้งบนเสื้อนั้น ส่วนที่แขนเสื้อนั้นจะมีแถบโฆษณาเป็นแถบได้เพียงแถบเดียวและมีส่วนสูงไม่เกิน 5 เซนติเมตร ส่วนโลโก้นั้นจะต้องมีขนาดไม่เกิน 25 ตารางเซนติเมตร (5x5)
*การสวมเสื้อแชมเ X ยนโลกนั้น ผู้แข่งขันที่เป็นแชมเ X ยนโลกนั้นจะต้องสวมเสื้อทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เว้นแต่จะได้เสื้อแชมป์อื่นเป็นเกียรติต่างหาก
*เสื้อแชมเ X ยนโลกที่สวมใส่นั้นจะต้องเป็นเสื้อแชมป์ในรุ่นของตนเองเท่านั้น
*สำหรับอดีตแชมป์นั้นอาจจะใช้ริบบิ้นสีรุ้งผูกรอบข้อมีหรือคอได้ในระหว่างการแข่งขัน
*แบบเสื้อที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเป็นไปตามที่สมาคมฯ กำหนด
*การติดโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ บนเสื้อทีมชาตินั้นมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
- โลโก้ของการแข่งขัน 2 ชิ้นบนด้านหน้าของเสื้อ โดยแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เกิน 64 ตารางเซนติเมตร
- โลโก้หรือโฆษณาขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร รอบแขนเสื้อ และข้างเสื้อทั้ง 2 ข้างขนาดไม่เกิน 9 เซนติเมตร ส่วนด้านข้างกางเกงทั้ง 2 ข้างนั้นมีขนาดไม่เกิน 9 เซนติเมตร ส่วนโลโก้ของเสื้อนั้นจะต้องอยู่ด้านหน้าและมีขนาดไม่เกิน 25 ตารางเซนติเมตร (5x5)
*ผู้แข่งขันทุกคนจะต้องสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งในการแข่งขันและฝึกซ้อม อนึ่งหมวกนิรภัยนั้นจะต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ หรือผู้จัดการแข่งขัน
3. สนามแข่งขัน
สนามการแข่งขันจักรยานเสือภูเขานั้นจะประกอบไปด้วยถนนที่ราดด้วยยางมะตอย และถนนตามท้องทุ่งนา หรือป่าเขาอันเป็นทางทุรกันดารเต็มไปด้วยหินและกรวด อย่างไรก็ตามตลอดเส้นทางการแข่งขันนั้นจะต้องมีเส้นทางที่เป็นถนนราดยางได้ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ของระยะทางทั้งหมด การแข่งขันจักรยานเสือภูเขานั้นมีการแข่งขันกันหลายประเภท แต่ในประเทศไทยนั้นมีการแข่งขันที่เป็นที่นิยม คือประเภทดาวน์ฮิลล์ และครอสคันทรี
การแข่งขันจักรยานเสือภูเขาประเภทครอสคันทรี นั้นในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมการจัดแบบระยะสั้น กล่าวคือจะเป็นการแข่งขันเป็นรอบๆ ตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกำหนด โดยมีระยะทางอย่างน้อย 5 กิโลเมตร ในแต่ละรอบ และมักจะมีจุดปล่อยตัวและเส้นชัยจุดเดียวกัน และมีจำนวนผู้แข่งขันนั้นไม่เกิน 80 คน ส่วนเส้นทางการแข่งขันนั้นจะเป็นเส้นทางขึ้นเขาได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของเส้นทางการแข่งขันทั้งหมด การแข่งขันประเภทนี้นอกจากจะต้องใช้ทักษะในการควบคุมรถจักรยานให้อยู่ในเส้นทางตลอดการแข่งขันแล้วผู้แข่งขันยังต้องมีความอดทนสูงเพราะจะต้องแข่งขันกันหลายรอบ
ส่วนการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาประเภทดาวน์ฮิลล์ นั้นเส้นทางการแข่งขันมักจะเป็นเส้นทางตามเทือกเขาลำเนาไพร และจะมีทางที่เป็นทางราดยางอย่างดีได้ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ของระยะทางแข่งขันทั้งหมด เส้นทางการแข่งขันนั้นจะเป็นเส้นทางลาดชันเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้แข่งขันนั้นจะต้องอาศัยการควบคุมรถจักรยานให้อยู่ในเส้นทางมากกว่าที่จะเป็นการประลองกันด้วยกำลังของผู้แข่งขันนั้นจะต้องมีระยะทางอย่างน้อย 1.5 กิโลเมตร และไม่เกิน 5 กิโลเมตร
เส้นเริ่มต้นและเส้นชัย นั้นจะต้องมีแผ่นผ้าบอกเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย และต้องอยู่สูงกว่าพื้นดินอย่างน้อย 3 เมตร โดยมีความยาวเท่ากับความกว้างของเส้นทางการแข่งขัน พื้นที่แข่งขันที่จุดเริ่มต้นต้องมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ตลอดระยะทางยาว 30 เมตร และพื้นที่หลังเส้นชัยจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ตลอดระยะทางยาว 100 เมตร
เส้นทางการแข่งขันจะเริ่มแคบลงได้หลังจากออกจากจุดเริ่มต้นไปแล้ว 750 เมตร หรือประมาณ 3 นาที หลังจากปล่อยตัว
พื้นที่แข่งขันที่เป็นเส้นชัยนั้น จะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 4 เมตร เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร ก่อนถึงเส้นชัย และกว้างอย่างน้อย 4 เมตรเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร หลังเส้นชัย
ที่ด้านหน้าและหลังเส้นเริ่มต้นจะต้องมีการตั้งรั้วกั้นทั้ง 2 ข้างของถนน ระยะทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร อีกทั้งต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ อันที่จะเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
สำหรับการแข่งขันประเภทดาวน์ฮิลล์ นั้นบริเวณเส้นเริ่มต้นนั้นต้องมีความกว้างอย่างน้อย 2 เมตร และบริเวณเส้นชัยจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ส่วนพื้นที่หลังเส้นชัยนั้นจะต้องมีระยะทางอย่างน้อย 50 เมตร และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ขวางอยู่เพื่อใช้ในการหยุดจักรยานหลังสิ้นสุดการแข่งขัน
เส้นทางการแข่งขันประเภทครอสคันทรี และดาวน์ฮิลล์นั้นจะต้องแยกออกจากกันและต้องไม่มีการใช้ทางร่วมกัน อย่างไรก็ดี ถ้ามีการใช้ทางร่วมกันบางส่วน จะต้องแยกวันเวลาในการแข่งขันและฝึกซ้อมคนละวันกัน
ตลอดเส้นทางการแข่งขันจะต้องไม่มีสิ่งที่กีดขวางใดๆ หรือถ้าไม่สามารถแก้ไขให้เรียบร้อยได้จะต้องแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน และจะต้องแสดงเครื่องหมายบอกเส้นทางเป็นระยะๆ และยิ่งไปกว่านั้นในช่วงระยะทาง 1 กิโลเมตรสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัยจะต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด
*ก่อนการแข่งขันคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องจัดเตรียมสถานที่ไว้เพื่อให้ผู้แข่งขัน ได้เตรียมตัวก่อนการแข่งขัน
*ผู้ตัดสินจะต้องได้รับความสะดวกต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานและจะต้องจัดให้อยู่ ณ ที่ใกล้เส้นเริ่มต้นและเส้นชัย
*คณะกรรมการจัดการแข่งขันและเลขานุการตลอดจนทีมงานจะต้องมีสำนักงานที่มิดชิด ในการปฎิบัติงาน
*จะต้องมีระบบความปลอดภัยที่พอเพียงตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้เพื่อช่วยเหลือผู้แข่งขันตามสมควร
