Carbon Vs. Aluminium

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของ Downhill โดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
coldplay
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 681
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 21:21
team: http://www.facebook.com/spr.bikeclub
Bike: http://spr-bikeclub.blogspot.com
ติดต่อ:

Re: Carbon Vs. Aluminium

โพสต์ โดย coldplay »

รูปภาพ
Full carbon ของน้า สตีฟ พีท :P

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
We're Blown Away BY HOW MUCH RIDING THERE IS OUT HERE =)
รูปประจำตัวสมาชิก
mean_sniper
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 102
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 21:06
Tel: 0891162919

Re: Carbon Vs. Aluminium

โพสต์ โดย mean_sniper »

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปประจำตัวสมาชิก
eako
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4217
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 09:33
Tel: +089 107 2270
team: Buubike 53
Bike: ไม่มี

Re: Carbon Vs. Aluminium

โพสต์ โดย eako »

coldplay เขียน:รูปภาพ
แบบอันนี้เหรอครับ เอก :shock:
ใช่แล้ว ยังกองอยู่แล้วจ๊าอยากจื้อเปล่าละ ฮือๆๆๆๆๆ
http://www.buubike.com
มีรูป Detail/Product/และราคา พร้อมครับ
+089 107 2270
thor.uz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 190
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 19:40
Tel: 0838093001
team: ปั่นออกกำลัง-พัทยา
Bike: Illuminati 140 ฟูลซัส ด๊วบๆ

Re: Carbon Vs. Aluminium

โพสต์ โดย thor.uz »

geflame9 เขียน:
DH2baby เขียน:ถ้าคิดว่ามีเนื้ออลูฯ หรือโลหะอื่น ซ่อนอยู่ภายในเฟรม จากการทดลองที่ทิ้งตุ้มน้ำหนักลงใส่ เฟรมอลูฯ หลังจากเสียรูป แต่ไม่ขาดจากกัน ลูกตุ้มน้ำหนักจะยังคงเด้งอยู่อีก 2-3ครั้ง แต่ของ carbon จะหยุดเด้งเลยหลังจากเฟรมแตก แม้นแต่การทดลองอันแรก เฟรมอลูฯจะแค่ งอเสียรูปทรงแค่นั้น แต่ carbon จะแตกขาดจากกัน หรือจะคิดว่า เฟรมตัวเทสโชว์ มีเนื้อ carbon ที่หนากว่า อันนี้ก็สามารถคิดได้นะ แต่ผมคิดว่าทาง santa cruze ไม่น่าจะกล้าทำนะครับเพราะว่าถ้าเกิดมีคนบ้า หรือ บริษัทคู่แข่ง ลองเอาเฟรมฟาดกับแท่งคอนกรีตแล้วแตกภายในครั้งหรือสองครั้งนี่ คงจะไม่คุ้มหรอกครับกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทาง santa cruze
ปล.หรือว่าจะลองเอา v10 เราฟาดกับเสาไฟฟ้าดู ถ้าแตกฟ้องเรียกค่าเสียหายซะเลย 555 ล้อเล่น สำหรับผมสิ่งเดียวที่คาใจคือ อายุการใช้งานของ carbon เท่านั้น
+1
:shock: อ่านดูที่ผ่านมาเห็นแต่กังวลกันว่าอลูพังก่อน คาร์บอนพังที่หลัง แต่มีอีกเรื่องที่ควรตระหนักคือหากปัญหานี้เกิดจริงระหว่าการขี่ อลูมิเนียมอาจแค่หักงอและกระแทกให้บาดเจ็บ แต่ถ้าเป็นคาร์บอนหักขาดและเป็นปากฉลามแถมยังมีเสี้ยนจากใยคาร์บอนด้วยถ้าได้แทงเขาไปในตัวเรา ลองคิดดู ????

ขอร่วมออกความคิดเห็นด้วยคน เอาแค่ในแง่วัสดุศาสตร์นะครับ เพราะในเรื่องจักรยานผมยังเป็นแค่ลูกเจี๊ยบ.... :lol:



ที่ว่าอลูฯยังเด้งอยู่หลังจากเสียรูป และคาร์บอนหักเลยไม่เด้งต่อ
กับอลูฯแค่งอ แต่ถ้าเป็นคาร์บอน อาจจะแตก-ขาดเป็นปากฉลาม


อันนี้เราต้องไม่ลืมนะครับว่า"ถูกกระทำด้วยแรงที่มากกว่าถึงเกือบ2เท่า" ตามผลทดสอบในคลิป....

