First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย giro »

รูปภาพ
First Look Trek Madone 9.9
สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้
รูปภาพ
Trek Madone 9 หนึ่งในสามจักรยานที่ Trek ค่ายยักษ์ใหญ่ของโลกเจ้าหนึ่งและเป็นค่ายดังของอเมริกาที่ระยะหลังๆมานี้ความนิยมลดลงไปจากการสิ้นสุดลองของยุค"เดอะบอส" แลนซ์ อาร์มสตรอง ผันมาสู่ยุคของนักปั่นตำนานใหม่ค่ายสายฟ้าฟาด และล่าสุดก็เป็นยุคของนักปั่นเมืองผู้ดี และจักรยานไฮเอ็นด์ค่ายอิตาลี่ แต่แม้ความนิยมจะลดลงไป สิ่งหนึ่งที่ Trek ไม่เคยเปลี่ยนก็คือการมุ่งเน้นพัฒนาจักรยานเพื่อให้ได้จักรยานที่เป็นสุดยอดรถแข่งรองรับกับทั้งระดับนักปั่นอาชีพและนักจักรยานอื่นๆทั่วไป มายังยุคปัจจุบันที่ความได้เปรียบทุกเสี้ยวเศษมีค่าต่อการแข่งขันชี้เป็นชี้ตายบนความชนะหรือพ่ายแพ้ของนักปั่น ไหนเส้นทางและการแข่งก็ถูกสร้างให้ท้าทายมากยิ่งขึ้น ทางออกของแบรนด์จักรยานต่างๆจึงต้องเน้นพัฒนาจักรยานที่เหนือย ่งขึ้นไปอีก ลงลึกเฉพาะให้รองรับกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
trek 1.jpg
trek 1.jpg (84 KiB) เข้าดูแล้ว 27993 ครั้ง
Madone จัดเป็นจักรยานที่สามารถทำเวลารวมในการแข่งตูร์ เดอ ฟร็องซ์ น้อยที่สุดได้คันหนึ่ง แม้ว่าชัยยชนะของแลนซ์ อาร์มสตรองจะถูกยกเลิกไปหมดสิ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตั้งแต่ Trek 5500 บรรพบุรุษก่อนจะมาเป็น Madone จวบจน Madone 6 เป็นจักรยานที่ขึ้นนำในการแข่งขันและพาให้นักปั่นประสบความสำเร็จได้ ทั้งแลนซ์ และ อัลเบอร์โต คอนทาดอร์ ซึ่งสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของ Madone ก็คือเทคโนโลยีคาร์บอนที่ล้ำสมัย ในขณะที่จักรยานยุโรปในยุคนั้นยังอยู่กับการออกแบบในลักษณะอนุรักษ์นิยม แต่ Trek เน้นการออกแบบด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆที่ได้รับจากการควบรวมกิจการจักรยานที่เป็นสุดยอดการออกแบบต่างๆเอาข้อดีมารวมกันเอาไว้มากมาย จนเป็นหนึ่งในรถที่โดดเด่นในการใช้งานในสนามแข่งคันหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น Trek 5500 ของแลนซ์อ ที่รวมบันไดยังมีน้ำหนักเพียง 7.2 กก. หรือยุคของ Madone ที่เป็นจักรยานคาร์บอนคันแรกของโลกที่ใช้ในการแข่งขันทุกเสตจ(นอกจจากไทม์ไทรอัล) ของตูร์ เดอ ฟร็องซ์ ตั้งแต่ต้นยันจบ ที่มีน้ำหนักเฟรมเพียง 940 กรัม

เดิมที Madone เป็นจักรยานที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถที่"ครบเครื่อง" ในการใช้งานซึ่งหมายถึงมีน้ำหนักเบา มีการขี่ที่สบาย และมีความสติฟ ส่งกำลังได้ดี ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งที่อาจเน้นเฟรมที่เบา หรือเฟรมที่สติฟมากๆ และด้วยเหตุนี้เอง ที่เป็นแนวคิดมาถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง

AERO ERA
"แอโร่ไดนามิคส์" กลายเป็นสิ่งสำคัญและถูกกล่าวถึงในหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับ Madone เมื่อสิ้นสุดยุคของรุ่น Madone 6 ก็เข้าสู่ยุคของการแข่งขันตลาดรถเสือหมอบแอโร่ฯกันเต็มตัว ด้วยทรงท่อที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรถไทม์ไทรอัล และผสมผสานกับแนวความคิดของการสร้าง อ ให้มีความครบเครื่อง โดยใส่เอาความแอโร่ฯเข้าไปเป็นปัจจัยที่ 4 ส่งผลให้ Madone 7 เป็นรถแอโร่ฯ ที่มีความสมดุลย์ประนีประนอมคุณสมบัติต่างๆได้เป็นอย่างดี
ต่อมาไม่นาน ในเมื่อตลาดจักรยานและการแข่งขันอาชีพเส้นทางมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ Trek ตัดสินใจแตกสายการพัฒนาจักรยานของตนออกเป็น 3 กลุ่มหลักได้แก่
รูปภาพ
บริษัทโปรทไบค์ เชิญสื่อจักรยานทั้งนิตยสารและออนไลน์มาร่วมกันสัมผัสประสบการณ์ Madone 9 พร้อมๆกัน ทั้ง Thaimtb, นิตยสาร Sport Street และ Cycling Plus Thailand

Madone จักรยานแอโร่ฯ ที่ครบเครื่อง
Domane จักรยานที่ขี่สบายในการแข่งขันทรมานสังขาร
Emonda จักรยานครบเครื่องที่มีน้ำหนักเบาไต่เขาได้ดี

ทั้ง 3 กลุ่มต่างบริหารการออกแบบให้มีความสมดุลย์ในด้านต่างๆที่แตกต่างกันออกไป และส่งผลให้การพัฒนา อ แห่งศักราชนี้ มีแนวทางในการออกแบบที่ต่างไปจาก Madone 7 อย่างสิ้นเชิง ในเมื่อมีน้องร่วมตระกูลที่ไปเอาดีทั้งสองด้านไปแล้ว ดังนั้นพี่ Madone สามารถเน้นความแอโร่ฯได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกลัวอะไร
แต่ปรัชญาการออกแบบของ Trek ก็ยังคงมองหาสมดุลย์ที่สมบูรณ์แบบ อยู่เช่นเดิม

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ Madone 9 กลายเป็น
จักรยานแอโร่ฯที่ครบเครื่องในความสมดุลย์
Untitled.png
ตามปกติแล้วปัจจัยทั้งสี่ของการออกแบบจักรยานจะไม่ไปด้วยกัน เพราะเมื่อนักออกแบบเอนไปทางด้านหนึ่ง ก็จะเสียคุณสมบัติในด้านตรงกันข้ามไปด้วย ในภาพเป็นการแสดงให้เห็นสีต่างๆแสดงรถจักรยานในแต่ละรูปแบบที่มีแนวทางการออกแบบแตกต่างออกไป บ้างก็เน้นน้ำหนักและความสติฟ ซึ่งก็เสียความแอโร่ฯและความสบายออกไปด้วย และอะไรคือสิ่งที่ทำให้ 9 สามารถรักษาสมดุลย์เหล่านี้เอาไว้ได้มากที่สุดเท่าที่การออกแบบจะทำได้?? มาลองเจาะดูสิ่งที่เด่นในแต่ละด้านของเฟรมนี้กันก่อนครับ
34950.jpg
34950.jpg (92.85 KiB) เข้าดูแล้ว 26742 ครั้ง
AERODYNAMICS
มันก็แน่ล่ะครับเพราะมันคือรถที่ออกมาเพื่อให้ได้เปรียบด้านแอโร่ฯเป็นหลัก สิ่งนี้ต้องเด่นชัดและมีความยอดที่สุดในการออกแบบ ซึ่งสิ่งที่ซีรีส์ 9 ต่างขาก 7 ก็คือการเน้นความแอโร่ฯของเฟรม เพราะในซีรีส์ 7 เฟรมไม่ได้ออกแบบมาให้แอโร่ฯมากจนเกินไปจนเสียสมดุลย์ด้านอื่น แต่โจทย์ของซีรีส์ 9 ฝ่ายพัฒนาและวิจัยของ Trek ต้องการให้เฟรมออกมามีความแอโร่ฯในระดับสูง และได้เปรียบจริงทั้งในห้องทดลอง อุโมงค์ลม และการใช้งานจริง ซึ่งอะไรคือคำนิยามเหล่านั้นของ Madone มาติดตามกันได้เลยครับ
REAL WORLD ADVANTAGE
Trek ตัดสินใจเลือกใช้รูปทรงท่อที่เป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดมาตั้งแต่รถไทม์ไทรอัลลของค่ายตนอย่าง Speed Concept ด้วยทรงหยดน้ำหางตัดที่เป็นที่ทราบกันดีว่าอาจมีความสามารถในการลดแรงฉุดจากมุมตรงๆไม่ดีเท่าทรงแอโร่ฯแบบหยดน้ำ แต่เมื่อลมเปลี่ยนมากระทำจากด้านข้าง จะได้เปรียบด้วยการเกิดแรงฉุดโดยรวมน้อยกว่าทันที และจุดนี้เองที่ทำให้การวิจัยพัฒนาทรงของ Madone 9 สามารถก้าวขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้าของเฟรมแอโร่ฯด้วยคุณลักษณะความได้เปรียบเฉลี่ยนในทุกองศามุมกว้างถึง 20 องศา
ALL INTEGRATED
เรื่องนี้ขอไม่พูดเยอะครับ มันเห็นกันจะๆไปเลยอยู่แล้วว่าเฟรมนี้ไม่มีสายโผล่ออกมาให้เห็นกันเลยแม้แต่นิดเดียว สายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสายเบรค สายเกียร์ จะไฟฟ้าหรือสายเกียร์ธรรมดาก็สามารถร้อยผ่านเข้าไปเก็บซ่อนเอาไว้ได้หมด และการซ่อนสายทั้งหมดนี่เองที่ช่วยให้เฟรม Madone 9 มีความได้เปรียบด้านอากาศแหวกลมไปได้ดีที่มุม 0 องศาสู้กับเฟรมแอโร่ฯอื่นๆได้
รูปภาพ
ช่องสำหรับใส่แบทเตอรี่และจังก์ชั่นเชื่อมต่อของระบบเกียร์ไฟฟ้าที่มีสลักปิดอยู่ที่ท่อล่างด้านบน เหนือตำแหน่งกระบอกน้ำ ปิดเก็บระบบสายต่างๆได้เรียบร้อย และดูแลรักษาได้ง่ายมาก

