ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กะโหลก กับ เรื่องชวนปวดกะโหลก

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กะโหลก กับ เรื่องชวนปวดกะโหลก

โพสต์ โดย lucifer »

ระบบกะโหลก : เรื่องของกะโหลกที่ชวนปวดกะโหลกอยู่ไม่น้อย

ก่อนจะอื่น ผมต้องขอบคุณคุณตั้ม velocity ที่ได้ post กระทู้ สารพันปัญหา-BB30-BB86-PRESSFIT-SHIMANO-SRAM-CAMPY-BBright เอาไว้เมื่อ 4ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นกระทู้ที่ทำให้ผมได้เกิดความเข้าใจในระบบกะโหลกต่างๆที่สุดแสนจะมากมายและซับซ้อน จนสร้างความปวดกะโหลกให้แก่ทุกคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้


ก่อนที่จะเริ่มเรื่อง ผมก็อยากจะให้เพื่อนสมาชิกได้พยายามทำความเข้าใจกับศัพท์เหล่านี้เสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วท่านจะปวดกะโหลกอีกมากทีเดียว


คำว่า”กะโหลก”นั้น จะประกอบด้วยส่วนสำคัญๆอยู่ 2 ส่วน

1. ส่วนของเฟรมจักรยาน : ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Bottom bracket shell หรือ BB shell ถ้าแปลตามตัวว่า”เปลือกกะโหลก” ผมว่าจะมีคนงงกันไม่น้อยทีเดียว งั้นผมขอเรียกในแบบที่ผมเรียกมานานแล้วว่า “เฟรมกะโหลก”
เฟรมกะโหลก จะเป็นส่วนสำคัญของจักรยานจะมีมิติที่สำคัญอยู่ 2 มิติ คือ เส้นผ่าศูนย์กลางภายในของเฟรมกะโหลก และ ความกว้างของเฟรมกะโหลก ซึ่งหลายที่จะนิยมเขียนเป็นตัวเลข เช่น 42mm x 68mm ซึ่งจะหมายถึง เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน = 42mm และความกว้างของเฟรมกะโหลก = 68mm
BBshell.jpg
BBshell.jpg (67.75 KiB) เข้าดูแล้ว 108090 ครั้ง

2. ชุดกะโหลก ซึ่งจะประกอบด้วย ลูกปืนและส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ลูกปืนกะโหลก ซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างไปตามชนิดของเฟรมกะโหลก โดยในปัจจุบัน จะใช้เป็นลูกปืนตลับ ( Sealed Bearings ) ซึ่งจะมี เม็ดลูกปืน ( ball bearings ) ที่ทำจากสเตนเลส และ เซรามิคให้เลือกเสียเงินกัน ความลื่นของลูกปืนตลับจะเป็นผลมาจาก”คุณภาพ”ของเม็ดลูกปืน โดยเฉพาะในเรื่องของค่าความกลมและค่าความเรียบของผิว ซึ่งเม็ดลูกปืนเซรามิคจะมีคุณสมบัติทั้ง 2 อย่างนี้เหนือกว่าเม็ดลูกปืนสเตนเลส

นอกจากนี้ ลูกปืนตลับจะมีมิติที่ต้องทำความเข้าใจอยู่ 3 มิติ ซึ่งจะถูกเขียนมาในลักษณะ เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก x เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน x ความกว้างของหน้าตลับลูกปืน หรือ OD. x ID. x width เช่น 42 x 30 x 7 mm ( ซึ่งก็คือ ตลับลูกปืนเบอร์ 6806 ที่ใช้ในระบบกะโหลกแกนขาจาน 30 mm นั่นเอง )
หมายเหตุ ขนาดของลูกปืนตลับ จะเรียกได้ 2 แบบ ขึ้นกับผู้ผลิต คือ อาจจะเรียกเป็นขนาดตามมิติ OD x ID x width กับ เรียกเป็นเบอร์ เช่น 6806
bearings_dimen.jpg
bearings_dimen.jpg (47.91 KiB) เข้าดูแล้ว 108090 ครั้ง

- ส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ลูกถ้วย ( cup ) สำหรับอัดลูกปืนเข้าไป , แหวนลอครูปตัว C หรือ Retaining clip , ซีลกันฝุ่นตัวนอก ( Seal ) , ตัวรอง ( spacer )






ชุดขาจาน ( Cranksets )

ชุดขาจานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างอาการ”ปวดกบาล”ให้กับสมาชิกใหม่ได้ไม่แพ้กับเรื่องของ”กะโหลก” ขาจานจะมีเรื่องราวให้ต้องพิจารณาอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ได้แก่
cranksets.jpg
cranksets.jpg (95.1 KiB) เข้าดูแล้ว 108090 ครั้ง
1. แกนขาจาน ( crank spindle ) ในปัจจุบัน ชุดขาจานจะออกแบบให้”แกนขาจาน”เชื่อมติดกับตัวขาจาน ( crankarm ) ข้างใดข้างหนึ่ง ( ในรูปข้างบน เชื่อมติดกับด้านขวา ) ซึ่งสุดแล้วแต่ผู้ผลิตจะเลือกผลิตกันออกมา โดยแกนขาจานเองนั้น จะมีขนาดที่สำคัญอยู่ 2 อย่างที่ต้องทราบ คือ
- เส้นผ่าศูนย์กลางของแกนขาจาน : เส้นผ่าศูนย์กลางของแกนขาจาน จะต้องมีความสัมพันธ์กันกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของชุดลูกปืนกะโหลก ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มขาจาน 30mm , กลุ่มขาจาน 24mm และ กลุ่มขาจานขนาดอื่นๆในยุคเดิม
- ความยาวของแกนขาจาน : แกนขาจานถูกออกแบบมาให้มีความยาวที่ลงตัวกับกับชุดกะโหลกที่ใช้

2. ขาจาน ( Crankarm ) ขาจานจะมีขนาดความยาวให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของความยาว Inseem การเลือกใช้ความยาวขาจานที่พอเหมาะกับความยาว Inseem ของขาของผู้ปั่น จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของการปั่น และลดอุบัติการณ์เรื่องการบาดเจ็บลงไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ ( รายละเอียด กรุณาใช้ประโยชน์จากช่องค้นหา ที่มุมบนด้านขวาของหน้าเวปนะครับ พิมพ์ลงไปเลยว่า ความยาวขาจาน เดี๋ยวพบเอง )

