ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

ปะตินยา สิงทะนะ
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2016, 12:23
ติดต่อ:

ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย ปะตินยา สิงทะนะ »

พอดีช่วงนี้ผมเริ่มบ้าไต่เขามาก แล้วน้ำหนักตัวลดลงไวมาก ผอมจนคนทักว่าป่วยรึป่าว ตอนที่ปั่นทางราบน้ำหนักก็ไม่ลด แต่พอเริ่มไต่เขาผอมลงๆ คำถามคือเป็นเรื่องปกติมั้ยครับ ผมต้องกังวลรึป่าว ปัจจุบัน ส่วนสูง 175 น้ำหนัก 62 จักรยานหนัก 8โลนิดๆ รูปร่างประมาณนี้ พอจะยึดสายไต่เขาเป็นหลักเลย พอไหวมั้ยครับ
แก้ไขล่าสุดโดย ปะตินยา สิงทะนะ เมื่อ 17 ต.ค. 2016, 20:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
visual3dmax
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1356
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2014, 11:44

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย visual3dmax »

ไต่เขา ใช้กำลังมาก เผาแคลเยอะ ไม่เหมือนทางราบที่ ปั้นดูดตามกันได้ เขานี้แรงใครแรงมันดูดไม่ค่อยจะได้ ถ้าแรงไม่เท่ากัน
นักไต่เขานี้ หรือพวก gc น้ำหนักต่อความสูงแทบจะ -15kg เช่น สูง 180 นน.65kg
Chris Froome
Height: 1.85 m
Weight: 71 kg

Rafał Majka
Height 1.73 m (5 ft 8 in)
Weight 59 kg (130 lb)

ไม่แปลกที่จะผอม
รูปประจำตัวสมาชิก
blueracing
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 147
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ต.ค. 2016, 16:14
Tel: 0966852240
team: Cyclingism
Bike: Merida Scultura5000

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย blueracing »

นักปั่นสายอวบจะไม่นิยมไต่เขาครับ ก็เลยตัดจำนวนออกไปได้ส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็เลยมีแต่ผอมๆแห้งๆกันล่ะครับ
Blueline
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 185
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ธ.ค. 2013, 18:25
Bike: BMC SLR03 105
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย Blueline »

น.น.มีผลต่อการไต่เขามาก คนตัวใหญ่บึ้กๆอวบๆต่อให้ชอบไต่เขายังไงก็แพ้คนที่ตัวลีนๆ(ถ้าตัวแปรเท่ากันหมดต่างที่น.น.)
ต่างกัน 5 ก.ก.เหมือนแบกน้ำขวด 5 ลิตรติดขึ้นไปด้วยอีก 1 ถัง ยิ่งน.น.ตัวต่างกัน 10 ก.ก.ขึ้นไปนี่ยิ่งต่างครับ
เลยเห็นพวกสายไต่เขามักตัวลีนๆกันหมด
Let the good times roll
manaru
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 48
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 10:30
Tel: 0852085680
Bike: GIANT TCR SLR
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย manaru »

การขี่ไต่เขาจะใช้พลังงานค่อนข้างสูงและเป็นเวลานาน ถ้าเรามีเครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจจะเห็นว่าหัวใจเต้นอยู่ในโซนสูงๆเช่นโซน4-5 ในโซนนี้ร่างกายเราจะนำพลังงานที่สะสมไว้ในรูปไขมันออกมาใช้ จึงทำให้น้ำหนักลดลงครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย lucifer »

manaru เขียน:การขี่ไต่เขาจะใช้พลังงานค่อนข้างสูงและเป็นเวลานาน ถ้าเรามีเครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจจะเห็นว่าหัวใจเต้นอยู่ในโซนสูงๆเช่นโซน4-5 ในโซนนี้ร่างกายเราจะนำพลังงานที่สะสมไว้ในรูปไขมันออกมาใช้ จึงทำให้น้ำหนักลดลงครับ
:mrgreen: โซนหัวใจระดับ โซน 4-5 จะใช้พลังงานจากน้ำตาลแล้วครับ โซน 4 ถ้ายังอยู่ใน zone ของ Anaerobic threshold นี่ก็แทบจะไม่ใช้หรือแทบจะใช้ไขมันไม่ได้แล้ว ยิ่งโซน5นี่ ตัดพลังงานจากไขมันออกไปได้เลย

