++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

ผู้ดูแล: ผู้สนับสนุนเวบ

รูปประจำตัวสมาชิก
Sport Bicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2044
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 18:52
Tel: 02-637-5000 ต่อ257
team: www.sportbicycle.co.th
Bike: Specialized , Colnago , Zipp , Controltech , Skorpion , FFWD , GEO

++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Sport Bicycle »

รูปภาพ

...ZIPPล้อRoad bikeระดับโลกกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่Team Garmin-Slipstream , Cervelo Test Team , Team Saxo Bankและทีมชั้นนำไว้วางใจ ซึ่งต้นเดือนส.ค.52จะเข้ามาให้ทุกท่านได้สัมผัสและเป็นเจ้าของ
...ก่อนอื่นขอกล่าวเกี่ยวกับประวัติ เทคโนโลยี รุ่นต่างๆ ผลิตภัณฑ์และราคา ตามลำดับนะครับ


เกี่ยวกับ Zipp
...Zipp Speed Weaponry หรือยุทธภัณฑ์แห่งความเร็วของ Zipp ได้ถูกเลือกไปรับใช้บริษํทและนักกีฬาชั้นนำอย่างเป็นสากลในโลกของจักยานและรถเข็น wheelchair ซึ่ง Zipp ได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านสมรรถนะที่สูงที่สุดจากส่วนประกอบที่ยอดเยี่ยมสอดคล้องกับการออกแบบที่เป็นนวัตกรรมเลือกใช้วัสดุและกรรมวิธีการผลิตที่ดีที่สุดเท่านั้น
...โรงงานและสำนักงานตั้งอยู่ ณ. เมืองอินเดียนาโปลิส มลรัฐอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม SRAM Group
โปรโมชั่น “เก่าเทิร์นใหม่ รับเพิ่มสูงสุด10,000 บาท(1-31ก.ค.53) ---> http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 1&t=201524
รูปประจำตัวสมาชิก
Sport Bicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2044
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 18:52
Tel: 02-637-5000 ต่อ257
team: www.sportbicycle.co.th
Bike: Specialized , Colnago , Zipp , Controltech , Skorpion , FFWD , GEO

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Sport Bicycle »

