ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า update Cyclex, Nivacrom, Thermacrom steel 03/07/14 (แก้ไขเพิ่มเติม)

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

nonomura
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 260
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 02:05
team: None
Bike: No brand

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า update Cyclex, Nivacrom, Thermacrom steel 03/07/14 (แก้ไขเพิ่มเติม)

โพสต์ โดย nonomura »

เรื่องที่ผมเขียนนี้เป็นเรื่องที่ผมเขียนไว้ในเพจของผมเองนะครับ แต่มีคนเข้ามาอ่านน้อย เลยคิดว่ามาลงไว้ที่นี่น่าจะมีประโยชน์มากกว่า (อันนี้ไม่ได้เอามาลงเพื่อโปรโมทเพจตัวเองนะครับ อ่านแล้วไม่จำเป็นต้องมากด like) สิ่งที่ผมเขียนเป็นประสบการณ์จากการอ่านหาข้อมูลบทความของต่างประเทศ และการวิเคราะห์ส่วนตัวนะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ผิดถูกประการใดก็ต้องขออภัย

หลายๆ คนคงเคยเห็นไอ้ Chart อันนี้มาก่อน อ่านดูแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกอันไหนดี แต่ละเฟรมมีดีอย่างไร วันนี้จะมาไขข้อข้องใจให้ครับ

รูปภาพ

( ในกรณีเห็นรูปไม่ชัดนะครับ http://www.equusbicycle.com/bike/columb ... schart.htm)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เฟรมจักรยานไม่มีคำว่าดีที่สุดครับ มีแต่คำว่าเหมาะสมที่สุด เพราะเฟรมจักรยานที่ใช้ท่อต่างชนิดกันนั้นก็เพืือตอบสนองสไตร์การขี่ที่แตกต่างไปของแต่ละคนครับ ยกตัวอย่างแรกก่อนเลย

1. Columbus SL โดยส่วนตัวผมคิดว่าท่อนี้เป็นท่อที่เหมาะสมกับคนทั่วไปโดยเฉพาะคนเอเซียที่สุด เรียกว่าเป็น all around หรือ universal เฟรมก็ได้ เฟรม SL เป็นเฟรมน้ำหนักเบา ถึงไม่เบาที่สุด แต่ก็ถือว่าเบาแล้ว โครงสร้างแข็งแรง แต่ก็ไม่แข็งแรงที่สุด คือเอาง่ายๆ ทุกอย่างมันดีหมดอ่ะ แต่มันไม่สุดแค่นั้นเอง ท่อเป็นท่อ Cyclex Steel ท่อนั่งเป็นท่อ Butted 0.6/0.9 คือ มีความหนา 0.9mm บริเวณกะโหลก แล้วไล่มาเป็น 0.6 บริเวณ Seatstay ท่อบน กับท่อล่างเป็น Double Butted 0.9/0.6/0.9 ก็คือปลายท่อทั้งสองข้างหน้า 0.9mm ส่วนตรงกลางหนาแค่ 0.6mm ส่วน Chainstay กับ Seatstay ท่อมีความหนา 0.8 กับ 0.7 ตามลำดับเป็นท่อธรรมดาไม่ Butted

ถามต่อว่าแล้วทำไมมันดีสำหรับคนทั่วไป ตอบง่ายๆ คือมันเป็นเฟรมที่ดีในทุกด้านแต่มันไม่สุด ดังนั้นมันจึงเพียงพอแล้วสำหรับคนแบบเราๆ ทั่วๆไป ถ้าคุณไม่ใช่คนสูงที่ต้องขี่รถไซร์เกิน 55 หรือมีแรงกระทืบบันไดเหลือเฟือนะ SL เวิร์คสุด เพราะ SL ถ้าเป็นเฟรมใหญ่ มันจะมีอาการโบก โยก ย้วย แล้วแต่จะเรียกได้เวลาโยกหรือกระทืบบันได้แรงๆ ประมาณ คาเวนดิช อ่ะ