ที่ถูก ต้องบอกว่า ในขณะที่มีการออกกำลังในzoneหนักๆ จะใช้พลังงานหลักจากคาร์โบไฮเดรต ก็คือ Glycogen แต่พอหลังจากหยุดพักแล้ว จะเกิดผลที่ตามมาหรือที่เรียกว่า After effect คือ ร่างกายจะเผาไขมันแทน และยังยังเผาต่อไปอีกพักใหญ่ๆ นั่นก็เป็นเหตุผลหลักๆที่ทำให้ดู lean ลง

แต่เดี๋ยวนะ อย่าเพิ่งคิดแค่นั้นจะทำให้ผอม เคยสงสัยไหมว่า อ๊ะ!ทำไมบางคนปั่นทางราบก็อัดโซน 4-5 แล้วยังไม่ผอม ก็ต้องบอกว่าหลักการมันเหมือนกันนั่นแหละ

แต่ปัญหาคือ หลังปั่นด้วยโซนสูงๆมันจะหิวมาก เพราะระดับน้ำตาลและไกลโคเจนมันจะพร่องไป ถ้าหิวสัก10 แต่กินเข้าไป 20 แบบนั้นมันก็ไม่ผอมอย่างแน่นอน มันจึงเป็นสาเหตุหลักๆที่ว่า ทำไมปั่นโซนหนักๆแล้วมันไม่ผอมสักที

การที่จะผอมหรืออ้วนขึ้นนั้น มันขึ้นกับว่า "กิน" กับ "ใช้" แตกต่างกันแค่ไหน ถ้าติดลบ ก็ผอมลง แต่ถ้าติดบวก ก็อ้วนขึ้น
ตรงไป ตรงมา


แล้วจริงๆของจริงๆก็คือว่า ไม่มีสายเขาที่ไหนปั่นขึ้นเขาด้วย zone 4 - 5 หรอกครับ คนที่ปั่นขึ้นเขาด้วย zone 4 -5 ไม่ใช่สายไต่เขาครับ แต่เป็นสายทางเรียบที่มาลองขึ้นเขาเท่านั้น เพราะถ้าซ้อมมาระดับหนึ่ง จะทราบเองว่า zoneไหน อยู่ได้นานแค่ไหน เพราะ"เขา" ไม่ใช่"เนิน" อย่างไปไต่ขึ้นภูทับเบิก ถ้าขึ้นด้วยzone 4 - 5 รับรองว่าไม่รอดครับ ดังนั้นสายเขาจริงๆ จะใช้กำลังอยู่ในช่วงแถวๆ Tempo zone เท่านั้น ยกเว้นจะออกแรงเพื่อพิชิตเนิน แล้วอาศัยความได้เปรียบที่จะขึ้นถึงยอดเนินได้ก่อน เพื่อจะได้ไปยืดระยะในช่วงลงเขา แล้วไปเอาเป็น"แต้มต่อ"ในช่วงทางราบ แบบนั้นก็น่าลงทุน

แต่สำหรับ"เขา"ที่ไม่ใช่"เนิน" จะไม่ปั่นแบบนั้นแน่นอน
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
manaru
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 48
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 10:30
Tel: 0852085680
Bike: GIANT TCR SLR
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย manaru »

ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยขยายความ แท้จริงแล้วจะอธิบายแบบ อ.ลู ก็เกรงว่าจะเลอะกันไปใหญ่เพราะรู้มาไม่มาก ต้องขอบคุณมากครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
auegranfondoBMC
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 17
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2016, 11:47
Bike: BMC, STORCK aerfast
ตำแหน่ง: คันนายาว

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย auegranfondoBMC »

ส่วนตัวคิดว่า นักปั่นแต่ละสายต้องพยายามทำร่างกายให้เข้ากับสายนั้นๆด้วยนะครับ
เช่น สาย sprinter ก็ต้องเข้ายิมด้วย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อขาที่ให้ในการระเบิดพลัง sprint
ดังนั้นสายใต่เขา ซึ่งในการใต่เขานั้น น้ำหนักมีผลอย่างมากซึ่งต่างกับทางราบ เนื่องจากต้องต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก

ลองดูจากอันนี้สิครับ

https://www.facebook.com/media/set/?set ... 77a4bcdd7b
ร่างกายไม่ไหว หรือใจที่มันอ่อนแอ
รูปประจำตัวสมาชิก
bianchikuma
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 980
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2012, 15:50
Bike: Bianchi ,Cannondale

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย bianchikuma »

คนเล่นบาสไม่ได้ทำให้สูง แต่คนสูงเล่นบาส
ผมคิดว่าไต่เขามากๆไม่ได้ทำให้ผอมไปกว่ากันครับ แต่คนผอมแค่จะไต่เขาได้ง่ายกว่าเท่านั้นเอง
▄▀▄▀ ชีวิตก็เหมือนการขี่จักรยาน คุณต้องปั่นไปข้างหน้าเท่านั้นถึงจะประคองตัวเองไว้ได้ ▄▀▄▀
_______________________________อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์_______________________________

___________________Victory cannot be achieved without sacrifice__________________
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย lucifer »

สงสัยวันนี้ผมจะได้แชมป์ขัดคอเพื่อนแน่นอน ฮ่า ฮ่า

"คนเล่นบาสไม่ได้ทำให้สูง" อันนี้บอกว่าไม่ได้ถูกต้องนะครับ ยกเว้นว่า จะมาเล่นบาสตอนอายุ 20 ปีไปแล้ว อันนี้เล่นยังไงก็ไม่สูงขึ้น เพราะความสูงมันหยุดพัฒนาแล้ว

แต่หากเล่นบาสตั้งแต่อายุน้อย โดยเฉพาะผู้ชายที่เริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 11-12 ปี และเล่นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อันนี้รับรองว่า"สูง"แน่นอน ต่อให้พ่อแม่เป็นสายพันธุ์คนตัวเตี้ย คนเป็นลูกที่เล่นบาสก็จะสูงขึ้นกว่าพ่อและแม่อย่างแน่นอน

ภาษาบ้านๆ เขาจะบอกว่าในช่วงวัยก่อนที่ปลายกระดูกจะปิด ( ปลายกระดูกหรือ epiphyseal plate จะเป็นส่วนของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกแข็ง จะอยู่บริเวณปลายกระดูก ) การได้รับแรงกระแทกผ่านในแนวแกนกระดูกยาว ( long bone : กระดูกแขน กระดูกขา ) เช่น การกระโดด แรงกระแทกเหล่านี้จะกระตุ้นให้การสร้างกระดูกแขนขาเพิ่มความยาวขึ้นอย่างเร็วและอย่างมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่นั่งๆนอนๆเล่นแต่เกมส์ ทั้งนี้มันเป็นผลมาจากการกระตุ้นที่ส่งผลผ่านไปยังต่อมใต้สมองให้สร้าง Somatostatin และ Growth hormone ออกมา

