ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
Runbird
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 369
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 12:28
team: N/A
Bike: Scott/Cannondale
ตำแหน่ง: Bangkok

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Runbird »

Mr.Sunday เขียน:
pongpipat เขียน:เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ
กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้ขายเฟรม หรือ แนะนำเฟรม นะครับ
และผมก็ไม่ใช่คนขายหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับจักรยาน
เป็นกระทู้แลกเปลี่ยนแสดงความเห็น เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ขี่ กับ ความสติฟของจักรยาน

ถ้าจะหาซื้อเฟรมจักรยาน แนะนำเข้าไปหาอ่านกระทู้ในห้องซื้อขายได้ครับ
เค้าคงจะหมายความว่า ช่วยอธิบายใจความด้านบนกระทู้ที่ถกเถียงกันให้เข้าใจง่ายๆหน่อย ก็เท่านั้นเองครับ
:lol: :lol: :lol:

คงหมายความว่า ผมเอา link จาก youtube มาแปะให้ดู แต่มันเป็นภาษาอังกฤษ เลยบอกผมว่า ไหน ๆ เอามาให้ดูแล้วก็แปลให้ฟังหน่อย ประมาณนั้น

พอดีผมก็แปลไม่ได้ซะด้วย เลยพยายามแสดงความเข้าใจในเรื่อง Stiffness แบบที่ตัวเองเข้าใจ เอาซะยาวเลย ผิดถูกอย่าว่ากันครับ แลกเปลี่ยนกัน :mrgreen:
"Simply Irresistible"
Mr.Sunday
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 74
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2015, 17:25

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Mr.Sunday »

Runbird เขียน:
Mr.Sunday เขียน:
pongpipat เขียน:เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ
กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้ขายเฟรม หรือ แนะนำเฟรม นะครับ
และผมก็ไม่ใช่คนขายหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับจักรยาน
เป็นกระทู้แลกเปลี่ยนแสดงความเห็น เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ขี่ กับ ความสติฟของจักรยาน

ถ้าจะหาซื้อเฟรมจักรยาน แนะนำเข้าไปหาอ่านกระทู้ในห้องซื้อขายได้ครับ
เค้าคงจะหมายความว่า ช่วยอธิบายใจความด้านบนกระทู้ที่ถกเถียงกันให้เข้าใจง่ายๆหน่อย ก็เท่านั้นเองครับ
:lol: :lol: :lol:

คงหมายความว่า ผมเอา link จาก youtube มาแปะให้ดู แต่มันเป็นภาษาอังกฤษ เลยบอกผมว่า ไหน ๆ เอามาให้ดูแล้วก็แปลให้ฟังหน่อย ประมาณนั้น

พอดีผมก็แปลไม่ได้ซะด้วย เลยพยายามแสดงความเข้าใจในเรื่อง Stiffness แบบที่ตัวเองเข้าใจ เอาซะยาวเลย ผิดถูกอย่าว่ากันครับ แลกเปลี่ยนกัน :mrgreen:
ฮ่าๆ ผมนี้รอเก็บความรู้จากกระทู้นี้เลย :mrgreen: :mrgreen:
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

อันที่จริง ประเด็นของกระทู้นี้ คือ
ความ stiff ของเฟรม ที่เหมาะสมกับ สมรรถนะของนักปั่น

ไม่ได้เป็นกระทู้ที่ตั้งเพื่อ อธิบาย ค่าความ stiff ของเฟรม
แต่อาจเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องกล่าวถึง นิยามความหมาย ค่าการ stiff ของเฟรมด้วย

ในมุมของนักปั่นที่เป็นขาแรงหรือระดับโปร เขาต้องการเฟรมที่ทำให้เขาสามารถส่งแรง ส่งพลังงานทั้งหมด ให้กลายไปเป็นการเคลื่อนที่ของล้อ จะต้องไม่มีการสูญเสียพลังงานบางส่วนไปอยู่ที่ตัวเฟรม

เพราะในแง่ของโปรระดับแข่งขัน ที่ตัดสินกัน เวลาสปริ้นกันที่หน้าเส้นชัยนั้น แรงมีเท่าไรใส่เต็มที่ และต้องการให้แรงหรือพลังงานนั้น กลายไปเป็นความเร็วของรถอย่างเต็มที่

