ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของ"รถพับ" โดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

สรุปว่า..ในกรณีที่เจ้าของกระทู้จะตัดสินใจเลือกระหว่างรถพับล้อ 16" vs 20" สำหรับทริป 100km..แนะนำให้เลือกตัวที่ Handling ดีกว่า..สบายกว่า...
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
รูปประจำตัวสมาชิก
androzius
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 35
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2015, 08:09
Bike: Java Fit8,Trinx Fa208,Meadow citysmart

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย androzius »

กระทู้นี้มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณทุกคำตอบมากครับ
อัพไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก
รูปประจำตัวสมาชิก
อาอ้วน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 325
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 20:48
Tel: 086-4180198
team: ---
Bike: Giant - KHS
ตำแหน่ง: อุบลราชธานี

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย อาอ้วน »

คาราวะ 10 จอก ขอบคุณทุกท่านครับ :D เยี่ยมเลย
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

จริงๆแล้ว..จักรยานมีเรื่องราวลึกลับซับซ้อนและค่อนข้างละเอียดอ่อนมากกว่าที่เราเห็นแค่ขนาดล้อขนาดจานยี่ห้อราคาน้ำหนักสมรถถนะที่อุปโลกประโลมโลกกัน..ถึงวันนี้..คนเล่นรถเล็กควรเลิกเรียกขนาดล้อเป็นนิ้วได้แล้ว..ควรเรียกขนาดล้อตามมาตรฐาน ETRTO ที่มีหน่วยเป็นมิลเมตร..xx-xxx..สองหลักแรกเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหน้าตัดของยาง..สามหลักหลังเป็นขนาดของวงล้อ..ยกตัวอย่าง ล้อ 16" มีขนาด 305 และ 349 ซึ่งมันเป็น 16" คนละขนาดคนละตระกูลกันเลย..หรือ 20" 406 กับ 451 ก็เช่นกัน..การประมาณอัตราทดก็เช่นกัน..ควรพูดถึงค่า GI มากกว่าล้อเท่าไหร่เฟืองเท่าไหร่..อย่าวที่ได้กล่าวไว้..แต่ละคนมีสมรรถนะร่างกายรองรับค่า GI ที่ต่างกัน..ซึ่งค่า GI หรือ Gear Inch ก็เคยมีสมาชิกเขียนบรรยายเล่าเรื่องมาตั้งแต่ปี 2007 แล้ว..ตัวเลขพวกนี้ไม่ได้น่ากลัวหนือเกินความจำเป็นอย่างที่หลายคนคิดหรือตีโพยตีพายไปเอง..ขี่ไม่เหนื่อย..ขี่เร็ว..ขี่นาน..ขึ้นเขาไม่เข็น..ไม่เจ็บตูด..เค้าขี่กันอย่างไร...
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

ข้อมูลดิบๆเบื้องต้นก่อนการนำไปหาค่า GI และวิธีขี่รถที่ถูกต้อง..ต้องรู้ขนาดของล้อรวมยางจริงๆเสียก่อน..เริ่มต้นด้วยการเอาตลับเมตรวัดเส้นผ่าศูนย์กลางล้อรวมยางจริงๆ..วัดค่าออกมาเป็นมิลลิเมตรก่อน..แล้วค่อยหาร 25.4 แปลงค่าเป็นนิ้ว..หรือจะใช้ตัวเลข ETRTO ที่ยางมาคำนวนก็ได้..แต่ค่าอาจผิดจากล้อและยางจริงๆนิดหน่อย..เช่น ล้อ 16x1.50" มีค่า ETRTO 40-305 เอา 305+40+40 = เส้นผ่าศูนย์กลางล้อรวมยาง 385mm..จับ 385 มาคูณ 22 หาร 7 จะได้เส้นรอบวงล้อ 1,210mm..ซึ่งก็คือรอบละ 1.210 เมตรนั่นเอง..และเมื่อเอา 385mm มาแปลงค่าเป็นนิ้วโดยหารด้วย 25.4..จะได้ค่าเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้ว = 15.15748031..ตัวเลขเป็นนิ้วนี้เราจะจับไปคำนวนหาค่า GI ในภายหลัง...
...
..
.
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