ดังนั้นในช่วง growth spurt หรือ ช่วงที่เด็กกำลังโต ( ในผู้หญิงจะแถวๆ 11-12 ขวบ ส่วนผู้ชายจะช้าหน่อยคือ 13-14 ขวบ , เด็กเดี๋ยวนี้โตไว และหยุดโตไว ) การได้ออกกำลังกายที่เกิดแรงกระแทกผ่าน long bone ไม่ว่าจะเป็นวิ่ง , กระโดด เช่น ฟุตบอล , บาสเก็ตบอล , วอลเลย์บอล , กรีฑา ร่วมกับการได้รับสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซี่ยม ที่เพียงพอ เด็กจะมีพัฒนาการทางความสูงได้อย่างมาก และเร็วกว่าเพื่อนร่วมรุ่นอายุที่วันๆเอาแต่นั่งเล่นเกม ( ก็ยังดี ที่คนคิดเกม Pokemon Go คิดให้เด็กที่เล่น ได้ออกไปเดินออกกำลังกาย ให้วิ่ง เพราะเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกาย ) ถ้าใครก็ตามมีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ไปเรียนเตรียมทหาร มาเจอกันหลังจากที่จบโรงเรียนนายร้อยพร้อมๆกับที่เราจบมหาวิทยาลัย จะเห็นเองแหละว่า เพื่อนเราที่เคยตัวเตี้ยกว่าเรา หรือ สูงพอกัน ตอนนั้นมันจะสูงกว่าเราอีก

ดังนั้น เพื่อนสมาชิกท่านใดที่มีลูกอยู่ในช่วงกำลังโต และอยากให้มีพัฒนาการด้านความสูง สนับสนุน และเคี่ยวเข็ญให้ออกกำลังกายประเภทที่ผมบอกไว้เลยนะครับ รับรองลูกจะสูงอย่างรวดเร็ว
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย lucifer »

แล้วคราวนี้ทำไมสายเขาจึงมีแต่พวกตัวผอมๆ

จริงๆจะบอกว่าผอมก็คงไม่ถูก เอาเป็นว่าเป็นพวกน้ำหนักตัวน้อยๆ เมื่อเทียบกับความสูงดีกว่า

อันที่จริงก็เป็นเรื่องที่รู้กันมานานแล้วว่า การปั่นจักรยานในทางราบนั้น น้ำหนักตัวไม่ได้เป็นอุปสรรค และในทางตรงข้าม นักปั่นที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าจะได้เปรียบเรื่องของแรงเฉื่อยในการคงความเร็ว เพราะมี momentum มากกว่าคนที่น้ำหนักตัวน้อยๆ โดยเฉพาะเวลาไหลลงเขาด้วยแล้ว คนน้ำหนักตัวน้อยๆ พวกที่ตัวเบาๆกว่า 55 กก. จะไหลลงเขาสู้คนที่มีน้ำหนักมากกว่าไม่ได้ นักปั่นที่มีน้ำหนักตัวมาก ไม่ใช่นักปั่นที่มีไขมันเยอะนะ แต่เป็นนักปั่นที่มีมวลของกล้ามเนื้อและกระดูกมากกว่า

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เปลี่ยนจากทางเรียบ เป็นทางเขาเมื่อไหร่ การออกแรงเอาชนะแรงดึงดูดของโลก มันก็เป็นเรื่องของพลังงานศักย์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ"มวล" ดังนั้นน้ำหนักตัวที่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องออกแรงเอาชนะแรงดึงดูดของโลกมากขึ้นเท่านั้น ไหนจะต้องออกแรงไปจักรยานไปข้างหน้า ก็ยังจะต้องออกแรงเอาชนะแรงดึงดูดของโลกอีก

เขาถึงพูดกันถึงเรื่อง สัดส่วนกำลัง/น้ำหนัก หรือ power to weight ratio ซึ่งเป็นคำอธิบายสั้นๆ ทางราบขอไม่พูดถึง แต่จะพูดถึงทางขึ้นเขา คนหนัก 60 กก. ออกกำลัง 200 watt ขึ้นเขาลูกเดียวกัน ในขณะที่คนหนัก 80 กก. ต้องออกกำลัง 267 watt หรือออกมากกว่าอีก 33.5 % จึงจะไปด้วยกันได้ ดังนั้น ถ้าหาก FTP เท่ากัน แต่น้ำหนักตัวต่างกัน 33.5% ก็ย่อมต้องออกกำลังเพิ่มขึ้น นั่นคือ หมดก่อน