WEIGHT
น้ำหนักเป็นสิ่งหนึ่งที่นักปั่นทุกคนต่างต้องการให้ได้จักรยานที่เบาที่สุด และสำหรับ Madone เองก็เน้นเรื่องของน้ำหนัก ถึงแม้ว่าในทุกวันนี้เฟรมจักรยานและจักรยานทั้งคันจะมีน้ำหนักที่เบามาก มากจนเบากว่ากติกาน้ำหนักจักรยานของการแข่งขันจักรยานอาชีพอยู่แล้ว แต่ในกลุ่มเสือหมอบแอโร่ฯเอง กำแพงของการรีดน้ำหนักจักรยานคือในระดับเฟรมเปล่าชั่งน้ำหนัก 1000 กรัม หรือน้ำหนักเฟรมเซ็ท(เฟรม หลักอาน ตะเกียบ) ที่ทำน้ำหนักรวมที่ราวๆ 1600 กรัม เฟรมแอโร่ฯหลายๆคค่ายตัดสินใจยอมทิ้งความท้าทายนี้และมุ่งเน้นไปที่ความแอโร่ฯมากขึ้น เพราะทราบกันดีว่าความเบาไม่ได้เป็นสิ่งได้เรปียบในทางราบและกระแสลม
แต่สำหรับ Madone 9 ที่ต้องการสมดุลย์ น้ำหนักเป็นสิ่งท้าทายจุดหนึ่ง และสามารถสร้างความน่าสนใจได้ด้วยน้ำหนักเฟรมเปล่า 940-970 กรัม ซึ่งมีน้ำหนักเข้ามาร่วมเบียดกับเฟรมแอโร่ฯเบาๆของค่ายอื่นได้ทันที รวมถึงน้ำหนักโดยรวมของเฟรมเซ็ทที่ทำได้ออกมา 1600 กรัมบวกลม (ในไซส์เล็กน้ำหนักต่ำกว่า 1600 กรัมพอสมควร) ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพกว่านั้น ก็คือรวมน้ำหนักทั้งหมดของเฟรมเซ็ท Madone 9 มีน้ำหนักรวมเบากว่าเฟรมแอโร่ฯในยุคก่อนๆอยู่ขีดนึง โดยที่แอโร่ฯพอๆกัน
OCLV หรือคำนิยามเทคโนโลยีของคาร์บอนจาก Trek ที่หมายถึงกระบวนผลิตและขึ้นรูปชิ้นส่วนคาร์บอนโดยที่มีช่องว่างระหว่างชั้นและฟองอากาศต่ำที่สุดด้วยแรงดันและระบบพิเศษ ทำให้เฟรมทำได้แข็งแรงและต้องการเนื้อวัสดุที่น้อยกว่า ช่องว่าง รอยยับและฟองอากาศเหล่านี้ ทำให้คาร์บอนแต่ละส่วนกระจายแรงต่อกันได้ไม่ดี สิ่งที่ตามมาก็คือความแข็งแรงที่ลดลงไป ส่งผลให้ต้องมีเนื้อวัสดุมากขึ้น นำมาซึ่งน้ำหนักที่มากตามไปด้วย เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเกรดคาร์บอนเลยครับ (ขอยังไม่พูดถึงมากในเรื่องคาร์บอน T ต่างๆที่นักปั่นแทบทั้งหมดที่เคยสอบถามมา เข้าใจผิดหมดครับ ขอสรุปย่อๆครับว่าเฟรมต่างๆมันก็ใช้คาร์บอนเกรดต่างๆกันมาขึ้นรูป และไม่ได้แปลว่าเลขยิ่งเยอะยิ่งเป็นของเกรดดีนะครับ มันคือคุณสมบัติที่ต่างกันในแต่ละเบอร์ต่างหาก) สำหรับรหัสของเทคโนโลยีของคาร์บอนที่ใช้ใน Madone 9 ได้แก่ OCLV600 ในรุ่นปกติ H2 และเกรดสูงสุด OCLV700 ในเฟรมระดับ H1 ProjectONE ที่เป็นระดับสูงสุด ที่เฟรมมีน้ำหนักเบากว่าเดิมลงไปอีกราวๆ 100 กรัมเลยทีเดียว
VERTICAL COMPLIANCE.png
VERTICAL COMPLIANCE.png (14 KiB) เข้าดูแล้ว 27993 ครั้ง
INVISIBLE CABLE ROUTING.png
INVISIBLE CABLE ROUTING.png (49.42 KiB) เข้าดูแล้ว 27993 ครั้ง
STIFFNESS
ความสติฟ แปลง่ายๆมันก็คือความแข็งแต่ถ้าเรียกความแข็งคนไทยเรามักจะตีความเป็นทั้งแข็งแรง และแข็งโป๊ก ดังนั้นความสติฟจริงๆมันก็คือความสามารถในการส่งกำลังมากกว่าคำว่า"แข็ง" ครับ และรวมไปถึงความสามารถของเฟรมในการรับแรงต่างๆ ทั้งแรงโยก บิด สปรินท์ การเอียงรถเข้าโค้งที่แนวของตะเกียบและเฟรมยังตรงกันไม่เกิดการบิดงอ ซึ่งปัจจัยหลักแน่นอนว่ามาจากทั้งวัสดุและการออกแบบด้วย เบื้องต้นเราอธิบายถึง OCLV ไปแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่ Trek มั่นใจว่าเฟราของตนผ่านการทดสอบและรองรับแรงระดับโปรอาชีพกันได้แน่นอนก็คือการเลือกใช้กะโหลกแบบเป็นเอกลักษณ์ ที่ความกว้างถึง 90 มม. ซึ่งทำให้มีการส่งกำลังจากชุดขับเคลื่อนไปที่แกนดุมหลังได้อย่างดี ร่วมกับตะเกียบโซ่ที่ขึ้นรูปชิ้นเดียว
NET MOLDING.png
NET MOLDING.png (68.47 KiB) เข้าดูแล้ว 27993 ครั้ง
ส่วนช่วงหน้าของรถ ที่ต้องรองรับทั้งการสปรินท์และการเข้าโค้งที่ดี การออกแบบใช้คอแบบเทเปอร์ด้านล่างใหญ่กว่าด้านบน เพื่อกระจายแรงและเป็นฐานที่ดี ด้านบนใช้เสป็คขนาด 1 1/8 นิ้ว ในขณะที่ด้านล่างใช้เสป็คใหญ่ 1 1/2 นิ้ว สิ่งสำคัญที่น่าสนใจในด้านความสามารถในการส่งกำลังคือการเชื่อมต่อการส่งแรงโครงสร้างตั้งแต่ท่อคอ ไปยังท่อล่าง กะโหลกไปยังระบบขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องกัน
Picture2.png