3. Spider อยากจะเรียกว่า ขาแมงมุม ก็ได้ Spider จะทำหน้าที่ในการยึดใบจานหรือ Chainring

4. ใบจาน ( Chainring ) ใบจานจะต้องมีค่า Bolt Circle Diameter หรือ BCD เท่ากันกับของ Spider จึงจะสามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งใบจานของเสือหมอบ 2 ใบจาน จะมีค่า BCD อยู่หลายขนาด ได้แก่
- BCD 135 mm จะพบในใบจานขนาด Standard ของ Campagnolo
- BCD 130 mm จะพบในใบจานขนาด Standard ของ Shimano และ SRAM
- BCD 110 mm จะพบในใบจานขนาด Compact ของ Shimano และ SRAM เช่น 50-34T หรือ ใบจานรุ่นใหม่ เช่น 52-36T , ใบจาน 4 รู รุ่นใหม่ของ Shimano , ใบจานรุ่นปีล่าสุดของ Rotor ที่พยายามจะเปลี่ยนขนาด BCD ให้เป็น 110mm ทั้งหมด
- BCD 110 mm 4 รู + 113mm 1รู ในใบจานของ Compact ของ Campagnolo
boltcircle.jpg
boltcircle.jpg (25.39 KiB) เข้าดูแล้ว 108090 ครั้ง
การเรียกขนาดของขาจาน จะนิยมเรียกกันตามความยาวของขาจาน และ BCD เช่น ขาจาน 170mm BCD 110mm




ครับ ที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นเพียงแค่ออร์เดิร์ฟเท่านั้น แต่ก็น่าจะสร้างอาการปวดกะโหลกกันไปพอสมควรแล้วเช่นกัน คราวนี้เราจะเข้าสู่เนื้อหาที่แท้จริงกันหละ เพราะเราจะพูดถึงระบบกะโหลก และการผสมข้ามพันธุ์ [homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 700054.jpg[/homeimg]กะโหลก
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 02 ต.ค. 2017, 09:12, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย lucifer »

ระบบกะโหลก

ระบบกะโหลกในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจานเส้นผ่าศูนย์กลาง 30mm
2. ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจานเส้นผ่าศูนย์กลาง 24mm
3. ระบบกะโหลกแบบอื่น ซึ่งมีอีกมากมาย แต่ขอผ่าน เพราะไม่ใช่ระบบที่ชาวเสือหมอบในปัจจุบันจะได้ใช้กัน

คำถามคือว่า เราเป็นคนจะเลือกใช้ระบบกะโหลกแบบไหนได้โดยอิสระหรือไม่ ?
คำตอบคือ “ไม่ !!! “ เพราะระบบกะโหลกจะถูกพ่วงมากับเฟรม ซึ่งผู้ผลิตเฟรมจะเป็นคนยัดเยียดระบบกะโหลกมาให้แก่เรา แต่เราผู้เป็นคนใช้อาจจะยอมรับมัน หรือ ปฏิเสธด้วยการจับผสมข้ามพันธุ์ไปเสียก็ยังได้


1. ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจานเส้นผ่าศูนย์กลาง 30mm

1.1 BB30

รูปภาพ

BB30 เป็นระบบกะโหลกแกน 30 mm ที่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นระบบแรกก็ว่าได้
- เฟรมที่จะใช้ระบบ BB30 นั้น จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของ BB shell = 42mm และ ความกว้างของ BB shell = 68mm ( 42mm x 68mm ) โดยส่วนของ BB shell หรือ ผิวด้านในของ BB shell จะเป็นโลหะ ด้านในจะถูกเซาะร่องเอาไว้สำหรับใส่แหวนตัว C หรือ Retaining clip เข้าไป
- ลูกปืนกะโหลกจะมีขนาด 42x30x7 mm หรือ เบอร์ 6806 นั่นเอง การจะประกอบชุดลูกปืน ก็จะใช้วิธีการอัดตลับลูกปืนเข้าไปในเฟรม ด้วยเครืองมือที่ออกแบบมาเฉพาะ และความชำนาญ เพื่อดันเฉพาะส่วนของขอบตลับลูกปืนชุดนอก( Outer race , Outer ring ) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตลับลูกปืนเกิดความเสียหาย
- ฝาปิดตัวนอก ( outer seal ) จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยกันฝุ่น ความชื้น สิ่งสกปรก และยังทำหน้าที่เป็น Spacer ไปในตัว

แนวความคิดของการกำเนิดระบบ BB30 นั้น ก็คือ การออกแบบระบบกะโหลกที่ใช้ ชุดขาจานที่มีความStiff สูง โดยการ 1. เพิ่มเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนขาจานให้ใหญ่ขึ้นจากที่เดิมเคยใช้ 24mm ให้เป็น 30mm 2. ลดความยาวของแกนขาจานให้สั้นลงกว่าเดิม
ปัญหาของระบบ BB30
1. เอาเข้าจริงๆแล้ว ชุดขาจานที่ออกแบบมาใหม่ก็ไม่ได้ช่วยให้ค่า Total stiffness ( วัดองค์รวมทั้งหมด อันประกอบด้วยค่าความ stiff ทั้งจากชุดขาจาน และจากเฟรม ) เพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ เพราะ ยังคงใช้เฟรมกะโหลกที่มีความกว้างเพียง 68mm ตามมาตรฐานเดิม , ประโยชน์ที่ได้อย่างชัดเจนจากแกน 30 mm ก็คือ มีน้ำหนักเบาลง เพราะสามารถเปลี่ยนวัสดุจากโครโมลี่ให้มาเป็นอลูมิเนียมเกรดแข็งพิเศษ และใช้แกนขาจานที่สั้นลง
2. มาตรฐานอันแสนจะหลากหลายของผู้ผลิตเฟรม และ ชุดขาจาน ทำให้การประกอบชุดกะโหลกและชุดขาจานจะต้องอาศัยเครื่องมือและความชำนาญของช่างที่ทำหน้าที่ประกอบอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าไป อีกทั้งวิธีการประกอบชุดขาจานเองก็ยังมีความหลากหลาย , มิติของเฟรมกะโหลกด้านในก็ยังมีvariation ได้บ้าง
3. เนื่องจากการประกอบลูกปืนเข้าไปในเฟรม จำเป็นต้องอาศัยการอัดตลับลูกปืนเข้าไปโดยตรง ส่วนของเฟรมกะโหลกที่สัมผัสกับตลับลูกปืนส่วนใหญ่จึงเป็นโลหะ ในกรณีของเฟรมคาร์บอนก็จะมีการสวมปลอกโลหะเข้าไปในส่วนของเฟรมกะโหลกเพื่อความแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ผลิตบางรายที่จงใจใช้ผิวคาร์บอนไฟเบอร์ให้สัมผัสกับตลับลูกปืนโดยตรง ซึ่งก็จะมีความยุ่งยากในระยะยาวติดตามมาอย่างแน่นอน

