ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

RooBix
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 10:45
Tel: 0817641606
Bike: Giant Propel - Trek Superfly

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย RooBix »

ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย lucifer »

giro เขียน: ครั้งที่ 1
50-70w เฉลี่ย 135bpm
65-85w เฉลี่ย 143bpm
80-100w เฉลี่ย 142bpm
95-115w เฉลี่ย 157bpm
110-130w เฉลี่ย 161bpm
130-full gas เฉลี่ย 192bpm

ครั้งที่ 2
50-70w เฉลี่ย 149bpm
65-85w เฉลี่ย 156bpm
80-100w เฉลี่ย 168bpm
95-115w เฉลี่ย 171bpm
110-130w เฉลี่ย 174bpm
130-full gas เฉลี่ย 194bpm
รูปภาพ

จากการเฝ้าสังเกตด้วยตัวเองนะครับ
ผมพบความสัมพันธ์กันโดยบังเอิญระหว่าง Zone Power กับ Zone HRR โดยผมพบมันในขณะที่ปั่นจักรยานในช่วงเย็นๆ โดยจะเห็นผลในเวลาที่ค่อยๆไล่ความเร็ว เพิ่มวัตต์ไปเรื่อยๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับ ​HR ที่ขึ้นตามไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากว่าทำซ้ำสัก หลายๆครั้ง ค่า HR ก็มักจะสูงกว่าเดิม ส่วนหนึ่งก็รู้ๆกันว่า ขึ้นกับ Aerobic capacity , ความสามารถในการกำจัดของเสีย , ความสามารถในการระบายความร้อนออกจากร่างกาย (อันนี้เป็นสิ่งที่ CycleOp นำมาใช้กับสายHR อัจฉริยะที่เทียบเคียงกับค่าpower , ข้อดีของมันคือ พอจะcalibrate ได้บ้าง ซึ่งทำให้ยอมรับว่า HR กับ Power มันมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ,

แต่ถ้าเทียบ zone กับ zone แล้ว ผมพบว่า zone HRR มีความสัมพันธ์กับ Zone Power ได้ชัดเจนกว่า โดยเฉพาะถ้าไม่ลาก power ขึ้นขึ้นไปเกิน VO2 max

วันก่อนที่เห็นใน FB ก็ยังไม่เห็นอะไรที่เป็นผลชัดเจนนัก จนวันนี้ได้อ่านกระทู้นี้ แล้วเอามาคิด
บางทีนะ ผมว่าน้องเขาก็ไม่ได้แปลกอะไรหรอก Zone Power ก็สอดคล้องกันดีกับ Zone HRR ในทิศทางที่สอดคล้องกันดีด้วยซ้ำไป

เรื่องความแม่นยำของ Garmin นั้น ผมกล้ายืนยันนะว่า ระบบ HRM ที่วัดผ่านสายคาดอกนั้น มีความแม่นยำสูงมากครับ สูงจนแทบจะบอกได้ว่าแทบไม่ผิดพลาดเลย ทำไม? เพราะมันวัดค่า R-R interval จากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับเครื่อง EKG ที่ใช้ระยะตรงนี้ในการคำนวณ HR เช่นกัน สิ่งเดียวที่จะทำให้ garmin เพี้ยนก็คือ clock signal จากวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา ซึ่งในปัจจุบัน ผมไม่มั่นใจว่ามันสามารถเอาข้อมูลจากดาวเทียมมาปรับเทียบแก้ได้หรือไม่ ถึงมันจะเพี้ยนมันก็ไม่ทำให้ของจริง 200 กลายเป็น 190 ได้อย่างแน่นอนครับ

จริงๆเดี๋ยวนี้ Base training เอง ก็พูดกันในคนละลักษณะกับ Traditional base traing แล้วด้วยซ้ำไป

หลากหลายตำราครับ ไว้ค่อยศึกษากันต่อไป
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
dinsodum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2659
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 09:37
Tel: 0923936424
team: พิชเชอร์แมน วัดดงน้อย
ตำแหน่ง: *7/8 หมู่ 13 ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย dinsodum »

ผมก็หัวใจสูงครับ แต่ตัวใหญ่ สูง 180 หนัก 72-73 แม็กผมตั้ง 200+ อายุ 38
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=397&t=412895
minginho
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 65
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ต.ค. 2015, 11:47
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย minginho »

