ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย giro »

ครบเครื่องเรื่องจานหน้า
DSC02147.jpg
DSC02147.jpg (46.61 KiB) เข้าดูแล้ว 120949 ครั้ง

สืบเนื่องจากคำถามที่มักถามกันบ่อยๆว่าจะเลือกใช้จานหน้าแบบไหนดี? และความสงสัยว่า จานหน้าที่มีอยู่ จะพอใช้หรือไม่? ส่วนใบจานแต่ละแบบแตกต่างกันสักเท่าไร? คำถามเหล่านี้สามารถแก้โจทย์ได้ไม่ยากหากเราเข้าใจเรื่อง "อัตราทดเกียร์" โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าด้วย "ดัชนีทดเกียร์" ซึ่งดูจะเป็นเรื่องซับซ้อนเพราะเป็นเรื่องของคณิตศาสตร์และตัวเลขทศนิยมยุ่บยั่บไปหมด แต่แท้ที่จริงแล้ว มันคือตรรกะง่ายๆๆของการได้เรปียบเชิงกลพื้นฐานนั่นเอง

DSC02146.jpg
DSC02146.jpg (31.11 KiB) เข้าดูแล้ว 120949 ครั้ง
ดัชนีอัตราทดเกียร์
เรื่องของการประเมินการได้เรปียบเชิงกลของเกียร์จักรยาน มันเริ่มมาจากแนวคิดง่ายๆครับ ตรงที่การขับเคลื่อนให้ล้อหลังหมุนไป 1 รอบ เราต้องหมุน"ขาจาน" ที่ติดอยู๋กับจานหน้าไปเท่าไหร่ ซึ่งระยะทั้งหมดนี้ถูกระบุอยู๋ด้วยจำนวนฟันของเฟืองและจานที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันด้วยโซ่และข้อต่อโซ่แต่ละข้อ กล่าวกันง่ายๆก็คือ หากจานหน้าเคลื่อนที่ไป 11 ฟัน ก็หมายถึงโซ่เคลื่อนที่ไป 11 ข้อ และแน่นอนว่าเฟืองหลังที่ติดอยู๋กับล้อก็เคลื่อนที่ไป 11 ฟันเท่ากันนั่นเอง ต่อไปก็ต้องมาดูกันว่า 11 ฟันที่เฟืองหลังนั้น เป็นระยะการเคลื่อนที่เท่าไหร่กันแน่

หรือในอีกนัยหนึ่งก็หมายถึง จานหน้าหากเคลื่อนที่ไปครบหนึ่งรอบ สมมุติกันตรงนี้เ)็นตุ๊กตากันที่จานหน้า 50 ฟัน ก็หมายถึงระยะการเคลื่อนที่ของโซ่ 50 ข้อ และระยะของการวิ่งของเฟือง 50 ฟัน เอาล่ะครับ สมมุติกันเล่นๆว่า โซ่พาดอยู๋บนเฟือง 15 ฟัน ก็หมายถึง ระยะทางที่เฟืองนั้นเคลื่อนที่ไปเป็นจำนวน 3.33 รอบ (ขาจานวิ่งครบ 1 รอบ ได้เท่ากับระยะทางล้อหมุนไป 3.33 รอบ) และแน่นอนว่าเมื่อนำมาคำนวนกับเส้นรอบวงของล้อและยางในแต่ละขนาด ก็จะได้ระยะทางที่ สามารถสร้างได้จากการวนขาจาน 1 รอบ พอนำไปคูณกับจำนวนรอบขาต่อนาที แล้วไปคูณกับ 60 สิ่งที่ได้ก็คือ ... ความเร็ว คิดเป็น ระยะทางต่อชั่วโมงที่ทำได้จากอัตราทดเกียร์นั้นๆ ที่รอบขานั้นๆ
DSC02145.jpg
DSC02145.jpg (29.64 KiB) เข้าดูแล้ว 120949 ครั้ง
ดังนั้นค่าดัชนีของการทดเกียร์นี้เอง สามารถบอกเราได้ว่า ที่การหมุนของจานหน้า 1 รอบ จะได้รอบของล้อกี่รอบ หากยิ่งมีค่ามาก (หมุนขาจาน 1 รอบล้อหมุนหลายๆรอบ) ก็จะได้งานมากแต่ก็หมายถึงน้ำหนักเกียร์ที่หนักขึ้น หากได้ค่าน้อยก็แปลว่าได้เปรียบเชิงกลมากขึ้น ได้งานน้อยลงแต่มีน้ำหนักทดแรงเบากว่า

