หน้า 13 จากทั้งหมด 14

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 23 ส.ค. 2015, 20:00
โดย kinfolk
ปักครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 31 ส.ค. 2015, 23:01
โดย เกรียน ชิน
ปัก

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 08 ก.ย. 2015, 08:20
โดย bankipt
ปัก

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 24 ก.ย. 2015, 13:19
โดย nond9972
ปักหมุด

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 29 ก.ย. 2015, 16:09
โดย kibkab2u
ตามอ่านเพลินเลย ได้ความรู้เพียบ^^

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 08 ต.ค. 2015, 09:36
โดย เณรแอร์
-ขอบคุณครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 10 ต.ค. 2015, 16:11
โดย StoneRoses
zzzz เขียน:จากประสพการณ์ ในการปั่นตามดูหลายๆท่านนะครับ :roll: :roll: :roll:
เมื่อเอามายำเข้ากับ paper ในการวัด EMG Signal(สัญญาณกระตุ้นของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ) ที่รอบขาต่างๆกัน
โดยจะเจาะเข้าใปในแต่ละองศาของขาจานกันเลยทีเดียว

คร่าวๆ พอจะสรุปเรื่องของข้อเท้าที่เกิดขึ้นและเป็นไป
ได้ผลประมาณนี้ครับ

1.ลักษณะการใช้ข้อเท้า...ของ นักปั่นมีประสพการณ์แล้ว หรือ ตามธรรมชาติินะเองงงงง
(ในส่วนย่อยของ Prefered Paddle Teachnique : PPT.)
การใช้ข้อเท้าจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยมีปัจจัยหลักๆ สาม ตัว คือ
1.1 รอบขา การใช้รอบขาสูง100+ เวลาต่อรอบน้อย จึงไม่สามารถคุมข้อเท้าให้ดุ๊กดิ๊กๆ ขึ้นลงได้ทัน เลยต้องล็อคข้อเท้าปั่นแทน
1.2 กำลัง ที่รอบขาเดียวกัน ภาระต่างกัน การใช้ข้อเท้าก็จะต่างกัน ยิ่งต้องการกำลังมาก ข้อเท้าจะถูกใช้น้อย เน้นว่าที่รอบขาเดียวกันนะ
1.3 ท่าปั่น ขณะนั่งควง นั่งกด จับดรอป ยืนย่ำ ยืนโยก ยืนสปริ้น ล้วนใช้ข้อเท้าต่างๆกัน
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น และเราคาดว่า น่าจะเอามาเป็ฯแบบอย่างในการฝึกได้...
แต่...

2.การใช้ข้อเท้าที่คาดว่าพึงกระทำ...
(ในส่วนย่อยของ Effective Paddle Teachnique : EPT.)
ยังวิจัยกันอยู่...มั้ง... :roll: :roll: :roll: โดย...
มีการทดลองเปลี่ยนจังหวะการออกแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัด โดยกระทำที่ภาระไม่สูงนัก
เนื่องจากต้องการให้ผู้ทดสอบสามารถเลือกรูปแบบการใช้ข้อเท้าได้เพื่อนำค่าที่ได้ไปทำ IE ( Index Of efficiency)
เขาพบว่า
การปรับการใช้มัดกล้ามเนื้อ รวมถึง ข้อเท้า นั้น
ทำให้ IEi เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

แปลอีกทีว่า
ด้วย pattern การออกแรงแบบ EPT
ผู้ปั่น จ่ายแรงลงไปเท่าดิม แต่ รถ จะได้รับแรงบิดมากขึ้น
หรือ มี ประสิทธิภาพการส่งกำลัง สูงขึ้นนั้นเอง

หากสนใจเรื่องการควงข้อเท้าในเชิงลึกจริงๆ
ลองgoogle ชื่อ paper นี้ แล้วอ่านในรายละเอียดดูนะครับ
เพิ่งออกมาเมื่อปีที่แล้วนี้เอง :mrgreen:
อันนี้ตรงประเด็นเรื่องข้อเท้าที่สุด