ผู้ผลิตหลายรายเริ่มลดความนิยมในการใช้ระบบ BB30 เฟรมส่วนใหญ่ที่ยังใช้กันอยู่ก็มักจะเป็นเฟรมโลหะ เช่น เฟรมอลูมิเนียม ได้แก่ Cannondale CAAD10 , Specialized ที่ใช้ระบบกะโหลกแบบ alloy OSBB

สำหรับชุดขาจานสำหรับระบบกะโหลก BB30 มีให้เลือกอยู่ค่อนข้างหลากหลาย ยี่ห้อยอดฮิตที่รู้จักกันดีก็คือ SRAM BB30 , Rotor แกน30mm ( Rotor 3D+ , Rotor3DF , Rotor Power , Rotor Power LT ) , FSA BB30 และอื่นๆ


1.2 PF30 หรือ PressFit 30

รูปภาพ

PF30 ก็คือ การนำระบบ BB30 มาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในเฟรมคาร์บอนได้โดยไม่ต้องสวมปลอกโลหะเข้าไปในเฟรมให้หนักขึ้นโดยใช่เหตุ และยังไม่ต้องเสี่ยงต่อการสึกหรอของผิวคาร์บอนในกรณีที่ออกแบบเฟรมมาเป็น BB30 โดยไม่ใส่ปลอกโลหะเข้าไป
- เฟรมที่ใช้ระบบ PF30 ก็จะยังคงมีความกว้างของ BB shell = 68mm เท่ากับเฟรมที่ใช้ระบบ BB30 แต่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของ BB shellกว้างขึ้นกว่าเดิม กลายเป็น 46mm ( 46mm x 68mm )
- ลูกปืนกะโหลกยังคงใช้ขนาด 6806 เช่นเดิม แต่จะประกอบตลับลูกปืนเข้าไปในลูกถ้วยพลาสติก (cup)เสียก่อน แล้วจึงใช้เครื่องมือเฉพาะอัดชุดลูกถ้วย+ลูกปืนเข้าไปในเฟรม โดยวิธีการประกอบชุดลูกปืนที่อาศัยลูกถ้วยพลาสติกนี้ จะช่วยลดการสึกหรอของBB shell ที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ และยังช่วยแก้ปัญหาการหลวมคลอนของชุดลูกปืนกะโหลกอันเกิดจากการสึกหรอของBB shell ในเฟรม BB30 ลงได้
- ฝาปิดกันฝุ่นตัวนอกก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้อยู่เช่นกัน

ถ้ามองแล้วเข้าใจ เราก็จะพบว่า จริงๆแล้ว BB30 กับ PF30 จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของเฟรมกะโหลกเท่านั้น นอกนั้นจะเหมือนกันทุกอย่าง ซึ่งนั่นก็แปลว่า ชุดขาจานใดที่เคยใช้กับ BB30 ได้ ก็จะใช้กับ PF30 ได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ในปัจจุบันผู้ผลิตเฟรมคาร์บอนที่ต้องการใช้ระบบแกนขาจานเส้นผ่าศูนย์กลาง 30mm จะให้ความนิยมกับระบบ PF30


1.3 Specialized carbon OSBB

ระบบนี้ใช้กับเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ของ Specialized มองผ่านๆอาจจะนึกว่าขนาดของเฟรมกะโหลกจะเหมือนกับ PF30 แต่เท่าที่พยายามค้นหาข้อมูลดู ผู้ผลิตจะออกแบบเฟรมกะโหลกกว้างเพียง 61mm ( ซึ่งแคบกว่า เฟรมกะโหลกของ PF30 ซึ่งกว้าง 68mm ) ถ้าหากใช้งานคู่กับขาจานและชุดลูกถ้วยของเขาเองก็ดูจะเป็นเรื่องราวที่ลงตัวที่สุด แต่หากจะใช้ลูกถ้วย PF30 ทั่วไปในท้องตลาดร่วมกับขาจาน BB30 มาตรฐานทั่วไปแล้ว ก็จะต้องเสริม spacer 3.5mm เข้าไปทั้งสองด้านดังรูป

รูปภาพ




1.4 BBRight PressFit

รูปภาพ

BBRight ก็คือ PF30 ที่งอก BB shell ด้านซ้ายออกมาอีก 11 mm ทำให้ความกว้างของ BB shell เพิ่มขึ้นเป็น 79mm โดยที่ระบบBBRight จะมีใช้อยู่ใน Cervelo เพียงยี่ห้อเดียวเท่านั้น (​ในอดีตจะยังมี BBRight direct fit ซึ่งก็คือ BB30 ที่งอกBB shell ด้านซ้ายออกมาอีก 11mm ซึ่งจะใช้กับ Cervelo R5Ca , ปัจจุบันพัฒนาเป็น Cervelo RCa ซึ่งเบากว่าเดิม Aeroกว่าเดิม แต่ยังstiff ไม่แตกต่างจากเดิม )

แนวความคิดของการพัฒนาระบบ BBRight ก็คือ การเพิ่มความStiff ให้กับเฟรม โดยไม่ต้องเพิ่มน้ำหนัก เพราะเมื่อสามารถขยายเฟรมกะโหลกให้กว้างขึ้น ก็ย่อมสามารถขยายส่วนของท่อล่าง ( down tube ) , ขยายส่วนของตะเกียบโซ่( Chain stay )ด้านซ้าย ซึ่งความจริงที่ใครก็ทราบดีว่า ความstiffของเฟรมมาจากส่วนหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของท่อคอ และส่วนของเฟรมกะโหลกนั่นเอง

คำถามที่หลายคนอยากจะถามก็คือ ทำไมไม่ขยายออกไปทางด้านขวาอีก 11 mm ด้วยหละ ? อันนี้ผมก็ไม่รู้ใจของผู้ออกแบบเหมือนกัน แต่ถ้าวิเคราะห์ตามความเป็นจริงแล้ว การขยายเฟรมกะโหลกออกไปด้านขวาอีก 11mm จะไม่ได้ประโยชน์สูงสุดเพราะจะมีอุปสรรคจากชุดใบจาน และตัวขาจาน ทำให้ไม่สามารถขยายเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของเฟรมกะโหลกด้านขวาได้อย่างเต็มที่เท่ากับด้านซ้าย