ต่อไปเราจะมาดูค่าดัชนีเกียร์ของจานหน้าแบบต่างๆ โดยครั้งนี้ผมจะใช้เฉพาะเฟืองมาตรฐานสากลนิยม 11-28 เป็นหลัก นอกจากนั้นก็ต้องรบกวนให้ทุกท่านนำไปคำนวนเทียบเคียงกันเองนะครับ
*ตารางดังต่อไปในี้ใช้สัดส่วนทศนิยม 1 ตำแหน่งโดยปัดลงหรือขึ้นตามทศนิยมตำแหน่งที่สอง
all table.jpg
all table.jpg (111.92 KiB) เข้าดูแล้ว 120950 ครั้ง
จากตารางรวมทั้งหมดจริงๆถ้าเอาแค่คารางนี้ก็สามารถจะบ่งชี้อะไรๆได้ค่อนข้างเยอะแล้วล่ะครับ และน่าจะช่วยให้หลายๆท่านพอจะมีแนวทางในการเลือกใช้จานหน้าต่างๆกันได้ไม่มากก็น้อย เพราะหากพิจารณาให้ดีๆ จะพบว่าจานหน้า 53, 52 และ 50 มีความต่างของอัตราทดโดยเฉพาะในเฟือง 11 และ 12 ที่เป็นประเด็นในการเลือกใช้ได้
table 1.jpg
table 1.jpg (35.74 KiB) เข้าดูแล้ว 120950 ครั้ง
เรามาคำนวนความเร็วที่น่าจะทำได้จากจาานหน้าทั้ง 3 ที่ยกตัวอย่างดูนะครับ ในกรณีสมมุตินี้ผมจะเลือกใช้รอบขาที่ 100 รอบต่อนาที และใช้ล้อขนาด 700x25 ซึ่งน่าจะเป็นมาตรฐานของกระแสนิยมในตอนนี้
จานหน้า 53 เฟือง 11 ทำความเร็วได้ 60.85 กม./ชม.
จานหน้า 52 เฟือง 11 ทำความเร็วได้ 59.70 กม./ชม.
จานหน้า 50 เฟือง 11 ทำความเร็วได้ 57.40 กม./ชม.

สำหรับจาน 52 และ 53 ก็คงไม่ต้องคุยกันเยอะ เพราะจริงๆแล้วอัตราทดที่ได้ถือว่าใกล้กันมากๆ ซึ่งมีจุดเด่นที่เหมาะสมสำหรับนักปั่นสมัครเล่นที่น้อยคนจะมีแรง"กระทืบ" จานหน้าลงไปถึงเฟือง 11 ได้บนทางราบ ดังจะเห็นได้ว่าหากใช้จาน 52 บนเฟือง 11 เราจะได้อัตราทดที่เบากว่าจาน 53 นิดหน่อยแต่ก็ไปได้เร็วกว่าจาน 53 บนเฟือง 12 ดังนั้น หากใครที่พบว่าสามารถกระชากจาน 53 บนเฟือง 12 ได้ แต่แทบจะไม่มีโอกาสไปถึงเฟือง 11 เลย ลองหันไปมองจาน 52 และอาจจะสามารถมีแรงเหลือไปถึงเฟือง 11 ซึ่งจะได้ความเร็วสูงสุดมากกว่าจาน 53 เฟือง 12 เสียด้วยซ้ำ