ผมใช้ Bkool เพื่อหาข้อมูลบางอย่าง แต่บังเอิญพบว่าที่วัตต์ใกล้เคียงกัน รอบขาที่เปลี่ยนไปก็เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้หัวใจทำงานหนัก-เบาเปลี่ยนไปด้วย
รอบขาจาก 60 ไป 80+ หัวใจเพิ่มขึ้นอีก 1โซนเลยทีเดียว
ไฟล์แนบ
image.png
image.png (241.5 KiB) เข้าดูแล้ว 1582 ครั้ง
Pepsileo.139
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 299
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2014, 00:08
team: Bcc 139 Bikers & กนกอาชีวะ ไบค์
Bike: เฟสสัน E.T
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย Pepsileo.139 »

ปัก
เลือกคัน ที่ชอบ ....ชอบคันที่ใช่
รูปประจำตัวสมาชิก
วันชัย คำแพง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1666
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 07:13
Tel: 0626825062
team: ชมรมวิ่ง พิทักษืหัวหิน
Bike: เหล็กตราหมากลุ๊ก หนักโคตรแต่ทน

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย วันชัย คำแพง »

งั้นหมายความว่าต้องเลือกเอาระหว่างหนักขากับหนักหัวใจใหมครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
name_joker
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 707
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 08:29
Tel: 0894888XXX
team: Y@H / BRC
Bike: EV4

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย name_joker »

แต่ละคนจะมีรอบขาที่เหมาะสมของตัวเอง ไม่เหมือนกันครับ บางคนถนัดที่รอบขาสูง บางคนถนัดที่รอบขาต่ำ ถนัดในที่นี้คือออกแรงได้ดี ออกแรงได้มาก และนานกว่า ในรอบขานั้นๆ แต่trendingโดยปกติ เมื่อรอบขาสูงขึ้น หัวโจจะทำงานมากขึ้น แต่ถ้ารอบขาต่ำ กล้ามเนื้อขาจะล้ากว่า เป็นแบบนั้นโดยปกติครับ ลองดูตัวอย่าง

Lance Armstrong / Contador / Froome เป็นแนวเน้นรอบขา
Jan Ullrich / Jaquin Rodriguez เป็นแนวกดหนัก ขึ้นเขาเกียร์หนัก รอบต่ำ

เรื่องของหัวใจ ถ้าฟิต (คือซ้อมเยอะ ปั่นเยอะ) จะรู้สึกได้ตอนปั่นเลยว่าเหนื่อยน้อยกว่า หายใจคล่องกว่า ณ กำลังเท่าเดิม หัวใจเต้นน้อยกว่า แต่ถ้าไม่ฟิต หัวใจก็จะสูง กล่าวคือหัวใจเมื่อฟิตจะแข็งแรง ไม่ต้องเต้นอัตราสูงๆก็สามารถเลี้ยงร่างกายให้สร้างกำลังได้มาก

เวลาเราฟิต หัวใจ max เราไม่ได้ลดลง แต่ช่วงการทำงานมันกว้างขึ้น จากเดิมอาจจะหัวใจ 120-140 สร้างได้ 100W มันก็กลายเป็น 100-140 สร้างได้ 100W ส่วนของจุดสูงสุดยังคงที่เหมือนเดิม ไม่ได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้น

จากการทดลองของผมเอง พบว่าการปั่นมากๆ(อาทิตย์ละมากกว่า8ชั่วโมง เป็นระยะเวลามากกว่า2เดือน) ไม่ว่าจะหนักหรือเบา ล้วนได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น ผลท้ายที่สุดคือหัวใจจะเต้นช้าลง และจะกลับคือสู่สภาพปกติหลังจากการอัดหนักๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น ถ้าอยากหัวใจต่ำๆ ปั่นให้มาก ซ้อมให้เยอะ ปั่นยังไงก็ได้ แต่ขอให้ปั่น ล้วนได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้นครับ แต่ส่วนมากคนที่ปั่นมากจริงๆจะปั่นเบากันเป็นหลัก ปั่นหนักintervalมีบ้าง แทรกเป็นระยะๆเอาไว้กระตุ้น เพราะปั่นหนักเยอะ ให้ประโยชน์น้อยกว่าผลเสียครับ (อย่างโปรเองก็ปั่นเบากันทั้งนั้น จะมาเค้นหนักตอนก่อนแข่งช่วงสั้นๆเท่านั้น)
*** ถ้าเอาแต่อัด ปั่นหนักๆอัดโซน4ตลอด10ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผลพลอยได้คือโรคหัวใจโตและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ในอายุตอนปลายนะครับ ระวังตรงนี้ไว้ด้วย ***
Sketcher Shop
ขายปลีก ขายส่ง อุปกรณ์ศิลปะ เครื่องเขียนทุกประเภท จัดส่งทั่วไทย
Line ID : kitchai1965
Tel: 092-403-6476
facebook : sketcher shop