ยกตัวอย่างเท่าที่ผมนึกออกคือ ถ้าอลูฯโดดลงมาจากที่สูงระยะ5เมตรแล้วเสียรูป คาร์บอนต้องโดดสูงกว่านั้นมาก
อาจจะไม่ถึงกับ10เมตร(เท่าตัว)แต่ก็ต้องมากกว่า หรือถ้าระยะเดียวกัน คาร์บอนยังไม่หักแน่นอน

การรับแรงเป็นจุด ด้วยการทิ่มด้วยของแหลมๆ หรือเอาไปฟาดกับแท่นกลึงหรืออะไรซักอย่างในคลิปนั่น
ถ้าเป็นคาร์บอนก็ตามที่เห็น ยังคงรูปอยู่ เรซิ่นข้างนอกอาจจะแตกกระเทาะออก หรือชั้นที่2อาจจะแยกกัน
ถ้าชั้นคาร์บอนด้านในแยกกัน เวลาใช้งานกึ่งหนัก ผมว่ามันคงออกอาการด้วยเสียง หรือการขี่แปลกๆไปจากเดิมจนรู้สึกได้แน่ๆ
แต่ถ้าเป็นอลูฯคงบุบลึกหรืองอ ทั้ง2กรณีระดับโปรคงไม่เอามาใช้ต่อเป็นแน่

แล้วถ้าเทียบกับสถานะการณ์จริง แรงฟาดแบบในคลิปนั้น เราต้องปั่นมาด้วยความเร็วเท่าไหร่ถึงแรงขนาดนั้น
และต้องไปกระทบกับอะไรที่หนักและแข็งขนาดแท่นกลึงตัวนั้น เท่าที่พอจะนึกออก อาจจะเป็นหินแหลมๆก้อนโตๆ
ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องห่วงเฟรมว่าจะเป็นอลูฯหรือคาร์บอน คงต้องจองวัดให้คนปั่นได้เลย....

เรื่องอายุของคาร์บอน ถ้าเป็นคาร์บอนจากการผลิตที่มีมาตราฐานตามแบบที่เป็นการผลิตชิ้นส่วนคาร์บอนจริงๆ
เท่าที่รู้มา แทบจะไม่มีการหมดอายุการใช้งาน อย่างน้อยก็เกินอายุเราไปอีกนานมากๆๆๆๆ
แต่ต้องย้ำว่าต้องผลิตแบบมีมาตราฐานเท่านั้นนะครับ

ใช้งานในวงการรถยนต์ จำพวกของแต่ง เช่นฝากระโปรงรถจะเห็นได้ง่ายเลยครับ
ถ้าเป็นของแท้จากโรงงาน วิธีผลิต ในแต่ละชั้นจะใช้เรซิ่นประสานเฉพาะของคาร์บอน แล้วอบด้วยความร้อนสูงมากอีกที
ของแบบแฮนด์เมดไม่ว่าในบ้านเราหรือต่างประเทศ จะใช้เรซิ่นของไฟเบอร์กลาสธรรมดา
หรือแม้จะใช้เรซิ่นเฉพาะ ก็คงไม่ได้อบอุณหภูมิที่เหมาะสมกับงานคาร์บอนแน่นอน

ฝากระโปรงรถคาร์บอนที่ไม่มีมาตราฐาน เวลาใช้งานโดนทั้งความร้อนจากแดดและความร้อนจากห้องเครื่อง
ไม่นานก็เหลือง-ลอกร่อน-แยกชั้นกันอยู่ จึงอาจจะเป็นที่มาของการกลัวเรื่องอายุการใช้งาน
แต่ถ้าของที่มีมาตราฐาน หรือของแต่งแท้จากโรงงาน ผมยังไม่เคยเห็นความเสียหาย
เคยเห็นแบบเหลืองนิดๆ เจ้าของจอดตากแดด และก็เก่าและนานมาก

ในพวกรถสปอร์ตยังเอามาทำท่อไอดีในเครืี่่อง-ฝาครอบเครื่องยนต์ ร้อนกว่าฝากระโปรงหลายเท่า
เส้นใยคาร์บอนและเรซิ่นเฉพาะของคาร์บอน ใช้วิธีผลิตขึ้นรูปรวมกันแล้วอบ ร้อนกว่าเครื่องยนต์มากมาย เลยไม่กลัว
แต่อาจจะกลัวยูวีจากแสงแดดเลยเหลือง แต่ถ้ามีของระดับนี้ ผมคงไม่ยอมเอามาจอดตากแดดเป็นแน่....
:mrgreen:

