Fuji Touring Review ตอนที่ 3 ทำไมล้อหลังจึงเกิดปัญหารูด

บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
กฏการใช้บอร์ด
บอร์ดสำหรับ นักปั่นทัวร์ริ่ง นักปั่นระยะทางไกล พูดคุยเรื่องอุปกรณ์ เทคนิตการปั่น ที่พัก หรือการกินอยู่
ตอบกลับ
รูปประจำตัวสมาชิก
jackal2008
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1388
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 14:23
Tel: 087.198.0944
team: none
Bike: Fuji Touring 2016

Fuji Touring Review ตอนที่ 3 ทำไมล้อหลังจึงเกิดปัญหารูด

โพสต์ โดย jackal2008 »

รูปภาพ

Fuji Touring Review ตอนที่ 3

ในรีวิวอันนี้ จะเป็นการแสดงความคิดเห็นว่าทำไม จึงเกิดปัญหาเรื่องการรูดของล้อหลัง ของเจ้า fuji touring และทำไมการใช้แผ่นเพลทยึดแบบที่บอก มันถึงสามารถแก้ปัญหาของการรูดของล้อหลังได้ โดยผมได้ทำการเรียบเรียงใหม่ จากคำชี้แนะของพี่สงกรานต์ (Songkran Supachavalit)

ดูรูปก่อนนะครับ เราจะลากเส้นสีแดง เป็นเส้นแนวตั้งและแนวนอน กับหูหิ้วของล้อหลัง จะเห็นว่า ทางฝ่ายออกแบบของ fuji ได้ทำการออกแบบให้แกนล้อเมื่อใส่เข้าไปในหุหิ้วแล้ว จะมีองศาใกล้เคียงกับ 90 องศามาก นั่นคือแทบจะเป็นแนวราบเลย ซึ่งต่างจากหูหิ้วของรถตัวอื่นที่จะออกแบบให้หูหิ้วมีการเอียงตัวประมาณ 45 องศา (เส้นสีน้ำเงิน)

เอาละมาดูกันว่า ของฟูจิ ที่ออกแบบมาให้แนวนอนเกือบ 90 องศา ส่งผลให้ล้อหลังรูดได้อย่างไร การปั่นจักรยาน ระบบเฟืองและโซ่ หรือพูดง่ายๆ ระบบขับเคลื่อนจะอยู่ทางด้านขวาของล้อหลัง ดังนั้นเวลาเราออกแรงถีบจักรยาน เพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้า มันจะมีแรงดึงล้อหลังให้เคลื่อนตัวมาข้างหน้าที่เกิดจากแรงปั่นของเราตลอดเวลา ดังนั้น ล้อหลังทางฝั่งขวา มันจะพยายามเลื่อนตัวออกตลอดเวลา เพราะมีแรงดึงจากการปั่นของเรานั่นเอง ดังนั้นพอออกแบบให้หูหิ้วเป็นแนวราบ มันก็เลยเป็นมุมที่สะดวกที่สุดที่ล้อจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ด้วยเหตุผลนี้ เวลาใส่แกนปลดจึงต้องล็อคให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อดึงไม่ให้ล้อหลังเลื่อน เพราะไม่มีตัวอื่นจะช่วยยึดล้อหลังทางฝั่งขวาไม่ให้ไปข้างหน้าเลย นอกจากแรงยึดจากแกนปลด

ส่วนของยี่ห้ออื่น ที่เขาไม่ออกแบบแนวราบและให้ทำมุมอยู่ประมาณ 45 องศา ก็เพราะเมื่อเราปั่นจักรยาน เมื่อแกนล้อพยายามจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า มันจะไปได้ยากเพราะจะถูกน้ำหนักของจักรยาน ของที่บรรทุก กดเอาไว้ ทำให้แกนล้อจะอยู่ในหูหิ้วไม่เคลื่อนตัวมาข้างหน้า ดังนั้น จึงสามารถล็อกแกนปลดให้แน่นปรกติก็สามารถจะอยู่ได้

รูปภาพ

การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตามที่ผมได้รับคำแนะนำและนำมาเผยแพร่ต่อก็คือ การใส่แผ่นเพลท ทางด้านขวาของล้อหลัง (ใส่ด้านเดียวนะครับ ห้ามใส่สองด้าน) มันจะช่วยแก้ปัญหานี้ เพราะเมื่อล้อมันจะเลื่อนมาข้างหน้า อีกทั้งยังทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักที่จักรยานบรรทุก กับน้ำหนักของคน ลงไปกดดุมล้อด้านขวา ทำให้ล้อไม่สามารถเลื่อนไปข้างหน้าได้ ทำให้ปัญหาที่เป็นเหมือนยาขมหม้อโตนี้ หมดไปทันที

ส่วนที่ทำไมทาง fuji ถึงยังยืนยันที่จะออกแบบนี้ ทั้งที่ทราบปัญหานี้อยู่ อันนี้ตอบยากมากมาย แต่น่าจะเป็นเพราะการออกแบบตัวนี้จะทำให้การรับน้ำหนักบรรทุกของในด้านหลัง มาอยู่ที่เฟรมโดยตรง เพราะเขาเชื่อมั่นว่าเฟรมของเขาแข็งแรงมาก สามารถที่จะให้เฟรมรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องแบ่งภาระไปให้อุปกรณ์ส่วนอื่นแบกรับด้วย (แต่นี่เป็นเพียงแนวคิดอาจจะไม่ใช่เช่นนั้นก็ได้)

หากเพื่อนๆ ท่านไหนเก่งๆ ภาษาอังกฤษ หรือหากผู้จำหน่ายในเมืองไทย ได้มีโอกาสอ่านบทความนี้ แล้วส่งให้ทาง Fuji Bike ได้อ่านและชี้แจงมา จะขอบคุณเป็นอย่างมาก

บทความนี้ อาจจะส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ หากต้องมีการรับผิดชอบ สามารถติดต่อผมได้โดยตรงครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “ทัวร์ริ่ง (Touring)”