คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ....... ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

เชิญชวนเพื่อนๆมาออกทริปแบบกันเอง ไม่มีทีมงานจัดการปั่นอย่างเป็นระบบมากนัก ดูแลกันเองพอสมควรในหมู่เพื่อนฝูง

ผู้ดูแล: ผู้ดูแลบอร์ดชมรมย่อย

รูปประจำตัวสมาชิก
พิงธรรม์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3440
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 13:35
Tel: 08-7938-2688
team: สถาบันการปั่นท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
Bike: ทัวริ่ง Trek 470
ตำแหน่ง: 181 ซอยพระรามเก้า 41 ถนนเสรีเก้า เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง กรุงเทพ 10250
ติดต่อ:

คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ....... ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

โพสต์ โดย พิงธรรม์ »

รูปภาพ

เริ่มปั่นวันเสาร์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ล้อหมุน ๘.๐๐ นาฬิกา
จุดเริ่มต้น ภายในสนามกิฬาหัวหมาก รวมกลุ่มที่หน้าบริเวณรูปปั้นนักกล้าม หน้าหอพัก ๓๐๐ เตียง

แผนปั่นแต่ละวัน ดังนี้ครับ

รูปภาพ

หมายเหตุ โพสแก้ไขเมื่อ 24/10/2012
-ปรับรูปแบบตารางให้อ่านง่ายขึ้น
-และเพิ่มข้อมูลการใช้เวลาปั่นจริงของขาแรง
(เวลาที่ใช้เป็นเวลารวมที่นั่งปั่น ไม่ได้คิดรวมเวลาพัก เผื่อให้ผู้สนใจปั่นได้ใช้วลาดังกล่าวเป็นแนวทางประเมินขาของตนเองคำนวณเวลาปั่นจริงแต่ละวันของตน กะแบ่งเวลาแวะทำกิจกรรมการเที่ยวบ้าง นอกจากปั่น :mrgreen: :mrgreen:

วันศุกร์ที่ ๒ พย. เพิ่มเติมเส้นทางปั่นคร่าวๆให้ดูพอเรียกน้ำลาย แล้วไปปั่นเก็บให้หมดตามประมาณแผนที่นี้ครับ
thaiparagliding เขียน:ลองทำเส้นแผนที่เส้นทางการปั่นทั้งทริปดูครับ แต่ยังไม่สมบูรณ์ครับ :twisted:
และถนน ก็อาจจะไม่ใช้ทางที่จะปั่นจริงครับ (เป็นเส้นทางที่ GGMap แนะนำครับ) เอาไว้ดูคร่าวๆเป็นแนวทางครับ..

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ

ขอเติมหมายเหตุนิดนึง...
ว่าขอขอบคุณคุณอ๊อด ที่ทำแผนที่ให้

ทั้งผมขออนุญาตใส่เนื้อเล่าความเป็นมา ของเส้นทาง


หนึ่ง...ต้องการเลาะตะเข็บเพื่อนบ้านสุดๆครับ

ทีนี้ไอ้ส่วนที่เจตนาจะให้มันวกห่างจากขอบแดน ก็ช่วงปั่นจากเชียงคานแล้วตั้งใจจะให้เก็บทุกดอยสอยกะนทุกภูแถวเลย แถวเพ็ชรบูรณ์ ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า แบบอยากเก็บให้หมดไอ้ที่มันโหด ไอ้ที่มันชัน ปีหน้าคงจะเพิ่มอีกซักหน่อย เก็บซะด้วยแถวเขาค้อ

สอง...ไอ้ที่แหว่งวกเข้าเมืองน่าน ปีแรกที่ผมเขียนเส้นทาง เคยปั่นเส้นที่เลาะตะเข็บจากบ่อเบี้ยหาเรื่องเข้าน่านทางแม่จริม แบบว่าให่มันอ้อมเล่นซะโก้ๆ

ปั่นสองครั้งในช่วงห่างสามปีของสี่ห้าปีที่แล้ว แปลกจริงมีถนนช่วงนึงเป็นถนนลูกรังสุดโหดซักสิบกิโล แต่หัวท้ายดันราดยางซะดิบดี คุยไปคุยมากะชาวบ้านเขาว่างบมันคนละส่วน ไอ้ที่โบ๋งบแต่ละคนมันก็หมด :roll: :roll:

ครับตอนชวนปั่นปีที่หนึ่ง ก็ไม่อยากพาพรรคพวกไปลำบาก ปีหน้าไม่แน่ ไปดูที ชวนปั่นไปดู ดูว่าไอ้ถนนช่วงที่เขาเกี่ยง มันเสร็จแล้วหรือยัง :evil: :evil:

สาม...อีกท่อนนึง ที่มันแหว่งไม่ได้เลาะติดชายแดน ตรงช่วงจากแม่สายมุ่งเชียงใหม่ครับ ไม่กล้าเอาไปลุยเส้นที่อยู่เหนือติดขอบพม่า ฟังว่าทางมันโหดและชันเกิน

สี่...อยากโม้ครับ ช่วงปลายสุดไทยที่หาดเล็ก พอเรานอนที่หาดราชการุณย์แล้ว เราก็ปั่นเลียบชิดตะเข็บเขมรเลย ผ่านบ่อไร่ไปอำเภอโป่งน้ำร้อน ไอ้Gmap ที่คุณอ๊อดหามา มันคงจะนึกไม่ถึงว่าเราจะหาเรื่องไปปั่นโหดดงระเบิดแถวตรงนั้น :twisted: :twisted: มันถึงไม่แสดงเส้นทาง :lol: :lol:
แก้ไขล่าสุดโดย พิงธรรม์ เมื่อ 01 พ.ย. 2012, 14:06, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง


Touring in Style...by Jaruek
ประวัติคนเกษียณชวนปั่นประเพณีปีละครั้ง ฉบับย่อ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &start=885
รูปประจำตัวสมาชิก
พิงธรรม์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3440
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 13:35
Tel: 08-7938-2688
team: สถาบันการปั่นท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
Bike: ทัวริ่ง Trek 470
ตำแหน่ง: 181 ซอยพระรามเก้า 41 ถนนเสรีเก้า เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง กรุงเทพ 10250
ติดต่อ:

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย พิงธรรม์ »

รายละเอียดการปั่นฉบับขุดจากกรุ เชิญดูครับ

รูปภาพ


กติกาแผ่นที่ 1
รูปภาพ

กติกาแผ่นที่ 2
รูปภาพ

กติกาแผ่นที่ 3
รูปภาพ

กติกาแผ่นที่ 4
รูปภาพ

กติกาแผ่นที่ 5
รูปภาพ

กติกาแผ่นที่ 6
รูปภาพ

กติกาแผ่นที่ 7
รูปภาพ


;) ;) ;)


ขอเพิ่มเติม "เคล็ดวิชาก่อนออกศึก"...
พี่อำนาจท่านเขียนจากประสบการณ์ปั่นสองปีก่อน มาบอกเล่า


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ



ขอบคุณท่านเต โป๊สเตอร์"Te-Mu-Jin"เป็นอย่างมาก ที่ออกแบบรูปเล่มตำรา และเขียนโป้สเตอร์ชวนปั่น สุดสวย ดูดี เรียกลูกค้ามาดูเรื่องชวนปั่น เพิ่มเรทกระทู้ได้อักโข :D :D :D
แก้ไขล่าสุดโดย พิงธรรม์ เมื่อ 02 ก.ย. 2012, 22:31, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง


Touring in Style...by Jaruek
ประวัติคนเกษียณชวนปั่นประเพณีปีละครั้ง ฉบับย่อ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &start=885
รูปประจำตัวสมาชิก
พิงธรรม์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3440
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 13:35
Tel: 08-7938-2688
team: สถาบันการปั่นท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
Bike: ทัวริ่ง Trek 470
ตำแหน่ง: 181 ซอยพระรามเก้า 41 ถนนเสรีเก้า เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง กรุงเทพ 10250
ติดต่อ:

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย พิงธรรม์ »

เป็นห่วงผู้เฒ่า อยากร่วมปั่น กลัวท่านมีปัญหาตาไม่ดี อ่านชวนปั่นฉบับขุดจากกรุลำบากเหลือ

เดี๋ยวจะเอาฉบับแปล แกะจากคัมภีร์เป็นฉบับปริ้นท์ออกจากคอมพ์ตั้งฟอนต์เป็นแบบง่าย อ่านง่ายหน่อย มาให้ดู :P :P
.
.
.
คนเกษียณชวนปั่นประเพณีครั้งที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๕๕

๘๑ วัน ๕,๒๐๗ กิโลเมตร
๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
จุดเริ่มต้น สนามกิฬาราชมังคลาสถาน การกิฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก กรุงเทพ


วัตถุประสงค์ของการชวน

เพื่อชักชวนท่านนักปั่นจักรยาน ที่ชื่นชอบยึดถือเอาการปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายอย่างจริงจัง จนทำหรือติดการปั่น ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ถึงขนาดที่จะนั่งปั่นจักรยานให้มันไหลไปทั้งวัน พ้นขั้นช่วงบ่นว่าเจ็บตูด

จนถึงขั้นปั่นเที่ยวเตร่ออกไกลบ้าน ถึงขั้นปั่นได้ไกลเกินกว่าจะกลับบ้านมากินข้าวที่เมียหุง ถึงขั้นหอบมุ้งหมอนเอาเต้นท์ไปนอนกัน หอบหม้อแบกเตาไปทำกิน

ปั่นแบบนี้เห็นวงการเรียกกันเป็น "พวกปั่นจักรยานแบบทัวริ่ง ประเภทอยากทำตัวเองให้ลำบาก"

หรือบางท่านใจมันอยาก อยากทัวริ่งเยี่ยงแบบนี้ แต่เกรงความลำบากนอนในเต้นท์หุงข้าวกิน ซ้ำขับถ่ายในป่าไม่เคยลอง ก็มาลองปั่นดู...เชิญชวนครับ เส้นทางปั่นสิบวันแรกจัดของเบาให้ลองกัน หากไปไหวก็ไปต่อ ไม่ไหวก็กลับบ้าน ไม่เสียอะไรซักนิดเดียว

ครับ...ก็เพื่อชักชวนท่านนักจักรยานแบบทัวริ่งหรือจะเริ่มฝึกเป็นทัวริ่งอย่างที่บอก มารวมกลุ่มเป็นหมู่คณะปั่นจักรยานทางไกลในประเทศ ปั่นต่อเนื่องกันทุกวันกว่าสองเดือน ระยะทางมากกว่า ๕,๐๐๐ กิโลเมตร หวังผลว่ามันจะทำให้ร่างกายเราได้ออกกำลังแบบแอโรบิค ให้ร่างกายกลับฟื้นคืนแรงแข็งขัน ยิ่งกว่าเดิม

ทั้งตั้งใจทำต่อเนื่องกันทุกปี ประจำปีๆละครั้งเป็นประเพณีสืบต่อไป

ในปีนี้ทำกันเป็นปีที่สาม

คงใช้เส้นทางเดิม เป็นเส้นทางเริ่มจากกรุงเทพมุ่งสู่ตะวันออกสู่ตราด แล้วเริ่มยึดเส้นทางเลียบตะเข็บชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เรื่อยไปจนถึงแม่ฮ่องสอน ก่อนจบโปรแกรมปั่นที่เชียงใหม่ ปั่นเก็บทุกดอยสอยทุกภูตลอดเส้นทาง แถมพกด้วยดอยทุกดอย ภูทุกภู ในพื้นที่จังหวัดเพ็ชรบูรณ์ ทั้งภูทับเบิก ภูหินร่องกล้า อช.ต่างๆตามเส้นทางก็ถูกเก็บยึดเป็นที่นอนหมดละครับท่าน

ท่านใดก่อนไปปั่นตามชวนปั่น ปั่นเส้นทางนี้ โปรดเถอะครับ...