*จะต้องไม่มีผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแข่งขันเข้ามาในเส้นทางการแข่งขันในระหว่างที่มีการแข่งขันอยู่ และจะต้องจัดสถานที่ที่เป็น X ส่วนให้กับผู้ชมที่เข้ามาชมการแข่งขันอีกทั้งต้องจัดหาอุปกรณ์สื่อสารให้กับเจ้าหน้าที่อย่างพอเพียง เพื่อใช้ในการประสานงานในระหว่างที่มีการแข่งขัน
*การปล่อยตัวในการแข่งขันประเภทครอสคันทรี การปล่อยตัวในการแข่งขันประเภทนี้นั้นจะปล่อยตัวกันออกมาเป็นกลุ่ม โดยพิจารณาจากสถิติของผู้แข่งขันทั้งหมด ว่าผู้แข่งขันคนใดจะมีสิทธิ์ได้มาอยู่ในแถวหน้าสุดของการปล่อยตัว
*ผู้แข่งขันคนใดที่มีสถิติดี จะได้รับการวางตัวให้อยู่ในแถวหน้า ส่วนผู้ที่ทำเวลาได้ไม่ดีก็จะถูกวางตัวให้อยู่ในแถวถัดลงไป และในการแข่งขันประเภทนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องมีการกำหนดจุดให้น้ำไว้ เพื่อให้ผู้แข่งขันสามารถรับน้ำ อาหาร หรือสิ่งอื่นๆ ได้ในระหว่างการแข่งขัน
*สำหรับการปล่อยตัวในการแข่งขันประเภทดาวน์ฮิลล์นั้น จะเป็นการปล่อยตัวแบบทีละคนและจะต้องมีการทดสอบเพื่อจัดอันดับในการปล่อยตัว โดยการทดสอบนั้นจะมีขึ้นอย่างน้อย 1 วันก่อนเริ่มการแข่งขัน
*การปล่อยตัวนั้นผู้แข่งขันที่ทำเวลามากที่สุดในการทดสอบเพื่อจัดอันดับจะเป็นคนแรกที่ถูกปล่อยตัวก่อน ส่วนผู้ที่ทำเวลาได้ดีในการทดสอบเพื่อจัดอันดับจะเป็นคนสุดท้ายที่จะได้รับการปล่อยตัวในการแข่งขัน
4. คณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน
ในการจัดการแข่งขันจะมีคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการรับคำร้องทุกข์ ทำหน้าที่พิจารณาคำร้องหรือการประท้วงที่ค้านการตัดสินของคณะกรรมการตัดสิน
- ตัวแทนทางด้านเทคนิคจากสหพันธ์ฯ ทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปตามกฎของสหพันธ์ฯ ตลอดจนทำรายงานผลการแข่งขันส่งตรงไปยังสหพันธ์
- สักขีพยาน ทำหน้าที่สอดส่องดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ในการแข่งขัน
- ผู้ช่วยสักขีพยาน ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจากสักขีพยานในกรณีที่สักขีพยานนั้นติดภารกิจ
- เลขานุการ ทำหน้าที่บันทึกข้อความต่างๆ ของการแข่งขันตลอดจนทำรายชื่อของผู้แข่งขันเพื่อให้การแข่งขันสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
- เจ้าหน้าที่เส้นชัย ทำหน้าที่จับเวลาและพิจารณาว่าผู้แข่งขันคนใดเข้าเส้นชัยเป็นอันดับแรกโดยจะมีผู้ช่วยไม่น้อยกว่า 3 นาย ช่วยกันจับเวลา
- เจ้าหน้าที่ปล่อยตัว ทำหน้าที่ควบคุมการปล่อยตัวให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามลำดับที่กำหนดไว้
- เจ้าหน้าที่ตรวจจักรยาน ทำหน้าที่ตรวจสอบจักรยานที่ใช้ในการแข่งขันว่าถูกต้องตามกฎขอองสหพันธ์ฯ หรือไม่
- เจ้าหน้าที่ประจำเส้นทาง ทำหน้าที่สอดส่องดูแลเส้นทางการแข่งขันที่ตนเองดูแลอยู่และทำรายงานให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันทราบ
- เจ้าหน้าที่จับเวลา ทำหน้าที่บันทึกเวลาของผู้เข้าแข่งขันตลอดจนรายงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ
5. หลักฐานในการใช้แข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีบัตรประจำตัวหรือ License ซึ่งออกโดยสมาคมฯ และต้องแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้ง เมื่อสมัครเข้าการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องติดเบอร์ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดให้ ณ ที่ต่างๆ ดังนี้
- ตัวจักรยาน จะต้องมีความสูงของตัวเลขอย่างน้อย 8 เซนติเมตร และมีความหนาของตัวเลข อย่างน้อย 1.5 เซนติเมตร
- กลางหลังของผู้เข้าแข่งขัน จะต้องมีความสูงของตัวเลขอย่างน้อย 2 เซนติเมตร
- หัวไหล่ของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งทางเลขานุการจะกำหนดไว้ว่าเป็นไหล่ข้างไหนตัวเลขเหล่านี้จะต้องเห็นโดยง่าย เบอร์เหล่านี้ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันเป็นผู้กำหนดไว้
- แผ่นป้ายระบุตัวเลขจะต้องใช้ดังนี้
- แผ่นป้ายตัวเลขหน้าจักรยานจะต้องมีความกว้าง ยาว ไม่เกิน 18 เซนติเมตร
- แผ่นป้ายติดตัวจะต้องกว้างไม่เกิน 18 เซนติเมตร ความยาว 20 เซนติเมตร
- แผ่นป้ายติดไหล่ความกว้างไม่เกิน 12 เซนติเมตร ความยาวไม่เกิน 8 เซนติเมตร
6. การแข่งขัน
การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นประเภท ครอสคันทรี หรือ ดาวน์ฮิลล์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องปฎิบัติตามกฎของการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการแข่งขันให้ตลอดเส้นทางของการแข่งขันที่กำหนดให้และไม่อนุญาตให้ใช้เส้นทางลัดหรือเอาเปรียบผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่ผู้เข้าแข่งขันหลงออกนอกเส้นทางการแข่งขันไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกลับเข้าในจุดเดิมที่หลงออกไป
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากใครทั้งสิ้นในระหว่างการแข่งขันและต้องไม่กล่าววาจาอื่นใดที่หยาบคายหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นการกีดขวางผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในขณะทำการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันต้องเปิดทางให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นที่เร็วกว่าแซงขึ้นไปได้โดยดี และจะต้องไม่ทำลายธรรมชาติตลอดเส้นทางการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ใช้สารกระตุ้นอันเป็นสิ่งต้องห้ามในการแข่งขัน และจะต้องไม่ปรับแต่งจักรยานหรือเปลี่ยนแปลงยาง ตลอดจนได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด
- ผู้เข้าแข่งขันต้องไม่ผลัก ดึง หรือกระชาก ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นหรือช่วยผู้เข้าแข่งขันคนอื่นอย่างเด็ดขาด
- การกีดขวางใดๆ ในช่วงสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัย หรือกระทำใดๆ อันเป็นสิ่งกีดขวางในการแข่งขัน บุคคลผู้นั้นจะถูกลงโทษในการแข่งขันครั้งนั้น
- ผู้เข้าแข่งขันต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาทกันในระหว่างการแข่งขัน
7. บทลงโทษ
- ว่ากล่าวตักเตือน
- ปรับเงิน
- ลดอันดับ
- เพิ่มเวลา หรือหักคะแนนสะสม
- ปรับให้แพ้ในการแข่งขันครั้งนั้น
- ถูกพักการแข่งขัน
8. การประท้วง
- ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกกล่าวโทษในการแข่งขัน อาจทำการประท้วงได้โดยยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร และยื่นต่อคณะกรรมการภายใน 15 นาที หลังการแข่งขันสิ้นสุด พร้อมแนบเงินค่าธรรมเนียมจำนวน 1,000 บาท เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่คือให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
- คำตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือว่าเป็นที่สุด
- ถ้าการแข่งขันนั้นมีผลต่อ 1 - 5 อันดับแรก จะต้องรอการตัดสินของ คณะกรรมการอันเป็นที่สุดเสียก่อน ก่อนทำการมอบรางวัล
9. สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ ในการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำความเข้าใจในสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ ที่คณะกรรมการจัดขึ้นเพื่อติดตั้งไว้ในสนามแข่งขัน และต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด
- สัญลักษณ์และเครื่องหมายบอกเส้นทางนั้นจะเขียนขึ้นด้วยสีที่สามารถมองเห็นได้แต่ไกลเช่น สีดำ สีฟ้า หรือสีแดง โดยจะเขียนลงบนพื้นสีขาว
- แผ่นสัญลักษณ์นั้นจะมีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร และมีความยาวอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
- แผ่นสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้จะติดตั้งในที่ที่สามารถมองเห็นได้โดยชัดเจน และจะติดตั้งไว้ทางด้านขวาของสนามการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแยกต่างๆ หรือสถานที่ที่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้แข่งขัน
- ในแต่ละทางแยกของการแข่งขันจะต้องมีเครื่องหมายแสดงตั้งไว้ในระยะทางอย่างน้อย 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก
- ในกรณีที่เป็นทางลาดชันจะมีการติดตั้งเครื่องป้องกันพิเศษต่างๆ เช่น กำแพงไม่ไผ่ ประตูตาข่าย เพื่อป้องกันมิให้ผู้เข้าแข่งขันได้รับอันตราย
- ในกรณีที่เส้นทางนั้นเป็นเส้นทางที่สามารถใช้ความเร็วได้จะต้องจัดแนวกั้นพิเศษเพื่อไม่ให้ผู้ชมเข้าใกล้ในเส้นทางนั้นมากเกินไป
10. มาตรการความปลอดภัย
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแต่งกายรัดกุม และมีเครื่องป้องกันต่างๆ ครบถ้วนตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกำหนด อีกทั้งทางสมาคมฯ นั้นจะไม่รับผิดชอบต่ออันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้แข่งขัน
- ในกรณีที่มีเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้อง ให้ผู้เข้าแข่งขันมีเครื่องป้องกันพอสมควร
- ผู้แข่งขันต้องสวมใส่เครื่องป้องกันต่างๆ ดังต่อไปนี้
- หมวกนิรภัยแบบคลุมทั้งหน้า
- เครื่องป้องกัน หลัง, ศอก, เข่า, และไหล่
- เครื่องป้องกันต้นขา
- เครื่องป้องกันขา
- เครื่องป้องกันคาง
- กางเกงขายาว
- เสื้อแขนยาว
- ถุงมือ
11. การสื่อสาร
- ระบบการสื่อสารนั้นจะต้องจัดให้ครอบคลุมตลอดทั้งเส้นทาง และจะต้องไม่มีจุดบอดใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้
- ระบบสัญญาธง
- เจ้าหน้าที่ประจำเส้นทางจะต้องใช้ธงเหลืองชูขึ้นในลักษณะเหยียดตรงเพื่อเตือนผู้เข้าแข่งขันให้ทราบว่ามีอันตรายอยู่ข้างหน้าในระหว่างการฝึกซ้อม
- ถ้าเจ้าหน้าที่ถือธงเหยียดตรง ผู้เข้าแข่งขันต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าแข่งขัน
- เจ้าหน้าที่ธงแดงจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
- ธงแดงนั้นจะต้องใช้ได้ทั้งในการฝึกซ้อมและการแข่งขัน
- การหยุดการแข่งขัน
- เจ้าหน้าที่ที่ถือธงแดงจะต้องมีวิทยุสื่อสารกับประธานการแข่งขัน ผู้อำนวยการแข่งขันและแพทย์สนามได้อย่างรวดเร็วในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
- เจ้าหน้าที่ธงแดงจะเป็นคนสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และรายงานต่อประธานกรรมการแข่งขันและผู้อำนวยการแข่งขันทราบ
- เจ้าหน้าที่ธงแดง จะต้องประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของอุบัติเหตุให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะๆ
- ประธานสักขีพยานมีสิทธิออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่โบกธงแดงได้ตลอดเวลา
- เจ้าหน้าที่ธงแดงในเขตใกล้เคียงจะต้องคอยดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพร้อมโบกธงเตือนผู้เข้าแข่งขันทราบ
- ผู้เข้าแข่งขันเมื่อเห็นธงแดงแล้วต้องหยุดรถทันที
- หลังจากหยุดรถแล้วจะต้องค่อยๆ ผ่านจุดเกิดเหตุไปอย่างช้าๆ และรอคำสั่งว่าจะดำเนินการแข่งขันต่อไปหรือไม่
- เจ้าหน้าที่ประจำเส้นทางมีสิทธิ์เป่านกหวีดให้สัญญาณผู้เข้าแข่งขันเพื่อให้ทราบว่ามีผู้แข่งขันคนอื่นใกล้เข้ามา
12. การปฐมพยาบาล
- คณะกรรมการการจัดการแข่งขันจะต้องมีรถพยาบาลอย่างน้อย 1 คัน ประจำอยู่ระหว่างการแข่งขัน
- เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือจะต้องสวมเครื่องแบบที่สามารถเห็นได้โดยง่ายและเป็นเครื่องแบบเดียวกัน
- หน่วยปฐมพยาบาลตั้งอยู่ที่ที่สามารถเห็นโดยง่าย
- หน่วยปฐมพยาบาลจะต้องอยู่ตามจุดที่สำคัญๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที
- จะต้องมีเจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาล อย่างน้อย 6 นาย ประจำจุดต่างๆ ตามเส้นทางการแข่งขัน
- จะต้องมีแพทย์อย่างน้อย 1 นาย ประจำอยู่ในการแข่งขัน
- จะต้องมีผู้ X วชาญเส้นทาง ที่สามารถรู้เส้นทางลัดที่จะไปถึงที่เกิดอุบัติเหตุได้เร็วที่สุดประจำอยู่
- จุดอันตรายต่างๆ จะต้องมีเครื่องหมายให้เห็นได้ชัดเจน และอาจจะมีรถพยาบาลประจำอยู่ที่จุดนั้นเลยก็ได้
13. การฝึกซ้อม
- ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิ์ที่จะเดินทางสำรวจเส้นทางได้ก่อนการแข่งขัน ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน
- ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิ์ฝึกซ้อมในสนามได้ 1 วันก่อนการแข็งขัน
- ผู้จัดการแข่งขันจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันเข้าฝึกซ้อมได้ตลอด 1 วัน ก่อนการแข่งขัน
- ในช่วงก่อนการแข่งขันผู้แข่งขันผู้แข่งขันมีสิทธิ์ทดสอบเส้นทางในช่วงเช้าได้
- หลังจากทำการฝึกซ้อมแล้วผู้เข้าแข่งขันจะต้องติดสติ๊กเกอร์เพื่อแสดงว่าตนเองนั้นได้รับการฝึกซ้อมตามสิทธิ์ที่ได้รับเรียบร้อยแล้ว
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มฝึกซ้อมจากจุดเริ่มต้นเสมอ
14.การขนส่ง
- ผู้จัดการแข่งขันจะต้องจัดหาพาหนะให้เพียงพอ ที่จะขนส่งผู้แข่งขันและจักรยาน แข่งขันให้ไปถึงที่จุดเริ่มต้นภายใน 1 ชั่วโมง
- อีกทั้งต้องหามาตรการพิเศษเพื่อรองรับไว้ในกรณีที่มีเหตุขัดข้อง

