ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
รูปประจำตัวสมาชิก
ซาเล้งสีแดง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 22913
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 15:13
Tel: 0893200104
team: อกาลิโก
Bike: สับถังเขียวแก่ Fuji Olimpic finest 1970-เขียวอ่อน Bianchi VIRATA 1990 - Dahn Helios p8 - วีนัส Thorn Sherpa 2011 -วีนัส Thorn Raven Nomad MK2 s&s

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย ซาเล้งสีแดง »

ซาเล้งสีแดง เขียน:รูปภาพ

- ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เนื่องจากผมเห็นว่า
กระทู้ ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง ของ เสือ Tartac นี้
จะเป็นประโยชน์ในเรื่องการเลือกใช้งาน " ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง "
ต่อ ผู้สนใจเชิงลึก ทั้งผู้ที่ออกเริ่มทัวริ่งแล้ว และผู้กำลังสนใจเข้ามาศึกษาการทัวริ่งจักรยาน
ลองคิดดูว่า หากเราเสาะหาเฟรมดีดี มาได้แล้ว เฟรมรถจะแข็งแกร่งปานใด แต่หากล้อซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของจักรยาน ที่พาหมุนให้รถเคลื่อนที่นั้น ไม่แข็งแกร่ง แล้วจะมีประโยชน์ใดเล่าที่จะใช้เฟรมที่แข็งแกร่ง เพราะการปั่นจักรยานคือการหมุนของล้อ

- เราคงไม่จำเป็นต้องคุยกันเชิงลึก หากเพื่อนๆ เพียงแค่ต้องการที่ปั่นจักรยานทัวริ่งเพียงเพื่อ
การพักผ่อน หย่อนใจ หรือ เปลี่ยนประเภทกีฬากลางแจ้งเพื่อสลับแก้เบื่อกับงานอดิเรกอื่นๆ
หรือ อาจปั่นเที่ยวแบบตั้งใจจริงจังแต่มีโอกาสออกทริปหนึ่งปี 500 km. ระยะไม่เกินนี้
ถือว่าใช้งานต่อปีน้อย หากเป็นดังข้างต้นที่กล่าว ล้อจักรยานทัวริ่ง จะเป็นรุ่นไหน เกรดไหน
สเป็คอะไรก็คงไม่พังแน่ๆ เพราะกว่าจะปั่นเที่ยวครบ 10,000 กิโลเมตร ก็คง 20 ปี ซึ่งเกินคุ้มแล้ว
" ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้งานล้อ สมบุกสมบัน "

- แต่หากใครที่มีทริปหนักๆ ค่อนข้างบ่อย ไม่จำเป็นว่าต้องปั่นข้ามประเทศหรือรอบโลกหรอกครับ
เอาแค่ทุกไตรมาส(สามเดือน) ลางานไปออกทริปครั้งนึง ทริปละ 5 วัน วันละ 100 km.
ในหนึ่งปี เฉพาะปั่นเที่ยวออกทัวร์ ก็ 500*4 = 2,000 km หากรวมปั่นออกกำลังในแต่ละวัน
ระยะก็เกิน 3,000 km. เข้าไปแล้ว
ปั่นแค่ 3 ปี ระยะการใช้งาน Rims ก็แตะ 10,000 km.

ที่ระยะหมื่นกิโล นี้แหละ ล้อที่เป็นระบบ Rims breake ( วีเบรคและผีเสื้อ) ที่คุณภาพไม่ถึก ไม่ทน
ผนังขอบล้อที่เสียดสีกับผ้าเบรค จะเริ่มบาง และเริ่มพังในรูปแบบใดก็แบบหนึ่ง
แต่ล้อถึกๆ ดีดี จะยังเฉยๆ ใช้งานต่อได้แม้นเลยระยะหมื่นโล ไปแล้ว

- ลองไปนั่งคุยกับคนที่ปั่นทะลุเกินหมื่นกิโลขึ้นไป เจอแบบนี้ทุกคน
ประสบการณ์ตรงเรื่องวงล้อเราจะทราบเอง รู้เองโดยไม่ต้องสงสัยว่าทำไมต้องใช้ล้อดีดี
แต่ก่อนผมก็เข้าใจไปเองว่า ล้อทัวริ่ง ขอแค่ให้มี 36 ซี่ ก็น่าจะทนทาน รองรับงานได้แล้ว
หรือ ล้อที่มากับรถประกอบสำเร็จ (complete bike) น่าจะเป็นล้อที่แข็งแรงเพียงพอ
อันนั้นถูกต้องเพียงครึ่งเดียวครับ

- ที่ว่า ถูกครึ่งเดียว คือหากเพื่อนๆ ใช้งานหนักแต่ไม่บ่อยก็ไม่เป็นปัญหา
เพราะยังปั่นระยะน้อยมากเมื่อเทียบกับระยะอายุใช้งานของวงล้อนั้น

แต่ที่ไม่ถูกอีกครึ่งคือ หากเพื่อนๆ จำเป็นต้องเดินทางยาวๆ
ที่ต้องการความมั่นใจ ต้องเปลี่ยนวงล้อให้เกรดสูงกว่า
ไม่พูดถึงพวกล้อเก่านะ เอาล้อใหม่กริ๊ป ซื้อมาแล้วเริ่มใช้งานเลย
ล้อที่มากับรถประกอบสำเร็จ (complete bike)

เช่น รถทัวริ่งป้ายแดงคันแรก ของผมเอง lht รุ่นปี 2010
ผู้ผลิตจะให้ชุด ล้อ 26" มากับ ดุม shimano XT 36H
วงล้อ Alex Adventure(ไต้หวัน) ซี่ไต้หวัน