ผมคนโพสชวนขอซักอย่าง อย่างเดียวก่อนไปปั่นตามผมชวน ท่านโปรดตอบตัวเองได้ว่ามั่นใจ ได้ฝึกตนจนเก่งถึงขั้นปั่นตอนลงเขานั้น"เอามันอยู่" สำคัญจริงคือโปรดฝึกตน โปรดฝึกปั่นลงเขาแบบระวังตัวไม่ประมาทให้เพื่อน"เสียว"

อย่างเดียวครับที่ขอ เรื่องความประมาทและการประมาณฝีมือตนนั้นสำคัญจริงว่าเส้นกั้นเรื่อง"เอาอยู่หรือไม่อยู่"นั้นมันตรงไหน กับการชวนปั่นเส้นทางนี้ให้ปลอดภัย

ขืน"เอาไม่อยู่"มันจะกลิ้งตกลงมาตัวอย่างนั้นมันมี เกือบถึงตาย เพราะเส้นทางที่ชวนปั่น"เขา"ทั้งนั้น ท่านใดยังไม่เคยได้เล่น"เขา" ลองพิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนก่อนจะไปตามผมชวน หรือฝึกซ้อมให้"เชี่ยว"ก่อนไปก็จะดี

ชวนถึงขั้นนี้ ท่านนักปั่นที่ขาก็พอแข็งทั้งแรงกายก็พอมี ท่านใดหากโชคดีไม่ติดขัดเรื่องสำคัญปัญหาเรื่องเวลา ท่านใดพอจะปลดตัวเองออกจากภาระการงานเรื่องทางบ้าน ช่วงเดือนพฤศจิกายนจนข้ามปีไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ของศกใหม่ เชิญนะครับ มาปั่นกันตามผมชวน

อย่าไปติดอยู่ตรงด้วยกายถูกใจสะกัดไม่มาเพราะไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักใครก็ไม่มา หรือรู้จักกันจนเกลียดกัน...ก็ไม่มา :roll: :roll:

มาเถอะครับ ปั่นกันกว่าสองเดือน จะชอบแบบปั่นเฮฮาเกาะกันไปกะคนชอบ ก็มีครับกลุ่มเฮฮาหรือวงเหล้า ความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือจะปั่นหาความสงบของตนเอง หากต่างคนต่างอยากจะหา ปั่นเส้นทางนี้เจอแน่ครับความสงบ ผมรับรอง

หลักเกณฑ์อื่นที่ใคร่บอกเติมให้ครบ

ก็หลักสากลการชวนปั่นจัดเรื่องเงินทองเรื่องสำคัญ จึงกำหนดกติกาการชวนปั่นครั้งนี้ ไม่มีการจัดการเก็บเงินเพื่อการจัดการใดๆเป็นกองกลางให้ปวดหัว แต่ละท่านพึงมีเงินของตนเองใช้ยาไส้ไปเที่ยวปั่น "ใครกินใครจ่าย"เงินตัวเองจัดการเอา หรือจะหุงต้มกินเองหรือชวนเพื่อนทำกินก็ทำไป

กับอีกเรื่อง เรื่องเวลาหลับเวลานอนยามนอนตอนกลางคืนเพื่อพักผ่อน ต่างคนหวังการพักผ่อนของตนให้เต็มที่ แต่ต่างคนก็ต่างใช้วลาเข้านอนและตื่นในตอนเช้าที่ต่างกัน กลายเป็นปัญหาการนอนเป็นกลุ่มใหญ่ของทุกปี ไม่น่าเชื่อเรื่องนี้หลายท่านโทรสั่งมาให้เขียนบอกชัดๆ เลยขอตั้งกติกาช่วงสามทุ่มถึงตีห้าเป็นช่วงนอน ใครตื่นหรือไม่นอนโปรดระวังการใช้เสียงช่วงที่ว่า ห้ามเด็ดขาดอย่าเปิดไฟหรือพูดคุย หรือทำเสียงก่อความรำคาญก่อนตีห้า ใครตื่นมาเพราะความชิน ชินที่แก่แล้วนอนไม่มากตื่นกันตีสามตีสี่ หากตื่นขึ้นมาโปรดนอนเงียบอยู่ในเต้นท์นะครับท่าน ส่วนเรื่องนอนกรนไม่ว่ากัน ช่วยไม่ได้ธรรมชาติของคนนอน เอาความจริงแก้ปัญหาใครทนเสียงกรนของเพื่อนไม่ไหว ก็ขยับตัวช่วยตัวเอง ขอร้องไว้ล่วงหน้าโปรดอย่าด่าคนนอนกรน

หลักเกณฑ์อื่น ไม่ถึงกับจะเป็นกติกา แต่ถือเป็นเรื่องต้องบอกว่าการชวนปั่นนี้มีวิธีการปั่น ที่มีการจัดการแบบไม่ได้จัดการครับ

ต้องบอกให้ทราบทั่วกัน เพื่อให้ท่านประกอบการตัดสินใจก่อนมาปั่น คนชวนปั่นไม่ได้จัดคนดูแลบอกเส้นทางปั่น ไม่ได้จัดคนกำกับบอกทางแยก คนคอยกำกับสั่งการให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา...นั้นไม่มี ทั้งไม่ได้จัดน้ำจัดท่าที่กลางทาง ไม่ได้จัดหาอาการการกินรองรับระหว่างปั่นหรือเข้าพัก

เป็นการปั่นที่ชวนให้แต่ละท่านรู้และเตรียมตัวจัดการตัวเองได้ถูกต้อง โจทย์ง่ายๆคิดเสียว่าปั่นคนเดียวทำยังไง แผนท่งแผนที่นั้นต้องหาไว้ใช้งานเป็นส่วนตัว ไปดุ๋ยๆหลงทางก็มีครับ อย่าให้บอกว่าใครเลย

กติกาปั่น ง่ายๆครับ ขอแค่แต่ละท่านจัดการปั่นด้วยตัวท่านเองโดยอิสระ

จะปั่นคนเดียว จะปั่นกะบัดดี้ที่ถูกใจ จะนัดปั่นกะกลุ่มที่ถูกคอ หาเอาเอง ปั่นสี่ห้าวันก็เจอคนถูกคอปั่นกันได้ ไม่ถูกใจไม่ถูกคอที่จะปั่นกะใครซักกะคน ก็ปั่นคนเดียวนะครับท่าน

ความท้าทายของการปั่นแต่ละวัน เพียงขอแค่แต่ละคนปั่นไปถึงที่พักที่กำหนดและประสานขอไว้ล่วงหน้า ปั่นวันนี้เข้าป้าย...มีที่กางเต้นท์นอนแน่นอนครับ ไปนอนที่เดียวกัน ต้มน้ำร้อนชงกาแฟคุยกันหลังปั่นทั้งวัน บางคนปั่นทุกวันเจอกันแต่ช่วงร่วมวงกินกาแฟตอนมืดค่ำใกล้จะนอน เหมือนกันครับอย่าบอกเลยว่า"เป็นใคร"

อีกซักนิด นอกเหนือจากจักรยานคันคู่กายที่ควรส่งช่างทำให้เสร็จก่อนมาปั่น เข้าร้านซ่อมรื้อซ่อมบำรุงให้มันกริ๊กทุกระบบ เรื่องอื่นที่ขออนุญาตใคร่แนะนำ เผื่อต้องคิดเตรียมของให้ละเอียด การชวนปั่นไปปั่นช่วงหน้าหนาว หนาวบนเขาทางเหนือของบ้านเราอย่าประมาท บางทีมันถึงแข็ง...น้ำนะครับ

ใครจะไปควรจัดเตรียมอุปกรณ์เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเครื่องหลับนอน ให้พอเหมาะทนหนาวได้ นอนจะได้หลับไม่ต้องสั่นเป็นเจ้าเข้า ทั้งการตั้งแค้มป์ค้างแรมนอนไกลบ้าน บางทีต้องอยู่กันในลานโล่ง หากต้องเจอฝนตก ลมหนาว อากาศเย็น ปั่นบนเขากันเป็นเดือน มันต้องเจอเข้าบ้างละครับท่าน อากาศที่สุดโหด เตรียมให้ครบ จะสุดมันสส์

ส่วนเครื่องทำน้ำร้อนใช้ชงกาแฟเป็นส่วนย่อย ใครจะพกใครจะมีหรือไม่มีก็ใช่จะเป็นเรื่องใหญ่ เป็นส่วนที่พอจะขอแบ่งปันแบ่งกลุ่มต้มน้ำร้อนชงกาแฟกินกันได้ ข้อสำคัญผมว่านะควรขอเขาแค่น้ำร้อน ส่วนชากาแฟหากชอบดื่ม ควรพกติดตัวกันไปเองเป็นส่วนตัว ก็แหม...ไปกันทีนานเป็นเดือน ใจคอจะกินของเพื่อนเขาทุกวัน มันก็ไม่ไหวนะครับท่าน

