บรรยากาศ การบรรยาย "All About Power Meter"

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

ตอบกลับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

บรรยากาศ การบรรยาย "All About Power Meter"

โพสต์ โดย giro »

All About Power Meter


รูปภาพ
พาวเวอร์มิเตอร์ เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่บรรดาผู้รักการปั่นจักรยานหลายๆคนสนใจ ในแง่มุมของการใช้งานเพื่อการพัฒนาการปั่นไปให้ถึงจุดที่ต้องการได้อย่างดีที่สุด แต่ในความยุ่งเหยิงของเนื้อหาวิชาในการใช้มัน ทำให้อีกหลายต่อหลายคน แม้จะได้ครอบครองแล้ว ก็ยังคงตั้งคำถามกับการใช้งานที่ยากจะเข้าใจได้ ยิ่งสหรับผู้ที่เมียงมองแต่ยังไม่ได้จับจอง ยิ่งดูแล้วไม่ง่ายที่จะหยิบมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพราะมันเต็มไปด้วยศัพท์แสง ตัวเลข และวิชาการอะไรก็ไม่รู้วุ่นวายไปหมด

จากอดีตสู่ปัจจุบัน ราคาของพาวเวอร์มิเตอร์ ขยับตัวจากชุดละแสนลงมาเหลือราคาถูกกว่าไมล์การ์มินตัวหนึ่งแล้ว ซึ่งในจุดนี้ เรียกว่าได้จริงๆตลาดพาวเวอร์มิเตอร์ ได้ขยับจากการใช้งานของโปรนักแข่งระดับโลก ก้าวผ่านเส้นทางของนักปั่นสายแข็ง นักกีฬา ขาแรง ลงมาสู่การใช้งานทั่วไปได้อย่างไม่ต้องมีข้อกังขา ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชนส์สูงสุด thaimtb จึงจับมือกับค่ายพาวเวอร์มิเตอร์ที่"เข้าถึง" ได้ง่ายที่สุดในเวลานี้ เปิดการบรรยาย สัมนากึ่งเสวนาเกี่ยวกับการใช้งานและที่มาของทฤษฏีต่างๆของการใช้วัตต์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นค่ายไหน สำนักอะไร โดยได้รับเกียรติจากกูรูด้านวิชาการจักรยาน เชิงวิทยาศาสตร์การกีฬาที่หาตัวจับยากที่สุดคนหนึ่งของวงการ กับ "คุณหมอลูซิเฟอร์" ที่คร่ำหวอดและลึกซึ้งในการใช้งานวัตต์มาอย่างยาวนาน ผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์และกายภาพของระบบการทำงานของร่างกาย ออกมาจากกระดานตัวหนังสือ จัดทำการบรรยายแบบถึงเนื้อถึงหนัง ลงไประดับเซลส์ให้ได้เข้าใจกัน ดำเนินรายการโดย "จิโร่" (ผมเองนั่นแหละ) ที่ชอบแคะ แกะ เกาเรื่องราวจักรยานมาบอกกล่าวกันอยู่เป็นที่คุ้นตา
รูปภาพ
ดังนั้น การบรรยายครั้งนี้ แม้จะจัดอย่างเงียบๆ เปิดรับในเวลาสั้นๆ แต่ก็ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากพี่น้องนักปั่น สำรองที่นั่งกันมาเต็มภายในเวลา 1 วันเท่านั้น จากจำนวนเกือบๆ 40 ชีวิต ที่เข้ามาร่วมมันส์และเมาไปกับเนื้อหาใน"เดอะร็อคผับ" ผับสายดิบเก่าแก่ของวงการดนตรีร็อคประเทศไทย ซึ่งร่วมสนับสนุนสถานที่ในครั้งนี้ จากจำนวนผู้เข้าฟัง ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ใช้วัตต์อยู๋แล้วเป็นประจำ และอีกครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่สนใจแต่ยังมองๆอย่างลังเลว่าจะจับจองอย่างไรดี และคุ้มค่าแค่ไหนกับการได้วัตต์มาติด เนื้อหาการบรรยายครั้งนี้ น่าจะมากเกินพอที่จะบอกได้ว่าหน้าที่ของมันคืออะไร และควรนำไปใช้งานต่ออย่างไร