รูปภาพ
COMFORTABLE
เทคโนโลยีสำคัญที่เป็นที่มาของคุณสมบัตินี้ Trek เรียกมันว่า ISOspeed หรือการออกแบบท่อนั่งและหลักอานที่เลือกใช้คาร์บอนที่ซับแรงลดการสั่นสะเทือน ซึ่งแรงสั่นสะเทือนจากถนนจะขึ้นมาที่ล้อหลังและหน้าผ่านมาที่ตะเกียบหลังและท่อนอนมาที่หลักอานและท่อนั่ง ซึ่งมีระบบการซับแรงสะเทือนหรือแรงใดๆก็ตามที่ไม่ได้มาในแนวด้านข้าง โครงสร้างจะให้ตัวได้เพื่อลดแรงที่จจะขึ้นมาหาผู้ปั่น เทคโนโลยีนี้เป็นการถ่ายทอดมาจากรถในตระกูล Domane ที่เน้นการปั่นบนนถนนขรุขระแรงสะเทือนมากๆอย่างรายการแข่งบนถนนอิฐได้ดี โดยในตระกูล Domane ระบบนี้ให้ตัวได้สูงสุดถึง 35 มม. ใน Madone 9 การออกแบบช่วยลดแรงสั่นสะเทือนสามารถให้ตัวได้สูงสุด 22 มม.
ISOSPEED DECOUPLER.png
ISOSPEED DECOUPLER.png (78.64 KiB) เข้าดูแล้ว 27993 ครั้ง
มีหลายๆท่านถามผมมาว่ามันโยกได้ สั่นได้ แล้วเฟรมมันจะสติฟได้อย่างไร? ต้องเข้าใจกันก่อนนะครับว่าเฟรมใดๆนั้นรับแรงหลักๆใน 2 ลักษณะได้แก่
แรงแนวนอน หรือแรงที่ออกแรงบิดเฟรมในลักษณะซ้าย-ขวา เหมือนกับการกดบันไดหมันจานให้รถวิ่งแต่ก็เกิดการบิดเฟรมซ้้ายขวาด้วยนั่นเอง ในการออกแบบจุดสำคัญที่ต้องการความสติฟ เฟรมต้องรับแรงแนวนี้ได้ดีมาก
แรงแนวตั้ง หมายถึงแรงที่กระทำกับเฟรมในลักษณะล่าง-บน หรือจากหน้า-หลัง จำพวกแรงสะเทือน กระแทกจากพื้นถนน หลุม รอยต่อ ที่จะส่งเข้าหาเฟรมในทิศทางนี้ และนี่คือการทำให้เฟรมสามารถซับหรอกระจายแรงในทิศนี้ได้ดี เป้าหมายเพื่อลดแรงที่จะขึ้นไปสู่ผู้ปั่นให้ได้เหลือน้อยที่สุด

เป็นอันว่าทำความรู้จักสรรพคุณกันไปแล้ว แต่ก่อนจะไปเริ่มต้นดูประสบการณ์ของ Madone 9 รถรุ่นนี้ไม่พูดถึงก็คงไม่ได้กับเจ้า "บานพับ" ที่ดูแล้วมันช่างไฮเท็คเสียเหลือเกิน มันคือ "Vector Wing" ที่โดดเด่นเตะตาสำหรับทุกคนที่ได้เห็นรถตัวนี้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เปิดตัว เป้าหมายของการออกแบบระบบปิดเปิดนี้ก็เพื่อ
สำามารถทำท่อคอให้แคบและเก็บสายทั้งหมดไว้ภายในได้
มันมีเท่านี้เลยครับ.. ไม่ใช่การออกแบบระบบสุดยอดตัดลม การสร้างแอโร่ฯอะไรอย่างที่ลือกัน และยิ่งกว่านั้น การทำงานมันก็เรียบง่ายเสียเหลือเกิน เพราะมันก็คือแผ่นขึ้นรูปมีจุดหมุน ดันกลับด้วยสปริงโลหะง่ายๆ เปิดออกด้วยสายเบรคที่ซ่อนอยู่ภายในดันออกไปในจังหวะที่บิดแฮนด์ในมุมมากๆ ไม่มีกลไกอะไรพิสดารอันต้องการการดูแลรักษาที่เกินปกติ ถ้าจะมองว่าการใช้งานยาวๆต้องการการดูแลอะไรบ้าง?? มันก็ไม่ต่างจากส่วนอื่นๆของจักรยานที่ต้องการการทำความสะอาดคราบฝุ่น เศษดินที่อาจเข้าไปได้ และหล่อลื่นจุดหมุนบ้างตามโอกาสเท่านั้น


รูปภาพ
Vector Wing เปิดบ่อยแค่ไหน? มีผลเสียแค่ไหน?
เป็นคำถามที่พบบ่อยมากเช่นกัน ลองทำความเข้าใจง่ายๆครับว่ามันจะเปิดก็ต่อเมื่อแฮนด์ถูกบิดเลี้ยวในมุมเกือบสุดเท่านั้น ซึ่งเวลาเราปั่นจักรยานไปปกติ ไม่ต้องเอาถึงขั้นเร็วจนสามารถเกิดแรงฉุดคิดได้เป็นน้ำหนัก 8 กก. หรอกครับ เเอาแค่ปั่นไปหยิบน้ำฟรีที่แจกก็พอ เราแทบจะไม่บิดแฮนด์เลยด้วยซ้ำ การเลี้ยวเสือหมอบทำด้วยการถ่ายน้ำหนักตัวเอียงรถ บิดแฮนด์นิดหน่อยเท่านั้น ดังนั้นตลอดเวลาการปั่น บานพับปีกนี้จะปิดสนิทตลอดเวลา ลองท่านจงใจจะเปิดมันด้วยการบิดแฮนด์ ตอนลงเขาเร็ว 80 บิดให้สุด ... ไม่ต้องรอแรงฉุดจากบานที่เปิดมารับลมหรอกครับ เพราะเพียงไม่ถึง 2 วินาทีก็จะลงไปกลิ้งบนพื้นแล้ว


Trek Madone 9 Thailand Press Test Ride
by Probike

กิจกรรมแนวอินเตอร์ที่โปรไบค์ ผู้นำเข้าจักรยาน Trek บริษัทจักรยานแนวหน้าของไทยเราดำริคิดขึ้นมาเพื่อให้สื่อจักรยานได้มาร่วมกันเป็นตัวแทนนักปั่น ร่วมทดลอง ทดสอบ จับ ขี่ รีดกันเน้นๆในรถรุ่นนี้เต็มที่ สื่อทั้ง 3 สำนักได้แก่ Thaimtb, Cycling Plus Thailand และ Sport Street ได้รับเทียบเชิญมาร่วมสัมผัสประสบการณ์นี้พร้อมกัน โดยโปรไบค์จัดจักรยาน Trek Madone 9.9 Complete Dura Ace Di2 เอาไว้ให้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว หนึ่งคนหนึ่งคัน แกะกล่องประกอบใหม่ เซ็ทรถตามระยะฟิตติ้งที่ส่งมาให้ล่วงหน้า ไม่ต้องเสียเวลาลองเวียนไป เวียนมา

รูปภาพ
เสป็ครถ Madone 9.9 size 50
Frameset Trek Madone 9 H2 OCLV600
็Bar/Stem Trek Madone 9 Integrated
Drivetrain Shimano-Dura Ace Di2
Chain Rings Shimano Dura-Ace 50/34
Cassette Shimano Dura-Ace 11-28
Saddle Bontrager Paradigm XXX Carbon Rails
Wheels Bontrager Aerolus 5 DT TLR
Pedals Look Keo2Max
Computer Garmin EDGE 510
Bottle Bontrager
Cages Bontrager XXX
น้ำหนักรวม 7.0 กิโลกรัม (6.7 กก. ไม่รวมบันไดและไมล์)

รูปภาพ
การทดสอบในครั้งนี้ ส่วนตัวผมเองตั้งใจจะทดสอบในด้านฟิลลิ่งเปรียบเทียบมากกว่า ที่จะมานั่งหาความเร็ว หาวัตต์ เพราะการทดสอบแบบนั้นต้องใช้เวลาหลายๆวัน ควบคุมบรรยากาศโดยรวมให้ได้ แต่สิ่งที่เรา(สื่อทั้งสาม) เห็นตรงกันคือการเก็บประสบการณ์และมุมมองแทนนักปั่นให้ได้ละเอียดที่สุด โปรไบค์ก็อำนวยความสะดวกเสริมเส้นทางให้ได้ครบทุกรส มีภาระกิจที่แต่ละคนต้องฝ่าฟันให้ได้แตกต่างกันออกไป