ณ เวลาที่สปริ้น กันหน้าเส้นนั้น คงไม่มีนักปั่นคนไหน มาสนใจว่า เฟรมจะกระด้างไปไหม แข็งไปขี่แล้วมันจะเมื่อยนะ แข็งไปขี่แล้วมันไม่สุนทรีย์ ไม่มีศิลปะนะ

แต่ในเวลาปั่นตามกลุ่มยาวๆ เฟรมที่แข็งกระด้างไป ก็ทำให้ นักปั่น ปั่นได้ไม่สบายตัว หรืออาจล้าได้มากกว่า

ก็มีการให้ความเห็นเรื่องค่า stiff ของเฟรมกันอย่างหลากหลาย บ้างว่ามันไม่ใช่เรื่องความแข็ง บ้างว่ามันเป็นเรื่องผสมผสานทั้งความแข็งความนุ่ม เป็นศิลปะ

บ้างว่าถึงระดับโมเลกุล และอ้างอิงถึงการเดินทางของเสียงในเนื้อวัสดุ ถ้าเสียงเดินทางได้เร็วในวัสดุใด วัสดุนั้นก็จะส่งผ่านแรงได้ดีด้วย เป็นต้น

บ้างว่า เฟรมมันต้องเป็นเหมือนคันเบ็ด ที่จะต้องสามารถสะสมพลังงานไว้ แล้วช่วยปลดปล่อยออกมาเสริมเพิ่มความเร็วเหมือนปลายคันเบ็ดเวลาสบัด
(อาจเปรียบอีกอัน คือไม้ค้ำถ่อ เป็นต้น)

สรุปง่ายๆ คือ บางความเห็น เห็นว่า ค่า stiff ของตัวเฟรมไม่ควรมีการสะสมหรือดูดซับพลังงาน เพราะจะเป็นการสูญเสียพลังงานของนักปั่นไปที่ตัวเฟรม แทนที่จะไปที่ความเร็ว เฟรมแบบนี้ไม่ควรมีการเปลี่ยนรูปหรือบิดตัว เวลารับแรงกดหนักๆ

บางความเห็น เห็นว่า ค่า stiff ของเฟรม จะต้องผสมผสานกัน ระหว่าง ความแข็งกับความนุ่ม
เฟรมแบบนี้ ยอมให้เปลี่ยนรูปหรือบิดตัวได้บ้าง

บางความเห็น เห็นว่า ค่า stiff ของเฟรม จะต้องยอมให้เฟรมสะสมหรือดูดซับพลังงานได้ เพราะพลังงานที่เฟรมดูดซับไว้นั้น จะปล่อยออกมาเสริมเพิ่มความเร็วได้ เฟรมแบบนี้ต้องเปลี่ยนรูปหรือมีการบิดตัวได้ดี

***
แต่อันที่จริงแล้ว ประเด็นของกระทู้ก็คือ
ค่าความ stiff ของเฟรม ที่เหมาะสม กับสมรรถนะของนักปั่นแต่ละคน พูดง่ายๆคือ นักปั่นที่มีน้ำหนักไม่มาก การออกแรงกดบันได ไม่ได้ถึงกับจะทำให้เฟรมมีการเปลี่ยนรูปหรือบิดตัวได้ เขาก็อาจไม่จำเป็นต้องจัดหา เฟรมที่มีค่า stiff สูงๆ เพราะค่า stiff สูงไปเขาก็ไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น

ประมาณนี้ครับ
อันที่จริงก็เป็นการดี ที่ได้เห็นว่า แต่ละท่านมีความเห็นแตกต่างในเรื่อง นิยามความหมายของ ความ stiff ของเฟรม

ขอบคุณทุกท่านครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Runbird
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 369
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2016, 12:28
team: N/A
Bike: Scott/Cannondale
ตำแหน่ง: Bangkok

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Runbird »

อ่านไปอ่านมาพบว่าตัวเองหลงประเด็นเลยลบความเห็นออกทั้งหมด..ขอนั่งเลคเชอร์ดีกว่า :D
"Simply Irresistible"
goodyear101
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 15
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2016, 19:57
ติดต่อ:

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย goodyear101 »

ส่วนตัวผมคิดว่า ค่าความ stiffเราไม่สามารถรู้สึกได้แบบเป็นรูปประธรรมหรอกคับ มันต้องใช้เครื่องมือในแลป ทดลองในการวัดโดยเฉพาะ แต่อาการที่คนเรียกว่า ย้วยบ้าง หรือซับแรงได้ดีบ้าง
น่าจะเกิดจาก คาแรกเตอร์ของเฟรมมากกว่า เพราะที่จริง ส่วนที่ มีความเครียดจากแรงกดบันได มันตั้งแต่ เฟรม ยันยางนอก การจะปั่นแล้วสามารถรู้ว่า คันนี้ stiff กว่าคันนี้คงเป็นการ มโนมากกว่า :D
RoBBen
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 17:40
Bike: Merida Scultura 904
ตำแหน่ง: พระประแดง สมุทรปราการ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย RoBBen »

เรื่องการถ่ายทอดพลังงานระดับโมเลกุลนี่พอเจ้าใจนะว่าต้องนำมาสนใจ เพราะแต่ละวัสดุที่ทำเฟรมก็มีค่านี้ไม่เท่ากัน

แต่

มันต่างกันนิดเดียว แถมความเร็วในการถ่ายทอดพลังงานมันเร็วขนาดความเร็วเสียง

ถามหน่อยว่า มันจะสร้างความแตกต่างได้มากเท่า การทำโครงสร้างเฟรมให้บิดตัวได้น้อยเหรอ

เอาให้เห็นภาพนะ
เฟรม 2 วัสดุ ทำออกมาให้มีความบิดตัวเท่ากัน ต่างกันที่วัสดุ (ค่าการถ่ายทอดพลังงานระดับโมเลกุล)
ถามจริงๆอยากรู้ ค่าการถายทอดพลังงานระดับโมเลกุล มันสร้างความแตกต่างของเฟรมสองตัวนี้ได้มากขนาดไหน


ผมมองว่ามันแทบไม่ต่างกัน

เขาเลยไปมองไปที่การบิดตัวของเฟรมมากกว่า ซึ่งมันก็จะถึงค่านึงที่มนุษย์ไม่มีกำลังพอที่จะออกแรงจนเฟรมบิดตัวแล้ว ก็เลยมาเล่นกันเรื่องน้ำหนัก ความลู่ลม


สำหรับผู้บริโภค เรื่องพวกนี้มันลึกไป ผู้ผลิตเขาเลยเอาแต่เรื่องน้ำหนักมาเป็นจุดขาย เพราะมันเข้าใจง่ายดี ซึ่งความเป็นจริง ค่าประสิทธิภาพพวกนี้มันต้องหาเป็นค่าประสิทธิภาพทางวิศวกรรม ซึ่งมีหลายพารามิเตอร์มาเทียบ

เวลาซื้อเฟรมง่ายสุดก็ซื้อตัวท็อป ไม่ก็รองท็อป ไม่ก็ซื้อตามจุดประสงค์การใช้งาน เอาจริงๆเฟรมระดับกลางๆ มียี่ห้อหน่อย ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันผมว่ามันก็เพียงพอกับการใช้งานละนะ มากกว่านั้นเป็นคุณค่าทางใจ :lol: :lol: :lol:
Paxxa
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 654
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2014, 17:10
Bike: cBoardman elite air 9.2s
ติดต่อ:

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Paxxa »

หนัก 69 กก.ครับ ยังไม่เคยย่ำขาจานจนรู้สึกได้ถึงอาการย้วยของอะไหล่สักชิ้น รึ เฟรม แต่ก็รู้สึกได้ชัดเจนว่า ซี่ล้อซาปิมแข็งจริง ซึ่งซี่พิลล่าก็ไม่รุสึกถึงอาการย้วยอยู่ดี เฟรมก็เช่นกัน รับรู้ได้แค่เฟรมไหนนิ่มนวลกว่า อะไรกระด้างกว่า แค่นั้นจริงๆ
ปล.ยังไม่เคยเห็นแบรนด์จักรยานขาย จกย โดยแบ่งประเภทที่น้ำหนักคนปั่นเลยนะ
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