ระเบียบข้อบังคับการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ พ.ศ. 2542


1.กติกาการแข่งขัน
การแข่งขันจักรยานประเภทลู่ พ.ศ. 2542 ดำเนินการแข่งขันตามกติกาของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (U.C.I.) ฉบับล่าสุด และระเบียบการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ของสมาคมจักรยานสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2542
2.สถานที่การแข่งขัน
ประเภทลู่ พ.ศ. 2542 ในสนามเวลโลโดม หัวหมาก 3 ประเภท แบบและรุ่นที่ทำการแข่งขัน มีดังต่อไปนี้
รุ่นทั่วไปชาย อายุตั้งแต่ 19 ปี ขึ้นไป
รุ่นทั่วไปหญิง อายุตั้งแต่ 19 ปี ขึ้นไป
รุ่นเยาวชนชาย อายุ 17 - 18 ปี
รุ่นเยาวชนหญิง อายุ 17 - 18 ปี
*อนุญาตให้เยาวชนหญิงอายุ 16 ปี เข้าแข่งขันในรุ่นเยาวชนหญิงได้
3.แบบการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ พ.ศ. 2542 มีดังต่อไปนี้
ชาย รุ่นทั่วไป รุ่นเยาชน
สปริ้นท์ สปริ้นท์
เปอร์ซูทบุคคล 4 กิโลเมตร เปอร์ซูทบุคคล 3 กิโลเมตร
อีลิมิเนชั่น อีลิมิเนชั่น
โอลิมปิกสปริ้นท์ ไทม์ไทรอัล 1 กิโลเมตร
แมสสตาร์ต 1,600 เมตร