ประวัติของ Zipp

ค.ศ. 1988
๐เดือนมีนาคม ชื่อ Copositech ได้ถูกก่อกำเนิดขึ้น สัญลักษณ์ Zipp ถูกจดทะเบียน พร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ล้อดิสค์ น้ำหนักเบา 1150 กรัมและ 1350 กรัม ที่ออกแบบสำหรับใช้กับเฟือง 7 ชั้น มีให้เลือกใช้ได้ 4 สี
ค.ศ.1989
๐ต้นกำเนิดล้อ Zipp 3000 แบบสาแมกน
ค.ศ.1990
๐เกิดการพัฒนาล้อต้นแบบ Zipp 440 ล้อขอบสูง และเฟรมต้นแบบ Zipp 2001 เกิดนวัตกรรม Double Side Disc Hub ที่ออกแบบสำหรับทั้งรถถนนและรถลู่
๐พร้อมทั้งชัยชนะแรกในการแข่งขันฮาวายไตรกีฬา 1990
ค.ศ.1991
๐ล้อ Zipp 400 เริ่มต้นผลิตในระบบอุตสาหกรรม พร้อมทั้งสิ้นสุดการออกแบบเฟรม Zipp 2001 สำหรับทุกขนาดได้อย่างลงตัว
๐ทั้งล้อ Zipp 3000 และล้อดิสค์มีให้เลือกในสีสันถึง 11 แบบ
๐ได้รับชัยชนะในการแข่งขันรถลู่ชิงแชมป์โลกประจำปี 1991
ค.ศ.1992
๐เริ่มต้นผลิตล้อ Zipp 440 และเฟรม Zipp 2001 ในระบบอุตสาหกรรม ออกวางตลาดกลางปีนั้น พร้อมทั้งเริ่มต้นโครงการออกแบบดุม Zipp
๐ได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ในการแข่งชิงแชมป์แห่งชาติหลายสนาม รวมถึงเซ็นต์สัญญาร่วมมือกับ Team Shaklee, Kent Bostick, Rebecca
๐ผลิตล้อดิสค์สำหรับล้อ 26"
ค.ศ.1993
๐เฟรม Zipp 2001 ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดด้วยระบบซับแรงกระแทกที่พัฒนาใหม่ และคิดค้นเฟรมสำหรับรถลู่ได้สำเร็จ
๐ดุม Zipp ตัวแรกและล้อรถลู่แบบ Zipp 3000 เริ่มต้นผลิตออกสู่ตลาด
๐มีการทำสัญญาร่วมมือกับทีม L.A. Sheriffs/Chevrolet Team และได้รับชัยชนะในการแข่ง ITU Championship
ค.ศ.1994
๐Zipp ออกแบบระบบเบรคคาร์บอนที่ใช้ร่วมกับเฟรม Zipp 2001 ออกมา พร้อมทั้งพัฒนาเฟรมให้เบากว่าเดิมอีก 200 กรัม มีการผลิตดุม Zipp 145 สำหรับรถเสือภูเขา
๐ได้รับชัยชนะอีกครั้งในการแข่ง ITU Championship และ การแข่งไตรกีฬาชิงแชมป์โลก
ค.ศ.1995
๐ยกเลิกการผลิตล้อดิสค์ 1150 และ 3000 ส่งล้อ Zipp 950 มาแทนที่ พร้อมทั้งเสนอล้อ Zipp 340 และ ดุม Zipp 217 ซึ่งเบาที่สุดในขณะนั้นออกมา มีการเริ่มต้นโครงการ Zipp 530
๐ได้รับชัยชนะในการแข่ง Hawaii Ironman เป็นครั้งที่ 4 และแชมป์โลก 4 เหรียญได้มาบนล้อ Zipp
ค.ศ.1996
๐มีการผลิตเฟรม Zipp 3001 และล้อหน้าแบบดิสค์
๐เซ็นต์สัญญากับทีม Forcesud จากฝรั่งเศสและ Richard Veranque นักแข่งจากทีม Festina
ค.ศ.1997
๐ขอบล้อ Zipp 515 MTB และเฟรม 3001 รุ่นพิเศษได้ถูกผลิตออกสู่ตลาดเป็นตัวสุดท้ายก่อนยุติสายการผลิตเฟรมจักรยานในปลายปีนี้
๐ล้อดิสค์สามารถรองรับทั้งเฟือง Shimano และ Campagnolo