2. Columbus SLX เฟรมนี้นี่เอามาเป็นตัวเปรียบเทียบกับ SL เลยจะได้เห็นภาพชัดๆ เห็นเวลาคนไทยหาซื้อเฟรมนี่ ต้อง SLX อย่างนั้นอย่างนี้ ตัว X ที่เพิ่มขึ้นมาไม่ได้หมายความว่ามันดีกว่า SL นะครับ แต่แพงกว่าอ่ะใช่แน่ๆ เจ้า SLX นี่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้เจ้า SL ในเฟรมที่มีขนาดใหญ่ และพวกตีนโหดทั้งหลาย โดยมันจะเสริมความแข็งแรงโดยการเพิ่มเกลียว 5 เกลียวเข้าไปที่ปลายท่อตรงที่ปกติมันจะ Butted นั่นแหละลักษณะเหมือนเกลียวในลำกลัองปืน ที่เสริมก็เพื่อให้เฟรม rigid ขึ้นถ้าภาษาบ้านเราก็ไม่ให้มันย้วยนั่นแหละ โดยจะเพิ่มที่ท่อนั่งและท่อล่างเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องแลกมา คือน้ำหนักที่เพิ่มตามไปด้วย ดังนั้นผมถึงบอกว่าถ้าคุณไม่ได้ใช้รถไซร์ใหญ่เกิน 55 แล้วไม่ใช่พวกตีนโหดแล้วละก็ ไม่จำเป็นต้องใช้ SLX เลย ความหนาของท่อ SLX กับ SL นั้นไม่ต่างกันครับ จะต่างกันนิดเดียวคือ ท่อที่ใช้ทำ Chainstay จะเป็นท่อ Butted ที่เสริมความแข็งแรงตามแนวยาวของท่อด้วย

3. Columbus TSX ไหนๆ ก็มาตัว X แล้วก็เอ็กซ์ต่อไปเลยละกัน ไอ้เจ้า TSX นี่ก็คือท่อที่พัฒนาต่อจาก SLX โดยเอาเจ้า SLX มาแก้ปัญหาเรื่องน้ำหนักนั่นแหละ แล้วเพิ่มความแข็งแรงเข้าไปอีก เจ้า SLX นั้นจะมีท่อที่ตีเกลียวอยู่แค่สองท่อคือ ท่อนั่งกับท่อล่าง แต่เจ้า TSX นี่มันล่อสามท่อเลย ซึ่งปกติน้ำหนักมันควรจะมากกว่า SLX แต่เขากลับไปลดความหนาของท่อลงก็เลยทำให้ TSX นั้นเบาขึ้นแต่ก็ยังหนักว่า SL นิดหน่อยแต่แข็งแรงขึ้นอีกเพียบๆ ปกติท่อบนและท่อล่างของ SL/SLX นั้นจะมีความหนา 0.9/0.6/0.9 แต่เจ้า TSX นั้นจะเหลือเพียง 0.8/0.6/0.8 ดังนั้นน้ำหนักมันจึงลดไปตั้ง 20 กรัมแน่ะ แต่ราคาเพิ่มมาอีกบานนนนน

4. Columbus SPX เอ็กซ์สุดท้ายแล้ว ไอ้เจ้าตัวนี้เหมาะสำหรับฝรั่งเท่านั้น แล้วไซร์เล็กก็จะไม่ค่อยมีด้วย เพราะมันเป็นท่อที่ทำออกมาเพื่อเฟรมไซร์ใหญ่ๆ แทนที่มันจะลดความหนาของท่อมันกลับเพิ่มควาามหนาขึ้นกล่าวคือท่อที่เป็น Double butted จะมีความหนาเป็น 1.0/0.7/1.0 แถมเพิ่มเกลียวเข้าไปด้วยทำให้เฟรมที่ทำจากเหล็กตัวนี้ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่ก็แข็งแรงขึ้น เหมาะสำหรับคนตัวใหญ่น้ำหนักเยอะๆ

