"น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

"น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย giro »

น้ำตาล
02.jpg
ารอาหารสำคัญหมู่ที่สองที่ร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัยประถม หนึ่งในอาหารห้าหมู่ ที่เมื่อเติบใหญ่กลับกลายเป็นผู้ร้ายฆ่าคน ผู้ต้องสงสัยรายแรกของโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไปมากมาย และเป็นสิ่งพึงหลีกเลี่ยงสำหรับคนอีกหลายๆคนที่รักสุขภาพ ต่างพากันเมินหน้าหนีเมื่อเจอกับน้ำตาลด้วยความกังวลถึงปัญหาที่อาจตามมาและ เป้าหมายการควบคุมน้ำหนัก

แล้วน้ำตาล คือมิตรหรือศัตรูของนักจักรยาน และผู้ชื่นชอบการออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยานกันแน่?

อาหารหมู่ที่สอง "ข้าว แป้ง น้ำตาล" มีคุณสมบัติหลักให้ประโยชน์ทางโภชนาการในการให้พลังงานแก่ร่างกาย นี่คือสิ่งที่เราเข้าใจมาตลอด แม้แต่เด็กประถม 1 ก็สามารถท่องทำความเข้าใจได้ และสำหรับนักจักรยานที่จริงจังต่างรู้จักกันดีว่า"คาร์โบไฮเดรท" ส่วนประกอบสำคัญของอาหารหมู่นี้ คือแหล่งพลังงานชั้นเลิศสำหรับนักกีฬาที่ต้องการพลังงานไปออกกำลัง ใน ทางกลับกัน น้ำตาล ก็เป็นบ่อเกิดของปัญหาเรื้อรังทางสุขภาพมากมายไม่ว่าภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คง ที่ เบาหวาน โรคอ้วน หลอดเลือดตีบตัน และสารพัดปัญหาลูกโซ่ที่ตามมาเป็นพรวน แต่ละรายการล้วนแต่สามารถถึงฆาตหมายชีวิตกันได้ทั้งนั้น
อะไรล่ะคือความสมดุลย์?

ความไม่รู้คือบ่อเกิดของความเข้าใจผิด ในยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์คและสื่อ feed รวดเร็ว สามารถหาข้อความต่างๆมากมายอ่านได้เพื่อประกอบการดูแลสุขภาพว่อนหน้าจอมือถือเต็มไปหมด แต่อะไรคือเนื้อหาสำคัญที่ควรรู้เมื่อเราพูดถึงน้ำตาลและการออกกำลังกาย เราลองมาดูเนื้อหาสำคัญและทำความเข้าใจกันได้ง่ายๆ ก่อนที่จะมาสรุปกันว่า น้ำตาล เป็นมิตรแท้ให้ผลดี หรือศัตรูที่น่ากลัวกันแน่ ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจระบบพลังงานของร่างกายเราในการออกกำลังกายให้ ถ่องแท้เสียก่อน เล่าแบบคร่าวๆสุดๆได้แบ่งเป็น 3 ประการดังนี้
00.png
00.png (38.03 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
1.ระบบอะแนโรบิค
หมายถึงระบบพลังงานที่ออกมาจากพลังงานสะสมในกล้ามเนื้อใช้งานได้ทันทีทันใด ให้พลังงานสูงแต่มีระยะสั้นเพียงไม่กี่วินาที อยู่ในระดับการออกแรงโซน 6-7 ขึ้นไป เช่นการสปรินท์ การเร่งความเร็วกระทันหัน การยกน้ำหนัก ทุ่มน้ำหนัก วงสวิงกอล์ฟ 2.ระบบไกลโคไลติคแลคเตท
ระบบนี้ใช้พลังงานจากไกลโคเจนที่สะสมในร่างกายมาเป็นพลังงานหลัก ร่วมกับการทำงานของกล้ามเนื้อและได้ของเสียเป็นกรดแล็คติค ออกแรงได้มากในระยะเวลานาน 60-90 นาที ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายคนนั้นๆ และระดับความเข้มข้นของแรงที่ออก ครอบคลุมระยะการออกแรงตั้งแต่ โซน 4-6 ในพิกัดเวลา 3-8 นาที และ 60-90 นาที *จริงๆแบ่งย่อยลงไปอีกได้เป็น 3 ระบบย่อยในระดับนี้ครับแต่ไม่ลงลึก
3.ระบบพลังงานแอโรบิคหรือออกซิเดชั่น
ระบบนี้ใช้อ็อกซิเจนช่วยในการสันดาปพลังงานให้กล้ามเนื้อโดยอาศัยแหล่งพลังงาน หลักต้นกำเนิดเป็นคาร์โบไฮเดรทร่วมกับ