ค.ศ.1998
เป้นครั้งแรกที่ Zipp เริ่มต้นนำเสนอล้อสำเร็จรูปในรุ่น ZR1, ZR, ZV และ ZV1 รวมไปถึงการผลิตจานหน้าเสือภูเขาแบบคอมแพ็คและจานหน้าคาร์บอน
กติกาใหม่ชอง UCI ทำให้เฟรม 2001 และ 3001 ไม่สามารถใช้ในการแข่งขันได้อีกต่อไป
ค.ศ.1999
๐ล้อ Zipp 909 ออกวางตลาด ยกเลิกระบบจานหน้าทั้งหมดเหลือเพียงการพัฒนาเพื่อรองรับกับการใช้งานร่วมกับ Shimano เท่านั้น และยุติการผลิตอย่างสิ้นเชิงในสิ้นปีนี้
๐มีการออกแบบทางวิศวกรรมให้กับระบบการเชื่อมขอบยางงัดใหม่
๐ยุติการผลิตชิ้นส่วนจักรยานเสือภูเขาทั้งหมด มุ่งเน้นความเป็นสุดยอดของจักยานเสือหมอบเท่านั้น
ค.ศ.2000
๐ก้าวสู่ศตวรรษใหม่ ด้วยการร่วมมือกับทีม Lotto-Adecco และในปีนี้เองที่ Jacky Durand คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ หลายเสตจได้สำเร็จ
ค.ศ.2001
๐พัฒนาระบบการผลิตขอบล้อใหม่ทั้งหมดรวมถึงการคิดค้นเทคโนโลยี ICT ที่สามารถลดน้ำหนักขอบล้อลงไปได้อีก 25%
ค.ศ.2002
๐เกิดเทคโนโลยี VCLC ที่ลดแรงสั่นสะเทือนจากถนนลงไปอีก 10%
๐ล้อ Z3 และล้อรถลู่ 360,404 ออกวางตลาด มีการเริ่มต้นโครงการพัฒนาชุดดุม 84/202
ค.ศ.2003
๐ล้อ Z4 และล้อดิสค์แบบ dimple ได้ถูกผลิตออกสุ่ตลาดเป้นครั้งแรก
๐มีการทำสัญญากับทีม CSC
๐ได้รับชัยชนะมากมายกับ Tyler Hamilton ที่ใช้ล้อ Z3/Z4 และชนะหลายเสตจพร้อมทั้งทีมยอดเยี่ยมในการแข่งตูร์ เดอ ฟรองซ์ภายใต้ชื่อทีม CSC
๐ระบบลูกปืนเซรามิคได้ถูกเสนอให้เป้นการอัพเกรดดุมได้ พร้อมทั้งพัฒนาดุมระบบ 95/220
ค.ศ.2004
๐ทีม Phonak ทำสัญญาร่วมกัน
๐ระบบดิมเปิล(dimple)ได้รับการพัฒนามายังขอบล้อแบบ 808 และ 404 ในที่สุด ขณะเดียวกันได้ออกล้อน้ำหนักเบามาในรหัส 202
๐ล้อต้นแบบ Zipp 999 ได้รับเหรียญทองและทองแดงในการแข่งขันโอลิมปิค พร้อมทั้งอันดับ 3 จากตูร์ เดอ ฟรองซ์โดย Ivan Basso
ค.ศ.2005
๐ชุดล้อ 606 ได้กำเนิดขึ้นจากการนำล้อ 404เป้นล้อหน้าและ 808 เป็นล้อหลัง
๐ล้อ Zipp 303 ถูกผลิตออกสู่ตลาดด้วยขอบล้อมีเดียม 44 มิลลิเมตรแบบดิมเปิล ที่มีความสามารถทางอากาศพลศาสตร์เท่ากับล้อ 404 ที่ผลิตในปี ค.ศ.2001
๐Dave Zabriskie ทำสถิติโลกแข่งไทม์ไทรอัลใน Tour History บนล้อ 999 ด้วยความเร็ว 543676 กม./ชม.
๐ระบบดุมใหม่ 82/182 ได้ถูกผลิตลดน้ำหนักลงไปอีก 38 กรัม แยกสีโม่สำหรับเฟืองด้วยสี น้ำเงินสำหรับเฟือง Campagnolo และ สีแดงสำหรับ Shimano
๐เริ่มผลิตแฮนด์และเสต็มคาร์บอน พร้อมทั้งพัฒนาล้อดิสค์และดุมสำหรับรถลู่
ค.ศ.2006
๐บริษัทนำเสนอแบรนด์ Flashpoint
๐ดุมแบบ 108/208 ได้ทำการพัฒนาและผลิตออกมาด้วยน้ำหนักที่เบากว่าเดิม 60 กรัม
