ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

เฟืองใหญ่สำหรับขึ้นเขานั้น ผมจำไม่ได้ว่าอ่านความเห็นของเสือท่านใดมา ต้องขออภัยด้วยที่จำนามแฝงมาอ้างอิงไม่ได้ แต่เป็นความเห็นที่ "ตรงใจ" และ "ถูกใจ" มากครับ

เสือแต่ละท่านจะมี "รอบขา" ที่ถนัดและใช้ในการปั่นฯ ขึ้นเขายาวๆ ไม่เหมือนกัน แต่มักจะเป็นรอบขาคงที่จำนวนหนึ่งเช่น 45 รอบ/นาที หรือ 50 รอบ/นาที ต้องเอารอบขานั้นมาใช้คำนวนกับอัตราทด ซึ่งถ้าได้ความเร็วที่ "ต่ำกว่าการเดิน" คือ 3 - 4 กม./ชม. เฟืองท้ายนั้นใหญ่เกินไปและไม่เหมาะสมครับ ถึงจะปั่นฯ ได้แต่ความเร็วขนาดนี้ "ลงเข็นดีกว่า" และง่ายกว่า ดังนั้นอัตราทดที่เหมาะสมคืออัตราทดที่ทำความเร็วในการขึ้นเขาได้ประมาณ 5 - 6 กม./ชม. สำหรับเสือภูเขาและจักรยานทัวริ่ง แต่ก็จำเป็นที่ต้องหาอัตราทดรองลงไปไว้เพื่อ เปลี่ยน Mode/พักรอบขา ด้วยเหมือนกันนะครับ ดังนั้นเกียร์สำหรับขึ้นเขาไม่ได้มีความจำเป็นเฉพาะเกียร์ 1 เกียร์เดียว ควรจะต้องมองความ "ต่อเนื่อง" ของเกียร์ 2 และ 3 ไว้ด้วยเนื่องจากว่าเขาบางลูกไม่ได้ขึ้นอย่างเดียว บางช่วงอาจจะมีการขึ้นเนินสลับกับลงเนินหรือ "ลงหุบ" ด้วยครับ

ส่วนเสือหมอบไม่ต้องไปพูดถึงครับ ผมเคยเจอเสือหมอบขึ้นเขาด้วยความเร็ว 10 - 15 กม./ชม.มาแล้ว :mrgreen:
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
Tanma
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 82
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 08:23
Tel: 089-184-8188
Bike: Specialized Hardrock 2012

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย Tanma »

มาเก็บความรู้
รูปประจำตัวสมาชิก
breeze
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1892
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 16:14
Tel: 0849407000
team: ยังไม่มีสังกัด แต่อยู่แถวพระราม 5 บางกรวย ครับ
Bike: Dahon Archer P18 , Anchor CX900

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย breeze »

ขอบคุณพี่เสือ Spectrum มากครับ

ผมเองก็ยังประสบการณ์น้อยในการปั่นขึ้นเขายาวๆ

แต่มีข้อจำกัดที่มีรถจักรยานแค่ 2 คัน คันหนึ่งเป็นรถพับ ก็ไม่ต้องพูดถึงเลย ตั้งใจไว้ใช้งานภายในเมืองแทนรถยนต์

อีกคันก็ไว้ออกกำลังกายและไปท่องเทียว

เลยอยากจะอัพเกรดให้เหมาะกับขึ้นเขาหน่อย แต่ยังคงความสามารถในการใช้ออกกำลังกาย ใช้ปั่นเร็ว ใช้ฝึกได้ด้วย (จากความจำเป็นที่มีแค่ 2 คัน)

สำหรับผม เฟือง 11-34 จึงน่าจะลงตัวแล้วครับ ส่วนจานหน้า ก็ต้องลองดูกันไป

ใจจริงอยากใช้เฟือง 50 เลยด้วยซ้ำ เพราะมีอาการหมด อย่างที่พี่เสือ Spectrum เล่ามาหลายครั้งทีเดียว คือ หมุนขาเร็วกว่านี้ไม่ไหวแล้ว หรือลงสะพานมา รถไม่นิ่งในความเร็วสูง จนต้องลดความเร็วลงให้พอเหมาะ (แต่ก็ดีปลอดภัยดี)


ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

เรื่องเฟืองหลัง ผมยังติดแนวคิดโบราณอยู่ครับ

"Less is More" - ยิ่งน้อยยิ่งได้กำไร

เฟือง 8 เฟือง 9 ได้ความต่อเนื่อง ได้จำนวนเกียร์ให้เลือกเยอะกว่า (แต่บางทีก็ไม่ได้ใช้งาน)

เฟืองน้อยกว่า 7 ลงไป ได้กำไรเรื่องราคาของอุปกรณ์ที่ถูกมาก และ "ความทนทาน" ในการใช้งานครับ ยิ่งเทียบน้ำหนักรวมก็ไม่ต่างจากอุปกรณ์ 8 - 9 - 10 เกียร์เท่าไร แต่เรื่องสำคัญคือมันไม่พังกลางทางง่ายๆ เหมือนพวกเกียร์เยอะครับ :mrgreen:

ส่วนความเร็วเดินทางหรือ Max Speed นั้นหลายท่านคงเคยเจอด้วยตัวเองว่าแม้แต่เฟือง 14 ฟันก็ทำความเร็วปลาย/ความเร็วเดินทาง ได้สวยไม่แพ้เฟืองที่เล็กกว่าหากคำนวนอัตราทดได้ลงตัวเหมาะสม ส่วนปัญหาความต่อเนื่องของรอบขาในย่านความเร็วสูง เฟืองรุ่นเก่ามักจะใช้เฟืองเรียงแค่ 2 หรือ 3 เฟืองปลายเช่น ในเฟือง 5 ชั้นของ Suntour.....19-17-15-14 หรือเฟือง 8 ของ Shimano ก็มักเรียงเป็น .....16-14-12-11 หรือ .....17-15-13-11

แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ :D

พูดถึงเฟือง 7 ชั้นมีเฟือง Sram ถ้าจำรหัสไม่ผิดคือ PG-7 เป็นเฟือง 12-32 ครับ กำลัง"สวยงามมาก" :D สำหรับงาน Touring ที่สำคัญราคาแค่ 500 บาทเอง หายากนิดหน่อย แต่ผมเคยซื้อได้จากร้าน M-Bike พระรามเก้า ครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

breeze เขียน:
ลงสะพานมา รถไม่นิ่งในความเร็วสูง จนต้องลดความเร็วลงให้พอเหมาะ (แต่ก็ดีปลอดภัยดี)
ความจริงการลงเขานั้นมันมีอันตรายมากจนแทบเรียกได้ว่าแต่ละครั้งถ้าลงเขาด้วยความเร็วมันก็เท่ากับเราเป็นคนที่ "ใกล้ขิดความตาย" หรือ "ใช้ดวงเปลือง" ทีเดียวครับ

แต่ในความเสี่ยงก็มี "ความรู้" แฝงอยู่ครับ

การลงเขาด้วยความเร็วที่ค่อนข้างสูงได้อย่าง "มั่นใจ" องค์ประกอบที่สำคัญนอกจากระบบเบรคและระบบขับเคลื่อนที่ดีอย่างที่เราคุยกันผ่านมาแล้ว อุปกรณ์ส่วนอื่นก็มีความสำคัญเช่น ระบบลูกปืนคอต้อง แน่น ไม่หลวม คลอนหรือคลายตัวง่าย(คอนิ้ว)

อีกเรื่องหนึ่งที่มีผลต่อความ "นิ่ง" ในการลงเขาด้วยความเร็วสูงคือ "การปรับแต่งวงล้อ" ครับ

1. ล้อหน้า-หลัง ต้องได้ศูนย์คืออยู่ในแนวเดียวกันและไม่เยื้องกันอันอาจจะมีผลต่อทิศทางและการทรงตัวเวลาเบรค ยกตัวอย่างเช่นหากล้อหลัง "เยื้องศูนย์" กับดุมไปทางซ้ายของเฟรมในขณะที่ล้อหน้าเยื้องศูนย์กลับกันคือเยื้องศูนย์ไปทางขวา ผลเวลาปั่นฯ ทางเรียบคือกินแรงมากขึ้นและผลเวลาต้องเบรคแรงๆ คือหน้ารถจะสะบัดพุ่งไปทางขวาครับ ในขณะที่รถที่ปรับแต่งวงล้อให้ได้ศูนย์ตรงกันจะแทบไม่เกิดอาการสะบัดเวลาเบรคเลย

