ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย giro »

เรื่องของท่วงท่า
Special Thanks ขอขอบคุณ Sky Lane ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการเก็บภาพประกอบ
รูปภาพ


จะเป็นท่ายาก หรือท่ามาก แต่การขี่จักรยาน มีอะไรมากไปกว่าแค่ขึ้นไปคร่อมแล้วปั่นๆ ถีบๆ ไปข้างหน้าอย่างแน่นอน ซึ่งแต่ละท่าก็มาจากแต่ละจุดของการจับแฮนด์ที่ถูกออกแบบมาให้จับได้หลากหลาย เหมาะสมกับการใช้งานครอบคลุมทั้งความเร็วและระยะทางอันยาวนาน เพราะเบื้องต้นกำเนิดของจักรยาน"เสือหมอบ" ที่แค่ชื่อก็เดาได้ไม่ยากแล้วว่ามันต้องมาจาก"ท่วงท่า" การปั่นที่หมอบลงไปหลบลม กำเนิดมาจากการแข่งจักรยานถนนยุคโบราณหรือฝรั่งเรียกกลุ่มนี้ว่า "โร้ดไบค์" (Road Bike) ชื่อก็ว่าถนนแต่สมัยก่อนกลับแข่งกันบนทางกรวด ทางดินบ้าง และระยะทางก็ยาวไกลเป็นสองสามร้อยกิโลเมตร และจากจุดกำเนิดเช่นนั้นเอง ที่ทำให้แฮนด์ของจักรยานเสือหมอบ มีการพัฒนามาจนได้รูปลักษณ์ดังปัจจุบัน


รูปภาพ
รูปทรงบโค้งๆของแฮนด์เสือหมอบนั้น แน่นอนว่าสามารถจับได้หลากหลายตามจุดต่างๆ พัฒนาการในระยะสั้นๆอาจไม่ได้แตกต่างกันมากนักในแง่ของ"รูปร่าง" แต่ในแง่ของการออกแบบนั้นถือว่าในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนารูปร่างของแฮนด์ไปอย่างมาก เกิดแฮนด์ทรงต่างๆ ทั้งระยะรีช(Reach) และดร็อป(Drop) ที่แตกต่างกัน ไปจนรูปทรงของท่อที่ออกแบบมาทั้งแบนบางลู่ลมหรือเอื้อให้สามารถจับได้สบายกระชับเมื่อต้องการปั่นเป็นระยะเวลานานๆ วันนี้ผมขอไม่พูดเรื่องทรงและการเลือกแฮนด์ก็แล้วกันนะครับ เพราะลำพังเรื่องนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเนื้อหาที่คุยกันได้ยาวๆไม่จบแน่ๆ วันนี้มาว่ากันเรื่องของท่าขี่ต่างๆ ยกตัวอย่างกันพอสังเขปบนแฮนด์เสือหมอบก็แล้วกัน


รูปภาพ
ตำแหน่งในการจับแฮนด์เสือหมอบ
การจับแฮนด์เสือหมอบ จำแนกออกเป็นตำแหน่งที่จัได้ 3 จุดหลักๆดังนี้
1.จับที่บาร์ด้านบน
หมายถึงการจบที่ช่วงของบาร์ด้านบนที่ประกอบเข้ากับเสต็ม มีระยะการจับที่ใกล้ที่สุด อัตราการก้มลงน้อยที่สุด หรือเอื้อให้มีท่าขี่ที่ผ่อนคลายที่สุด ในทางกลับกันก็เกิดแรงต้านอากาศได้มากที่สุด(ในท่าปกติ)
2.จับที่มือชิฟท์เตอร์
หรือเรียกกันอีกอย่างง่ายๆว่า "ฮู้ด" ซึ่งหมายถึงมือจับที่ตัวชิฟท์เตอร์ออกแบบมา แต่เดิมเกิดจากการดัดแปลงตำแหน่งการติดก้านเบรคจนกลายเป็นจุดยึดจับที่สะดวกต่อการเบรค และต่อมาเมื่อรวมเอาการเปลี่ยนเกียร์มาไว้ที่มือจับนี้ด้วย ทำให้ตำแหน่งชิฟท์เตอร์หรือฮู้ด กลายเป็นตำแหน่งมาตรฐานของการจับควบคุมแฮนด์จักรยานเสือหมอบไปในที่สุด สามารถเบรค, เปลี่ยนเกียร์, ควบคุมรถ และได้ท่าขี่ที่หลากหลายในที่เดียวกัน
3.จับที่มือดร็อปด้านล่าง
จุดนี้ถือเป็นจุดเด่นของแฮนด์จักรยานเสือหมอบ เมื่อตัวแฮนด์มีตำแหน่งที่จับที่ยื่นลงไปด้านล่าง ส่งผลให้ผู้จับสามารถ"หมอบ" ลงไปหลบลม ลู่ลม ช่วยทำความเร็วได้ดีขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของชื่อ "เสือหมอบ" นั่นเอง



เอาล่ะครับ ด้วยตำแหน่งที่จับหลักๆเพียง 3 จุด แฮนด์จักรยานเสือหมอบ สามารถ "สร้าง" ความหลากหลายของการจับได้มากมาย ตั้งแต่เน้นความสบายที่สุด ไปจนท่วงท่าที่ดุดันแหวกลมได้ดีที่สุด ทั้งแบบใช้งานระยะยาวๆ หรือท่วงท่าสำหรับบางช่วงเส้นทาง ต่อไปนี้ ผมขอยกตัวอ่างลักษณะท่าต่างๆ ที่ "เป็นประโยชน์" เหมาะแก่การฝึกฝนและนำมาใช้ ซึ่งเพียงปรับนิดๆหน่อยๆ ก็สามารถช่วยให้การปั่นจักรยานทำได้สนุกและดีขึ้นง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องรอให้ขาเราแรง ก็แรงขึ้นได้ด้วยท่าที่เข้าที