ผมคิดว่า ที่บางท่านมีนิยาม เกี่ยวกับค่า stiff ของเฟรมที่ต่างกัน น่าจะเป็นเพราะ รูปแบบในการวัดและระบุค่า stiff ของเฟรม ทั่วไปมีทำอยู่ 2 แบบ
แบบ 1
เป็นการวัดค่า stiff ของเฟรมในแนวดิ่ง โดยการตรึงเฟรมแล้ว ป้อนแรงกดขาจาน แล้วทำการวัดค่าการเคลื่อนตัวของกระโหลก ค่า stiff ในแบบนี้ จะเป็นการวัดความแข็งแรงของเฟรม ยิ่งแข็งยิ่งดี เพราะกระโหลกจะไม่ยวบยาบ บิดตัว เวลาออกแรง

แบบ 2
เป็นการวัดค่า stiff ของเฟรม ในแนวตามความยาว โดยการตรึงหางหลัง แล้วป้อนแรงกดที่ตะเกียบหน้า
เพราะการหมุนของล้อหลัง จะเป็นตัวผลักเฟรม ผ่านท่อคอและตะเกียบ ให้ไปดันล้อหน้าหมุน
แต่ในการออกแบบเฟรม ส่วนใหญ่จะไม่เน้นความแข็งมากในแนวนี้ จะออกแบบให้ ทั้งตะเกียบและหางหลัง สามารถขยับตัวได้ เพื่อช่วยในการซับแรงสะเทือนจากพื้นถนน รวมถึงจากการกระแทกกับหลุมหรือรอยต่อถนน ดังนั้น ค่า stiff ในแนวนี้ จึงเป็นรูปของการผสมผสาน ระหว่าง ความแข็ง กับความนุ่ม ตามนิยามที่บางท่านเรียกว่า มันเป็นศิลปะ และ สุนทรีย์
เพราะมันเป็นการยาก ที่จะให้ได้ความแข็งกับความนุ่มที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวกับเฟรม

คงเป็นเหตุผลให้มีความเห็นในเรื่อง ค่าความสติฟของเฟรมต่างกัน

ขอขอบคุณทุกท่านครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
winhaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 544
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2014, 21:27

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย winhaha »

pongpipat เขียน:เฟรมที่ดีมีน้ำหนักเบา บางครั้งอาจจะด้อยในเรื่องความ stiff จึงได้มีเฟรมที่มีราคาแพง ออกแบบและใช้วัสดุคาร์บอนเกรดสูง เพื่อให้ได้เฟรมที่ทั้งเบา และมีค่าความ stiff ที่สูง แข็งแรงแต่เบา
(ไม่พูดถึงเรื่อง องศาเฟรม ความแอโร่ หรือความพุ่งของเฟรมใดๆ นะครับ)

จากการถามเพื่อนนักปั่นที่รู้จักที่เป็นพวกขาแรง ว่าเคยถีบหนักๆจนรู้สึกถึงเฟรมยวบเลยบ้างไหม ส่วนใหญ่จะตอบว่า ไม่เคยรู้สึกได้ถึงขนาดนั้น (ใช้เฟรมคาร์บอนเกรดมาตรฐาน ไม่ใช่เกรดรับแรงสูง)

ความเห็นคือ ผมคิดว่า ถ้าสำหรับนักปั่นที่น้ำหนักตัวไม่เกิน 70 โล เฟรมคาร์บอนเกรดมาตรฐาน หรือยี่ห้อมาตรฐานทั่วไป ที่ขึ้นรูปด้วยวิธีมาตรฐาน ก็น่าจะมีค่าความ stiff เพียงพอ สำหรับเขาแล้ว เพราะต่อให้ใช้เฟรมที่มีค่าความ stiff สูงขึ้น
ความ stiff ที่ได้สูงขึ้นนั้น ก็แทบจะไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นกับเขา

ผมหมายถึง กรณีเฟรมที่ต้องจ่ายด้วยราคาที่แพงขึ้นอย่างมาก เพื่อจะให้ได้ค่าความ stiff ที่สูงขึ้น
ถ้าคนปั่น น้ำหนักตัวไม่เยอะมาก อาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้เฟรมที่มีค่า stiff สูงๆเหล่านี้

