หน้า 1 จากทั้งหมด 14

การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 06:25
โดย soonchai
อยากทราบว่าการควงขาที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติแบบไหนครับ
ตำแหน่ง 12 น. ถึง 6 น. ล๊อคเกร็งข้อเท้าๆขนานพื้น กดบันใดลง

จากตำแหน่ง 6 น. ปล่อยข้อเท้าจากการล๊อคเกร็งยกส้นเท้าขึ้น เพื่อดึงขึ้นไปตำแหน่ง 12 น. แบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ
ลักษณะเท้าเวลาปั่นมันจะเหมือนเป็นการเล่นข้อเท้า แบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ ผมลองปั่นแบบนี้ รู้สึกว่าไม่ถนัดเลยติดๆขัดๆความเร็วทำไม่ได้เหมือนเดิม(ปกติก็ปั่นไม่ได้เร็วอยู่แล้ว) แต่อาการเท้าชาผมเบาลงไปเยอะเลยครับ
การควงขาเล่นข้อเท้า ถ้าใช่จะต้องทำแบบนี้ไปตลอดทริปการปั่นเลยหรือไม่ครับ จะทำให้้ข้อเท้าบาดเจ็บ หรือว่า ผิดหลักการควงขาหรือไม่ครับ

ปกติผมจะปั่นด้วยการล๊อคเกร็งข้อเท้าทุกจังหวะครับ ทั้งกดและดึง แบบนี้ถูกหรือผิดหลักการครับ

รบกวนขอคำอธิบายเป็นตัวหนังสือครับ คลิปผมดูมาหลายรอบแล้วครับ ดูไม่ออกว่าเขาล๊อคเกร็งหรือปล่อยข้อเท้าหรือไม่ และฟังคลิปภาษาอังกฤษไม่ออกครับ

ขอบคุณมากครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 09:15
โดย Tdf
รูปภาพ
วิธีการควงขาที่สมบูรณ์แบบ

Hip-Knee-Ankle Alignment เมื่อมองมาจากด้านหน้า ทั้งสะโพก-เข่า-ข้อเท้าต้องอยู่ในแนวเดียวกันตลอดเวลาในจังหวะการปั่น ให้เหมือนการขึ้นลงของลูกสูบเครื่องยนต์

โซน 1 (ช่วงสีแดงจากรูปด้านบน) เป็นช่วงทีออกแรงมากที่สุด จังหวะที่เท้าอยู่ในตำแหน่ง 12 - 5 นาฬิกา ต้องใช้กล้ามเนื้อแฮมสตริงออกแรงกดด้วยเพราะมันจะช่วยยืดกล้ามเนื้อสะโพก กุญแจในการเข้าถึงกล้ามเนื้อใหญ่ที่ด้านหลังต้นขาคือการเริ่มกดส้นเท้าลงเมื่อตำแหน่งเท้าเริ่มผ่านที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกานี้ปลายเท้าควรจะชี้ลงประมาณ 20 องศา แต่เมื่อเท้าเริ่มผ่านตำแหน่งสูงสุดแล้ว ให้เริ่มกดส้นเท้าลงให้ขนานกับพื้น และที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกาส้นเท้าควรจะต่ำลงอีกอย่างน้อย 10 องศา ความผิดพลาดส่วนใหญ่ของนักปั่นมือใหม่คือไม่กดตำแหน่งส้นเท้าลงให้มากพอในโซนนี้

โซน 2 (ช่วงสีม่วงจากรูปด้านบน) ที่ตำแหน่งเท้าลงต่ำสุด ใช้กล้ามเนื้อชุดเดียวกับโซน 1 แต่ลดองศาการงอเท้าลง โซนนี้เป็นการเตรียมเปลี่ยนมาเป็นจังหวะดึงเท้าขึ้น เมือถึงตำแหน่งต่ำสุดปลายเท้าควรจะชี้ลง 20 องศา เป็นการส่งต่อพลังจากโซน 1 โดยกล้ามเนื้อชุดใหญ่ไปที่ขาจาน โดยการทำท่าเหมือนการปาดโคลนออกจากรองเท้า