เส้นทางทดสอบใช้เส้นทางนครนายกวนบริเวณใกล้ทางขึ้นเขื่อนขุนด่านฯ ที่หมายนักปั่นยอดนิยม เส้นทางประกอบด้วยทางราบลมแรง, ทางลงเบาๆลมส่ง, ทางขึ้นซึมๆยาวๆ, เส้นทางขรุขระผิวถนนชำรุด, ทางขึ้นเขา และลงเขา เพื่อให้ได้ร่วมกันทดสอบรถให้ได้ในทุกเส้นทางที่เราสามารถปั่นกันไปได้จริงๆ การทดสอบมีรถจักรยานยนต์วิ่งนำหน้าเสือหมอบ และคอยให้แต่ละคนได้ขึ้นไปทำความเร็วรีดเอาสมรรถนะรถออกมาให้สุดๆเท่าที่จะทำได้ รวมถึงช่วงทางตรงๆยาวๆ ลมสวน เรียบกริบ จำลองเส้นชัยให้ได้ลองสปรินท์ยัดกันให้ใส้ออกมากองกันข้างทาง

ส่วนตัวผมได้รับโจทย์ให้เกาะท้ายจักรยานยนต์หมกไปให้ดีๆ ก่อนจะบิดพาทำความเร็วพุ่งขึ้นไปอย่างช้าๆ ไล่จาก 40 ไป 50 กม./ชม. และไปแช่อยู่ที่ประมาณ 60 กม./ชม. ค้างอยู๋ราวๆ 3 นาที ก่อนจะเร่งไปความเร็วสูงสุดที่ 68 กม./ชม.
ส่วนหน้าเส้น ระยะทางไม่ยาวมากราวๆ 350-400 ม. จักรยานยนต์ลากแบบลีดเอาท์ ไล่ความเร็วไปก่อนจะปล่อยให้ออกสปรินท์รับลมแหวกไปเข้าเส้นองที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ต้องยัดต่อสวนลมเข้าไปกระทืบหมดให้ได้
สิ้นสุดเส้นทางกันที่ทางขึ้นเชื่อนขุนด่านฯที่แม้จะไม่ชัน ไม่ยาว แต่ก็ให้ลองไต่เขากันได้สบายๆ จะขึ้น จะลงมาเล่นกี่รอบก็ตามศรัทธาของแต่ละคนครับ ปิดท้ายด้วยการดิ่งลงมาทดสอบกันดูว่ารถเข้าโค้ง พุ่งลงความเร็วสูงนิ่งแค่ไหน ลองเบรคกันดูว่าจะหนึบ เหนียว หรือแน่แรง


รูปภาพ
สัมผัสแรก
สัมผัสแรก ที่ไปจับตัวเป็นๆ คร่อม เพื่อเช็ครถให้พร้อมที่สุด เนื้องานคาร์บอน และงานสีจัดว่าอยู๋ในระดับดีเยี่ยมครับ อาจไม่หวือหวามาก เพราะเน้นลายเรียบๆ ดังนั้นก็ไม่มีตำหนิที่อาจเกิดได้มากนัก ชิ้นส่วนต่างๆของเฟรมค่อนข้างเยอะแต่การประกอบยึดมาแน่นนอน ดูแล้วไม่แคลงใจว่าผ่านกติกา UCI มาได้อย่างไรในเมื่อมีชิ้นส่วนแปะเสริมมากมายตามที่อ่านเสป็คก่อนมาทดสอบ เพราะปรากฏว่าทั้งหมดจัดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างชัดเจน ไม่มีการเอามาแปะ ล็อค เติมแต่งแต่อย่างไร

ในบรรดาชิ้นส่วนทั้งหมดผมชอบแฮนด์มากที่สุด เพราะงานคาร์บอนสวยงามมากๆ องศาก็ถูกใจเพราะก้มสุดๆ ระบบการรองแหวนไม่ลำบากยากเย็นนัก รองกันตามปกติด้านล่างเป็นแหวนโค้งทรงแอโร่ตามท่อคอ ด้านบนหากตัดซางให้โผล่ออกมาก็รองแหวนตามปกติมาตรฐานได้เลย นอกนั้นก็เป็นเรื่องพื้นฐานของรถคอมพลีทครับ เกียร์ปรับระยะเอื้อมของนิ้วให้เหมาะกับตัวเอง ระยะเบรคลึก/ตื่น ผมเป็นคนนิ้วสั้นครับ ต้องปรับเบรคมาใกล้หน่อยและตั้งเบรคให้ตื้นๆเข้าไว้

ล้อ ต้องบอกว่า เนี๊ยบสวยมากๆ ล้อคาร์บอน ยางงัด ดุมเป็นของ DT Swiss ขอบสูง 50 มม. ตัวขอบจัดว่าอ้วน แม้จะไม่ได้อ้วนมากอย่างบางยี่ห้อ ที่สวยบาดใจคือผิวขอบเป็นคาร์บอนมันตลอดทั้งตัวขอบแม้แต่ที่ขอบเบรคที่ปกติจะเป็นขอบบะซอลท์ด้าน ตัวนี้ก็มาเป็นผิวมันครับ สวย ดูมีประกายทั้งหมดเลย


รูปภาพ
การปรับเซ็ทรถ
เมื่อได้รับการยืนยันจาก Trek ว่าเราจะได้รับเชิญไปทดสอบสัมผัสกับเจ้า 9 อย่างเป็นทางการ โปรไบค์ประสานให้ผู้ทดสอบทั้งหมดส่งระยะต่างๆจากรถคันที่แต่ละคนใช้อยู่ที่ได้ปรับมาอย่างดีแล้วให้ล่วงหน้าเพื่อจัดการเซ็ทรถปรับให้จักรยานที่จะทดสอบอยู่ในมิติการฟิตติ้งที่ใกล้เคียงกับความถนัดและสรีระของแต่ละคนที่สุด สำหรับผู้ทดสอบท่านอื่นปัญหาดูจะไม่ค่อยมีครับ แต่สำหรับผม ที่เกิดมาเป็นชายไทยไซส์พกพาสะดวก ผมมีปัญหากับไซส์เล็กที่สุดของ Madone 9 อยู๋นิดหน่อย
trek 2.jpg
เมื่อไซส์เล็กสุดของซีรีส์นี้ ก็ยังมีระยะท่อบนที่ยาวกว่าคันปกติที่ผมขี่อยู่มากกว่า 10 มม. ถ้าจะให้เรียกกันตรงๆก็น่าจะบอกว่าด้วยสัดส่วนความสูง 165 ของผม ไซส์ 50 ของ Trek ถือว่า "พอดี" ตัวและเหมาะกับชิ้นส่วนที่ OEM ติดมาพื้นฐานในฐานะรถสำเร็จครับ ทว่า... จริตและรสนิยมของผมที่ดันไปชอบการขี่รถที่สั้นและเล็กกว่าตัว ด้วยเหตุผลสองประการคือ ระยะก้มที่ทำได้มากกว่า และการขี่รถที่เล็กลงแล้วยืดเสต็มไปด้านหน้า ได้ฟิลลิ่งของรถที่นิ่งแต่คล่องตัวปราดเปรียว บาลานซ์น้ำหนักรู้สึกทะยานไปมากกว่าการขีรถพอดีตัว ซึ่งเป็นความกระแดะอยากจะขี่แบบโปรเท่าที่สังขารจะอำนวยครับ ความทรมานก็คือต้องหมั่นปั่นระยะทางไกลๆ ท่าปั่นแบบนี้ หมั่นยืดกล้ามเนื้อ บริหารความยืดหยุ่นเพื่อให้ร่างกายปั่นอยู๋แบบนั้นได้จริงๆ
รูปภาพ
แน่นอนล่ะครับรถทดสอบคันนี้แกะกลอ่งมาหมาดๆ และจะเป็นรถแสดงโชว์หรือทดสอบต่อไป มันไม่สามารถตัดซางหรือปรับต่างๆให้เป็นของผมเป๊ะๆได้ ระยะอินซีม ความสูงเบาะไม่มีปัญหา ระยะเบาะหน้าหลังก็ไม่มีปรัญหาครับ ระยะเอื้อมไม่มีปัญหาเช่นกัน แค่รู้สึกแปลกไปบ้างที่เสต็มสั้นลง (จากเดิมใช้ 110 ได้ตอนนี้หดมาเหลือราวๆ 90) แต่สิ่งที่ไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ในแคมป์นี้ครับระยะก้ม
รูปภาพ
เนื่องจากสายกลไกและสายไฟทั้งหมดต้องใส่เข้าไปในระบบคอของเฟรม สายจึงมีความยาวยืดหยุ่นได้จำกัดกว่าปกติ ในเฟรมปกติ เราสามารถปรับยกความสูงเสต็มด้วยการรองแหวนเสปซเซอร์หรือตัดซางลงได้อิสระตราบที่แฮนด์ยังหมุนบิดได้ไม่ติดว่าสายสั้นเกินไป หรือถ้าสายยาวไปเนื่องจากการลดระดับมากก็มีผลเรื่องการเบรคนิดๆหน่อย แต่สำหรับ Madone 9 นี้ เมื่อใส่สาย ปรับตัดความยาวเรียบร้อยแล้วจะสามารถปรับขึ้น-ลงได้ในระดับที่จำกัด
ปรับขึ้นได้ไม่เกิน 20 มม. ปรับลงได้ไม่เกิน 5 มม.
เป็นคำแนะนำของช่าง หากจะปรับลงมากกว่านั้น ต้องรื้อสายออกมาตัดใหม่ เป็นงานช้างครับ ดังนั้นสำหรับผมที่ใจหวังจะเอาแหวนรองออกไปให้สิ้น หรือเหลือไว้ซัก 5 มม. น่าจะพอดีกับความชิน ก็ทำได้แค่เอาออกไปชั้นหนึ่ง (5 มม.) ส่วนซางที่โผล่มาด้านบนก็ใช้แหวนปกติซางกลมมาตรฐานมาใส่ได้เลย ในกรณีรถส่วนตัว เราอาจเผื่อเหลือซางเอาไว้สัก 5-10 มม. สำหรับปรับรถในอนาคต และ/หรือ ขายต่อได้โดยไม่จำกัดคนซื้อมากเกินไป แต่ถ้าอยากได้สวยๆ แน่นอนครับ ฟิตติ้งเสร็จจนพอใจแล้ว ตัดกุดปิดฝาเลย จุดูแล้ว"ซ่อน" เป็นอันเดียวกันมากๆ