จับบาร์ด้านบน ขี่สบายๆ
รูปภาพ
สำหรับแฮนด์เสือหมอบ ที่ปกติเรามักเซ็ทให้มีท่าขี่ที่"ซิ่ง" ที่สุด ส่วนที่เป็นบาร์ด้านบนดูจะเป็นพื้นที่การจับที่สบายและผ่อนคลายที่สุด เหตุผลง่ายๆก็เพราะระยะการจับที่ไม่เอื้อมมากจนเกินไป ไม่ก้มมากจนเกินไป ทำให้องศาของข้อต่อและส่วนต่างๆของร่างกายอยู่ในช่วงสบายๆ ที่สำคัญ การหายใจทำได้สะดวก ไม่รู้สึกบีบกดทับที่กระบังลม ดังนั้นท่านี้นอกจากจะเป็นท่าสบายๆเมื่อเริ่มปั่น วอร์มอัพ หรือคูลดาวน์ ยังเป็นท่าที่เหมาะสำหรับการ "ฟื้นตัว" ให้ได้เร็วที่สุ ด้วยการผ่อนคลายและหายใจให้ลึกเข้าไว้ ข้อด้อยสำคัญของท่าปั่นแบบนี้ก็คือการต้านลมอย่างสุดขีดเท่าที่จะหาได้บนจักรยานของเราๆ ทั้งร่างกายท่อนบนและศีรษะ รับลมเต็มๆเกิดเป็นภาระอย่างหนักสำหรับการเคลื่อนที่ ดังนั้น นี่อาจไม่ใช่ท่าปั่นที่เหมาะสำหรับความเร็วสูง ลมแรง หรือการปั่นแบบดุเดือดเผ็ดมันส์ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมครับว่าเราไม่ได้เอาจักรยานออกมาเพื่อซิ่งกระทืบใส่ความเร็วกันอย่างเดียว ถ้าสถานการณ์เหมาะสม ลองจับสบายๆ ยืแขน ปั่นไปพร้อมกับรอยยิ้ม ผ่อนคลายไปกับการคุยสนุกสนานเฮฮา สีสันของจักรยานก็จะไม่จำเจ ขับเคี่ยวจนเกินไป ... เพราะชีวิตต้องการความสบาย
รูปภาพ
อีกสถานการณ์ที่มักจะเห็นท่าจับแบบนี้คือบนภูเขา ที่การจับแฮนด์ด้านบนสบายๆ ยืดตัวให้หายใจได้เต็มที่ พร้อมองศาของสะโพกและหลังที่ส่งกำลังลงไปยังลูกบันไดได้ง่ายจากมัดกล้ามเนื้อแกนลำตัวขนาดใหญ่ เป็นอีกเคล็ดลับการขึ้นเขาที่เหมือนหลักประกันว่าจะไม่ไปหม้อน้ำแตกก่อนเวลาอันควรจารกการตะบันยัดแหลก ยืนใส่กันเต็มที่ มีปรมจารย์สำนักปั่นต่างประเทศมากมาย ให้คำแนะนำว่า ในด้านอุดมคติ การนั่งปั่นสบายๆบนความหนักของตนเองบนเขา อย่างคงที่ ทำเวลาได้ดียิ่งกว่าการทุ่มกำลังกระชาก ยิง และอัดทำความเร็วบนเขา โดยที่ใช้พลังงานได้คุ้มค่ายิ่งกว่า
รูปภาพ
สำหรับโปรที่่ใช้ท่าการปั่นแบบนี้ นำไปพัฒนาต่อจนเกิดเป็น "ไม้ตาย" สำคัญได้แก่ คริส ฟรูม แชมป์ตูร์ เดอ ฟร็ฮงซ์ 3 สมัย ชาวอังกฤษ ที่แฟนๆคุ้นตากับลีลาการจับบาร์บน งอศอกนิดหน่อย แล้วออกแรงส่งกำลังลงไปด้วยแรงบิดต่อเนื่องรอบจัด ทำความเร็วดึงระยะห่างออกจากคู่แข่งได้ยาวนานจนคู่แข่งต่างถอดใจไปตามๆกัน แน่นอนว่าเคล็ดลับที่เพิ่มเติมมาก็คือ เทคนิคการออกแรงรอบวงการปั่นที่สร้างกำลังได้อย่างคุ้มค่าและวิธีการใช้กล้ามเนื้อทั้งใหญ่และเล็กของร่างกายส่งกำลังออกไปแบบไม่สูญเปล่า แน่นอนครับว่าไม่ง่ายแน่ๆสำหรับนักปั่นสมัครเล่น แต่อย่างน้อยๆเราได้เห็นว่า แฮนด์จักรยานเสือหมอบ แม้จะจับที่เดียวกัน แต่ก็สามารถนำไปเป็นท่า และเทคนิคการปั่นที่หลากหลายได้ ถ้ารู็จักใช้อย่างเหมาะสม