ไขมันที่สะสมเอาไว้ให้พลังงานต่ำ ค่อยๆส่งพลังงานอย่างช้าๆแต่ทำงานได้ยาวนานมากๆ เป็นชั่วโมงๆ จนถึงเป็นวันๆก็ทำได้ หมายถึงการออกกำลังในระดับความหนักโซน 1-3 *สัดส่วนของไขมันและคาร์โบไฮเดรทเปลี่ยนไปตามความเข้มของการออกแรง

แปลว่าอะไร?
01.jpg
01.jpg (8.39 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
ถ้าคุณออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานอย่างสนุกสนานเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เอาจักรยานออกมากระโดดขึ้นไปคร่อมแล้วอัดเต็มที่ไปเลย ตั้งแต่ต้นยันจบกะว่าวันนี้ขอได้เอวีสวยๆ ใส่ไม่ยั้งแม้หยดสุดท้าย หัวใจเต้นโครมคราม ปั่นเสร็จหอบแทบตาย เหงื่อหยดติ๋งๆ กดดูไมล์ พบว่าเบิร์นพลังงานไปได้มหาศาล แล้วก็สบายใจ สบายตัว หายเหนื่อย รีบหาอะไรกินตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา กะว่าเสริมซ่อมแซม และเข้าสู่ไลฟ์ไสตล์นักปั่นจิบกาแฟเสียหน่อย รวมทั้งนม อาหาร กาแฟ อัดพลังงานไปเท่าๆกับที่ใช้ไป ผล... คุณผลาญไกลโคเจนในร่างกายไป โดยแทบไม่ได้แตน้ำตาลในร่างกายและไขมันที่สะสมเอาไว้เลยแม้แต่น้อย พลังงานต่างๆที่กินเข้าไปหลังจากนั้น ถ้าอยู่ในระยะเวลารวดเร็วก็จะกลายเป็นไกลโคเจน แต่ถ้าอ้อยอิ่งเก็บรถ อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ขับรถไปหาร้านอร่อยกินให้พุงกาง กว่าจะจอดรถรอคิวร้านผ่านไปชั่วโมงกว่า แล้วฟาดอาหาร รับรองว่านอกจากไม่ลด อย่าสงสัยว่าทำไมยิ่งปั่นจักรยานแล้วยิ่งตัวใหญ่ สิ่งที่ได้คือความฟิต และร่างกายที่กระชับขึ้น มวลไขมันเท่าเดิม กล้ามเนื้อไม่ได้มากขึ้น น้ำหนักไม่เคยลดลง

น้ำตาลไม่ผิด ผิดที่เราเข้าใจตัวเราเองไม่ถูกต้อง
03.jpg
นี่คือบ่อเกิดเบื้องต้นของความเข้าใจผิดของการขี่จักรยานเพื่อรักษาสุขภาพ รวมไปถึงการขี่จักรยานเพื่อควบคุมน้ำหนักด้วยเช่นกัน ในเมื่อเราเลือกวิธีการออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับเป้าหมาย ก็ส่งผลไปถึงการบิรโภคที่ไม่สอดคล้องกันตามไปด้วย ต่อไปลองดูเนื้อหาทางวิชาการจาก วิทยาลัยโภชนาการทางการกีฬา มหาวิทยาลัยเมโทรโพลิแทนต์คอลเลจ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา โดย ศ.เจมส์ สตีเฟ่น