ขาจานที่ใช้กับระบบกะโหลก BBRight จะต้องมีความยาวของแกนขาจานเพิ่มขึ้นไปจากชุดขาจาน BB30 มาตรฐานทั่วไป ( หากใช้ขาจาน BB30 มาตรฐานทั่วไปใส่เข้าไป ปลายของแกนขาจานจะโผล่มาไม่พ้นขอบของเฟรมกะโหลก )
ขาจานแกน 30mm ที่จะนำมาใช้ได้กับระบบ BBRight ในปัจจุบัน ได้แก่ Rotor แกน 30mm ( Rotor 3D+ , Rotor3DF , Rotor Power , Rotor Power LT ) , FSA 386EVO , FSA BBRight , ส่วน SRAM BB30นั้น ในปัจจุบันจะใช้ได้เฉพาะ SRAM Force 22 BB30 และ SRAM Quarq BB30 เท่านั้น โดยจะต้องดัดแปลงด้วยการถอดวงแหวนปรับความตึงออก แล้วรองด้วยแหวนสปริงแทน



1.5 BB386EVO

รูปภาพ

BB386 EVO ก็คือ PF30 ที่ขยายส่วนของ BB shell ออกไปทั้งซ้ายและขวา จนมีความกว้างเท่ากับ 86.5 mm ( แนวคิดเดียวกับระบบกะโหลก BB86 แต่ใช้แกนขาจาน 30mm ) แนวคิดของการพัฒนาระบบ BB386EVO ก็คือการเพิ่มความstiff โดยรวมให้สูงที่สุด คือเพิ่มความstiff ให้กับส่วนของเฟรมกะโหลก และได้ความstiff เพิ่มขึ้นจากแกนขาจาน 30mm แต่จุดประสงค์หลักน่าจะเป็นการได้เฟรมที่มีค่าความ stiff สูงแต่น้ำหนักเบาลง เพราะไม่ต้องพอกส่วนของเฟรมกะโหลกให้หนามากมายเหมือนกับพวก PF30

ขาจานแกน 30mmที่จะใช้กับระบบกะโหลก BB386EVO ได้นั้น จะต้องเป็นขาจานที่มีแกนยาวมากเป็นพิเศษ ซึ่งปัจจุบันมีเพียง Rotor แกน 30mm ( Rotor 3D+ , Rotor3DF , Rotor Power , Rotor Power LT ) และ FSA 386EVO ที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงอะไร ในขณะที่ SRAM Force 22 BB30 และ SRAM Quarq BB30 ต้องดัดแปลงด้วยการถอดวงแหวนปรับความตึงออก และไม่ต้องหนุนspacer ring ที่ให้มาสำหรับขาจานด้านขวา

เดิมที BB386 EVO มีใช้เฉพาะใน BH ปัจจุบันก็มีจักรยานอีกหลายรุ่นเปลี่ยนมาใช้ด้วย เช่น Bianchi Oltre XR2 , Merida Reacto เฟรม carbon


1.6 Cannondale BB30a

รูปภาพ

มันคือ น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ พัฒนาขึ้นมา(ชิมลาง?)บรรจุไว้ใน Cannondale Synapseปีปัจจุบัน ทุกรุ่น รูปร่างหน้าตาของมันก็คือ ระบบ BB30 ที่ขยายส่วนของเฟรมกะโหลกด้านซ้ายออกไปอีก 5 mm แน่นอนหละครับ ขาจานที่จะใช้กับมันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงอะไรเลยก็ต้องเป็นขาจานเฉพาะรุ่นของมัน คือ Cannondale Hollowgrame BB30A แล้วก็ FSA BB30A



Remark

ขาจานแกน 30 mm ในปัจจุบัน จะมีความยาวของแกนขาจานอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ คือ
1. แกนยาวมาตรฐาน ขาจานกลุ่มนี้เมื่อประกอบเข้ากับเฟรมแล้ว ปลายขาจานจะโผล่ออกมาพ้นจากเฟรมไม่มากนัก ซึ่งก็เพียงพอแค่ให้สามารถประกอบยึดขาจานด้านที่เหลือเข้าไปได้เท่านั้น ขาจานในกลุ่มนี้เป็นขาจานส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาด เป็นขาจานที่ใช้ได้กับเฟรม BB30 , PF30 เท่านั้น สำหรับSRAM BB30 ทุกรุ่น จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น ในปัจจุบันจะมีก็แต่เพียง SRAM Force22 BB30 กับ SRAM Quarq BB30 ที่เป็นกรณีพิเศษ เพราะหากใช้กับเฟรม BB30 หรือ PF30 ก็แค่รองspacerทางฝั่งแกนขาจานด้านขวา แล้วปรับความตึงด้วยชุดแหวนเกลียวจากทางด้านซ้าย แต่หากใช้กับเฟรม BBRight หรือ 386EVO ก็สามารถทำการดัดแปลงได้ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
2. แกนยาวปานกลาง ขาจานกลุ่มนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบ BBRight ของ Cervelo เท่านั้น ในปัจจุบันจะมีเพียง Rotor แกน 30mm OEM for Cervelo ( ด้านขวาจะมีการออกแบบ spider และ locking ring ให้รับกับกะโหลกด้านขวา โดยไม่ต้องเสริม Spacer 11.5 mm , หากต้องการนำมาใช้กับเฟรม BB30 หรือ PF30 อื่นๆ ก็จะต้องหา spacer 11.5mm มาเสริมปลายแกนขาจานทางด้านซ้าย ) และ FSA BBRight
3. แกนยาวมากเป็นพิเศษ ขาจานกลุ่มนี้จะมีแกนขาจานที่มีความยาวใกล้เคียงกันกับแกนขาจานของ Shimano เลยทีเดียว ทำให้สามารถนำมาผสมข้ามพันธุ์ได้สะดวก ในปัจจุบันจะมีเพียง Rotor แกน 30mm ( Rotor 3D+ , Rotor3DF , Rotor Power , Rotor Power LT ) และ FSA 386EVO ที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงอะไร ในขณะที่ SRAM Force 22 BB30 และ SRAM Quarq BB30 ต้องดัดแปลงด้วยการถอดวงแหวนปรับความตึงออก และไม่ต้องหนุนspacer ring ที่ให้มาสำหรับขาจานด้านขวา
4. ส่วนขาจานสำหรับ BB30A ขอผ่านไปก่อนนะครับ ปีนี้ใช่ ปีหน้ายังไม่รู้







2. ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจานเส้นผ่าศูนย์กลาง 24mm

2.1 Threaded Bottom Brackets หรือ ระบบกะโหลกเกลียว

ในอดีตนั้น ระบบกะโหลกเกลียวก็จัดเป็นเรื่องปวดกะโหลกเรื่องหนึ่ง เพราะมีความหลากหลายพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเกลียวอังกฤษ เกลียวอิตาเลี่ยน เกลียวฝรั่งเศส เกลียวสวิส ( แต่ว่าไปแล้ว ก็ยังปวดกะโหลกเพียงนิดน้อยเมื่อเทียบกับในปัจจุบัน )
ในปัจจุบันจะเหลือเพียงแค่ 2 แบบเท่านั้นคือ
- เกลียวอังกฤษ หรือ BSA เฟรมกะโหลกกว้าง 68mm ด้านในจะถูกกลึงเกลียวขนาด 1.370" x 24tpi โดยเกลียวของเฟรมกะโหลกทางด้านขวาจะเป็นเกลียววนซ้าย ส่วนเกลียวของเฟรมกะโหลกทางด้านซ้ายจะเป็นเกลียววนขวา ทำให้พวกที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ทำเกลียวพังกันมานักต่อนักแล้ว ( สมัยก่อนที่ยังใช้ระบบกะโหลกแบบ cartridge หรือ กะโหลกแกนเหลี่ยม จะพิมพ์คำว่า BC 1.370 x 24tpi ไว้ที่ตัวกะโหลก )
- เกลียวอิตาเลี่ยน หรือ ITA เฟรมกะโหลกกว้าง 70mm ด้านในจะถูกกลึงเกลียวขนาด M36 x 24tpi โดยเกลียวของเฟรมกะโหลกทั้ง 2 ด้านจะเป็นเกลียววนขวา ทำให้ลูกถ้วยกะโหลกทางด้านขวามีการคลายตัวได้เองอยู่บ่อยๆ ( สมัยก่อนที่ยังใช้ระบบกะโหลกแบบ cartridge หรือ กะโหลกแกนเหลี่ยม จะพิมพ์คำว่า IT M36 x 24" หรือ IT M36 x 24tpi ไว้ที่ตัวกะโหลก )


รูปภาพ

ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะระบบกะโหลกเกลียวอังกฤษเพราะยังเป็นระบบกะโหลกเกลียวที่ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในรถจักรยานระดับเริ่มต้นหลากหลายยี่ห้อ , ระบบกะโหลกเกลียวได้รับการพัฒนามาโดยตลอดจากระบบกะโหลกแบบ Cartridge ที่รวมชุดลูกปืนและแกนกะโหลกเป็นชิ้นเดียวกัน พัฒนาจากแกนเหลี่ยม มาเป็นแกนแบบจีบ และสุดท้ายเปลี่ยนมาเป็นระบบลูกถ้วยบรรจุลูกปืนอยู่นอกเฟรม หรือ ที่เรียกกันว่า Outboard Bottom bracket ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีลักษณะหน้าตาดังรูปข้างบน ระบบกะโหลกแบบนี้จะประกอบด้วย ลูกถ้วยเกลียว ซึ่งมีความกว้างประมาณ 11mm ทิศเกลียวดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ละข้างจะบรรจุลูกปืนตลับขนาด 37mm x24mm x7mm เอาไว้ ( กะโหลกเกลียวบางยี่ห้อ ถูกออกแบบให้ผู้ใช้สามารถถอดตลับลูกปืนออกมาเปลี่ยนได้เอง ในขณะที่บางยี่ห้อเช่น Shimano ผู้ใช้จะต้องมีหัวคิดเชิงช่างพอสมควรในการจะรื้อและประกอบลูกปืนชุดใหม่เข้าไปโดยที่ลูกถ้วยไม่เสียหาย )

ระบบขาจานแกน 24mm ยอดฮิตที่ใช้กับระบบกะโหลกเกลียวนั้น ก็คงจะไม่มีอะไรเกินไปกว่า Shimano อย่างแน่นอน ในขณะที่ SRAM GXP จะใช้แกนขาจานด้านขวา 24mm แต่จะใช้แกนขาจานด้านซ้าย 22mm ซึ่งทำให้ลูกปืนตลับของระบบกะโหลกเกลียว GXP ของ SRAM ทางด้านซ้าย เป็นขนาด 37mm x 22mm x7mm ไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม เราก็ยังสามารถดัดแปลงใช้กะโหลกเกลียวชุดด้านซ้ายของShimano กับ ขาจาน GXPของSRAM ได้โดยการสวมปลอกadapter หนา 1mm เข้าไประหว่างแกนขาจานกับชุดลูกปืนด้านซ้ายได้เช่นกัน นอกจาก Shimano และ SRAM แล้ว ก็ยังมี Rotor 24mm หรือ Rotor 3D เป็นตัวชูโรงอีกเช่นกัน

ข้อด้อยของระบบกะโหลกแบบเกลียวที่คู่แข่งทับถมไว้ก็คือ ตัวลูกถ้วยจะลดทอนความ stiff ของชุดกะโหลก เพราะตัวลูกถ้วยถูกยึดด้วยเกลียวและยังทำมาจากอลูมิเนียมบางๆ พวกเท้าหินเท้าโหดสามารถย่ำจนรู้สึกย้วยได้ ( จริงหรือเปล่าเนี่ย ฮ่า ฮ่า )


2.2 BB86

รูปภาพ

BB86 ถือกำเนิดขึ้นมาจากความคิดที่ว่า หากเอาลูกปืนเข้าไปในเฟรมเสียเลย ก็น่าจะตัดคำครหานินทาจากคู่แข่งในเรืองเดิมๆของระบบลูกปืนแบบ outboard โดยขยายความกว้างของ BB shell จาก 68mm ให้กว้างกลายเป็น 86.5 mm ไปซะเลย ส่งผลดีให้ผู้ผลิตเฟรมที่ใช้ระบบกะโหลกแบบนี้มีความ stiff ในส่วนของเฟรมกะโหลกเพิ่มขึ้นไปจากเดิม อย่างน้อยก็เอาประเด็นนี้ข่มคู่แข่งที่ใช้ BB30 ได้ แน่นอนหละ Shimanoก็ผลิตกะโหลกแบบ BB86 ออกมาขายในท้องตลาด ( โดยแถมลูกปืนกะโหลกแบบเกลียวเดิม เป็นของสมนาคุณเมื่อซื้อชุดขาจาน )

เฟรมกะโหลก BB86 จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของเฟรมกะโหลกเท่ากับ 41mm ( เล็กกว่าของ PF30 ที่มีขนาด 46mm ) ขยายเฟรมกะโหลกออกให้กว้างเป็น 86.5 mm ( BB386 EVO ได้ inspiration มาจาก BB86 นั่นเอง )
ส่วนชุดลูกปืนจะประกอบด้วยลูกปืนตลับขนาดเดิม คือ 37mm x24mm x7mm อัดอยู่ในลูกถ้วยอีกทีหนึ่ง ( หลักการเหมือนกับ PF30 ต่างกันที่ขนาดของลูกปืน และขนาดของลูกถ้วย , ลูกถ้วยหนา 2mm เหมือนกัน ) วิธีการติดตั้งก็ใช้วิธีเดียวกันกับ PF30 เช่นกัน