ก็ขออย่าดราม่านะครับ เป็นการแสดงความเห็น
ไม่ได้หมายความว่า เฟรมใดจะดีหรือไม่ดี
หรือเฟรมที่มีราคาแพง จะไม่มีประโยชน์

เป็นการถก แลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ ไม่เกทับบลัฟกันนะครับ
ด้วยความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมหนัก 63 ซึ่งผมไม่ใช่ขาแรงอะไร เฟรมคาบอนตัวแรกที่ใช้คือ merida scultura4000 ซึ่งเท่าที่ทราบเฟรมตัวนี้คือคาบอนเกรดมาตรฐานที่ว่า ตัวที่สอง ridley noah sl ซึ่งตัวนี้คาบอนเกรดค่อนข้างสูงแล้วนะครับ เพราะมันเป็นระดับตัวเดียวกับใช้แข่งแล้ว ตัวที่ 3 s-works venge

หากคุณ pongpipat หมายถึงความสติฟอะไรที่ว่า นักปั่นแยกไม่ออก ผมว่าไม่ใช่ทุกคนนะครับ หากคำว่า stiff ที่ว่าหมายถึงความแข็ง การรับแรงและกระจายแรงออกไป :roll: :roll: ตัวผมเองรู้สึกได้นะครับ แต่ไม่รู้อะไรที่ว่ามันใช่ความหมายเดียวกับคุณมั้ย

1. เมอริด้า หากคุณกระทืบมันไปสุดแรง สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงกระโหลก ผมรู้สึกทันที ว่ามันแปลกๆ มันไม่ตอบสนองทันที แต่ด้วยความที่หางหลังมันเล็กจึงทำให้รถมันดิ้น กระโดดออกไป
2.noah sl อันนี้รู้สึกทันทีครับหากคุณกระทืบ ไปไปแบบแน่นๆนิ่งๆ
3.s-works venge มันตอบสนองทันที และมันดิ้นกระโดด เด้งทันที
(meridaใช้ขา fsaคาบอน ส่วนอีกสองคันใช้ rotor flow)

สิ่งที่อธิบายมาไม่รู้มันใช่คำเดียวกับคำว่า stiff อะไรที่ว่ามั้ย ซึ่งผมน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ที่คุณว่าครับ หากคุณบอกว่าคาบอนเกรดมาตรฐานมันเพียงพอ ผมว่าตอบยากครับ เพราะสำหรับผมมันไม่พอ :lol: :lol:

ปล.ผมก็ยังงงๆสิ่งที่พูดกัน อยู่ดีสงสัยต้องกลับไปอ่านอีกสองรอบ (อ่านไปแล้วสองรอบ)
ขายติมเรื่อย............ไป
รูปประจำตัวสมาชิก
winhaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 544
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2014, 21:27

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย winhaha »

Runbird เขียน:
Mr.Sunday เขียน:
pongpipat เขียน:เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ
กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้ขายเฟรม หรือ แนะนำเฟรม นะครับ
และผมก็ไม่ใช่คนขายหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับจักรยาน
เป็นกระทู้แลกเปลี่ยนแสดงความเห็น เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ขี่ กับ ความสติฟของจักรยาน

ถ้าจะหาซื้อเฟรมจักรยาน แนะนำเข้าไปหาอ่านกระทู้ในห้องซื้อขายได้ครับ
เค้าคงจะหมายความว่า ช่วยอธิบายใจความด้านบนกระทู้ที่ถกเถียงกันให้เข้าใจง่ายๆหน่อย ก็เท่านั้นเองครับ
:lol: :lol: :lol:

คงหมายความว่า ผมเอา link จาก youtube มาแปะให้ดู แต่มันเป็นภาษาอังกฤษ เลยบอกผมว่า ไหน ๆ เอามาให้ดูแล้วก็แปลให้ฟังหน่อย ประมาณนั้น