หญิง รุ่นทั่วไป รุ่นเยาชน
เปอร์ซูทบุคคล 3 กิโลเมตร เปอร์ซูทบุคคล 2 กิโลเมตร
สปริ้นท์เดี่ยว ไทม์ไทรอัล 500 เมตร
ไทม์ไทรอัล 500 เมตร
4.คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน เมื่อลงทะเบียนเข้าแข่งขัน
นักจักรยานทุกคนที่เข้าแข่งขันเมื่อลงทะเบียนเข้าแข่งขัน ต้องแสดงใบอนุญาตของสหพันธ์จักรยานนานาชาติที่ออกโดยสมาคมจักรยานสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 1999
สำหรับนักจักรยานเยาวชนชายหญิงต้องแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวนักเรียนตัวจริงด้วย
ถ้าหากปรากฎ มีการทุจริตเกี่ยวกับอายุของผู้เข้าแข่งขันทุกรุ่น ผู้นั้นจะถูกปรับ 1,000 บาท และยึดใบอนุญาตเป็นเวลา 2 ปี
5.นักจักรยานที่เข้าแข่งขันในแบบใดก็ตาม เมื่อผู้ประกาศเรียกตัวครั้งที่ 3 แล้ว ไม่รายงานตัวที่เส้นเริ่มต้นถือว่าสละสิทธิ์
6.การแข่งขันทุกรุ่นแบบใดก็ตาม ถ้ามีผู้สมัครไม่เกิน 5 คน กรรมการจะงดการแข่งขันในแบบนั้นๆ และจะคืนเงินค่าสมัครให้
7.นักจักรยานที่ไม่เข้าพิธีรับรางวัล ทางสมาคมถือว่านักจักรยานผู้นั้นไม่ประสงค์จะรับรางวัล ฉะนั้นการแจกรางวัลสำหรับนักจักรยานนั้นต้องระงับและไม่มีการแจกรางวัล
8.การประท้วง ผู้จัดการทีมที่มีใบอนุญาตของสหพันธ์จักรยานนานาชาติเท่านั้น ที่ยื่นประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และต้องวางเงินประกัน 1,000 บาท เงินประกันจะคืนให้ผู้ประท้วงที่การประท้วงเป็นผลสำเร็จ ถ้าหากประท้วงไม่เป็นผลเงินประกันมอบให้สังคม
9.แต่ละทีมส่งผู้แทนทีมลงในสนามแข่งขันได้เพียงคนเดียว โดยขอใบอนุญาตจากสมาคมฯ
แนะนำการดูกีฬาจักรยาน


