เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

metts4zoom
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 50
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 09:24
Tel: 0891843714
team: ชินจังไบค์
Bike: Surly pacer
ตำแหน่ง: กทม.
ติดต่อ:

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย metts4zoom »

lucifer เขียน:มันต้องมองกันที่หลายจุดนะครับ พูดง่ายๆว่าไม่มีsolutionสำเร็จรูปได้เลย
1. น้ำหนักเฟรม น้ำหนักก็ยังเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ได้เปรียบในเรื่องน้ำหนักมาตั้งแต่เกิด เพราะความแข็งต่อน้ำหนักเขาเป็นต่อหลายขุม เฟรมคาร์บอนอย่างเบาพวก HiMod ทำน้ำหนักอยู่แถวๆ 700-800 กรัม ตะเกียบยังไม่ตัดซางอยู่แถวๆ 330 กรัม ตัดซางแล้วรวมกับเฟรมแค่ราวๆ 1กก. เฟรมโครโมลี่ไม่รวมตะเกียบจะให้เบาหยองกรอดต่ำกว่า 1kg เป็นเรื่องยาก เพราะถ้าจะรีดให้บาง ก็จะเสี่ยงกับปัญหาเรื่องบุบได้ง่าย
2. คุณสมบัติของวัสดุ คาร์บอนไม่มีอะไรแน่นอน สามารถออกแบบให้มันนุ่มหรือกระด้าง ( ซับแรงกับไม่ซับแรง ) , Stiff จนแทบไม่ขยับตัว ไปจนถึง flexจนส่ายไปมาได้ ในขณะที่โครโมลี่นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความนุ่มนวลในการซับแรงกระแทก และ ความstiff ที่ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักเฟรม+เนื้อวัสดุ แต่คำว่าstiffของเฟรมโครโมลี่นั้น หากไปเทียบกับเฟรมคาร์บอนที่stiff สุดๆแล้ว ความstiffของเฟรมโครโมลี่จะกลายเป็นความ flex ไปโดยปริยาย
3. Geometry เฟรมที่ออกแบบมาให้ขึ้นเขาสนุก กับ เฟรมที่ออกแบบมาให้ปั่นทางราบสนุกนั้น จะแตกต่างกันบ้าง ในอดีต ผมเคยปั่นเสือภูเขาของ Ritchey P-20 ตั้งแต่ในยุคคอนิ้ว เคยทำจนรถน้ำหนักเหลือ 9.8 กก. ซึ่งจริงๆแล้วก็สูสีกับเฟรมอลูดีๆได้สบายๆ ตอนขึ้นเขานี่ผมบอกเลยว่า เฟรมโครโมลี่ดีๆที่ออกแบบมาaggressiveมากๆ มันขึ้นเขาไม่แพ้ใคร แถมลงเข้าและเข้าโค้งได้เร้าใจอีกเช่นกัน สรุปว่าGeometryเป้นพระเอกเช่นกัน

ความเสียหายที่เกิดขี้นกับเฟรม ผมว่าน่าจะตกผลึกกันไปได้นานแล้วนะครับ คือ ความเสียหายที่ทำให้เฟรมคาร์บอนแตกหัก มันก็มากพอจะทำให้เฟรมโลหะบิดเบี้ยวคดงอเสียรูปจนถึงกับต้องทิ้งเช่นกันครับ อย่าเทียบกันแค่เฟรมหักหรือแตก แต่ต้องมองว่ามันเสียหายจนต้องทิ้งเหมือนกันดีกว่าครับ

สุดท้ายให้ผมเลือก ผมก็เลือกเฟรมคาร์บอนอยู่ดีครับ ยุคนี้มันปี 2015 ยุคที่คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุสามัญประจำจักรยานไปแล้วครับ ออกแบบได้ทุกอย่างตามที่อยากได้ ตอบสนองได้ทุกกรณี ทนน้ำ ทนฝน ไม่ต้องกลัวสนิม ไม่ต้องกลัวการกัดกร่อนจากความชื้น

สุดท้าย เลือกตามที่สบายใจนะครับ
ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณมากๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
peep_bmw
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1793
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 15:48
Bike: Trek 4900

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย peep_bmw »

ผมเคยลังเลเรื่องวัสดุเฟรมครับ คิดว่าไม่อยากสิ้นเปลือง ลงทุนกับจักรยานมากไป และผมไม่ใช่คนที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์หรือจักรยานบ่อยๆ เคยคิดว่าอลู เป็นวัสดุที่คงทนถาวร(แม้ผู้ผลิตบางรายจะกำหนดอายุใช้งานไว้ เช่น ไม่เกิน 7 ปี) ทำให้ตัดสินใจว่าอลู นี่แหละ ไม่ต้องระวังมาก และ(น่าจะ)ตอบโจทย์ผมได้ดีที่สุด