ทำมาให้ใช้กับ วีเบรค หรือ เบรคผีเสื้อ ( Rims Break system)
ถือเป็นวงล้อที่แข็งแรงเมื่ออยู่ในสภาพใหม่
แต่โครงสร้างวงล้อ จะค่อนข้างบาง เมื่อเที่ยบรุ่นกับล้อถึกค่ายอื่น ที่เกรดสูงกว่า
ซึ่งวงล้อ Rims เกรดสูงๆ เขาจะไม่ให้มากับรถประกอบสำเร็จโรงงาน
แต่เป็นล้อ custom หรือ Assembly by order ที่ผู้ใช้งาน จะต้องสั่งขึ้นล้อเอง


หากใครใช้งานดิสเบรค ก็ข้ามปัญหา
ที่ผมจะกล่าวในเรื่องวงล้อต่อไปนี้ ได้เลย
แต่ปัญหาจะไปตกที่การทะนุถนอมดูแลตัวดิสเบรค และการดูแลใบดิสค์ นั้นแทน


แต่หากเลือกที่ใช้งานหนักกับทัวริ่ง ที่ถึกๆ ทน ตามโจทย์ของ กระทู้นี้ ระบบเบรคที่ถึกทนสุดๆ พังโครตยาก ซ่อมโครตรง่าย
ทนทานต่อการถูกกดทับ ไม่งอไม่เบี้ยว ไม่ต้องกลัวพังชำรุดระหว่างเดินทาง หรือขนส่ง
ที่นิยมใช้กันก็หนีไม่พ้น วีเบรค และ เบรคผีเสื้อ นั้นคือ Rims Break system ซึ่งไม่ต้องกังวนว่าเบรคจะพัง
แต่ต้องใส่ใจกับอายุของวงล้อ หรือ ระยะทางที่ใช้งานวงล้อ จะมีผลโดยตรงกับความบางผนังขอบล้อเนื่องจากการเบรค

วงล้อดีดี สำหรับ Rims Break system จะรองรับการเดินทางได้ถึง 30,000 km
ส่วนวงล้อที่รองๆลงไป หากใช้งานแบบถึกๆ อายุใช้งานจะไม่เกิน 20,000 km . ก็ต้องเปลี่ยนแล้วครับ เพราะ
ขอบวงล้อที่ผ่านการเดินทางไกล ด้านผนังขอบนอก จะเสียดสีผ้าเบรค จากการเบรคของวีเบรคในทุกครั้ง และมันจะบางลงเรื่อยๆ
จนถึงจุดที่ไม่แข็งแรง บางเกินใช้งาน ก็ต้องเปลี่ยนวงล้อ ไม่เช่นนั้นวงล้อจะพังระหว่างเดินทางเช่น ร้าว แตก หรือ วงล้อระเบิด

" วงล้อทำจาก อลู
ซี่ทำจากสแตนเลส
แจ็กเก็ตดุม-ปีกดุมทำขึ้นรูปจากอลู
ลูกปืนล้อทำจากสแตนเลส
ยางนอกในทำจากยางพารา
ในล้อจักรยานหากพิจารณาดีดี แทบจะไม่เห็นชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กเลย "


- เรานักปั่นทุกคนให้ความสำคัญเฟรมเป็นอันดับหนึ่ง และอย่ามองข้ามครับอันดับสองต้องให้ความสำคัญกับชุดล้อ(ดุม ซี่ วงล้อ ยาง)
เพราะล้อชุดนึงใช้ยาวหลายปี ล้อไม่มีล้าสมัย อันดับสาม ท้ายสุด ยกไปให้กับชุดเกียร์
หรือ ชุดขับเคลื่อน ส่วนประกอบส่วนนี้ของจักรยาน เป้นส่วนที่ ชำรุดง่าย เปลี่ยนได้ทุกปี
บางทีไม่ชำรุดก็เปลี่ยน เพราะมีรุ่นใหม่ ปีใหม่ๆมาให้เล่น


ปัจจุบันผมใช้วงล้อ Rigida andra 30 + ซี่ Sapim Race ซึ่งหนามากที่สุด แข็งแรงมากเขาว่าอย่างนั้น
ว่าเป็นขอบล้อ 26 นิ้วที่หนาที่สุดในโลกในตอนนี้ (ปี 2014 ) มันตอบโจทย์งานลุยแหลก ในการฟูลโหลด
แบกน้ำหนักรถพร้อมสัมภาระและคนปั่นรวมเกินร้อยสามสิบกิโลกรัม สามารถกลิ้งล้อ ผ่านเส้นทางที่ผ่านหินลอยก้อนโตๆ
โดยไม่ต้องห่วงน้ำหนักบรรทุกจะก่อความเสียหายต่อวงล้อ


รูปภาพ

ในภาพข้างบน เป็นวงล้อที่ผมใช้งานจริง Rigida andra 30 วงนี้คู่นี้
ผ่านการใช้งานมาประมาณ 15,000 km. ใช้งานทั้งทางดำ และ ทางออฟโร้ด
เดิม Rigida andra 30 วงนี้คู่นี้ ใส่ใช้งานกับทัวริ่งถนน Thorn Sherpa ลุยกันมาอย่างหนัก
ปัจจุบันวงล้อคู่เก่านำมาขึ้นล้อใหม่กับดุมหน้าปั่นไฟของซัน และเกียร์ดุมอีกาล้อหลัง
ใช้งานหนักกว่าและทางโหดกว่าเก่า ใน Thorn Nomad
เมื่อนำเข้าตรวจเช็คสภาพความแข็งแรงและปรับตั้งความตึงซี่
หลังจากผ่านการปั่นทริปหนักๆ และเบรคหนักๆ
ในภาพกำลังตรวจผนังขอบล้อด้วยเหล็กฉาก จะเห็นรอยสึกหรอที่ผนังขอบล้อ เว้าไปเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว
เบรคจนขอบล้อเว้าเข้าไปลึก แต่ยังไม่พัง ยังใช้งานได้ต่ออีกนับหมื่นๆ กิโลเมตร
ปกติวงล้อรุ่นนี้ สามารถใช้งานปั่นรอบโลกทางดำ และ ถนนรถยนต์ทั่วไป ได้ประมาณ 40,000 กิโลเมตร
หรือ แบกขนฟูลโหลดแบบหนักๆแล้วปั่นรอบโลกหนึ่งรอบ โดยยังคงไม่หมดอายุวงล้อ และใช้งานต่อได้อีกระยะ
แต่ ของผม ไปแล้วแค่ 15,000 km. เน้นทริปเที่ยวทางชันภูเขา และทาง 4*4 offroad
เปลี่ยนเฟรมไปสองเฟรม เปลี่ยนดุมแล้วสองรอบแล้ว และขอบเริ่มเป็นร่องตามรอยถูผ้าเบรค สึกไปข้างละ 2 มิลลิเมตร
ทั้งล้อหน้าล้อหลัง ผ่านการสลับวงล้อมาแล้วด้วย rims break แบบหนักๆ
หากเป็นวงล้อรุ่นอื่นที่บางกว่า คงระเบิดไปแล้ว เพราะบางกว่าเยอะ
:lol: :lol: :lol:

- ซี่ (spoke) ไม่ได้เป็นแค่เส้นลวดธรรมดานะครับ ยิ่งเป็นซี่ของจักรยานทัวริ่ง ต้องแข็งแรง ทนทาน รองรับแรงดึงแรงกระชากและน้ำหนักบรรทุก
ซี่(spoke) ที่ดี จะสร้างจากโลหะที่ดี โลหะที่ดีต้องมาจากประเทศที่เก่งโลหะแกร่ง เช่นเดียวกับพวกมีดพับ หากใครเล่นมีด จะทราบเหตุผลข้อนี้ดี
เดิมผมใช้ซี่ DT Swiss รุ่น Champion ปัจจุบันใช้ซี่จากประเทศเบลยี่ห้อ Sapim รุ่น Race ซึ่งทนทานและมีลูกเล่นให้เลือกมากกว่า
ใช้เทคโนโลยีผลิต ที่มี การ Butted และมีระบบกันเกลียวหัวซี่หมุนย้อนคลายตัว ประโยชน์ของ Double Butted Spokes (ที่ความตึงถูกต้อง)
นอกจากแข็งแรงและมี Elasticity สูง ยังลดภาระแรงกระทำที่บ่าดุม ไม่ให้บ่าดุมหรือ ปีกดุมชำรุด เมื่อเกิดมีการกระแทกผิวถนนเช่น ตกหลุม
รูปภาพ
ลองเข้าไปอ่านในนี้สิครับ http://www.dcrwheels.co.uk/custom-wheel ... es-advice/



ภาพ วงล้อชำรุด

คนปั่นทัวริ่งทุกคน ชอบลุย ยิ่งถนนทุระกันดาร ยาก ๆ หากผ่านได้ยิ่งสนุก ยิ่งชอบ เส้นทางโหดทั้งหลายเป็นตัวอริกับวงล้อ
ทุกคนเคยปั่นจักรยานตกหลุมผลคือล้อดุ้งเบี้ยวหรือซี่ขาด แต่หากเป็นจักรยานทัวริ่งบรรทุกฟูลโหลดแล้วตกหลุม
ผลจะหนักกว่าหลายเท่า แล้วหากจักรยานทัวริ่งบรรทุกฟูลโหลดแล้วตกหลุมขณะไหลลงเขายาวๆ ก็ยิ่งรับแรงหลายเท่ากว่า
ภาระการรับมือกับความโหดของผิวถนนจึงตกที่ วงล้อ ซี่ ปีกดุม และยางนอกยางใน รวมกันทั้งชุด

เมื่อเริ่มศึกษาทัวริ่ง ผมคิดเพียงว่าล้อทัวริ่ง ที่ดีทนทาน นิยามแค่ มีซี่ 36 ซี่ นอกนั้นมิได้สนใจเพิ่ม
แต่เมื่อใช้งานจริงมันมีมากกว่า ครับ เรื่องของล้อเป็นทั้งศาสตร์ ศิลป์ และเทคโนโลยีมากมายในล้อจักรยาน
ใช้งานแบบความรู้ผิดๆ ก็พังกลางทริป ผมยกตัวอย่างบางส่วน จากการใช้งานของผู้ปั่นทัวริ่งอย่างหนัก
ที่มิได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบล้อ ผลเกิดหลายแบบ เช่น

1. ใช้งานเกินระยะ เลือกล้อถูกประเภท ใช้งานอย่างเดียว แต่ไม่ตรวจสอบความหนา ขอบลงล้อบางลงจากการเบรค
หากเกินระยะทางที่สเป็คกำหนด จะทำให้ล้อบางจนหมดความแข็งแรง อาการที่ชำรุด วงล้อด้านข้างจะบางลงและ แตก ร้าว บิ่น
2. ด้วยความไม่รู้ เลือกล้อยี่ห้อดีเกรดดี แต่ ผิดรุ่น ผิดประเภท ผิดงาน เช่น เอาล้อ Mavic 32 ซี่ แบบที่ใช้งานกับการแข่ง cross country
มาใช้งานกับทัวริ่งบรรทุกหนัก หรือขึ้นวงล้อ ขึ้นซี่ ผิดไม่ได้มาตรฐาน ล้อใหม่แต่ใช้งานแล้วล้อหัก ล้อเบี้ยวอย่างรุนแรง
การขึ้นวงล้อเขาจะมีสูตร รูปแบบในการไขว้ซี่ เหมือนการสาน ศาสตร์แห่งการขึ้นล้อ
จะรู้ว่าล้อใช้งานประเภทใด ต้องสานซี่แบบใด ความตึงเท่าไหร่ เป็นต้น
3. เลือกใช้ล้อทัวริ่งด้วยความดื้อ เช่น เพื่อนผมหลายๆคนที่ผมสนิท รู้ว่าล้อเก่า ล้อมือสอง ที่ติดมากับรถมือสอง วงล้อแท้แต่ผนังขอบวงล้อบาง
เพราะความเป็นของมือสองถูกใช้งานมาก่อน ซี่ ก้ของแท้จากญี่ปุ่นแต่เก่าๆ แต่เจ้าของเกิดความเสียดาย เพราะดุมมัน XT รุ่นคลาสสิคปี 80
วงล้ออารยา made in ญี่ปุ่น ผนังวงล้อแบบชั้นเดียว single wall เมื่อใช้งานจริงกับทัวริ่งก็พังครับ เจอก่อนเลยคือซี่ขาด
ต่อมาวงล้อเบี้ยว บางคนถึงกับวงล้อระเบิดชิ้นส่วนขอบล้อหลุดแบบในภาพ เพราะนำวงล้อเก่าบางมาใช้กับยางทัวริ่งรุ่นใหม่ที่แรงดันลมยางสูง