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อธิบายง่ายแต่ทำความเข้าใจหรือปฏิบัติยาก

วิธีตรวจสอบง่ายๆ คือหงายจักรยาน ปรับล้อหน้าให้หันในทิศทางหรือแนวเดียวกับเฟรมและล้อหลัง จากนั้นก็ยืนหน้าหรือหลังรถ เล็งด้วยสายตา เราจะเห็นความปรกติหรือไม่ปรกติของแนวศูนย์ล้อครับ (เครดิตคุณจ๊าบ/99 city Bike)

ถ้ายังไม่แน่ใจก็เอาไม้เมตรหรือไม้ที่ตรงๆ ยาวๆ ทาบวัดล้อหน้ากับล้อหลังเลยครับว่าตรงแนวกันหรือเปล่า

2. การปรับวงล้อไม่ให้ส่ายซ้าย/ขวา เวลาวงล้อหมุน ซึ่งหากทำได้ละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งมีผลต่อความ "นิ่ง" ของเฟรมที่ความเร็วสูงมากตามไปด้วยครับ ตรวจสอบได้ง่ายๆ (ล้อหลัง) ด้วยการหมุนบันใดให้ล้อหมุนด้วยความเร็วสูงบนขาตั้ง เวลา "ฟรี" บันใดหากล้อหมุนต่อด้วยอาการ "ส่าย" หรือ "สะบัด" ของหางหลังแสดงว่าเวลาลงสะพานหรือลงเขาด้วยความเร็วสูงรถจะ "ไม่นิ่ง" และควบคุมยาก

ล้อหลังเป็นล้อส่งกำลังดังนั้นถ้าล้อไม่นิ่งจะมีผลต่อการขับขี่มากกว่าล้อหน้าครับและหากล้อหลัง "ส่าย" ก็เดาได้ว่าล้อหน้าคงมีอาการไม่แตกต่างกัน :mrgreen:

3. ดุมล้อต้อง "ไม่คลอน"

นึกข้อมูลเพิ่มเติมได้แล่้วจะมาเล่าต่อครับ :D
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
breeze
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1892
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 16:14
Tel: 0849407000
team: ยังไม่มีสังกัด แต่อยู่แถวพระราม 5 บางกรวย ครับ
Bike: Dahon Archer P18 , Anchor CX900

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย breeze »

ขอบคุณครับ

ความรู้ล้วนๆ ต้องกลับไปลองที่บ้านดูซะแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
APM
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 549
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 15:11
Tel: 0819143591
Bike: Trek, Surly LHT, Rit

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย APM »

breeze เขียน:ขออภัยทุกท่านครับ

ขออย่าให้หลงประเด็นครับ

เราคุยกับเรื่องการจัดชุดขับเคลื่อน โดยใช้โจทย์ของผมเป็นตัวตั้ง

จริงๆ ผมได้คำตอบแล้ว เพราะคำถามสำคัญของผมคือ "มันทำงานร่วมกันได้ไหม ถ้าเอาหมอบกับภูเขามาผสมกัน"


ส่วนเรื่องเฟืองที่คุยๆ กันต่อมา มันเป็นการต่อยอด เป็นผลพลอยได้ที่ดี

บางท่านเข้ามาอธิบายโดยใช้โจทย์พื้นฐานตัวเองบ้าง โจทย์พื้นฐานแนวทางที่ควรบ้าง

ซึ่งสำหรับผม เป็นเรื่องดีครับ เพราะมันเป็นแนวทางพื้นฐาน เป็น Best Practice ที่ดี ที่ผมควรไปคิดต่อว่าจะเลือกอะไรให้เหมาะกับตัวเอง

ส่วนผู้อ่านแต่ละท่าน จะเลือกใช้จานอะไรก็แล้วแต่ความเหมาะสมของคนๆ นั้นนะครับ


ส่วนผมที่เลือกมาเป็น 48-36-26 กับเฟือง 11-34 ก็เพราะผมรู้ว่าเส้นทางต่างๆ ที่ผมไป เฟืองเหล่านี้ช่วยผมได้ และครอบคลุมทุกการใช้งาน โดยแทบไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อยๆ