บทที่ 2 อัตราทด
เอาเบสิคจากรถ 1 สปีดก่อน
เอาจำนวนฟันของจานหน้าตั้ง..หารด้วยจำนวนฟันของเฟืองหลัง
เราจะได้ค่าอัตราทด หรือ Ratio
เช่น จานหน้า 53 เฟืองหลัง 12 = Ratio 1: 4.416666666
เอาค่าที่ได้ 4.416666666 คูณกับขนาดล้อเป็นนิ้วที่วัดไว้ 15.15748031
จะได้ค่า GI 66.94553803 ตีกลมๆคือ 67
...
กรณีที่ใช้เกียร์ชั้น..ก็ต้องคำนวนกันทีละเฟือง
จะรู้ว่าในแต่ละเฟืองให้ค่าความหนักเกียร์กี่ GI
ระยะมากสุดถึงน้อยสุดของ GI เราจะเรียกว่า Gear Range
เอาไว้บอกว่ารถคันนี้เกียร์หนักสำหรับทำความเร็วมีเท่าไหร่
เกียร์เบาสำหรับไต่เขามีเท่าไหร่
...
วิธีคำนวนเกียร์ดุมเอาไว้ค่อยอธิบายภายหลัง
...
..
.
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

จากค่า GI ที่ได้ 1x..2x..3x..4x..5x..6x..7x..8x..9x..1xx...
หากลองไปสำรวจค่า GI รถแม่บ้านจะพบว่ามีค่า GI ไม่เกิน 50
อนุมานได้ว่า GI50 คือค่าปานกลางของมนุษยโลก
ผู้ใหญ่วัยเจริญพันธุ์ทุกคนในโลกสามารถขี่รถที่ GI50ได้ทุกคน
...
เมื่อถึงความเร็งระดับหนึ่ง..รอบขาจะควงจี๋จนตามไม่ได้..
เราจึงต้องการ GI ที่หนักขึ้นเพื่อลดรอบขาลง..
การเพิ่ม GI สูงขึ้นทำได้ 2 วิธี..คือเพิ่มฟันหน้า..หรือลดเฟืองหลัง..
...
ในทางกลับกัน..เมื่อเราไต่ทางชัน..GI50 จะเริ่มรอบตกและกดไม่ลง..
เรากำลังต้องการค่า GI ที่ตำลง..โดยการลดขนาดจานหน้าและเพิ่มเฟืองหลัง
...
รอบขาที่เท่าไหร่ที่เหมาะสมในการปั่นจักรยาน...
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์..ความพร้อมของร่างกาย..และสไตล์การขี่ของแต่ละคน..
ในระดับแข่งขัน..อาจมีการเลี้ยงรอบกันที่ระดับ 90/95/1xx รอบขา..สำหรับขากินลมชมวิวอาจตกมาที่ระดับ 7x..บ้างก็พยายามรักษารอบขาที่ 90/95...
สำหรับมือใหม่..ไม่แนะนำให้สนใจเรื่องรอบขามากนัก...
เอาแบบขี่ได้สบายๆ..กล้ามเนื้อไม่ล้า..หัวใจไม่เกิน..ก็พอ...
ขี่มาก..ขี่บ่อย..ร่างกายจะพัฒนาขึ้นมารองรับ GI ที่สูงขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
...
GI แนะนำสำหรับมือใหม่ทางเรียบ...
ส่วนมากจะอยู่ที่ 54 - 60
รอบขา 70-80rpm
GI สูงกว่านี้ควรหมั่นฝึกซ้อมและสะสมสมรรถนะร่างกายเพิ่มเติม..
ฝืนไปมีแต่จะบาดเจ็บ..
หรือเหนื่อยเกินเหตุ
...
..
.
แก้ไขล่าสุดโดย poommm เมื่อ 03 เม.ย. 2015, 11:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

