คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
demolisher
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6663
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:38
Bike: Cannondale, Trek, Gary Fisher

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย demolisher »

มันอดรู้สึกไม่ได้ว่าบางท่านมองคอมโพสิตด้วยอคติแทนที่จะมองด้วยสติและปัญญาอะครับ เห็นมานานแระ ทำอย่างกับว่าเขาลดสเป็คเพื่อให้มันเบาอย่างนั้นแหละครับ ทำอย่างกับว่าคนซื้อนี่มีเงินอย่างเดียวไม่ได้ด้วยนะ ต้องคิดน้อยๆ รู้น้อยๆ มองแต่ความเบาแต่ไม่รักตัวเอง ไม่ดูความแข็งแรง บางท่านยังฝังใจเชื่อไปว่ามันมีอายุ (ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าวงเสือหมอบยังคุยกันเรื่องอายุเฟรมคาร์บอนอยู่เลยอะ :o :o :o :o :o ) บางคนยังคิดว่ายังไงโลหะต้องทนที่สุดเสมอไป ติดว่าวัสดุอื่นจะพัฒนาช้าเหมือนโลหะและสู้โลหะไม่ได้อยู่เล้ยยยย :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:

ของที่ขายเจ้าที่มี "มาตรฐาน" เขากำหนดมาตรฐานไว้ตั้งแต่ตอนออกแบบไปจนถึงผลิตอยู่แล้วอะครับ ถ้าหลักอานหรือบันไดหรืออื่นๆ ที่เน้นเบามากๆ หรือเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่กำหนดน้ำหนักสูงสุดไว้แล้วเราใช้เกินก็เรื่องหนึ่ง เขาผลิตตกสเป็คก็เรื่องหนึ่ง ถูกไหมครับ น้ำหนักท่านเจ้าของกระทู้แค่ 117 kg เอง ยังมีคนหนักกว่านี้อีกเยอะครับ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:


ผมไม่ได้ต่อต้านโลหะนะครับ มันเหมาะกว่าในบางสถานการณ์และบางเงื่อนไข แต่ผมแน่ใจว่าเฟรมจักรยานปัจจุบันนี้ "คาร์บอน" เป็นหนึ่งในวัสดุที่ดีที่สุดเหมาะที่สุดและทนที่สุดครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย lucifer »

:mrgreen: :mrgreen:

ความจริงในโลกใบนี้ ยังมีคนที่อคติกับสารอโลหะอยู่อีกมากมายครับ ทั้งๆที่เสื้อเกราะกันกระสุนก็ทำมาจากสารอโลหะ ตัวถังรถแข่ง F1 ก็ทำจากอโลหะ
ถ้าพิจารณาองคาพยบของสิ่งที่เอามาทำคาร์บอนไฟเบอร์กันแล้ว ตัวเส้นใยที่นำมาทำนั้น มีค่าความแข็ง/น้ำหนัก หรือ ความแข็ง/พื้นที่หน้าตัด หรือ ความแข็ง/ปริมาตร ที่สามารถเอาชนะน้อคโลหะได้อย่างไม่ต้องใช้กรรมการมายืนนับให้ถึง 10 ด้วยซ้ำไป , สาร epoxy resin ที่นำมาเป็นตัวเชื่อมประสานเอง เมื่อแข็งตัวได้ที่แล้ว ก็มีความแข็งแรงกว่ารอยเชื่อมของโลหะที่มีน้ำหนักเท่ากัน

อายุการใช้งานของวัสดุ มีอะไรเป็นสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง

1. repetitive motion หรือ การขยับตัวแบบซ้ำๆซากๆ เช่น เราเอาลวดมาหักบิดไปบิดมา สักพักลวดก็ขาด แต่สำหรับจักรยานแล้ว เฟรมไม่ได้บิดตัวถึงขนาดนั้น แต่จะเป็นการบิดตัวในลักษณะที่มีระยะขจัดของการขยับตัวที่น้อยกว่ามากๆ แต่ก็สะสมแล้วทำให้เกิดความเครียดได้ จนถึงจุดๆหนึ่งก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า fatigue failure ซึ่งในทางทฤษฏีแล้วไททาเนียมจะเจ๋งที่สุด ตามมาด้วยโครโมลี่ อลูมิเนียม แต่ไม่มีใครกล้าเอาคาร์บอนไฟเบอร์ไปเสียบไว้ เหตุผลเพราะว่าคาร์บอนไฟเบอร์ไม่ได้มีคุณสมบัติตายตัว แต่มันถูกกำหนดคุณสมบัติมาในตอนที่สร้างขึ้น คือ กำหนดว่าจะให้มันถูกสร้างมาเป็นรูปทรงใด จะให้มันแข็งมากน้อยแค่ไหน จะให้รับแรงกระทำในด้านใด เรื่องจริงเรื่องหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน เคยมีความข้องใจกันถึงขนาดเอาเฟรมเสือหมอบที่เป็นเฟรมระดับทอป 10 เฟรม มาเข้าเครื่องไฮดรอลิคแล้วจับเฟรมบิดซ้าย บิดขวา ใครทนได้เกิน 100,000 cycles ก็จะเพิ่มแรงบิดขึ้นอีก แล้วจับบิดอีก 100,000 cycles จึงพอ ก็ปรากฏว่าเฟรมที่ทนทานผ่านศึก 200,000 cycle นี้ได้ กลับกลายเป็นเฟรมที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ของTrek , เฟรมอลูมิเนียม CAADของ Canondale ส่วนเฟรมโครโมลี่ก็ไม่รอด เฟรมโลหะดีๆดังๆแพงๆอีกหลายเฟรมที่แตกตั้งแต่ยังไม่ผ่าน 100,000 รอบแรกด้วยซ้ำไป การแตกหักของเฟรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดที่ตัวท่อเลย แต่เกิดที่รอยเชื่อม จุดบรรจบ หรือ จุดที่เป็น HAZ ( heat-affecting zone ) ทั้งสิ้น จากการทดสอบอันนี้ทำให้ความแคลงใจของคาร์บอนไฟเบอร์ลดลงไปเยอะ ( อย่างน้อยสิ่งที่เรียกว่า delamination หรือ การแยกชั้นของคาร์บอนไฟเบอร์ ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้นก่อนการแตกร้าวของรอยเชื่อมในเฟรมโลหะ )

2. Aging หรือ การเสื่อมตามอายุขัย สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ซับซ้อน ส่วนผสมที่เป็นจุดอ่อน ก็คือจุดอ่อนของสิ่งนั้น จุดอ่อนของคาร์บอนไฟเบอร์ก็คือ epoxy resin ซึ่งคำถามก็คือ อายุขัยของมันนานแค่ไหน ??? ไม่มีใครเคยกล้าประมาณการแบบฟันธง โดยไม่มีคำว่า "คิดว่า เชื่อว่า น่าจะ" เลยสักที เพราะพูดทีไรก็ น่าจะ 20 ปี , เชื่อว่าเกิน 10 ปี อะไรแบบนี้เป็นต้น , แต่ที่แน่ๆก็คือ รังสี UV และความร้อนนี่แหละที่เป็นตัวบั่นทอนอายุขัยของมัน เพราะวัสดุที่นำมาใช้ทำจักรยานไม่ได้ถูกออกแบบมาเป็นชิ้นส่วนของจรวดหรือเครื่องบิน เนื่องจากมันไม่จำเป็นต้องรับบทโหดแบบนั้น ( สร้างตามrequirement ) ถ้ามีคนเสียสติเอาเฟรมคาร์บอน กับเฟรมอลูมิเนียม ไปทิ้งตากแดดไว้ในทะเลทรายซาฮาร่า แบบนี้ค่อยน่าจะ"คิดว่า"คาร์บอนไฟเบอร์คงจะเสื่อมสภาพไปก่อน