รูปภาพ
ภาคแรก
เนื้อหาบรรยายในส่วนแรก ไม่ได้พูดถึงวิชาการอะไรมากมายนัก มุ่งเน้นไปที่ประวัติที่มาของการพัฒนาพาวเวอร์มิเตอร์ และนแะนำให้รู้จักกับพาวเวอร์มิเตอร์หลายๆรูปแบบที่เคยมีมาเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ยุค 1980 จนตัวล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆที่งานยูโรไบค์ที่ผ่านมา ดังจะเห็นความสำคัญว่า ทิศทางของอุปกรณ์ที่เคยอยู่ในห้องปฏิบัติการ ถูกพัฒนาออกมาติดอยู่กับจักรยานในรูปแบบไหนบ้าง และมีการต่อยอดไปถึงอย่างไรบ้าง ทั้งแบบติดล้อ จาน กะโหลก บันได ขาจาน ไปจนถึงรองเท้า รวมถึงมาทำความรู็จักกับเรื่องของความแม่นยำ ที่เป็นหนึ่งในข้อกังวลของนักปั่นในการเลือกใช้พาวเวอร์มิเตอร์สักตัว ว่าคำว่า "ค่าความคลาดเคลื่อน" ที่เรียกขานกัน หมายถึงอะไร และสำคัญแค่ไหน
รูปภาพ
ซึ่งในหมวดนี้ น่าจะช่วยให้หลายๆท่านเลือกใช้"วัตต์" ที่เหมาะกับแต่ละคนได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะพาวเวอร์มิเตอร์แต่ละรูปแบบ มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป เหมาะสมกับปัจจัยของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่แค่เรื่องของแบรนด์ ไม่ใช่เพียงความแม่นยำเท่านั้น ยังคงมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างที่ประกอบกันขึ้นมาให้วัตต์ตัวนั้นๆ จะดีและเหมาะที่สุดสำหรับใครสักคนหนึ่ง


รูปภาพ
ภาคเนื้อหา ช่วงแรก
"คุณหมอลูฯ" หรือ "หมอหนก" ของอีกหลายๆท่าน เริ่มบรรยายเนื้อหาของจริงด้วยการเริ่มอธิบายระบบพลังงานต่างๆของร่างกายโดยย่อ ว่าร่างกายของเรา จะได้แรงมาสักอย่าง ต้องเกิดกระบวนการอะไรบ้าง โดยลืมคำว่าวัตต์ ฮาร์ทเรท หรือโซนนทิ้งไปได้เลย ย้อนกลับไปตั้งต้นกันที่คนก่อน จากนั้น จึงแบ่งช่วงต่างๆออกมาเป็นระดับความหนักที่วิทยาศาสตร์การกีฬาใช้เพื่อพัฒนานักกีฬา หรือถ้าจะพูดให้ง่ายกว่านั้น ก็หมายถึง หากอยากจะพัฒนาระบบแบบไหน ก็ไปเน้นซ้อมที่ระบบด้านนั้น

ต่อมาก็นำเข้าสู่เรื่องของระดับความหนักที่ถูกวิจัยแบ่งด้วยเกณฑ์จำแนกต่างๆกัน ทั้งอัตราการเต้นของหัวใจเทียบกับอัตราสูงสุด หรือการนำเอาค่าชีพจรขขณะพักมาเป็นตัวช่วยสร้างระดับที่แม่นยำขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันมาตลอดในเรื่องของฮาร์ทเรท และได้อธิบายถึงปัจจัยอื่นๆที่มีผลทำให้"ฮาร์ทเรท" กลายเป็นตัวชี้วัดระดับความหนักที่ไม่สมบูรณ์ เพราะถูกสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ จนสามารถทำให้การฝึกซ้อม หรือการควบคุมนั้นส่งผลผิดพลาดไปได้มาก มากขนาดไหน? ... อาจมากจนเกิดการ "ผิดโซน" ไปโดยที่ไม่รู็ตัว และส่งผลร้ายทั้งการบาดเจ็บ ภาวะฝึกหนักสะสมจนเกินไป หรือไม่ได้ผลการพัฒนาเต็มที่เท่าที่ควร