รูปภาพ
มาเริ่มปั่นทดสอบกัน
สมมุติฐานของเฟรมและรถแอโร่ฯทั่วๆไปที่หลายๆคนน่าจะเดาได้ไม่ยากคือ รถที่หน่วงนิดๆในความเร็วต่ำ ไหลได้ดีเมื่อความเร็วสูง และกระด้างสะเทือนพอดูด้วยรูปทรงของท่อที่แบนจนเสียความสามารถในการซับแรงกระแทก ดังนั้น ผมจึงคาดเดาเอาไว้ว่า Madone 9 นี้ ที่มีท่อต่างๆบางเฉียบ ทรงท่อหนาก็จริงแต่ผนังบางและเรียบมากๆ น่าจะมีอาการ "สะเทือน" จากถนนให้สัมผัสกันได้พอสมควร แต่ตัวแทนสื่อที่มาทดสอบทั้ง 4 คนลงความเห็นตรงกัน หลังจากที่ออกตัวกันไปได้ระยะทางไม่กี่กิโลเมตรว่าสัมผัสแรกๆที่ลงถนนแล้วเริ่มออกปั่นจริงๆของ Madone 9 คือ "นุ่มจริงๆ" ส่วนหนึ่งที่ต้องยกเครดิทให้ก็คือล้อคาร์บอน แฮนด์/เสต็มคาร์บอน และเบาะรางคาร์บอน ตัวเบาะคาร์บอนบุ สรุปคือ ... มันเป็นคาร์บอนทั้งคันจริงๆ แถมเจ้า ISO SPEED ก็ยังช่วยซับแรงเอาไว้ได้ ถนนช่วงแรกเป็นถนนขาว(ถนนคอนกรีท) ซึ่งผิวไม่ได้เรียบกริบ ขี่ไปไม่ได้รู้สึกถึงผิวสัมผัสถนน และเมื่อออกมาถนนใหญ่ที่เป็นถนนลาดยางอย่างดี ยิ่งรู็สึกเรียบนุ่มนวลมากๆ สิ่งบ่งชี้สำคัญคือแถบสะเทือนที่ไว้ให้รถชลอความเร็ว ซึ่งปกติบนเส้นทางนี้จะสั่นกันหัวคลอนเลยทีเดียว แต่บน Madone 9 เราสามารถรูดผ่านไปได้แบบไม่รู้สึกกระแทกมาก
"พี่โต" จาก Sport Street ซึ่งมี Madone 6 อยู่ในครอบครองใช้งานอยู่บ่อยๆ ให้ความเห็นว่า เจ้า 9 นี้นุ่มสบายยิ่งกว่า 6 เสียอีก
รูปภาพ
บนถนนใหญ่ ผู้ทดสอบแต่ละคนมีโอกาสได้ลอง"ย่ำ" รถแรงกันได้เต็มที่เมื่อเส้นทางช่วงเช้าตรู่รถน้อย มีรถตู้ปิดท้าย และจักรยานยนต์ลากนำหน้าคอยช่วยกระตุ้นให้แต่ละคนทำความเร็วกันเต็มที่ เส้นทางในช่วงนี้บางช่วงขึ้นซึมๆ บางช่วงทิ้งลงนิดๆแต่ยาวๆ สามารถกดทำความเร็วกันสบายๆได้ที่ 50-60 กม./ชม. สรรพคุณของความแอโร่ฯมันส่งออกมาตอนนี้แหละครับ เมื่อ Madone 9 มีคุณลักษณะของรถแอโร่ฯอย่างเต็มตัว ผิดกับหน้าตาเหมือนรถถังถึกของมันโข เมื่อความเร็วดันไปถึงระดับสามสิบปลายๆ รถก็จะไหลมากๆ ยิ่งความเร็วสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกว่ารถไปข้างหน้าได้เอง (ผมโดนลากไปยัน 68 กม./ชม.) มันสามารถ"ช่วย" ได้อย่างจริงๆ นักทดสอบแต่ละคนและลูกค้า Madone ก่อนหน้านี้ต่างผ่านรถแอโร่ฯกันมาไม่น้อย ลงความเห็นตรงกันว่ามันคือรถแอโร่ฯเต็มตัวครับ ต่างจากพวกกึ่งๆแอโร่ฯบ้าง ประนีประนอมบ้าง อย่างน้อยๆต่างจาก Madone 7 อย่างแน่นอน
รูปภาพ
ไฮไลท์แรกของการทดสอบอยู่ที่เส้นทางขรุขระ ชนิดว่ามีหลุมบ่อยตื้นๆกระจายประปราย ผิวถนนเป็นรอยแตกบ้าง มีรอยยางมะตอยหลุดบ้าง แถมถนนแคบเสียด้วย ปกติผมไม่ใช่คนที่ถนัดการขี่เข้าทางแคบๆ แล้วคุมรถสลับไลน์รูดทางไป ผิดกับนักทดสอบท่านอื่นๆที่มีประสบการณ์เสือภูเขากันมา สามารถจับรถพุ่งเข้าใส่ สลับไลน์สวยคมๆ แล้วปล่อยรถไปได้อย่างคล่อง ผมนี่เข้าโหมดการแข่งปารีส-รูเบซ์ จับบาร์บนหลวม ถ่ายน้ำหนักบาลานซ์ ย่ำเกียร์หนักใส่ไปเลย แต่ทักษะอันต่ำต้อยทำให้ตามเค้าไม่ทันครับ เลยมีเวลาเอาใจจดจ่ออยู๋กับผิวถนนและความรู้สึกบนมือ ต้องยอมรับกันว่ามันไม่ได้นุ่มมากแบบรถหมอบยางใหญ่ตามสมัยนิยม หรือพวกหมอบเอนดูแรนซ์ที่ใส่ยางได้ถึง 28 มีกระดอน เด้ง กระแทกบ้างตามเส้นทาง แต่โดยรวม เทียบกับรถดิบๆอื่นๆ ต้องยกนิ้วเลยว่า ISO SPEED นี้ยอดจริงๆครับ ท่อนั่งหลักอานให้ตัวได้ 22 มม. นั่งก้นติดเบาะใส่ไปเลย ไม่สะท้านจนต้องยกก้นหนี
รูปภาพ
ความมันส์แรกของการทดสอบคือช่วงทางตรง โล่ง ยาว ร่วมๆครึ่งกิโลเมตร ที่มีลมสวน เปิดโอกาสให้แต่ละคนลองออกตัวแล้วกระชากย่ำ Madone 9 ผ่านจุดเส้นชัยที่มาร์คบนพื้นเอาไว้กันให้สุดๆ แถมความสะใจแบบสปรินท์เตอร์ด้วยการลีดเอาท์แบบกิริน จักรยานยนต์ลากกันไปจนถึงระยะทำการแล้วยัดต่อกันจนสุด เอาเป็นว่า การทดสอบนี้ถึงจะสั้นๆและไม่สามารถหาคำตอบเชิงวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน แต่มันทำให้เห็นได้ว่า การตอบสนองของเฟรม ส่งกำลังพุ่งกระแทกไปทำได้ไม่แย่ โดยเฉพาะที่ความเร็วสูงมากๆ เมื่อจักรยานยนต์เปิดออกให้เราฝ่าลมไปเอง รถไม่มีอาการตื้นลงอย่างทันที ยังอัดต่อไปจนหมดอัตราทดจานหน้า 50 เฟือง 11 ได้เลย ส่วนช่วง 100 เมตรแรกจะลำบากหน่อยครับ เพราะทางสั้นมีเวลา(ระยะทาง)น้อยต้องไล่จาก 0 ไปถึง 50 แรงน้อยๆแบบผม ชอบการกระชากเร่งของพวกรถทั่วไปมากกว่า เพราะน้ำหนักเบากว่าเยอะ ... แต่รถทั่วไปเหล่านั้นต้องทำใจเมื่อเจอลมปะทะที่ความเร็ว 50-60 นะครับ มันจะตื้ออย่างบอกไม่ถูกเลยทีเดียว
อัตราเร่งตีนต้น ทำได้ดีกว่ารถแอโร่ฯที่เน้นแอโร่ฯสุดขีด ลมหน้าตรง และออกแบบมารับลมและกระแสอากาศที่ความเร็วสูงมากๆ ที่มีฟิลลิ่งใกล้รถไทม์ไทรอัลหลายๆตัว แต่ก็ไม่ได้ดีเท่ารถเบาๆทั่วไปที่ไต่เขาได้ดีหรือแอโร่น้อยนิด สร้างน้ำหนักเบา เอาเป็นว่ามันอยู๋ตรงกลางครับ