อ่านจากหนังสือของ Hunter Allen นักวิทยาศาสตร์การกีฬาชื่อดัง ก็บอกว่าข้อเท้าไม่ได้มีไว้ใช้ใส่แรงเข้าไป อาจจะใช้ได้บ้างที่ระดับกำลังเบาๆ ในลักษณะประคองให้รอบขามันไหลเนียนๆ ได้การออกแรงประสิทธิภาพสูง ส่วนในจังหวะที่พาวเวอร์สูงๆ หรือทอร์คสูงๆ (เช่นยืนโยก) ล็อคข้อเท้าไว้ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่จะดีกว่า เพราะกล้ามเนื้อข้อเท้าเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ (มีหลายส่วน) มันล้าง่าย และบาดเจ็บง่าย โดยเฉพาะนักปั่นที่ไม่ได้วิ่ง หรือเล่นกีฬาที่ต้องวิ่ง กล้ามเนื้อและเอ็นข้อเท้าจะอ่อนแอมากๆ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 10 ต.ค. 2015, 22:09
โดย สมปอง วิศรีปัตน์
soonchai เขียน:แปลกใจถ้าปลดคลีทออกจากบันใดเท้าจะไม่ชาเลย
รองเท้าอาจจะแน่นครับพี่คลายออกหน่อย ถ้ารองเท้าบีบมากก็ชาเท้าครับ และตำแหน่งติดยึดคลีตต้องอยู่ตรงกระดูกนิ้งโป้งเท้าที่นูนด้านข้างครับ สำคัญรองเท้าอย่าให้แน่นมากครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 10 ต.ค. 2015, 22:36
โดย สมปอง วิศรีปัตน์
soonchai เขียน:
neen8124 เขียน:ผมว่าอากาเท้าชามันไม่น่าใช่โรคประจำตัวนะครับ เพราะมันน่าจะเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ขาดหรือเกินอะไรสักอย่างไป

ถ้าตามประสบการณ์ผม อาจจะเป็นเพราะเบาะก็ได้นะ ผมเคยใช้เบาะที่ไม่เจ็บ Sit bone แต่มันกดทับฝีเย็บ
เป็นสาเหตุหลักเลยที่ทำให้เท้าชาง่ายกว่าปกติ เพราะมันเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทหลายจุดเลย
เห็นหลายๆคนบ่นเรื่องเท้าชา แล้วลองเปลี่ยนเบาะก็หายนะครับ

แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ ต่อให้เบาะมันถูกกับก้นเราแค่ไหน ปั่นไปนานๆโอกาสเกิดการชาที่เท้ามันก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ
รวมไปถึงการปั่นระยะทางไกลๆ ที่ต่อให้เบาะเทพแค่ไหน เราก็ทะเลาะกับมันอยู่ดี


หรือถ้าจะให้มองหลุดไปมุมการแพทย์ ก็อาจจะมาจากการขาดสารอาหารบางอย่างไป ที่มันช่วยป้องกันการเกิดอาการเหน็บชาง่าย
แนะนำเป็นวิตามิน B รวม หรือ วิตามิน B 1, 6, 12
ส่วนในด้านอาหารเสริม ก็อาจเป็นพวกข้าวกล้อง เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ ไต และถั่วต่างๆ
เพราะอาหารเสริมและยาเหล่านี้ จะช่วยบำรุงปลายประสาทและแก้อาการชาได้
หรือถ้าเป็นเพราะโรคประจำตัวบางประเภทก็ต้องว่ากันอีกทีครับ
soonchai เขียน: อยู่รังสิตดีจังใกล้สนามซ้อมเส้นยอดนิยมเลย
ผมนานๆจะไปครั้งครับ ปั่นอยู่แต่แถวหน้าสโมสรทหารอากาศ บริเวณสนามบินเล็ก
ไว้ฝึกให้ขาแข็งกว่านี้อีกหน่อยค่อยไปหาเข้ากลุ่มกับเขาบ้างมีเพื่อนผมว่าทำให้พัฒนาขึ้นเร็วหน่อย ขอบคุณมากครับ
ผมปั่นได้ทุกแบบครับ ตาม order ถ้าวันไหนสะดวกมาก็ pm มาได้เลยครับ :D
ขอบคุณมากครับเรื่องขาดสารอาหารวิตะมิน ไม่ขาดแน่นอนครับ อาหาร ไข่ เนื้อสัตว์ของโปรดครับ ยิ่งตอนนี้เน้นโปรตีนมากหน่อยเพราะว่า เสริมกล้ามเนื้อครับ ตามที่ได้อ่านเจอว่าถ้าซ้อมหนักก็ต้องเสริมโปรตีนครับ วิตะมิน B รวมกินทุกเช้าเลย เข้าเซเว่นจะมีเป็นขวดขายครับ มั่นใจครับว่าไม่ขาดวิตมินครับ มีแต่จะเกินครับ