แต่สำหรับจาน 50 ฟัน ซึ่งหลายๆสำนักยกให้เป็นจานที่เหมาะที่สุดสำหรับนักปั่นแนวนันทนาการ แนวท่องเที่ยวที่ไม่ได้เน้นการทำความเร็วแข่งขัน เพราะอย่างที่เห็นว่าหากปั่นที่เกียร์หนักสุด(จาน 50 เฟือง 11) ก็สามารถทำความเร็วได้ถึง 57.4 กม./ชม. ที่รอบขาร้อยรอบต่อนาทีเข้าไปแล้ว ซึ่งเกินพอสำหรับการเดินทางโดยทั่วไป แต่พอมามองในสถานการณ์แข่งขัน เราลองมาพิจารณาจากรอบขาต่างๆต่อไปนี้ดูนะครับว่าได้ความเร็วเท่าไหร่กัน
DSC02144.jpg
DSC02144.jpg (30.57 KiB) เข้าดูแล้ว 120949 ครั้ง
จานหน้า 50 เฟือง 11 รอขา 100rpm ทำความเร็วได้ 57.40 กม./ชม.
จานหน้า 50 เฟือง 11 รอขา 110rpm ทำความเร็วได้ 63.15 กม./ชม.
จานหน้า 50 เฟือง 11 รอขา 120rpm ทำความเร็วได้ 68.89 กม./ชม.
จานหน้า 50 เฟือง 11 รอขา 130rpm ทำความเร็วได้ 74.63 กม./ชม.
จานหน้า 50 เฟือง 11 รอขา 140rpm ทำความเร็วได้ 80.37 กม./ชม.

ถ้าท่านสามารถสปรินท์ด้วยรอบขา 110 รอบต่อนาที ก็จะสามารถทำความเร็วได้สุงกว่าจานหน้า 53 เฟือง 11 ที่รอบขา 100 รอบต่อนาทีได้แล้ว ซึ่งมันพอจะไปถึงระดับแข่งขันได้ โดยเฉพาะระดับสมัครเล่น เพราะบนทางราบระดับสมัครเล่นขา อบต. ขาวัดใจ จะมีซักกี่คน กี่รายการที่สปรินท์กันได้ทะลุ 65 กม./ชม. ?? แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่หน้าเส้นชัยเท่านั้น เพราะเสือหมอบไม่ได้มีแค่ทางราบ และขึ้นเขา ที่เส้นทางลงเขายาวๆ ในการแข่งขันบางครั้งทำความเร็วกันทะลุ 70 กม./ชม. แช่กันนานๆ ซึ่งนั้นหมายถึงการทำรอบขา 120-130 รอบต่อนาทีเพื่อทำความเร็วให้ได้ตามคนอื่นๆทัน ถามว่ามันจะยากอย่างไร ผมว่าให้ท่านลองเอาเองดีกว่าครับ ถ้าทำได้และคิดว่าสะดวกกับแนวทางนี้ ผมก็ขอสรุปตรงนี้ไปเลยว่า จานหน้าแบบ 50/34 หรือแบบคอมแพ็ค เป็นตัวเลือกที่น่าจะเหมาะมากๆกับท่าน แต่หากทดลองซอยยิก 130 รอบต่อนาทีแช่ 5-6 นาทีแล้วไม่รอด ... แล้วอยากจะซิ่งบนเส้นทางแนวแข่งขัน อาจต้องปิดประตูทางเลือกของจานคอมแพ็คไปเสียตรงนี้

ส่วนสายนันทนาการ ออกกำลังกาย ทัวริ่ง สนุกสนาน อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะชัดเจนลงเอยกันแล้วว่า จานหน้าแบบ 50/34 ไม่ได้ด้อยหรือตอบสนองการใช้งานของแนวทางนี้ไม่ได้แต่อย่างไร มีก็เพียงสถานการณ์เฉพาะบางอย่างที่อาจจะไม่สะดวกนัก แต่เมื่อแลกมากับความ"เบา" เวลาขึ้นเขา (เดี๋ยวมาว่ากัน) คงสามารถชั่งน้ำหนักกันได้ไม่ยาก


บนเขาและทางชัน
table 2.jpg
table 2.jpg (34.22 KiB) เข้าดูแล้ว 120950 ครั้ง
บนทางชัน หรือการขึ้นเขา เรามุ่งเน้นให้ความสนใจไปอยู่ที่เรื่องของอัตราได้เรปียบเชิงกลของอัตราทดเกียร์ ที่ช่วยทดแรงมากกว่าเรื่องของความเร็ว ตัวเลขของค่าดัชนียิ่งน้อยแปลว่ายิ่ง"เบาแรง" เราได้บนเขา ก็เป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไรที่จานหน้า 34 จะเบาแรงกว่า 36 และ 39 ที่เฟืองเดียวกัน เรียกว่า ถ้าเทียบกันแล้วระหว่างจานหน้า 39 กับ 34 ที่เฟืองใหญ่สุด(28) ทดแรงได้ราวกับเพิ่มเฟืองมาที่จาน 39 อีก 2 เสต็ปเลยทีเดียว (ในกรณีนี้ก็ได้อัตราทดใกล้เคียงกับใช้จานหน้า 39 กับเฟือง 33 โน่นเลย) ไหนๆก็มาพูดกันแบบนี้ เราลองมาดูว่า หากจะเอาค่าดัชนีเป็นตัวตั้ง ที่จานหน้าต่างๆกัน เราต้องเลือกใช้เฟืองอะไรกัน