3. Accident &, Abuse ตรงนี้เป็นอะไรที่ไม่มีใครกล้ารับประกันในเรื่องนี้ สำหรับท่อคาร์บอนไฟเบอร์แล้ว เสียเปรียบโลหะในเรื่อง ไม่ทนทานต่อการถูกบีบรัดจากแคลมป์ การใช้งานที่ผิดวิธี ( abuse ) เช่น ใช้แคลมป์รัดด้วยแรงกวดของสกรูที่มากเกินกว่าค่าที่ระบุไว้ ก็ย่อมจะทำให้ผิววัสดุเกิดการยุบตัวลง เกิดเป็นรอย เกิดเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการแตกหักได้ในอนาคต , ส่วน Accident ในลักษณะที่ทำให้เฟรมชำรุดนั้น เฟรมโลหะอาจจะคดงอ บิดผิดรูป ส่วนเฟรมคาร์บอนอาจจะแตก ร้าว หัก แต่ที่แน่ๆคือ โยนทิ้งเหมือนกัน ( แต่เฟรมคาร์บอนแตกหักในบางลักษณะ ยังซ่อมแซมได้นะครับ เพียงแต่บางคนอาจจะเลือกโยนทิ้ง ) เพียงแต่ในworst case นั้น การฝืนใช้งานเฟรมที่มีการดัดแปลง เฟรมที่มีdefect เฟรมคาร์บอนหรือชิ้นส่วนคาร์บอนจะแตกหัก ทำให้เสียการควบคุมจักรยาน นำมาซึ่งอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ในขณะที่ชิ้นส่วนโลหะอาจจะร้าว บิดงอ เสียรูป อาจจะยังพอควบคุมจักรยานได้หรืออาจจะเสียความสามารถในการควบคุมไปเลยก็ได้เช่นกัน


ผมว่าถ้าพิจารณากันตามเนื้อแท้แห่งการออกแบบแล้ว เฟรมที่ทำมาจากวัสดุใดๆก็ตาม ก็ล้วนแต่รับน้ำหนักสูงสุดได้ใกล้เคียงกัน เพราะมันเป็นเรื่องของการค้าที่ต้องทำอะไรก็ตามให้เหมาะสมกับสเปคการใช้งาน ไม่ทำมากกว่านั้น แต่ก็ต้องไม่ทำน้อยกว่านั้น

อยากจะเลือกใช้วัสดุใด ก็ต้องเข้าใจว่า วัสดุนั้นๆมีข้อจำกัดใด มีข้อได้เปรียบใด มีข้อห้ามใด

คิดด้วยปัญญา ตามมาด้วยเหตุผล แล้วจึงเอาอารมณ์มาเกี่ยวข้องทีหลัง ( เช่น ชอบสีนั้น ลายนี้ ยี่ห้อโน้น เป็นต้น :lol: )
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
demolisher
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6663
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:38
Bike: Cannondale, Trek, Gary Fisher

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย demolisher »

เหมือนผมคุยกับพี่ lucifer สองคนเลยเนอะ 5 5 5 5 แต่เราไม่ได้เถียงกันนะ


คืองี้ ถ้าคิดแบบนึกฝันเอา (subjective) ลองเอาเฟรมโครโมลี่ เฟรมอลูฯ กับเฟรมคาร์บอนฯ มาฝังในกองขยะอ่อนนุชแข่งกันก็ได้ว่าอะไรจะไปก่อนกัน ผมให้โครโมลี่ไม่เกินปีหนึ่งด้วย ให้ชุบกันสนิมแบบสุดยอดไอออน (ใช้เทคโนโลยีประจุไฟฟ้า) ด้วย อลูฯ ทนได้นานกว่าหน่อย ผมเดาว่า CFRP จะอยู่ได้จนเกินอายุเราละกัน จะได้รู้กันว่าของที่ไม่ยอมย่อยสลายง่ายนั้นเป็นยังไง หึหึ คือถ้าพวกสีภายนอกตลอดจนรองพ้ืน (primer) เสียนั้นไม่นับนะครับ เพราะว่าเนื้อมันไม่เสียหรอก หรือถ้าคิดในเชิงวิศวกรรม เขาอาจทดสอบโดยการฉีดน้ำเกลือ (NaCl) หรือจุ่มที่ความเข้มข้นที่กำหนด ทุกๆ กี่นาที ในภาวะปิด คุมสภาพแวดล้อม และอื่นๆ เพื่อจำลองสภาพรุนแรง (severe) แทนการใช้งานจริง ซึ่งถ้าเทียบเป็นการใช้ในภาวะทั่วไปอาจจะเสมือน 20 ปีหรืออื่นๆ ถ้าใช้ริมทะเลหรือใช้ในเรือเดินสมุทรก็อาจจะสั้นกว่านั้นซักครึ่งหนึ่งหรืออะไรก็สุดแล้วแต่ ไม่ได้ทดสอบยากเลยครับ หรืออย่างเรื่องของแสงไม่ว่าจะความยาวคลื่นไหนเขาก็มีสารที่ไม่ว่าจะดูดซับหรือสะท้อนออก ประมาณว่ามันไม่ได้พัฒนายากเท่าพวกโลหะด้วยซ้ำ ทำไมมันจะทนไม่ได้ ให้ทนอุณหภูมิสูงกว่าโลหะยังทำได้สบายๆ เล้ย ถูกไหมครับ จริงอยู่ว่าโลหะอาจจะ "ดูเหมือน" ว่าทนกว่าแต่ว่าไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างนั้นเสียที่ไหนและก็ไม่ใช่เรื่องที่นึกฝันเอาอย่างที่หลายๆ คนชอบทำแล้วเอามาเที่ยวพ่นหรือชี้นำชาวบ้านผิดๆ อะครับ