by Siam Sketch Supply Co,.Ltd
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย lucifer »

minginho เขียน:ผมใช้ Bkool เพื่อหาข้อมูลบางอย่าง แต่บังเอิญพบว่าที่วัตต์ใกล้เคียงกัน รอบขาที่เปลี่ยนไปก็เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้หัวใจทำงานหนัก-เบาเปลี่ยนไปด้วย
รอบขาจาก 60 ไป 80+ หัวใจเพิ่มขึ้นอีก 1โซนเลยทีเดียว
มันมีการศึกษาเรื่องผลของรอบขา กับ HR มานานแล้วครับ สรุปง่ายๆคือ

รอบขาสูง ผลการศึกษาออกมาว่า เปลืองไฟครับ ฮ่า ฮ่า พูดง่ายๆคือ เปลืองพลังงาน แต่ได้งานไม่คุ้มกัน คือ HR ขึ้น ได้วัตต์น้อย แต่กล้ามเนื้อล้าตัวช้า กล้ามเนื้อมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น

ในทางตรงกันข้ามกัน รอบขาต่ำ ประหยัดไฟกว่า แต่เครื่องพัง ได้วัตต์เยอะแต่HRต่ำกว่า กล้ามเนื้อล้าตัวเร็ว พังก่อน กล้ามเนื้อมีเลือดมาเลี้ยงลดลง

ดังนั้น จึงต้องเข้าใจประโยชน์ในการใช้สอยรอบขากันด้วยครับ และในแต่ละคนจึงจำเป็นที่ควรจะต้องรู้รอบขาเฉลี่ยที่ลงตัวกับเรามากที่สุดด้วยครับเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยสูงสุด แต่ก็ยังต้องหัดปั่นในรอบขาต่างๆด้วย เพราะอย่างบางคนถนัดที่ 90 - 95 RPM แต่ขึ้นอินทนนท์ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาเกียร์ที่ไหนให้มาซอย 95RPM ได้ ก็ต้องลดรอบขาลงมาแทน ก็ต้องมาฝึกworkout low RPM , high watt แทนบ้าง และบ่อยครั้งที่จะต้องฝึก workout Sprint ที่ไล่รอบขากันสูงๆ เพื่อให้สามารถปั่นได้เช่นกันครับ

ปล. เวลาจัดหนักปั่นนำขบวน เวลาเปลี่ยนกลับมาต่อแถว สิ่งที่ผมพบมานานแล้วก็คือ พอกลับมาต่อแถว แล้วใส่เกียร์หนักเพื่อลดรอบขาลงมา แต่ความเร็วจะยังเท่าเดิม เพราะอาศัยแรงดูด ก็จะพบว่า HR กลับลงมาได้เร็วกว่าการใช้เกียร์เดิมและรอบขาเร็วๆเหมือนเดิมอย่างมีนัยสำคัญ พอ HR เริ่มลงก็ไล่เกียร์เบาเพื่อเพิ่มรอบขา จุดประสงค์คือ เพิ่มเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น เพื่อล้างเอาของเสียออกและเอาของดีมาป้อนเข้าได้มากขึ้น ( เราให้ความสำคัญกับ HR ก่อน รอให้HR ลดลงมาก่อน ไม่งั้นก็จะเจอกับภาวะไส้แตก แล้วหลุดขบวนไปอย่างน่าเสียดาย จากนั้นจึงค่อยมา refresh กล้ามเนื้อตามมา )
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย giro »

เรื่องโปรปั่นเบาแต่ยาว สั้นหนักไว้สร้าง บอกเลยครับว่า old school คือตาราเก่าครับ เพราะเทร็นด์ล่าสุดศึกษาพบแล้วว่าการปั่นสั้นแต่เจาะจงได้ผลดีกว่ายาว แต่ใช้การปั่นยาวเสริมความทนทานซึ่งลดความหนักลงมากว่าแอโรบิคเลยด้วยครับ

peaks training , cts และทีมชาติอังกฤษรวมถึงคริส ฟรูม นำเสนอแนวคิดนี้มาหลายปีแล้วแต่บ้านเราเน้นตามโปรแก่ที่ใช้แนวคิดเดิมในการโค้ชครับ