5. Columbus SP หากเปรียบเทียบ SPX คือ SLX เวอร์ชั่นหนาและใหญ่แล้ว SP ก็คือ SL เวอร์ชั่นหนาและใหญ่ นั่นแหละครับ

6. Columbus Cromor จากรุ่นสูงๆ ลงมาสู่รุ่นธรรมดาบ้าง ไอ้เจ้า Cromor นี่ผลิตจากเหล็ก CrMo หรือไอ้ที่เราเรียกว่า โครโมลี่นั่นแหละ ในขณะที่ได้ตัวท็อปๆ น่ะ มันทำมากจาก Cyclex Steel เอาไว้เดี๋ยวค่อยมาอธิบายทีหลังเรื่องนี้ละกัน ต่อๆ เรื่อง Cromor ไอ้เจ้าเฟรมตัวเนี่ยถ้าจะเปรียบเทียบมันก็เหมือน SL ลดเสป็กอ่ะ คือมันเป็นเฟรมที่ค่อนข้างเอนกประสงค์ จะเอาไปแข่ง ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำทัวริ่ง มันทำได้หมดอ่ะ ถึกทนแข็งแรง ที่สำคัญราคาไม่แรงมาก ท่อนั่งเป็นท่อ Butted 0.6/0.9 ส่วนท่อบนและท่อล่างเป็น Double Butted 0.9/0.7/0.9 และ 1.0/.7/1.0 ตามลำดับ ถ้าสังเกตุดีๆ จากตารางจะเห็นว่า น้ำหนักมันน้อยกว่า SP หรือ SPX อีก แต่ที่มันถูกกว่าก็เพราะว่ามันไม่ได้ทำจาก Cyclex Steel (เดี๋ยวจะมาบอกความต่างให้ทีหลัง) อีกอย่างที่สำคัญ ทุกวันนี้ Columbus ก็ยังผลิตท่อ Cromor อยู่นะครับ ถ้าไม่ดีจริง คงเลิกผลิตไปแล้วครับ ถ้าให้ผมสรุป ท่อ Cromor เป็นท่อสำหรับคนที่มีงบจำกัด ต้องการความเอนกประสงค์ อีกอย่างท่อตัวนี้เปรียบได้กับท่อญี่ปุ่นตัวท็อปบางตัวทีเดียว

7. Columbus Gara มันคือเฟรมที่ทำออกมาเพื่อความถึกโดยเฉพาะ เอาง่ายๆ คือหนักกว่าเพื่อนพ้องของมันอ่ะครับ แต่ไอ้คำว่าหนักนี่ก็เพิ่มมาอีกแค่ 300 กรัมจาก SL เอง Gara เป็นเฟรมที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำเป็นทัวริ่งเฟรมครับ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความทนเป็นหลักครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเอามันไปทำเป็นเสือหมอบเพื่อการแข่งไม่ได้ เพราะเมื่อดูน้ำหนักมันก็ไม่ได้หนักมากมายอะไร ที่สำคัญคือมันถูกครับ ที่มันถูกเพราะท่อที่เอามาทำมันเป็นท่อธรรมดา ไม่ใช่ท่อ Butted แต่อย่างใด ดังนั้นขั้นตอนในการผลิตมันไม่ได้ยุ่งยาก มันเลยไม่แพงครับ ท่อนั่ง ท่อบน ท่อล่าง หนาเท่ากันหมด คือ 0.8 mm เหล็กที่ใช้ทำก็เป็นเหล็กโครโมลี่ครับ

8. Columubs Aelle ไอ้เจ้าเฟรมตัวเนี้ย ความหนาของท่อ เหมือนกับ Gara ทุกอย่าง แล้วมันจะใช้ชื่อต่างทำไมวะ ที่มันต่างคือเนื้อโลหะครับ Aelle ผลิตจาก CMn หรือ Manganese Alloy ครับมันคือเหล็กที่มีส่วนผสมของ Carbon 0.8-1.25% และมีส่วนผสมของ Manganese ประมาณ 11-15% ส่วนความแตกต่างระหว่าง CrMo กับ CMn นั้นต่างกันอย่างไรขอไปหาข้อมูลก่อน แล้วจะเอามาเขียนในหัวข้อใหม่เพราะ เหล็กที่เอามาทำเฟรมนั้นยังมีอีกหลายชนิดครับ สำหรับเฟรม Aelle นั้นเป็นตัวต่ำสุดครับ ถ้าเราเป็นเด็กแล้วรบเร้าให้พ่อแม่ซื้อจักรยานให้ ท่านคงซื้อเฟรมตัวนี้ให้ (หากเลิือกจากตารางนี้) ส่วนผมนั้นได้ตราจระเข้นอกตารางครับ ^ ^