ค่าดัชนี 1.2 จานหน้า 34 เฟือง 28
ค่าดัชนี 1.2 จานหน้า 36 เฟือง 30
ค่าดัชนี 1.2 จานหน้า 39 เฟือง 33

นั่นก็แปลว่า หากตีนผีของท่านรองรับได้แล้วล่ะก็ เราสามารถเพิ่มขนาดเฟืองเพื่อให้ได้อัตราทดเดียวกันกับจานหน้าแบบคอมแพ็คช่วยทุ่นแรงบนเขาก็ทำได้ (แต่สิ่งที่เสียไปคือความต่อเนื่องของเกียร์ต่างๆ เพราะเฟืองต้องกระโดดมากขึ้น) หรือสามารถถามใจตัวเราเองได้ในโอกาสที่รู้สึกว่า "เฟืองหมด" บนเขาว่า เราต้องการอีก 1 เสต็ปเพื่อช่วยเราหรือไม่ ที่สำคัญ อีกประการที่ละเลยไม่ได้แม้แต่ในสนามแข่งก็คือ การที่มีอัตราทดที่เบาขา ใช้รอบขาบนเขาได้มากขึ้น ก็ช่วยให้ถนอมกล้ามเนื้อ ลดแรงเค้นและแรงเครียดของกล้ามเนื้อในการขึ้นเขาได้ ยังผลให้สามารถใช้พลังกล้ามเนื้อในการเร่ง กระชากได้ในสถานการณ์ที่ต้องการนั่นเอง
DSC02142.jpg
DSC02142.jpg (25.79 KiB) เข้าดูแล้ว 120949 ครั้ง
ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมา ทำให้ในสถานการณ์ปกติทั่วไป จานหน้าแบบ 52/36 จึงเป็นทางออกที่อยู่ตรงกลางระหว่างระดับขาโปร และระดับนักปั่นสมัครเล่น อย่างที่หลายๆคนบอกว่าเท่านี้ก็เกินพอสำหรับขา อบต. แล้ว อัตราทดหนักสุดสามารถทำความเร็วสปรินท์ได้แทบไม่ต่างจากจานหน้ามาตรฐาน ในขณะที่อัตราทดเบาบนเขาก็ทดแรงได้เยอะ (ยกเว้นกรณีเขาโหดหิน ชนิดไต่อินทนนท์ หรือระดับความชัน 20 บวดลบ ที่บางคนแทบไม่เหลือรอบขาจะกดไปได้) อันนี้จะอย่างไรก็คงต้องเลือกพิจารณาเอาตามความต้องการใช้ของแต่ละท่าน

เพราะการเลือกใช้เกียร์ ไม่ได้มองเฉพาะการทดแรง และการทำความเร็วสูงสุดเท่านั้น มันยังหมายถึงความต่อเนื่องในการไล่ระดับการทดแรง ไปจนถึงการ "เผื่อ" ถึงสถานการณ์ต่างๆที่ครบเครื่อง แน่นอนว่าหากเทไปทางใดทางหนึ่งก็ย่อมเสียอีกทางหรืออีกสองทางไปด้วย หากจะขยายเกียร์ให้ครอบคลุมด้วยการขยายจำนวนฟันของเฟือง ก็จะเสียความต่อเนื่องของเกียร์ หากเน้นไปที่อัตราทดเบาๆ ก็ย่อมเสียเกียร์หนักในการทำความเร็ว(โดยเฉพาะบานทางลงเขา) ในทางกลับกันหากเน้นไปที่การทำความเร็วบนทางราบ ก็ต้องยอมเสียอัตราทดบนเขาชันสุดๆไปบ้างนั่นเอง