๐จานหน้า Zipp 300, กระเป๋าล้อ, กระเป๋าอุปกรณ์ ถูกส่งออกสู่ตลาดและได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม ล้อทั้งหมดได้รับการพัฒนาระบบเคลือบที่สามารถลดการกระแทกจากด้านข้างได้สำเร็จ มีการใช้ระบบสัญลักษณ์แสดงการสึกของขอบล้อเพื่อสมรรถนะการเบรคที่สูงที่สุด ขยายสายผลิตภัณฑ์แฮนด์ออกไป
๐ความสำเร็จมากมายบนล้อ Zipp 999 ทั้งการแข่งจักรยานและไตรกีฬา
ค.ศ.2007
๐หลังจากได้รับการทดสอบจากนักแข่งอาชีพ ชุดล้อ 606,808 สำหรับรถลู่ใช้ระบบซี่ลวด 20/24 และล้อชุด 343 ที่เกิดจากการผสมระหว่าง 303 และ 404 ก็ได้ออกสู่ตลาด
๐ZedTech ล้อสั่งทำพิเศษที่สามารถเลือกสารเคลือบขอบล้อและดุมแบบดิมเปิลได้ รวมถึงการสั่งทำสีและเลือกใช้ดุม Powertaps
๐ปีนี้เองที่ SRAM กับ Zipp ได้เข้ารวมกันเป็นหนึ่งเดยว
ค.ศ.2008
๐เทคโนโลยี Carbon Bridge ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและ stiff ของล้อคาร์บอนยางฮาล์ฟทุกๆตัว มีการพัฒนาล้อ 202 แบบใหม่ที่ขอบ 32 มิลลิเมตรแต่มีน้ำหนักเบาเท่าเดิม พัฒนาล้อขอบสูงพิเศษ 108 มิลลิเมตรที่เมือใช้ร่วมกับล้อดิสค์จะสามารถลดแรงฉุดด้านหลังได้มากกว่าปกติ
๐ชุดจานหน้า Vuma แบบคอมแพ็คที่ใช้ระบบกระโหลก 30 มม. มีน้ำหนักเบาเพียง 560 กรัม แต่มีความแข็งแรงสูงที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งทั้งหลาย
๐ปีนี้เริ่มต้นแนวคิดที่จะผลิตล้อคาร์บอนที่ซ่อนระบบ nipple ใว้ภายในเพื่อความแข็งแรงลดจำนวนซี่ล้อและได้น้ำหนักที่ดีขึ้น
ค.ศ.2009
๐ระบบดุมรถถนนเปลี่ยนเป็น 88/188 และพัฒนาเทคโนโลยีดุมมากมายผลที่ได้คือความ stiff ที่สามารถส่งกำลังได้มากขึ้น
๐ลดจำนวนซี่ลวดในล้อหลายรุ่น รวมถึงการออกแบบลักษณะขอบของ 404 และ 808 ใหม่ นอกจากนี้ล้อ 404 ยังได้รับการพัฒนารูปแบบของดิมเปิลทั้งแบบยางฮาล์ฟและยางงัด
๐ระบบ nipple ภายนอกของล้อ 202 และ 1080
๐ล้อสั่งทำพิเศษ ZedTech มีตัวเลือกมากขึ้น สามารถเลือกสำหรับชุดเฟือง SRAM RED ได้
๐ออกแบบเวปไซท์และแคทตาล็อคสินค้าด้วยภาพลักษณ์แบบใหม่
๐Zipp เป็นผุ้ผลิตและออกแบบล้อ Sram S40, S60 และ S80
โปรโมชั่น “เก่าเทิร์นใหม่ รับเพิ่มสูงสุด10,000 บาท(1-31ก.ค.53) ---> http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 1&t=201524
รูปประจำตัวสมาชิก
Sport Bicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2044
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 18:52
Tel: 02-637-5000 ต่อ257
team: www.sportbicycle.co.th
Bike: Specialized , Colnago , Zipp , Controltech , Skorpion , FFWD , GEO