และแล้วก็ถึงคราวพระเอกเข้ามาเมื่อนำเอาเรื่องของ"วัตต์" มาใช้เป็นกรอบจำกัดระดับความหนัก โดยเทียบเคียงคู่ให้เห็นว่าแท้ที่จริงไม่ว่าจะใช้ช่วงของร่างกาย จะเรียกเป็น"ไอ" ไหน "แอล" เท่าไหร่ หรือจะฮาร์ทเรทโซนแบบอะไร แท้ที่จริงทุกอย่างคือเรื่องเดียวกัน วัตต์ก็เพียงเข้ามาเป็น"ตาชั่ง" ที่บอกเราได้อย่างแม่นยำที่สุดว่าเรากำลังใช้ระบบไหนของร่างกายทำงานอยู่ ซึ่งในขั้นนี้ เนื้อหาได้ตอบคำถามของหลายๆคนว่า "วัตต์ต่างจากฮาร์ทเรทอย่างไร" ได้เป็นอย่างดี


รูปภาพ
ช่วงที่สอง
ในช่วงนี้ เนื้อหามุ่งเน้นไปที่ การนำพาวเวอร์มิเตอร์ไปใช้ในการปั่นจักรยาน ทั้งการฝึกซ้อมและการใช้งานอื่นๆ โดยเริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักกับการหาเส้นแบ่งการใช้งานในระดับต่างๆ การหาช่วงกำลังที่ใช้งานได้จริง เพื่อนำไปแตกออกมาเทียบเป็นระดับต่างๆ การหาพิกัดสูงสุดในแต่ละช่วง ที่บ่งบอกความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆปลีกย่อยได้อย่างชัดเจน ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นๆสำหรับคนใช้วัตต์ เพราะหลายๆคนก็มี FTP อยู่แล้ว และมีโซนกันอยู๋แล้ว แต่ในครั้งนี้ เนื้อหาได้ลงลึกไปถึงเรื่องของการใช้ค่า CP เพื่อหาความสามารถในการทำงานระดับต่างๆ และเหตุผลว่าเพราะอะไร จึงจำแนกและวิเคราะห์พิฒนาการของนักปั่นจากค่าต่างๆเหล่านี้ได้แม่นยำ

การบรรยายทั้งหมด ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาในส่วนของการนำไปใช้งานเพื่อพัฒนากายภาพ เพราะในการทำงานระบบต่างๆของร่างกายเรา เป็นระบบกลไกทางชีวะเคมีที่มหัศจรรย์ การฝึกซ้อมในช่วงไหน ส่งผลอย่างไรกับการพัฒนามากหรือน้อยอย่างไร บอกเราได้ว่าเราควรใช้การฝึกแบบไหน เพื่อพัฒนาอะไร ในทางกลับกัน แต่ละช่วงก็มีเพดานการทำงานที่แตกต่างกัน มีระยะเวลาการทนทานที่ต่างกัน กระบวนการต่างๆจึงมีข้อจำกัด และใช้ไปแล้วเกิดความเสียหาย ล้า กรอบ ที่ร่างกายต้องสะสมเอาไว้มากแค่ไหน กลายเป็นจุดบ่งชี้มฤษฏีการฝึกสมัยใหม่ว่า การซ้อมอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดในเวลาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน และฝึกอย่างไรจะไปให้ถึงฝั่งฝันได้ในที่สุด