ดังนั้น เคล็ดวิชาในการเป็นสายเขาก็คือ
1. เพิ่ม FTP
2. ลดน้ำหนักตัวและจักรยาน

ง่ายๆ ไม่ยากเลย ฮ่า ฮ่า ฮ่า

แลนซ์ อาร์มสตรอง ศิษย์สำนัก EPO มีประวัติในวัยรุ่นเป็นนักไตรกีฬา มีกล้ามเนื้อท่อนบนใหญ่มากเพราะต้องใช้ในการว่ายน้ำ ทำให้ต้องแบกน้ำหนักกล้ามเนื้อเหล่านี้โดยไม่จำเป็นเมื่อต้องมาปั่นจักรยาน แลนซ์เองก็ต้องยอมปล่อยให้กล้ามเนื้อเหล่านี้มีขนาดเล็กลงไปเรื่อยด้วยการไม่เน้นออกกำลังกายด้วยกล้ามเนื้อส่วนนี้ แต่มาเน้นกล้ามเนื้อในส่วนลำตัวและขาแทน ร่วมกับการลดน้ำหนักตัวลงมา

คู่แข่งในสมัยนั้นของแลนซ์คือ แยน อูริช ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นนักปั่นร่างใหญ่ กล้ามเนื้อแน่นปัก สิ่งที่แลนซ์เอาชนะแยน อูริช ก็คือ แยน อูริชมีน้ำหนักตัวที่มากกว่าแลนซ์ ทำให้ใน stage ขึ้นเขาจะตกเป็นรองแลนซ์มาโดยตลอด ในขณะที่ stage ทางราบ ก็ไม่ได้ประโยชน์กับน้ำหนักตัวที่มากกว่า เพราะการแข่งแบบนี้ การเซททีมเป็นเรื่องสำคัญกว่า ( หลายคนอาจจะบอกว่า ก็แลนซ์ โด๊ป EPO นี่ โฮ่ โฮ่ โฮ่ กล้าอมพระมาเถียงกับผมไหมหละว่า มันก็โด๊ปกันทุกคนนั่นแหละ จับไม่ได้ หรือ ไม่จับให้ได้ ต่างหากหละ )
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Rangsimon
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 924
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 09:15
Tel: 0891777192
team: ลุงโท - Novice Team
Bike: Spe Hardrock ,Giant Hard line 7000,Trek 1.9 Astana,Roubaix Pro SL

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย Rangsimon »

พี่หมอผมคมคายเสมอ ปีที่ผ่านมาขึ้นดอยอินชิลมาก ปีนี้ถ้าเขาจัดเจอกันครับ
เขาว่า..การตี Hole in one ต้องใช้ดวง...แต่การตีใกล้ธง 2-3 ฟุตทุกครั้งต้องใช้ฝีมือ
จงใช้สมองนำความรู้สึก
korn0066
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 35
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ธ.ค. 2012, 23:55
Bike: jiant

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย korn0066 »

คุณหมอลูชัดเจนมากๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
rj45
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2375
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 19:46
Tel: xxx-xxx-xxxx
team: ชายเดี่ยว
Bike: polygon xtrada 16" สีแดง, giant tcr size s สีขาวแดง

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย rj45 »

lucifer เขียน:สงสัยวันนี้ผมจะได้แชมป์ขัดคอเพื่อนแน่นอน ฮ่า ฮ่า

"คนเล่นบาสไม่ได้ทำให้สูง" อันนี้บอกว่าไม่ได้ถูกต้องนะครับ ยกเว้นว่า จะมาเล่นบาสตอนอายุ 20 ปีไปแล้ว อันนี้เล่นยังไงก็ไม่สูงขึ้น เพราะความสูงมันหยุดพัฒนาแล้ว