แบบต่างๆ ของการแข่งขันมีดังนี้
1. การแข่งขันจักรยานแบบไทม์ไทรอัล มีทั้งประเภทลู่และถนน เป็นการแข่งขันที่ใช้เวลาเป็นหลัก คือในเวลา 1 ชั่วโมง จะขี่จักรยานได้ระยะทางเท่าไร สรุปก็คือเป็นการแข่งขันกับเวลา นักจักรยานจะต้องแข่งกับเวลานักจักรยานคนใดทำเวลาได้น้อยที่สุดถือเป็นผู้ชนะ ถ้าทำเวลาได้ดีที่สุดทั้ง 3 คน ก็ให้เป็นที่ 1 ทั้ง 3 คน
2. การแข่งขันจักรยานแบบสปริ้นท์ การแข่งขันนี้เปรียบเหมือนการเล่นหมากรุกบนจักรยาน ต้องใช้กลวิธีต่างๆ อย่างสมบูรณ์เป็นการแข่งขันที่ตื่นเต้นเร้าใจ สนุกสนานที่สุด
เริ่มต้นแข่งขันจะไม่ใช้ความเร็ว นักจักรยานที่จับฉลากได้จะเป็นผู้ขี่นำในรอบที่ 1 จะขี่เร็วหรือช้าก็ได้ นักจักรยานอีกคนหนึ่งจะขี่ตามหลังไม่ยอมขึ้นหน้า พอครบรอบที่ 1 หรือขึ้นรอบที่ 2 ก็จะเร่งความเร็วขึ้นหรืออาจช้ากว่าเดิมก็ได้ จะขี่ฉวัดเฉวียนกันขึ้นๆลงๆ บนพื้นเวลโลโดม หาจังหวะของคู่ต่อสู้เผลอบางครั้งก็แกล้งหลอกให้คู่ต่อสู้เป็นผู้ขี่อยู่ข้างหน้า เมื่อเหลืออยู่อีก 200 เมตร จะถึงเส้นชัยก็จะสปริ้นท์แข่งขันเข้าเส้นชัย ห้ามใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ ในการที่จะทำให้เกิดการปะทะกัน จะต้องรักษาเส้นทางของตนไว้จนกว่าจะเข้าเส้นชัย
3. การแข่งขันจักรยานแบบเดี่ยวเปอร์ซูท คือการแข่งขันระหว่างนักจักรยาน 2 คน เริ่มคนละด้านของสนาม เมื่อเริ่มแข่งขันนักจักรยานทั้ง 2 คนขี่ครบ 4,000 เมตร แต่การแข่งขันอาจจบลงก่อนครบระยะทางได้ถ้าหากจักรยานคนหนึ่งไล่อีกคนหนึ่งทัน แต่ถ้าต่างคนต่างไล่กันไม่ทันใครขี่ครบระยะทางก่อนถือเป็นผู้ชนะ
การไล่ทันกัน คือ เมื่อชุดเฟืองโซ่ของคู่แข่งขันมาอยู่ในระดับเดียวกันกับชุดเฟืองโซ่ของตน
การแข่งขันจักรยานแบบทีมเปอร์ซูท เป็นการแข่งขันระยะทาง 4 กิโลเมตรประกอบด้วยนักจักรยานทีมละ 4 คนเริ่มต้นแข่งขันโดยแต่ละทีมจะอยู่ตรงข้ามกัน และขี่เพื่อไล่อีกฝ่ายหนึ่งให้ทัน
การไล่ทัน คือ ถือเอานักจักรยานคนที่ 3 ของทีมที่ไล่มาอยู่ในระดับเดียวกันกับนักจักรยานคนที่ 3 ของอีกทีมหนึ่ง การขี่จะขี่เรียงกันจะเปลี่ยนกันขี่นำหน้าทุกๆ ครึ่งรอบหรือหนึ่งรอบจนกว่าจะครบระยะทาง 4,000 เมตร
การจับเวลาและจัดตำแหน่ง ถือเอาล้อหลังของนักจักรยานคนที่ 3 ของทีม ผ่านเส้นชัยไป
4. การแข่งขันจักรยานแบบฟอร์ทเรซ เป็นการแข่งขันประเภทลู่ที่มีระยะทางยาวที่สุด หรูหราที่สุด ความเร็วของจักรยานจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางครั้งนำหน้าบางครั้งก็หล่นไปอยู่ข้างหลัง ให้คะแนนทุกๆ 4 รอบ ในรอบให้คะแนนนักจักรยานที่ 1 ถึง 4 จะได้คะแนน 5, 3, 2, 1 ตามลำดับ การสปริ้นท์เอาคะแนนมี 18 ครั้ง สำหรับครั้งที่ 9 และครั้งสุดท้ายคะแนนจะเป็น 2 เท่าของธรรมดา นักจักรยานที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะถ้ายังเสมอกันให้ถือตำแหน่งเข้าเส้นชัยรอบสุดท้าย
5. การแข่งขันจักรยานแบบแมสสตาร์ท เป็นการแข่งขันคล้ายสปิ้นท์แต่จำนวนของจักรยานจะมากอาจจะเป็นกลุ่มๆ ละไม่เกิน 8 คน นักกีฬาคนที่เข้าเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะที่ 1 แล้วเรียงไปจนคนสุดท้ายนักกีฬาจะสู้กันเต็มที่เมื่อเหลือระยะทาง 800 เมตร หรือ 400 เมตรเท่านั้น นอกนั้นจะคุมเชิงกันอยู่ตลอดทำให้ไม่หน้าเบื่อ จะสนุกก็ตอนท้ายเท่านั้น
6. การแข่งขันจักรยานแบบอีลิมิเนชั่น เป็นการแข่งขันเดี่ยว โดยคัดผู้ที่เข้าเป็นคนสุดท้ายในการสปริ้นท์ออก เริ่มแข่งขันให้ขี่ฟลายอิ้งสตาร์ตด้วยความเร็วปานกลาง 1 รอบ ถ้าสนามที่สั้นกว่า 330.33 เมตร ให้มีการสปริ้นท์ทุก 2 รอบ เมื่อเหลือ 2 คนสุดท้าย ตัดสินด้วยตำแหน่งล้อหน้าบนเส้นชัย
หมายเหตุ ทีมใดที่สตาร์ตผิดกติกา 3 ครั้ง ถ้าในรอบแรกจะถูกให้ออกจากการแข่งขัน ถ้าในรอบต่อไปจะถูกจัดให้เป็นอันดับสุดท้าย ถ้าในรอบชิงชนะเลิศจะถูกตัดสินให้เป็นที่ 2
7. การแข่งขันจักรยานแบบทีมระยะไกล ให้ใช้ระบบคะแนนนักจักรยานคนใดที่ผ่านเส้นชัยคนที่ 1 จะได้ 1 คะแนน คนที่ 2 จะได้ 2 คะแนน คนที่ 3 จะได้ 3 คะแนน และต่อไปจนครบทุกคน เมื่อครบรอบแล้วให้เอาคะแนนมารวมกัน ทีมใดได้คะแนนน้อยกว่าเป็นผู้ชนะถ้าคะแนนเท่ากันให้เอาเวลาของ 3 รอบมารวมกัน ทีมใดที่ทำเวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
อุบัติเหตุมี 2 ประเภท