ปัญหาของคาร์บอนคงเป็นเรื่องการเชื่อมต่อกับวัสดุอื่นที่จะเอามาใช้งานร่วมกัน จะยุ่งกว่า
จุดที่เชื่อมต่อถ้ารับแรงมากต้องมีหน้าสัมผัสที่มากพอที่จะไม่หักหรือฉีกขาดง่าย เช่นจุดยึดฝากระโปรงรถยนต์
แต่กับจักรยานคงไม่ใช่ปัญหาเพราะไม่เห็นมีการพูดถึงในแง่นี้กัน


ถ้านับกันในเรื่องความแข็งแรงอย่างเดียว ผมว่าคาร์บอนยังจะเหนือกว่าอลูฯครับ

ทั้งหมดเป็นควรมเห็นส่วนตัว ถูก-ผิดวานผู้รู้ช่วยชี้แนะครับ........
:D

พูดเรื่องคาร์บอนไฟเบอร์ ผมชอบอย่างนึงคือ ในวงการจักรยานเรียกกันได้ถูกต้อง
ในวงการรถยนต์หรือแทบทุกวงการ เรียกกัน "เคฟล่า"

จะเคฟล่าจริงๆสีเหลืองอ่อน-สีแดง-น้ำเงิน หรือสีดำที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ พวกเหมารวมว่า"เคฟล่า"หมด
เราเรียก"คาร์บอนไฟเบอร์" พวกยังมาบอกว่าเราเรียกผิดอีก..........ต้องเรียก"เคฟล่า"....
:evil: :lol: :lol:
zinnoi
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2011, 14:37

Re: Carbon Vs. Aluminium

โพสต์ โดย zinnoi »

สนุกดีครับ คุยกันเรื่องวิศวกรรมของจักรยาน
ที่ว่าอลูฯยังเด้งอยู่หลังจากเสียรูป และคาร์บอนหักเลยไม่เด้งต่อ
กับอลูฯแค่งอ แต่ถ้าเป็นคาร์บอน อาจจะแตก-ขาดเป็นปากฉลาม

อันนี้เราต้องไม่ลืมนะครับว่า"ถูกกระทำด้วยแรงที่มากกว่าถึงเกือบ2เท่า" ตามผลทดสอบในคลิป....

ยกตัวอย่างเท่าที่ผมนึกออกคือ ถ้าอลูฯโดดลงมาจากที่สูงระยะ5เมตรแล้วเสียรูป คาร์บอนต้องโดดสูงกว่านั้นมาก
อาจจะไม่ถึงกับ10เมตร(เท่าตัว)แต่ก็ต้องมากกว่า หรือถ้าระยะเดียวกัน คาร์บอนยังไม่หักแน่นอน

การรับแรงเป็นจุด ด้วยการทิ่มด้วยของแหลมๆ หรือเอาไปฟาดกับแท่นกลึงหรืออะไรซักอย่างในคลิปนั่น
ถ้าเป็นคาร์บอนก็ตามที่เห็น ยังคงรูปอยู่ เรซิ่นข้างนอกอาจจะแตกกระเทาะออก หรือชั้นที่2อาจจะแยกกัน
ถ้าชั้นคาร์บอนด้านในแยกกัน เวลาใช้งานกึ่งหนัก ผมว่ามันคงออกอาการด้วยเสียง หรือการขี่แปลกๆไปจากเดิมจนรู้สึกได้แน่ๆ
แต่ถ้าเป็นอลูฯคงบุบลึกหรืองอ ทั้ง2กรณีระดับโปรคงไม่เอามาใช้ต่อเป็นแน่
ตรงนี้ต้องพิจารณาเป็นตัวๆไปครับ ถ้าพูดถึงในหลักการของวัสดุศาสตร์จริงๆ อาจจะต้องดูกันที่ bulk material ซึ่งผลจะต่างกันมากครับ ในกรณีของจักรยานจริงๆ มีตัวอย่างเยอะมากครับที่เฟรมอลูมินัมขาดเป็นปากฉลาม โดยเฉพาะพวก session หรือ glory ตัวใหม่ๆ ที่รีดท่อให้บางมาก อย่าว่าแต่คอขาดเลยครับ ใน pinkbike เองก็มีตัวอย่างของเฟรมพวกนี้ที่โดนหินบุบง่ายๆกันอยู่ถมเถไป