ยกตัวอย่างแค่สามกรณี ครับ เพื่อนๆหากสนใจสามารถค้นหาอ่านเพิ่มได้จากเน็ทและ กูเกิ้ล :mrgreen:


ภาพจาก site : http://travellingtwo.com/resources/ask- ... clerimwear
รูปภาพ

ภาพจาก site : http://brianmillerhotrodding.com/b/2013 ... rformance/
รูปภาพ

picture from site : http://gbleakney.blogspot.com/2009/12/b ... -with.html
รูปภาพ

http://gbleakney.blogspot.com/2009/12/b ... -with.html
รูปภาพ

picture from site : http://www.ebikes.ca/troubleshooting.shtml
รูปภาพ

picture from site : http://www.flickr.com/photos/bcc/2947755286/
รูปภาพ


- รถจักรยานทัวริ่ง ที่ทรงประสิทธิภาพ จะแสดงประสิทธิภาพของรถเมื่อมันออกทัวริ่งบนเส้นทางที่หนักหน่วง
ล้อ ของรถจักรยานทัวริ่งที่ทรงประสิทธิภาพ จะแสดงอานุภาพของมันเมื่อ on the way บนผิวถนนสภาพต่างๆ และอยู่ในสภาพรับงานบรรทุก
และล้อทัวริ่งชั้นดี ล้วนเป็นล้อประกอบ Hand Build แทบไม่มีนักทัวร์ทางไกลข้ามประเทศคนใดเลยที่ใช้ล้อสำเร็จจากโรงงาน
และ ร้านทำมือล้อประกอบ Hand Build ในกรุงเทพฯมีหลายร้านที่ติดอันดับต้นๆ ของอาเซียน พวกฝรั่งรอบโลกที่เส้นทางปั่นต้องผ่านเมืองไทย
เขาก็มาทำการซ่อมใหญ่ Big maintainance ฝากผีฝากไข้ กับร้านจักรยานในกรุงเทพบ้านเราเนี่ยแหละครับ
ก่อนที่เดินทางต่อ ฝรั่งเขารู้จักร้านกันดีและบอกต่อ เรานักทัวริ่งคนไทย เจ้าบ้านต่างหาก ที่ไม่ค่อยรู้จัก ร้านเหล่านั้น
ต่อให้เฟรมเจ๋งแค่ไหนหากล้อพังกลางทางก็จบทริปครับ ฉะนั้นล้อสำคัญมากจริงๆ


ขออนุญาต พี่เวช และโยคิม นะครับ เพื่อยกตัวอย่างข้อมูลโปร เป็นประโยชน์ต่อ พี่ๆ น้องๆ ครับ จาก site : http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 7&t=751896
เวช-สวีเดน เขียน:สวัสดีค่ะ

ขออภัยคุณแมวเขาที่เข้ามาตอบช้าไปเยอะ เวชยังใช้ Trek คันเดิมค่ะ ตัวเตี้ย ๆ หาเฟรมยาก อืม.. มีแต่เฟรมเท่านั้นแหละค่ะที่ยังคงเดิม
ที่เหลือเปลี่ยนมาสามสี่หนแล้วมั้งค่ะ ส่วนตะเกียบเปลี่ยนเป็น Surly เพื่อทริปนี้โดยเฉพาะ ล้อไปขึ้นที่น้องหมา Bok Bok Bike
สภาพยังดีอยู่ มันสมบุกสมบันมาก เปลี่ยนอานมาใช้ของฝรั่งเศส Gilles Berthoud เห็นเขาว่าดีเลยลองดู เปลี่ยนปุ๊บเอาไปปั่นที่พามีร์ไฮเวย์
ก็ไม่มีปัญหา แต่มามีปัญหาที่นี่ตอนปั่นเข้าไปในทะเลทราย หวังว่าไม่ใช่เพราะอาน แต่เป็นเพราะอากาศที่ร้อนและทำให้เปียกชื้น
ตอนนี้อยู่ที่คัชก้าที่จีน น่าจะอีก 2 วันเราจะลุยต่อเข้าไปในทะเลทรายทาคลามาคัน ยังไม่ได้เลือเส้นทางเลยค่ะว่าจะไปทางเหนือหรือใต้ของทะเลทราย .....
รูปภาพ
นที่เดินทางต่อ ฝรั่งเขารู้จักร้านกันดีและบอกต่อ เรานักทัวริ่งคนไทย เจ้าบ้านต่างหาก ที่ไม่ค่อยรู้จัก ร้านเหล่านั้น
ต่อให้เฟรมเจ๋งแค่ไหนหากล้อพังกลางทางก็จบทริปครับ ฉะนั้นล้อสำคัญมากจริงๆ


ขออนุญาต พี่เวช และโยคิม นะครับ เพื่อยกตัวอย่างข้อมูลโปร เป็นประโยชน์ต่อ พี่ๆ น้องๆ ครับ จาก site : http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 7&t=751896
เวช-สวีเดน เขียน:สวัสดีค่ะ