การจับที่ฮู้ดของชิฟท์เตอร์
รูปภาพ
อย่างที่เกริ่นมาข้างต้นว่านี่คือตำแหน่งที่ถือว่าเป็นที่วางมือหลักๆของนักปั่นเสือหมอบก็ว่าได้ เนื่องจากการควบคุมทุกๆอย่างมันอยู่ตรงนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเบรค หรือเกียร์ แถมตำแหน่งที่จับยังเอื้อให้ควบคุมสมดุลย์และส่งกำลังปั่นออกไปได้สะดวกอีกด้วย ด้วยประการทั้งปวงที่กล่าวมา ทำให้การจับชิฟท์เตอร์ เป็นเวลาส่วนใหญ่ของการปั่นจักรยานไม่ว่าจะใกล้หรือไกลโดยประยาย
รูปภาพ
แต่สิ่งสำคัญที่หลายๆคนอาจมองข้ามคือการปรับตั้งตำแหน่งและมุมของเจ้าชิฟท์เตอร์ให้เหมาะสมกับการจับที่สบาย แน่นอนครับเราไม่ได้ทิ้งน้ำหนักลงไปบนฝ่ามือ เราไม่ได้ใช้"ง่ายนิ้ว" ในการรองรับน้ำหนักตัวของเรา การจับบนชิฟท์เตอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือการ "วางมือ" ลงไปสบายๆ ไม่เกิดจุดกดทับของน้ำหนักร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ได้ด้วยกล้ามเนื้อแกนลำตัวที่เหมาะสมถูกต้อง มือและชิฟท์เตอร์ก็เป็นเพียงจุดประคองรถเอาไว้เท่านั้น ซึ่งองศาของชิฟท์เตอร์ที่เหมาะ ก็อยู่ที่องศาของร่างกาย ข้อมือ และการวางองศาของท่อนบนของแต่ละคน บ่อยครั้งที่ผู้ปั่นรู้สึกเจ็บมือ เจ็บง่ามนิ้ว จนถึงอาการมือชา ซึ่งมักจะพบว่ามีปัญหามาจากการวางมือและปรับตำแหน่งชิฟท์เตอร์ที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง
รูปภาพ
และเมื่อจับที่ฮู้ดของชิฟท์เตอร์ได้คล่องแคล่วงสบายมือ ตำแหน่งนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ทั้งการปั่นสบายๆ และสามารถคุมรถ หรือเบรคได้อย่างปลอดภัย ไปจนตำแหน่งที่สามารถเปลี่ยนเกียร์ และเบรคได้ยามฉุกเฉิน ร่วมกับท่วงท่าขี่ที่ดุดัน เพียงเรางอศอกนิดหน่อย (หรือจัดท่าให้แขนราบขนานไปกับพื้น) เก็บข้อศอกเข้าอีกนิด หลังก็จะแบนราบ ลดศีรษะลงจากการต้านลม เพียงเท่านี้ ก็สามารถมุดฝ่าอากาศไปด้วยความเร็วสูงได้แล้ว และบ่อยครั้งพบว่า ท่าที่เหมาะสม(สำหรับการปรับตั้งที่เหมาะสมแล้ว) คือการเลื่อนมือไปจับที่ปลายด้านบนสุดของชิฟท์เตอร์ ที่จะช่วยยืดระยะเอื้อมไปข้างหน้าได้อีก ทำให้ร่างกายท่อนบนราบเรียบต่ำลงกว่าเดิมได้ (แต่ผู้ขี่ต้องมีร่างกายที่ยืดหยุ่นผนวกกับกล้ามเนื้อแกนลำตัวที่แข็งแรงด้วยนะครับ)
รูปภาพ
ซึ่งการทดสอบในอุโมงค์ลมพบว่า การวางมือและระเบียบร่างกายในลักษณะนี้ ได้ผลเรื่องแอโร่ไดนามิคส์ ดียิ่งกว่าการจับที่ดร็อปด้านล่างเสียอีก ดังนั้นกระแสการเลือกใช้แฮนด์ในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการปรับตำแหน่งของมือชิฟท์เตอร์ให้จับได้สบายและดุดันที่สุดด้วย เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่จับมากที่สุด หากได้เปรียบมากที่สุด และสมดุลย์ระหว่างความได้เปรียบทางอากาศกับความสบายได้พอดี ก็จะได้ประสิทธิผลสูงที่สุดในการปั่นนั่นเอง



การจับที่ดร็ฮปด้านล่าง
รูปภาพ
ที่ตำแหน่งดร็ฮปด้านล่างนี่เองที่เป็นเอกลักษณ์ของคำว่า"เสือหมอบ" และนักปั่นส่วนมากเรียนรู็ได้โดยไม่ต้องบอกกันว่า เมื่อเจอกับกระแสลมแรง หรือความเร็วสูง เราควรจะย้ายมือลงไปจับที่แฮนด์ด้านล่างเพื่อทำตัวเองให้หลบลมและกระแสอากาศให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในการปั่นจักรยานไม่ได้มองเพียงเรื่องของความเร็วเป็นตัววัดเท่านั้น ยังมีแนวทางการปั่นอื่นๆที่สำคัญอีกเช่น การปั่นระยะทางไกลแบบทัวริ่ง หรือการปั่นทนทานแบบกลุ่มท้าทายความอึดของอัลตร้าเอนดูแรนซ์ทั้งหลาย ที่อยู๋บนจักรยานกันยาวๆเป็นค่อนข้ามวัน ดังนั้น ดร็อปด้านล่าง จึงไม่ใช่วิธีการจับที่ "โหด" สุดอีกต่อไป
รูปภาพ
ปัจจัยอีกอย่างที่สำคัญนอกจากแนวการปั่นก็คือ "สรีระร่างกาย" ของแต่ละคนที่มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงแตกต่างกันออกไป ไม่มีประโยชน์อันใดหากจะเซ็ทรถออกมาให้ปั่นได้ท่าทางที่ดุดัน แต่ที่ท่าทางที่ดุดันนั้นผู้ปั่นไม่สามารถทนปั่นได้นานๆ หรือขั้นเลวร้ายอาจไม่สามารถออกแรงได้เต็มที่เสียด้วยซ้ำ ท่าปั่นตัวอย่างในภาพที่เป็นการจับดร็อปล่าง เขียนเเหยียดสบายๆ น้ำหนักตัวสมดุลย์ระหว่างด้านหน้าและด้านหลัง ไม่ก้มจนเกินไป ไม่แหงนจนเกินไป ท่านี้อาจไม่ได้ "ลู่ลม" สุดขีด แต่เป็นท่าที่ขี่ได้นานๆ ไม่ปวด ไม่เจ็บ และไม่สร้างภาระให้กับการทำความเร็วมากนัก
รูปภาพ
และหากต้องการทำความเร็ว ด้วยการจับดร็อปด้านล่างด้วยท่าที ท่วงท่าที่ดุดัน (และมีร่างกายที่เอื้อเหมาะสมร่วมกับการเซ็ทรถที่สอดคลอ้งกัน) เพียงงอศอก เก็บศอก และก้มระดับหัวลงมานิดหน่อย นี่คือท่าขี่ที่ "ซิ่ง" สุดๆแล้วสำหรับนักปั่นเสือหมอบ ที่ท่านี้ร่างกายเป็นภาระด้านอากาศน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ คล้ายกับการวางร่างกายของการปั่นจักรยานลู่ หากอยากจะให้ได้ประสิทธิผลมากไปกว่านี้คงต้องพึ่งแอโร่บาร์ และการจัดท่าแบบแอโร่ฯแล้วล่ะครับ (ซึ่งไม่สามารถทำได้ในทุกๆสถานการณ์)
รูปภาพ
ท่าขี่แบบนี้ ผู้ขี่สามารถเบรค และเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่ยากนัก สามารถตอบสนองการขี่ได้ทั้งการนั่งและยืนลุกขึ้นจากเบาะที่นั่งแล้วใช้น้ำหนักตัวช่วยในการปั่น แต่ปัญหาที่พบมากที่สุดหากปรับท่าปั่นออกมา "เกินควร" ก็คือปัญหาการหายใจ ไปจนถึงัญหาการปวดและเจ็บตามส่วนต่างๆไล่มาตั้งแต่ ต้นคอไปจนหลังด้านล่าง เพราะเกิดโหลดที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายได้ง่ายๆ และเมื่อไหร่ วันดีคืนร้าย ที่ปั่นหนักหรือนานกว่าปกติ ความ "ทรมาน" ก็จะกลายเป็นทุกขรกิริยาบนจักรยานไปนั่นเอง