จะเลือกใช้อย่างไรนั้น คงต้องอยู่ที่แต่ละท่าน ตอบคำถามกับตัวเองว่า จะปั่นแบบไหน อย่างไร ปั่นที่ไหน อย่างไร ถึงจะเป็นข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุด

รูปภาพ
ยังไม่จบครับ ยังมีอีกเรื่องที่น่านำมาพูดกัน ซึ่งเรื่องนี้จะเชื่อมโยงไปถึงเทคนิคการเลือกใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความต่อเนื่องของการทดแรง และนำไปสู่เทคโนโลยีใหม่ของเกียร์ Shimano ในปี 2017 ที่เคยพูดถึงกับมาก่อนแล้ว กับเทคโนโลยี Synchronize Shifting ที่เกยีร์ไฟฟ้า เลือกใช้อัตราทดที่เหมาะสมให้ทันทีเมื่อเราทำการเปลี่ยนจานหน้า
table 3.jpg
table 3.jpg (63.42 KiB) เข้าดูแล้ว 120950 ครั้ง
ในชุดจานและเฟืองที่ประกอบกันเป็นอัตราทดเกียร์ จะมีคู่ของอัตราทดเกียร์ที่มีดัชนีที่ใกล้เคียงกันอยู่หลายคู่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับเส้นทางและสถานการณ์ต่อเนื่องไปยังอนาคตได้ด้วย ซึ่งเป็นเทคนิคการเลือกใช้เกียร์ที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับเส้นทางข้างหน้าได้สะดวกและทำความเร็ว หรือทดแรงได้อย่างต่อเนื่อง ลองสังเกตุจากคู่แรกสุุดระหว่างเฟือง 14 บนจานเล็ก และเฟือง 19 บนจานใหญ่ ของชุดจานมาตรฐานที่นำมาเป็นตัวอย่าง มีอัตราทดที่ใกล้เคียงกัน เราสามารถปรับสลับใช้ได้ให้เหมาะสมกับเส้นทางข้างหน้า เช่น หากปั่นบนทางราบแล้วจะต่อด้วยเส้นทางขึ้นเขา จากเดิมที่อยู๋บนจานใหญ่ ก็ลองปรับลงมาที่จานเล็กแล้วเปลี่ยนเฟืองเล็กลงไปอีก 2 เสต็ป ก็จะได้อัตราทดเดียวกัน จากนั้นก็สามารถเปลี่ยนเฟืองหลังรับมือกับเส้นทางบนเขาได้ไม่ยาก
รูปภาพ
ในทางกลับกัน เมื่อเราขึ้นเขาอยู่บนเฟืองนั้นมาได้ ต่อจากนั้นจะเป็นทางราบหรือลงเขา ต้องการทำความเร็ว จากเดิมที่อยู่จานเล็กกับเฟือง 14 (เขาคงไม่ชันมาก) เมื่อใกล้ถึงยอดเขา ก็สลับไปใช้จานใหญ่แล้สเลือกเฟืองใหญ่ขึ้น 2 เสต็ปก็จะได้อัตราทดเดียวกัน จากนั้นเมื่อดิ่งลงเขาทำความเร็วก็ไล่เฟืองหลังเล็กลงเรื่อยๆมาได้ไม่ยาก

และนี่คือตัวอย่างในหลายๆสิบสถานการณ์ที่เราสามารถเลือกใช้อัตราทดเกียร์ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าแค่การใช้เกียร์ให้เหมาะกับสถานการณ์ตรงนั้น และกลายเป็นหนึ่งในความฉลาดของการพัฒนาระบบเปลี่ยนเกียร์อัจฉรียะของชุดเกียร์ไฟฟ้า Shimano Dura Ace Di2 9100 ที่จะมาในปี 2017 สำหรับนักปั่นที่ไม่ได้มองหาของคู่มือรดับโปรก็อย่าได้เสียใจไปครับ ทักษะนี้ทำได้ทุกคน ทำได้ทุกชุด ทุกยี่ห้อ เพียงแต่เราต้องรู้จัก เรียนรู้ และเลือกใช้เอง ระบบไฟฟ้ามันแค่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกของการทำงานเท่านั้น
รูปภาพ