ต่อมาเมื่อศึกษาข้อมูลของคาร์บอนเพิ่มขึ้น กลับพบว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เรื่องความเปราะ หรือเสียหายจากการกระแทก มันจะเกิดขึ้นในทิศทางที่ไม่ได้ออกแบบให้รองรับแรงไว้ (เช่นด้านข้าง) แต่ถ้าเป็นในทิศทางที่ได้ถูกออกแบบมา ดูคลิปวีดีโอทดสอบของหลายยี่ห้อแล้วทำให้มั่นใจในความแข็งแรงของคาร์บอนขึ้นมามากเลยครับ

ตอนนี้ผมมีโอกาสได้ใช้เฟรมคาร์บอนแล้ว บอกเลยว่าไม่คิดจะกลับไปคบอลูอีกเลยครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
name_joker
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 707
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 08:29
Tel: 0894888XXX
team: Y@H / BRC
Bike: EV4

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย name_joker »

เอากันแต่เรื่องนน.เฟรมนะครับ ไม่รวมอะไหล่พวงอื่นๆและตะเกียบ
เฟรมโครโม นน. 1600-2000 กรัม
เฟรมไทเทเนียม นน. 1300-1500 กรัม
เฟรมอลูมิเนียม นน. 1050-1400 กรัม
เฟรมสแนเดียม นน.950-1100 กรัม
เฟรมคาร์บอน นน.700-950 กรัม

วัดกันแต่เฟรม คาร์บอนเบาสุดติ่ง กับโครโมหนักสุดขั้ว ต่างกัน 1.3กิโลกรัม ฟังดูเยอะ แต่ไม่ได้เยอะเท่าไหร่ครับ มันคือนน.เดียวกันกับน้ำในกระติกใหญ่24ozสองกระติกเท่านั้นเอง ผมเชื่อว่าน้อยคนที่จะรู้สึกว่ารถตัวเองเบาขึ้นและปั่นได้เร็วขึ้น เมื่อเทียบกันระหว่างตีนเขาที่น้ำเต็มสองกระติก+1.3กิโล กับบนยอดเขาที่น้ำพร่องสองกระติก+0กิโล

สุดท้ายเฟรมจักรยานอยู่ที่ความรู้สึกกับความมั่นใจของผู้ขี่ เฟรมที่คุณรู้สึกสนุกจะทำให้คุณยืนโยกนั่งบดแบบลืมเหนื่อย เฟรมที่คณมั่นใจคุณจะเบรคลึกในโค้งอย่างที่คุณไม่กล้ากับรถคันอื่นๆ ไอเรื่องstiffnessเอยอะไรเอย อย่าไปคิดมากกับมันครับ กลังงานไม่มีวันหายไปจากระบบ แค่ย้ายสถานที่กับเปลี่ยนสถานะหรือรูปแบบ รถย้วยมันไม่ได้กินแรง(เพราะถ้ากินมันต้องแปลงจากพลังงานจลเป็นอย่างอื่น อาทิ ความร้อน เสียง อื่นๆ ซึ่ง... รถหนักก็ไม่ได้ร้อนกว่ารถเบาใช่มั้ย?) แรงมันไม่ได้หายไปไหนมันแค่ส่งแรงช้ากว่าเท่านั้นเอง พอมันช้า เราก็รู้สึกถึงreaction แรงดีด แรงถีบของรถน้อยลง ก็รู้สึกมันไม่พุ่ง...

สถิติความเร็วบนเขาของยอดเขาในTDF เมื่อ15ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ยังไม่ได้หนีกันเท่าไหร่ ถ้ารถมีผลจริง ทำไมชื่อlance, pantani, ullrich ไม่หายไปจากตารางซักที ?

ชอบอะไรก็ขี่อันนั้นครับ ถ้าใครบอกคุณว่าขี่อันนู้นทำอันนี้ไม่ได้ ขี่อันนี้ทำอันนู้นไม่ได้ ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้ามันมีโซ่ มีล้อ ปั่นได้ มันก็ขี่ได้ทั้งนั้นแหละถ้าคุณชอบปั่นหนะนะ :D
Sketcher Shop
ขายปลีก ขายส่ง อุปกรณ์ศิลปะ เครื่องเขียนทุกประเภท จัดส่งทั่วไทย
Line ID : kitchai1965
Tel: 092-403-6476
facebook : sketcher shop


by Siam Sketch Supply Co,.Ltd
rain_mx2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 456
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2012, 09:56

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย rain_mx2 »