รูปภาพ
ตัวอย่างท่าขี่ที่ทำได้ง่ายๆ และช่วยได้มากโดยเฉพาะบนทางลงเนิน หรือการลงเขา ซึ่งไม่ยากหากจะหัดจนเช่ยชาญคือการทำให้ร่างกายเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงพยายามรักษาจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายให้สมดุลย์สัมพันธ์กับความชัน หากเส้นทางชันมากๆและต้องการการควบคุมรถที่ดีก็เพียงแค่เลื่อนก้นไปด้านหลังของเบามากขึ้น ช่วยรักษาสมดุลย์ในการเบรคและเขี้าโค้งได้มากขึ้น
รูปภาพ
ซึ่งนี่เป็น"ทริค"ง่ายๆ ที่ได้มาฟรีๆ จากโบนัสของแรงโน้มถ่วงโลกที่เราได้มา แต่ส่วนมากนักปั่นโดยทั่วๆไปจะใช้เวลาในการลงเนิน หรือลงเขาเป็นช่วง "พัก" จากความเหนื่อยสุดขีดของขาขึ้น ยืดตัว รับลมเย็นสบายเต็มที่ แทนที่จะปล่อยให้รถไปข้างหน้าด้วยโมเมนตั้มที่มากที่สุด และกระแสอากาศที่ต้านน้อยที่สุด ซึ่งในระยะยาวๆ มันช่วยให้เราเซฟพลังงานหลังจากนั้นได้อีกมากมายอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
รูปภาพ
การลงเขาทำได้หลากหลายรูปแบบมากๆ และหนึ่งในท่าที่เอา "ความเร็ว" เป็นตัวตั้งคือการลงไปนั่งบนท่อนอนของจักรยาน งอตัว เก็บศอก กดตัวเองลงไปด้านหน้าให้ราบที่สุด เทน้ำหนักลงไปที่ล้อหน้าเพื่อให้รถไหลลงไปเบื้องหน้าอย่างรวดเร็วที่สุด ถือว่าเป็นขั้นที่ "แอ็ดวานซ์" ขึ้นมาอีกหน่อย เนื่องจากการควบคุมจะทำได้ยากขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญ ที่ท่านี้ หากเกิดเหตุการณ์อะไรฉุกเฉิน หรือต้องเบรคกระทันหัน โอกาสที่จะ "บิน" มีสูงกว่าการรักษาสมดุลย์ของน้ำหนักศูนย์ถ่วงมาก ดังนั้นขอให้มั่นใจก่อนว่าคุณได้ฝึกฝนทักษะการเบรค และการควบคุมรถด้วยการรักษาสมดุลย์ด้วยร่างกายมาก่อนที่จะ "ลอง" ทำท่านี้นะครับ ซึ่งสามารถฝึกได้บนทางราบทั่วไป ไม่ต้องความเร็วสูงก็สามารถพัฒนาได้เช่นักัน
รูปภาพ
และแน่นอนครับ ว่าถ้าพูดถึงท่าทางการลงเขา คงไม่พูดถึงท่านี้ไม่ได้แน่ๆ เมื่อ คริส ฟรูม นำเอาท่านี้มาต่อยอดไปอีกขั้น (อีกแล้ว) เมื่อลงไปนั่งขดอยู่ที่ท่อบน ทิ้งน้ำหนักตัวไปบนแฮนด์และล้อหน้ายังไม่พอ ยังควงขาออกแรงปั่นส่งได้อีกด้วย คาดว่าทีมกสายคงได้ทดสอบท่นาี้มาแล้วว่าช่วยประหยัดพลังงานและได้เรปียบมากๆ อย่างไรก็ดี นอกจากทักษะการคุมรถที่ต้อง "ยอดเยี่ยม" ยังต้องแน่ใจว่าร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงดีพอจะออกแรงบนท่านี้ได้ เพราะคอมเม็นเตเตอร์บรรยายเอาไว้วินาทีที่ฟรูมทำท่านี้ว่า "ท่านี้มีโอกาสที่จะเกิดการคั่งค้างของของเสียในกล้ามเนื้อที่ควรกำจัดออกไปได้ เพราะช่วงขางอพับมากกว่าเดิม" แปลง่ายๆครับ ... พวกกรดแล็คติคและของเสียต่างๆ มีโอกาสค้างได้ง่ายกว่าเดิมนั่นแหละ เอาเป็นว่า ถ้าใครจะเอามาใช้เป็นจริงเป็นจังก็ลองหา "ความลงตัว" ที่เหมาะสมก่อนก็ดีนะครับ