โซน 3 (ช่วงสีฟ้าจากรูปด้านบน) สำหรับนักปั่นส่วนใหญ่แม้ว่าจะรู้สึกเหมือนการดึงเท้าขึ้นแต่จริงๆแล้วไม่ใช่ แต่มักจะเป็นการที่เท้าถูกดันขึ้นด้วยขาบันได เป้าหมายของการฝึกคือการเสียพลังการปั่นให้น้อยที่สุดโดยไม่ให้เท้าอยู่ขวางทาง วิธีการฝึกคือให้ใช้กล้ามเนื้อ hamstring and glute-strengthening lifts and squats หรือการใช้กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาทั้งหมดดึงบันไดขึ้น แต่วิธีการฝึกปั่นด้วยการพยายามควงขาข้างเดียวอาจจะทำให้นักปั่นมือใหม่บาดเจ็บมากกว่าการช่วยฝึก

ตำแหน่งของเบาะนั่ง ระยะความสูงและการปรับเลื่อนหน้า-หลังมีความสำคัญต่อการปั่นควงขาได้อย่างราบรื่น ถ้าเบาะสูงเกินไปจะไม่สามารถบังคับข้อเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเบาะต่ำเกินไปจะทำให้เข่าบาดเจ็บ
ตำแหน่งเบาะที่ถูกต้อง คือ แนวหัวเข่าอยู่ตรงกับปุ่มเท้าที่กดบันไดเมื่อเท้าอยู่ที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และเข่าจะงอเล็กน้อยเมื่อเท้าอยู่ที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา ซึ่งจะส่งกำลังออกมาได้สูงสุดและจะสามารถปรับเทคนิคการควงขาไปยังโซนอื่น พัฒนารอบขา และระดับการออกแรง


โซนที่ 4 (ช่วงสีเขียวจากรูปด้านบน) เป็นจังหวะเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของการยกเท้าขึ้น ให้คิดถึงการเริ่มต้นเข้าสู่จังหวะกดขาลง นักปั่นส่วนใหญ่จะรอจนเท้าถึงตำแหน่งที่ 3 นาฬิกา แต่วิธีที่ถูกต้องควรเริ่มตั้งแต่ที่ตำแหน่งก่อน 12 นาฬิกาเลย เทคนิคคือ เมื่อเท้าเริ่มจะเข้าสู่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ให้ดันเฉพาะเข่าไปด้านหน้าตรงๆ สะโพกจะต้องอยู่นิ่งๆไม่ควรจะกดลงหรือเคลื่อนไปด้านหน้า

ที่มา http://thairoadbike.com/index.php?topic=1001.0

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 10:50
โดย soonchai
ขอบคุณครับอ่านแล้วพอเข้าใจแต่เวลาปฎิบัติมันยากจังครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 11:44
โดย neen8124
บอกตรงๆว่าผมไม่เคยรู้มากก่อนด้วยว่ามีการใช้ข้อเท้าควงลูกบันได เพิ่งจะเคยได้ยินนี่แหละครับ 55555
ไม่แน่ใจว่า จขกท. หมายถึงการควงขาหรือปล่าวนะ...สมมุติว่าหมายถึงการควงขาแล้วกันครับ :mrgreen:

ก็คงต้องเรียกว่า...ควงขาครับ ไม่ใช่ควงเท้า :mrgreen:

ขออธิบายให้ฟังแบบบ้านๆนะครับ :lol:
การควงขาต้องใช้กล้ามเนื้อ"มัดใหญ่"เพื่อยืนความเร็วครับ นั่นคือสะโพกและขาบน
ในขณะที่จังหวะกล้ามเนื้อน่องและข้อเท้าจะเป็นไปตามอัตโนมัติ แต่จะมีกล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยรับภาระในบางส่วนเท่านั้น
ส่วนข้อเท้าต้องปล่อยตามสบายไม่เกร็ง สังเกตจากนิ้วเท้าเราจะสามารถกระดิกได้แบบสบายๆ ในขณะควงขาอยู่

ภาษาในกลุ่มผมคือ "ใช่ตูดปั่น" :lol: :lol: :lol:

ลองดูจากรูปครับจะได้เห็นภาพ
รูปภาพ

จากรูปสังเกตุดูนะครับ ว่ามัดเล็กจะใช้ในจังหวะ ไส / ลาก / ดึง เท่านั้น
ส่วนจังหวะการกดจะใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่แทบจะทั้งหมด

ส่วนตัวแนะนำให้กล้ามเนื้อมัดเล็ก(น่อง) เก็บไว้ยิงหรือกระชากเท่านั้นครับ
เพราะพลังงานจากกล้ามเนื้อมัดเล็กมีค่อนข้างจำกัด
ถ้าใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อมัดเล็กหมดก่อน นรกจะถามหาแน่นอน :twisted:

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 12:32
โดย soonchai
ชักงงแล้วซิครับ การใช้กล้ามเนื้อผมก็ไม่รู้ว่าส่วนไหนบ้างก็ถีบๆปั่นๆไป แต่ไม่เข้าใจเรื่องจังหวะใช้ข้อเท้าเคลื่อนไหวครับ
อย่างที่บอกว่า ใช้แรงกดบันใดมากไปทำให้เท้าชา จะต้องใช้การควงขาแทน ลดแรงกดบันใดลง จังหวะที่ใช้ข้อเท้า ไส กด ดึง ลาก นี่แหละครับ ที่ผมไม่เข้าใจว่าต้องบังคับข้อเท้าให้ล๊อคไว้ตลอดเวลาหรือไม่ ครับ
ส่วนการใช้กล้ามเนื้อมัดต่างๆผมไม่รู้จะไปบังคับมันอย่างไรครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 12:43
โดย ice5509876
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่นำมาให้ศึกษาครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 13:13
โดย neen8124
soonchai เขียน:ชักงงแล้วซิครับ การใช้กล้ามเนื้อผมก็ไม่รู้ว่าส่วนไหนบ้างก็ถีบๆปั่นๆไป แต่ไม่เข้าใจเรื่องจังหวะใช้ข้อเท้าเคลื่อนไหวครับ
อย่างที่บอกว่า ใช้แรงกดบันใดมากไปทำให้เท้าชา จะต้องใช้การควงขาแทน ลดแรงกดบันใดลง จังหวะที่ใช้ข้อเท้า ไส กด ดึง ลาก นี่แหละครับ ที่ผมไม่เข้าใจว่าต้องบังคับข้อเท้าให้ล๊อคไว้ตลอดเวลาหรือไม่ ครับ
ส่วนการใช้กล้ามเนื้อมัดต่างๆผมไม่รู้จะไปบังคับมันอย่างไรครับ
ดูจากรูปที่ผมโพสต์ไว้ในการควงขา สังเกตดูวาจะไม่มีการใช้ข้อเท้าเลยนะครับ
อย่างที่บอก ว่าข้อเท้าเราจะหมุนไปของมันเองตามจังหวะการกดของขาเรา ไม่จำเป็นต้องไปบังคับมันแต่อย่างใดครับ
ปล่อยให้เท้าเราลัลล้าไป ไม่ต้องเกร็ง :lol:

เพราะในการควงขาที่ความเร็ว 35-40 แน่นอนว่าร่างกายจะไม่ได้เอาพลังงานจากไขมันมาใช้แล้วครับ
จะใช้ไกลโคเจนจากกล้ามเนื้อของเรามาเป็นพลังงานหลัก ในกรณีที่เรายืนความเร็วสูงนานๆ กล้ามเนื้อมัดเล็กเช่น น่อง
จะรองรับการใช้พลังงานสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานไม่ได้ เราจึงต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการยืนความเร็วที่ต้อเนื่อง
เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก็เหมือนกับถังพลังงงานลูกใหญ่ ที่มีแหล่งพลังมาเยอะกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก เหมือนๆกับถังแก๊ส LPG ยังไงยังงั้น

แค่เรารู้ว่าต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนไหนปั่นอย่างไร ก็พอแล้วครับ
ก็ค่อยๆเอาไปฝึก จนเป็นนิสัย ไม่ต้องรีบร้อน :mrgreen:


ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ผู้รู้นะครับ แค่มาแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว :lol:

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 13:28
โดย soonchai
ขอบคุณมากครับที่ผ่านมาผมจะไปกังวลใส่ใจกับข้อเท้ามา คอยจะสังเกตุว่าข้อเท้าผมใช้เหมือนในคลิปที่เขาสอนหรือยัง ก็เลยมีการเกร็งข้อเท้าเพื่อบังคับให้มันไปตามจังหวะต่างๆโดยไม่ได้สนใจว่าจะใช้กล้ามเนื้อส่วนไหน เดี่ยวปั่นครั้งหน้าจะลองดูใหม่ครับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 14:48
โดย kritsang
ผมปั่นกับลูกชาย 9 ขวบ มองดูข้อเท้าสเต็ปมันขึ้นลงเหมือนในคลิปเลย ทั้งที่เพิ่งปั่นมาได้ไม่ถึงอาทิตย์
เลยมานึกดูว่าปล่อยไปตามธรรมชาติเถอะอย่าไปกังวลหรือเกร็งมาก ข้อเท้าจะไปตามจังหวะของมันเอง :D


Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 15:07
โดย zzzz
จากประสพการณ์ ในการปั่นตามดูหลายๆท่านนะครับ :roll: :roll: :roll:
เมื่อเอามายำเข้ากับ paper ในการวัด EMG Signal(สัญญาณกระตุ้นของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ) ที่รอบขาต่างๆกัน
โดยจะเจาะเข้าใปในแต่ละองศาของขาจานกันเลยทีเดียว

คร่าวๆ พอจะสรุปเรื่องของข้อเท้าที่เกิดขึ้นและเป็นไป
ได้ผลประมาณนี้ครับ

1.ลักษณะการใช้ข้อเท้า...ของ นักปั่นมีประสพการณ์แล้ว หรือ ตามธรรมชาติินะเองงงงง
(ในส่วนย่อยของ Prefered Paddle Teachnique : PPT.)
การใช้ข้อเท้าจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยมีปัจจัยหลักๆ สาม ตัว คือ
1.1 รอบขา การใช้รอบขาสูง100+ เวลาต่อรอบน้อย จึงไม่สามารถคุมข้อเท้าให้ดุ๊กดิ๊กๆ ขึ้นลงได้ทัน เลยต้องล็อคข้อเท้าปั่นแทน
1.2 กำลัง ที่รอบขาเดียวกัน ภาระต่างกัน การใช้ข้อเท้าก็จะต่างกัน ยิ่งต้องการกำลังมาก ข้อเท้าจะถูกใช้น้อย เน้นว่าที่รอบขาเดียวกันนะ
1.3 ท่าปั่น ขณะนั่งควง นั่งกด จับดรอป ยืนย่ำ ยืนโยก ยืนสปริ้น ล้วนใช้ข้อเท้าต่างๆกัน
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น และเราคาดว่า น่าจะเอามาเป็ฯแบบอย่างในการฝึกได้...
แต่...

2.การใช้ข้อเท้าที่คาดว่าพึงกระทำ...
(ในส่วนย่อยของ Effective Paddle Teachnique : EPT.)
ยังวิจัยกันอยู่...มั้ง... :roll: :roll: :roll: โดย...
มีการทดลองเปลี่ยนจังหวะการออกแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัด โดยกระทำที่ภาระไม่สูงนัก
เนื่องจากต้องการให้ผู้ทดสอบสามารถเลือกรูปแบบการใช้ข้อเท้าได้เพื่อนำค่าที่ได้ไปทำ IE ( Index Of efficiency)
เขาพบว่า
การปรับการใช้มัดกล้ามเนื้อ รวมถึง ข้อเท้า นั้น
ทำให้ IEi เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

แปลอีกทีว่า
ด้วย pattern การออกแรงแบบ EPT
ผู้ปั่น จ่ายแรงลงไปเท่าดิม แต่ รถ จะได้รับแรงบิดมากขึ้น
หรือ มี ประสิทธิภาพการส่งกำลัง สูงขึ้นนั้นเอง

หากสนใจเรื่องการควงข้อเท้าในเชิงลึกจริงๆ
ลองgoogle ชื่อ paper นี้ แล้วอ่านในรายละเอียดดูนะครับ
เพิ่งออกมาเมื่อปีที่แล้วนี้เอง :mrgreen:

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 15:51
โดย Rhapsody
ขอบคุณมากๆครับ กระจ่างเลย

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 16:47
โดย sakolt
มีประโยชน์มากคับ

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 17:13
โดย dumber
neen8124 เขียน: รูปภาพ
บอกตรงๆว่าผมไม่เคยรู้มากก่อนด้วยว่ามีการใช้ข้อเท้าควงลูกบันได เพิ่งจะเคยได้ยินนี่แหละครับ 55555
ไม่แน่ใจว่า จขกท. หมายถึงการควงขาหรือปล่าวนะ...สมมุติว่าหมายถึงการควงขาแล้วกันครับ :mrgreen:

ก็คงต้องเรียกว่า...ควงขาครับ ไม่ใช่ควงเท้า :mrgreen:

ขออธิบายให้ฟังแบบบ้านๆนะครับ :lol:
การควงขาต้องใช้กล้ามเนื้อ"มัดใหญ่"เพื่อยืนความเร็วครับ นั่นคือสะโพกและขาบน
ในขณะที่จังหวะกล้ามเนื้อน่องและข้อเท้าจะเป็นไปตามอัตโนมัติ แต่จะมีกล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยรับภาระในบางส่วนเท่านั้น
ส่วนข้อเท้าต้องปล่อยตามสบายไม่เกร็ง สังเกตจากนิ้วเท้าเราจะสามารถกระดิกได้แบบสบายๆ ในขณะควงขาอยู่