ด้วยการปั่นที่ชวนนี้ เน้นความเรียบง่ายในการเดินทาง ทั้งการกินการอยู่และพักผ่อน เงินทองพกไปเองกินเองจ่ายเอง โพสนี่ขอแจ้งชวนเพื่อนปั่นเป็นสาระที่สำคัญ ไม่ประสงค์กวนเพื่อนนักปั่นในถิ่นที่จะผ่าน อย่าถึงกับลำบากต้องเลี้ยงข้าว ขอแต่น้ำใจการทักทายและพูดคุยพอให้อุ่นใจว่ามีเพื่อนร่วมวงการปั่นรับรู้ในกิจกรรมทรมาณตนประจำปี หรือแนะนำเรื่องเส้นทางเพื่อปรับแต่งให้สนุกขึ้น ทั้งจุดพักจุดนอนที่จะสะดวกกว่าก็ยินดี จะยิ่งดีหากจะตามเป็นเพื่อนร่วมปั่นตามเวลาท่านสะดวกเรียกว่าแจม ยิ่งสุดจะยินดีจริงๆครับ

อีกอย่างที่ขอบอก การชวนปั่นครั้งนี้หวังผลการออกกำลังแบบแอโรบิค ไม่ต้องการให้มุ่งเค้นปั่นแข่งกันเลยครับ แถมต้องห้ามตามตำราว่า ท่านห้ามปั่นอัดตัวให้มันเหนื่อย ตำราบอกไม่แนะนำการปั่นอัดแข่งให้มันหอบนะครับท่าน เป็นกฎเกณฑ์จากตำราที่บอกต่อ เพื่อการปั่นแต่ละคนจะได้รอด ปั่นกันจบครบทุกคนตามเวลาที่เมียให้ กฎบอกกล่าว ป้องกันภาวะเหนื่อยจนล้าถึงขั้นถอย ถอยกลับบ้านด้วยแรงมันหดหายจากภาวะโอเว่อร์เทรนสุดน่ากลัว อย่าทำเลยปั่นแข่งกันหว่างการเที่ยว

สุดท้ายที่หวังไว้เมื่อจบการปั่นตามแผนปั่น โรคาพยาธิที่เบียดเบียนของคนวัยคนเกษียณคงถอยห่าง แต่ละท่านที่ร่วมปั่นคงได้ฟื้นคืนความแกร่งและแข็งแรงตามที่หวัง แล้วค่อยนัดเจอปั่นแบบนี้ปีละครั้ง สร้างประเพณี "คนเกษียณชวนปั่น" ปั่นทางไกลกันทุกปี ตามหาจิตวิญญาณปั่นอิสระไม่พึ่งใคร

ท้ายนี้ ขออนุญาตเอาบทกวีของฝรั่งที่อาจารย์สายสมร หนึ่งในทีมคณาจารย์ผู้วิจัยฯจากมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งพบเจอคณะปั่นเมื่อปีที่แล้วตอนไปเก็บข้อมูล เห็นคนแก่กลุ่มเราออกกำลังปั่นจักรยานกันไกลโขก็ศรัทธา ปีนี้จึงส่งกำลังใจโดยหาบทกวีของฝรั่งที่มีผู้แปลในชั้นต้นส่งมาให้ พี่ธานินทร์๙๙ ได้สืบเสาะหาต้นฉบับภาษาเดิม แล้วนึกคำไทยขัดเกลาปรับแต่งผูกคำให้อ่านได้ความแบบปลุกใจทั้งไพเราะ คณะจึงเอามาใช้เป็นบทใช้ทั้งปลุกใจและปลอบใจ เผื่อยามสุดเหนื่อยปั่นสุดโหดขึ้นเขาชัน นึกถึงกวีบทนี้จักก่อเกิดความมุ เกิดกำลังปั่นต่อไป


แรงบันดาลแห่งหัวใจที่แกร่งกล้า
ต้องอ่อนล้าตามกาลและชะตา
แต่ปณิธานยังแข็งกล้าและเข้มข้น
จะดิ้นรน ค้นหา จนพบพา ไม่รามือ


บทแปลท่อนบนบางส่วน จาก
“Though much is taken, much abides; and though
We are not now that strength which in old days
Moved earth and heaven, that which we are, we are;
One equal temper of heroic hearts,
Made weak by time and fate, but strong in will
To strive, to seek, to find, and not to yield.

(― Alfred Tennyson, Idylls of the King and a Selection of Poems)
แหล่งที่มา http://www.goodreads.com/quotes/2351-th ... ugh-we-are
แก้ไขล่าสุดโดย พิงธรรม์ เมื่อ 21 ส.ค. 2012, 13:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง


Touring in Style...by Jaruek
ประวัติคนเกษียณชวนปั่นประเพณีปีละครั้ง ฉบับย่อ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &start=885
รูปประจำตัวสมาชิก
พิงธรรม์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3440
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 13:35
Tel: 08-7938-2688
team: สถาบันการปั่นท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
Bike: ทัวริ่ง Trek 470
ตำแหน่ง: 181 ซอยพระรามเก้า 41 ถนนเสรีเก้า เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง กรุงเทพ 10250
ติดต่อ:

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย พิงธรรม์ »

รายนามท่านผู้สนใจ ทั้งท่านผู้ร่วมโพสคุย...ปั่นกระทู้ และโพสแจ้งปั่น...ไปปั่นด้วย

ทำยอดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๕ คร้าบบบบ :D :D
APM เขียน:ลำดับที่ รายชื่อผู้สนใจ
1 สมพิศ ชั่งใจดูก่อน
2 LOTUS อาจไปร่วมสัก7วันเดือนมกราคม
3 rural road คงได้สักช่วงหนึ่ง
4 jumjim ปั่นแจมเป็นช่วงๆ
5 ขนมปัง งานนี้ผมพก Visa ไปด้วยอีก 1 คนจะได้ปั่นตลอดทริปครับ
7 ยอดหญ้า เริ่มที่นครพนม จบทริป
8 WINDY CITY กำลังมองหาทริป 5 วัน 10วันอยู่
9 Darawan แจ้งเกิดที่นี่จะลืมได้อย่างไรล่ะคะ
10 จำรัส ละหานทราย ไปต่อที่เชียงกลาง
11 ลุงก้อง มาร่วมปั่นภาคตะวันออก
12 ธีรเดช จะมากับลุงก้อง
13 มัลลิกา ขอนแก่น มาสมทบที่บางคล้า
14 ผู้พันpok สมทบ สุวินทวงศ์, สี่ห้าโมงเย็นเห็นท่านหัวหน้าเข้ามาคุยกับลูกทัวร์ทุกวันลูกทัวร์ก็ดีใจแล้ว
15 เสือดอนดี ต้องกลับมาปั่น เพราะชีวิตจักรยานมันฝังอยู่ในเส้นเลือดซะแล้ว... ทีมสุพรรณก้อตั้งท่ารออยู่หลายคนเหมือนกัน
16 arjarnko ไปกินขาหมู หมั่นโถที่เชียงแสน (ของฟรี เอิ๊กๆ)
17 RODEO หาเรื่องไปกินปลาบู๋นึ่งซีอิ้ว
18 noppak จบทริปแบบตามสถาณการณ์แล้วกัน
19 พิสัย สมทบเชียงกลาง-แม่สาย
20 บุณสม สมทบแถวๆน่านจนจบทริป
21 เสือหงอย อยากไปแจมด้วยถ้ามีจังหวะ
22 เสือนิวัฒิ อยู่ที่วีซ่าว่ากี่วัน
23 ลุงนอม โทรมาบอกหัวหน้าไปด้วยคน
24 ลุงบำรุง,ยศพล,เฮียสือ หุงข้าวคอยอยู่ที่ละหานทราย
27 เสือไฝ ให้มันมีเวลาพอแวะชื่นชมกับบรรยากาศที่ผ่านไป และมีเวลาเหลือพอที่จะจับกลุ่มคุยก่อนนอน...เจ้าภาพพร้อม แขกพร้อม
28 พัลลภ เช่นเดียวกับผมครับ พี่นู๋เล็ก
29 สมศักดิ์ สมัคร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึง ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ด้วยครับ.
30 หลวงจารณ์,อาจารย์ชอบ ทั่นหัวหน้าจะโทรตาม
32 yosotic ร่วมทริปด้วย แต่อาจไปได้เพียงบางช่วงนะ
33 วิเชียร ถึงเขาพระวิหาร มีวันพักร้อน กับวันลาเหลือเท่านี้ ...ช่วงปั่นโหด คงต้องเป็นปีหน้า
34 แป๊ะเม้ง เจอกันที่กรุงเทพ ปั่นออกจากกรุงเทพ ด้วยกันเลย
35 อากง สวนแตง เริ่มที่หัวหมากพร้อมพี่เสือดอนดี
36 ลุงเนตร "หมายตา" แต่กั๊กไว้ ๕๐/๕๐
37 ลุงกิตติ ร่วมปั่นด้วยหรือไม่ คือ น้ำท่วมหรือไม่ มากน้อยแค่ไหนครับ
38 เสือป่าเชียงใหม่ เข้าใจว่าคงตกหล่น
39 ลุงวัฒน์ เชียงคำ ปีนี้ร่วมปั่นแจมแน่ๆ
40 เตมูจิน วีซ่าได้จบทริป สมทบที่บางคล้า
41 อำนาจ คิดถึงเพื่อนนิวัฒน์ เชียงคำ เช่นกันครับ… ขอบคุณเพื่อนที่อารีย์ต่อกลุ่มคนเกษียณตลอดมา
42 นู๋เล็ก คิดถึงตู่ ทริปนี้คงเจอกัน, อ.จารึก ครับ...จะปั่นทิ้งนู๋เล็กอีกแล้ว..555
43 จารึก ปั่นถึงอายุ70 , หัดปั่นอยู่แนวหน้า นะ...พี่นะ ..เล่าเรื่องปั่นเน่าๆของตัวเองดีกว่า กลัวเพื่อนโกรธ
44 เซ้ง ดีใจครับ ที่พี่รึกจะลองเปลี่ยนวิธีการปั่น กลัวว่าหัวหน้า จะทำได้แค่ 2-3 วันแรกเท่านั้น....555555555
45 Silverliner ไม่มีใครทิ้งพี่นู๋เล็กได้ลงคอหรอกครับ ... หมอกำลังคิดจะซ้อมอยู่
46 ธานินทร์99 ... ขอบอกอีกที ว่าคนระยองเอาได้...