จากการหาค่าเบื้องต้นเราได้ค่า
1.ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้ว (เอาไว้คำนวน GI)
2.ค่า Ratio หรืออัตราทดเฟืองหน้าเฟืองหลัง
3.เส้นรอบวงล้อ
...
ค่าเหล่านี้เราสามารถนำไปคำนวนเรื่องระยะทางแบะความเร็วต่อได้...
เช่น Ratio 1:4.42 ปั่นรอบนึง..ล้อหลังหมุน 4 รอบกว่า..
รอบวงล้อ 1.21 เมตร..
เท่ากับปั่น 1 รอบ..ได้ทาง 4.42รอบx1.21เมตร = 5.35 เมตร
ถ้ารอบขา 80rpm = นาทีนึงเราปั่นได้ทาง 80 รอบ × 5.35 เมตร = 428 เมตร
ถ้าปั่น 1 ชั่วโมง (60นาที) = 428เมตร × 60 นาที =25,680 เมตร
เอา 1,000 หารเป็นกิโลเมตร = 25.68kmph
...
บทสรุป
ล้อ 40-305 อัตราทด 53/12 GI67
25kmph@80rpm
...
..
.
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
รูปประจำตัวสมาชิก
chanontb
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 86
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2013, 11:32
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย chanontb »

มีประโยชน์มากครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
อาอ้วน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 325
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 20:48
Tel: 086-4180198
team: ---
Bike: Giant - KHS
ตำแหน่ง: อุบลราชธานี

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย อาอ้วน »

สุดยอดดดเลยครับพี่ poommm
สมเสร็จหลังอาน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 158
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 12:24
team: Bangkok Architecture Tour On Bike, น่าถีบนัก
Bike: Trinx FA2007, Chevy FK207, Fuji F3(1974), Bridgestone Roadman, Tokyo Bike CS, Fuji Palette

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย สมเสร็จหลังอาน »

poommm เขียน:นอกเหนือจากขนาดล้อและอัตราทดที่เหมาะสม..สิ่งที่คนเล่นรถพับมักมองข้ามคือ Geometry และการ Fitting ท่าขับขี่ที่เหมาะสม..ความยาวของฐานล้อ..ความยาวเชนสเตย์..องศาท่อนั่ง..ระยะท่อนอนสมมติ..มีผลต่อการขี่ทางไกลทั้งสิ้น..รถพับส่วนมากจะมีหลักอานหรือท่อนั่งเยื้องระยะมาหลังกระโหลก..การตั้งเบาะจึงจำเป็นต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อให้เข้าระยะลูกดิ่งกลางหัวเข่าตกไปที่จุดคลีทเมื่อวางตำแหน่งขาจานขนานกับพื้นโลก..อย่าเอาระยะจับรางเบาะจากรถใหญ่มามาร์คตำแหน่งจับรางเบาะรถพับที่ท่อนั่งเยื้องกระโหลก..ต้องลากเส้นสมมติจากกลางกระโหลกขึ้นไปหารางเบาะ..และใช้เส้นสมมตินี้ลากไปหาเส้นสมมติองศาท่อคอหน้า..จะได้ระยะท่อบนสมมติ..แล้วจึงดูว่าเส้นองศาท่อคอทำระยะจับแฮนด์เท่าไหร่..คือระยะสเต็ม..รถพับหลายๆคันท่อคอจะจับแฮนด์แบบไม่มีสเต็มยื่น..แต่ระยะจริงๆล้ำหน้าจากเส้นองศาท่อคอ..ซึ่งจริงๆมันคือระยะสเต็ม..จักรยานสามารถพิสูจน์ทราบได้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์..นับถึงปัจจุบันเกือบๆสองร้อยปี..มีการลองผิดลองถูกกันมามากพอสมควร..ถ้าค่อยๆศึกษาทีละเรื่องแล้วจับมาโยงเข้าหากัน..จะได้รถที่ตอบสนองการขับขี่ตามกำลังและขนาดรูปร่างของแต่ละคนได้ดีทีเดียว...
ขอถามให้แน่ใจครับ ว่า "การตั้งเบาะจึงจำเป็นต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อให้เข้าระยะลูกดิ่งกลางหัวเข่าตกไปที่จุดคลีทเมื่อวางตำแหน่งขาจานขนานกับพื้นโลก" นี่ไม่ได้พิมพ์ผิดใช่ไหมครับ ขาจานขนานกับพื้นโลก ไม่ใช่ตั้งฉากกับพื้นโลก ใช่ไหมครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
อั่งซิ่วย้ง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 266
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 19:01
Bike: Dahon Curve SL 2009 16" Hang Ten 20"