ขออภัยคุณแมวเขาที่เข้ามาตอบช้าไปเยอะ เวชยังใช้ Trek คันเดิมค่ะ ตัวเตี้ย ๆ หาเฟรมยาก อืม.. มีแต่เฟรมเท่านั้นแหละค่ะที่ยังคงเดิม
ที่เหลือเปลี่ยนมาสามสี่หนแล้วมั้งค่ะ ส่วนตะเกียบเปลี่ยนเป็น Surly เพื่อทริปนี้โดยเฉพาะ ล้อไปขึ้นที่น้องหมา Bok Bok Bike
สภาพยังดีอยู่ มันสมบุกสมบันมาก เปลี่ยนอานมาใช้ของฝรั่งเศส Gilles Berthoud เห็นเขาว่าดีเลยลองดู เปลี่ยนปุ๊บเอาไปปั่นที่พามีร์ไฮเวย์
ก็ไม่มีปัญหา แต่มามีปัญหาที่นี่ตอนปั่นเข้าไปในทะเลทราย หวังว่าไม่ใช่เพราะอาน แต่เป็นเพราะอากาศที่ร้อนและทำให้เปียกชื้น
ตอนนี้อยู่ที่คัชก้าที่จีน น่าจะอีก 2 วันเราจะลุยต่อเข้าไปในทะเลทรายทาคลามาคัน ยังไม่ได้เลือเส้นทางเลยค่ะว่าจะไปทางเหนือหรือใต้ของทะเลทราย .....
รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย ซาเล้งสีแดง เมื่อ 29 พ.ค. 2015, 13:41, แก้ไขแล้ว 36 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
potae08
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1591
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มี.ค. 2013, 16:37
team: ผมเพื่อนใคร..ก็ได้ว่ะ..
Bike: ไม่บอกเดี๋ยวโดนขโมย

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย potae08 »

ได้ความรู้อีกแล้ว :D :D
trongsak
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1876
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 12:35
Bike: giant

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย trongsak »

ไม่ได้เข้ามาขัดแย้งกับคุณซาเล้งสีแดงนะครับ..แต่ต้องการเอาข้อมูลจริง.ที่ตัวเองใช้อยู่มาบอกกล่าว.ผมใช้ขอบล้อ Alexrims 36 รู.ซึ่ลวดใต้หวัน
นั้นละครับ.ใช้มา 2 ปีกับ 5 เดือน.ระยะทางปั่นกว่า 40,000 กิโลเมตร.บรรทุกสำภาระแต่ละครั้งอยู่ที่ 35-45 กิโลกรัม.ไม่ได้ออกไปต่างประเทศ
บ่อยนัก.แต่ก็ลุยหนักพอสมควร.
-กับขอบล้อวงละ 500 บาท.ผมว่าสุดคุ้ม..ส่วนวงล้อคด.วงล้อร้าว.วงล้อแตก.ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการตกหลุมใหญ่ ๆ.ที่ความเร็วสูง.บ่อย ๆหรือกระแทก
หนัก ๆ ตามคอสะพานเสียมากกว่าครับ..อุบัติเหตุอย่างนี้ถึงล้อจะหนาขนาดไหนก็เอาไม่อยู่เมื่อกันละครับ.
-ขอบล้อหมดสภาพ.(ยางผมสูบต่ำสุดที่ 45 สูงสุดที่่ 65 )ต้องสูบที่ 40 เพราะถ้าใส่ลมมากกว่านั้นขอบล้อจะพองออก.ทำให้เบรคติด..อีกอาการที่
บอกให้รู้คือ.เวลาเบรคมันจะกินไม่เสมอ.ติดดีบางไม่ดีบาง.(ผ้าเบรคเปลี่ยนใหม่).ลองนั้งสังเกตดู.จะเห็นวงล้อบางไม่เท่ากัน.
-อีกอย่างที่สำคัญ.คือการบำรุงรักษา.หลังจากจบทริปแต่ละครั้ง.นอกจากล้างทำความสะอาดรถแล้ว.ต้องตรวจดูว่าซี่ลวดรถของเรามีซี่ไหนบางที่
หยอนไป..จับบีบดูก็พอจะรู้ครับ.รองปรับแต่งดู.ถ้าไม่มันใจก็พาไปให้ที่ร้านทำให้..แล้วอย่าลืมดู.และสอบถามวิธีการตรวจสอบจากเขาบาง.จะดีมาก
เหตุผลง่ายนิดเดียว.บอกเขาตรง ๆ.เวลามันไปเสียกลางทางเราจะได้ทำได้..เขาคงไม่ใจดำถึงกับไม่ยอมบอกให้เรารู้หรอกครับ..
-ถ้ามีเงินก็ซื้อไปเลยครับตามที่คุณสาเล้งสีแดงบอกดีกว่าแน่นอนครับ..แต่ถ้ามีไม่มากขอบล้อขนาด alexrims 36 รูใช้ได้แน่นอนครับ.
ลุงศักดิ์
รูปประจำตัวสมาชิก
ซาเล้งสีแดง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 22913
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 15:13
Tel: 0893200104
team: อกาลิโก
Bike: สับถังเขียวแก่ Fuji Olimpic finest 1970-เขียวอ่อน Bianchi VIRATA 1990 - Dahn Helios p8 - วีนัส Thorn Sherpa 2011 -วีนัส Thorn Raven Nomad MK2 s&s

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย ซาเล้งสีแดง »

:mrgreen: ขอบคุณ ลุงศักดิ์ ครับผม ปั่นล้อคู่นี้ ผ่านมา 40000 km. แล้วเหรอครับ เยี่ยมจริงๆ
นี่วงล้อคงผ่านการสัมผัสผ้าเบรคมาไม่น้อย เป็นจริงดั่งคำที่ว่า
" ยอดขุนกระบี่ แม้นในมือคือกิ่งไม้ก็สามารถใช้เป็นกระบี่ดี "
แม้นว่าจะสามารถใช้งานกิ่งไม้แทนกระบี่ได้เพราะเยี่ยมวรยุทธกว่าบุคคลทั่วไป
แต่ที่สุดแล้ว หากไม่ร้างลายุทธภพไปเสียก่อน
" จอมกระบี่ ก็ย่อมเสาะหากระบี่ดี คู่กาย เสมอ "
เพราะอุปสรรคในวันข้างหน้า อาจหนักกว่าที่เคยได้ผ่านมา
จะต่ำมาตรฐานไปก็ถือเป็นเรื่องประมาท อันนี้เป็นความจริงของโลก :mrgreen: :mrgreen:

- เห็นต่างหลายๆมุมในเชิงเทคนิค ยิ่งผ่านการใช้งานจริง จากหลายๆ คน แล้วช่วยกันนำมารวมกัน วิเคราะห์กัน ทั้ง ผู้อ่าน ผู้ใช้งานจริง ผู้ซื้อ ผู้ผลิต
ประโยชน์ก็เกิดกับทุกคนโดยกว้างขวาง ผมขอเพิ่มข้อมูลวงล้อจักรยาน 36H สำหรับฟูลโหลดทัวริ่งประเภท heavy duty ในท้องตลาดทั่วโลกในวันนี้
ทั้งล้อ 26" นิ้วและล้อ 700 c เรียงจากคุณภาพสูงสุดลงไปหาล่างสุดครับ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ขอบล้อ 26 นิ้ว 36H สำหรับทัวริ่ง
Rigida Andra 30 CSS
Rigida Grizzly CSS
Rigida Andra 30 for Rohloff
Mavic XM719
Rigida Andra 30
Rigida Grizzly
SUN Rhyno
SUN CR18
Rigida Sputnik
KINLIN XM-250
Sun CR18
Alex Adventurer 

ขอบล้อ 700C 36H สำหรับทัวริ่ง
Mavic A719
Mavic A319 (Black & Silver)
Rigida Sputnik
Alex Adventurer 

- วงล้อไต้หวัน อเล็กริม ทำทั้งล้อทัวริ่ง ทั้งล้อยี่สิบหก และล้อเจ็ดร้อย Alex Adventurer rim เป็นรุ่นที่ดีและแข็งแรงมากของค่ายอเล็ก ใช้งานได้กับงานทัวริ่งหนักๆ ราคาไม่สูง เป็นล้อที่นิยมติดมากับ คอมพลีทไบท์ อย่างเช่น surly LHT จะให้วงล้อนี้มากับรถตั้งแต่โรงงาน แต่หากเทียบเกรดความแข็งแกร่งและอายุการใช้งานหนักๆ เทียบกับวงล้อคู่แข่งตัวอื่นที่ผมเรียงมาข้างต้นนั้น เทียบชั้นแล้วอยู่ล่าง ครับ

วงล้อ 26 " ของ Alex Adventurer rim โครงสร้างตามรูป หากวงล้อใหม่ๆ เอาเครื่องมือวัดความหนา เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ วัดขอบนอก ถึง ขอบบอก จะหนา 24.5 mm. หากเหลือบางลงสัก 3 mm. ควรรีบเปลี่ยน

- เพื่อนๆ หลายๆ ท่าน ที่เข้ามาอ่าน และใช้งานวงล้อ alexrims ตัวนี้คงตัวนี้ร้อง อ้าว.. ล้อเราไม่ดีหรือเปล่า แน่นอนว่าเกรดเป็นรอง แต่ไม่ใช่ใช้งานไม่ดี นะครับ เพียงแต่ล้อมันสึกหรอไว ไปไวกว่า ตามราคา เหมือนอะไหล่รถยนต์เกาหลี ถูกตังค์กว่าอะไหล่เบ็นซ์เยอรมัน แต่ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานก็ย่อมสั้นกว่าเป็นเรื่องธรรมดา หากเราเลือกที่จะใช้งานวงล้อเกรดล่าง ต้องหมั่นตรวจความหนาของล้อก่อนออกทริปยาวๆ หนักๆ หากบางเกินก็เปลี่ยนวงล้อใหม่ไม่ต้องเสียดายเพราะมันราคาถุกไม่เปลืองอยู่แล้ว

- ผมไปนั่งดูฝรั่งที่ปั่นข้ามทวีป มาเปลี่ยนล้อ ขึ้ึนล้อใหม่หมด ล้อเดิมเขาทิ้งยกชุด มองด้วยสายตา แทบไม่เห็นว่าล้อเดิม พัง หัก เลยนะ แต่มันถึงระยะ ผนังวงล้อมันบาง เขาไม่ปล่อยให้ไปพังกลางทาง

- ต้องยอมรับกันก่อนนะครับว่า วงล้อ(Rim) เป็นชิ้นส่วนของจักรยานที่มีการสึกหรอ และเมื่อถึงอายุหรือระยะทางการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด ยิ่งวงล้อที่ใช้งานกับวีเบรค ผนังวงล้อที่สัมผัสผ้าเบรคมันจะบางลงเรื่อยๆตามการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เรายังฟูลโหลดที่น้ำหนักลุยๆอย่างเดิมเดิม การเปลี่ยนวงล้อจะต้องเปลี่ยนก่อนเมื่อผนังบางลงถึงจุดก่อนที่ล้อจะเกิดการชำรุด แต่ล้อดีดีจะสึกหรอช้ากว่าใช้งานได้ระยะยาวไกลกว่า พอดีว่า กระทู้ผู้ถาม ตั้งชื่อไว้ว่า ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง นั่นคือต้องการเอามาใช้สมบุกสมบัน คงเลี่ยงเรื่องตกหลุมไม่ได้ครับ ผมก็เลยเอาข้อมูลมาเรียงลำดับให้ดู หลายค่าย หลายยี่ห้อ เพื่อให้น้องๆ มีข้อมูลเปรียบเทียบ ที่มิใช่คำบอกเล่า เราผู้ใช้ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง เพราะในความเป็นจริง คุณภาพขึ้นกับต้นทุนของผู้ผลิต และเทคโนโลยี การรับรองการใช้งานเราต้องดูข้อมูลจากผู้ผลิต และข้อมูลการทดสอบ เป็นหลักครับ ส่วนการใช้งานหนักแล้วยังไม่พังนั้นดีแล้วครับ ยิ่งรู้ว่าผ่านมา 40000 km. อย่าใช้งานจนพังเลยครับระหว่างออกทริปจะเสี่ยง อยากให้ไปตรวจความหนาของวงล้อครับ