รูปภาพ
อาหารหลักสุดท้ายที่ผมรอจะลองมันดูมาถึงเมื่อเราเข้าสู่ทางขึ้นเชื่อนขุนด่านปราการชล ที่แม้จะไม่ชัน ไม่ยาว แต่ก็มีุดที่สามารถลองกระทืบรถขึ้นเขาไปได้ รถเบาไม่เบา สติฟไม่สติฟ เรามาลองบนเขากันนี่แหละครับ Madone 9 มีความสบายตามที่เล่ามาแล้ว แอโร่ฯไหลดีตามที่เล่ามาแล้ว บนเขาจะเป็นอย่างไร? ย้วยมั้ย? อืดมั้ย? เป็นคำถามที่ผมอยากหาคำตอบ
รูปภาพ
ช่วงแรกๆที่ความชันไม่มากทดลองนั่งขึ้นเขาแบบซอยยิกไปเรื่อยๆ ใช้รอบขาควงรถไต่ความชันไป รถไปได้ดีกว่าที่คิดมาก น่าจะเพราะน้ำหนักที่ถือว่าเบาใจหายแล้วครับ อาจจะหนืดๆไปบ้างเมื่อเทียบกับพวกรถไต่เขาที่ใส่กันสุดๆงบเบากว่ากติกา UCI กันไปเกือบครึ่งโลฯหลายๆตัว แต่รับรองได้ว่าดีกว่ารถแอโร่ฯอีกหลายต่อหลายตัวมากนัก ช่วงที่ชันรอบแรกผมลองขึ้นแบบไม่เล่นเกียร์ นั่งย่ำรอบต่ำๆไปดูซิว่าจะรู็สึกยวบย้วยหรือไม่ รถจะขึ้นไปแบบ "อาดๆ" ตามแรงถีบหรือรักษาโมเมนตัมที่ดีไปได้ ผลคือมันก็ไม่ยวบครับ กระโหลกมาตรฐาน 90 ใหญ่บึกบึนมาก รับแรงบิดได้ดีเยี่ยม จากน้ัน ขอลงเขามาทดสอบอีกรอบ คราวนี้ ใส่เกียร์หนักยืนโยกรถโยนไปมา เต้นขึ้นไปเต็มเหนี่ยว ยาวกันยันสันเขื่อน ความรู้สึกประหลาดมากครับ เพราะนี่แทบจะห่างไกลฟิลลิ่งรถแอโร่ฯเลยก็ว่าได้ รถกลับโยกได้ดี ทะยานไปได้ดี ช่วงหลังแน่น สติฟมาก กดน้ำหนักลงแล้วขึ้นไปได้ จุดรอยต่อท่อนอนต่ำแนวเฟรมคอมแพ็คมากๆ ถ้าใครนึกถึงเฟรมหมอบท่อนอนลาดๆว่าโยกขึ้นเขามันส์แบบไหน Madone 9 อารมณ์ใกล้กันเลยครับ รูปภาพ
ท้ายสุดคือการลงเขากลับลงมา ทางไม่ได้ยาวมาก ความเร็วไม่ได้สูงมาก แต่ถ้าใครเคยลงเส้นนี้จะพบว่าเราแทบจะปล่อยยาวๆลงมาได้เลย ผ่านโค้งตัวเอสที่ตัดไลน์ลงมาได้ (ถ้าไม่โดนรถสวนมาสอย) ช่วงท้ายปล่อยยาวๆกันได้จนหักศอกสู่ทางราบ แบบนี้เทกันสนุกครับ แถมลองดูว่าถ้าต้องเบรคหนักๆเบรคแบบพิเศษที่ได้ข้อมูลมาว่าเป็น OEM ซัพพลายจากค่ายเบรคไต้หวันชั้นยอดรายหนึ่งทำให้ ฟิลลิ่งเบรคกำลังดีครับ ไม่หนึบจึ้กเกินไป แม้ว่าผมจะตั้งเบรคค่อนข้างชิด และไม่หลวมจนต้องบีบให้เมื่อยนิ้ว แรงเบรคอาจไม่ได้ชัดเจนแบบแบรนด์ญี่ปุ่นรุ่นท็อป แต่ก็เกลี่ยได้ดีเลยครับ การเทโค้งต้องขอไม่เล่ามาก เนื่องจากองศาต่างๆของรถออกมาไม่คุ้นครับ หน้าเชิดๆ ไม่ชิน รู้สึกว่าตัวมันสูงๆกว่าเดิม เลยไม่กล้าเทเหวี่ยงโค้งออกไป แต่รถก็ถือว่าไม่ดื้อโค้ง จุดศูนย์ถ่วงต่ำดี เอนนิดๆก็ไปแล้ว ตะเกียบหน้าเชื่อได้ว่าสติฟมากๆ ผมไม่รู้สึกหรอกครับ แต่คนอื่นๆที่ทดสอบทิ้งดิ่งกันลงมา ตัวใหญ่ๆก็ยังเข้าไลน์แบนออกไปได้นิ่มๆ แสดงว่าช่วงฐานล้อหน้า-หลังน่าจะมั่นคงดี
และถือเป็นการสิ้นสุดการทดสอบในครั้งนี้ ที่เหลือคือการมานั่งรวมกัน เสวนา ถกกันว่า การทดสอบได้ผลความรู้สึกกันเป็นอย่างไรบ้าง แต่ละค่ายสื่อก็จับในจุดมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งอยากฝากให้ติดตามอื่านกันให้ครบทุกค่ายที่ได้ลองครับ ต่อไปนี้เรามาดูสรุปข้อต่างๆที่ชัดเจนในนาม Thaimtb กันนะครับ