ผมมีเฟรมหมอบ บิดมาจากแม่นาง Bay เป็น reynolds 853 ใส่อะใหล่ rival22 ล้อ american classic ทำน้ำหนักได้ประมาณ 8.5 โล แต่เฟรมทรงแบบ classic สามเหลี่ยมธรรมดา ถามว่าน้ำหนักขี่สู้หมอบคาร์บอนขึ้นภูเขาได้มั้ย พอใหวครับ จะให้ลดเป็น 7 โล เปลี่ยนล้อกับจานก็น่าจะได้แล้ว

แต่

มันมีความต่างเรื่อง geometry ของหมอบใหม่ๆนี่ละครับ เพราะในเวลาเดียวกัน ผมก็มี canondale synapse คาร์บอน ตัว endurance ที่ออกแบบมาไว้ขึ้นเขาอีกตัว น้ำหนัก พอๆกันเลย ล้อก็ใช้ตัวเดียวกัน แต่พบว่าขี่ตัวคาร์บอนขึ้นสบายกว่ากันมากครับ โดยจาน ดุมหลัง อัตราทดเท่ากันหมด 50-34, 11-32 สิ่งที่ต่างก็คือ geometry กับการเสริมโครงสร้างตรงกะโหลกให้แข็งแรงขึ้นส่งแรงได้ดีขึ้น (cannondale ใช้ BB30, หมอบเหล็กใช้ BSA กระโหลก 28mm โบราณ)

สรุบคือวัสดุไม่ใช่ทุกสิ่งครับ การออกแบบโครงสร้าง รวมไปถีง geometry ของเฟรมก็มีผลพอสมควรเลย ถ้าหมอบเหล็กเอามาออกแบบ geometry แบบใหม่ มีการทดสอบดีๆ ผมว่าน่าจะสู้ใหวครับ แต่ชั่วโมงนี้ มีแต่คนทำแบบนั้นกับคาร์บอนเท่านั้น ยังไงๆคาร์บอนเฟรมที่ออกแบบดีกว่าก็คงยังเหนือกว่าครับ
เรื่องเบาะๆ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 3&t=789947
วิธีอ่านค่ายางและวงล้อ + รายชื่อยาง 451 http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 9#p9528969
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย lucifer »

name_joker เขียน:เรื่องstiffnessเอยอะไรเอย อย่าไปคิดมากกับมันครับ กลังงานไม่มีวันหายไปจากระบบ แค่ย้ายสถานที่กับเปลี่ยนสถานะหรือรูปแบบ รถย้วยมันไม่ได้กินแรง(เพราะถ้ากินมันต้องแปลงจากพลังงานจลเป็นอย่างอื่น อาทิ ความร้อน เสียง อื่นๆ ซึ่ง... รถหนักก็ไม่ได้ร้อนกว่ารถเบาใช่มั้ย?) แรงมันไม่ได้หายไปไหนมันแค่ส่งแรงช้ากว่าเท่านั้นเอง พอมันช้า เราก็รู้สึกถึงreaction แรงดีด แรงถีบของรถน้อยลง ก็รู้สึกมันไม่พุ่ง...

สถิติความเร็วบนเขาของยอดเขาในTDF เมื่อ15ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ยังไม่ได้หนีกันเท่าไหร่ ถ้ารถมีผลจริง ทำไมชื่อlance, pantani, ullrich ไม่หายไปจากตารางซักที ?

ชอบอะไรก็ขี่อันนั้นครับ ถ้าใครบอกคุณว่าขี่อันนู้นทำอันนี้ไม่ได้ ขี่อันนี้ทำอันนู้นไม่ได้ ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้ามันมีโซ่ มีล้อ ปั่นได้ มันก็ขี่ได้ทั้งนั้นแหละถ้าคุณชอบปั่นหนะนะ :D
:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ขออนุญาตไม่เห็นด้วยอย่างแรงงงงง :lol: :lol: :lol: :lol:

ใครบอกกันว่า รถย้วยไม่กินแรง
จริงอยู่ครับ พลังงานไม่หนีหายไปไหน มันเปลี่ยนรูปไปทำให้รูปทรงของตะเกียบโซ่ ตะเกียบอาน เฟรมบิดย้วยไปๆมาๆ แล้วมันก็ไม่ได้กลับมาหา หรือไม่ได้กลับมาลงไปที่ล้อหรอกนะครับ มันหายไปเลย เขาเรียกว่า มันเป็นแรงที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูป หมดแรงมันก็คืนตัวกลับ เพียงแต่แรงที่คืนตัวกลับมันไม่ส่งไปยังชุดขับเคลื่อนเท่านั้นแหละ มันก็เหมือนกับว่าแรงที่ประแทกขึ้นมาผ่านล้อ ผ่านเฟรม แล้วถูกซับไป ไม่ส่งต่อมาให้เรานั่นแหละ รถ Chromoly มันก็เป็นแบบนี้แหละ