แต่ถ้าผม Full Load ประจำ แบบพี่โอ ผมอาจจะเลือก 44,32,22 ก็ได้

ดังนั้น ประเด็นที่ว่า 48-11 หนักไปสำหรับทัวริ่ง ผมเชื่อครับ (ผมถึงเปลี่ยนความคิดจากเฟืองหมอบเป็นภูเขา เพราะหมอบมันตั้ง 50) แต่ผมเลือกไว้ที่ 48 เพราะ เวลาที่ผมไม่ได้ไปทัวริ่ง หรือเวลาไปออกทริปวันเดียว ที่ไม่ได้โหลดกระเป๋าอะไรไป ชุดเกียร์นี้ ก็ช่วยให้ผมทำความเร็ว ปั่นสนุกได้

และผมรู้ขอบเขตตัวเองดีครับ ด้วยเฟือง 48-13 ผมปั่นได้ 50-52 km/h มันคือ รอบขาที่เกิน 100 รอบต่อนาที

ซึ่งใครฝึกประจำก็คงโอเค แต่สำหรับผม รอบขาที่สบายที่สุดสำหรับผมคือ 75-80 รอบ ดังนั้นการอัพเกรดด้วยเฟืองหลัง 11-34 ก็จะให้ผมได้มีโอกาสใช้ชุดเกียร์ 48-11 ซึ่งช่วยให้ผมสามารถฝึกกล้ามเนื้อตัวเองให้แข็งแรงขึ้นได้อีกระดับ และช่วยให้เวลาปั่นเร็วๆ ไม่ต้องใช้รอบขาสูงมากนักได้


แม้ว่ามันอาจจะหายากหรือไม่ยาก แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่ชุดจานที่หายง่ายๆ อย่าง 44-32-22

แต่มันเป็นชุดเฟืองหน้า เฟืองหลัง ที่เข้ากับตัวผม และไลฟสไตล์การไปทั่วริ่งแบบผม ครับ

หรือวันหนึ่งที่ผมมีโอกาสไปทริปเขาตลอดเวลา หลายๆ วัน ผมอาจยอมซื้อเฟืองหน้าใหม่เป็น 44-32-22 ก็ได้ เพราะผมรู้ว่า 48 มันไม่เหมาะ
-------------------------------------------
สรุป ผมคงเปลี่ยนเฟืองหลังเป็น 11-34 ก่อน แล้วตรวจสอบชิฟเตอร์ผมว่ารองรับเฟือง 3 ชั้นหรือเปล่า (Sora ธรรมดาเลย)

ถ้ารองรับ ผมคงเปลี่ยนเฟืองหน้าเป็น ดิโอโร่ 48-36-26

แค่นี้ก็ขึ้นเขาสบายๆ แล้ว เพราะมีชุดเกียร์ 26-34 ซึ่งให้อัตราทดที่ต่ำกว่า 1 อยู่แล้วอีกตัว
จากการเดินทางทางภาคเหนือของไทย ตามแนวชายแดน เฟือง 11-34 เพียงพอแล้ว ประเด็นจะอยู่ที่ จานหน้ามากกว่า ถ้าอยากจะได้ 48-36-26 ก็พอใช้ได้แต่มันสร้าง

ความกังวลใจ อยู่เล็กน้อยตรงจานหน้า 26 หลัง 34 สำหรับการบรรทุกหนักเต็มที่ เส้นทางที่ชันมากๆ เช่น ดอยอ่างขาง, ปางอุ๋ง หรือ ภูเรือ และต้องปั่นขึ้นหนักๆเกือบทั้งวัน

ผมแนะนำให้ เปลี่ยนเฉพาะใบเล็กสุด เป็น 22 จะช่วยให้มีตัวช่วยเ้ป็นกำลังใจไว้เวลาหมดแรง ดีที่สุดครับ (เสือภูเขา ดิโอเร 4 รู ทำได้ แต่ถ้าเป็นเสือหมอบ จาน 5 รู ทำไม่ได้)