1. อุบัติเหตุที่ยอมรับได้มี 3 อย่าง
- การล้ม
- ยางแตก
- การชำรุดเสียหายของชิ้นส่วนหลักที่สำคัญของจักรยาน (ให้ผู้นั้นเริ่มสตาร์ตใหม่)
2. อุบัติเหตุที่ยอมรับไม่ได้ คือ อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น (ต้องออกจากการแข่งขัน)
ประเภทการแข่งขันที่เป็นที่นิยม
ประเภทการแข่งขันบนถนน
1. ทัวร์ เดอร์ ฟร็องซ์ (Tour de France) ซึ่งจะแข่งขันกันในระยะทาง 3,400 กิโลเมตร แข่งขันเป็น 24 ช่วงต่อวัน
ประเภทการแข่งขันลู่
1. การแข่งขันความเร็วระยะสั้น (Sprint) จำนวนผู้เข้าแข่งขัน 2 - 3 คน โดยจะแข่งกัน 1 รอบหรือมากกว่า การจับเวลาจะทำในช่วงระยะสุดท้าย
2. การแข่งขันประเภทต่อแต้ม (Handicap race) เป็นการแข่งขันระยะไม่เกิน 800 เมตร
3. การแข่งขันประเภทเดี่ยวแบบไล่ตาม (Individual pursuit) เป็นการแข่งขันระหว่าง 2 คนไล่เป็นวงกลม ประเภทชายระยะทาง 4,000 เมตร ส่วนประเภทหญิงระยะทาง 3,000 เมตร และ 5,000 เมตร สำหรับมืออาชีพ
4. การแข่งขันประเภททีมแบบไล่ตาม (Team pursuit) จะมีผู้เข้าแข่งขันทีมละ 4 คน ใช้วิธีจับเวลาการแข่งขัน โดยดูเวลาของผู้เข้าแข่งขัน 3 คนแรก ของแต่ละทีมเข้าสู่เส้นชัย ทีมใดทำเวลาได้ดีเป็นผู้ชนะ
5. การแข่งขันประเภทไล่ตามออสเตรเลียน (Australian pursuit) เป็นการแข่งประเภททีมๆ ละ 8 คน ใช้การนับจำนวนรอบ หรือกำหนดเวลาเป็นการตัดสิน
6. การแข่งขันประเภทไล่ตามอิตาเลียน (Italian pursuit) แข่งระหว่าง 2 - 3 ทีม แต่ละทีมมีผู้เข้าแข่งขัน 5 คน ขี่จักรยานคนละ 1 รอบ เมื่อครบแล้วให้คนต่อไปเข้าไปแทนจนครบ 5 คน ทีมใดทำเวลาได้น้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
7. การแข่งขันจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (Point - to - point) เป็นการแข่งขันแบบเก็บคะแนนในแต่ละรอบ หรือหลายๆ รอบ ผู้ชนะคือผู้ที่ทำคะแนนได้สูงที่สุด แม้จะเข้าเส้นชัยเป็นอันดับหนึ่งก็ตาม
8. การแข่งขันที่ไม่มีต่อ เป็นการแข่งขันระยะไกล 8 กิโลเมตร และ 16 กิโลเมตร โดยผู้เล่นทั้งหมดออกตัวพร้อมกันที่เส้นเริ่มต้น การแข่งขันประเภทนี้มีหลายรูปแบบหลากหลาย เช่น " Devil - take - the - hindmost " ซึ่งจะแข่งขันเป็นรอบๆ ผู้ที่เข้าแข่งขันเข้าเส้นชัยเป็นคนสุดท้ายในแต่ละรอบจะถูกคัดออก หรือการแข่งขันที่เรียกว่า " Unknown distance " ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะไม่ทราบระยะทางที่ต้องแข่ง จนกว่าจะมีเสียงดังของระฆังดังขึ้น เพื่อแสดงว่าเป็นการแข่งรอบสุดท้าย
9. การแข่งขันแบบทีมผลัด (Madison racing) โดยผู้เข้าแข่งขันขี่จักรยานเป็นคู่ คนหนึ่งอยู่ในลู่ ส่วนอีกคนรออยู่ และผลัดเปลี่ยนกันเมื่อผู้เข้าแข่งที่อยู่ในลู่ดันคู่ของตนให้ขี่ต่อไปเมื่อครบรอบ
10. การแข่งขันจักรยานวิบาก (Cyclo - cross) มักจะแข่งกันในฤดูหนาว โดยเส้นทางการแข่งขันมีทั้งผ่านป่าไม้ ทุ่งหญ้า และถนนต่างๆ ที่จะต้องไม่เสี่ยงกับอันตราย เช่น มีลักษณะเป็นขั้นบันได เป็นต้น ระยะทางการแข่งขันไม่เกิน 24 กิโลเมตร แต่ถ้าแข่งขันเป็นรอบ แต่ละรอบจะมีระยะทางไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร
11. การแข่งขันจักรยานไต่เขา (Hill climb) เป็นการแข่งขันเฉพาะประเภทชายในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร หรืออาจน้อยกว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชันของภูเขาที่แข่งขัน
12. การแข่งขันแบบจับเวลา (Timetrial) จะต้องแข่งขันตามระยะทางที่กำหนด โดยทำเวลาให้น้อยที่สุด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกตัวห่างกันคนละประมาณ 1 นาที
ระยะทางแบ่งออกเป็นระยะสั้นๆ ไม่เกิน 50 กิโลเมตร ระยะทางกลางประมาณ 160 กิโลเมตร สำหรับผู้ชาย และ80 กิโลเมตร สำหรับผู้หญิง ส่วนระยะทางไกลประมาณ 160 กิโลเมตร 12 ชั่วโมง สำหรับผู้หญิง และ160 กิโลเมตร 12 ชั่วโมง สำหรับผู้ชาย
13. การแข่งขันบนลูกกลิ้ง (Roller race) เป็นการแข่งขันจักรยานอยู่กับที่บนลูกกลิ้งรองรับ 3 อัน โดยลูกกลิ้ง 2 อันอยู่ติดกันจะรองรับน้ำหนักของล้อหลัง ส่วนลูกกลิ้งอีกอันจะรองรับล้อหน้า ผู้ที่ทำระยะทางดีที่สุดเป็นผู้ชนะ
เชิญชวนคุณให้เข้าชม KuLaSaNg! Board
http://www.kulasang.net/webboard/?fromuid=14