จริงๆยังมีท่าการปั่นอีกหลายๆท่าที่เราสามารถเลือกมาใช้ให้เหมาะสมได้ บางท่าก็แอดวานซ์ไปมากกว่านี้ บางท่าก็ง่ายๆ แต่ตัวอย่างในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างโดยสังเขป เพราะผมสังเกตุเพื่อนนักปั่นยาม "เหนื่อย" หรือ "ใกล้หมด" มักจะตอบสนองด้วยการออกแรงเพิ่มให้สามารถคงความเร็วไปได้ก่อนที่จะนึกถึงท่าขี่ที่เหมาะสม จึงขอนำเสนอให้ได้ฉุกคิดสังเกตุสักนิดว่า แฮนด์จักรยานที่อยู๋เบื้องหน้าเรานั้น เลือกจับได้มากมายหลากหลาย เราเลือกใช้มันได้อย่างเต็มที่ คล่องแคล่วแล้วหรือยัง?[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 969065.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
bouum2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 134
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2014, 11:54
Tel: 0966852240
team: KOLO TEAM PHRAE
Bike: DARK SCULTURA

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย bouum2 »

ขอบคุณครับข้อมูลเป็นประโยชน์มากครับ
Dark Scultura
สายเขาสายดอย หัดลาก
เณรแอร์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2798
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 01:57
team: โรงพยาบาลสกลนคร
Bike: MOSSO
ตำแหน่ง: ร.พ.สกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ติดต่อ:

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย เณรแอร์ »

ขอบคุณครับบบ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย lucifer »

สาระครับ สาระ

image.jpg
image.jpg (30.75 KiB) เข้าดูแล้ว 15911 ครั้ง
ท่านี้ฮือฮากันมาก
แต่มีคนเอาไปทดสอบในอุโมงค์ลมแล้ว ปรากฏว่า aerodynamic สู้ท่าก้มจับdrop ไม่ได้
เพียงแต่ความรู้สึกฮึกเหิมในตอนนั้นอาจจะทำให้ฟรูมรู้สึกว่ามันลงได้เร็วขึ้นกว่าเดิมกระมัง :mrgreen:
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
bouum2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 134
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2014, 11:54
Tel: 0966852240
team: KOLO TEAM PHRAE
Bike: DARK SCULTURA

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย bouum2 »

lucifer เขียน:สาระครับ สาระ

image.jpg
ท่านี้ฮือฮากันมาก
แต่มีคนเอาไปทดสอบในอุโมงค์ลมแล้ว ปรากฏว่า aerodynamic สู้ท่าก้มจับdrop ไม่ได้
เพียงแต่ความรู้สึกฮึกเหิมในตอนนั้นอาจจะทำให้ฟรูมรู้สึกว่ามันลงได้เร็วขึ้นกว่าเดิมกระมัง :mrgreen:
แอโร่ไดนามิคอาจสู้ไม่ได้แต่การที่ทิ้งน้ำหนักทั้งตัวไปข้างหน้า มีผลต่อความเร็วแน่นอนครับ
Dark Scultura
สายเขาสายดอย หัดลาก
korn0066
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 35
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ธ.ค. 2012, 23:55
Bike: jiant

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย korn0066 »

ขอบคุณมากๆครับคุณgiro
ลิงกังปั่นหมอบ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 907
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2015, 20:50

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย ลิงกังปั่นหมอบ »

ผมชอบท่าแมวหมอบ :mrgreen:

หรือภาษาที่บ้านผม (ทึกทักตั้งเอาเอง) "ชูเปอร์แมน" :mrgreen:
หึม...? ผมไม่ได้ปั่นจักรยาน แต่ผมขี่ยานรบต่างหาก!
คิดให้ดี โทษเทคนิคตัวเองก่อนจะโทษจักรยาน
มันไม่ใช่เป็นเพราะจักรยานที่แกปั่น แต่อยู่ที่แกปั่นมันยังไง?
มันไม่ใช่เพราะจักรยานมันงี่เง่าเฮงซวย แต่มันคือแกทำให้มันดูงี่เง่าปัญญาอ่อน
รูปประจำตัวสมาชิก
phisanu
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 111
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2013, 09:39
Tel: 0818833788
team: RR
Bike: k

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย phisanu »

ท่านี้ฮือฮากันมาก
แต่มีคนเอาไปทดสอบในอุโมงค์ลมแล้ว ปรากฏว่า aerodynamic สู้ท่าก้มจับdrop ไม่ได้
เพียงแต่ความรู้สึกฮึกเหิมในตอนนั้นอาจจะทำให้ฟรูมรู้สึกว่ามันลงได้เร็วขึ้นกว่าเดิมกระมัง :mrgreen:

ขอโทษครับ ไม่ได้ป่วนนะครับ
จริงๆครับทดลองดูเลยครับ
ลงเนินไหลได้เร็วกว่าจริงๆ ผมทดลองกับเพื่อนที่ผมไม่เคยไหลได้เร็วกว่ามาแล้ว
กว่าโปรเขาจะเอามาใช้ เขาก็คงทดลองดูแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย lucifer »

bouum2 เขียน:
lucifer เขียน:สาระครับ สาระ

image.jpg
ท่านี้ฮือฮากันมาก
แต่มีคนเอาไปทดสอบในอุโมงค์ลมแล้ว ปรากฏว่า aerodynamic สู้ท่าก้มจับdrop ไม่ได้
เพียงแต่ความรู้สึกฮึกเหิมในตอนนั้นอาจจะทำให้ฟรูมรู้สึกว่ามันลงได้เร็วขึ้นกว่าเดิมกระมัง :mrgreen:
แอโร่ไดนามิคอาจสู้ไม่ได้แต่การที่ทิ้งน้ำหนักทั้งตัวไปข้างหน้า มีผลต่อความเร็วแน่นอนครับ
เอิ่มมมมม แล้วนน.รวมมันเพิ่มขึ้นหรือเปล่าครับ :lol:
phisanu เขียน: ขอโทษครับ ไม่ได้ป่วนนะครับ
จริงๆครับทดลองดูเลยครับ
ลงเนินไหลได้เร็วกว่าจริงๆ ผมทดลองกับเพื่อนที่ผมไม่เคยไหลได้เร็วกว่ามาแล้ว
กว่าโปรเขาจะเอามาใช้ เขาก็คงทดลองดูแล้ว
ไม่ถือว่าป่วนหรอกครับ ดีเสียอีกได้มาคุยกัน

เอิ่มมมม การจะแปลผลว่าดีขึ้นหรือแย่ลง มันเป็นวิทยาศาสตร์ครับ
ถ้าหากเอาข้อมูลที่บันทึกในการ์มินหรือ cyclocomputer มาเทียบกันในช่วงก่อนใช้ท่านี้ และหลังจากใช้ท่านี้ ในทางเดียวกัน โดยเทียบที่ความเร็วต้นเท่าๆกัน

ก็จะได้ข้อสรุปอันเป็นวิทยาศาสตร์ :lol:

มาคิดแบบวิทยาศาสตร์กันดีกว่าครับ

ตัวที่มีอุปสรรคที่สุดต่อความเร็ว ก็คือ แรงต้านอากาศ ( ถ้าความเร็วเพิ่มขึ้น 2 เท่า แรงต้านอากาศจะเพิ่มขึ้นเป็นกำลังสอง คือ 4 เท่า ) ในขณะที่มวลรวมมีผลในเรื่องของ inertia ซึ่ง inertia หรือ ความเฉื่อย มีทั้งข้อเสียคือ ต้านการเพิ่มความเร็ว และข้อดีคือ การต้านการลดความเร็ว

ถ้า aerodynamic แย่ลง แต่มวลรวมเท่าเดิม ยังไงๆ มันก็ไม่เร็วขึ้นหรอกครับ
แต่ถ้ามวลรวมมากกว่าสัก 20 กก. นี่ ผมเคยโดนมาแล้ว ขึ้นเขาเร็วกว่า เข้าโค้งทักษะดีกว่า ออกจากโค้งก่อน พอไหลลงทางตรง โดนสวนหายยยยยยยยยยย


แต่ ก็ใช่มะหละ ที่การลงเนินนั้น ไม่ได้ลงกันแบบทิ้งดิ่งกันตรงๆอย่างเดียวใช่ไหม จริงไหม แต่มันก็มีโค้งด้วย การเข้าโค้งเป็นเรื่องของทักษะ และเป็นเรื่องของการเซทรถด้วย

การปรับเปลี่ยนเป็นท่าเดียวกับฟรูมนั้น มันทำให้น้ำหนักตกลงที่ล้อหน้ามากขึ้นกว่าเดิม นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การตอบสนองในโค้งเร็วขึ้นกว่าเดิม เพราะธรรมชาติของจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบให้ตะเกียบหน้ามีค่า Rake มันจะรักษาสมดุลให้รถวิ่งในทางตรงเท่านั้น ยิ่งเร็ว สมดุลก็ยิ่งนิ่งมากขึ้น ดังนั้นยิ่งเร็วก็ยิ่งเลี้ยวยากขึ้น

การจะเลี้ยวให้ง่ายขึ้น ก็อาจจะโหนรถให้เอียงสู้ความเร็วแบบที่มอเตอร์ไซค์กรังปรีด์ทำกันในสนามแข่งเช่นกัน
หรือ ถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านหน้าเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งนั่นแปลว่า หน้ารถก็จะไวขึ้น การตอบสนองในโค้งก็ย่อมดีขึ้นเป็นธรรมดา

ออกจากโค้งด้วยความเร็ว50 กับออกจากโค้งด้วยความเร็ว 45 ใครเร็วกว่ากันไม่เห็นจะต้องพิสูจน์เลย


ดังนั้นถ้านน.ตัวเท่าเดิม ลงเขาแบบทางตรงยาวๆ ไม่มีโค้ง ( มีด้วยเหรอ? ) ยังไงๆ ถ้าก้มจับดรอปโค้งตัวเอาหลังขนานกับโลก ก็ลงได้เร็วกว่าท่าของฟรูมแน่นอนครับ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีโค้ง ก็ขึ้นกับทักษะหละ แน่นอนครับ ถ้าเล่นท่าฟรูม การเข้าโค้งก็น่าจะดีขึ้น แต่เช่นกันนะครับ ถ้าอีกคนหนึ่งใช้วิธีการโหนรถเข้าโค้งได้เร็วพอ ร่างกายท่อนบนแข็งแรงมากพอที่จะเข้าโค้งได้ดี แบบนี้ผมว่าน่าสนใจนะว่าใครจะเข้าถึงโค้งได้เร็วกว่ากัน และออกโค้งได้เร็วกว่า

เรื่องทักษะเข้าโค้งนี่เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันยาว

โปรทำ ไม่ใช่แปลว่ามันถูกต้องเสมอไปหรอกครับ บางอย่างทำโดยไม่ได้พิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์
จริงๆแล้วคนแรกๆที่ใช้ท่านี้ดูเหมือนจะเป็น ซาแกน ซึ่งน้าแกเป็นนักปั่นเสือภูเขามาก่อน ทักษะ การทรงตัว แกแพรวพราวอยู่แล้ว ก็คงจะเห็นแกใช้แล้วลงเขาได้เร็วกว่าคนอื่นๆ ก็เลยมีคนสนใจ แต่อย่างที่บอกไปแล้ว ทักษะการเข้าโค้งทำให้สามารถรักษาความเร็วเฉลี่ยเอาไว้มากกว่าคนอื่นๆ ทำให้ซาแกนเอาชนะคู่แข่งในหลายสนามที่ต้องใช้ทักษะในการเข้าโค้งและลงเขาคดเคี้ยวอย่างต่อเนื่อง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Natveerothai
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 73
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 19:01
team: OSK Cycling club
Bike: Merida TFS 500
ตำแหน่ง: Buengkum Bangkok

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย Natveerothai »

ขอบคุณคร้าบ
yakjang
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 109
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2012, 13:59

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย yakjang »

ส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อครับว่าท่า Tuck นั่งบนท่อบนของคริสฟรูม จะ "ไม่แอร์โร่ว" ไปกว่าท่านั่งปั่นหมอบธรรมดา

ดูดีๆท่านั่งแกสมบูรณ์มากเลยนะ มันไม่ใช่แค่เป็นโปรจักรยานแล้วจะทำได้ทุกคน สังเกตุว่าตัวแกแทบจะเป็นก้อนๆ
ผูกอยู่กับแฮนด์ หลังแกห่างจากจมูกเบาะมาก คาง มือ อก ท้อง ชิดกันจนแทบไม่มีที่ให้อากาศเข้าได้เลย
แต่ขายังปั่นได้ยิกๆ คนอื่นที่ทำท่านี้สังเกตุรูปถ่าย vdo แล้วบอกเลยว่าหาสมบูรณ์เท่าแกยากมาก

ยิ่งพิธีกรของ GCN ลองปั่นท่าแกเทียบกับท่าธรรมดาแล้วสรุปว่าความเร็วไม่แตกต่าง บอกได้เลยครับว่าผม
ไม่เชื่อการทดลองนั้นเด็ดขาด เพราะตัวพิธีกรแกยังวางตำแหน่งตัวไม่ดี การปั่นก็ดูเกะกะเก้งก้าง

คือพิจรณาท่าจับฮู้ดหรือดรอบธรรมดามันมีส่วนทำให้อากาศมันแปรปรวนได้เยอะ ตั้งแต่หน้าแฮนด์ มือแขน
หัวเรา แล้วสร้างกระแสอากาศวนตรงหน้าท้องแล้วถึงจะออกไปด้านหลังได้ ซึ่งตรงนี้อ้างอิงจาก bernoulli's theorem
การไหลของกระแสอากาศไม่ราบเรียบความเร็วไม่เท่ากัน มันสร้างแรงคล้ายๆการยกตัวของปีกเครื่องบินได้หลายทิศทาง
ทิศของแรงมันก็จะมีทั้งไปข้างๆ จนถึงไปข้างหลัง (ไม่มีไปข้างหน้า) แรงที่ไปข้างหลังมันก็จะไปเพิ่มแรง Drag เดิม
ท่า Tuck ของ froome ผมว่าลดแรงตรงนี้ไปได้หลาย แรงของ bernoulli ก็เป็น fluid Drag ชนิดหนึ่งมันก็เข้าสูตร
กำลังสองที่ป๋าลูว่ามาน่ะแหละครับ ลดได้นิดหนึ่งก็เหมือนลดได้ทวีคูณ แต่ท่านั่งมันไปเพิ่มภาระในการปั่นหรือเปล่า
ปั่นไม่ดีไม่นิ่งพอ มันทำให้กำลังเฉลี่ยในการเคลื่อนไปข้างหน้ามันลดลงไปหรือเปล่า ผลการทดสอบมันถึงให้ความเร็ว
ออกมาพอๆกันๆ แต่ถ้าเฉพาะท่านั่งเฉยๆดูด้วยตาเปล่าผมไม่เชื่อครับว่ามันไม่ลด Drag เพราะอากาศมันจะผ่านออกไป
ได้เร็วขึ้นมาก ต่อให้หน้าตัดมันจะพอๆกับท่าจับดรอป(แต่ที่ดูผมว่าน้อยกว่านะ) อากาศมันก็ไหลผ่านไปได้ดีกว่า
แล้ว sky มีอุโมงค์ลมเอง มีฟรูมตัวเป็นๆอยู่ แถมเป็นทีมลูกอีช่างเก็บเขาจะไม่ทดสอบกันเองมาก่อนหรือครับว่ามันประหยัด
แรงจริงหรือเปล่า

แต่การมีศูนย์ถ่วงไปข้างหน้า มัน "ลด" การทรงตัวในทุกกรณีครับ การที่ตะเกียบไปข้างหน้าก็เพื่อให้ล้อหน้ามันอยู่ห่าง
จากจุดศูนย์ถ่วงมากที่สุด เป็นการเพิ่มฐานของการควบคุมในการเลี้ยว เอาตัวมานั่งข้างหน้าแบบนี้ผมว่าฝึกมาไม่หนักพอ
กลิ้งง่ายๆมากกว่าจะทำให้เข้าโค้งดีขึ้นครับ

แล้วไม่ได้แข่งบนถนน ผมว่าอย่าไปทำตามโปรเลย ท่านี้จุดศูนย์ถ่วงมันไปอยู่บริเวณคอเสตม ในขณะจุดที่ล้อหน้าสัมผัส
ถนนคือบริเวณดุมล้อหน้า ฐานการทรงตัวต่างกันไม่ถึงคืบ เบรคมาจุดศูนย์ถ่วงอยู่เลยดุมหน้าเมื่อไหร่ตีลังกาตามหลักฟิสิกครับ..
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย lucifer »