ตรงนี้เลยกลายเป็นว่าจริงๆแล้ว ไอ้ที่เรานิยามว่าเป็นการรับแรงแบบ"จุด"น่ะ จริงๆแล้วมันคืออะไร? อย่างเช่นการที่ลองเอาเฟรม v10 มาซัดกับแท่นกลึง จริงๆแล้วก็ไม่ต่างจากการเทสแบบปกติ เพราะถ้ามองจริงๆ "จุด" ก็คือ ตรงคอ ณ จุดที่ซัดเข้ากับแท่นกลึง แต่อย่าลืมว่าในกรณีนี้ มันมีมือคนซับจับอยู่อีกข้าง ทำให้เกิด bending moment แล้วก็กลายเป็น gradient ของแรงวิ่งตลอดแนวของเฟรม ซึ่งก็หมายความจริงๆมันก็คือกรณีเดียวกับการที่เอามวลทิ้งใส่คอเฟรมแบบในการเทสนั่นแหละครับ :)

แล้วการรับแรงแบบที่เป็นจุดจริงๆคืออะไร? ก็คือตอนที่หินมันกระเด็นใส่นั่นแหละครับ เพราะในกรณีนั้น bending moment มันน้อยมาก ก็มองเป็นแค่เหมือนมีจุดมาจิ้มลงไปบนเฟรม ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว ถึงแม้ปัจจัยของการขึ้นรูปจะมีผลมาก แต่ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด* โครงสร้างแบบ amorphous ของ คาร์บอนไฟเบอร์ ก็จะได้เปรียบโครงสร้างผลึกของอลูมิเนียมซึ่งถือว่า "นิ่ม" กว่ามาก ทั้งนี้ปัจจัยของการขึ้นรูปมีผลเยอะครับ แต่เอาเข้าจริงแล้ว ผมยังไม่เคยเห็นเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ที่ dent ชัดๆเต็มๆเลย

ผมยกตัวอย่างเรื่องโครงสร้างแบบ amorphous และ ผลึก ที่เป็นความต่างระหว่าง คาร์บอนไฟเบอร์กับอลูมิเนียมขึ้นมา เนื่องจากตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมโยนมวลใส่เฟรมทั้งสองแล้วเฟรมเด้งไม่เท่ากันนั่นแหละครับ ตรงนี้เราเอามาตอบทันทีเลยไม่ได้ว่าอะไรแข็งแรงกว่าอะไรครับ แต่ว่าค่อนข้างชัดเจนว่าสภาวะ elasticity ของคาร์บอนไฟเบอร์เนี่ยต่ำกว่า ซึ่งก็เลยเป็นผลให้พวกเสือหมอบเค้ามานั่งบ่นกันนั่นแหละครับว่า มันย้วยบ้าง สปริ๊นไม่ขึ้นเท่าอลูมินั่มบ้าง :D

ความหล่อของคาร์บอนไฟเบอร์มันก็คือการที่มันถูก หล่อ ขึ้นมาจริงๆนั่นแหละครับ เอาเข้าจริงแล้ว การเอา butted aluminium ไปเทียบกับ carbon fiber อาจจะดูไม่ยุติธรรมเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับว่าขีดจำกัดของการออกแบบทรงของเฟรมครับ v10 ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาการว่า แต่ละ generation ก็แอบเปลี่ยน geometry & shape ด้วยการอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีวัสดุที่พัฒนาขึ้น (butted alu -> hydroformed alu -> carbon fiber)

จะยังไง CFRP ก็มาครับ หลายๆฤดูกาลแข่งผ่านไป ยิ่งมีคนเอามาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไงสุดท้าย อลูมิเนียมก็ยังไม่ตายครับ เฟรมโคตรโหดอย่าง FOES ซึ่งมีเทคนิค hydroforming ที่เทพมากๆก็จะคงกินคาร์บอนไฟเบอร์ในเรื่องความแข็งแรงต่อไปอย่างน้อยในเวลาอันใกล้นี้นะครับ และผมเองก็เชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีแดมเปอร์ที่เจ๋งมากๆแบบ CCDB ความจำเป็นของ margin of safety ของตัวเฟรมเองก็จะทยอยลดบทบาทลงไปด้วยครับ :lol:
ตอบกลับ

กลับไปยัง “Downhill-Freeride”