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย อั่งซิ่วย้ง »

โธ่...ถามได้...เหนื่อยจิ...
:lol: :lol: :lol:
แต่ว่านะ ถ้ามีตัวช่วย เช่น วิวดี อากาศดี ทางดี
ไม่ต้องไปไล่กวดใคร ไม่ต้องไปกวดหนีหมาที่ไหน
มีเพื่อนปั่นรู้ใจ...ปั่นไปตามแบบของเรา
มันจะเหนื่อยซักเท่าไหร่กั๊นนนน

ขอตอบแบบป้าๆ ไร้หลักการใดๆ อย่างนี้ล่ะจ้า
“He who fights with monsters should look to it that he himself does not become a monster”
― Friedrich Nietzsche
กฤษณ์ TKT
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 632
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 17:14
Tel: Line: songkrit_prapagdee
team: Bike Sunday
Bike: Folding bicycles
ตำแหน่ง: ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย กฤษณ์ TKT »

อั่งซิ่วย้ง เขียน:โธ่...ถามได้...เหนื่อยจิ...
:lol: :lol: :lol:
แต่ว่านะ ถ้ามีตัวช่วย เช่น วิวดี อากาศดี ทางดี
ไม่ต้องไปไล่กวดใคร ไม่ต้องไปกวดหนีหมาที่ไหน
มีเพื่อนปั่นรู้ใจ...ปั่นไปตามแบบของเรา
มันจะเหนื่อยซักเท่าไหร่กั๊นนนน

ขอตอบแบบป้าๆ ไร้หลักการใดๆ อย่างนี้ล่ะจ้า
ถูกใจจังครับ ปั่นตามใจ ปั่นตามอาการรถที่ปั่นแล้วสนุก
O'Pern
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3158
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 16:58
Tel: 081-813-6627
team: Authentic Bike Packer / Travelling Solo
Bike: ธนูไฟ
ตำแหน่ง: Bkk, TH
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย O'Pern »

รถรถทั้งสองคันเหมือนกัน

ล้อใหญ่กว่า ขี่สบายกว่า ตกหลุม เจอทางไม่เรียบ รอยต่อถนน ฯลฯ ล้อใหญ่จะซับแรงได้ดีกว่า ขี่สบายกว่า และถ้ายางหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองคัน รถล้อใหญ่ก็จะเกาะถนนได้ดีกว่า อันเนื่องมากจากค่า contact patch ที่สูงกว่า

ผมคุยเฉพาะเรื่องตัวรถล้วนๆ ไม่นับปัจจัยนอกเหนือจากนี้
fear is a mind killer
poommm
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 514
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 00:16
Tel: 086-346-3360
Bike: Brompton
ติดต่อ:

Re: ล้อ 16 ปั่นทางไกล เหนื่อยกว่า 20 มากไหมครับ

โพสต์ โดย poommm »