แบบนี้สงสัยต้องค้นมาให้อ่านซะแล้ว ผมลืม link ไปแล้ว

เท่าที่อ่านมา สรุปแบบนี้ก็แล้วกัน เขาสรุปมาดังนี้
1. ท่าจับ Aerobar บนรถ TT Aeroที่สุดครับ ไม่มีอะไรเทียบได้
2. ท่าจับ Drop บนเสือหมอบธรรมดา
3. ท่า Tuck ตามท่าจับdrop มาติดๆครับ แต่ไม่Aero เท่า
4. ท่าจับที่ Hood สบายสุด แต่aeroน้อยที่สุด


ส่วนใครจะเชื่อ หรือไม่เชื่อ ก็แล้วแต่นะครับ ถ้ามีความสุขที่จะไม่เชื่อ ผมก็เคารพในการตัดสินใจ
ส่วน link นั้น ค้น history เจอ ก็กลับมาให้อ่าน

Edit
เจอ link หละ ถ้ายังจะมีความสุขที่จะไม่เชื่อ ก็ตามสบายนะครับ ผมเคารพในการตัดสินใจเช่นเดิม และจะเลิกพูดถึงเรื่องนี้อีก

https://www.linkedin.com/pulse/fantasti ... rt-blocken
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
Pepsileo.139
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 299
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2014, 00:08
team: Bcc 139 Bikers & กนกอาชีวะ ไบค์
Bike: เฟสสัน E.T
ติดต่อ:

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย Pepsileo.139 »

เยี่ยม
เลือกคัน ที่ชอบ ....ชอบคันที่ใช่
yakjang
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 109
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2012, 13:59

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย yakjang »

lucifer เขียน:แบบนี้สงสัยต้องค้นมาให้อ่านซะแล้ว ผมลืม link ไปแล้ว

เท่าที่อ่านมา สรุปแบบนี้ก็แล้วกัน เขาสรุปมาดังนี้
1. ท่าจับ Aerobar บนรถ TT Aeroที่สุดครับ ไม่มีอะไรเทียบได้
2. ท่าจับ Drop บนเสือหมอบธรรมดา
3. ท่า Tuck ตามท่าจับdrop มาติดๆครับ แต่ไม่Aero เท่า
4. ท่าจับที่ Hood สบายสุด แต่aeroน้อยที่สุด


ส่วนใครจะเชื่อ หรือไม่เชื่อ ก็แล้วแต่นะครับ ถ้ามีความสุขที่จะไม่เชื่อ ผมก็เคารพในการตัดสินใจ
ส่วน link นั้น ค้น history เจอ ก็กลับมาให้อ่าน

Edit
เจอ link หละ ถ้ายังจะมีความสุขที่จะไม่เชื่อ ก็ตามสบายนะครับ ผมเคารพในการตัดสินใจเช่นเดิม และจะเลิกพูดถึงเรื่องนี้อีก

https://www.linkedin.com/pulse/fantasti ... rt-blocken

ไม่ได้ตั้งธงที่จะไม่เชื่อนะครับ เพียงแต่มีข้อสงสัยหลายๆอย่างตามนิสัยผมเท่านั้นเอง
ยิ่งมีการวิจัย มีข้อมูลยืนยันยิ่งมีประโยชน์กับผมครับ ขอบคุณป๋าลูครับผม

แต่ที่สงสัยก็คือ
- ใน TDF ฟรูมลงเขาท่านี้แต่ในโค้งยากๆก็ต้องขยับก้นขึ้นมานั่งบนเบาะ มันอาจแปลได้ว่าแม้แต่ฟรูมเองก็ไม่สามารถ
เข้าได้ทุกโค้งในท่านี้ แล้วทำไมต้องลำบากปั่นในท่านี้

- โปรคนอื่นก็ให้สัมภาษณ์ว่า แปลกใจและทึ่งที่ฟรูมใช้ท่านี้แต่ยังลงเขา และเข้าไลน์ได้เกือบสมบูรณ์แบบ
แปลว่าทุกคนค่อนข้างรู้ว่ามันเป็นท่าที่คุมรถยากและฟรูมซ้อมท่านี้มาหนักมากจึงขี่สมบูรณ์ได้ขนาดนี้

- ถ้ามันไม่มีประโยชน์ช่วยแอร์โร่วขึ้นเลย ทำไมทีมระเบียบจัด เครื่องมือและเทคโนโลยีใจการวิจัยพร้อสรรพแบบ sky
จึงยอมให้เวลาฟรูมซ้อมท่านี้ แถมใช้ท่านี้ในการแข่ง

- ตำแหน่งการวางตัวของฟรูมดีมาก เห็นคลิป เห็นรูปการทดสอบมาเยอะมาก แต่ก็ไม่มีใครเลยที่ทำตัวได้กลมดิ๊ก
แถมปั่นได้คล่องบนท่านี้เหมือนฟรูม ผมสงสัยแค่ว่ามหาเทพแบบฟรูม หรือ sky สร้างรายละเอียดใหม่อะไรที่การทดสอบตกหล่นไปหรือเปล่าเท่านั้นครับ
Headbanger76
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 15
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มี.ค. 2016, 11:20
ติดต่อ:

Re: ท่ามาก ท่ายาก ท่าดีที่เข้าท่า ... เรื่องง่ายๆที่มักถูกมองข้าม

โพสต์ โดย Headbanger76 »

จะแอโร่มากกว่าหรือน้อยกว่า อันนี้ผมไม่มีความรู้ครับ

ที่แน่ๆ ฟรูมชนะขาดเลยครับ ช่วงลงเขานั่นทิ้งห่างมากๆ ด้วย คนอื่นตั้งทีมไล่แทบตายยังไม่ทัน มาไล่ได้หน่อยตอนเป็นทางราบก่อนเข้าเส้นนี่ละ อิอิ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”