ในปัจจุบัน ระบบ BB86 เป็นระบบที่แพร่หลายมากที่สุดในบรรดาเฟรมที่เลือกใช้ระบบขาจานแกน 24mm


2.3 BB90

รูปภาพ

BB90 ก็คล้ายกับ BBRight ตรงที่ว่ามีใช้อยู่ในจักรยานเพียงยี่ห้อเดียว ซึ่งก็คือ Trek แล้วก็เป็น Trek ในรุ่นบนๆอีกต่างหาก เพราะรุ่นกลางๆก็หันมาใช้ BB86 กันแล้ว
BB90 ออกจะเป็นอะไรที่พิสดารอยู่บ้าง ตรงที่อัดลูกปืนเข้าไปในเฟรมคาร์บอนโดยตรงเลย โดยจะมีบ่ายันตลับลูกปืนไว้อีกทีหนึ่ง ที่ว่าพิสดารก็คือ ใครๆก็รู้กันว่า ถึงคาร์บอนไฟเบอร์จะแข็งยังไง แต่ผิวของมันก็ไม่คงทนเท่ากับผิวของโลหะได้ ไม่เชื่อก็ลองเอาตะปูมาขีดดูสิ ใครจะสึกเป็นร่องลึกกว่ากัน ( เพราะความแข็งของคาร์บอนไฟเบอร์นั้น เป็นการพูดกันในเรื่องความแข็งต่อมวลน้ำหนักที่เท่ากัน ภายใต้stressแบบเดียวกันกับโลหะ , แต่ไม่ได้หมายถึงความแข็งของผิวที่จะทนทานต่อการขูดขีดด้วยของมีคมนะครับ ) การขยันถอดตลับลูกปืนเข้าๆออกๆ คงจะไม่ใช่เรื่องน่ายินดีนักสำหรับการเลือกใช้ระบบกะโหลกแบบนี้
ลูกปืนตลับก็ยังเป็นขนาดสหกรณ์อยู่เหมือนเดิม คือ 37mm x24mm x7mm ปิดฝาด้วยซ๊ลกันฝุ่นที่มีขนาดใหญ่อีกทีหนึ่ง

แต่ภายใต้ความพิสดาร ก็ยังมีข้อดีที่คุ้มค่า นั่นก็คือ Trek สามารถออกแบบเฟรมกะโหลก ท่อนั่ง ท่อนอน รวมถึงตะเกียบโซ่ ให้มีความStiff เพิ่มขึ้นได้อย่างมาก รวมไปถึงการอัดตลับลูกปืนไปตรงจนยันกับเฟรมนั้น ตามทฤษฏีแล้วย่อมหมายถึงความstiff ของแกนขาจานที่มีต่อเฟรม เพราะถ้วยพลาสติกไหนเลยจะไม่มีการให้ตัว ตรูข้าอ้ดลูกปืนไปยังเฟรม จะมีอะไรให้มันขยับอีกหละ ( มันเป็นแค่แนวคิดนะครับ ถ้าวัดกันจริงๆ คงจะต้องวัดกันด้วยเครื่องวัดกันหละครับ แรงคนหนะคงจะไม่ทำให้เกิดความแตกต่างกันได้หรอก ฮ่า ฮ่า ฮ่า )




ข้อดีของระบบขาจานที่ใช้แกนขาจานเส้นผ่าศูนย์กลาง 24mm ก็คือ มันมีความยาวของแกนขาจานที่ยาวมากมาแต่กำเนิดเริ่มคิดแล้ว ถึงจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 24mm แต่มันก็ทำจากโครโมลี่ ซึ่งแม้ว่าน้ำหนักอาจจะมากกว่าอลูมิเนียมที่ใช้ทำแกนของขาจานแกน30mm ก็ตาม แต่ค่าความแข็งของโครโมลี่มันเหนือกว่าอลูมิเนียมมากนัก การออกแบบและเลือกใช้ก็ย่อมสามารถเรียกความstiffของชุดขาจานออกมาได้เพียงพอ โดยไม่ต้องแบกน้ำหนักให้มากเกินไป
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 02 ต.ค. 2017, 09:13, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย lucifer »

ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างขาจานกับระบบกะโหลกทำได้หรือไม่ แล้วทำไปทำไม?

ทำไปทำไม?
เป็นคำถามที่ต้องตอบก่อน เพราะว่าถ้าคุณมีขาจานอันแสนแพง แล้ววันหนึ่งก็เกิดหมดความสิเนหาในเฟรมอันเดิม เพราะไปปิ๊งชู้รักเฟรมตัวใหม่เข้า แต่เพราะมันเป็นเฟรมที่ใช้ระบบขาจานคนละขนาดกัน ก็แหม ขาจานเดิมมันก็แพงนะ จะให้ขายทิ้งแล้วเปลี่ยนใหม่ก็กระไรอยู่
นั่นสิครับ ดังนั้นการผสมข้ามพันธุ์ จากระบบขาจานที่ใช้แกนขาจาน 24mm ไปยังเฟรมที่ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจาน 30mm หรือ ในทางกลับกัน การผสมข้ามพันธุ์ จากระบบขาจานที่ใช้แกนขาจาน 30mm ไปยังเฟรมที่ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจาน 24mm จึงบังเกิดขึ้น


ทำยังไง ?