ภาษาในกลุ่มผมคือ "ใช่ตูดปั่น" :lol: :lol: :lol:

ลองดูจากรูปครับจะได้เห็นภาพ
รูปภาพ

จากรูปสังเกตุดูนะครับ ว่ามัดเล็กจะใช้ในจังหวะ ไส / ลาก / ดึง เท่านั้น
ส่วนจังหวะการกดจะใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่แทบจะทั้งหมด

ส่วนตัวแนะนำให้กล้ามเนื้อมัดเล็ก(น่อง) เก็บไว้ยิงหรือกระชากเท่านั้นครับ
เพราะพลังงานจากกล้ามเนื้อมัดเล็กมีค่อนข้างจำกัด
ถ้าใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อมัดเล็กหมดก่อน นรกจะถามหาแน่นอน :twisted:
ขอบคุณข้อมูล เจ้าของกระทู้และผู้ตอบทุกท่านด้วย
และรบกวนถามท่าน neen8124 เพิ่มเติมอีกครับ ความหมายการใช้ตูดปั่นคือการใช้กล้ามเนื้อก้น A ใช่ไหม
แล้ววิธีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นเราต้องจัดท่านั่งท่าปั่นยังไง คือผมอยากปั่นยาวๆโดยใช้มัดกล้ามเนื้อใหญ่มาเป็นตัวส่งแรงอย่างที่ท่าน neen8124 บอก

ขอบคุณมากครับผม. :D

Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 17:55
โดย neen8124
dumber เขียน:
neen8124 เขียน: รูปภาพ
บอกตรงๆว่าผมไม่เคยรู้มากก่อนด้วยว่ามีการใช้ข้อเท้าควงลูกบันได เพิ่งจะเคยได้ยินนี่แหละครับ 55555
ไม่แน่ใจว่า จขกท. หมายถึงการควงขาหรือปล่าวนะ...สมมุติว่าหมายถึงการควงขาแล้วกันครับ :mrgreen:

ก็คงต้องเรียกว่า...ควงขาครับ ไม่ใช่ควงเท้า :mrgreen:

ขออธิบายให้ฟังแบบบ้านๆนะครับ :lol:
การควงขาต้องใช้กล้ามเนื้อ"มัดใหญ่"เพื่อยืนความเร็วครับ นั่นคือสะโพกและขาบน
ในขณะที่จังหวะกล้ามเนื้อน่องและข้อเท้าจะเป็นไปตามอัตโนมัติ แต่จะมีกล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยรับภาระในบางส่วนเท่านั้น
ส่วนข้อเท้าต้องปล่อยตามสบายไม่เกร็ง สังเกตจากนิ้วเท้าเราจะสามารถกระดิกได้แบบสบายๆ ในขณะควงขาอยู่

ภาษาในกลุ่มผมคือ "ใช่ตูดปั่น" :lol: :lol: :lol:

ลองดูจากรูปครับจะได้เห็นภาพ
รูปภาพ

จากรูปสังเกตุดูนะครับ ว่ามัดเล็กจะใช้ในจังหวะ ไส / ลาก / ดึง เท่านั้น
ส่วนจังหวะการกดจะใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่แทบจะทั้งหมด

ส่วนตัวแนะนำให้กล้ามเนื้อมัดเล็ก(น่อง) เก็บไว้ยิงหรือกระชากเท่านั้นครับ
เพราะพลังงานจากกล้ามเนื้อมัดเล็กมีค่อนข้างจำกัด
ถ้าใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อมัดเล็กหมดก่อน นรกจะถามหาแน่นอน :twisted:
ขอบคุณข้อมูล เจ้าของกระทู้และผู้ตอบทุกท่านด้วย
และรบกวนถามท่าน neen8124 เพิ่มเติมอีกครับ ความหมายการใช้ตูดปั่นคือการใช้กล้ามเนื้อก้น A ใช่ไหม
แล้ววิธีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นเราต้องจัดท่านั่งท่าปั่นยังไง คือผมอยากปั่นยาวๆโดยใช้มัดกล้ามเนื้อใหญ่มาเป็นตัวส่งแรงอย่างที่ท่าน neen8124 บอก

ขอบคุณมากครับผม. :D
คำว่าใช้ตูดปั่นผมเรียกกันขำๆในกลุ่มนะคร้าบ 555 เอามาอ้างอิงเป็นศัพท์เทคนิคไม่ได้นะเออ :lol: :lol:

กล้ามเนื้อส่วน A กับ B จะทำงานร่วมกันในจังหวะคาบเกี่ยวกัน ในช่วงที่เราส่งแรงกดลูกบันไดครับ
ซึ่งจังหวะมันจะสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติของการเคลื่อนไหวของมนุษย์โดยปกติ
อันนี้ไม่ต้องไปอิงวิทยาศาสตร์มากนัก มันปวดหัว :lol: ให้เน้นตามสัญชาตญาณเป็นหลัก

ส่วนการนั่งปั่นนั้น นั่งส่วนไหนของเบาะก็ได้ครับ ตามที่เราถนัด
องศาลำตัวจะผิดเพี้ยนไปสักหน่อย ก็ไม่ได้เกิดผลเสียมากมายครับ
แต่ไม่ว่าจะนั่งท่าไหน กล้ามเนื้อส่วนนี้ทำงานได้ทั้งหมดครับ ทั้งจับ top bar / shifter / drop bar

ลองดูท่าของ เซอ วิกโก้ครับ ตอนลากนี่ชัดมากๆ
ให้สังเกตตรงลำตัวว่าจะมีการเอี้ยวนิดๆเพื่อส่งกำลังไปยังกล้ามเนื้อทุกๆมัดทำงานเต็มที่ สำหรับ Stage หน้าเส้น
แถมพี่แกยังหนีบเข่าเข้าหาเฟรมอีกแน่ะ เพื่อความแอร์โร่ :lol: :lol:

ในขณะที่นักปั่นบางคน ใช้เพียง"น่อง" ที่เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก
กดลูกบันไดเพื่อส่งแรงเท่านั้น ในการยืนความเร็วสูงๆ ทั้งตอนลากและตอนหมก
ผลที่ตามมาติดคืออาการ "หมด" แล้วก็ "หลุด" ในกรณีดูดหัวลากแข็งๆ :D
แต่ถ้าลากเอง ความเร็วก็จะตกไวมาก ถ้าใช้มัดเล็กในการส่งแรง


Re: การใช้ข้อเท้าในการ ควงขา

โพสต์: 26 มี.ค. 2014, 18:31
โดย MarioSeed
ตอนนี้กำลังฝึกควงขาอยู่ครับ แต่บอกตรงๆผมเองจับความรู้สึกของการควงไม่ได้ บอกไม่ได้จริงๆว่าใช้กล้ามเนื้อส่วนไหนบ้าง แต่พยายามปล่อยให้เป็นธรรมชาติที่สุด ละก็ติดนิสัยเกร็งข้อเท้าเหมือนกำลังจะเตะบอลด้วย บังคับให้ข้อเท้าอยู่นิ่งๆไม่ได้ เหมือนกับว่าใช้ข้อเท้ามากว่าขาซะอีก ถ้าให้ปั่นแบบไม่คิดอะไรจะทำได้นี้นะ แต่พอตั้งใจจาควงขาขึ้นมาเละเลย เหนื่อยเร็วด้วย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ใช้ตะกร้อไม่เคยมีปัญหาเลย ท่านใดพอจะแนะนำได้บ้างครับ

แต่ตามข้อความด้านล่างนี้ บางครั้งจับความรู้สึกนี้ได้จริงๆครับเหมือนเราไม่ได้ออกแรงแต่ขาจานมันดันขาเราขึ้นจิง แต่พอพยายามจะทำให้เป็นแบบนี้ตลอดกลับทำไม่ได้
Tdf เขียน:รูปภาพ โซน 3 (ช่วงสีฟ้าจากรูปด้านบน) สำหรับนักปั่นส่วนใหญ่แม้ว่าจะรู้สึกเหมือนการดึงเท้าขึ้นแต่จริงๆแล้วไม่ใช่ แต่มักจะเป็นการที่เท้าถูกดันขึ้นด้วยขาบันได เป้าหมายของการฝึกคือการเสียพลังการปั่นให้น้อยที่สุดโดยไม่ให้เท้าอยู่ขวางทาง วิธีการฝึกคือให้ใช้กล้ามเนื้อ hamstring and glute-strengthening lifts and squats หรือการใช้กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาทั้งหมดดึงบันไดขึ้น แต่วิธีการฝึกปั่นด้วยการพยายามควงขาข้างเดียวอาจจะทำให้นักปั่นมือใหม่บาดเจ็บมากกว่าการช่วยฝึก