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Sport Bicycle »

Technology

...เป็นเรื่องจริงที่ไม่มีอะไรสามารถพัฒนาสถิติในการแข่งขันได้ดีเท่ากับการฝึกซ้อมอีกแล้ว แต่ในด้านของอากาศพลศาสตร์หรือ Aerodynamics เป็นสิ่งที่อุปกรณ์สามารถส่งให้เกิดผลต่างได้มากที่สุดที่จะพัฒนาสถิติของนักกีฬาได้ ด้วยเหตุนี้อุโมงค์ลมจึงเปสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือการทดสอบความสามารถทางด้านอากาศพลศาสตร์ในอุโมงค์ลมและพัฒนามันบนการใช้งานจริงอย่างเป็นลำดับ

...ในอุโมงค์ลมที่ได้รับการออกแบบพิเศษของ Zipp การทดสอบไม่ได้เป็นแค่เพียงภาพถ่ายสวยๆภาพหนึ่ง เราเริ่มศึกษากันตั้งแต่ต้นแบบพิเศษที่สามารถปรับปั้นรูปทรงได้จนถึงจุดที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปผลิตเป้นตัวต้นแบบเพื่อนำมาศึกษาผลที่ได้อีกครั้ง จากนั้นจึงนำไปผลิตในมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อส่งไปให้นักแข่งได้ทดสอบมันในสถานการณ์จริง และสุดท้ายจะเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับคนทุกคนที่พร้อมจะทำให้คุณไปได้เร็วขึ้น

ล้อ Zipp พร้อมจะแข่งตั้งแต่กำเนิดมากก่อนจะถึงมือคุณ ก่อนที่มันจะพร้อมที่จะได้ถ่ายรูปเคียงคู่กับรางวัลเสียอีก

Aerodynamic อากาศพลศาสตร์เคล็ดลับของความเร็ว

มารู้จักกับเทคโนโลยี ABLC กัน
...เทคโนโลยี ABLC ( Aerodynamic Boundary LAyer Control )แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากทฤษฏีที่ได้รับการพิสูจน์ว่าอากาศจะไหลผ่านไปได้เร็วขึ้นหากอากาศนั้นอยู่ชิดติดกับผิวของวัสดุมากที่สุด ด้วยรูปทรงของขอบล้อ Zipp จะทำให้อากาศไหลผ่านไปด้วยความลื่นและทำมุมเพียง 1-2 องศากับแนวเดิมเท่านั้น ซึ่งจะลดแรงฉุดทางด้านหลังของขอบล้อไปได้มากมาย ประกอบกับการออกแบบหลุมแบบดิมเปิล จะยิ่งทำให้อากาศเกิดการแนบตัวกับผิววัสดุมากขึ้น กลายเป็นกระแสของแรงที่คงการเคลื่อนที่ของขอบไปในตัว แนวคิดเดียวกับหลุมบนลูกกอล์ฟ

...แน่นอนว่าการที่ขอบล้อมีหลุมดิมเปิลอยู่ทั่วไปนั้นจะเกิดแรงต้นบนผิวมากกว่าขอบเรียบๆนิดหน่อย ทว่าแรงต้านบนผิวนี้มีค่าน้อยกว่าสิบเท่าของแรงที่เกิดจากแรงฉุดด้านหลังของวัสดุผิวเรียบที่แหวกผ่านอากาศไป ด้วยเหตุนี้ทำให้ผลสมรรถนะทางอากาศพลศาสตร์โดยรวมทำได้ดีกว่าเดิมมากมาย ในขณะที่ล้อแอโรส่วนมากในโลกนี้จะทดสอบล้อด้วยมุมองศาของลม 5-10 องศาทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงไม่ถึงหนึ่งในสี่ของสถานการณ์จริงบนถนน และเมื่อเกินจากมุมที่ทดสอบไปแล้วจะเกิดแรงฉุดอย่างมหาศาลทางด้านหลังของขอบ แต่ด้วยเทคโนโลยี ABLC ของ Zipp ทำให้ที่ทิศทางลมกำเนิดมาถึง 20 องศา แต่ล้อก็ยังสามารถรักษาความลู่ลมเอาใว้ในเกณฑ์ที่ยังคงสมรรถนะได้