ปัญหาใหญ่จะอยู่ที่การผสม ชุดเกียร์, สับจานหน้า และ จานหน้า ของเสือภูเขา และเสือหมอบ เข้าด้วยกัน

มีข้อจำกัดตรง ชุดเกียร์ และ สับจานหน้า , เบรค และ มือเบรค จะออกแบบระยะดึงไว้ไม่เท่ากัน ผสมกันแล้วใช้ได้ไม่ดี ไม่เนียน

ส่วนจานหน้าควรดูที่ เฟรมว่าเป็นเสือหมอบ หรือเสือภูเขา เพราะแนวโซ่จะออกแบบไว้ไม่เท่ากัน ถ้าใช้ผสมจะต้องแก้เรื่องแนวโซ่ให้ได้ก่อน (โดยการรองแหวนเสริม)

แนะนำให้หลีกเลี่ยงการผสม จะได้ไม่ปวดหัว รถทัวร์ริ่ง หลายรุ่น แก้ปัญหานี้ด้วย ชิฟเตอร์ปลายแฮน ครับ
ปั่นในเส้นทางใหม่ๆ ไปกับเพื่อน...สบายใจ
รูปประจำตัวสมาชิก
suabao
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 818
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 08:50
Tel: 0898344405
team: ทีมวัฒนานคร
Bike: White Klein, Oyama

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย suabao »

กูรูทัวร์ริ่งตัวจริงมาตอบเองเลยพี่อำนาจ นั่นแหละถ้าจะเก็บทุกดอย สอยทุกภูต้องหน้า22หลัง34ถึงจะพออุ่นใจได้ครับ ต่อไปก็อยู่ที่แรงแล้วว่าฟิตแค่ไหน
suabhao
รูปประจำตัวสมาชิก
liwan
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 645
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 16:41
team: Alone
Bike: Bianchi Attivo/ Missile stout/Specialized Sirrus

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย liwan »

ซึ่งถ้าได้ความเร็วที่ "ต่ำกว่าการเดิน" คือ 3 - 4 กม./ชม. เฟืองท้ายนั้นใหญ่เกินไปและไม่เหมาะสมครับ ถึงจะปั่นฯ ได้แต่ความเร็วขนาดนี้ "ลงเข็นดีกว่า"

ผม อยู่หาดใหญ่ขึ้นเขาทั้งปี สวนสาธารณะ กะ ช่อง 10
ปั่นคุยกับคนที่เค้าเดินขึ้นตลอดเหมือนกัน ความเร็วต่ำมากๆ
เพราะไมล์แสดงเป็นศูนย์ เมื่อความเร็วต่ำกว่า 3.5 km/hr
แต่ผมว่าลงเข็นเหนื่อยกว่านะ ส่วนตอนลง ยังไงก็ไม่เกิน 40
ไปได้ เพราะปั่นมาหลายปี ไม่เคยรีเซ็ตค่า ค่าความเร็วสูงสุด
ยังอยู่ที่ 39.5 เอง ผมใช้จานหน้า 44/32/22 เฟือง 11-32
ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

ภูเขาในภาคกลางที่ชาวเสือฯชอบไปปั่นฯ กันบ่อยๆ ก็คือเขาใหญ่ระยะทางจากพื้นราบถึงน้ำตกเหวนรก 10 กม.ครับ

สมมุติว่าคุณปั่นฯ โดยมีเป้าหมายไปให้ถึงยอด (ประมาณ 15 กม. จากพื้นราบ) ปั่นฯ โดยไม่หยุดพักเลย ความเร็ว 2 กม./ชม. ใช้เวลา 5 ชั่วโมงยังไปได้แค่น้ำตกเหวนรก ประมาณ 8 ชั่วโมงน่าจะถึงยอดเขา นี่เป็นความเร็วแบบไม่มีน้ำหนักบรรทุกอย่างที่คุณเล่ามานะครับ แล้วหากว่ามีน้ำหนักบรรทุกสัก 20 กก. ผมไม่แน่ใจครับว่าจะปั่นฯ ทรงตัวด้วยความเร็วต่ำๆ กับน้ำหนักบรรทุกมากๆ ได้หรือไม่