ผมว่าหน่วยงานมาตรฐานระดับโลกเขามีทดสอบกันอยู่แล้วกระมังครับ ไม่ว่าจะ UL SI หรือ TUV (อันที่จริงไม่รู้ว่าเขาน่าจะเขียนว่า TUEV หรือเปล่าเนาะ) อย่างเครื่องบินโดยสารเขามีใช้ CFRP กันลำหนึ่งๆ หลายสิบตันนะครับ ถ้ามันมีอายุจำกัดหรือไม่ปลอดภัยเขาคงไม่กล้าใช้กันกระมังครับ (http://en.wikipedia.org/wiki/787_Dreaml ... _materials)



ส่วนเรื่องการแตกหักเสียหาย ผมว่ามันเป็นเรื่องของลักษณะสมบัติมากกว่าเรื่องของความปลอดภัยกระมังครับ บางอย่างยุบตัวเพื่อเปลี่ยนรูปของพลังงานแต่บางอย่างก็จะเน้นให้แตกหัก ไม่ได้เกี่ยวกับว่าดีหรือไม่ดีเสียหน่อย หรือใช่ว่าโครโมลี่ทนแรงบีบได้ ผมเห็นมาแล้ว...เจ้ารถ Top Fuel คันที่ใช้โฆษณา ปตท. น่ะ ปิดกันให้แซ่ด มันออกตัว 0-60 ft แรกไม่ดี พวกก็เอาตะกั่วไปถ่วงที่หลังคนขับใกล้ๆ เครื่องโดยไปหนีบไว้ที่โครงโครโมลี่นั่นแหละ ผลคือรถที่โฆษณาคันนั้นไม่อยู่นานแล้วนะครับ มันขาดฉิบหายไปตั้งแต่ก่อนโฆษณานี้จะออกอากาศด้วยซ้ำ โชคดีมากๆ ที่คนขับรอด โครโมลี่มันก็ทนแรงบีบไม่ได้เหมือนกันแหละ ข้อกำหนดคือ "เชื่อม" เท่านั้นครับ ท่านที่เชียร์โครโมลี่นักหนารู้ข้อจำกัดนี้หรือเปล่า ผมเผาโครโมลี่หลายๆ เรื่องจะได้รู้เรื่องจริงๆ บ้างจะรับกันได้หรือเปล่าล่ะครับ :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
รูปประจำตัวสมาชิก
phongsiri
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5786
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 11:25
Tel: -
team: Nong Khai Cycling Club

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย phongsiri »

ความรู้ทั้งนั้น ครับ
ชีวิตที่ผ่านมานั้นมันคุ้มค่าจริงหรือ และตอนนี้ได้ทำอะไรเพื่อจะก้าวต่อไปแล้วหรือยัง
If not now. When? Let's get start.
คิดมากเกินไป ก็ออกทะเลไปเรื่อยๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
BikeAof
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 22:11
Bike: Specialized Sirrus

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย BikeAof »

จะออกหมอบเหรอคับ ??