สมเสร็จหลังอาน เขียน:
poommm เขียน:นอกเหนือจากขนาดล้อและอัตราทดที่เหมาะสม..สิ่งที่คนเล่นรถพับมักมองข้ามคือ Geometry และการ Fitting ท่าขับขี่ที่เหมาะสม..ความยาวของฐานล้อ..ความยาวเชนสเตย์..องศาท่อนั่ง..ระยะท่อนอนสมมติ..มีผลต่อการขี่ทางไกลทั้งสิ้น..รถพับส่วนมากจะมีหลักอานหรือท่อนั่งเยื้องระยะมาหลังกระโหลก..การตั้งเบาะจึงจำเป็นต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อให้เข้าระยะลูกดิ่งกลางหัวเข่าตกไปที่จุดคลีทเมื่อวางตำแหน่งขาจานขนานกับพื้นโลก..อย่าเอาระยะจับรางเบาะจากรถใหญ่มามาร์คตำแหน่งจับรางเบาะรถพับที่ท่อนั่งเยื้องกระโหลก..ต้องลากเส้นสมมติจากกลางกระโหลกขึ้นไปหารางเบาะ..และใช้เส้นสมมตินี้ลากไปหาเส้นสมมติองศาท่อคอหน้า..จะได้ระยะท่อบนสมมติ..แล้วจึงดูว่าเส้นองศาท่อคอทำระยะจับแฮนด์เท่าไหร่..คือระยะสเต็ม..รถพับหลายๆคันท่อคอจะจับแฮนด์แบบไม่มีสเต็มยื่น..แต่ระยะจริงๆล้ำหน้าจากเส้นองศาท่อคอ..ซึ่งจริงๆมันคือระยะสเต็ม..จักรยานสามารถพิสูจน์ทราบได้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์..นับถึงปัจจุบันเกือบๆสองร้อยปี..มีการลองผิดลองถูกกันมามากพอสมควร..ถ้าค่อยๆศึกษาทีละเรื่องแล้วจับมาโยงเข้าหากัน..จะได้รถที่ตอบสนองการขับขี่ตามกำลังและขนาดรูปร่างของแต่ละคนได้ดีทีเดียว...
ขอถามให้แน่ใจครับ ว่า "การตั้งเบาะจึงจำเป็นต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อให้เข้าระยะลูกดิ่งกลางหัวเข่าตกไปที่จุดคลีทเมื่อวางตำแหน่งขาจานขนานกับพื้นโลก" นี่ไม่ได้พิมพ์ผิดใช่ไหมครับ ขาจานขนานกับพื้นโลก ไม่ใช่ตั้งฉากกับพื้นโลก ใช่ไหมครับ
ขนานพื้นโลกตามที่พิมพ์ครับ
โดยเริ่มแรกให้หมุนขาจานในองศาท่อนั่งก่อน
ใช้ส้นเท้ายันกับบันได
เหยียดขาตรงเหมือนยืนบนขา
ให้เบาะแตะก้น
จะได้ระยะความสูงเบาะโดยประมาณ
เมื่อเปลี่ยนจุดวางเท้ามาที่ตำแหน่งคลีท
ในองศาขาจานชี้ตามท่อนั่ง
เข่าจะงอเล็กน้อย
หลังจากได้ส่วนสูงแล้ว
จึงปรับเดินหน้าถอยหลังเบาะ
ให้ตำแหน่งลูกดิ่งกลางหัวเข่าตกกลางจุดคลีท
ในตำแหน่งขาจานขนานพื้นโลก
จะได้ระยะเบาะที่เหมาะสมกับวงปั่น
ทั้งนี้ความยาวขาจานต้องสัมพันธ์กับ Inseam ด้วย
ระยะที่ถูกต้องจะลดอาการเจ็บก้น
เมื่อปั่นไปแล้วเริ่มรู้สึกกดทับ
สามารถเหยียดขาที่องศาขาจานหรือขาจานทิ้งดิ่ง
เราจะสามารถยืนยกตัวเพื่อลดอาการกดทับได้
ส่วนเรื่องระยะเอื้อมจับแฮนด์
ขึ้นอยู่กับรถพับแต่ละรุ่น
ตำแหน่งแฟลทบาร์แบบขี่สบายๆ
จะอยู่ที่ระยะสูงเท่าเบาะหรือสูงกว่าเล็กน้อย
ระยะเอื้อมอยู่ที่ปลายนิ้วกลางตรงกับเซ็นเตอร์แฟลทบาร์
เมื่อเอาข้อศอกยันกับจมูกเบาะ
และเหยียดมือเพื่อหาระยะยื่น
รถพับหลายคันติดหล่อใส่สเต็มยื่นโดยไม่จำเป็น
หรือถอยหลังเบาะเยอะเกินเพื่อติดกระเป๋าหลังเบาะ
...
ท่านั่งที่ขางอเล็กน้อยเมื่อเหยียดขาจานตามท่อนั่ง
องศาหลังที่ไม่ก้มจนเกินไป
องศาแขนกับลำตัวที่ไม่เกิน 90 องศา
จะช่วยให้แขนไม่ล้าเกินไปเมื่อขี่นานๆ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรีระของรถ,คน,อุปกรณ์ และการปรับตั้ง
...
..
.
086-346-3360 : poommm@gmail.com
...
..
.
ตอบกลับ

กลับไปยัง “รถพับ”