เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
winhaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 544
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2014, 21:27

Re: เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

โพสต์ โดย winhaha »

Tungmanx เขียน:พูดเรื่องทำไมต้องเหลือซางไว้แล้วรองแหวนข้างบนนะครับ คืองี้ในซางเราจะใส่อุปกรณ์ตัวนึงเพื่อให้เราขันน้อตฝาปิดสเต็มได้คือ compression plug คนละตัวกับ star nut ที่ใช้ในซางอลูหรือซางเหล็กนะครับ

lifeline-compression-plug-carbon.jpg

หลักการทำงานคือเราขันตัว compression plug แล้วส่วนด้านในทีเราสวมเข้าไปในท่อซางมันจะขยายตัวออกเพื่อยึดกับตัวซางไม่ขยับไปไหนเวลาขันฝาปิดเพื่อบีบอัดลูกปืนถ้วยคอ

510T2Jj-1-L.jpg

ทีนี้ส่วนที่มันขยายมันจะอยู่ต่ำกว่าตัวซางเสมอครับ ตรงช่องว่างนี้เลยไม่มีแรงดันจากการขยายตัวของ compression plug ถ้าเราเซ็ทขอบเสต็มเลยซางไปนิดเดียวตำแหน่งนี้จะอยู่ระดับเดียวกับน้อตสเต็มตัวบนเลยครับไอ้ตรงนี้เลยจะโดนแรงบีบจากสเต็มเป็นแรงบีบเข้าอยู่ฝั่งเดียว ไม่มีแรงดันออกจาก compression plug มาช่วยบาล้านซ์ มันก็เสียงต่อการโดนบีบจนแตกร้าวได้ครับ

lifeline-compression-plug-carbon2.jpg
Scott-plasma-slamming-stem_IMG_4502-Edit.jpg
อืม....ใช้ตัวนี้เหมือนกัน น่าคิดแหะ กุดตลอด...
ไฟล์แนบ
IMG_20170831_135416.jpg
IMG_20170831_135416.jpg (271.21 KiB) เข้าดูแล้ว 746 ครั้ง
ขายติมเรื่อย............ไป
Gok See
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 449
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2016, 08:18
ติดต่อ:

Re: เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

โพสต์ โดย Gok See »

winhaha เขียน:
Gok See เขียน:เอาออกได้หมดไม่เหลือได้ครับ แต่บางทีด้านบนต้องเหลือไว้ตัวเพราะฝาปิดสเตมมันมีตูดไปค้ำฝาเกลียวสตาร์นัตครับ ต้องมีเทคนิคพิเศษนิดหน่อย

อีกอย่างคือถ้าไปตัดซางจนต่ำกว่าสเตม สเตมอาจจะจับไม่แน่น เลยต้องตัดให้โผล่ขึ้นใส่แหวนรองไว้ข้างบน แต่ของผมตัดให้โผล่พ้นสเตม 1 mm แล้วทำฝาปิดสเตมแบบพิเศษขึ้นมาเองไม่ต้องรองแหวนครับ แล้วก็ใช้เทคนิคพิเศษเช่นเคยครับ

แต่ถ้าอาศัยว่าตัดซางให้ต่ำกว่าสเตมมาก ๆ ก็ทำได้เลย ไม่ต้องมีเทคนิคอะไร แค่ว่าผู้มีประสปการณ์ห่วงว่ามันจับไม่แน่น ไม่สติฟ

มาบอกว่าทำได้เฉย ๆ ครับ รายละเอียดไม่บอกครับ เพราะเดี๋ยวร้านจักรยานไม่มีงาน ผมทำรถให้ไม่ต้องเซอร์วิสตลอดสิบปีได้ผมก็ไม่เคยบอกครับ

ไม่เห็นต้องมีเทคนิคอะไรเลยครับ อยากตัดก็ตัด ฝาปิดแบบไม่มีตูดเยอะแยะครับ สตารนัทมันยึดไว้อยู่แล้วกับน๊อตสเต็ม ฝามันแค่ตัวช่วยยึดไม่ใช่สเต็มเคลื่อนก็แค่นั้นเองครับ ผมตัดสั้นกว่าสเต็มประมาณ 2 มิล กระโดดเล่นเป็น bmx ไม่เห็นมันจะหลุดเลยครับ
ติดครับ ฝามันใส่สกรูหัวจม ไง ๆ ต้องมีเนื้อข้างล่างฝา ตัดต่ำกว่า 2 มิล ตลกละ แค่บ่าของสตาร์นัทก็หนา 2 มิลละ วางสตาร์นัทเข้าไปฝามันก็เสมอสเตมพอดี
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