โดยเนื้อหาไม่กล่าวถึงรูปแบบการฝึกของสำนักแนวทางหนึ่งๆเป็นสำคัญ แต่วิทยากร (ทั้งสองคน) พยายามให้แนวคิดสำคัญของการใช้งานอุปกรณ์และการฝึกโดยเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรกับร่างกายของเราอยู่บ้าง และควรจะทำอย่างไรต่อไปจึงจะไปยังปลายทางที่ต้องการ เพราะหนทางไปสู่ประตูชัยไม่ได้มีเส้นทางเดียว จะไปโดยรถ ลงเรือ หรือเดินไป ก็ย่อมมีเรื่องราวและคุณค่าในตัวเองที่ต่างกันไป แต่ทางไหน จะตรงจริตกับใครบ้าง ก็เป็นเรื่องที่ต้องอยู่ในกำมือของ "โค้ช" คนนั้นๆจะเลือกใช้ให้เหมาะมากกว่า (หรือเราควรต้องรู้จักว่าโค้ชคนไหนมีแนวทางเหมาะสมกับนิสัยของเรา)


รูปภาพ
ช่วงที่สาม
ช่วงที่สามเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการนำ"วัตต์" ไปใช้งานจริงนอกจากการฝึกซ้อม โดยการนำไปใช้เป็นทั้งอุปกรณ์วางแผนการขี่ ไปจนเป็นเหมือนตัวบ่งบอกระดับแรงที่ใช้ขณะที่ว่าเราจะขี่อย่างไร ออกแรงแบบไหน ร่างกายเรากำลังเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้ขี่ได้ดีที่สุดในขณะนั้นๆ รวมถึงการนำค่าวัตต์ที่ได้มาต่อยอดคำนวนเป็นค่าต่างๆที่บ่งบอกสิ่งที่เราได้ปั่นไปแล้วในตลอดเส้นทาง ค่าเหล่านี้บอกเราได้มากกว่าแค่ตัวเลขยุ่งเหยิงบนหน้าจอ โดยอธิบายถึงที่มาของแต่ละค่าอย่างลึกซึ้ง และแน่นอนว่า ค่าพวกนี้เราๆ ท่านๆ ไม่ต้องไปนั่งใส่สูตรคำนวนให้เมื่อตุ้ม เพราะค่าทั้งหมด ที่วิทยากรนำมาอธิบาย การ์มิน หรือไมล์ที่รองรับวัตต์ทั้งหลาย สามารถบอกเราได้อยู่แล้ว
รูปภาพ
เมื่อจบเนื้อหาช่วงนี้ เชื่อว่าหลายๆท่านโดยเฉพาะท่านที่มีวัตต์อยู๋แล้ว จะพอได้แนวทางในการใช้งานต่อยอดได้ และสามารถเข้าใจ วิเคราะห์โปรแกรมการฝึกซ้อมของแต่ละสำนัก แต่ละโปรของบ้านเราได้อย่างคร่าวๆว่าท่านอาจารย์กำลังต้องการให้เราทำอะไร ที่สำคัญ สำหรับหลายๆท่านที่เพิ่งมีวัตต์ในมือ จะหายสงสัยอย่างแน่นอนว่า แล้วบนไมล์ ควรจะดูค่าอะไรบ้าง จะเลือกใช้ค่าไหนบ้าง (เพราะมันมีให้หลายค่าเหลือเกิน เปิดหมดก็งงว่าค่าอะไรคืออะไร)

และในช่วงสุดท้ายเป็นไฮไลท์ สำหรับการถามตอบคำถาม ทุกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัตต์


รูปภาพ
ถาม-ตอบ ไขข้อข้องใจ
ช่วงถามตบเป็นไฮไลท์ที่สุดของงาน เพราะเนื้อหาการบรรยายทำออกมาในระดับกลางๆ (หลังจากการทดลองบรรยายไปแล้วหนึ่งครั้ง ปรับเนื้อหาใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น) ไม่ลึกเกินไปสำหรับคนที่ยังไม่เคยแตะวัตต์เลย และไม่ตื้นเกินไปจนคนที่มีแล้วมาร่วมไม่ได้อะไรกลับไป ช่วงคำถามนี้ ตอบกันแบบเนื้อๆเน้นๆ ใครถามยากตอบกันยาวให้เคลียร์ ใครถามโดนๆ มีรางวัลเล็กๆน้อยกลับบ้านไปด้วย ซึ่งคำถามต่างๆที่เข้ามา โดนใจคนตอบกันมาก ยกตัวอย่างเช่น