1. การใช้ขาจานแกน 24mm กับ เฟรมที่ใช้ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจาน 30 mm


1.1 BB30
BB30 เป็นระบบกะโหลก 30mm ที่เป็นโจทย์ท้าทายปัญหานี้ก่อนใครเลยกระมัง เฟรมBB30มีลักษณะพื้นฐานเหมือนกับเฟรมBSAมากๆตรงที่มันมีความกว้างของเฟรมกะโหลกเท่ากับ 68mm เหมือนกัน การแปลงไปใช้ขาจานแกน24mm ที่มีความยาวของแกนขาจานมากกว่าจึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย

1. ติดตั้งกะโหลกแบบ outboard ไว้นอกเฟรมกะโหลก วิธีนี้ทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1.1 อัดปลอกเกลียวadapterของ FSA เข้าไปในเฟรม BB30 ที่ปลายปลอกจะมีการทำเกลียวไว้สำหรับขันถ้วยลูกปืนแบบเกลียวเข้าไป
รูปภาพ
วิธีการก็แค่ไปหาซื้อปลอกเกลียวในภาพมา ( ราคาขายกันจะอยู่ที่ประมาณ 900-1,000 บาท แต่หากใจร้อนบุ่มบ่าม เคยมีคนโดนฟันหัวเลือดกระจายด้วยราคา 2เท่า ) โดยคำแนะนำของผู้ผลิตจะให้ใช้ loctite เบอร์ 609 หรือ 641 ป้ายเอาไว้ก่อน แล้วจึงอัดมันเข้าไปในเฟรม BB30 และเช่นกันผู้ผลิตก็แนะนำประมาณว่า หากใส่ปลอกเกลียวเพื่อใส่ลูกปืนoutboardแล้ว ก็ไม่ควรเปลี่ยนใจกลับมาใช้ระบบกะโหลก BB30อีก เพราะการอัดปลอกเกลียวดังกล่าวเข้าไปนั้น จะทำให้ส่วนของเบ้าในเฟรมกะโหลกเกิดการสึกหรอ อาจจะทำให้เมื่อเปลี่ยนใจมาใส่ลูกปืน 6806 เข้าไปก็อาจจะเกิดอาการคลอน ส่งเสียงรบกวนได้โดยง่าย

1.2 ใช้กะโหลกพิเศษ เช่น
Rotor BB3024

รูปภาพ

ในปัจจุบันมีผู้ผลิตกะโหลกในลักษณะแบบนี้ออกมาหลายยี่ห้อ ขั้นตอนในการประกอบไม่ถึงกับยากนัก แต่ก็ค่อนข้างจะเปลืองแรงงานพอสมควร เพราะจะต้องขันเกลียวให้ทั้งสองส่วนถูกบีบอัดเข้าไปในเฟรมจนแนบสนิทกับขอบของเฟรมกะโหลก รับรองว่าถ้าเคยทำมาแล้วสักครั้งหนึ่ง อาจจะบอกว่าการใส่และประกอบชุดลูกปืน BB30 เป็นอะไรที่น่าพิสมัยกว่าก็เป็นได้

รูปภาพ


2. ใช้ adapter แปลงให้ใช้ขาจาน 24mm กับลูกปืน 6806
วิธีการนี้เป็นวิธีที่บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น เพราะเราจะใช้ชุดลูกปืนของ BB30 ทั้งหมดติดตั้งลงไปเฟรม แล้วจึงสวมadapterดังกล่าวลงไปในลูกปืนกะโหลก แล้วจึงสวมขาจาน24mm ผ่านเข้าไปอีกที
adapterตัวนี้ เป็นของบริษัท Wheels Manufactures ซึ่งสามารถสั่งซื้อจากทาง EBAY ได้ในราคารวมส่งไม่ควรจะเกิน 1,350 บาท


รูปภาพ

รูปภาพ




1.2 PF30

การแปลงใส่ขาจาน 24mm กับเฟรม PF30 ก็ทำได้คล้ายๆกับ BB30 คือ

1. ติดตั้งกะโหลกแบบ outboard ไว้นอกเฟรมกะโหลก ซึ่งในปัจจุบันจะมีกะโหลกแบบนี้อยู่ 2 ลักษณะ
1.1 กะโหลก outboard แบบ PressFit ปัจจุบันมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น
Rotor PressFit 4624

รูปภาพ

วิธีการติดตั้งก็เพียงแค่อาศัยเครื่องมือเฉพาะและความชำนาญ อัดเข้าไปในเฟรมเหมือนกับอัดลูกถ้วย PF30 เช่นกัน

1.2 กะโหลก outboard แบบขันเกลียวอัดเข้าไปหากัน ลักษณะคล้ายกันกับของกรณี BB30 เช่นกัน

รูปภาพ


2. ใช้ adapter แปลงให้ใช้ขาจาน 24mm กับลูกปืน 6806
วิธีการเหมือนกับ BB30 โดยใช้ adapter ของบริษัท Wheels Manufactures ซึ่งสามารถสั่งซื้อจากทาง EBAY ได้ในราคารวมส่งไม่ควรจะเกิน 1,350 บาท




1.3 BBRight
วิธีการ และกะโหลกพิเศษก็มีให้เลือกคล้ายๆกัน โดยอาจจะใช้กะโหลก Pressfit ของ Rotor ที่ทำมาเฉพาะสำหรับ BBRight

รูปภาพ

ส่วนกะโหลกแบบขันเกลียวอัดเข้าหากันเท่าที่หาดูใน EBAY ก็มีของ Wishbone ( ยี่ห้อนี้จะให้ปลอกadapter สำหรับใช้กับขาจาน SRAM GXP ได้เลย )
$_57.jpg
$_57.jpg (78.06 KiB) เข้าดูแล้ว 108053 ครั้ง



1.4 BB386 EVO
วิธีการก็คล้ายกัน กะโหลกแปลงของ Token รหัส BB386R24 ซึ่งออกแบบมาในลักษณะของกะโหลกpressfit ก็เป็นของที่สามารถจัดหาได้ไม่ยาก ใน EBAY เองก็มีเช่นกัน

รูปภาพ



2. การใช้ขาจานแกน 30mm กับ เฟรมที่ใช้ระบบกะโหลกที่ใช้แกนขาจาน 24 mm

ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า การแปลงใช้ขาจานแกน 30mm กับเฟรมที่ใช้ขาจาน 24mm ไม่ว่าจะเป็น BSA , BB86 , BB90 นั้นเป็นเรื่องที่มีข้อจำกัดมาก ทั้งนี้เพราะความยาวของแกนขาจานของขาจานมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับ BB30 หรือ PF30 นั้น จะมีความยาวของแกนขาจานที่สั้นมาก เนื่องจากถูกออกแบบมาใช้กับระบบกะโหลกเฉพาะของตนเองเท่านั้น ในปัจจุบัน จะมีขาจานแกน 30mm เพียงไม่กี่รุ่นที่สามารถนำมาแปลงใช้กับเฟรมที่ใช้กะโหลกที่เป็นแกนขาจาน24mm ขาจานเหล่านี้ได้แก่