พอดีผมก็แปลไม่ได้ซะด้วย เลยพยายามแสดงความเข้าใจในเรื่อง Stiffness แบบที่ตัวเองเข้าใจ เอาซะยาวเลย ผิดถูกอย่าว่ากันครับ แลกเปลี่ยนกัน :mrgreen:
ป่าวครับที่คุณส่ง link มานั้นเยี่ยมเลยครับ ยิ่งทดสอบเห็นภาพเข้าใจง่ายเลย ผมหมายถึง เรื่องของพลังงาน 12345 ครับ บังเอิญเป็นแค่นักปั่นเลยไม่ค่อยเข้าใจ :P
ขายติมเรื่อย............ไป
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

@ คุณ winhaha @ คุณ runbird

นี่แหละครับที่ผมอยากฟังคำตอบ
คือประเด็นของผม คือ สำหรับนักปั่นตัวเล็กที่มีน้ำหนักไม่มาก แรงกดขาจาน ไม่ถึงกับทำให้กระโหลกเกิดการบิดตัวได้ เฟรมที่มีค่าสติฟมาตรฐาน ก็น่าจะเพียงพอ

ซึ่งคำตอบของคุณ เป็นความเห็นว่า ถึงมีน้ำหนักตัวน้อย แต่ก็ยังต้องการเฟรมที่สติฟมากขึ้น อธิบายจากประสพการณ์ใช้ มาเปรียบเทียบกัน

ขอบคุณมากครับ
Eternal_BB
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 22:58
ติดต่อ:

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Eternal_BB »

เยี่ยมเลยครับ แต่ละคนมาแสดงความคิดเห็นกันมีแต่สาระล้วนๆ

แต่ผมก็แอบคิดว่า การใช้ค่าน้ำหนักผู้ปั่นเป็นตัววัดมันถูกต้องหรือปล่าว จริงๆควรใช้ค่าวัตต์ มากกว่าไหม เพราะคนที่น้ำหนักเท่ากันไม่ใช่มีแรงกระทำต่อบันไดเท่ากัน

แล้วสมองเจ้ากรรมก็พาลคิดต่อไปอีกว่า คนเรามี2ขา เวลาขาข้างนึงกด-ขาอีกข้างก็จะดึง ถ้าออกแรงกดและดึงเท่ากัน แรงมันจะหักล้างกันไหม? (หรือจะเหลือแต่แรงบิด) หรือแต่ละคนก็ออกแรงกดและดึงในอัตตราส่วนที่ต่างกัน บางคนกดมากกว่าดึง หรือบางคนดึงมากกว่ากด มันจะมีเฟรมที่ถูกจริตต่อแรงของแต่ละคนไหม

อย่างเฟรมขึ้นเขากับเฟรมทางราบ ลักษณะการออกแรงปั่นก็ไม่เหมือนกัน เฟรมถึงต้องทำมาให้ต่างกัน

ผมก็มโนไปเรื่อยนะครับ ข้อมูลอ้างอิงไม่ค่อยมีหรอก รบกวนผู้มีความรู้มาชี้แนะด้วย
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Hxs »

Eternal_BB เขียน: แต่ผมก็แอบคิดว่า การใช้ค่าน้ำหนักผู้ปั่นเป็นตัววัดมันถูกต้องหรือปล่าว จริงๆควรใช้ค่าวัตต์ มากกว่าไหม เพราะคนที่น้ำหนักเท่ากันไม่ใช่มีแรงกระทำต่อบันไดเท่ากัน
ถ้าจะว่ากันถึงขนาดนั้น มันก็ไม่ใช่ Watt ด้วยครับ แต่ต้องพูดถึง Torque กับ Force
Watt = Torque x Cadence
กับ Torque = Force x ความยาวขาจาน
นึกดูว่าสองคนปั่น 300 watt เท่าๆกัน
คนนึงกดไป 100 รอบต่อนาที อันนี้เฟรมเฉยๆนิ่งๆ โดนแรงกดเบาๆแต่รัวๆ ไม่เป็นไร
อีกคนนึงกด 300 watt เท่ากัน แต่เกียร์หมดตอนถีบขึ้นเขาด้วยรอบแค่ 25 RPM อันนี้เฟรมย้วยต่างกันมากเลยนะครับ
โดนแรงมาไม่บ่อย แต่กดแรงมากกว่าเยอะ ทั้งๆที่มันก็ 300 watt เท่าๆกัน