- ย้ำอีกครั้งครับ ปั่นน้อยๆ นานๆปั่นออกทริปทัวริ่งสักที ล้อไม่สึกหรอครับ ใช้ล้อเกรดไหนก็แทบไม่แตกต่างขอให้ล้อวงนั้นอยู่ในสภาพใหม่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน แต่หากท่านออกทริปจนต่อเนื่องทั้งปี ชอบทัวริ่งจนเข้ากระดูก ระดับเสพติดการทัวริ่ง เมื่อนั้น รถจะกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในร่างกายเราเป็นแต่เป็นอวัยวะที่เราเองสามารถเลือกได้ กำหนดให้ดีได้ เลือกวงล้อเกรดสูงเถอะครับ การเลือกวงล้อจักรยานทัวริ่งก็เหมือนการเลือกช่วงล่าง เลือกช่วงขา การใช้วงล้อเกรดล่าง การสึกหรอจะไวกว่า เมื่อเลือกที่จะใช้งานจะต้องหมั่นตรวจความหนา ในรูปบน หากวงล้อใหม่ๆ ของ Alex Adventurer rim เอาเครื่องมือวัดความหนา เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ วัดขอบนอก ถึง ขอบบอก จะหนา 24.5 mm. หากเหลือบางลงสัก 3 mm. ควรรีบเปลี่ยนครับ เพราะใช้กับงานฟูลโหลดจะเสี่ยง ยิ่งตอนลงเขาเบรคต่อเนื่อง อย่าปล่อยให้บาง จนล้อชำรุด พังเสียหายระหว่างการใช้งาน แบบภาพด้านบน เพราะนอกจากรถจะเสียหาย ยังอันตรายต่อนักปั่นด้วย :mrgreen: :mrgreen:

ปล. กระทู้นี้ดี ขอบคุณ เสือ Tartac จขทก. เป็นคำถาม มาจากคนเริ่มต้นทัวริ่ง และต้องการข้อมูลเปรียบเทียบคุณสมบัติในเชิงเทคนิคที่จะเป็นแนวทาง สำหรับเพื่อนๆ ไปหาแหล่งข้อมูล และต่อยอดการเรียนรู้ได้ในระดับรายละเอียดลึกๆได้ด้วยตัวท่านเอง และขอ เชิญพี่ๆ เพื่อนๆ ที่มีข้อมูลร่วมกันแชร์ ผมขอให้ข้อมูลเพียงเท่านี้ เท่าที่ผมชัวร์ ครับ โลกเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงมาก ความรู้หาได้ง่ายมาก หากเปิดใจ หากใครสนใจเรื่องล้อมากกว่านี้ แค่ก็อปปี้ชื่อ ภาษาอังกฤษ ของวงล้อ รุ่นนั้น แล้ว search google ข้อมูลจะมาเพียบ ทั้งเสป็ค ข้อมูล รูปถ่าย ทั้งจากโรงงานผู้ผลิตและจากผู้ใช้งานจริงทั่วโลกครับ

โครงสร้างวงล้อ 26 " ของ Alex Adventurer rim (ขอบคุณภาพจาก site : http://velospec.com/components/alexrims/adventurermtb )
ไฟล์แนบ
alex.jpg
alex.jpg (12.19 KiB) เข้าดูแล้ว 4572 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย ซาเล้งสีแดง เมื่อ 03 เม.ย. 2015, 12:34, แก้ไขแล้ว 25 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
จำรัส ละหานทราย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1039
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 10:47
Tel: 087 261 7279
team: -

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย จำรัส ละหานทราย »

ปักไว้อ่าน ขอบคุณครับ
muanchon
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 217
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ธ.ค. 2010, 09:49
Bike: ปั่นไปเรื่อย

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย muanchon »

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องขอบล้อสึกครับ
ได้ข้อมูลจากทางร้านประจำว่า ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่งว่า
โดยปกติ ถ้าเราใช้ผ้าเบรคทั่วไป หรือ แม้แต่ผ้าเบรค XT ก็ตาม ผ้าเบรคยังถือว่าแข็งพอควร จะกินขอบเบรคไปเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งาน
แต่
ถ้าใช้ผ้าเบรคดี ๆ ร้านบอกว่า เปลีย่นให้นักปั่น touring ขาเที่ยวหลายคน โดยเฉพาะผ้าเบรค kool stop ซึ่งผ้าเบรคจะเนื้อนุ่ม และที่สำคัญมาก คือ มันไม่กินขอบล้อครับ ทำให้อายุการใช้งานของขอบล้อยาวนานขึ้นมากโข ร้านบอกว่า นับคนได้เลยที่มาเปลีย่นผ้าเบรคอีกครั้งถ้าได้เปลี่ยนผ้าเบรค kool stop เพราะมันทั้ง นุ่ม และทนมาก ทำให้ผมสรุปได้คร่าว ๆ ว่า
ถ้าได้ผ้าเบรคดี ๆ แบบนี้ดังเช่นร้านว่า จะทำให้ขอบเบรคเราใช้ได้นานคงทนกว่าปกติ แถม ประสิทธิภาพการเบรคยังดีกว่าเบรคเดิม ๆ ติดรถอีกด้วย
เป็นตามนี้จริง ก็น่าคิด ว่าการลงทุนกับผ้าเบรคดี ๆ จะช่วยลดความเสี่ยง อาการขอบล้อหมดอายุได้ ซึ่งการเปลีย่นขอบล้อครั้งหนึ่ง มีค่าใช้จ่าย ที่มากกว่า ผ้าเบรคมาก
รูปประจำตัวสมาชิก
nop_master
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1593
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ค. 2012, 18:49
team: 347
Bike: Evo SL3 Transistion Surly

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย nop_master »

ตามนี้เลย ผมว่า เอาอยู่
ไฟล์แนบ
1378864338491.jpg
1378864338491.jpg (76.37 KiB) เข้าดูแล้ว 4800 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
nop_master
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1593
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ค. 2012, 18:49
team: 347
Bike: Evo SL3 Transistion Surly