"ซ้อมอย่างไรให้น้ำหนักลด?"
ซึ่งตอบกันตั้งแต่เรื่องระดับและรูปกแบบพลังงานที่ใช้ ไปจนรูปแบบการขี่ว่าขี่แบบไหนน้ำหนักจะลดลงจากส่วนไหนบ้าง ถ้าจะเผาผลาญไขมันต้องขี่อย่างไร ถ้าจะเผาผลาญไขมันให้ได้มากในเวลาน้อยๆต้องขี่แบบไหน และรวมๆแล้ว เราจะวางแผนปั่นอย่างไรให้น้ำหนักลดลงได้มากที่สุด

"ถ้าฮาร์ทเรทกับวัตต์ไม่ตรงกัน จะเลือกอะไรในการคุมโซน?"
คำถามนี้ยอดนิยมที่สุดสำหรับคนปั่นจักรยานที่ฝึกซ้อม เพราะร้อยละเกือบๆร้อย เริ่มมาจากการใช้ฮาร์ทเรทคุมมาก่อนทั้งสิ้น และต่อมาจึงใช้วัตต์เป็นตัวชี้ระดับความหนัก และเมื่อทั้ง "กำลัง" และ "หัวใจ" มันไม่ไปด้วยกัน เกิดเหลื่อมกันอยู่ จะทำอย่างไรต่อไปล่ะ ... จริงๆเนื้อหาบรรยายได้อธิบายตั้งแต่แรกว่าด้วยเรื่องของระบบการทำงานของร่างกาย เราซ้อมจักรยาน เราต้องการซ้อมระบบการทำงานของร่างกาย เราไม่ได้ซ้อมให้หัวใจเต้นเท่านั้น เท่านี้ครั้ง เพราะอัตราการเต้นของชีพจร เป็นเพียงผลลัพธ์ปลายทางของการตอบสนองทุกอย่างที่สะท้อนออกมาเท่านั้น มีปัจจัยร้อยแปดพันประการที่บิดเบี้ยวมันได้ เมื่อนำเนื้อหาบรรยายตั้งแต่ต้นมาเรียบเรียงก็จะพอหาคำตอบกันได้ว่า ค่าสองค่านี้ ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เราควรยึดค่าอะไรเป็นหลัก และสิ่งสำคัญคือการรู้ตัวเราเองว่าการเลือกใช้ค่าอะไร ณ เวลาไหน เรากำลังทำอะไรกับร่างกายของเราอยู่นั่นเอง
รูปภาพ
ซึ่งคำถามหลายๆคำถามก็ก่อให้เกิดคำตอบที่หลายๆคนเฝ้ามองอยู๋เช่น...
การฟิตติ้ง มีผลต่อค่าวัตต์แค่ไหน?
การเลือกใช้ค่า FTP บนเสือหมอบและรถไทม์ไทรอัลควรเป็นค่าเดียวกันหรือไม่?
วัตต์บันเทรนเนอร์ กับวัตต์บนถนน เท่ากันหรือไม่?
ฯลฯ