อำนาจ :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:


ปล. รายชื่อข้างบน หากมีทำหก ตกหล่นชื่อท่านใดที่กรุณาโพสมา ผู้น้อยขออำไพ เอ๊ยยยย...โปรดอภัยให้ด้วย :oops: :oops:

ส่วนท่านใด...ขึ้เกียจโพสแจ้ง แหง๋แก๋...มาแน่ แต่มันขี้เกียจบอก เป็นแบบอยากปั่นก็มา...ไม่อยากก็ไม่ ไม่อยากรับปาก...เด๋วมันผูกมัด ลำบากใจกัน :P :P

ไม่มีปัญหาครับ ถึงวันนัดปั่น ก็มาเลยครับ เจอกันวันไหน ก็ตามสะดวกท่านเทอญ :D :D
แก้ไขล่าสุดโดย พิงธรรม์ เมื่อ 17 ก.ย. 2012, 12:41, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง


Touring in Style...by Jaruek
ประวัติคนเกษียณชวนปั่นประเพณีปีละครั้ง ฉบับย่อ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &start=885
รูปประจำตัวสมาชิก
SENG9
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2308
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 20:44
Tel: 0859225888
team: O2 MAX ขาโหด
Bike: Conago C50 Connondale slice trek8500 KHS team พับน้อง DA

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย SENG9 »

แหม!!!!......เล่นจองพื้นที่ดีๆ หมด......แล้วจะให้ผมไปเสียบตรงไหนล่ะลุง....
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือหงอย
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3496
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 18:28
Tel: -
team: ชมรมจักรยานจังหวัดชุมพร
Bike: surly lht,trek 520,spec.

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย เสือหงอย »

ติดตามตลอด
รูปประจำตัวสมาชิก
APM
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 549
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 15:11
Tel: 0819143591
Bike: Trek, Surly LHT, Rit

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย APM »

ต้องขออณุญาติท่านหัวหน้า เสนอหัวข้อ การเตรียมตัวของสมาชิกใหม่ มาร่วมปั่นกับคนเกษียณ เสริมจากที่พี่ได้สรุปไว้ในประกาศชวนปั่นของปีนี้
คำถามที่พบบ่อย สำหรับการเตรียมเดินทางไกลท่องเที่ยวด้วยการปั่นจักรยานของกลุ่มคนเกษียณ
เนื้อหาที่เขียนขึ้นมานี้ มิได้มีเจตนาสร้างบรรทัดฐานใดๆ เนื้อหาส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว รวบรวมชึ้นก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนใหม่ๆ ผู้ที่สนใจจะมาร่วมปั่นในปลายปี
การเตรียมตัวที่ดีในช่วงนี้ ปัญหาในการเดินทางก็จะน้อยลง การไปบอกกันกลางทางนั้นแก้ไขยาก สำหรับเพื่อนๆที่มีประสบการณ์อยู่แล้วขอให้คิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
หัวข้อต่างๆที่นำเสนอ สรุปมาจาก การเดินทางจริงของคนเกษียณซึ่งอาจจะพาดพิงไปถึงสมาชิกเก่าบางคนได้ ผมมิได้มีเจตนาอื่นใดและต้องขออภัยถ้าทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจเกิดขึ้น
ขอแบ่งออกเป็นเรื่องๆ และเชิญให้เพื่อนๆ พี่ๆ พิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ

1) จักรยาน
ดูในเวปเพื่อหารถจักรยานสักคัน จะพบคำโฆษณาว่า รถทัวร์ริ่งแท้ๆ อยู่มากมาย สังเกตุได้จากกระแสความนิยมที่สูงมากขึ้นในปัจจุบัน
เพื่อลดการโต้แย้งที่ไม่จำเป็น จึงขอวางกรอบของจักรยานที่เหมาะสำหรับทริปประเพณีคนเกษียณเท่านั้น

1.1 ล้อและยาง ขนาดเท่าไรดี ล้อ 26นิ้วดีกว่าเหมาะกับการปีนเขาชันขณะที่ขนสัมภาระหนักในการเดินทางด้วยเพราะว่าแข็งแรงกว่า ,วงล้อเล็กใช้แรงกดบันไดน้อยกว่า
ในด้านการเลือกขนาดยางที่ใหญ่ตั้งแต่ 1.5นิ้วขึ้นไป ก็หาได้ง่ายในต่างจังหวัด
ส่วนตัวคิดว่ายางขนาด 1.75นิ้ว คุ้มค่าที่จะใช้ แลกเปลี่ยนระหว่างการยึดเกาะที่ดีกับแรงเสียดทานที่เพิ่มขึ้น ขนาดเกินกว่านี้จะเริ่มเป็นภาระในการเดินทางมาก
การเลือกล้อ และซี่ลวด ควรเลือกล้อที่แข็งแรง ไม่ควรเกี่ยงเรื่องน้ำหนัก ไม่ควรใช้ล้อสำหรับการแข่งขันในการเดินทาง ล้อเบาเคยใช้เดินทางทัวร์ ซี่ลวดขาดกลางทางต้องกลับบ้าน เพราะหาอะหลั่ยไม่ได้
อีกครั้งหนึ่งที่ เขี้ยวโม่หัก หลังจากขึ้นปางอุ๋ง ต้องเปลี่ยนล้อใหม่ โชคดีที่มีเวลาพัก 1วันจึงไปต่อพร้อมเพื่อนได้
ซี่ลวดสำรอง ควรมีติดรถไว้ โดยเฉพาะล้อ ขนาด 700 จะหายากมากในเส้นทาง และพบว่าขาดบ่อยที่สุด

1.2 แฮนด์หมอบ ,แฮนด์ตรง และ ปีกผีเสื้อ แล้วแต่ชอบครับ
แฮนด์หมอบ แคบและก้มหลบลมได้ดี มีตำแหน่งจับได้หลายแบบ แฮนด์ตรง ดีในด้านการควบคุม การดึงขณะปั่นขึ้นเขา การยันเมื่อลงทางชัน การเบรคที่ดีกว่า
ถ้าแฮนด์ตรงมากอาจต้องเพิ่มตำแหน่งจับด้วยบาร์เอนด์ แฮนด์ปีกผีเสื้อ ก็หนักขึ้นอีกหน่อยแต่ได้ท่าจับมากขึ้น

1.3 เบรคสายหรือ น้ำมัน เบรคสายดีกว่าสามารถตรวจสอบและซ่อมแซมเองได้ง่าย ก่อนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงซึ่งคาดคิดไม่ถึง, เบรคน้ำมันถ้าทำเองได้ก็ต้องพกน้ำมันและเครื่องมือไปด้วย
สายเกียร์ขาด ,สายเบรคหัวหลุด พบได้บ้าง โดยเฉพาะรถมือสองจากญี่ปุ่น ผ้าเบรค สำหรับ วีเบรค เปลี่ยนใหม่ก่อนเดินทางไปได้ตลอด ถ้าเป็นของเก่าปีที่แล้ว ต้องมีผ้าเบรคสำรองติดไปด้วย 2คู่
สำหรับ ดิสเบรค ควรเลือก ชนิดเมทัล เพราะทนฝนได้ดีกว่า และต้องมีสำรองติดรถอย่างน้อย 3คู่
ดิสเบรคสาย เมื่อได้ยินเสียงดังของโลหะสีกัน ต้องหมั่นปรับตั้งระยะผ้าเบรค ด้านใน(ด้านติดซี่ลวด) โดยปรับเข้าให้โผล่พ้นเสื้อเบรค (ถ้าเสียงไม่หายอาจต้องตั้งศูนย์ชุดเบรคใหม่)
เพราะอาจทำให้จานเบรค สีกับโครงเสื้อเบรค เวลาลงเขานานๆ เบรคไหม้ได้

1.4 ขนาดจานหน้า และเฟืองหลัง เท่าไรดี สำหรับ การบรรทุกสัมภาระในทางเขาชันขึ้นลงทั้งวัน ควรเลือก จานหน้าใบเล็กขนาด 22ฟันเฟืองหลังใหญ่ขนาด 34ฟัน
เมื่อจักรยานเสือภูเขาขนสัมภาระเท่ากัน ปั่นขึ้นเขาที่ความเร็วต่ำกว่า 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชุดขับเคลื่อนเสือหมอบ จะต้องเข็นเพราะกดบันไดไม่ลง(ไม่ใช่ว่าไม่มีแรงปั่น)

1.5 เบาะที่เลือกใช้ควรเป็นแบบไหนดี ควรเลือกเบาะที่มีขายึดที่แข็งแรง หลักอานที่ยึดรางเบาะได้แน่นหนาไม่รุดเลื่อนได้เมื่อขึ้นทางชัน เบาะมีพื้นที่รับและกระจายน้ำหนักตัวที่กว้าง
เพื่อลดแรงกดให้น้อยลงเมื่อปั่นอยู่บนเบาะเป็นเวลานาน ไม่ควรใช้เบาะเสือหมอบที่แคบเพราะความเบา เราจะได้เบาะที่ไม่แข็งแรงพอสำหรับรถที่หนักมาก และรอยช้ำที่ก้นกดทับจนเป็นแผลทรมาน
มากยิ่งปล่อยให้ติดเชื้อจนอักเสบ ช่วงแรกให้รีบอาบน้ำทายาแก้อักเสบ แผลจะได้มีเวลารักษาก่อนเริ่มวันใหม่แผลจะหายเร็ว การเดินทางไกลด้วยจักรยานใน 1-2 สัปดาห์แรกทุกคนต้องอดทน
เจ็บก้นครับเมื่อแผลหายและก้นแข็งแรงขึ้นก็จะไปได้ดีเอง ที่สำคัญก็คือเบาะที่ดีจะทรมานน้อยหน่อย เวลาทรมานสั้นกว่า
ส่วนเรื่องการใช้กางเกงจักรยาน ในการปั่นทัวร์ริ่ง มีพี่หลายคนที่ไม่ใช้ ก็ดีครับผมลองแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างไม่ต้องเสียเงินซื้อมาใช้ ใส่โชว์..ดูแล้วไม่สุภาพ อับชื้นแห้งยาก แถมหนักรถอีก

1.6 ต้องเตรียมโซ่สำรอง ติดไปด้วยหรือไม่ โซ่ถ้าเปลี่ยนใหม่ก่อนเดินทางโซ่เส้นเดียวไปได้ตลอดทาง 5,000km ถ้าผู้ใช้หมั่นทำความสะอาดและหยอดน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ 500กิโลเมตร
เปลี่ยนโซ่ใหม่ทำให้รู้ว่า เฟืองหลังและจานหน้า ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วยัง โซ่สำรองไม่จำเป็น แต่ควรมีตัวต่อโซ่สำรองไว้กรณีโซ่ขาด พูดถึงโซ่ ก็คงต้องพูดเรื่องน้ำมันหล่อลื่น ลองมาหลายอย่างเกือบทุกชนิด ก็ว่าได้
จนมาติดใจ Super Lube เป็นสารหล่อลื่นสังเคราะที่มีเทปลอนผสม บรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฝนตกทั้งวันยังปั่นได้เงียบ ราคาไม่แพง ดำไม่มากและไม่เหนียวเช็ดออกง่าย หาได้ที่ร้าน HomePRO