ข้อดี
1.ความสมดุลย์ของทุกกด้าน
อย่างที่เกริ่นมาแต่แรก และบอกเล่าในการทดสอบ เฟรม Madone 9 รวมถึงชิ้นส่วนที่มากับรถคอมพลีทนี้ จัดว่าเป็นรถที่เน้นความ"สมดุลย์" หากใครจะเรียกการออกแบบว่าต้องประนีประนอม ผมขอเรียกการออกแบบของนักออกแบบ Trek ว่ามันคือการเกลี่ยจุดเด่นให้อยู่ได้ครบถ้วนด้วยการแก้ปัญหาแต่ละจุด ในเมื่อเฟรมมันมีปัญหาทรงขี่กันไม่สบาย ก็สร้างระบบ ISO SPEED มารองรับ ในเมื่อมันต้องแอโร่ฯมากๆก็จับซ่อนสายยัดให้หมด และเลือกเสป็คกะโหลกและการกระจายแรงของท่อมาช่วยให้เฟรมสติฟได้ เทคโนโลยีเหล่านี้บางอย่างใช้ทุนการผลิตที่สูง ซับซ้อน (ยากจะโดนสำเนาได้) แต่ Trek ก็หาทางสร้างให้มันอยู่ในกรอบราคาที่เหมาะได้(เดี๋ยวเล่าครับว่าทำไม)
Madone 9 อาจะไม่ใช่เสือหมอบแอโร่ฯที่แอโร่ฯที่สุดในอุโมงค์ลม แต่เป็นเสือหมอบแอโร่ฯที่ขี่ได้ดีจริงบนทุกสภาพการใช้่งานบนถนนที่ไม่ยอมทิ้งด้านอื่นๆไป
2.เฟรมระบบซ่อนเก็บสายทั้งหมดที่ดูแลง่าย
หลายๆสำนักเชื่อกันว่าในอนาคตการซ่อนสายทั้งหมด(Integrated Internal Cable) น่าจะเป็นแนวทางเสือหมอบที่มาเป็นกระแสหลักไม่ว่าจะเป็นรถแอโร่ฯหรือรถทั่วไป นอกจากความแอโร่ฯที่ได้มา ยังดูแล้วเรียบหรู สวยงามถูกใจนักซิ่งกันเสียด้วย ยังไม่นับเรื่องของการตลาดที่ทำให้นักปั่น(ลูกค้า)ต้องซื้อแฮนด์ที่มาพร้อมกันทั้งชุดเท่านั้น ดังนั้นบรรดาบริษัทจักรยานยักษ์ใหญ่น่าจะพากันเอียงไปที่กระแสการออกแบบดังกล่าวเพื่อใช้ชิ้นส่วนในเครือตนเองให้ได้มากที่สุด ทว่าข้อเสียของระบบเก็บสายภายในแบบนี้ยังยุ่งยากมาก สำหรับ Madone 9 ระบบภายในอาจแตกต่างไปจากเดิมบ้างแต่กลไกและกรรมวิธีการประกอบและดูแลรักษา ยังถือว่าไม่ยากเกินร้านจักรยานทั่วไปจะทำได้อย่างแน่อน และที่สำคัญ ง่ายพอที่จะนั่งทำได้เองที่บ้านหากจำเป็นต้องแก้ไขเฉพาะหน้าขึ้นมา ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของรถล้ำสมัยแบบนี้ แม้แต่เกิดปัญหาบนถนน ก็สามารถแก้ได้ริมทางง่ายๆด้วยเครื่องมือพกพามาตรฐาน
3.คุ้มค่าในราคาที่ไม่น่าเชื่อ
เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า Madone 9 แบ่งออกเป็นในรหัส H1 และ H2 ซึ่งแตกต่างกันที่เทคโนโลยีคาร์บอน OCLV600 และ OCLV700 และองศาที่ดุกว่าในตัว H1 นอกจากนี้ยังมีให้เลือกแบบ ProjectONE ซึ่งสามารถเลือกสีและลวดลายได้เอง เรามามองกันเฉพาะ H! และ H2 ที่ความต่างของน้ำหนักเฟรมราวๆ 1 ขีด จากเฟรม 9 ขีดกว่าเป็น 8 ขีดกว่า และความสติฟที่เพิ่มขึ้นในระดับโปรทัวร์กระทืบ แน่นอนครับว่ามันต้องดีกว่าอย่างแน่นอน สนนราคาที่ต่างกันราวๆครึ่งแสน แต่สำหรับเฟรม Madone 9.9 ที่พวกเราได้ทดสอบนั้น เป็น H2 รถคอมพลีท เรียกกันบ้านๆก็คือ "ตัวรอง" แต่ผมกลับมองอีกแบบว่ามันคือ "ตัวเลือก" ที่เหมาะกว่า เพราะต่อให้คุณเอา H! ไปแล้วก้มไม่ได้ก็ต้องรองแหวนกันเยอะ ถ้าดื้อจะก้มก็ทรมานสังขารปั่นไม่สนุก น้ำหนักเบาลงขีดนึงกับงบครึ่งแสนไปหาล้อเทพๆมาใส่น่าจะได้คุ้มกว่า ที่สำคัญ ...เจ้าความสติฟที่เพิ่มขึ้นนั้น มีการทดสอบก่อนหน้านี้ที่พิสูจน์ได้ว่าเท้าระดับกีฬาแห่งชาติพบว่าในการขี่แบบไทม์ไทรอัล OCLV600/700 ไม่ได้ทำเวลได้ต่างกันเลยบนพิกัดการออกแรงที่เท่ากัน แน่นอนว่ามันน่าจะส่งผลที่การกระชากสปรินท์หนักๆ ... แต่ขานักปั่นทั่วไปกระทืบกันไม่ทะลุ 1000 วัตต์บ่อยๆ ผมว่าไม่รู็สึกต่างแน่นอน
เฟรมเซ็ทรวมชุดแฮนด์ ราคาขายจริงแสนนิดๆ กับคุณสมบัติทั้งหมดนี้ และบริการหลังการขายที่สบายใจได้สุดๆ ลองคิดดูกันครับว่ามันคุ้มอย่างที่บอกหรือไม่
หรือจะเอารถสำเร็จคันที่ได้มาทดลองขี่ เสป็คทั้งหมดดังกล่าว ราคาขายจริงก็สามแสนกว่าๆ ซึ่งจัดเต็มหัวยันท้าย ขาดอย่างเดียวคือหาล้อขอบต่ำแข็งๆมาไว้ซ้อมเอาแรง เก็บล้อทางราบหล่อๆเอาไว้โอกาสสำคัญ
4.รถปราดเปรียวคล่องแคล่วมาก
รถเสือหมอบแอโร่ฯส่วนมากจะมากับบุคลิกที่คล้ายไทม์ไทรอัล นิ่ง ยืนยาวได้ดี ข้อเสียคือดื้อโค้ง ไม่คล่องตัว ฐานล้อยาว การคุมรถไม่ว่องไวฉับพลัน และโยกไม่มันส์ ทว่า Madone 9 คราวนี้มากับมิติที่ไวปานวอกเลยครับ กดจุดศูนย์ถ่วงรถลงมาต่ำ รถมีระยะเื้อมที่ยาวหน่อยก็จริงแต่มีฐานล้อสั้นใช้ได้เลย องศาตะเกียบชัน หน้าชัน ไม่ค่อยดื้อโค้ง ซึ่งในบรรดารถแอโร่ฯในตลาด มีไม่เยอะที่จะบุคลิกแบบนี้ ถ้าใครที่เน้นการปั่นเป็นกลุ่ม บนเส้นทางถนนจริง ลงงานแข่งหรือทริปที่ทำความเร็วสูง กระชาก ังหวะ หรือไครทีเรียมความเร็วสูงใส่กันยาวๆแล้วตัดโค้งเล่นกัน ผมว่าถูกใจแน่นอนครับ

ข้อด้อย
1.ไม่สุดทางไปซักด้าน
เป็นข้อเสียที่ผมยากจะเอ่ยมากครับ แต่มันคือความจริง ในการทดสอบขี่เราพบข้อดีที่นักออกแบบได้ปั้นผสมความสมดุลย์ทุกอย่างออกมาได้ดีเยี่ยม แต่ในทางกลับกันมันไม่ได้ไปสุดทางเลยสักด้าน มีเสือหมอบแอโร่ฯที่ซิ่งกว่านี้ ฟิลลิ่งแทบไม่ต่างจากการปั่นไทม์ไทรอัล หากต้องการความเร็ว ทางราบ พวกนั้นทำได้สนุกกว่า และก็มีเสือหมอบที่ไต่เขากระชากกระแทกย่ำเหยียบได้ทะยานกว่านี้ ทั้งน้ำหนักเบาและความรู้สึกแข็งแน่นในการส่งกำลัง สุดท้ายคือด้านความสบาย โอเคครับว่ามันสบายกว่าหมอบดุๆที่ดุพอกันมากแต่ถ้าจะซื้อไปปั่นเอาสบายตัว เสือหมอบเอนดูแรนซ์แท้ๆย่อมทำได้ดีกว่า และนี่คือข้อด้อยที่ตามมาอย่างช่วยไม่ได้ ผมไม่มองว่าเป็นข้อเสียนะครับ แต่มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นอีกด้านของทางเลือกในการออกแบบดังกล่าว
2.ช่วงท่อคอและแฮนด์
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พบได้มากในรถแอโร่ฯที่พยายามทำท่อคอให้เรียว บาง เล็ก เพราะเกิดปัญหาท่อหน้าไม่ค่อยสติฟ เมื่อกดหน้าหนักๆบิดไปบิดมา ดัน ดึงเวลาสปรินท์หนักๆ รถที่สร้างมาสำหรับสปรินท์เตอร์นิยมทำช่วงหน้าให้สติฟมากๆ (เพราะโดนโปรขอมา) บางยี่ห้อเล่นเสป็คคอใหญ่พิเศษด้านบน 1 1/4 ด้านล่าง 1 1/2 นิ้วกันไปเลย บางยี่ห้อทำท่อคออ้วนหนาเป็นกระป๋องเบียร์ตันๆ ซึ่งสำหรับ Madone 9 แม้ว่าจะสปรินท์ได้ดี มากๆ ก็มีอาการต่างตรงนี้ไปบ้าง
ออกตัวก่อนว่าผมตัวเล็ก แรงไม่ได้เยอะ แต่ด้วยรถทดสอบเทียบกับที่คุ้นเคย ก็รู้สึกว่ามีอาการดังกล่าวนิดๆ ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะทรงแฮนด์แอโร่ฯด้วย อันนี้ฟันธงไม่ได้ครับ ถ้าจะให้ดีต้องใช้แฮนด์แบบเดียวกัน หรือจับเข้าแล็บไปทดสอบหาการบิดตัวเมื่อรับแรงกัน ข้อนี้เป็นความรู้สึกล้วนๆ
แต่สิ่งที่น่าสังเกตุคือทีม Trek Factory ใช้สปรินท์เตอร์ที่ขี่ Madone 9 เป็นหัวลากลีดเอาท์แล้วมีตัวจบเกมส์ขี่ Emonda นะครับ เพราะเค้ามองว่า Madone เหมาะสำหรับการลากความเร็วสูงมากๆแช่ไว้ ส่วน Emonda นอกจากขึ้นเขาได้ดี ยังสามารถพุ่งออกไปปิดเกมส์ได้ (วิธีคิดนี้ต่างจากค่ายอื่นๆที่ใช้เฟรมแอโร่ฯสุดติ่งแหวกลมไปปิดเกมส์) ข้อนี้ฝากให้ลองพิจารณากันครับ
3.คนตัวเล็กหรือผู้หญิงอาจไม่เหมาะ
กรณีผู้หญิง สำหรับ Madone 9 เฟรมผู้หญิงหรือ WSD นั้นคือเฟรมปกติที่มีลายสำหรับสาวๆ และรถสำเร็จสำหรับผู้หญิงือรถที่ใส่แฮนด์แคบลงและเบาะกว้างขึ้น ไม่ใช่มิติพิเศษสำหรับผู้หญิง ที่สำคัญหากคุณไม่สูงมาก .. เอาเป็นว่าไม่ถึง 160 ซม. น่าจะเริ่มลำบากกับการจัดไซส์รถรุ่นนี้ได้ ต้องดูว่าเสต็มสั้นพอหรือไม่ อาจต้องมองหาวิธีติดตั้งเลือกใช้ชิฟท์เตอร์เพื่อให้ระยะเอื้อมไม่ไกลเกินไป สำหรับความสูงราวๆ 165 ซม. ขี่ได้แน่นอนครับ แต่ไม่ใช่การเซ็ทรถแบบดุดัน ก้มโหด เสต็มยาว ไซส์เล็ก แต่เป็นรถลักษณะพอดีตัวมาตรฐาน อันนี้ต้องเลือกเอาครับ