โพสต์ โดย Hxs »

ผมประกอบจักรยานมาสามคันในสองปี (ก็น้อยนะ ผมไม่ใช่ช่าง) ไม่ได้ใช้สตาร์นัทที่มีบ่าสักตัวครับ
ใช้ expander แบบจักรยานสมัยใหม่ทั้งสามคันเลย
อันที่เบาสุดก็ก็ Extralite Ultrastar 3 น้ำหนักแค่ 5.9g สอดเข้าไปในซางและขันให้ขยายตัวให้ตรงกับบริเวณขอบล่างของเสต็ม
https://fairwheelbikes.com/extralite-ul ... -expander/
Expander ที่แถมมากับ Cannondale CAAD10 เฟรมเซ็ตก็เป็นแบบไม่มีบ่าเช่นกัน
https://www.bike24.com/p2129313.html

คนที่ต้องใช้ Star nut มีบ่านี่คือซางโลหะ หรือจักรยานเก่าๆใช่ไหม
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
รูปประจำตัวสมาชิก
teemai
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 268
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 08:53
Tel: 0891720453
team: กลุ่ม แร้งคอย
Bike: ฟิกเกียร์

Re: เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

โพสต์ โดย teemai »

ถ้าตูดฝาปิด มันไปยันกับสตาร์นัท มันจะไปยากอะไร
ก็แค่ตอกสตาร์นัทลงไปอีก ตอกมันลงไปสุดซางเลยก็ได้ ดูซิ มันจะยันกันอีกมั้ย
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

โพสต์ โดย lucifer »

แชร์ประสพการณ์ และความคิดเห็นบ้าง เพราะว่า ผมเป็นคนที่ประกอบจักรยานเองมาโดยตลอด แล้วก็ในช่วงที่กลับมาปั่นเสือหมอบได้สัก 7 ปีนี่ น่าจะมีจักรยานเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ซื้อๆขายๆ ใช้ๆ รื้อๆ ถอดๆ น่าจะเกิน 1 โหล ยังไม่นับพวกเสือภูเขาที่ถอดๆย้ายๆ เปลี่ยนโน่นนี่นั่น และไม่ได้นับรถของ"ชาวบ้าน"ที่เราสาระแนไปแก้ไข ซ่อมแซมให้

ปัญหาทั้งหมดที่พูดๆกันนี่ มันมาจากเรื่องของวัสดุเป็นสำคัญ สมัยก่อนที่ใช้ซางโลหะ ไม่ว่าจะเป็นซางเหล็ก โครโมลี่ อลูมิเนียม เรื่องพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหามากมายนัก เพราะว่าเดิมที่ใช้ Star nut ( ซึ่งหากเรียกให้เต็มยศ ต้องเรียกว่า star fangled nut ) ซึ่ง หน้าตา จะเป็นแบบในรูป
tns06.jpg
tns06.jpg (74.71 KiB) เข้าดูแล้ว 706 ครั้ง
คราวนี้พอเทคโนโลยี่การผลิตมันพัฒนาขึ้น ซางคาร์บอนไฟเบอร์ก็เริ่มถูกพัฒนาขึ้นมาแทนที่ซางโลหะ แต่จะเอา star nut แบบเดิมมาใช้ไม่ได้ เพราะ star nut มันทำหน้าที่เป็นสมอดึงให้ stem ยังกดอยู่กับลูกปืนชุดคอได้โดยตัวมันจะ"จิก"เข้าไปกับเนื้อโลหะ แต่มันไม่ควรทำแบบนี้กับคาร์บอนไฟเบอร์ เพราะมันทนอะไรแบบนี้ไม่ได้ ( ท่อคาร์บอนไฟเบอร์สามารถรับแรงบิด แรงดัด แรงงอได้สบายๆ แต่ผิวของมันนั้น เราสามารถใช้เลื่อยฉลุไม้ตัดมันได้สบายๆ , ผมตัดซางคาร์บอนด้วยเลื่อยฉลุทุกคัน, ขี้เกียจลงไปห้องช่างเพื่อใช้เลื่อยตัดเหล็ก )