ร่างกายของแต่ละคนมีอัตราการใช้และแยกแยะพลังงานจากน้ำตาลในสัดส่วนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์และความฟิตในการเล่นกีฬา แต่โดยปกติร่างกายที่อยู๋ในชีวิตประจำวันไม่ได้ออกกำลังกายอะไร ระบบการทำงานของร่างกายจะจัดการเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดที่เกินจำเป็นออกไปเป็นไขมันสะสมเอาไว้ด้วยฮอร์โมน ซึ่งหากระบบนี้ทำงานผิดพลาดจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาน้ำตาลในกระแส เลือดสูงหรือต่ำเกินไปนั่นเอง หมายความว่าคนเราทั่วไปกินอาหารที่สุดท้ายแล้วย่อยสลายกลายเป็น น้ำตาล(โมเลกุลต่างๆ) จะถูกดูดซึมไปไว้ในกระแสเลือดเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ถ้าเหลือเฟืออีกก็เอาไปยัดเอาไว้เป็นไขมัน ยิ่งกินมาก ขยับน้อย ร่างกายต้องการพลังงานน้อย ไขมันก็ยิ่งพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง ตามปกติน้ำตาลในกระแสเลือดจะมีเพียงพอต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย (ทุกระบบต้องการพลังงานทั้งสิ้น โดยเฉพาะสัตว์เลือดอุ่นอย่างเราๆต้องการพลังงานเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา) และได้พลังงานเกินพอจากอาหารที่บริโภคเข้าไปต่อวัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าคนปกติทั่วไปควรบริโภคน้ำตาลรวมแล้วเป็นสัดส่วน 1/10 ของพลังงานรวมที่ได้รับในแต่ละวัน ถ้าเราต้องการพลังงาน 1500 กิโลแคลลอรี่ ก็ควรได้จากน้ำตาลล้วนๆในสัดส่วนไม่เกิน 150 กิโลแคลฯ
นั่นเอง
09.png
09.png (522.66 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
บทความวิชาการนี้ยังกล่าวถึงปัญหาที่พบได้บ่อยจากผู้ออกกำลังกายทั่วไปที่มีความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับพลังงานและการบริโภคน้ำตาลในกลุ่มของผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเช่นวิ่งเบาๆระยะสั้น ฟิตเนส T25 หรือการเข้าห้องปั่นจักรยานในร่มระยะสั้น ที่เน้นการเผาผลาญพลังงานสูง คลาสเหล่านี้เน้นให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากที่สุดในเวลาดังกล่าว และวิธีการเผาผลาญให้ได้มากที่สุดก็คือการดันการออกกำลังกายขึ้นไปให้หนัก ที่สุดในพิกัดเวลานั้นๆ ซึ่งมากอยู่ในความเข้มข้นของระดับไกลโคไลติค และแน่นอนครับว่าแทบไม่ได้ใช้พลังงานสะสมส่วนเกินในร่างกายเลยแม้แต่น้อย ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ออกกำลังแบบนี้นิยมดื่มหรือบริโภคเครื่องดื่มให้ พลังงานทางการกีฬาทดแทนที่เสียไป และกลับกลายเป็นการบริโภคเกินความจำเป็น