ทีมชาติไทยตอนยุคหลังๆมาก็ปรับการซ้อมเข้มข้นกว่าก่อนปรับสมดุลย์ความหนักเบาครับ

และล่าสุดแม้แต่กลุ่ม ul2ra endurance เริ่มเปลี่ยนทิศทางมาเพิ่มสัดส่วนหนักและสั้นลงลดสัดส่วนเบาแต่นานลงแล้วครับเพราะมีกรณีศึกษาของระบบแร่ธาตุและพลังงานมาเกี่ยวข้อง

แต่การหนักนั้น อย่าได้เข้าใจผิดนะครับเพราะทุกอย่างมีค่า TSS และนักกีฬากำกับ ไอ้ที่ว่าหนักๆน่ะส่วนมาก TSS 90-120 เท้่นั้นเอง เอาง่ายๆครับ เบากว่าซัดฟรีไสตล์ 70 กม. เยอะ ตารางที่ดีถูกสร้างมาให้มีสมดุลย์เหล่านี้อยู่

ยังรวมถึงกลุ่มนักกีฬาอายุต่ำกว่า 18 และ 25 ปีที่การวิจัยบอกเลยว่าไม่ควรซ้อมกีฬาทนทานนานๆเป็น 3-4 ชม. ขึ้นไปบ่อยๆ มีได้ในสัดส่วนน้อยมากๆเำพราะมีผลกับฮอร์โมนในการเติบโตอย่างมาก ใครเอาเด็กๆมาปั่นกันครึ่งวันบ่อยๆต้องระวังครับ

ผมขออ้างอืงจากอากิโนริ ยามามูระ ชาวญี่ปุ่นที่ปั่นอยู่ทีมอาชีพออสเตรีย ได้คุยเรื่องแนวทางการโค้ชนักปั่นใหม่ๆที่ยุโรปใช้ ขนาดเค้าอายุ 21-22 โค้ชยังไม่ใส่การปั่นเอนดูฯ 4-5 ชม. มาให้เลยครับ นานๆทีเท่านั้น และวันปั่นสร้างระบบต่ำเค้าคือขี่สบายๆต่ำกว่า 50% FTP ราวๆ 2 ชม. เท่านั้นเอง เพราะอายุน้อยไม่อยากบังอนาคตครับ


กานทดลองนี้มีคนเข้าใจว่าผมสนุปว่าคนตัวเล็กจะมีหัวใจสูง ซึ่งไม่ใช่นะครับ
หมอลูฯเดาได้ถูกครับผมเพียงต้องการล้อมกรอบดูว่าโซนการออกแรงและตอบสนองสัมพันธ์กันแค่ไหน ปิดปัจจัยอื่นๆไปบ้าง และสมมุติฐานคือเพราะความฟิตนี้ วัตต์ต่อน้ำหนักนี้ ตัวแค่นี้ เรื่องพลังที่สร้างได้มันมีผลครับ เราจะได้แก้ปัญหาได้ชัดขึ้น
ตัวเล็กที่สร้างพลังได้หรือมีการซ้อมที่สร้างหัวใจที่ดีก็ไม่ได้ไม่มีแต่ไม่ใช่เคสนี้
นี่แค่กรณีศึกษาและการสรุปของน้องเค้าในระดับต้น

จักรยานมีการปั่นหลากหลายครับ หัวใจต่ำวัตต์สูงแช่เฉลี่ยได้อาจไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ดีและเกิดมาเป็นแนวนั้นๆ ตอนนี้บ้านเราเห่อกระแสโปรนั้น โปรนี้ ปั่นแรงก็ทำตาม คนนี้ กลุ่มนั้นแรงทำอย่างไรก็ทำตาม ส่วนผมมองแบบกว้างๆเพราะเคสในการหยิบมาลองตั้งแต่ทีมชาย หลากหลายมากๆ วิธีการสร้างให้แต่ละคนทำได้ในทางและวิธีที่เหมาะกับจริตและกายภาพ สำคัญกว่าไบเบิ้ลแบบแผนสำเร็จครับ
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
nettjinanunt
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 56
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2013, 20:32
Tel: 0992636569
Bike: Trek

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย nettjinanunt »

มีอัพเดจผลใหม่ไหมครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”