เมื่อผิวมันอ่อนเช่นนี้ เขาจึงต้องใช้"ตัวเบ่ง" หรือ Expansion Plug มาแทน
ซึ่ง Expansion plug นี้ หลายคนก็ชอบเรียกมันว่า star nut ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่ นัทรูปดาวเลยนะครับ รูปก็ลงกันมาเยอะแล้วในกระทู้นี้ ขออนุญาตข้ามรูปไปนะ

Expansion plug อาศัยการเบ่งดันให้ไปแนบชิดกับผิวด้านในของซางคาร์บอน แล้วทำหน้าที่เป็นสมอในการ"ดึง"ให้ฝาปิดสเตมกดสเตมให้ไปกดชุดลูกปืนคอตัวบน ซึ่งหลักการก็เหมือนกับ star nut ทุกประการ

คราวนี้จะขออนุญาตเอาประสพการณ์ 7 ปี กับ รถมากกว่า 1 โหลมาแชร์กันหละ
1. ข้อกำหนดของผู้ผลิตจักรยานบอกไว้ว่า จะต้องมีแหวนรองคออย่างน้อย 2 วง คือ รองใต้และเหนือstem อย่างละ 1 วง โดยกำหนดไว้ว่า ความสูงของแหวนรองคอตัวล่าง+ฝาปิดลูกปืนถ้วยคอชุดบน ไม่ควรจะเกิน 40mm เพราะจะทำให้เกิดแรงงัดกระทำกับซางคาร์บอน ซึ่งมาตรฐานนี้ทำให้จักรยานค่ายTrek ที่มีขนาดใหญ่มากๆ จะต้องใช้ซางอลูมิเนียมแทนซางคาร์บอน ( ในขณะที่รถรุ่นเดียวกันในขนาดเล็กกว่าจะใช้ซางคาร์บอน ) ทั้งนี้เพราะรถขนาดใหญ่มาก จะใช้ท่อคอที่ยาวมาก (​บางรุ่น 3กำโผล่ ) ทำให้การใช้ซางคาร์บอนที่ยาวมากๆ อาจจะทำให้เกิดความไม่stiff ความไม่แข็งแรง หรือ เกิดความเสียหายที่คาดไม่ถึง เขาจึงต้องระวังความผิดพลาดที่จะนำมาซึ่งการฟ้องร้องในภายหลัง )

2. จากข้อกำหนดของผู้ผลิตที่ระบุว่าต้องมีแหวนรองคอใต้สเตมอย่างน้อย 1 วง เพราะแหวนรองคอที่มีมาตรฐานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในที่ฟิตพอดีกับซาง เมื่อใส่ลงไป มันจะเป็นตัวกลางที่ไปกดฝาปิดลูกปืนถ้วยคอตัวบนให้ลงไปแนบชิดพอดีกับเบ้าลูกปืน โดยไม่มีการเอียงซ้ายขวาหน้าหลัง คือ เป๊ะเวอร์ จบข่าว เพื่อให้สิ้นข้อสงสัย ก็จะอธิบายด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เป็นประเด็น มาจากStemที่บางครั้ง ด้านล่างของสเตมไม่ได้ระนาบพอดี หากไม่รองแหวนดังกล่าว โอกาสที่การกดของ Stem โดยตรงต่อฝาปิดลูกปืนถ้วยคอ ก็อาจจะไม่ได้แรงกดตามแนวระนาบ ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวและ "ไม่เป๊ะเวอร์" สร้างปัญหาได้ที่สุด