ก็เพราะว่าจังหวะการออกแรงปั่นจักรยานมันไม่ใช่มอเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนด้วยรอบคงที่ แต่เป็นลักษณะของstroke ที่มีช่วงกระทำและช่วงผ่อน วิธีการปั่นจักรยานที่ flex กับ ที่ stiff ก็ไม่เหมือนกัน ลองไปยืนโยกแบบเอียงซ้ายเอียงขวากับ Chromoly ย้วยๆบางยี่ห้อ จะทราบว่า"สูญเปล่า"เป็นยังไง แต่ถ้าเปลี่ยนวิธีการยืนปั่นให้สอดคล้องกับจังหวะของเฟรมก็จะไปได้เร็วกว่า แต่ยังไงๆ เฟรมstiffกว่ามันก็เปลืองแรงน้อยกว่าอยู่ดีแหละ เคยหอบเป็นหมาหอบแดดกับเฟรม"โคตรย้วย"มาก่อนครับ บอกได้เลยว่า HR ที่มันสูง ในขณะที่ความเร็วมันไม่พอจะไล่พรรคพวกมันเป็นยังไง

สุดท้าย การพูดตรงๆอาจจะดูเหมือนไม่ได้ให้เกียรตินักปั่นในอดีตเท่าไหร่ แต่ด้วยความเคารพในทุกความเห็น ผมเชื่อว่าพวกมีชื่อเสียงในอดีตทุกคนหนะ "โด๊ป"กันทั้งนั้น แล้วก็โด๊ปหนักว่าสมัยนี้ด้วย เพราะวิธีการตรวจจับคัดกรองมันพัฒนาตามไม่ทัน แม้แต่ป๋าแลนซ์ ศิษย์EPOเองก็เถอะ วิธีการตรวจจับ EPO สังเคราะห์ที่แทบจะไม่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะในยุคนั้นก็ยังไม่พัฒนา จนกระทั่งมันพัฒนามานี่แหละ ก็เลยตรวจย้อนหลังเจอ

ดังนั้นเราจึงไม่สามารถหาข้อพิสูจน์ใดๆได้เลยว่า "รถในสมัยก่อนมันดีไม่แพ้รถในสมัยนี้" แต่ผมเชื่อว่า"คนสมัยก่อนโด๊ปกันหนักกว่าในสมัยนี้"

อยากทราบว่าเขาโด๊ปอะไรกันบ้าง ว่างๆจะเอามาเล่าสู่กันฟังครับ สนใจกับเรื่องนี้มาก็หลายปีแล้ว เพียงแต่ว่า"ปล่อยไปตามกรรม"ของสัตว์โลกดีกว่าครับ อยากจะโด๊ปก็โด๊ปกันไป อาชีพของเขานี่นะ
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 16 พ.ย. 2015, 12:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
pomroland
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2756
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 00:19
Bike: Specialized

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย pomroland »

ได้ความรู้เลยครับ ต้องปักไว้ค่อยๆอ่าน :) :) :)
รูปประจำตัวสมาชิก
name_joker
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 707
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 08:29
Tel: 0894888XXX
team: Y@H / BRC
Bike: EV4

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย name_joker »

lucifer เขียน:
:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ขออนุญาตไม่เห็นด้วยอย่างแรงงงงง :lol: :lol: :lol: :lol:

ใครบอกกันว่า รถย้วยไม่กินแรง
จริงอยู่ครับ พลังงานไม่หนีหายไปไหน มันเปลี่ยนรูปไปทำให้รูปทรงของตะเกียบโซ่ ตะเกียบอาน เฟรมบิดย้วยไปๆมาๆ แล้วมันก็ไม่ได้กลับมาหา หรือไม่ได้กลับมาลงไปที่ล้อหรอกนะครับ มันหายไปเลย เขาเรียกว่า มันเป็นแรงที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูป หมดแรงมันก็คืนตัวกลับ เพียงแต่แรงที่คืนตัวกลับมันไม่ส่งไปยังชุดขับเคลื่อนเท่านั้นแหละ มันก็เหมือนกับว่าแรงที่ประแทกขึ้นมาผ่านล้อ ผ่านเฟรม แล้วถูกซับไป ไม่ส่งต่อมาให้เรานั่นแหละ รถ Chromoly มันก็เป็นแบบนี้แหละ
จริง !!! ลืมจุดนั้นไปครับ !
Sketcher Shop
ขายปลีก ขายส่ง อุปกรณ์ศิลปะ เครื่องเขียนทุกประเภท จัดส่งทั่วไทย
Line ID : kitchai1965
Tel: 092-403-6476
facebook : sketcher shop


by Siam Sketch Supply Co,.Ltd
รูปประจำตัวสมาชิก
Bkkbikelove
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1010
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:30
Tel: 089xxxxxxx
Bike: Thorn Raven, Principia, GT Grade carbon