9. Columbus EL จากต่ำสุดมารุ่นสูงๆ บ้าง ไอ้เจ้า EL นี่เป็นเฟรมที่เบาที่สุดครับ เนื่องจากว่า Columbus ได้ทำการคิดค้นสูตรผสมของเหล็กขึ้นมาใหม่เรียกว่า Nivacrom ซึ่งสามารถรีดเหล็กให้บางขึ้นแต่มีความแข็งแรงเท่าเดิม เฟรม EL เหมาะสำหรับที่จะทำเป็นรถ Time Trial เฟรมเอาไว้ขึ้นเขา หรือ ไตรกรีธา ก็ได้ แต่มันไม่เหมาะที่จะเอาไปเป็นรถ Cyclocross หรือเอาไปขี่บนถนนขรุขระเช่น Paris Roubaix หรือถนนใน Rome ครับ เอาง่ายๆ มันเหมาะกับถนนทางเรียบครับ ท่อนั่งเป็นท่อ Butted 0.6/0.8 ท่อล่างกับท่อบน เป็น Double Butted หนา 0.8/0.5/0.8 กับ 0.7/0.4/0.7 ตามลำดับจะเห็นได้ว่าท่อรีดออกมาบางมากครับ

10. Columbsu EL oversize ทุกอย่างเหมือนกับ EL ครับแต่ทำการเพิ่มให้ท่อมีเส็นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มความ Rigid และความแข็งแรงให้กับท่อแต่น้ำหนักก็เพิ่มมากอีกนิดหน่อย คราวนี้ก็เอาไปขี่รูดถนนขรุขระได้แล้วครับ

11. Columbus MAX ท่อ MAX เป็นท่อซึ่งออกแบบมาให้รับแรงเครียดจากการปั่นตามจุดข้อต่อต่างๆ โดยการบีบท่อให้เป็นรูปวงรีหัวท่อท้ายท่อในแนวสลับกัน คือ หัวท่อบีบเป็นวงรีแนวตั้ง ส่วนท้ายท่อบีบเป็นวงรีแนวนอน โดยท่อนั่งจะบีบเป็นวงรีในแนวเดียวกันกับกะโหลก ส่วนปลายท่อยังคงกลมไว้ ส่วนท่อบนจะบีบในแนวนอนในส่วนที่ติดกับหลักอาน ส่วนด้านหน้าจะบีบเป็นแนวตั้ง เช่นเดียวกันกับท่อล่างครับ ลองนึกดูว่าเวลาเราปั่นส่วนที่เครียดที่สุดในการรับแรงคือบริเวณกะโหลก และแนวแรงที่กระทำจะออกทางซ้าย ขวาของกะโหลก การที่บีบท่อเป็นวงรีขนานกับแนวแรงจะทำให้บริเวณนั้นรับแรงได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเสริมความแข็งแรงเพิ่มเลย ซึ่งก่อนหน้านี้ Columbus ใช้วิธีเสริมเกลียวกับท่อ SLX แต่ MAX ใช้การออกแบบสรีระท่อใหม่ ดังนั้นการเสริมความแข็งแรงโดยวิธีนี้ ไม่ได้ทำให้เฟรมมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดครับ เฟรมนี้จึงเหมาะกับพวกตีนโหด ไม่ว่าจะเป็นพวกตีนโหดทางเรียบหรือขึ้นเขา แถมเฟรมก็เบากว่า SL อีกด้วย แต่ราคาก็โหดตามนะ แถมตะเกียบยังออกแบบมาเป็นแบบ areo ด้วย เฟรมทำจาก Nivacrom Steel ท่อนั่ง Butted 0.5/0.8 ท่อล่างและท่อบน Double Butted หนา 0.8/0.5/0.8 กับ 0.7/0.4/0.7 ตามลำดับ จะสังเกตุได้ว่า ท่อนั่งจะรีดเหล็กได้บางกว่า EL อีก เนื่องจากการออกแบบที่บีบเป็นวงรีนั้นทำให้สามารถรับแรงได้ดีขึ้นจึงสามารถลดความหนาของเหล็กลงได้ครับ

12. Columbus MXL หรือชื่อเต็ม MX Leader ท่อตัวนี้เป็นท่อที่ต่อยอดมาจาก MAX ผลิตให้กับ Merckx โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการสั่งการทำท่อจาก Merckx เองจึงเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ Merckx ดังนั้นท่อรุ่นนี้ จะพบได้ในเฟรม Merckx เท่านั้น สิ่งที่ต่างจาก MAX ก็คือ ท่อบนนั้นจะใช้ท่อที่ขนาดเล็กลง จึงลดน้ำหนักลงไปได้อีกครับ