รูปภาพ
สรุป Madone 9 เหมาะกับใคร
ในความเห็นผม การเลือกจักรยานที่ดีคือการเลือกรถให้เหมาะกับสิ่งที่เราต้องการ มิติและองศาสามารถปรับแก้ได้ในรายละเอียดหากไม่ผิดไซส์จริงๆย่อมไม่ส่งผลจนถึงทางตัน
Madone 9 คันนี้จะเป็นรถในฝันหากคุณต้องการเสือหมอบที่ทำความเร็วได้ดี ขี่มันส์บนทางราบ และไม่ใช่เพียงนักปั่นจำเจ มีโอกาสออกไปเจอเส้นทางหลากหลาย เนินเขา ภูเขา เข้าถนนชนบท คันนี้จะเป็นคันเดียวที่คุณจะคว้าไปทุกเส้นทางโดยไม่คิดมาก และที่สำคัญมันคือเทคโนโลยีปีล่าสุด มีความเป็นเอกลักษณ์สูง ยากจะโดนของสำเนาขี่มาตีคู่หรือจอดไว้ข้างกันให้หมองใจ มานั่งคิดดีๆ รถที่จะให้อารมณ์ครบแบบนี้ กรอบออกมาก็เหลือไม่มากและหนึ่งในนั้นที่ทั้งราคาและคุณค่าดูน่าจัดมาบรรเทาอาการก็คือ Madone 9



รูปภาพ
ในโอกาสนี้
Thaimtb ขอขอบคุณบริษัทโปรไบค์ และจักรยาน Trek ที่จัดกิจกรรมมันส์ โดนๆ แบบนี้ให้พวกเราได้มาโดนกันอย่างถึงใจครับ พบกันใหม่ในการทดสอบ พรีวิวจักรยานและอุปกรณ์ต่างๆต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 503466.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
jabmon
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 322
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2013, 12:29
Tel: 0813932099
Bike: Bianchi Impulso, Giant XTC, KHS T20, Commencal meta AM

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย jabmon »

ขอบคุณครับ
อธิบายละเอียดแบบนี้ เดือนนี้ไม่ต้องซื้อ sport street มาอ่านแล้ว
อัพขาอย่างเดียวจบ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย giro »

พี่โตด่าผมตายครับ ... ซื้อเถอะครับทั้ง sport street และ cycling plus เพราะแต่ละคนก็มีมุมมองที่สัมผัสและสมมุติฐานที่แตกต่างกันออกไป จริงๆในกิจกรรมนี้ มีการนั่งเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นกันมาหมดแล้วครับ
สื่อทั้งหมดอาจมีสิ่งที่คล้ายกันอยู่แต่ลึกๆในมุมต่างๆ เฉพาะตัวย่อมต่างกันแน่นอน
ผมว่ามุมมองจาก Sport Street น่าสนใจนะครับ เพราะพี่แกใส่เข้าทางขรุขระไปเลย
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
Society147
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 17
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2015, 01:12
Tel: 0895155559
Bike: BMC TMR01,Araya Kohaku,Colnago CT-1 Mapei
ตำแหน่ง: ราชเทวี

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย Society147 »

เยี่ยมเลยครับ รีวิวได้ละเอียด เห็นภาพมากๆ ครับ ^^ ชอบครับ ๆ
bankbear
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2015, 13:00
Tel: 0863839803
Bike: TREK Madone9

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย bankbear »

กำลังจะได้ Frameset H2 มาพอดี
ได้อ่านรีวิวแล้ว ยิ่งอยากลองเลยครับ
อยากกินอิ่ม นอนสบายให้อยู่บ้าน อยากสำราญบานใจ ให้ไปเที่ยว
แค่กางเต๊นท์ นอนดิน กินไข่เจียว จะแสนเลี้ยว หรือล้านโค้ง คงไม่แคร์
รูปประจำตัวสมาชิก
Y Racing
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 369
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 20:25
Tel: -
team: -
Bike: Giant
ตำแหน่ง: บางปะกง

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย Y Racing »

จะทำตัวอลูแบบ propel บ้างหรือไม่หนอ (แอบลุ้น งบน้อยครับ)
ปั่นไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เก่ง
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย giro »

bankbear เขียน:กำลังจะได้ Frameset H2 มาพอดี
ได้อ่านรีวิวแล้ว ยิ่งอยากลองเลยครับ
ได้แล้วอย่าลืมมาเล่าให้เพื่อนๆฟังบ้างนะครับ
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
Offtimus
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 43
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ธ.ค. 2015, 15:34
team: PlannnRider
Bike: LA

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย Offtimus »

My dream, come one day :mrgreen:
kreng.h
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2015, 12:19

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย kreng.h »

ขอบคุณข้อมูลการรีวิวครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
kungfu.chu
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 79
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2014, 08:52
Tel: 094-1591459
team: No.Team
Bike: มือสอง

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย kungfu.chu »

รีวิวได้ดีมากครับ ขอบคุณสำหรับขอมูล
Lek-phaisan
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2015, 09:56
Bike: TREK Emonda ALR5
ติดต่อ:

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย Lek-phaisan »

อ่านเพลินไปเลย ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
ต.เต่า ณ เขาใหญ่
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2016, 06:23
team: ผู้โดดเดี่ยวหลังเขา
Bike: open full

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย ต.เต่า ณ เขาใหญ่ »

ป๊าด :shock:
อย่าสักแต่ใช้ตีนปั่น
วินัยและความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมทางเป็นสิ่งสําคัญทีสุด
รูปประจำตัวสมาชิก
Bukhanee
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ย. 2014, 13:51
Tel: 088-3408455

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย Bukhanee »

ขอบคุณรีวิวคับ
Lange
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2733
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2012, 12:10
team: The_Lange
Bike: Sprint SL
ติดต่อ:

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย Lange »

ล้ำมาก
Spin up
taechut
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 20
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ต.ค. 2014, 21:17
team: Windy Snail
Bike: Pinarello F8 Froomy

Re: First Look Trek Madone 9.9 สัมผัสแรกขี่ มาโดนกันจังๆกับรถคอมพลีทครบรสของศักราชนี้

โพสต์ โดย taechut »

อ่านจนจบแล้ว ทำไมนึกถึง รถจากค่าย อิตาลีเจ้าดัง ที่มี feeling คล้ายๆแบบนี้คือ ดีทุกทางแต่ไม่สุดซักทาง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”