ปัญหาที่น่ากลัวกว่า ในด้านน้ำตาลและความหวานยังรวมถึงสารเพิ่มความหวานที่นำมาใช้ในการให้ความ หวานแทนน้ำตาล สารเหล่านี้มีดัชนีความหวานสูงกว่าน้ำตาลปกติหลายร้อยเท่า(ถึง 2,000 เท่าในบางตัว) ทำให้ให้รสหวานได้เท่าเดิมในปริมาณน้อยกว่าเดิม และมีพลังงานต่ำลงมากนั่นเอง แต่ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่บริโภคน้ำอัดลมแบบปกติ กับแบบไดเอ็ท(ใช้สารให้ความหวานแทน) พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่บริโภคสารให้ความหวานแทน มีอัตราความต้องการความหวานสูงมากขึ้นเพราะชะล่าใจกับการบริโภคว่าไม่มีพลังงาน ในขณะที่กลุ่มที่บริโภคน้ำอัดลมธรรมดาและควบคุมปริมาณจะมีความตื่นตัวตอบสนองต่อรสหวานที่ต่ำกว่า และกินอาหารอื่นที่หวานน้อยกว่าด้วย ด้วยเหตุนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สารทดแทนความหวานจึงมีแนวโน้มการบริโภคน้ำตาลรวมในรายการอื่นเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

การบริโภคน้ำตาลให้ได้ผลดีต่อการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานคืออย่างไร?
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับศัพท์เทคนิคทางโภชนาการคำหนึ่งก่อน
GI Glycaemic Index ไกลเคเอมิคอินเด็กซ์
แมเยอร์ แวนชอร์ดาส วิทยากรอาวุโสของภาควิชาวิทยาศาสตร์และโภชนาการทางการกีฬาของมหาวิทยาลัย เชฟฟิลด์แฮลแลม ประเทศอังกฤษให้คำนิยามว่ามันคือ ดัชนีบ่งชี้อัตราการเพิ่มกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งหมายถึงน้ำตาลในเลือดที่สามารถนำไปเป็นแหล่งพลังงานต่างๆได้อย่างทันที อาหารใดๆที่มีค่า GI สูงก็คืออาหารที่สามารถเร่งให้มีปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งต้องดูรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆเช่นอาหารบางชนิดอาจใช้เวลานานมากกว่าจะย่อยแต่สามารถสร้างน้ำตาลในเลือดได้สูง อาหารบางชนิดย่อยสลายได้เร็วแต่ได้ปริมาณน้อย และความต้องการน้ำตาลใมนเลือดสูงรวดเร็วแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและการออกกำลังกายด้วยในภาวะปกติ การเพิ่มน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็วเกินไป อาจส่งผลในทางกลับกัน คือร่างกายผลิตฮอร์โมนออกมาจัดการมันมากอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงทันทีนั่นเอง