13. Columbus MS (Multi Shaped) เฟรมตัวนี้เป็นเฟรมในดวงใจผมเลย ถ้าผมเขียนแล้วอวยเฟรมตัวนี้ก็อย่าว่ากันนะครับ เฟรมตัวนี้เป็นเฟรมที่ออกแบบ โดยให้ท่อแต่ละท่อมีรูปล่างต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ท่อบนเป็นรูป Lemon ท่อล่างเป็นรูปหยดน้ำคว่ำ ท่อนั่งเป็นทรงกรวย Chain Stay ซ้ายเป็นสามเหลี่ยม ขวาเป็นวงรี การออกแบบนั้นมาจากการศึกษา แรงที่กระทำต่อเฟรมในแต่ละจุด ครับ และจากการออกบบท่อในลักษณะนี้จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบ Lug ใหม่ทั้งหมด จึงทำให้เฟรมมีราคาสูงมาก ผลิตจาก Cyclex Steel โดยมีท่อนั่งเป็นท่อ Butted 0.6/0.9 ท่อล่างและท่อบนเป็นท่อ Double Butted 1/0.7/1 และ 0.9/0.6/0.9 ตามลำดับ เฟรมน้ำหนักพอๆ กับ SL แต่สามารถทำเป็นเฟรมที่มีไซร์ใหญ่ๆ ได้ครับ และเฟรมตัวนี้ Columbus ได้ร่วมมือกับ Gilco ในการออกแบบ ซึ่งท่อที่มีชื่อเสียงของ Gilco ก็คือท่อ Master ของ Colnago นั่นเอง

จบแล้วครับสำหรับเฟรมที่ออกแบบ ในยุค 80-90 เดี๋ยวว่างๆ ผมจะมาเขียนเกี่ยวกับเฟรม Reynold ต่อเพื่อจะได้เปรียบเทียบกันได้ แล้วก็เรื่องอื่นที่ผมค้างไว้ในหัวข้อด้านบน หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ ถ้าอ่านแล้วถูกใจไม่ถูกใจอย่างไร อยากให้ช่วยคอมเม้นต์หน่อย ผมจะได้มีกำลังใจเขียนต่อ ^ ^


วันนี้ว่างเลยขอเขียนต่อเกี่ยวกับ ความแตกต่างของ Chromoly, Cyclex, Nivacrom และ Thermal steel ของ Columubus ครับ

ขอเริ่มจาก Choromoly ก่อนเลย คำว่า Cro-Mo CrMo, CRMO, CR-MOLY มาจากคำว่า chrome-moly หรือ เอาเต็มๆ เลยคือ Chromium + Molybdenum ว่ากันง่ายๆ ก็คือ เหล็กที่มีการผสมโครเมี่ยมและโมลิดินัมเข้าไปในเนื้อเหล็ก
โดยทั่วไปโลหะที่มีการผสมวัสดุอื่นเข้าไปด้วยจะเรียกว่า อัลลอย เหล็กที่เราใช้กันทั่วไปนั้นมันก็คือ Carbon steel alloy ครับ แล้วไอ้ Chrome-moly steel alloy มันต่างจากไอ้ Carbon steel alloy ยังไง อย่างแรกคือ ความแข็งแรงต่อน้ำหนักดีกว่า หมายความว่า ถ้าน้ำหนักเท่ากัน ไอ้เจ้า CrMo แข็งแรงกว่าและแข็งกว่า แต่มีข้อดีก็ต้องมีข้อด้อย ไอ้เจ้าเหล็ก CrMo เนี่ยมันเชื่อมยากครับ มันต้องมีการเตรียมความร้อนที่เหล็กทั้งก่อนเชื่อมและหลังเชื่อม กล่าวคือ ถ้าเอาท่อดุ่ยๆ มาเชื่อมกันเลยเนี่ยมันจะ Crack หรือแตก และหากเชื่อมแล้ว ลดอุณหภูมิ เร็วหรือช้าเกินไปมันก็จะ Crack หรือแตกเช่นเดียวกัน และถึงแม้มันจะมีโครเมี่ยมผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก แต่มันก็มีไม่มากพอที่จะทนการกัดกร่อนหรือการเกิดสนิมได้ ไม่เหมือนแสตนเลส ซี่งมีโครเมี่ยมผสมอยู่เยอะมันเลยไม่เป็นสนิม
ดังนั้นจึงสังเกตุได้ว่าทำไม จักรยานสมัยก่อนที่เป็น CrMo ถึงมี Lug เป็นข้อต่อเพราะมันเชื่อมยากครับ และเจ้าเหล็ก CrMo นี้ก็มีหลายเกรดด้วยแล้วแต่ส่วนผสมที่ใส่เข้าไป รวมถึงการนำไปใช้งาน และตามแสตนดาร์ด SAE นั้นเหล็ก CrMo จะขึ้นต้นด้วย 41XX เช่น 4118, 4120, 4130 เป็นต้น ส่วนใครที่จะถามว่าแล้วจักรยานตัวเองเกรดไหนนั้น ผมตอบได้เลยผมไม่ทราบครับ ^ ^ รู้แต่ว่าเกรดที่ใช้ทำจักรยานจะเป็น 4130, 4140, 4145 ประมาณเนี้ยครับ
แล้วก็เจ้าเหล็ก Choromoly นั้นก็จะมีค่า Tensile Strength อยู่ที่ประมาณ 600-900 MPA คือ มันเป็นค่าที่โลหะสามารถทนต่อแรงดึงได้มากที่สุดเท่าไหร่ อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ จากคนที่ได้เกรด 1 ฟิสิกส์ ตั้งแต่มัธยมยันมหาลัยอย่าผมก็คือ ยิ่งค่ามากมันก็จะสามารถรีดเหล็กให้ได้บางขึ้นนั่นเอง