แต่หากเล่นบาสตั้งแต่อายุน้อย โดยเฉพาะผู้ชายที่เริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 11-12 ปี และเล่นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อันนี้รับรองว่า"สูง"แน่นอน ต่อให้พ่อแม่เป็นสายพันธุ์คนตัวเตี้ย คนเป็นลูกที่เล่นบาสก็จะสูงขึ้นกว่าพ่อและแม่อย่างแน่นอน

ภาษาบ้านๆ เขาจะบอกว่าในช่วงวัยก่อนที่ปลายกระดูกจะปิด ( ปลายกระดูกหรือ epiphyseal plate จะเป็นส่วนของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกแข็ง จะอยู่บริเวณปลายกระดูก ) การได้รับแรงกระแทกผ่านในแนวแกนกระดูกยาว ( long bone : กระดูกแขน กระดูกขา ) เช่น การกระโดด แรงกระแทกเหล่านี้จะกระตุ้นให้การสร้างกระดูกแขนขาเพิ่มความยาวขึ้นอย่างเร็วและอย่างมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่นั่งๆนอนๆเล่นแต่เกมส์ ทั้งนี้มันเป็นผลมาจากการกระตุ้นที่ส่งผลผ่านไปยังต่อมใต้สมองให้สร้าง Somatostatin และ Growth hormone ออกมา

ดังนั้นในช่วง growth spurt หรือ ช่วงที่เด็กกำลังโต ( ในผู้หญิงจะแถวๆ 11-12 ขวบ ส่วนผู้ชายจะช้าหน่อยคือ 13-14 ขวบ , เด็กเดี๋ยวนี้โตไว และหยุดโตไว ) การได้ออกกำลังกายที่เกิดแรงกระแทกผ่าน long bone ไม่ว่าจะเป็นวิ่ง , กระโดด เช่น ฟุตบอล , บาสเก็ตบอล , วอลเลย์บอล , กรีฑา ร่วมกับการได้รับสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซี่ยม ที่เพียงพอ เด็กจะมีพัฒนาการทางความสูงได้อย่างมาก และเร็วกว่าเพื่อนร่วมรุ่นอายุที่วันๆเอาแต่นั่งเล่นเกม ( ก็ยังดี ที่คนคิดเกม Pokemon Go คิดให้เด็กที่เล่น ได้ออกไปเดินออกกำลังกาย ให้วิ่ง เพราะเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกาย ) ถ้าใครก็ตามมีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ไปเรียนเตรียมทหาร มาเจอกันหลังจากที่จบโรงเรียนนายร้อยพร้อมๆกับที่เราจบมหาวิทยาลัย จะเห็นเองแหละว่า เพื่อนเราที่เคยตัวเตี้ยกว่าเรา หรือ สูงพอกัน ตอนนั้นมันจะสูงกว่าเราอีก

ดังนั้น เพื่อนสมาชิกท่านใดที่มีลูกอยู่ในช่วงกำลังโต และอยากให้มีพัฒนาการด้านความสูง สนับสนุน และเคี่ยวเข็ญให้ออกกำลังกายประเภทที่ผมบอกไว้เลยนะครับ รับรองลูกจะสูงอย่างรวดเร็ว
ขออนุญาต พี่หมอลู แชร์ความรู้ให้เพื่อนๆนะครับ
------------------------------------------
ฝากติดตามผลงานครับ
http://www.shutterstock.com/g/p_chiantanrak
------------------------------------------
Sayanjo65
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 183
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 14:29
Bike: Cannondale SuperSix
ติดต่อ:

Re: ทำไมสายไต่เขาถึงผอมมาก

โพสต์ โดย Sayanjo65 »

lucifer เขียน:สงสัยวันนี้ผมจะได้แชมป์ขัดคอเพื่อนแน่นอน ฮ่า ฮ่า

"คนเล่นบาสไม่ได้ทำให้สูง" อันนี้บอกว่าไม่ได้ถูกต้องนะครับ ยกเว้นว่า จะมาเล่นบาสตอนอายุ 20 ปีไปแล้ว อันนี้เล่นยังไงก็ไม่สูงขึ้น เพราะความสูงมันหยุดพัฒนาแล้ว

แต่หากเล่นบาสตั้งแต่อายุน้อย โดยเฉพาะผู้ชายที่เริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 11-12 ปี และเล่นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อันนี้รับรองว่า"สูง"แน่นอน ต่อให้พ่อแม่เป็นสายพันธุ์คนตัวเตี้ย คนเป็นลูกที่เล่นบาสก็จะสูงขึ้นกว่าพ่อและแม่อย่างแน่นอน

ภาษาบ้านๆ เขาจะบอกว่าในช่วงวัยก่อนที่ปลายกระดูกจะปิด ( ปลายกระดูกหรือ epiphyseal plate จะเป็นส่วนของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกแข็ง จะอยู่บริเวณปลายกระดูก ) การได้รับแรงกระแทกผ่านในแนวแกนกระดูกยาว ( long bone : กระดูกแขน กระดูกขา ) เช่น การกระโดด แรงกระแทกเหล่านี้จะกระตุ้นให้การสร้างกระดูกแขนขาเพิ่มความยาวขึ้นอย่างเร็วและอย่างมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่นั่งๆนอนๆเล่นแต่เกมส์ ทั้งนี้มันเป็นผลมาจากการกระตุ้นที่ส่งผลผ่านไปยังต่อมใต้สมองให้สร้าง Somatostatin และ Growth hormone ออกมา

ดังนั้นในช่วง growth spurt หรือ ช่วงที่เด็กกำลังโต ( ในผู้หญิงจะแถวๆ 11-12 ขวบ ส่วนผู้ชายจะช้าหน่อยคือ 13-14 ขวบ , เด็กเดี๋ยวนี้โตไว และหยุดโตไว ) การได้ออกกำลังกายที่เกิดแรงกระแทกผ่าน long bone ไม่ว่าจะเป็นวิ่ง , กระโดด เช่น ฟุตบอล , บาสเก็ตบอล , วอลเลย์บอล , กรีฑา ร่วมกับการได้รับสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซี่ยม ที่เพียงพอ เด็กจะมีพัฒนาการทางความสูงได้อย่างมาก และเร็วกว่าเพื่อนร่วมรุ่นอายุที่วันๆเอาแต่นั่งเล่นเกม ( ก็ยังดี ที่คนคิดเกม Pokemon Go คิดให้เด็กที่เล่น ได้ออกไปเดินออกกำลังกาย ให้วิ่ง เพราะเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกาย ) ถ้าใครก็ตามมีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ไปเรียนเตรียมทหาร มาเจอกันหลังจากที่จบโรงเรียนนายร้อยพร้อมๆกับที่เราจบมหาวิทยาลัย จะเห็นเองแหละว่า เพื่อนเราที่เคยตัวเตี้ยกว่าเรา หรือ สูงพอกัน ตอนนั้นมันจะสูงกว่าเราอีก

ดังนั้น เพื่อนสมาชิกท่านใดที่มีลูกอยู่ในช่วงกำลังโต และอยากให้มีพัฒนาการด้านความสูง สนับสนุน และเคี่ยวเข็ญให้ออกกำลังกายประเภทที่ผมบอกไว้เลยนะครับ รับรองลูกจะสูงอย่างรวดเร็ว

ถ้าให้เด็กเล่น เวท เทรนนิ่ง อย่างยกน้ำหนักแทน จะได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันไหมครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”