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย Bkkbikelove »

lucifer เขียน:
name_joker เขียน:เรื่องstiffnessเอยอะไรเอย อย่าไปคิดมากกับมันครับ กลังงานไม่มีวันหายไปจากระบบ แค่ย้ายสถานที่กับเปลี่ยนสถานะหรือรูปแบบ รถย้วยมันไม่ได้กินแรง(เพราะถ้ากินมันต้องแปลงจากพลังงานจลเป็นอย่างอื่น อาทิ ความร้อน เสียง อื่นๆ ซึ่ง... รถหนักก็ไม่ได้ร้อนกว่ารถเบาใช่มั้ย?) แรงมันไม่ได้หายไปไหนมันแค่ส่งแรงช้ากว่าเท่านั้นเอง พอมันช้า เราก็รู้สึกถึงreaction แรงดีด แรงถีบของรถน้อยลง ก็รู้สึกมันไม่พุ่ง...

สถิติความเร็วบนเขาของยอดเขาในTDF เมื่อ15ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ยังไม่ได้หนีกันเท่าไหร่ ถ้ารถมีผลจริง ทำไมชื่อlance, pantani, ullrich ไม่หายไปจากตารางซักที ?

ชอบอะไรก็ขี่อันนั้นครับ ถ้าใครบอกคุณว่าขี่อันนู้นทำอันนี้ไม่ได้ ขี่อันนี้ทำอันนู้นไม่ได้ ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้ามันมีโซ่ มีล้อ ปั่นได้ มันก็ขี่ได้ทั้งนั้นแหละถ้าคุณชอบปั่นหนะนะ :D
:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ขออนุญาตไม่เห็นด้วยอย่างแรงงงงง :lol: :lol: :lol: :lol:

ใครบอกกันว่า รถย้วยไม่กินแรง
จริงอยู่ครับ พลังงานไม่หนีหายไปไหน มันเปลี่ยนรูปไปทำให้รูปทรงของตะเกียบโซ่ ตะเกียบอาน เฟรมบิดย้วยไปๆมาๆ แล้วมันก็ไม่ได้กลับมาหา หรือไม่ได้กลับมาลงไปที่ล้อหรอกนะครับ มันหายไปเลย เขาเรียกว่า มันเป็นแรงที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูป หมดแรงมันก็คืนตัวกลับ เพียงแต่แรงที่คืนตัวกลับมันไม่ส่งไปยังชุดขับเคลื่อนเท่านั้นแหละ มันก็เหมือนกับว่าแรงที่ประแทกขึ้นมาผ่านล้อ ผ่านเฟรม แล้วถูกซับไป ไม่ส่งต่อมาให้เรานั่นแหละ รถ Chromoly มันก็เป็นแบบนี้แหละ

ก็เพราะว่าจังหวะการออกแรงปั่นจักรยานมันไม่ใช่มอเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนด้วยรอบคงที่ แต่เป็นลักษณะของstroke ที่มีช่วงกระทำและช่วงผ่อน วิธีการปั่นจักรยานที่ flex กับ ที่ stiff ก็ไม่เหมือนกัน ลองไปยืนโยกแบบเอียงซ้ายเอียงขวากับ Chromoly ย้วยๆบางยี่ห้อ จะทราบว่า"สูญเปล่า"เป็นยังไง แต่ถ้าเปลี่ยนวิธีการยืนปั่นให้สอดคล้องกับจังหวะของเฟรมก็จะไปได้เร็วกว่า แต่ยังไงๆ เฟรมstiffกว่ามันก็เปลืองแรงน้อยกว่าอยู่ดีแหละ เคยหอบเป็นหมาหอบแดดกับเฟรม"โคตรย้วย"มาก่อนครับ บอกได้เลยว่า HR ที่มันสูง ในขณะที่ความเร็วมันไม่พอจะไล่พรรคพวกมันเป็นยังไง