1.7 ยางนอก ควรเปลี่ยนเส้นใหม่ก่อนเดินทาง เพราะยางเก่าปีที่แล้ว เส้นหลังคงต้องหาเปลี่ยนกลางทาง ปัญหาใหญ่คือการฉีกขาดในป่าเขา
ส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็นต้องพกยางนอกสำรองไปด้วย ใช้แผ่นผ้าใบทำจากยางนอกเสือหมอบ หรือแผ่นกันหนามรองที่รอยแผลขนาดใหญ่ของยางนอก ช่วยยึดเวลาใช้งานได้จนหายางใหม่ในตัวจังหวัด
ยางในสำรอง ,ชุดปะยาง ,ที่งัดยาง และสูบพกพา เป็นสิ่งจำเป็น และ ต้องฝึกหัดทำเองให้เป็นสำหรับนักปั่นทัวร์ การปะยางกลางฝนเป็นเรื่องยากมาก
พวกใช้ล้อ 700 ยางเสือหมอบ ต้องมีสูบแรงดันสูง ถ้าแรงดันต่ำมาก ตกหลุมยางก็รั่ว เพราะกระแทกขอบล้อ รั่วทีเดียว 2รู แบบเขี้ยวงูกัด ยางรั่วบ่อย เพื่อนก็ไม่มีให้ยืม เห็นปะยางเกือบทุกวัน
ยางระเบิดระหว่างลงเขา สาเหตุ มักจะเกิดจาก ความร้อน และ เทปรองขอบล้อเก่ามากถอดบ่อยจนหลวม ทำให้ยางในดันมาชนกับหัวซี่ลวดจนแตก จึงควรตรวจสอบสภาพก่อนเดินทาง
อีกสาเหตุที่พบก็คือแตกที่รอยตะเข็บของยางใน ซึ่งมักจะเกิดกับยางที่ผลิตในรุ่นเดียวกัน แตกบริเวณเดียวกันโดยหาสาเหตุไม่พบยิ่งทำให้เครียดใหญ่เพราะยางสำรองแตกหมด
ข้อแนะนำ ไม่ควรลงเขาชันนานเกินไป สำหรับ วีเบรคทุกๆ ระยะ 10 กิโลเมตร ลงชัน ควรจอดพักเพื่อลดความร้อน

1.8 จุดหมุนต่างๆ เช่น ดุมล้อ โม่ กระโหลก และ บันได ควรมีการตรวจสอบ ล้างเปลี่ยนจารบีใหม่ก่อนออกเดินทาง

1.9 ตะแกรงอลูมิเนียม พบปัญหาแตกหักบ่อยๆ น๊อตยึดตะแกรง หลวมจนหล่นหายกลางทาง ที่ยุ่งยากที่สุดคือ ตะแกรงสั่นจนน๊อตยึดหักคารูเอาไม่ออก แก้ชั่วคราวได้ด้วยแถบรัดสายไฟ

1.10 กระเป๋ากันน้ำ ควรใช้ของดีคุ้มค่ากว่า เพราะเส้นทางจะทำให้ กระเป๋า แตกที่รอยเชื่อมจากแดดร้อน และการสั่นสะเทือน , ตาไก่ยึดที่แขวนกระเป๋าหลุด แต่ถ้ามีของเก่าอยู่แล้ว ก็ควร
เย็บเสริมรอยเชื่อม และเปลี่ยนตาไก่ยึดที่แขวนกระเป๋าด้วยน๊อต M5 ในปีแรกต้องสั่งกระเป๋าคู่หลังใหม่มาแทนกระเป๋าที่แตกจากการใช้งานไม่ถึงเดือนและ เปลี่ยนตาไก่ยึดที่แขวนของคู่หน้า 3ครั้ง

1.11 ขาตั้งแบบไหนดี แบบไหนก็ได้ สำคัญที่ การยึดติดกับเฟรมรถต้องมั่นคงแข็งแรง รถไม่มีขาตั้งแย่ที่สุด เพราะต้องคอยหาที่พิงทุกวันๆละหลายๆครั้ง
ขาตั้งกลางต้องระวังหน่อยเวลาจอด ตามไหล่ถนน และยุ่งยากหน่อยเวลาทำความสะอาด ชะโลมน้ำมันโซ่ ขาตั้งกลางมีโอกาสล้มมากกว่าขาตั้งข้างถึง 2เท่า ถ้าแข็งแรงเท่ากัน และหักง่ายกว่า
การเลือกใช้ขาตั้งข้าง 2จุด หน้าหลัง เมื่อบรรทุกเต็มทั้งหน้าและหลัง สามารถจอดจักรยานบนทางชันมากๆ ได้โดยรถไม่ถอยหลังกลับ และประกันเรื่องรถล้ม

1.12 บังโคลน จำเป็นมากในการปั่นขณะฝนตก โดยเฉพาะเวลาลงเนิน น้ำที่ดีดออกจากล้อหน้าจะวิ่งมาชนหน้าเข้าตา และทำเสื้อผ้าสกปรกไปหมด

1.13 เครื่องมือติดรถ ถ้าได้ตระเตรียมอย่างดีข้างต้นแล้ว ปัญหาก็จะน้อยมากแต่ก็อาจพบปํญหาอื่นได้ เช่น โซ่ขาด ยางรั่ว ซี่ลวดขาด สายเกียร์หย่อน
ถ้าท่านใช้อุปกรณ์เกรดพิเศษ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการซ่อมบำรุงหรือถอดเปลี่ยน ขอให้พกติดไปด้วยครับ
ที่เขียนมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าถ้าจักรยานของท่านไม่ได้เป็นตามนี้แล้วไปไม่ได้ต้อง เสียเงินเสียทองเพื่อเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย แต่ถ้าท่านมีเสือหมอบ อยู่แล้วก็คงร่วมปั่น
ได้จากกรุงเทพถึงหนองคาย บางคนกลับบ้านเอาเสือภูเขามาใหม่ก็ไม่มีใครว่า ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้กล่าวถึงเลยว่าต้องเป็นเฟรมอะไร เพราะไม่ใข่สาระสำคัญ

2) การตระเตรียมอื่นๆ

2.1 เต็นท์ เลือกซื้อเต็นท์นอนเดี่ยวที่มีฟลายชีต ป้องกันน้ำค้างได้ สามารถกางบนพื้นดิน หรือ กางในอาคารโดยมีเสาค้ำตัวเองไม่ต้องการสายดึงยึดเป็นพิเศษ
เต็นท์ที่จัดทำขึ้นใช้ของกลุ่มคนเกษียณในปีแรก ถือว่าเป็นต้นแบบที่ดีที่สุด เพราะราคาถูก ใช้งานได้ดีในทุกพื้นที่ ทนกระแสลมแรงได้ และป้องกันความหนาวได้ มีความแข็งแรงทนทาน
แต่ก็มีจุดอ่อนเล็กน้อยที่การป้องกันน้ำหยดเมื่อฝนตกหนักเพราะ ผ้าฟลายชีต ไม่ได้ซีลกันน้ำตรงตะเข็บหลังคาไว้ แต่ก็สามารถปรับปรุงเองได้ไม่ยาก พี่เสือไฝได้แนะนำผมไว้
สำหรับเพื่อนๆที่มีเต็นท์ ไม่มีซีลกันน้ำ สามารถปรับปรุงเองได้โดยหาซื้อกาวซิลิโคนสีใส แบบไม่มีกลิ่นน้ำกรด (NEOBOND) โดยทาที่ตะเข็บด้านใต้ของผ้าฟลายชีตหลังคา และพื้นที่ที่น้ำหยด
เพื่อความสวยงามควรใช้เทปกระดาษติดด้านข้างทั้งสองด้านของตะเข็บให้เสร็จก่อน แล้วใช้แปรงสีฟันเก่าทากาวให้เสร็จในครั้งเดียว ทิ้งให้แห้ง 24ชั่วโมง ผมลองทำแล้วได้ผลดี
สำหรับเรื่องลดน้ำหนัก โดยใช้เสาอลูมิเนียมก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ

2.2 ถุงนอน ใช้ ถุงนอน 3M micro fiber 150g/m2 ที่ Comfort +19C Transion +9c Risk 0c
เพียงพอแล้วสำหรับใช้งาน ถ้ายังรู้สึกหนาวเพิ่มเสื้อผ้าได้ มีไม่กี่จุดพักที่ อุณหภูมิใกล้ 0c แผ่นรองนอนเพิ่มเติมความสุขได้ในการพักผ่อน

2.3 เสื้อผ้า ถ้าเป็นไปได้หาเสื้อผ้าแบบแห้งไว จะเหมาะที่สุด เพราะเบา และตากแดดช่วงบ่ายเพียง 1-2ชั่วโมงก็แห้งแล้ว ซึ่งในการเดินทางจริงเรามีเวลาเท่านี้ในการซักและตากผ้า

2.4 ชุดกันหนาว เตรียมให้เพียงพอ แต่ก็หาซื้อเพิ่มเติมได้ทุกที่ บางคนรอไปหาซื้อที่ตลาดโรงเกลือ ถ้ามีมากไปก็ส่งกลับบ้านได้ โดยเฉพาะหลังจากชอปที่ ตลาดท่าขี้เหล็ก

2.5 การซักล้าง ปกติทำทุกวัน ควรมีเชือกราวตากผ้ายาว 10-12เมตร พร้อมไม้หนีบผ้า มีถังซักผ้าแบบพับได้ขนาด9ลิตร จะสดวกมากไม่ต้องรอคิว

2.6 เตา หม้อสนาม ขึ้นอยู่กับตัวเองว่าชอบที่จะซื้อกิน หรือทำกินเอง กินกาแฟแบบไหน ส่วนใหญ่มีไฟฟ้าในจุดพัก ขดลวดความร้อนก็สดวก จุดพักบางจุดอาจต้องกินอาหารสำเร็จรูป
ใครไม่อยากขนเตา จะขนแก๊ซกระป๋องสำรองไปด้วยก็ไม่ผิดกติกาใดๆ

2.7 ค่าใช้จ่าย ไม่ต่างจากอยู่บ้าน อาจสูงกว่าบ้างในเรื่องที่พัก วัดและโรงเรียนต้องช่วยเงินทำบุญคนละ 50บาท ต่อคืน อุทยานแห่งชาติ 30บาทต่อคืน