เอาล่ะครับ เมื่อเข้าใจ GI แล้ว ลองมาจำแนกการบริโภคน้ำตาลหรือสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทแบ่งตามช่วงเวลา เกี่ยวเนื่องกับการปั่นจักรยานดังนี้
05.jpg
05.jpg (148.63 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
ก่อนการปั่นจักรยาน
120-180 นาที
เน้นอาหารที่ให้พลังงานได้มากแต่ย่อยสลายแตกตัวได้ช้าหรือกลุ่มที่มี GI ปานกลางถึงต่ำ เช่นอาหารมื้อทั่วไป ข้าวสวยหุงสุก ไข่เจียว เนื้อสัตว์ที่ย่อยได้ง่ายเช่นปลาและไก่ อาหารในกลุ่มนี้ช่วยให้ร่างกายค่อยๆย่อยสลายแตกตัวสารอาหารต่างๆรวมถึง น้ำตาลและค่อยๆจ่ายเข้าไปในกระแสเลือดอย่างช้าๆ กระบวนการสะสมพลังงานค่อยๆทำงานไปด้วยอย่างช้าๆแต่ยังไม่เปลี่ยนพลังงานที่ได้เป็นไขมัน ดังนั้น ในท้องและกระแสเลือดจะมีน้ำตาลเตรียมเอาไว้สำหรับการออกกำลังที่กำลังจะมาถึง
30 นาที
อาหารว่างในกลุ่มที่มี GI ปานกลางเช่นกล้วยหอม ผลไม้ให้พลังงานที่ย่อยได้ง่าย อาหารในกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์พลังงานก่อนการออกกำลังกายให้ พร้อมทำงานเต็มที่รวมถึงเตรียมพร้อมส่งพลังงงานได้ทันทีเมื่อเริ่มต้นการปั่นจักรยาน เพราะอาศัยเวลาในการย่อยสลายและนำไปเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดประมาณ 30 นาทีพอดิบพอดี
04.jpg
04.jpg (93.88 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
ระหว่างการปั่นจักรยาน
ระหว่างการออกำลังในระดับแอโรบิคที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 45-60 นาที เราควรบริโภคพลังงานด่วนเพิ่มเติมในการปั่นไปด้วย (แต่ถ้าระยะเวลาสั้นกว่านั้น ผลวิจัยพบว่าไม่มีความจำเป็นต้องบริโภคเลยก็ได้ เพราะน้ำตาลในร่างกายที่มีอยู่ก็เหลือเฟือแล้ว) กลุ่มอาหารที่มี GI สูงจึงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นผลไม้แห้งพวกลูกเกด ผลิตภัณฑ์เจลหรือบาร์เพื่อการออกกำลัง เครื่องดื่มให้พลังงาน น้ำผึ้ง น้ำหวาน ซึ่งสามารถแตกตัวได้อย่างรวดเร็วนำไปใช้งานได้ในเวลาไม่กี่นาที อาหารสำเร็จรูปเหล่านี้มักผสมด้วยส่วนประกอบที่เป็นน้ำตาลโมเลกุลไม่ซับซ้อนใช้จำพวกกลูโคส ฟรุคโตส ซูโครส และมัลโตเด็กซ์ทริน ซึ่งแตกตั่วย่อยได้ง่ายมากๆ นำไปใช้ได้ในเวลาไม่กี่นาทีที่สำคัญ การศึกษาพบว่าการบริโภคน้ำตาลและแหล่งคาร์โบไฮเดรทที่หลากหลายในเวลาเดียวกัน ทำให้ร่างกายซึมซับไปใช้งานได้มากขึ้น เนื่องจากน้ำตาลในแต่ละรูปแบบโมเลกุลต้องการกลไกการย่อยต่างกันและร่างกายมี ขีดจำกัดในประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละแบบ การกระจายชนิดของสารอาหารช่วยให้ทำกระบวนการต่างๆพร้อมๆกันและส่งผลให้ได้ น้ำตาลในกระแสเลือดมากขึ้นนั่นเอง
06.jpg
06.jpg (180.1 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
อีกประการหนึ่งการศึกษาในกลุ่มนักกีฬาจักรยานที่ใช้เวลา 120 นาทีพบว่าการบริโภคพลังงานทดแทนในขณะปั่นที่มีอัตราการย่อยสลายต่างกัน พร้อมๆกัน หรือมี GI แตกต่างการช่วยให้ร่างกายมีพลังงานที่นำไปใช้ได้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากในกลุ่มที่มี GI สูงมากๆ(เช่นเจลหรือน้ำผึ้ง) จะถูกย่อยสลายไปใช้แทบจะทันทีและหมดไปในทันที ส่วนกลุ่มที่ย่อยสลายช้ากว่านิดหน่อยเช่นลูกเกดและบาร์พลังงานจะย่อยสลายช้า แตกตัวช้าและเข้าไปสู่กระแสเลือดตามมา ส่งผลให้ร่างกายสามารถมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่าในแต่ละช่วงเวลา เพราะหากบริโภคชนิดเดียว เมื่อมีปริมาณสูงเกินไป ร่างกายก็จะจัดการปรับสมดุลย์ออกไปเองอยู่ดี
08.jpg
08.jpg (103.68 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง

ภายหลังการปั่นจักรยาน

ทันทีหลังปั่น
เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราการบริโภคทั้งน้ำตาลและโปรตีนเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่าง กายควรทำทันทีหลังปั่น และไม่ว่าท่านจะออกกำลังมาด้วยความหนักและระยะเวลาเท่าไหร่ก็ตาม ควรบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารเพื่อการฟื้นตัวเพื่อรักษาสมดุลย์ของร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากการปั่นจักรยานได้ดีที่สุด ในระยะเวลาไม่เกิน 30 นาทีหลังปั่นจักรยาน อาหารที่กินเข้าไปจะถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็วเนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายยังคงทำงานอย่างเต็มที่ พลังงานต่างๆที่กินเข้าไปในเวลานี้น้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรทต่างๆจะถูกย่อยสลายด้วยอัตราความเร็วเดียวกับเมื่อตอนออกกำลังกายและสะสมเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนที่เกินจะนำไปสะสมเป็นไกลโเตจนก่อนแล้วจึงกลายเป็นไขมัน แปลง่ายๆก็คือกินในช่วงนี้ไม่พอกไขมันนั่นเอง อย่างไรก็ดีร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อซอมแซมเส้นใยกล้ามเนื้อและเสริมสร้าง พัฒนากายภาพของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างโปรตีนต่อคาร์โบไฮเดรทที่สัดส่วน 1:4 ของการบริโภค ถ้าไม่บริโภคเครือ่งดืมรีคัฟเวอรี่สำเร็จรูปก็ลองมองหาพวกอาหารเช้ากินง่ายๆ เร่งด่วน คอร์นเฟลค ข้าวต้ม(ข้าวโอ๊ด) และนมสดใส่ผลไม้แห้ง 120-180 นาทีหลังปั่น เน้นบริโภคกลุ่มอาหารที่มี GI ระดับกลางและต่ำย่อยช้าๆให้พลังงานไม่พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว เช่นอาหารมื้อหลัก เนื้อสัตว์ย่อยง่าย ผัก ผลไม้สดที่ย่อยสลายได้กากใยและความหวาน การบริโภคพลังงานและของหวานในระยะเวลานี้แทบไม่ช่วยในการสะสมพลังงานเพื่อการออกกำลังกายเลย แต่กลายเป็นเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดให้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมเอาไว้แทนนั่นเอง
meiji pic.jpg
meiji pic.jpg (103.66 KiB) เข้าดูแล้ว 15540 ครั้ง
ยกตัวอย่าง นมโปรตีนสูงของเมจิไฮโปรตีน ที่มีสารอาหารหลักเป็นโปรตีนเพื่อการเสริมสร้าง ซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายไปจากการออกกำลังกาย ก็มีการผสมน้ำตาลเข้าไป เพื่อรสชาติที่ดีและเพื่อช่วยเป็นพลังงานชดเชยในกรณีที่ดื่มหลังการออกกำลังกาย นอกจากได้โปรตีนที่เร็วยังได้พลังงานทันทีภายในกรอบการออกกำลังที่สะดวก หรือกลุ่มเครื่องดื่มอื่นๆเช่นน้ำผลไม้ น้ำอัดลม แม้แต่กาแฟธรรมดา ก็เป็นตัวช่วยให้นักกีฬาอาชีพหลายๆคนใช้ทดแทนพลังงานที่เสียไปจากการออก กำลังกายได้เป็นอย่างดี

สังเกตุได้จากเนื้อหาโภชนาการนี้พบว่าแท้ที่จริง"น้ำตาล" ไม่ใช่ดาวร้ายที่น่ากลัว แต่เป็นพระรองของเราที่มาช่วยให้พระเอกนางเอกที่รักการปั่นจักรยานปั่นจักรยานได้ดีขึ้นต่างหาก เพียงแค่พระเอกกับนางเอกคงต้องทำความเข้าใจกันสักนิดก่อนที่จะคิดหลบหรือ เลือกอะไรมากิน ให้สัมพันธ์กับการปั่นจักรยานของตนเอง ก่อนปั่นหรือระหว่างปั่น อาจไม่จำเป็นต้องกินหากกำลังควบคุมน้ำหนักและมีระยะเวลาการออกกำลังไม่ยาวนานมาก แต่จากเนื้อหาวิชาการไม่ว่าจะปั่นนานเท่าไหร่ หนักแค่ไหน และควบคุมพลังงานหรือไม่ก็ตาม ควรบริโภคพลังงานทดแทนในระยะเวลา 30 นาทีหลังปั่นเพื่อการฟื้นฟูร่างกายที่ดีที่สุดนั่นเอง