รูปภาพ
ผมคงไม่สามารถถอดการบรรยายมาลงได้ทั้งหมดจริงๆครับ เพราะเนื้อหาละเอียดเกินกว่าจะนำมาเล่าได้แบบเต็มที่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมแบบนี้ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากเพื่อนนักปั่น ในอนาคต จะผลักดันให้เกิดขึ้นอีกทั้งในกรุงเทพฯ และไปเยี่ยมเพื่อนๆนักปั่นถึงพื้นที่กันให้ทั่วถึง และไม่เพียงผู้สนับสนุนในครั้งนี้ โอกาสต่อไป thaimtb หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องราววิชาการกึ่งบันเทิงทรมานแบบนี้ จะเป็นหนึ่งในความร่วมมือของภาคธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน มาช่วยกันผลักดันให้พี่น้องนักปั่นได้สัมผัสกันอย่างถ้วนทั่วถึงทุกหัวมุมเมืองกันไปในภาคภาคหน้า
รูปภาพ
ผมแอบจีบวิทยากรระดับสุดยอดเอาไว้หลายๆท่าน โอกาสหน้า จะเป็นเรื่องราวอะไร แอบกระซิบว่า จะเป็นการผนวกกันทั้งด้านของวิทยาศาสตร์การกีฬา ด้านกายภาพของร่างกาย ระดับโปรตัวจริง และแนวหน้าของประเทศไทย ที่ถูกนำมากวนเข้ากับบริบทของนักปั่นทั่วๆไปให้ได้เสพย์กันอย่างอิ่มหนำ นำไปสำราญบันเทิงกันได้เต็มที่อย่างแน่นอน

พบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ



ขอขอบคุณ
thaimtb.com
4iii Precision by Bike And Body
The Rock Pub กรุงเทพ[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 015253.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
JayTHAI
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 452
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2015, 15:59
team: Zephyr Elite Team, Crazie Bike
Bike: Giant TCR SL ISP '2016
ติดต่อ:

Re: บรรยากาศ การบรรยาย "All About Power Meter"

โพสต์ โดย JayTHAI »

งานดีมีคุณภาพ เหมือนได้กลับไปเรียนชีววิทยาอีกรอบ ขอบคุณอ.หมอลูและทีมงานที่จัดกิจกรรมดีๆครับ ครั้งหน้ามีอีกถ้าเวลาว่างตรงกันไม่พลาดแน่นอน

ปล. หมอลูเปรียบเทียบการปั่นกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันได้เข้าใจง่ายมากๆครับ คนอะไรเปรียบการปั่นLTกับการเอานิ้วจิ้มเทียน
ปล2.น้องน้ำอิงนอกจากน่ารักแล้วยังร้องเพลงเพราะมว้ากกกกก ฟังละเคลิ้มเลยยยยย ^___^
แก้ไขล่าสุดโดย JayTHAI เมื่อ 13 ก.ย. 2016, 09:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
My Gear : [Giant TCR SL ISP '16]+[Ultegra mix with Dura-Ace]+[Stages Dura-Ace9000]+[Dura-Ace C50]

Crazie Bike : Bike Fitting Service (Static) Line ID : @craziebikefitting
ขวัญใจขาอ่อน... www.facebook.com/kwanjaikhaorn
รูปประจำตัวสมาชิก
NexRise777
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 174
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2014, 00:44
Bike: bmc gf01

Re: บรรยากาศ การบรรยาย "All About Power Meter"

โพสต์ โดย NexRise777 »

:P ได้ความรู้มากมาย เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ครับ!
รูปประจำตัวสมาชิก
LaVio
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 53
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 23:44
team: Coconut Juice
Bike: Pinarello marvel
ตำแหน่ง: ชุมพร

Re: บรรยากาศ การบรรยาย "All About Power Meter"

โพสต์ โดย LaVio »

ผมอยู่ต่างจังหวัด สนใจเจ้าพาวเวอร์มิเตอร์มานานพอควรยังตัดสินใจไม่ได้ซักกะที ได้แต่เสียดายที่ไม่มีโอกาศได้ไปร่วมฟังการบรรยายด้วยครับ :o
visual3dmax
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1356
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2014, 11:44

Re: บรรยากาศ การบรรยาย "All About Power Meter"

โพสต์ โดย visual3dmax »

ผมถอดขาเรด มาใช้ อัลไตก้าเพราะขา 4iiii เบย
เก็บตังไม่นาน เผลอๆรอเก็บตังขาวัดสองข้างมาพอดี
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”