ความเห็นส่วนตัวนะคับ อันนี้ ..อาจจะผิดก้อได้
น้ำหนักขนาดนี้ สูงเท่าไหร่ครับ.. ถ้าอ้วนมาก แล้วจุดประสงค์ที่จะขี่จักรยานเพื่อลดน้ำหนัก ผมว่าไม่น่าไปเริ่มที่หมอบนะคับ ด้วยท่าทางที่จะต้องปั่นแบบก้มตัว .. ลักษณะการปั่น ..และอื่นๆ

ยี่ห้อในเวบนี้หลายๆยี่ห้อ คงได้หมดล่ะคับ ลองให้ข้อมูลมากกว่านี้อีกนิด ผมว่า เพื่อนๆพี่ๆในนี้ น่าจะให้คำแนะนำดีๆได้อีกเยอะเลยนะครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย lucifer »

สวัสดีปีใหม่ สองฮ่าฮ่าฮ่า นะครับ คุณ demolisher
เดี๋ยวน้องๆเขาจะหาว่าเราคุยกัน 2 คน ดูแล้วน่าจะได้ข้อสรุปแล้วนะครับ สำหรับคนตัวใหญ่ๆแต่อยากจะปั่นเสือหมอบ

อันที่จริงถ้าจะวกเข้าหาเรื่องราวของเจ้าของกระทู้ ซึ่งจริงๆก็คงจะได้เสือหมอบไปแล้วก็ได้ เพราะกระทู้เริ่มมาตั้งแต่ก่อนบ้านผม(คนฝั่งธน แขวงบางระมาด)จะมีน้ำมาท่วมแบบยกแขวง จนตอนนี้ก็น้ำแห้งหมดแขวงแล้วเช่นกัน ( หลายคนคงจะเก็บกวาดบ้านเรือนกันเกือบๆจะเรียบร้อย )

การจะปั่นจักรยานของเจ้าของกระทู้นั้น ผมมองได้หลายแง่ แต่แง่หลักๆ ผมเชื่อว่าคงต้องการจะลดน้ำหนัก ซึ่งต้นเหตุแห่งน้ำหนักของร่างกายจะมาจากส่วนประกอบ อันได้แก่

1. น้ำ คิดเป็น 60% ของน้ำหนักของร่างกาย (โดยเฉลี่ย ของคนที่มีร่างกายในสัดส่วนโดยเฉลี่ย)
2. กระดูก
3. กล้ามเนื้อ
4. ไขมัน
5. อวัยวะภายใน เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ผิวหนัง และส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงในทุกๆข้อที่กล่าวไปแล้่ว

ตัวแปรหลักๆของมวลของร่างกายจะมาจากข้อ 3 และ 4 ซึ่งการจะมุ่งลดน้ำหนักของจขกท.ก็คงจะมุ่งไปที่การลดข้อ 3 นั่นก็คือ ไขมัน

ไขมันเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานหลักได้ ภายใต้กฎเหล็กที่ว่า จะต้องเป็นแหล่งพลังงานในสภาวะที่ร่างกายไม่รีบไม่ร้อน ไม่เร่งไม่ด่วน

เช่น ออกกำลังกายในระดับเบาๆที่ไม่เกิน 70% MHR ติดต่อกันเกิน 20 นาที ( peak อยู่ที่ 40นาทีขึ้นไป ) ซึ่งนั่นก็คือการปั่นจักรยานเบาๆ ปั่นแบบชมนกชมไม้ด้วยซ้ำไป เมื่อออกแรงน้อย ก็ใช้พลังงานน้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้พลังงานหลักจากไขมันก็ตามที แต่มันก็เอามาใช้ไม่มากนัก ครั้นจะออกแรงมากขึ้นเพื่อจะได้เผาผลาญให้มากขึ้น คราวนี้ร่างกายจะบอกว่า ไขมันมันกินกระบวนการและใช้เวลานานเกินไป เบิกพลังงานมาส่งให้ไม่ทันหรอก งั้นเล่นเงินด่วน คือ เผาผลาญน้ำตาลแทน

นั่นแล้วไง ไม่ตรงเป้าประสงค์หลักหละสิ ดังนั้นจะใจร้อนไม่ได้เลยนะ เพราะต้องปั่นต่อเนื่องกันเป็นชม. แถมห้ามปั่นแรงๆอีกต่างหาก เผาผลาญได้ทีละไม่มาก แถมต้องใช้เวลานานๆจึงจะได้ผล ผมว่ามามุกนี้ แพลบเดียวก็เบื่อ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ แค่คิดว่า ออกแรงมาก เผาผลาญพลังงานมาก แต่ลืมไปว่าแล้วจริงๆพลังงานที่ต้องเผาผลาญนั้น เอามาจากไหน