เบาะผมสงสัยมากครับ เพราะเบาะแต่ละตัวที่ลองนั่งมาต่างชาผิดระยะเวลากันครับ ตอนนี้ก็มีเพื่อนสมาชิกใจดีมาก ให้ยืมเบาะselle italia รุ่น flite GEL FLOW มาลองก็ยังไม่หายครับ อยากลองเบาะspecialized romin แต่ไม่กล้าชื้อมาลองกลัวเงิบครับราคามันไม่ใช่ถูกเลยครับ และอีกอย่างกลัวความแข็งครับ ผมเคยนั่งเบาะ SR แข็งๆมาเจ็บปวดก้นมากครับ เหมือนว่ากระดูก sitbone มันเฉือนกับเนื้อก้น ผมเป็นคนเนื่อก้นนิ่มเหลวเนื่องจากน้ำหนักลงไปเยอะเหมือนกันครับประกอบกับคงจะเริ่มแก่เนื้อหนังเลยหย่อนยาน ทำให้นั่งเบาะแข็งแล้วกระดูกก้นกดเฉือนเนื้อจนปวดก้นครับ
หรือไม่ก็ลองหาเบาะ DDK มาลองก่อนราคาไม่แพงเท่าไร เอามาทดสอบยังพอไหวครับ แต่ยังหาร้านไม่ค่อยเจอ
เคยนั่ง veloแบบทรงตรง ปั่นไปอยุธยา รู้สึกว่าชาน้อยหน่อย แต่เบาะมันเล็กไปครับกว้างแค่135 รู้สึกมันแคบไปหน่อย นั่งแล้วหลุดขอบเลยเจ็บเลยขายไปซะเลย เลยยังไม่รู้จะหาเบาะอะไรมาลองเลยครับ
อยากลองเบาะทรงตรงเรียบมีร่องขนาดกว้างสัก140ม.ม มาลองสักหน่อยแต่ยังไม่เจอแบบครับ ผมเองก็สงสัยที่เบาะมากที่สุดครับ เพราะถ้ารู้สึกว่าเบาะกดหว่างขาเมื่อไรจะเริ่มชาเลย ปรับเบาะทิ่มลงมากไปตัวก็เทน้ำหนักลงมือไปซะอีกครับ

ขอบคุณมากครับนักปั่นตาม order วันหน้าคงมีโอกาศได้ไปขอเกาะท้ายบ้างครับ
เรื่องอานเป็นเรื่องใหญ่ครับ เวลาเลือกอานเราต้องเช็คให้ตรงกับกระดูกก้นของเราทั้งสองข้างครับ ถ้ารถพี่ไซด์พอดีไม่คล่อมไซด์นะครับ รางอานต้องอยู่ตรงกลางครับและต้องเอาระดับน้ำจับอย่าให้เชิดหรือคว่ำต้องได้ระนาบพอดีครับ ความสูงของอานตะแคงรถขึ้นคล่อมแล้วเอาส้นเท้ายันให้ขาตึงพอดี ให้เกินได้นิดหน่อยครับ สเต็มยาวไปหรือเปล่าครับ ทั้งหมดนี้อาจจะมีผลเรื่องชาครับ ผมขี่หมอบมา 5890 กว่า กม นิดๆครับ ยังมีมือชาบ้างครับเนื่องจากบางวันกล้ามเนื้อไม่จำตำแหน่งเดิมครับ ผมก็จะใช้วิธีแก้โดยขยับตำแหน่งจับบ่อยหน่อยครับ ก้นชาทุกๆ10-15นาทีก็ขยับก้นขึ้นสักหน่อยครับ พี่ลองเซ็คดูอีกครั้งนะครับเผื่อจะช่วยได้ครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 11 ต.ค. 2015, 08:11
โดย เณรแอร์
รูปภาพ

brook swallow ลองยังครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 05 พ.ย. 2015, 21:37
โดย เสือคาบดาบ
;) :( :o

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 09 ม.ค. 2016, 21:52
โดย ต.เต่า ณ เขาใหญ่
หลังจากอ่านจนตาลายผมนี่ยืนขึ้้นไปชะเงื้อดูขาเลยครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 10 ม.ค. 2016, 03:05
โดย ต.เต่า ณ เขาใหญ่
เป็นตัวช่วยในการฝึกที่ดีครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 17 ม.ค. 2016, 01:29
โดย Gentoo
ขอบคุณครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 09 ก.พ. 2016, 15:27
โดย Bukhanee
ขอบคุณครับ