สุดท้าย การพูดตรงๆอาจจะดูเหมือนไม่ได้ให้เกียรตินักปั่นในอดีตเท่าไหร่ แต่ด้วยความเคารพในทุกความเห็น ผมเชื่อว่าพวกมีชื่อเสียงในอดีตทุกคนหนะ "โด๊ป"กันทั้งนั้น แล้วก็โด๊ปหนักว่าสมัยนี้ด้วย เพราะวิธีการตรวจจับคัดกรองมันพัฒนาตามไม่ทัน แม้แต่ป๋าแลนซ์ ศิษย์EPOเองก็เถอะ วิธีการตรวจจับ EPO สังเคราะห์ที่แทบจะไม่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะในยุคนั้นก็ยังไม่พัฒนา จนกระทั่งมันพัฒนามานี่แหละ ก็เลยตรวจย้อนหลังเจอ

ดังนั้นเราจึงไม่สามารถหาข้อพิสูจน์ใดๆได้เลยว่า "รถในสมัยก่อนมันดีไม่แพ้รถในสมัยนี้" แต่ผมเชื่อว่า"คนสมัยก่อนโด๊ปกันหนักกว่าในสมัยนี้"

อยากทราบว่าเขาโด๊ปอะไรกันบ้าง ว่างๆจะเอามาเล่าสู่กันฟังครับ สนใจกับเรื่องนี้มาก็หลายปีแล้ว เพียงแต่ว่า"ปล่อยไปตามกรรม"ของสัตว์โลกดีกว่าครับ อยากจะโด๊ปก็โด๊ปกันไป อาชีพของเขานี่นะ
การโด๊ปแต่ละแบบมีผลเสียกับร่างกายแบบไหนบ้างครับ
วงการจักรยานเคยมีเคสโด๊ปจนร่างกายพัง พิการ หรือเสียชีวิตบ้างไหมครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย lucifer »

วงการจักรยานยังไม่มีใครเป็นอะไรชัดเจน เพราะส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้ Anabolic steroid มากนัก แต่ที่หนักก็ดูเหมือนจะเป็นมาโก ปันตานี ที่แกเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุในโรงแรมในช่วงตกอับของชีวิตนักปั่นของแก สาเหตุการตายไม่ชัดเจนเท่าไหร่ รู้แต่ว่าแกล่อยาหลายอย่าง รวมทั้งใช้ยาในกลุ่มสารเสพติดเพื่อบำบัดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง

แต่วงการวิ่ง จำได้ว่ามี 2 คน จะเป็นนักวิ่งสาว เหมือนจะเป็น กริฟฟิท จอยเนอร์ กับ อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นนักวิ่งชายระยะ 200 เมตร ทั้งสองคนนี้เป็นนักวิ่งระยะสั้น และต่างเสียชีวิตจากการล้มเหลวของระบบในร่างกาย

พวกนักวิ่งระยะสั้นจะใช้สารในกลุ่ม Anabolic steroid มากกว่าพวกนักปั่น เพราะต้องการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับ burst ออกมาในช่วงสั้นๆ การใช้สารพวกsteroid ต่อเนื่องกันนานๆจะส่งผลให้ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบจัดการต่อสู้กับภาวะstress ( ในทุกๆแบบที่มีต่อร่างกาย) จะเริ่มล้มเหลว แล้วanabolic steroid ในยุคเก่าๆก็ไม่ได้จำเพาะเจาะจงเท่ากับในสมัยนี้ จะส่งผลกดระบบการทำงานของร่างกายรุนแรงกว่า

ในขณะจักรยานเองนั้น ในขั้นตอนแรกจะเริ่มต้นกันด้วย anabolic steroid ก่อน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และจึงใช้การโดปเลือดหรือใช้ EPO เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อเพิ่มความอดทน ร่วมกับการใช้สารกระตุ้นในกลุ่ม sympathomemetic drug หรือ ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบSympathetics เพื่อเร่งการใช้ไขมัน ทำให้ร่างกายleanขึ้นกว่าเดิม ผลเสียระยะยาวจะเป็นเรื่องที่เกิดจากSteroid มากที่สุด เพียงแต่ว่าในปัจจุบัน ทีมแข่งดังๆเขาก็จะมีแพทย์คอยดูแล แน่นอนครับ แพทย์เหล่านี้มีหรือจะไม่รู้ว่าโด๊ปหรือไม่โด๊ป การถอนยา การให้ steroid ทดแทนในช่วงสั้นๆ การดูว่าระดับสารกระตุ้นเหล่านั้นลดต่ำลงจนตรวจไม่พบแล้วจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ก่อนการแข่ง

ยิ่งปัจจุบันระบบคัดกรองดีขึ้น มีการบังคับให้ตรวจเลือดหาระดับสารเคมีต่างๆเป็นระยะๆ เหมือนกับสมุดพกคอยบันทึกคะแนนสอบในทุกๆช่วงเวลาที่กำหนด ก็ยิ่งทำให้การโด๊ปในปัจจุบันทำได้ยากขึ้นกว่าเดิม