ดังนั้นความเร็วต่ำมากเหมาะแค่การปั่นฯ เล่นสนุกๆ ครับ ปั่นฯเดินทางจริงๆ ด้วยความเร็วขนาดนี้ข้ามเขาสัก 1 ลูกไม่ใช้เวลา 1 - 2 วันหรือครับ

ส่วนเรื่องความเร็วลงเขาหากทางตรงมากๆ ผมเคยทำได้ 40 + แต่ได้ยินว่าเสือฯบางท่านได้ถึง 50 - 60 ส่วนคลิปใน Youtube ต่างประเทศที่เคยดูเสือหมอบตัวเปล่าๆ ลงเขาด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. ก็มีครัีบ จริงๆ ลงเขาด้วยความเร็วขนาดนี้เป็นเรื่องอันตรายแต่มาเล่าไว้แค่ว่าบางท่านทำได้ด้วยความเร็วขนาดนี้จริงๆ ครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
kobfujar
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3594
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 11:41
Bike: Bridgestone DiamondRock ชมพู-ดำ(เก่าๆ)
ตำแหน่ง: ถ.ประชาชื่น ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย kobfujar »

ช่วงลงเขาเป็นช่วงที่อันตรายมากครับ..ผมเคยสูงสุดที่ 63 กม.(ช่วงกม.แรกๆ..ลงเขาจากเขตอ.เชียงม่วนลงไปอ.บ้านหลวง)แตะเบรคแทบไม่ทัน..

ส่วนใหญ่อันตรายที่น่าจะมีได้..(อาจมากกว่านี้)
-มีถนนชำรุดและหลุมมาก หรือ เศษกิ่งไม้ขวางทาง(พบบนเส้นทางไปอ.เบตงจากหลักกม.ที่ 22 ลงไป อาศัยรถน้อยเลยไปไหลลงทางเลนขวา :) อ้อ..ช่วงลงไหลเขาไปอ.บ้านหลวงก็มีถนนชำรุดและหลุมใหญ่ด้วย)
-เบรคไม่ทันจนหลุดโค้ง(ผมเกือบๆอยู่ 2 ครั้ง :) )
-ยางระเบิด..ไม่ว่าจากสภาพของยาง หรือ การเบรคย้ำนานๆโดยเฉพาะวีเบรค (กรณีนี้ผมไม่เคยเจอ ผมจึงอาศัยการจอดพักให้ขอบล้อคลายความร้อนเสมอๆ)

ก็อาจมีกรณีอื่นๆอีกแต่ตอนนี้นึกไม่ออกครับ..แล้วคนอื่นๆเคยประสบเจอหรือคิดว่าน่าจะมีกรณีไหนอีกไหมครับ :D
รูปประจำตัวสมาชิก
breeze
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1892
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 16:14
Tel: 0849407000
team: ยังไม่มีสังกัด แต่อยู่แถวพระราม 5 บางกรวย ครับ
Bike: Dahon Archer P18 , Anchor CX900

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย breeze »

ขอบคุณทุกท่านครับ

ได้คำตอบเพิ่มเติม

1. แก้ปัญหาถาวรเรื่องระยะดึงของระบบขับเคลื่อนที่ไม่เหมือนกันระหว่างหมอบกับภูเขา ด้วยชิฟเตอร์ปลายแฮนด์ (แอบเซ็งเล็กๆ เพราะชอบมือตบมากกว่า)

2. เฟืองหลัง 11-34 น่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด

3. ปัญหาอยู่ที่เฟืองหน้า ถ้าเส้นทางที่ไป ไม่ได้ชันมากมาย เขาซึม เฟือง 48-36-26 ก็พอไหว แต่ถ้าภูเขาล้วนๆ ขึ้นเขาชันๆ 44-32-22 น่าสนใจกว่า

4. การขึ้นเขา ถ้าปั่นแล้วช้ากว่าเดิน ก็อย่าปั่นเลย ลงมาเข็นดีกว่า (เหนื่อยน้อยกว่า)
เสือ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 795
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 12:28

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย เสือ »