2.8 ยา นอกจากยาประจำตัว แนะนำให้พกเพิ่มเติม คือ วิตามินรวม เกลือแร่ ผงถ่านเม็ดสำหรับคนท้องเสีย พลาสเตอร์ยา ครีมทารักษาผิวหนังอักเสบที่มีอาการคัน(แผลตัวคุ่นกัด คันมาก เกาแล้วไม่หาย
ถามหายาทาที่แม่ฮ่องสอน ร้านขายยาแนะนำให้ใช้ BETA-DIPO ลองทาดู 3วันหาย หลังจากเกามาตั้ง 3สัปดาห์ ), ยาทากันยุงและคุ่น Wild lives 95
ยาแก้หวัดควรทานเมื่อถึงที่พัก ถ้าทานระหว่างปั่นจะรู้สึกแย่มากไม่มีแรงปั่น ยาบังคับให้พักผ่อน ,ครีมกันแดด หรือผ้าคลุมกันแดด

2.9 ทักษะ และ ประสบการณ์ ในการขี่ จำเป็นต้องมีทักษะในการควบคุมรถจักรยานลงทางชัน แล้วเข้าโค้งหักศอกได้ ถ้าไม่มั่นใจให้ลงเข็น
การปล่อยให้รถลงเขาด้วยความเร็วสูงเกินไป ชิดคันหน้า อันตรายมากถ้ามีเหตุคาดไม่ถึงเกิดขึ้น ทริปคนเกษียณไม่เหมาะกับมือใหม่ที่หัดขี่จักรยานยังไม่นาน
ผู้สนใจคงต้องฝึกฝนเพิ่มชั่วโมงบินสะสมประสบการณ์ขึ้นจนมั่นใจแล้วเข้าร่วมไม่สายครับ

2.10 สำหรับสมาชิกใหม่ แนะนำให้มาเริ่มในช่วงแรก จะได้มีเวลาสร้างกล้ามเนื้อให้พร้อมที่จะเดินทางในช่วงป่าเขาหลังจากจังหวัดหนองคาย เราจะได้ทราบว่า
มีอะไรที่ไม่จำเป็นในจักรยานและส่งกลับบ้านก่อนขึ้นเขา

2.11 น้ำดื่มสำหรับการเดินทางระหว่างวัน บนทางป่าเขา ควรมีน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตร และเติมให้เต็มเมื่อพบจุดเติมน้ำ

หวังว่าคงตอบข้อสงสัยของสมาชิกใหม่ได้บ้าง และหวังว่า ปีนี้คงไม่มีน้ำท่วมหนัก และมีสมาชิกใหม่ๆมาร่วมปั่นกันมากขึ้น

อำนาจ
แก้ไขล่าสุดโดย APM เมื่อ 21 ส.ค. 2012, 20:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง
ปั่นในเส้นทางใหม่ๆ ไปกับเพื่อน...สบายใจ
รูปประจำตัวสมาชิก
นู๋เล็ก
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1003
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2011, 00:14
Tel: 0880917500
team: -
Bike: SURLY,NOBEL STAR

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย นู๋เล็ก »

:P :P :P ....ขาอ่อนมาแว้ว.ว.ว.ว...ซ้อมหนัก..เข็นทุกดอย..ก็สอยได้ทุกภู..เหมียน กัลลล์.... :lol: :lol: :lol:

9999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999

:arrow: คน เกษียณ..เรียนลัด ......ทุ่งช้าง-หลวงพระบาง…บันทึกการเดินทาง...สู่ฝัน
:arrow: คนเกษียณ..เขียนให้อ่าน.....สว.มือใหม่หัวใจบอลลูน..
http://thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=53&t=322520

:arrow:คนเกษียณ....เขียนให้อ่าน (2) ... ซ้อมปั่นเขาเขียว....เดี๋ยวเดียวก็ถึง
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 6&t=344145
รูปประจำตัวสมาชิก
Te-Mu-Jin
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 336
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ย. 2009, 10:14
Tel: 0899015511
Bike: THORN Sherpa JAVA Fit / rm BD-1
ตำแหน่ง: Saraburi

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย Te-Mu-Jin »

Poster ที่แก้ไข + กติกา เสร็จหมดแล้วครับ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... start=8715

รูปภาพ
มอบใว้...เป็นสมบัติของแผ่นดิน
http://www.weekendhobby.com/board/photo ... 5169.shtml
คนเกษียณชวนปั่น ^-^
http://www.facebook.com/groups/295018767278147/?fref=ts
roychob
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1050
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 11:35
team: กลุ่มรวมมิตร
Bike: Touring

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย roychob »

วันเวลาผ่านไปแล้วอีกปี
คนใกล้ๆเกษียณได้แต่ไปส่งและเฝ้าติดตามด้วยความกระหายครับ
“ความจริงใจพบเจอได้ แต่เรียกหาไม่ได้
สหายคบหาได้ แต่เหนี่ยวรั้งไว้ไม่ได้ ”
•••ร้อยโฉบ•••
รูปประจำตัวสมาชิก
พิงธรรม์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3440
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 13:35
Tel: 08-7938-2688
team: สถาบันการปั่นท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
Bike: ทัวริ่ง Trek 470
ตำแหน่ง: 181 ซอยพระรามเก้า 41 ถนนเสรีเก้า เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง กรุงเทพ 10250
ติดต่อ:

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย พิงธรรม์ »

ขอบคุณพี่อำนาจ สงสัยพี่อำนาจใช้คอมพ์แบบมันไม่จัดเรียงหรือจัดหน้า เดี๋ยวผมช่วยปรับแต่ง ย่อหน้ากลัวคนแก่ อ่านแล้วลายตา

APM เขียน: ต้องขออณุญาตท่านหัวหน้า เสนอหัวข้อ การเตรียมตัวของสมาชิกใหม่ มาร่วมปั่นกับคนเกษียณ เสริมจากที่พี่ได้สรุปไว้ในประกาศชวนปั่นของปีนี้

คำถามที่พบบ่อย สำหรับการเตรียมเดินทางไกลท่องเที่ยวด้วยการปั่นจักรยานของกลุ่มคนเกษียณ

เนื้อหาที่เขียนขึ้นมานี้ มิได้มีเจตนาสร้างบรรทัดฐานใดๆ เนื้อหาส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว รวบรวมชึ้นก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนใหม่ๆ ผู้ที่สนใจจะมาร่วมปั่นในปลายปี การเตรียมตัวที่ดีในช่วงนี้ ปัญหาในการเดินทางก็จะน้อยลง การไปบอกกันกลางทางนั้นแก้ไขยาก สำหรับเพื่อนๆที่มีประสบการณ์อยู่แล้วขอให้คิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกัน

หัวข้อต่างๆที่นำเสนอ สรุปมาจาก การเดินทางจริงของคนเกษียณซึ่งอาจจะพาดพิงไปถึงสมาชิกเก่าบางคนได้ ผมมิได้มีเจตนาอื่นใดและต้องขออภัยถ้าทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจเกิดขึ้น

ขอแบ่งออกเป็นเรื่องๆ และเชิญให้เพื่อนๆ พี่ๆ พิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ



1) จักรยาน
ดูในเวปเพื่อหารถจักรยานสักคัน จะพบคำโฆษณาว่า รถทัวร์ริ่งแท้ๆ อยู่มากมาย สังเกตได้จากกระแสความนิยมที่สูงมากขึ้นในปัจจุบัน

เพื่อลดการโต้แย้งที่ไม่จำเป็น จึงขอวางกรอบของจักรยานที่เหมาะสำหรับทริปประเพณีคนเกษียณเท่านั้น


1.1 ล้อและยาง ขนาดเท่าไรดี
ล้อ 26นิ้วดีกว่า เหมาะกับการปีนเขาชันขณะที่ขนสัมภาระหนักในการเดินทาง ด้วยเพราะว่าแข็งแรงกว่า วงล้อเล็กใช้แรงกดบันไดน้อยกว่า ในด้านการเลือกขนาดยางที่ใหญ่ตั้งแต่ 1.5นิ้วขึ้นไป ก็หาได้ง่ายในต่างจังหวัด ส่วนตัวคิดว่ายางขนาด 1.75นิ้ว คุ้มค่าที่จะใช้ แลกเปลี่ยนระหว่างการยึดเกาะที่ดีกับแรงเสียดทานที่เพิ่มขึ้น ขนาดเกินกว่านี้จะเริ่มเป็นภาระในการเดินทางมาก

การเลือกล้อ และซี่ลวด ควรเลือกล้อที่แข็งแรง ไม่ควรเกี่ยงเรื่องน้ำหนัก ไม่ควรใช้ล้อสำหรับการแข่งขันในการเดินทาง ล้อเบาเคยใช้เดินทางทัวร์ ซี่ลวดขาดกลางทางต้องกลับบ้าน เพราะหาอะหลั่ยไม่ได้ อีกครั้งหนึ่งที่ เขี้ยวโม่หัก หลังจากขึ้นปางอุ๋ง ต้องเปลี่ยนล้อใหม่ โชคดีที่มีเวลาพัก 1วันจึงไปต่อพร้อมเพื่อนได้ ซี่ลวดสำรอง ควรมีติดรถไว้ โดยเฉพาะล้อ ขนาด 700 จะหายากมากในเส้นทาง และพบว่าขาดบ่อยที่สุด


1.2 แฮนด์หมอบ ,แฮนด์ตรง และ ปีกผีเสื้อ

แล้วแต่ชอบครับ แฮนด์หมอบ แคบและก้มหลบลมได้ดี มีตำแหน่งจับได้หลายแบบ แฮนด์ตรง ดีในด้านการควบคุม การดึงขณะปั่นขึ้นเขา การยันเมื่อลงทางชัน การเบรคที่ดีกว่า ถ้าแฮนด์ตรงมากอาจต้องเพิ่มตำแหน่งจับด้วยบาร์เอนด์ แฮนด์ปีกผีเสื้อ ก็หนักขึ้นอีกหน่อยแต่ได้ท่าจับมากขึ้น


1.3 เบรคสายหรือ น้ำมัน
เบรคสายดีกว่าสามารถตรวจสอบและซ่อมแซมเองได้ง่าย ก่อนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงซึ่งคาดคิดไม่ถึง

เบรคน้ำมันถ้าทำเองได้ก็ต้องพกน้ำมันและเครื่องมือไปด้วย

สายเกียร์ขาด ,สายเบรคหัวหลุด พบได้บ้าง โดยเฉพาะรถมือสองจากญี่ปุ่น ผ้าเบรค สำหรับ วีเบรค เปลี่ยนใหม่ก่อนเดินทางไปได้ตลอด

ถ้าเป็นของเก่าปีที่แล้ว ต้องมีผ้าเบรคสำรองติดไปด้วย 2คู่

สำหรับ ดิสเบรค ควรเลือก ชนิดเมทัล เพราะทนฝนได้ดีกว่า และต้องมีสำรองติดรถอย่างน้อย 3คู่