พวกสิงห์นักอัด นักทำความเร็ว ไม่เคยปั่นช้า ไม่เคยเล่นendurance มาถึงฉันอัด มาถึงฉันกระชาก แบบนี้ถ้ากินหนักด้วย พุงหลามทุกคนแหละ ฮ่า ฮ่า ฮ่า

การออกกำลังกายที่ได้ผลไวกว่า คือ การเล่นเวทเทรนนิ่งครับ เพราะถ้าหากเล่นถูกวิธี แล้วไม่เน้นน้ำหนักที่หนักมากเกินไป ร่างกายจะใช้แค่พลังงานจาก ATP สำรองในกล้ามเนื้อ จากนั้นเมื่อพัก ร่างกายจะเผาผลาญไขมันมาสร้างเป็นพลังงานในรูปของ ATP ใส่คืนให้ไว้ในกล้ามเนื้อตามเดิม ซึ่งกระบวนการนี้ เขาเรียกว่า After effect ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเกิดได้นานถึง 3 ชม.

แต่หลังจากผ่านกระบวนการเวทเทรนนิ่งไปสักพักหนึ่ง รูปร่างจะเริ่มบางลง แต่น้ำหนักตัวอาจจะไม่ได้ลดลงพรวดพราดแบบในช่วงแรกๆแล้ว เพราะกล้ามเนื้อจะเริ่มพัฒนาขึ้น ทำให้มวลของไขมันที่หายไป กลับมาเป็นมวลของกล้ามเนื้อแทน แต่ยังไงๆน้ำหนักโดยรวมของร่างกายก็จะลดลงอยู่ดี


แต่! น้ำหนักสุทธิของร่างกาย เป็น ผลลัพธ์ของความแตกต่างระหว่างพลังงานส่วนที่เรารับเข้ามา กับ พลังงานที่เราใช้ออกไป
การควบคุมอาหาร ทั้งปริมาณ และคุณภาพ ชนิด วิธีการปรุง ก็ล้วนแต่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนักเช่นกันครับ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย lucifer »

ส่วนเรื่องการแตกหักเสียหาย ผมว่ามันเป็นเรื่องของลักษณะสมบัติมากกว่าเรื่องของความปลอดภัยกระมังครับ บางอย่างยุบตัวเพื่อเปลี่ยนรูปของพลังงานแต่บางอย่างก็จะเน้นให้แตกหัก ไม่ได้เกี่ยวกับว่าดีหรือไม่ดีเสียหน่อย
ครับ แล้วแต่จะใช้อักษร บ้านเราอาจจะใช้อักษรมาตีความแล้วแย้งกันได้ แต่อเมริกาเขาใช้ระบบลูกขุน ใช้มุมมองของลูกขุน แล้วตัดสินเป็นถูกผิดออกมา ดังนั้น ผู้ผลิตจะเน้นเรื่องของ abuse ในคู่มือของเขาเสมอๆ โดยเฉพาะเฟรมคาร์บอนนี่ เน้นมากครับ

มันไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี แต่มันใช้คำว่า"เหมาะ"หรือ "ไม่เหมาะ" กับสภาวะใดสภาวะหนึ่ง

เพราะ มันโยงใยกันหลายๆอย่างในเรื่องของความปลอดภัย เพราะความปลอดภัยมันเกี่ยวกันในแง่ของการออกแบบ เกี่ยวกันในแง่ของการนำมาใช้งาน และสุดท้ายเกี่ยวกันในแง่ของกม.
หากความปลอดภัยต่อผู้ใช้เป็นเรื่องหลักของสินค้า เพราะพลาดพลั้งจะจบด้วยแง่ของกม. ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง และต้องกลับไปมองที่คุณสมบัติด้วยว่าทำให้ปลอดภัยได้ดีจริงๆหรือไม่
ในคู่มือของจักรยานที่ทำมาจากคาร์บอนไฟเบอร์ ผู้ผลิตจะบอกเสมอว่า failure ของคาร์บอนไฟเบอร์ ไม่เหมือนกับเฟรมโลหะ ตรงนี้บอกไว้เลย ดังนั้นหากทำในสิ่งที่เป็น abuse หรือ เฟรมเคยประสพอุบัติเหตุหนักๆมาแล้ว ก็ให้ตรวจตราเฟรมให้ดีก่อนจะใช้งานเสมอ เพราะว่า worst case ของคาร์บอนไฟเบอร์คือ แตกหัก ซึ่งทำให้ไม่สามารถบังคับจักรยานได้เลย แล้วมันหักแบบหักแล้วหักเลยด้วย