3. การที่ต้องเว้นระยะซางคาร์บอนให้โผล่มาพ้นจากขอบบนของสเตม แล้วเอาแหวนรองคอมาสวมด้านบนให้กลายเป็นนกกรงหัวจุกนั้น มันก็เป็นเรื่องของความปลอดภัยต่อเนื้อวัสดุที่ทำมาจากคาร์บอนไฟเบอร์เอง ขออนุญาตหยิบยืมรูปมาใช้นะครับ
Scott-plasma-slamming-stem_IMG_4502-Edit.jpg
Scott-plasma-slamming-stem_IMG_4502-Edit.jpg (451.33 KiB) เข้าดูแล้ว 706 ครั้ง
ผมทำลูกศรชี้ไว้ 2 จุด ให้เห็นว่า จุดที่รับแรงขันสกรูตัวบนของสเตมนั้น จะอยู่ที่ขอบบนของซางพอดี ท่อคาร์บอนไฟเบอร์นั้นจะสามารถรับแรงดัด แรงงอ แบกน้ำหนักในแนวความยาวท่อได้ดี แต่จะไม่ใช่วัสดุที่ทนแรงบีบ แรงเบ่ง แรงอัดเข้าไปโดยตรงกับตัวท่อ (​เราจึงเห็นหลักอานคาร์บอนเป็นรอยยุบตัวตามแรงบีบ เห็นซางคาร์บอนยุบตัวตามแรงบีบของสเตม ) ในกรณีนี้หากไม่มีชิ้นส่วนของโลหะจาก Expansion plug ขึ้นมารับไว้ แต่ไปใช้ expansion plug แบบที่สอดไว้ในท่อซางโดยไม่มีอะไรมารองรับ แรงบีบของstemจะกระทำกับขอบปลายท่อซาง ซึ่งมันก็ไม่ได้แข็งแรงอะไรมากมายเลยโดยเฉพาะเมื่อมันเจอกับแรงบีบอัด

เขาจึงแนะนำว่า ควรให้ขอบบนของซางคาร์บอนโผล่พ้นสเตมออกมา อย่างน้อยตำแหน่งที่ต้องรับแรงบีบอัดนั้น จะได้มีเนื้อคาร์บอนมากพอที่จะกระจายแรงไปได้ นอกจากนี้การรองแหวนด้านบนก็คล้ายๆกับการรองแหวนด้านล่างตรงที่ ขอบบนของสเตมเองบางทีก็ไม่เป๊ะเวอร์ แรงกดจากฝาปิดสเตมลงไปจะได้เสมอภาคกันทุกส่วน ให้สเตมอยู่นิ่งได้

4. ซางคาร์บอนมีหลายเกรด หลายพันธุ์ หลายความบาง บางยี่ห้อแข็งมากแต่บาง (ลดมวลเพื่อความเบาแต่แข็งพอ) ปัญหาคือ เวลาที่ขัน expander plug ให้มันเบ่งอัดติดกับซาง มันก็จะดันซางให้"ป่อง"ไปด้วยนะครับ ขันเบาไปมันก็ไม่อยู่ ขันหนักไปมันก็ดันซางโป่งและป่อง ทางแก้มี ได้แก่
4.1 ใช้ installation compound หรือ ที่ชอบเรียกกันว่า จารบีทราย ป้ายระหว่างผิวด้านในของซางกับ expander plug
4.2 วางตำแหน่งให้ตัว expander plug อยู่ตรงกลางระหว่างสกรูขันสเตมตัวล่างและตัวบน พูดง่ายๆว่า มันจะดันให้ซางป่องออกมาชนกับสเตมพอดี
4.3 ระวังเรื่อง Torque ให้ดี บางยี่ห้อจะระบุไว้ ส่วนตัว ผมขันด้วยมือพอตึง และรู้สึกว่า สเตมที่สวมลงไปเริ่มจะฝืดๆ ( ผมจะสวมสเตมพร้อมแฮนด์ลงไปครอบซางก่อน แล้วจึงค่อยขัน expansion plug ขันตึงพอที่ไม่ดันให้ซางป่องจนสเตมฝืดขยับไม่ได้ , ซึ่งนั่นคือ การขันตึงจนเกินไป )
4.4 การวาง expansion plug ต่ำเกินไปจนเลยส่วนที่stemบีบ จนเข้าไปอยู่ในส่วนของท่อคอ เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
4.5 จักรยานบางยี่ห้อ เช่น Felt เขาทำซางคาร์บอนมาบางและเบามาก บางจนไม่ให้user ใช้ expansion plug ดังนั้นเขาจึงทำหลอดอลูมิเนียม(พร้อมบ่า) ป้ายกาวepoxy แล้วใส่ลงไปในซางคาร์บอน แล้วตอกstar nut ลงไปแทน Feltจึงเป็นรถที่สามารถขันฝาปิดstemได้แน่นมากจนคอฝืดได้โดยไม่มีอะไรถูกถอนออกมา (​บ้าไปแล้ว )