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วครับ บอร์ดย่อยชมรมจักรยานเสือลัลล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
http://www.thaimtb.com/forum/viewforum.php?f=424
รูปประจำตัวสมาชิก
rj45
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2375
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 19:46
Tel: xxx-xxx-xxxx
team: ชายเดี่ยว
Bike: polygon xtrada 16" สีแดง, giant tcr size s สีขาวแดง

Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย rj45 »

ยาวจัง เดี๋ยวกลับมาอ่าน
ขอบคุณครับ :D
------------------------------------------
ฝากติดตามผลงานครับ
http://www.shutterstock.com/g/p_chiantanrak
------------------------------------------
อึ่ง76
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1196
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 19:12
Tel: http://line.me/ti/p/Wbu783rqMV
team: SOIDAO CYCLING
Bike: cannondale
ตำแหน่ง: สอยดาว . จันทบุรี
ติดต่อ:

Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย อึ่ง76 »

สุดยอด
WILL STRONG MORE THAN .[/color]
ที่นี่สอยดาว
https://www.facebook.com/soidaomtb

LINE ID eung76
http://line.me/ti/p/Wbu783rqMV
รูปประจำตัวสมาชิก
pol noenpijit
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 605
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 16:34
Tel: 093-7328041
team: นาหม่อม

Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย pol noenpijit »

สวดยอดเลยคับ :lol: :lol: :lol:
ปั่นสบายๆ ไปกับสองล้อคู่ใจ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 5&t=351111

ปั่นสบายๆ ไปกับสองล้อคู่ใจ ตอน อพยพตามความฝันhttp://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1361518
รูปประจำตัวสมาชิก
เส โพลีน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 434
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 19:44
Tel: 094-965-8755
team: อิสระ
Bike: Cervelo R3
ตำแหน่ง: ระยอง

Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย เส โพลีน »

:D
Songserm@0412.com
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 40
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2015, 22:29
team: ขุนเขา&ทะเล ไขลาน
Bike: เสือหมอบ
ติดต่อ:

Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย Songserm@0412.com »

Good..!!
เณรแอร์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2798
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 01:57
team: โรงพยาบาลสกลนคร
Bike: MOSSO
ตำแหน่ง: ร.พ.สกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ติดต่อ:

Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแข่งขันจักรยาน

โพสต์ โดย เณรแอร์ »

ปัก
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เทคนิคการฝึกซ้อม/สุขภาพ/อาหาร”