Cyclex Steel เจ้าท่อ Cyclex นี้เป็นท่อที่ Columbus เริ่มพัฒนาในช่วงยุค 70-80 สิ่งที่แตกต่างจาก Chromoly บริษัท Columbus ได้พัฒนาสูตรผสมของเหล็กขึ้นมาใหม่ มีการเพิ่มโลหะอื่นเข้าไปผสมด้วยทำให้ เหล็กมีค่า Tensile Strength มากขึ้นคือ 900+ MPA มันจึงสามารถที่จะรีดเหล็กให้บางลงได้อีก จึงทำให้เฟรมนั้นเบาขึ้น

Nivacrom Steel ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปลายยุค 80 ครับ ซึ่งในยุคนี้นอกจาก Columbus จะพัฒนาโครงสร้างในเนื้อเหล็กแล้ว ยังพัฒนาการออกแบบรูปร่างของท่ออีกด้วย เจ้า Nivacrom นี้มีการเพิ่ม Vanadium และสสารตัวอื่นเข้าไปอีก จึงทำให้มันมีค่า Tensile Strength มากขึ้นถึง 1200 MPA นอกจากนี้มันยังทนความร้อนมากขึ้นด้วย แล้วทนความร้อนมากขึ้นมันมีผลยังไง เวลาเชื่อมท่อนั้นความร้อนจะไปทำให้การเรียงตัวของโมเลกุลของเหล็กเปลี่ยนครับ ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของเหล็ก จะสังเกตุได้ว่าในยุคแรกๆ ของเฟรมจักรยานนั้น เฟรมจะมี Lug เกือบทั้งหมด นั่นก็เพราะว่าเทคโนโลยีการเชื่อมยังไม่พัฒนา และอย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นหากความร้อนสูงเหล็กจะ Crack ได้ ดังนั้นการเชื่อมจึงเป็นการเชื่อมด้วยทองเหลืองซึ่งใช้อุณหภูมิที่ต่ำคือ ประมาณไม่เกิน 1000 C แต่หลังจากที่ Columbus พัฒนาเหล็ก Nivacrom ขึ้นมาจะเห็นได้ว่าเฟรมจะมีการเชื่อมแบบไมีมี Lug มากขึ้น นอกจากนี้การเกิดขึ้นของเสือภูเขายังทำให้ การเชื่อมแบบไม่มี Lug นิยมมากขึ้นเพราะสามารถที่จะเชื่อมองศาของเฟรมที่แตกต่างกันได้ ปัจจะบันการเชื่อมแบบ TIG หรือ MIG นั้นมีอุณหภูมิสูงเกิน 1000 C ซึ่งเจ้า Nivacrom นี้สามารถทนได้ครับ

สุดท้าย Thermacrom เป็นเหล็กที่พัฒนาขั้นสูงสุดของ Columubs ในปัจจุบันโดย เจ้า Thermacrom นี้มีค่า Tensile Strength ถึง 1400 MPA และทนความร้อนได้มากขึ้น โดยเป็นผลจากการที่เติม Niobium เข้าไปในเนื้อโลหะ