แต่จริงๆผมว่าน้ำหนักตัวเฉยๆก็มากพอจะประมาณแรงได้ดีระดับนึงแล้วหละครับ โดยเฉพาะความ Stiff ของ Headtube
เคยเจอไหม เฟรมไซส์เล็กท่อคอสั้น ทรงนาฬิกาทรายแอโร่คอคอด เข้าโค้งหนักๆแล้วรู้สึกว่ามันให้ตัวนิดๆน่ะ
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Hxs »

ผมว่า Stiffness มันแบ่งเป็นส่วนๆ และแนวแรงได้ครับ

นึกถึงล้อก่อนนะ
มี Radial Stiffness (รักษาความกลม ไม่กลายเป็นวงรี), Torsional Stiffness (ส่งแรงบิดทันที ซี่ล้อไม่ย้วยตามแรงบิด) และ Lateral Stiffness (รักษาศูนย์ ไม่เฉเบ้ซ้ายขวาไปปาดโดนเบรคหรือเฟรม)
Torsional Stiffness ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะปกติมันเยอะเกินพอ ยกเว้นดิสก์เบรคซึ่งต้องการล้อที่ Torsional Stiffness สูงกว่าปกติมากหน่อย เป็นสาเหตุให้ล้อหน้าแบบดิสก์ต้องขึ้น 2x หรือ 3x เหมือนล้อหลัง
เวลาคนบ่นว่าล้อไม่แข็งพอ ส่วนใหญ่จะเพราะเจออาการ Lateral Stiffness ไม่พอเนี่ยแหละครับ ล้อมันจะสีกับเบรคหรือเฟรมเมื่อแข็งไม่พอ
แล้ว Radial Stiffness หละ? ถ้าแข็งมากเวลาคนเจอหลุมมันก็ส่งแรงหมดไม่เก็บไว้ ถ้าไม่แข็งเท่าไหร่ตกหลุมแล้วคนปั่นจะรู้สึกนุ่มกว่าหน่อยเพราะล้อซับแรงไปบ้าง ถ้าคนไหนบ่นล้อแข็งไป เกือบร้อยทั้งร้อยคือรู้สึกว่า Radial Stiffness สูงไปเนี่ยแหละครับ
งั้นล้อที่ดี ทำ Lateral Stiffness สูงมาก ไม่มีเฉซ้ายขวา แต่ Radial Stiffness แค่พอดีๆมีให้ตัวเพื่อความนุ่มบ้าง มันก็ทำได้นะ ไม่ผิดหลักฟิสิกส์ใดๆ

แล้วบนเฟรมหละ? บริเวณหางหลัง ควรปล่อยให้ขยับขึ้นลงได้บ้างไหม ถ้าทำแล้วไม่กระทบกับความแข็งของ BB และท่อล่าง?

เฟรมคาร์บอนแข่งขันดีๆนี่ออกแบบยากเย็น หนีไปทำเฟรมท่อเหล็กขายฮิปสเตอร์ดีกว่า :lol:
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
รูปประจำตัวสมาชิก
วันชัย คำแพง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1666
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 07:13
Tel: 0626825062
team: ชมรมวิ่ง พิทักษืหัวหิน
Bike: เหล็กตราหมากลุ๊ก หนักโคตรแต่ทน

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย วันชัย คำแพง »

ขอบคุณครับทุกคหสำหรับความรู้ ขอแตกประเด็นหน่อยนะครับน่าจะไกล้เคียงกันคือ
อยากเปรียบและขอความรู้จากทุกท่านดังนี้ครับ สมมุตินะครับ
ผมหนัก 50 รถที่ใช้หนััก 8 โล
อีกคนหนัก 70 รถหนัก 9 โล ถ้าในกรณีนี้ เราเทียบนำ้หนักรถกับมวลกายคนปั่น ถือว่ารถผมหนักก่วาใหมครับ
และถ้าเป็นอย่างนี้แล้วเวลาปั่นแล้วมันจะได้เปรียบเสียบกันอย่างไรบ้างครับ
ผิดถูกก็อภัยไว้ล่วงหน้าครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”