ดิสเบรคสาย เมื่อได้ยินเสียงดังของโลหะสีกัน ต้องหมั่นปรับตั้งระยะผ้าเบรค ด้านใน(ด้านติดซี่ลวด) เพราะอาจทำให้จานเบรค สีกับโครงเสื้อเบรค เวลาลงเขานานๆ เบรคไหม้ได้



1.4 ขนาดจานหน้า และเฟืองหลัง เท่าไรดี

สำหรับ การบรรทุกสัมภาระในทางเขาชันขึ้นลงทั้งวัน ควรเลือก จานหน้าใบเล็กขนาด 22ฟันเฟืองหลังใหญ่ขนาด 34ฟัน เมื่อจักรยานเสือภูเขาขนสัมภาระเท่ากัน ปั่นขึ้นเขาที่ความเร็วต่ำกว่า 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชุดขับเคลื่อนเสือหมอบ จะต้องเข็นเพราะกดบันไดไม่ลง(ไม่ใช่ว่าไม่มีแรงปั่น)


1.5 เบาะที่เลือกใช้ควรเป็นแบบไหนดี

ควรเลือกเบาะที่มีขายึดที่แข็งแรง หลักอานที่ยึดรางเบาะได้แน่นหนาไม่รูดเลื่อนได้เมื่อขึ้นทางชัน เบาะมีพื้นที่รับและกระจายน้ำหนักตัวที่กว้าง เพื่อลดแรงกดให้น้อยลงเมื่อปั่นอยู่บนเบาะเป็นเวลานาน

ไม่ควรใช้เบาะเสือหมอบที่แคบเพราะความเบา เราจะได้เบาะที่ไม่แข็งแรงพอสำหรับรถที่หนักมาก และรอยช้ำที่ก้นกดทับจนเป็นแผลทรมานมาก ยิ่งปล่อยให้ติดเชื้อจนอักเสบ ช่วงแรกให้รีบอาบน้ำทายาแก้อักเสบ แผลจะได้มีเวลารักษาก่อนเริ่มวันใหม่แผลจะหายเร็ว

การเดินทางไกลด้วยจักรยานใน 1-2 สัปดาห์แรกทุกคนต้องอดทนเจ็บก้นครับ เมื่อแผลหายและก้นแข็งแรงขึ้นก็จะไปได้ดีเอง

ที่สำคัญก็คือเบาะที่ดีจะทรมานน้อยหน่อย เวลาทรมานสั้นกว่า

ส่วนเรื่องการใช้กางเกงจักรยาน ในการปั่นทัวร์ริ่ง มีพี่หลายคนที่ไม่ใช้ ก็ดีครับผมลองแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างไม่ต้องเสียเงินซื้อมาใช้ ใส่โชว์..ดูแล้วไม่สุภาพ อับชื้นแห้งยาก แถมหนักรถอีก


1.6 ต้องเตรียมโซ่สำรอง ติดไปด้วยหรือไม่

โซ่ถ้าเปลี่ยนใหม่ก่อนเดินทางโซ่เส้นเดียวไปได้ตลอดทาง 5,000km ถ้าผู้ใช้หมั่นทำความสะอาดและหยอดน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ 500กิโลเมตร

เปลี่ยนโซ่ใหม่ทำให้รู้ว่า เฟืองหลังและจานหน้า ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วยัง

โซ่สำรองไม่จำเป็น แต่ควรมีตัวต่อโซ่สำรองไว้กรณีโซ่ขาด


พูดถึงโซ่ ก็คงต้องพูดเรื่องน้ำมันหล่อลื่น ลองมาหลายอย่างเกือบทุกชนิด ก็ว่าได้ จนมาติดใจ Super Lube เป็นสารหล่อลื่นสังเคราะที่มีเทปลอนผสม บรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฝนตกทั้งวันยังปั่นได้เงียบ ราคาไม่แพง ดำไม่มากและไม่เหนียวเช็ดออกง่าย หาได้ที่ร้าน HomePRO



1.7 ยางนอก ควรเปลี่ยนเส้นใหม่ก่อนเดินทาง

เพราะยางเก่าปีที่แล้ว เส้นหลังคงต้องหาเปลี่ยนกลางทาง ปัญหาใหญ่คือการฉีกขาดในป่าเขา ส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็นต้องพกยางนอกสำรองไปด้วย ใช้แผ่นผ้าใบทำจากยางนอกเสือหมอบ หรือแผ่นกันหนามรองที่รอยแผลขนาดใหญ่ของยางนอก ช่วยยึดเวลาใช้งานได้จนหายางใหม่ในตัวจังหวัด ยางในสำรอง ชุดปะยาง ที่งัดยาง และสูบพกพา เป็นสิ่งจำเป็น และ ต้องฝึกหัดทำเองให้เป็นสำหรับนักปั่นทัวร์ การปะยางกลางฝนเป็นเรื่องยากมาก

พวกใช้ล้อ 700 ยางเสือหมอบ ต้องมีสูบแรงดันสูง ถ้าแรงดันต่ำมาก ตกหลุมยางก็รั่ว เพราะกระแทกขอบล้อ รั่วทีเดียวสองรู แบบเขี้ยวงูกัด ยางรั่วบ่อย เพื่อนก็ไม่มีให้ยืม เห็นปะยางเกือบทุกวัน

ยางระเบิดระหว่างลงเขา สาเหตุ มักจะเกิดจาก ความร้อน และ เทปรองขอบล้อเก่ามากถอดบ่อยจนหลวม ทำให้ยางในดันมาชนกับหัวซี่ลวดจนแตก จึงควรตรวจสอบสภาพก่อนเดินทาง อีกสาเหตุที่พบก็คือแตกที่รอยตะเข็บของยางใน ซึ่งมักจะเกิดกับยางที่ผลิตในรุ่นเดียวกัน แตกบริเวณเดียวกันโดยหาสาเหตุไม่พบยิ่งทำให้เครียดใหญ่เพราะยางสำรองแตกหมด

ข้อแนะนำ ไม่ควรลงเขาชันนานเกินไป สำหรับ วีเบรคทุกๆ ระยะ 10 กิโลเมตร ลงชัน ควรจอดพักเพื่อลดความร้อน



1.8 จุดหมุนต่างๆ เช่น ดุมล้อ โม่ กระโหลก และ บันได ควรมีการตรวจสอบ ล้างเปลี่ยนจารบีใหม่ก่อนออกเดินทาง


1.9 ตะแกรงอลูมิเนียม พบปัญหาแตกหักบ่อยๆ น๊อตยึดตะแกรง หลวมจนหล่นหายกลางทาง ที่ยุ่งยากที่สุดคือ ตะแกรงสั่นจนน๊อตยึดหักคารูเอาไม่ออก แก้ชั่วคราวได้ด้วยแถบรัดสายไฟ


1.10 กระเป๋ากันน้ำ ควรใช้ของดีคุ้มค่ากว่า

เพราะเส้นทางจะทำให้ กระเป๋า แตกที่รอยเชื่อมจากแดดร้อน และการสั่นสะเทือน , ตาไก่ยึดที่แขวนกระเป๋าหลุด แต่ถ้ามีของเก่าอยู่แล้ว ก็ควรเย็บเสริมรอยเชื่อม และเปลี่ยนตาไก่ยึดที่แขวนกระเป๋าด้วยน๊อต M5 ในปีแรกต้องสั่งกระเป๋าคู่หลังใหม่มาแทนกระเป๋าที่แตกจากการใช้งานไม่ถึงเดือนและ เปลี่ยนตาไก่ยึดที่แขวนของคู่หน้า 3ครั้ง



1.11 ขาตั้งแบบไหนดี

แบบไหนก็ได้ สำคัญที่ การยึดติดกับเฟรมรถต้องมั่นคงแข็งแรง

รถไม่มีขาตั้งแย่ที่สุด เพราะต้องคอยหาที่พิงทุกวันๆละหลายๆครั้ง


ขาตั้งกลางต้องระวังหน่อยเวลาจอด ตามไหล่ถนน และยุ่งยากหน่อยเวลาทำความสะอาดชะโลมน้ำมันโซ่

ขาตั้งกลางมีโอกาสล้มมากกว่าขาตั้งข้างถึง 2เท่า ถ้าแข็งแรงเท่ากัน และหักง่ายกว่า

การเลือกใช้ขาตั้งข้าง 2จุด หน้าหลัง เมื่อบรรทุกเต็มทั้งหน้าและหลัง สามารถจอดจักรยานบนทางชันมากๆ ได้โดยรถไม่ถอยหลังกลับ และประกันเรื่องรถล้ม



1.12 บังโคลน จำเป็นมากในการปั่นขณะฝนตก โดยเฉพาะเวลาลงเนิน น้ำที่ดีดออกจากล้อหน้าจะวิ่งมาชนหน้าเข้าตา และทำเสื้อผ้าสกปรกไปหมด


1.13 เครื่องมือติดรถ ถ้าได้ตระเตรียมอย่างดีข้างต้นแล้ว ปัญหาก็จะน้อยมากแต่ก็อาจพบปํญหาอื่นได้ เช่น โซ่ขาด ยางรั่ว ซี่ลวดขาด สายเกียร์หย่อน


ถ้าท่านใช้อุปกรณ์เกรดพิเศษ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการซ่อมบำรุงหรือถอดเปลี่ยน ขอให้พกติดไปด้วยครับ


ที่เขียนมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าถ้าจักรยานของท่านไม่ได้เป็นตามนี้แล้วไปไม่ได้ต้อง เสียเงินเสียทองเพื่อเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย แต่ถ้าท่านมีเสือหมอบ อยู่แล้วก็คงร่วมปั่นได้จากกรุงเทพถึงหนองคาย บางคนกลับบ้านเอาเสือภูเขามาใหม่ก็ไม่มีใครว่า ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก


ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้กล่าวถึงเลยว่าต้องเป็นเฟรมอะไร เพราะไม่ใข่สาระสำคัญ


2) การตระเตรียมอื่นๆ


2.1 เต็นท์ เลือกซื้อเต็นท์นอนเดี่ยวที่มีฟลายชีต ป้องกันน้ำค้างได้ สามารถกางบนพื้นดิน หรือ กางในอาคารโดยมีเสาค้ำตัวเองไม่ต้องการสายดึงยึดเป็นพิเศษ เต็นท์ที่จัดทำขึ้นใช้ของกลุ่มคนเกษียณในปีแรก ถือว่าเป็นต้นแบบที่ดีที่สุด เพราะราคาถูก ใช้งานได้ดีในทุกพื้นที่ ทนกระแสลมแรงได้ และป้องกันความหนาวได้ มีความแข็งแรงทนทาน