- Rotor แกน 30mm ที่เป็นของ After market ได้แก่ Rotor 3DF , Rotor 3D+ , Rotor Power , Rotor Power LT สามารถใช้ได้เลย ( โดยไม่ต้องใส่ spacer 11.5mm ทั้ง 2 ข้าง ) ในขณะที่ขาจาน Rotor OEMที่ติดมากับ Cervelo จะไม่สามารถนำมาใช้ได้ ยกเว้นว่าจะทำการเปลี่ยน spider และ locking ring เสียใหม่ก่อนเท่านั้น
- SRAM BB30 จะใช้ได้เฉพาะ SRAM Force22 BB30 และ SRAM Quarq BB30 เพียง 2 รุ่นเท่านั้น ( สำหรับ SRAM Red BB30ทุกรุ่น หมดสิทธิ์!!! จนกว่าจะออกแบบใหม่ ) แต่ก็ยังจะต้องดัดแปลงด้วยการรื้อเอาวงแหวนเกลียวปรับความตึงออกไปเสียก่อน รวมทั้งต้องดิ้นรนหาแหวนสปริงรูปคลื่นมาใส่เอาไว้เสริมเพื่อปรับความตึง และอาจจะต้องหาแผ่นshim มาเสริมอีกต่างหาก

Rotor เป็นผู้ที่ออกแบบกะโหลกแปลงสำหรับนำเอาผลิตภัณฑ์ของเขา เพื่อเอาไปประยุกต์ใช้กับเฟรมแทบจะทุกเฟรมที่ผลิตในโลกใบนี้

2.1 Threaded Bottom Brackets
Rotor ผลิต กะโหลกเกลียวแบบ outboard ที่สามารถใส่แกนขาจาน 30mm ของตัวเองเข้าไปได้เลย โดยสำหรับเฟรมเกลียว BSA จะใช้กะโหลกรหัส BSA30 และ ในกรณีของเฟรมเกลียว ITA ก็จะใช้กะโหลกรหัส ITA30

รูปภาพ


2.2 BB86
Rotor ผลิต กะโหลกแบบ Pressfit ที่มีลูกถ้วยกะโหลกPressFit ขนาด 41mm สำหรับใช้กับเฟรม BB86 ได้ โดยจะใช้กะโหลกในรหัส BB4130

รูปภาพ


2.3 BB90
เป็นระบบกะโหลกแกน24mm ชนิดเดียวที่ไม่สามารถดัดแปลงให้ใช้ขาจานแกน 30mm ได้ เนื่องจากโครงสร้างจำเพาะที่รับกับลูกปืน 37mm x 24mm x7mm ทำให้ไม่สามารถหาลูกปืนขนาด 37mm x30mm ใส่เข้าไปได้เลย เพราะนั่นหมายถึงจะต้องใช้ลูกปืนในลักษณะลูกปืนเข็ม ( Needle bearings ) ซึ่งคงจะยังไม่มีการผลิตออกมาในปัจจุบัน





กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ คุณตั้ม velocity ผู้เป็นคนให้ความรู้กับผมในเรื่องระบบกะโหลกเป็นคนแรก
ขอบคุณ wheels manufacture ที่รวบรวมรายละเอียดต่างๆทำให้ง่ายต่อการสรุป
ขอบคุณ Rotor ที่มีรูปภาพต่างๆจนง่ายต่อการอธิบาย
ขอบคุณสมาชิกทุกๆท่าน ที่ตั้งใจอ่านทุกๆบรรทัด ทั้งที่เป็นบทความที่ยาว และทราบดีว่าหายากที่จะมีใครยอมอ่านหนังสือเกินกว่า 7 บรรทัด
กะโหลก
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 02 ต.ค. 2017, 09:14, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
OSK 97
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 13804
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 12:05
team: ทุ่งสง
Bike: focus max. neilpride bora

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย OSK 97 »

เข้ามาหาหมอรักษาอาการปวดกระโหลกด้วยคน :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
77zent
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 297
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2014, 21:44
Tel: 0898015949
Bike: ใช้ไปเรื่อยๆ

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย 77zent »

:D
รูปประจำตัวสมาชิก
scoute
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 238
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 20:08

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย scoute »

ขอบคุณครับ :o
แมวด่าง
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 52
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 19:37
Bike: trek madone 4.3 , java ira
ติดต่อ:

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย แมวด่าง »

เข้ามารายงานตัวและหาความรู้ครับ
ตามติดทุกกระทู้ ขอบคุณมากครับ
ความรู้ มีไว้ให้นำไปปรับใช้ ไม่ใช่มีไว้เพื่อดูถูกคนอื่น
รูปประจำตัวสมาชิก
neogundam
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 78
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 20:53
Tel: 0945941556
ตำแหน่ง: ตัวเมือง นครปฐม

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย neogundam »

ยอดเยี่ยมมากครับ อ่านเข้าใจง่าย อ่านครั้งเดียวกระจ่าง 8-)
dmesg
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1311
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2011, 10:20
Bike: Cannondale Supersix

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย dmesg »

ขอบคุณครับหมอลู ต่อไปใครถามผมลิงค์มากระทู้นี้อย่างเดียวเลย :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
art_bianchijab
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 43
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2013, 11:02
Bike: Dogma F8
ตำแหน่ง: 42 ถ.เก่า ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย art_bianchijab »

สุดยอดจริงๆครับอ่านแล้วเข้าใจง่ายมากครับ
Cadiac
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 52
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2013, 21:26

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย Cadiac »

ขอบคุณมากครับ
free-rider
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 37
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 23:29
Tel: 0819267760
team: free-rider
Bike: merida matt40,Bianchi Intenso
ตำแหน่ง: rama2 bkk

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย free-rider »

ขอบคุณครับ :D
compass
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 806
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 23:16
Bike: TREK EMONDA SL6, Nich KEM, TREK MADONE 3.1 2012
ตำแหน่ง: จตุจักร กรุงเทพฯ
ติดต่อ:

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย compass »

ความรู้ล้วนๆ ขอบคุณครับพี่หมอ
processdrill
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 204
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2012, 09:32
Tel: 0806625262
team: OMG
Bike: Giant Propel Advance ISP

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย processdrill »

ขอบคุณจริงๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
เนี้ยงมารุ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 517
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 20:26
team: Neangmaru
Bike: Suzuki SV650A 2016
ตำแหน่ง: กรุงเทพฯ
ติดต่อ:

Re: ปัญหาอมตะนิรันดร์กาล Part II : กระโหลก กับ เรื่องชวนปวดกระโหลก

โพสต์ โดย เนี้ยงมารุ »

ปักไว้อ่านเมื่อเจอภัยภิบัติครับท่านอาจารย์ :ugeek:
รับปรับแต่งจักรยานวินเทจ+เซอร์วิส (จรัญฯ13)

LINE ID : Neangmaru_Bike

Facebook ID : Songporn Bangwaek , https://www.facebook.com/blacky.neangmaru

Facebook Page >>> https://www.facebook.com/neangmaru.bike.service
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”