ดังนั้นมันจึงต้องดีพอที่จะนำมาออกแบบแล้วนำมาซึ่งความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ภายใต้ข้อกำหนด ข้อจำกัด อย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกันครับ



ส่วนเรื่องรอยเชื่อมของโครโมลี่ในรถ top fuel ผมว่าบางทีต้องแยกระหว่าง abuse กับ imperfect ด้วยนะครับ รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริเวณที่เรียกว่า HAZ ว่ามันมีคุณสมบัติเป็นเช่นไร
เฟรมที่ทำมาจากโครโมลี่เองก็มีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่บางคนก็คงจะคิดไม่ถึง แต่หากการออกแบบมาโดยคิดถึงข้อจำกัดเหล่านี้มาดีพอ เราก็จะพบเฟรมโครโมลี่แพงๆที่ราคาไม่ค่อยน่าคบอย่างที่คิดนะครับ

สุดท้าย คำว่า Abuse ก็ยังเป็นนิยามที่ผู้ผลิตบอกไว้สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ของเขาเสมอเช่นกันครับ

อ้อ ผมลืมบอกไป ผมใช้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ ผสมกับโครโมลี่เมื่อสักสิบปีเศษๆที่แล้ว มันเป็นเฟรมในอุดมคติของผมมาก เสียตรงที่sizeมันไม่ได้ เพราะดันคร่อมsize
ปัจจุบันผมเองก็ยังใช้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ (เสือหมอบ) เฟรมอลูมิเนียม ( ทั้งเสือหมอบและเสือภูเขา ) และเฟรมโครโมลี่ ( เสือภูเขา ) ผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะทำจากวัสดุใดก็ตาม หากเราไม่ abuse เรื่องร้ายๆที่ใครๆเขาพูด ใครๆเขาคิด ใครๆเขาคาดเดาถึง ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดกันได้ง่ายๆเลย ( ซึ่งผมก็ไม่ได้เทใจให้วัสดุใดมากไปกว่ากัน เพราะหากใช้งานไม่ผิดจากข้อกำหนด ไม่มีเฟรมไหนจะพังหรือหักไปก่อนที่เราจะเปลี่ยนเฟรมใหม่อย่างแน่นอน :lol: :lol: :lol: )

คิดดูง่ายๆว่า เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์สวมlug ของTrek สามารถผ่านการบิดๆงอๆ ด้วยเครื่องhydraulic ได้เกินกว่า 200,000 cycles โดยไม่มีความเสียหายใดๆ แต่เฟรมโครโมลี่ชิงลาตายด้วยรอยเชื่อมที่บริเวณchainstay กับ buttom bracket ถึงแม้การทดสอบแบบนี้ก็คือ abuse แบบหนึ่ง แต่ก็ทำให้ความมั่นใจต่อคาร์บอนไฟเบอร์ในยุคนั้นดีขึ้นมาก

ในปัจจุบัน KnowHow ของการผลิตและพัฒนาคาร์บอนไฟเบอร์มันไปไกล และทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงไปมากแล้ว ปีนี้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์จะเป็นของดาษๆในตลาดจักรยานแล้วนะครับ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
carabao09
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 233
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 18:49
Tel: 024613686
team: พระประแดง
Bike: Giant tcr aluxxx

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย carabao09 »

ในปัจจุบัน KnowHow ของการผลิตและพัฒนาคาร์บอนไฟเบอร์มันไปไกล และทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงไปมากแล้ว ปีนี้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์จะเป็นของดาษๆในตลาดจักรยานแล้วนะครับ



ผมจะเก็บเงินหยอดกระปุกรอ ของดาษๆ อย่างใจจดใจจ่อเลยละครับ :lol: :lol: :lol: :lol:

ขอให้เป็นอย่างที่ อ.ลู ว่าไว้ด้วยเถอะ เด็กตาดำๆอย่างผม จะได้ใช้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์บ้าง :P :P
ฝันให้ไกล ไปให้ถึง พึ่งตัวเอง
รูปประจำตัวสมาชิก
namdang
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2461
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 01:55
Bike: bianchi kuma 5500 , caad 10

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย namdang »