5. คอจักรยานในปัจจุบัน เรียกว่า "คอหนีบ" ความแข็งแรงของชุดคอมาจาก แรงดึงของสกรูที่อัดฝาปิดสเตม ผลักให้สเตมกดชุดลูกปืนคอ โดยมี expansion plug หรือ starnut ทำหน้าที่เป็นสมอตรึงไว้กับผิวซาง การใช้Expansion plug กับ ซางคาร์บอนจึงเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาให้ต้องย้อนกลับมาทำการบำรุงรักษาเป็นระยะๆ เพราะหลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง Expansion plug จะมีการขยับตัว ทำให้เกิดอาการคอหลวม และพึงเข้าใจอย่างหนึ่งว่า stemนั้นถูกหนีบเอาไว้แค่พอประคองให้แฮนด์ตรงทาง แต่ไม่ได้มีผลมากมายสำหรับการป้องกันการเคลื่อนที่ขึ้นบนได้เท่ากับบทบาทของฝาปิดเสตมเลยนะครับ แยกแยะหน้าที่ให้ดีแล้วจะเข้าใจมัน

6. โดยส่วนตัว ไม่เลือกใช้ Expansion plug ที่มีพื้นที่สัมผัสน้อยๆ เช่น expansion plug ตัวสั้นๆ เพราะเมื่อผิวสัมผัสน้อย จะต้องขันตึงมาก แรงกด/พื้นที่ผิวก็จะมาก สร้างความเสียหายให้กับซางได้ง่าย ( ในกรณีที่ขันตึงเกินไป ) และความสามารถในการเป็นสมอก็จะแย่ลง ผิดกับ Expansion plug ที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากๆ เช่นประมาณ 30 mmขึ้นไป เพราะมันจะวางตัวพอดีกับแนวที่รัดstemพอดี ( stem ส่วนใหญ่จะมีส่วนที่รัดกับซางยาวประมาณ 35-40mm ) ทำให้ชุดถ้วยคอมีความมั่นคง และซางคาร์บอนมีความปลอดภัยมากขึ้น

7. อย่าให้ความสำคัญกับความเบาของ Expansion plug มากนัก เพราะเคยจับชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบแล้ว มันไม่ได้เบาเวอร์กว่ากันมากมาย แต่เราสามารถไปลดน้ำหนักของฝาปิดstemแทนได้ ลดน้ำหนักของสกรูที่ขันกดฝาปิดstemได้อีกเช่นกัน

คงแชร์ข้อคิดได้แค่นี้หละครับ (​นึกอะไรออกจะมาเพิ่มให้ ) ประเด็นเรื่องชุดคอนี่ ผมผ่านการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ทำข้าวของเสียหายมาระดับหนึ่ง ตั้งแต่สมัยใช้ซางโลหะแล้ว เคยถอน star nut หลุดออกมาแบบโง่ๆมาแล้ว

ย้ำอีกนิดนะครับ
เวลาประกอบสเตมลงไป ให้ขันสกรูปิดฝาสเตมจนแน่นก่อน (​แน่นกำลังดี คือ คอไม่หลวม และคอไม่ฝืด ) จากนั้นจึงกวดสกรูบีบสเตมให้ได้ทอร์คที่กำหนดไว้ เป็นอันจบ ( ส่วนตัวผมจะจับหกเหลี่ยมโดยใช้สองนิ้วเกี่ยวไว้ที่ก้านสั้น แล้วเอาก้านยาวเสียบลงไปบนสกรูที่ขันปิดฝาปิดสเตม แล้วบิดด้วยนิ้ว 2 นิ้วนั้นไปอีกนิสสสสสหนึ่ง เพื่อให้สกรูอัดกับเกลียวของexpansion plug , แต่ไม่ใช่เพื่อให้มันกดสเตมลงไปอีกนะครับ เพราะถ้าคุณคิดเช่นนั้น ผลลัพธ์คือมันจะดึงexpansion plug ให้หลุดออกมาแทน )

ใช้งานไปสักพักก็ต้องมาเช็คอาการคลอนของชุดคอเสมอนะครับ ไม่มีอะไรที่เป็นนิรันดร์
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
TJA
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 969
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2013, 22:46
team: ลูกเจี๊ยบส์
Bike: Bianchi Oltre XR2, Dahon Mu-SLX
ติดต่อ:

Re: เอาแหวนรองสเตมออกหมดได้มั๊ยครับ

โพสต์ โดย TJA »

กระทู้ทรงคุณค่าครับ สาระแน่นๆเลย
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”