ปิดท้ายหากปัญหาอยู๋ที่ เฟืองไม่พอบนเขา กับกดไม่ลงบนทางราบ จะเฟืองกระด้งจานน้ำจิ้ม หรืออะไรก็แล้วก็ยังไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องกลับมาหาที่"ขา" ของเราแล้วล่ะครับ จักรยาน เครื่องยนต์ก็คือมนุษย์ เครื่องยนต์กำลังน้อย ก็ต้องเลือกใช้ระบบทดกำลังมาช่วย แต่ช่วยได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่การเลือกบริหารจัดการของแต่ละคน สุดท้ายอาจจบลงที่มีจานอยู่บ้านหลายชุด เฟืองอีกหลายแบบ เอาไว้เลือกใช้ ซึ่งก็ไม่ผิดครับ เราแก้ปัญหาได้ด้วย "เงิน" เป็นทางแก้ที่ว่องไวที่สุด (แค่มีเงินก็แก้ได้) อย่างไรก็ตาม แก้ปัญหาที่แรง อาจจะช้าแต่เราได้ผลที่มากกว่าแค่ความสนุกกับจักรยาน เพราะสิ่งที่เราได้คือความแข็งแรง หรือสุขภาพของเรานั่นเอง รวมถึง เทคนิคและทักษะ ที่สามารถช่วยทดแทนได้ทั้งแรง และ พลังทรัพย์ เอาเป็นว่า เบี้ยน้อย แรงถอย ใช้กึ๋นเข้ามาแทน[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 980743.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
GRACE
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 30
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 12:52
Tel: 084-047-6669
team: SUDSOI Chiangmai
Bike: Bianchi Intenso , Kuma 29.1
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย GRACE »

:)
kob1234
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 363
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2015, 13:28
Tel: 0945599693
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย kob1234 »

จะใช้จานอะไรสุดท้ายก็อยู่ที่คนครับมีแรงเท่าไร
Ekarin@3brosbikes
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 15
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2015, 11:38
Tel: 0891355559
team: 3brosbikes
Bike: cervelo

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย Ekarin@3brosbikes »

ของดีมากเลยครับ
aum047
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 338
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2012, 08:47
Tel: 085-9023377 เบอร์เดียว
team: Strong Pig.
Bike: Propel isp
ตำแหน่ง: ลาดกระบัง
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย aum047 »

แปะไว้ครับ

จะกลับมาอ่านซ้ำ

ขอบคุณครับ
Strong pig.
เรา.....จะเป็นหมูที่แข็งแรง :lol:
Nut kosalavit
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 83
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2015, 16:42
Tel: 0943065888
team: -
Bike: Focus

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย Nut kosalavit »

โล่งเลยจริงๆ :D
pornla99
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 263
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 12:31
ตำแหน่ง: อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 15140
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย pornla99 »

ปักครับ
ขายเฟรม ellsworth moment sst1
เณรแอร์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2798
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 01:57
team: โรงพยาบาลสกลนคร
Bike: MOSSO
ตำแหน่ง: ร.พ.สกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย เณรแอร์ »

:idea:
kien
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 84
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มี.ค. 2014, 14:57
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย kien »

ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Bec
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 73
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2014, 20:51
Tel: 0899704511
team: Bansong Suratthani
Bike: Trek

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย Bec »

เยี่ยมครับ
จิรชาติ
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2016, 09:11
Tel: 0954949249
Bike: เสือหมอบ
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย จิรชาติ »

บทความยอดเยี่ยมมากมายครับ :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
oh pattaya
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 85
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2016, 10:22
Tel: 0985424788
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย oh pattaya »

ได้รู้สักทีว่าระดับเราจานไหน?

ขอบคุณครับ.
kiatipan
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 45
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2015, 19:35
Tel: 0853137254
team: อิสระ
Bike: giant และ java
ตำแหน่ง: 118 เทศบาล 9 ต.วารินฯอ.วารินฯจ.อุบลฯ
ติดต่อ:

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย kiatipan »

่เคลียร์ใจได้ดี...ขอบคุณมากครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Korkiert
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 86
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2015, 13:14
Tel: 0894658901
team: pattani
Bike: trek alr 5

Re: ครบเครื่องเรื่องจานหน้า 53/39 52/36 50/34 หายสงสัยกันตรงนี้

โพสต์ โดย Korkiert »

ขออนุญาตถามครับว่า ส่วนของความยาวขาจาน มันจะมีผลต่อการใช่แรงมั้ยครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”