การดูแลและ รักษาสุขภาพอย่างเข้าใจ ย่อมส่งผลให้ได้ประสิทธิภาพการออกกำลังที่ดีที่สุด ไม่มีอะไรที่จะส่งผลช่วยให้เราปั่นจักรยานได้ดีขึ้นนอกเสียจายเริ่มจากภายใน ร่างกายของเราเอง
Internal Gain [homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 423027.png[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
Kan-
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1608
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 16:51
team: แสงเพชร
Bike: TREK 2.5 TREK 8500 TREK 8900 Specialized SL3 tamrac S-Work กำลังหา TREK 6.9 SSL

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย Kan- »

:D :D :D
ทำงานเห็นแก่หน้า...!จะต้องตามแก้ปัญหาไม่รู้จบ...!

บันทึก VDO การปั่นของผมครับ http://goo.gl/DCNt3D
temuan
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 45
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 11:25
team: -
Bike: ARAYA DIAGONALE

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย temuan »

ขอบคุณมากคับ :D
golike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 799
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2012, 20:00
Bike: Titanium & Cro-mo steel alloy.

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย golike »

:)
รูปประจำตัวสมาชิก
rantikaz
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 48
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2011, 13:40
Tel: 095-2596566
Bike: Bianchi
ตำแหน่ง: พัทลุง
ติดต่อ:

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย rantikaz »

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดีๆ
ID LINE = superman_june
Tel . = 095-7498614, 082-2696943

"NO Woman No Cry"
klaza
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 90
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2014, 19:07

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย klaza »

ขอบคุณครับความรู้ดีๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
ภูน้ำฟ้า
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 153
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2015, 10:59

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย ภูน้ำฟ้า »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ
yendeeair
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 18:56
Tel: 0876352292
team: จักรยานปั่นเพื่อสุขภาพ อ กระนวน
Bike: เมอริด้า

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย yendeeair »

ขอบคุณมากๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
sabimjai
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 228
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2012, 13:18
team: (LCC) Lanta Cycling Club
Bike: Specialized

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย sabimjai »

ขอบคุสำหรับสาระดีๆครับ
RiDe Or DiE
รูปประจำตัวสมาชิก
เส โพลีน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 434
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 19:44
Tel: 094-965-8755
team: อิสระ
Bike: Cervelo R3
ตำแหน่ง: ระยอง

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย เส โพลีน »

ปักครับ
Ater
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 610
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ต.ค. 2012, 14:49
Tel: 0891696488
team: DCC
Bike: Cervelo
ติดต่อ:

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย Ater »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ
สุข.....อยู่ที่ใจ
ID LINE : ae_merit
TEL : O8.9169.6488
รูปประจำตัวสมาชิก
Korkiert
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 86
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2015, 13:14
Tel: 0894658901
team: pattani
Bike: trek alr 5

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย Korkiert »

เยี่ยมเลยครับ
tango04
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 24
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2015, 15:43

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย tango04 »

ขอบคุณครับ..
yajaiya
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 69
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 พ.ย. 2012, 13:40
team: ไม่มี
Bike: Bianchi infinito/T-ROAD,LITESPEED CITICO,BROMPTON,TYRELL FX,THORN NOMAD,BIKE FRIDAY NWT,AM 20.2

Re: "น้ำตาล" กับการขี่จักรยาน เรื่องควรรู้ก่อนจะโทษว่าใครคือคนผิด

โพสต์ โดย yajaiya »

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ :P
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”