แต่กระนั้นก็เถอะ สุดท้ายแล้วมันก็ต้องมีคนโด๊ปกันจนได้แหละ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
rikk
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 485
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 13:21
Tel: 0922599045
team: BBCC
Bike: โครโม กับ แมวเหมียวคิดตี้สีดำ

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย rikk »

ต่อให้รถนน.เท่ากัน โครโมลี่ก็เสียเปรียบครับ ผมว่า ประเด็นหลักอยู่ที่ความสติฟครับ คาร์บอนหรืออลู แตะปุ๊ปพุ่ง แตะปุ๊ปไป อย่างไงก็ออกแรงน้อยกว่าเห็นๆครับ สำหรับสายเขา โครโมเสียเปรียบเต็มประตูครับ

เป้าหมายคือรอจังหวะส่งลงครับ ส่งขึ้นเนินครับ บางเนินไหลลงจนเติมนิดนึงถึงยอดแล้ว แต่ถ้าหยุดนิ่งที่ตีนเนินแล้วกดขึ้นแข่งกัน เหนื่อยครับเหนื่อย บอกตรงๆ :mrgreen:
แค่ขยับ ก็เหมือนได้ออกกำลังกาย
angsumalin007
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 89
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2013, 09:07

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย angsumalin007 »

เรื่องความสติฟของเฟรมสำหรับขึ้นเขามีส่วนมากๆครับ ต้องลองเองถึงจะรู้ รถคาร์บอนทั้งคู่องศาเฟรมต่างกัน ขนาดกะโหลกต่างกัน chainstayต่างกัน คนปั่นคนเดียวกันยังรู้สึกต่างได้ รถคันนึงเฟรมEndurance อีกคันAllroundไปทางเขา คันนึงปั่นแล้วรู้สึกมันกินแรงเพราะchainstayมันยาว ดูดซับแรงที่ส่งไป อีกคะนchainstayสั้นกดบันไดก็พุ่งไปตามเท้าไม่ยวบซับน้ำหนักที่กดลงไป ปั่นขึ้นเขาน้ำหนักโดยรวมทั้งคนและรถมีผลหมดครับเพราะเราปั่นต้านแรงโน้มถ่วงของโลก รถคันเดิมคนปั่นน้ำหนักตัวลดลง2-4กิโล ก็รู้สึกได้แล้ว
zzzz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1457
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 08:36
Tel: 0814239028
team: ลูกยังเล็ก เวลาไม่แน่นอน เลยแปะๆดูดๆชาวโลกเขาไปเรื่อยๆ ไม่มั่ว แต่ ทั่วถึง.555
Bike: หมอบ/TT คันหญายๆๆๆๆ + มินิ คันเล็กๆๆๆๆๆ
ติดต่อ:

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย zzzz »

เรื่องของเฟรม stiff กับการไต่เขา

ว่าแต่ Stiffness ที่ว่า มันคืออะไรหว่า... :lol:

โรงงาน วัดค่า BB stiffness แข่งกัน คือ
วางเฟรมแนวนอน ล้อคคอตรงซางตะเกียบ กับ ล้อคแกนล้อหลังไว้
แล้ว กด bb ลงดูว่า ออกแรงเท่าไหร่ เฟรมถึงจะยอมให้ bb ยุบลงไป 1 มิล ...
นี่คือค่าที่ผู้ผลิตเขาเอามาคุยข่มกันกัน...
เราผู้เสพ ก็ ดูกันไป สนุกดี...555

สมมุดว่า
ผมเอาเฟรมสองตัว เฟรมคารบอน กับ เฟรมเหล็ก ที่มี่ค่า Stiffness เท่ากัน โดยไม่สนใจน้ำหนัก
แล้ว ถ่วงเฟรมคารบอนให้หนัก เท่า กับเฟรมเหล็ก
ให้เดาว่า เฟรมสองตัวนี้ จะไต่เขาได้ พอๆกันไหม... :mrgreen:




แน่นอนครับ ว่า

ไม่รู้....555555
เหตุที่ตอบว่า ไม่รู้ เพราะ....

ในการไต่เขา
คุณสมบัตเรื่อง Stiffness ไม่ใช่ตัวเด่นตัวเดียวที่ใช้บอกได้ว่า เฟรมไต่เขาเก่ง หรือ ไม่เก่ง
แต่การ ให้ตัวได้ ของเฟรม ในมิติหรือ ใน plane ที่ต้องการ กลับมีบทบาทเพื่อ ช่วย ให้การไต่เขาเป็นไปได้ สมูท กว่า

อุปมา
เดินด้วยรองเท้าพื้นแข็งๆ กับ เดินด้วยรองเท้ามีโฟมนุ่มๆ
การหยุ่นตัว กลับ มีประโยชนขึ้นมาแฮะ...