ขี่ได้สบาย หนัก 102 Kg ล้อultegra
ไฟล์แนบ
1111.JPG
1111.JPG (93.55 KiB) เข้าดูแล้ว 1730 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
titusfan
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 264
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 12:52
Tel: 081-844-8095
Bike: Trek Madone, Pivot Mach 4, Bike Fridy NWT

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย titusfan »

ผมว่าผมเป็นชายไทยกายเกินร้อยที่ขี่จักรยานมามากคนหนึ่งนะครับ

จากประสพการณ์ที่ผ่านมา นำ้หนักเกินร้อยไม่ได้มีปัญหาอะไรกับเฟรมหรืออุปกรณ์ทั่วๆ ไป แต่มักจะมีปัญหากับของที่เน้นความเบาหรือเน้นความนิ่มนวลเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะทำด้วยวัสดุใดๆ อาการย้วย อาการพัง นี่เป็นเรื่องธรรมดา

ทุกวันนี้ใช้ Trek Madone อยู่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่โปรไบค์ก็ไม่ยอมขายรุ่น SSL ให้นะครับ ส่วนล้อใช้ขอบคาร์บอนก็รู้สึกได้ว่าเวลาที่ยืนโยกหนักๆ ล้อหน้าก็มีอาการแกว่งบ้าง

สำหรับคนอ้วนอย่างเรา ขอให้ดู bike fitting ดีๆ ด้วยครับ เลือกรถที่ท่อคอสูงซักนิด จะขี่ด้วยความสบายพุงกว่า

ชอบใจที่ป๋าลูเขียนเรื่องขี่แล้วไม่ผอมจริงๆ เกิดกับตัวเองอย่างแรง
Ride Hard - Eat Harder
รูปประจำตัวสมาชิก
rangsans
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 297
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 23:02
team: BIG JERSEY
Bike: BIANCHI
ติดต่อ:

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย rangsans »

ไ่ม่ผอมเหมือนกันครับ น้ำหนักขึ้นอีกต่างหาก เครียยยยดดด
http://www.facebook.com/bigjerseythailand
line: manigu
tel: 0813770981
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือข่วย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2543
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 09:38
team: ตามเค้าไป
Bike: roadbike+hardtail
ติดต่อ:

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย เสือข่วย »

ผมไม่รู้จัก คุณ lucifer รู้จักในบอร์ดแห่งนี้ ติดตามมานานแอบชื่นชมอยู่ในใจ ผมขอขอบคุณคำตอบที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสาระ..ด้วยความตั้งใจและเจตนาดี...และวีธีการอธิบาย..ถ้ามีบทความหรือเขียนหนังสือบอกด้วยน่ะครับ.. :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
recoba
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3757
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 18:37
Tel: 0816440010
team: K4.5 Friendly Ride Group
Bike: Trek Madone 5.9 Ultegra Di2 Zipp404FC
ติดต่อ:

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย recoba »

มือใหม่หัดหมอบครับ :D
รูปภาพ
อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้ว ปากไม่เสีย กายไม่เสีย
ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้
รูปประจำตัวสมาชิก
DrNeung
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 965
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 01:11
team: SAGAI YALA
Bike: RMB, VENGE
ตำแหน่ง: NeuroSx BHH

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย DrNeung »

ขอชื่นชม อาจารย์ lucifer ด้วยคนครับ
ตอบได้ดีจริงๆ ชอบๆ :P
ขอให้ทุกๆคนมีสุขภาพดี และปลอดภัยครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
spinbike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2735
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 16:56
Tel: 081-6558451
team: Coach Tum
Bike: FELT FR2

Re: คนอ้วนจะขี่เสือหมอบครับ

โพสต์ โดย spinbike »

น้องคนนี้ก็ร้อยกลางๆ ครับ ปั่นเสือหมอบ ไม่เป็นปัญหา แต่ก้มมากๆ ไม่ค่อยได้เท่านั้นเอง รถรับน้ำหนักได้สบายๆ ครับ มีใจซะอย่าง ขอให้สนุกกับเสือหมอบครับ...
ไฟล์แนบ
397211_2858208617166_1318151950_2951139_533618_n.jpg
397211_2858208617166_1318151950_2951139_533618_n.jpg (68.03 KiB) เข้าดูแล้ว 1639 ครั้ง
Coach Tum
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”