แต่ก็มีจุดอ่อนเล็กน้อยที่การป้องกันน้ำหยดเมื่อฝนตกหนักเพราะ ผ้าฟลายชีต ไม่ได้ซีลกันน้ำตรงตะเข็บหลังคาไว้ แต่ก็สามารถปรับปรุงเองได้ไม่ยาก พี่เสือไฝได้แนะนำผมไว้

สำหรับเพื่อนๆที่มีเต็นท์ ไม่มีซีลกันน้ำ สามารถปรับปรุงเองได้โดยหาซื้อกาวซิลิโคนสีใส แบบไม่มีกลิ่นน้ำกรด (NEOBOND) โดยทาที่ตะเข็บด้านใต้ของผ้าฟลายชีตหลังคา และพื้นที่ที่น้ำหยด เพื่อความสวยงามควรใช้เทปกระดาษติดด้านข้างทั้งสองด้านของตะเข็บให้เสร็จก่อน แล้วใช้แปรงสีฟันเก่าทากาวให้เสร็จในครั้งเดียว ทิ้งให้แห้ง 24ชั่วโมง

ผมลองทำแล้วได้ผลดี

สำหรับเรื่องลดน้ำหนัก โดยใช้เสาอลูมิเนียมก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ


2.2 ถุงนอน

ใช้ ถุงนอน 3M micro fiber 150g/m2 ที่ Comfort +19C Transion +9c Risk 0c เพียงพอแล้วสำหรับใช้งาน ถ้ายังรู้สึกหนาวเพิ่มเสื้อผ้าได้ มีไม่กี่จุดพักที่ อุณหภูมิใกล้ 0c แผ่นรองนอนเพิ่มเติมความสุขได้ในการพักผ่อน


2.3 เสื้อผ้า

ถ้าเป็นไปได้หาเสื้อผ้าแบบแห้งไว จะเหมาะที่สุด เพราะเบา และตากแดดช่วงบ่ายเพียง 1-2ชั่วโมงก็แห้งแล้ว ซึ่งในการเดินทางจริงเรามีเวลาเท่านี้ในการซักและตากผ้า


2.4 ชุดกันหนาว

เตรียมให้เพียงพอ แต่ก็หาซื้อเพิ่มเติมได้ทุกที่ บางคนรอไปหาซื้อที่ตลาดโรงเกลือ ถ้ามีมากไปก็ส่งกลับบ้านได้ โดยเฉพาะหลังจากชอปที่ ตลาดท่าขี้เหล็ก


2.5 การซักล้าง

ปกติทำทุกวัน ควรมีเชือกราวตากผ้ายาว 10-12เมตร พร้อมไม้หนีบผ้า มีถังซักผ้าแบบพับได้ขนาด9ลิตร จะสดวกมากไม่ต้องรอคิว


2.6 เตา หม้อสนาม

ขึ้นอยู่กับตัวเองว่าชอบที่จะซื้อกิน หรือทำกินเอง กินกาแฟแบบไหน

ส่วนใหญ่มีไฟฟ้าในจุดพัก ขดลวดความร้อนก็สดวก จุดพักบางจุดอาจต้องกินอาหารสำเร็จรูป

ใครไม่อยากขนเตา จะขนแก๊สกระป๋องสำรองไปด้วยก็ไม่ผิดกติกาใดๆ


2.7 ค่าใช้จ่าย ไม่ต่างจากอยู่บ้าน อาจสูงกว่าบ้างในเรื่องที่พัก วัดและโรงเรียนต้องช่วยเงินทำบุญคนละ 50บาท ต่อคืน อุทยานแห่งชาติ 30บาทต่อคืน


2.8 ยา นอกจากยาประจำตัว แนะนำให้พกเพิ่มเติม คือ วิตามินรวม เกลือแร่ ผงถ่านเม็ดสำหรับคนท้องเสีย พลาสเตอร์ยา ครีมทารักษาผิวหนังอักเสบที่มีอาการคัน

แผลตัวคุ่นกัด คันมาก เกาแล้วไม่หายถามหายาทาที่แม่ฮ่องสอน ร้านขายยาแนะนำให้ใช้ BETA-DIPO ลองทาดู 3วันหาย หลังจากเกามาตั้ง 3สัปดาห์ ยาทากันยุงและคุ่น Wild lives 95

ยาแก้หวัดควรทานเมื่อถึงที่พัก ถ้าทานระหว่างปั่นจะรู้สึกแย่มากไม่มีแรงปั่น ยาบังคับให้พักผ่อน ครีมกันแดด หรือผ้าคลุมกันแดด


2.9 ทักษะ และ ประสบการณ์

ในการขี่ จำเป็นต้องมีทักษะในการควบคุมรถจักรยานลงทางชัน แล้วเข้าโค้งหักศอกได้ ถ้าไม่มั่นใจให้ลงเข็น การปล่อยให้รถลงเขาด้วยความเร็วสูงเกินไป ชิดคันหน้า อันตรายมากถ้ามีเหตุคาดไม่ถึงเกิดขึ้น


ทริปคนเกษียณไม่เหมาะกับมือใหม่ที่หัดขี่จักรยานยังไม่นาน

ผู้สนใจคงต้องฝึกฝนเพิ่มชั่วโมงบินสะสมประสบการณ์ขึ้นจนมั่นใจแล้วเข้าร่วม ไม่สายครับ :D :D


2.10 สำหรับสมาชิกใหม่

แนะนำให้มาเริ่มในช่วงแรก จะได้มีเวลาสร้างกล้ามเนื้อให้พร้อมที่จะเดินทางในช่วงป่าเขาหลังจากจังหวัดหนองคาย เราจะได้ทราบว่า มีอะไรที่ไม่จำเป็นในจักรยานและส่งกลับบ้านก่อนขึ้นเขา


2.11 น้ำดื่มสำหรับการเดินทางระหว่างวัน

บนทางป่าเขา ควรมีน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตร และเติมให้เต็มเมื่อพบจุดเติมน้ำ


หวังว่าคงตอบข้อสงสัยของสมาชิกใหม่ได้บ้าง

และหวังว่า ปีนี้คงไม่มีน้ำท่วมหนัก และมีสมาชิกใหม่ๆมาร่วมปั่นกันมากขึ้น อำนาจ



ท่านใดมีประสบการณ์ที่จะช่วยเพิ่มเติม ชวนเชิญท่านร่วมให้ประสบการณ์ด้วยครับ

ทั้งขอซูฮก ยกนิ้วให้พี่อำนาจ เขียนประสบการณ์ออกมาได้ดีจัง ขืนเป็นผมเขียน คงร่ายยาว ๑๐๐ หน้าไม่พอ ฝอยทั้งนั้น เนื้อไม่แน่นเท่าที่พี่อำนาจเขียน

ไอ้เรื่องขาตั้งนั้น พี่อำนาจแกว่าผมนะครับ

สมัยก่อนผมเป็นมือปั่น"ระดับโปร" ผู้ไม่ยอมใช้ขาตั้ง ปั่นคนเกษียณทริปแรก พี่อำนาจแกสุดจะรำคาญ เพื่อนเขากินน้ำกินขนมหมดไปแล้ว ผมเพิ่งจะหาที่พิงตั้งจักรยานได้

ไม่ทันกิน พี่อำนาจว่า

ปืที่สอง พี่อำนาจลงทุนหอบขาตั้งมาให้ผมหนึ่งอันครับ ใช้แล้วสุดติดใจ

ไม่ปงไม่เป็นมันแล้วละครับ "แบบมือโปร"
:lol: :lol: :lol:

จารึก หลังสวน/พิงธรรม์


Touring in Style...by Jaruek
ประวัติคนเกษียณชวนปั่นประเพณีปีละครั้ง ฉบับย่อ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &start=885
รูปประจำตัวสมาชิก
Karen Nkk
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1016
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 16:38
team: ไม่มี
Bike: Thorn Red Karen NKK, Surly Long Necked Karen

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย Karen Nkk »

หัวหน้าคะ ขอแถมกติกาอีกหนึ่งข้อค่ะ

ห้ามพูดเรื่องการเมือง (นะคะ ขอร้อง...)
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1025318
คนเกษียณชวนปั่นประเพณีครั้งที่ 5
รูปประจำตัวสมาชิก
XA_Bike
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 72
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 12:56
Bike: Folding Bike:Yeah / Touring Bike:Merida Crossway 300V / Road Bike:Specialized Allez

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย XA_Bike »

ติดตามตลอดอย่างชื่มชม....ผมอีก ๑๐ ปี เกษียณ จะร่วมปั่นในครั้งที่ ๑๓ นะครับ
... The secret of success in life is to be ready for your opportunity when it comes ...
รูปประจำตัวสมาชิก
NOKNICE
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 10311
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 11:33
team: ไร้สังกัด,ปั่นตามใจตรู
Bike: MERIDA MATT 40D(ของแฟน),Trek8500 , Storck G2

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย NOKNICE »

ขอแอบมาเชียร์ครับ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
อ.ดำ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 596
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 14:44
Tel: 0897183786
team: ทีมกลิ่นลำดวน
Bike: ราเลห์ Haro ARAYA
ตำแหน่ง: 528ถ.ศรีสะเกษอ.เมืองจ.ศรีสะเกษ33000

Re: คนเกษียณชวนปั่นประเพณี ครั้งที่สาม พุทธศักราช ๒๕๕๕

โพสต์ โดย อ.ดำ »

เข้ามาแจมตามประสาแฟนคลับกลุ่มผู้เฒ่าหลังเกษียณ ต้องขออนุญาตนำหลักการปั่นและข้อชี้แนะไปให้สมาชิกที่ศรีสะเกษได้ศึกษานะครับ มีประโยชน์มากเพราะผมได้เอ่ยอ้างถึงกลุ่ม สว.ปั่นเที่ยวบ่อยๆเวลามีคนมาปรึกษาเรื่องเตรียมตัวออกทริป คราวนี้เรียบเรียงซะเป็นตำราเลย :mrgreen: อาทิตย์หน้าศรีสะเกษมีทริปเล็กๆครับสองวันหนึ่งคืนพาทีมคุณต้อมโกสุมจากมหาสารคาม ปั่นสามน้ำตกขุนหาญ-ผามออีแดง ยังไม่เกษียณก็ออกทริปสั้นๆไปก่อนครับ :lol: :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
ศรีสะเกษก็มีเนินพิศวงครับ
ศรีสะเกษก็มีเนินพิศวงครับ
Copy of DSCF7817_resize.jpg (103.8 KiB) เข้าดูแล้ว 18901 ครั้ง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “จัดทริปย่อย”