นอกจากเฟรม Columbus ที่กล่าวมานะครับ ยังมีท่ออีกยี่ห้อนึงซึ่งมีค่า Tensile Strength สูงทีี่สุดในปัจจุบันคือ ท่อ Reynold 953 ซึ่งมีค่า Tensile Strength ถึง 1800 MPA ครับ

จริงๆ แล้วเรื่องที่เขียนนี้แทบจะไม่มีความสำคัญสำหรับเราๆ ที่เป็น end uses เลย จะมีก็แต่เรื่องน้ำหนักของเฟรมเท่านั้น ส่วนเรื่องที่เขียนมาทั้งหมดนั้นมันจะมีความเกี่ยวของในแง่ของการผลิตครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
แก้ไขล่าสุดโดย nonomura เมื่อ 03 ส.ค. 2014, 14:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง
หากสนใจ เฟรม และ อะไหล่ วินเทจสภาพนางฟ้าหรือหาที่ื่อื่นไม่ได้
https://www.facebook.com/pages/Nik-Cust ... 273?ref=hl
รูปประจำตัวสมาชิก
iN2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2494
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 00:12
Bike: Trek

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย iN2 »

หามานานแว้ว
แค่ออกปั่นให้สนุกก็พอ
ruger11sr9
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 180
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2012, 21:34
ตำแหน่ง: nawamin BKK Thailand
ติดต่อ:

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย ruger11sr9 »

ได้ความรู้ดีจังครับ ฝากช่วยหาข้อมูลท่อfoco ของColumbusที่ทำให้Scapinด้วยนะครับ...
รูปประจำตัวสมาชิก
innovator
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 214
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 10:47
ตำแหน่ง: บางนา กรุงเทพฯ10260

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย innovator »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ :)
ZXR
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 345
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2012, 23:53

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย ZXR »

ขอบคุณมากครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
kroeksit
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1476
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2011, 21:29
Tel: 0868846711 เบียร์
team: ไร้สังกัด
Bike: Bridgestone RADAC

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย kroeksit »

ขอบคุณครับ :D
Taylor Swift
ธนาคารทหารไทย (TMB Bank) บัญชีออมทรัพย์ 011-2-78019-2 เกริกศิษฏ์ พีรโชติกพันธุ์
copkrisd
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 226
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 21:09
Tel: 66853491114
Bike: bianchi

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย copkrisd »

เหนือชั้นจริงๆครับ
Suii_kung
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 11
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 12:31
Tel: 0805659898
Bike: Vintage Touring

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย Suii_kung »

ขอบคุณสำหรีบข้อมูลครับ
oak_pts
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2012, 12:58
Tel: 0819067799
team: ไม่มี
Bike: GIANT

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย oak_pts »

ขอ detail ท่อ ORIA ด้วยครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Franklyn
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 458
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 03:18
team: Rabbitz Cycling Team
Bike: DG FX05, Cruiser, Gios Stillo, Makino NJS, Specialized Transition Elite AL, Trek Speed Concept 7.5

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย Franklyn »

:ugeek: ขอบคุณครับ
THE STREET BELONGS TO ALL OF US.
nunkasho
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 202
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2010, 18:32
ตำแหน่ง: 69/31ม.6 ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน ตลิ่งชัน กรุงเทพ
ติดต่อ:

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย nunkasho »

สุดยอด ขอบคุณมากครับ :D
รูปประจำตัวสมาชิก
DXBicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1146
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 18:39
Tel: 0814240464
team: สุทธิสารฟิชชิ่ง
Bike: Specialized

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย DXBicycle »

มีประโยชน์มากๆครับขอขอบคุณ
วันนี้คุณขี่จักรยานแล้วหรือยัง
รูปประจำตัวสมาชิก
Gemini
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 345
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 10:31
Tel: 087-784-9069
team: ไร้สังกัด
Bike: TREK 4500 / K2ZEED TEAM

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย Gemini »

ขอบคุณครับ ;)
pong12
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 10:47

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย pong12 »

ความรู้มากมายจริงๆขอบคุณมากครับ :lol:
รูปประจำตัวสมาชิก
scoute
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 238
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 20:08

Re: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ ท่อ Columbus Vintage แบบละเอียดยิบจ้า

โพสต์ โดย scoute »

ขอบคุณครับ :)
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”