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย nop_master »

ขอบ MAVIC ดุม XT
รูปประจำตัวสมาชิก
peoplepok
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 272
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 16:19
Tel: 0883905035
team: สถานีปั่นเพื่อการบันเทิง
Bike: dahon

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย peoplepok »

ได้ความรู้ ประกอบการตัดสินใจ ดีมากมาก ครับ
PK@KP
Rit by Tanin
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1977
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2012, 08:33
ติดต่อ:

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย Rit by Tanin »

การเลือกล้อรถทัวริ่ง ไม่จำเป็นต้องเลือกที่ "แข็ง" มากเกินไป
เพราะซึ่ลวดมีตั้ง 36 แล้ว ที่แข็งนั้นก็ต้องแข็งนะ แต่ไม่ต้องถึงกับแข็งทื่อ

ที่สำคัญคือวัสดุว่าเป็นเกรดไหน ขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร
ความกว้างมาก หรือน้อยไปหรือไม่

ยกตัวอย่างของ Mavic XM 719
(มีจำหน่ายอยู่หลายร้านในไทย)
รูปภาพ
รูปทรงก็ดูปรกติ แต่...ให้ดูข้อมูลโดยภาพรวมด้วย
ETRTO compatible size: 559 x 19
Recommended tyre widths: 1.50 to 2.30
Valve hole diameter: 8.5 mm, supplied with valve adapter
Recommended nipple length: 12 mm
Recommended rim tape: 559 x 20 x 0.6
.
รูปภาพ
Light and strong Exclusive to Mavic, this specific aluminum alloy offers a higher weight to strength ratio than conventional 6106 alloy.
30% more resistant rims
Lighter rims
.
รูปภาพ
ที่สำคัญคือจุดเชื่อมต่อ
เพราะหากว่าขอบล้อโดยรวมแข็งมากแค่ไหนก็ตาม แต่ล้อทุกล้อจะต้องมีจุดเชื่อมต่อของวัตถุดิบที่นำมาขึ้นรูปเป็นวง
รูปภาพ
ดูจากภาพนี้ได้ เป็นแบบที่ไม่ได้เชื่อมต่อ โอกาสเสียหายจะมากกว่า
ไม่ใช่ไม่ทนต่อการใช้งาน แต่มีความเสี่ยงสูงกว่า
.
อีกส่วนคือการเลือกขนาดความกว้าง
หากแคบไป ก็อาจจะเกิดการบิดตัวได้ง่ายกว่า แต่การให้ตัวก็สบายมือกว่า หรือขึ้นอยู่กับเป้าหมายการใช้ขนาดยางด้วย
หากกว้างไป ก็อาจจะทำให้แข็งหรือทื่อ เกินไปเช่นกัน อย่างเช่นเอาขอบล้อของพวกรถกระโดนมาใช้งาน เพราะมันจะกว้างมาก
Rit จักรยานทัวริ่งไว้ปั่นเที่ยวทางไกล Rit
พูดคุยกับ Rit Bicycle Touring Club ใน ThaiMTB
ติดตามพูดคุยทาง Facebook.com/RitBicycle
การโอนเงิน: ธานินทร์ ฤตวิรุฬห์ ธ.ไทยพาณิชย์ 364 2345 034
Rit by Tanin
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1977
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2012, 08:33
ติดต่อ:

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย Rit by Tanin »

ที่สำคัญไปไม่น้อยกว่าการเลือกใช้ของดีของถูกต้องกับการใช้งาน
ต้องอยู่ที่การดูแลด้วย ง่ายๆจบการปั่นแต่ละวันหากมีเวลา
เช็ดทำความสะอาดขอบล้อ และเช็ดทำความสะอาดยางเบรค เท่านี้ก็ช่วยได้มาก
Rit จักรยานทัวริ่งไว้ปั่นเที่ยวทางไกล Rit
พูดคุยกับ Rit Bicycle Touring Club ใน ThaiMTB
ติดตามพูดคุยทาง Facebook.com/RitBicycle
การโอนเงิน: ธานินทร์ ฤตวิรุฬห์ ธ.ไทยพาณิชย์ 364 2345 034
สนั่น อันทเกตุ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2802
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 14:51
ติดต่อ:

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย สนั่น อันทเกตุ »

ได้ความรู้ในอีกด้าน
ขอบคุณ ครับ คุณธานิน
"ลูกอิสานพลัดถิ่น จากแดนดินไหปลาแดก เร่ร่อนรอนแรมเดินทางดั้นด้น มาสู่โคนต้นสะตอ ณ เรือนเวียงวิมาน(รูปประจำตัว)คือที่มั่นสุดท้ายของข้าฯ"
รถก็ไม่แพง-แรงก็ไม่มี เลยรั้งท้ายทีม หึ หึ


คลิ๊ก ทริป "บินเดี่ยว ทางไกล ตามใจฝัน"
Huad1991
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 571
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 16:55
Tel: 098xxxxxxx
team: -
Bike: classic bike

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย Huad1991 »

ได้รับความรู้เป็นอย่างมากครับ
ประสาท พาศิริ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 438
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 20:27
Bike: Thorn Sherpa MK3 (2012) / RIT (2014) / Cinelli Bootleg Hobo (2013)

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย ประสาท พาศิริ »

:)
"Nothing compares to the simple pleasure of a bike ride." John F. Kennedy.
รูปประจำตัวสมาชิก
pokemon2010
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 416
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 12:17
Bike: Giant , Rit , Merida , Dahon ,La

Re: ขอคำแนะนำ ดุมล้อ และขอบล้อ ทนๆสำหรับทัวร์ริ่ง

โพสต์ โดย pokemon2010 »

ปักความรู้
. รถเบาอยู่ที่เงิน รถเร็วอยู่ที่แรง รถแพงๆ ไม่ได้อยู่ที่เรา
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”