แรงมี = ใหว
แรงไม่มี = ไม่ใหว

ไม่น่าจะซีเรียสนะครับ เลือกทดเกียร์เยอะๆ เข้าใว้ ขอให้ชุดขับแมทกันก็พอ ถ้าใหวขาแรงก็หน้าใหญ่หลังเล็กได้ตามแรง เรื่องใหว ไม่ใหว อย่าไปเชื่อใครครับ เชื่อตัวเองดีที่สุด :D :D :D
รูปประจำตัวสมาชิก
DraftBeer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4495
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 17:08
Tel: 0814461178
team: รั้งท้ายทีมลื่นไหล
Bike: Dale-Red, Venge-Red, Titanos-XX1, Tendem, CRF250X, MSX
ตำแหน่ง: 15 ซ.ผาสุก2 ถ.กาญจนวนิช อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
ติดต่อ:

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย DraftBeer »

เรื่องเข็ญ กับ เดิน อันไหนเหนื่อยกว่า
จากประสบการณ์การเข็ญขึ้นเขา :mrgreen: :mrgreen: จะมี 2 แบบ

1.ลงเข็ญเพราะปั่นมานานกล้ามเนื้อล้าไม่มีแรงกด แบบนี้เดินสบายกว่าเพราะใช้กล้ามเนื้อคนละมัดกัน ลงจากรถแล้วสามารถเข็ญได้เลย
2.ลงเข็ญเพราะเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แบบนี้เข็ญจะเหนื่อยกว่าปั่น ลงจากรถแล้วต้องจอดก่อน บางครั้งมีอาการวูบๆตอนลงจากรถ :P
แบบนี้แก้ปัญหาโดยการพักให้หายเหนื่อยก่อนแล้วค่อยเข็ญเพราะมันขึ้นปั่นไม่ได้ชันเกิ้น :D
แต่ตอนเข็ญจะรู้สึกเหนื่อยกว่าปั่นทำให้เข็ญช้ามากๆไปได้ช้ากว่ามาก
>>ห า ด ใ ห ญ่ ลื่ น ไ ห ล ► ► ► ► ที ม เ ร า ไ ม่ ไ ด้ มี แ ค่ จั ก ร ย า น !

ถึงพวกเราจะไม่นำหน้าสุด แต่ก็ไม่เคยหลุดจากขบวน............รั้งท้าย team
รูปประจำตัวสมาชิก
RainyWizard
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 43
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 16:28
team: ไม่มี
Bike: เสือหมอบ (ทัวร์ริ่ง) ล้อ 700x32c - 16 Speed - มือเกียร์อยู่ที่คอ
ตำแหน่ง: ธนบุรี / กทม.
ติดต่อ:

Re: ข้อสงสัยในการจัดชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับทัวริ่ง

โพสต์ โดย RainyWizard »

พอดีจะแปลงรถเป็น ลูกผสมแบบนี้เหมือนกัน เลยศึกษาพวก รายละเอียดอุปกรณ์ ว่าจะเอาของ มือเกียร์/เบรค หมอบ มาใช้กับเฟืองของ ภูเขาได้หรือเปล่า

เห็นหลายที่ รวมทั้งรถสำเร็จ ก็มีใช้ เลยมั่นใจ สุดท้าย ตายตอนจบครับ เพราะ "ตีนผี" ของหมอบ ใช้กับชุดเฟืองของ mtb บางขนาดไม่ได้ครับ อันนี้ทำเอาเศร้า ส่วนใหญ่ ตีนผีหมอบ จะรองรับเฟืองใหญ่สุดได้แค่ 27-28 ฟันเท่านั้น ในกรณีของคุณต้องการใช้ถึง 34 ฟัน อันนี้ไม่มีตีนผีรุ่นไหนของ หมอบ รองรับครับไม่ว่าจะเป็น Sora, Tiagra, 105

แต่ถ้าใช้ตีนผีของ mtb อย่างของ Deore รุ่น RD-M591-S อันนี้เป็นแบบขาสั้น (สั้นของ mtb) ก็สามารถรองรับ จานที่มีฟันถึง 34T ได้ครับ

ทีนี้ ก็ต้องดูที่ชุดจาน กับตีนผี แล้วก็มือตบ ที่จะใช้ร่วมกัน ว่าจะใช้ 8 - 9 - 10 ชั้นครับ ค่อยมาจัดชุดใหม่
============================
ปั่นเล่นๆ ไม่จริงจัง ... แต่ไปตามใจอยากไป ...
============================
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”