เช่นกัน
การออกแรงของคน เป็น จังหวะตามขา ซ้าย ขวา ไม่ต่อเนื่อง
แต่ภูเขา ดูดกำลังเราอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความเร็ง ขึ้นๆลงๆ ไม่คงที่
การมีตัวช่วย เก็บ หรือ หน่วง พลังงานในรูป strain energy และ
เด้งกลับคืนในจังหวะที่เหมาะสม มันจึงเสมือน flywheel ที่ช่วย หน่วง ให้การไต่เป็นไปอยางราบรื่น
รอบขาไม่สวิงมาก ไต่สบาย ไต่สนุก

เฟรมเหล็ก size เล็กๆ จับคู่กับคนตัวเบาๆ ไต่เขาที่ใช้กำลังวัตไม่สูงมาก อาจจะลงตัวพอดี
ส่งผลให้ไต่เขาดีกว่า เฟรมคารบอนที่ stiff เกินกว่า น้ำหนัก และ วัตของคนคนนั้นก็เป็นได้ครับ...

สรุป
เฟรมที่ไต่เขาได้ดี มักจะมีค่า stiffness อยู่ในเกณดีกันเป็นส่วนใหญ่
แต่ Stiffness ไม่ใช่ตัวแปรตัวเดียวที่จะบอกว่าไต่เขาดี หรือ ไม่ดี
ไม่งั้น เฟรมแอโร่แข็งๆ ท่อโตๆ stiff ดีๆโยนขวดน้ำทิ้งให้เบาลงสักสามขีด ก็จะไต่เขาได้ดีกว่าเฟรม เขา แท้ๆกันหมดจิคับ
แล้วเฟรมเขาจะไปขายไครละทีนี้...555



stiff คุยกันได้หลายมิติครับ
ขอเพียงเข้าใจ strain energy และความแตกต่างของการทำงานของวัสดุแต่ละชนิด
เราจะเข้าใจภาพรวมได้ไม่ยากครับ
จักกะยาระนัง ปะระมัง สุขขัง.
จานไข่ Dr.Egg http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 0&t=515279
Dr.EGG Facebook : http://www.facebook.com/DrEGG.DrivEmotion
ผม Dr.Egg ครับ อยู่บางแสน ติดต่อได้เวลาราชการ
หลังเวลาราชการ ขอเวลาเลี้ยงลูกนะครับ...
พี่น้องงงงง......
รูปประจำตัวสมาชิก
rikk
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 485
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 13:21
Tel: 0922599045
team: BBCC
Bike: โครโม กับ แมวเหมียวคิดตี้สีดำ

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย rikk »

ความรู้ล้วนๆครับ :mrgreen:
แค่ขยับ ก็เหมือนได้ออกกำลังกาย
NEMOK
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 117
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2015, 11:16
Tel: 0983937217
Bike: cinelli experience
ตำแหน่ง: แม่สา แม่ริม เชียงใหม่

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย NEMOK »

นี่คือประสปการณ์ส่วนตัว หลังจากบริโภคข้อมูล อ่านทุกรีวิว เทคนิค ค่านู่นนี่นั่นและเหล่าโปรเทคนิค

จิตนาการ = เข้าโจมตีทุกเนิน ความเร็วตก ปรับเกียรยืนโยก เฟรม ล้อ ส่งกำลังดีมาก แข็งไม่สีผ้าเบรค พุ่ง!!!
ความจริง = นั่งปั้ม ซอยขา เฟืองสุดท้าย ยืนโยกความเร็ว 6-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 5555 :lol:

ถ้าโคโมลี่รุ่นใหม่ๆอาจพอฟัดพอเหวี่ยงนะครับสุดท้ายอยู่ที่การฝึกซ้อม
Gok See
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 449
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2016, 08:18
ติดต่อ:

Re: เฟรมหมอบโครโมลี่ปั่นขึ้นเขาได้ดีสู้คาร์บอนได้ไหม...ถ้าไม่สนใจเรื่องน้ำหนักเฟรม

โพสต์ โดย Gok See »

โครโมสู้ไม่ได้ครับ แต่ไม่ได้แตกต่างมากอย่างที่คิด มันเป็นแค่ความรู้สึกต่อการตอบสนองเฟรม เฟรมคาร์บอนดีีดดิ้นกว่าแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเร็วกว่า เป็นแค่ความรู้สึกว่าถ้าดีดแล้วมันต้องพุ่ง ไปไว
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”