...การทดสอบนี้ได้รับการศึกษาจากนักกีฬาที่พบว่าในสถานการณ์จริง แรงลมและอากาศที่ต้านนั้นจะมีจากทิศทางระหว่าง 10-20 องศาจึงส่งผลเป้นหลัก ที่ 0-5 องศามีปัจจัยที่สำคญมาลดความสามารถของขอบล้อทุกชนิดก็คือตัวยางที่ติดตั้งบนขอบ และที่ 25 องศาขึ้นไปตัวพื้นผิวของวัสดุจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญเหนือกว่าความสามารถแหวกอากาศเพียงปกติทันที

...ดังนั้นแนวคิดในการออกแบบหลักก็คือการสร้างสภาวะอุดมคติขึ้นมาในทิศทาง 10-20 องศาที่อากาศผ่านไป แต่ยังคงซึ่งสมรรถนะแหวกอากาศและลดแรงฉุดด้านหลังที่เกิดขึ้นจากการแหวกอากาศตรงๆ ผลที่ได้เป็นล้อที่ไม่เพียงแต่พุ่งทะยานไปด้านหน้าได้เร็วขึ้น แต่ยังสามารถคงความเร็วนั้นเอาใว้ได้ในทุกๆสภาพของทิศทางอากาศเบื้องหน้า

รูปทรงของขอบ
ความกว้างและความลึกของขอบ คือหัวใจที่อ่อนไหวสำหรับการผลิตล้อจักรยานระดับสูง

ความเป็นมา
...ตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 80s กระแสความนิยมล้อแอโรไดนามิคส์ตื่นตัวอย่างแรงหลังจากที่ Francesco Moser ทำสถิติโลกขึ้นมาใหม่ ล้อดิสค์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมสำหรับการลดแรงฉุดทางด้านหลังที่เกิดขึ้น แต่สำหรับล้อหน้า ยังคงหาทางออกเพื่อการพัฒนารูปทรงของล้อที่สามารถแหวกอากาศไปได้ดีกว่าเดิมโดยที่ยังควบคุมรถได้ง่าย ซึ่งจุดนี้คือจุดอ่อนสำคัญของล้อดิสค์ที่ฝังรากลึกลงไปยังนักกีฬาทุกระดับถึงความอันตรายของล้อดิสค์ที่อ่อนต่อการรับมือสถานการณ์ลมด้านข้าง

...ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90s เป้นช่วงเวลาที่คนเชื่อกันว่าล้อคอมโพสิทแบบใหม่ที่มีระบบแกน 3-4 แกนจะสามารถลดแรงฉุดได้ดีกว่าล้อที่ใช้ระบบซี่ลวดเล็กๆ 28-32 ซี่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั้งจากผุ้ผลิตและนักกีฬาที่เลือกมาใช้ ทว่าในความเป็นจริงนั้นล้อแบบแกนนี้ไม่ได้ผ่านลมด้านข้างไปได้ดีกว่าล้อดิสค์แต่อย่างใด ยังคงมีผลกระทบจากลมตีด้านข้างเท่าเดิมเพราะอากาศไม่สามารถแหวกผ่านกระแสอากาศที่เกิดขึ้นได้ บวกเข้ากับผลกระทบแบบใหม่ที่เรียกว่า "แอโร่อีลาสติค" หรือสภาพวะที่เกิดแรงดันและฉุดสลับกันไปเมื่อโดนลมกระแทกด้านข้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการบังคับรถอย่างยิ่ง ทำให้นักกีฬาจำนวนไม่น้อยไม่คิดว่ามันคุ้มค่าที่จะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นนิดหน่อยแลกมากับการคุมรถที่อาจอันตราย

...ดังนั้นจึงเป็นที่มาของแนวคิดใหม่ในการผลิตล้อที่ใช้ระบบซี่แบบเดิมรวมเข้ากับขอบล้อคอมโพสิทที่ลึกกว่าปกติ ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลอย่างดีเยี่ยมต่อมุมมองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่นานหลังจากนั้นการศึกษาพิสูจน์ได้ว่า ล้อแบบใหม่นี้สามารถส่งสมรรถนะมากกว่า 90% ของสมรรถนะที่ได้จากล้อแบบแกนในอุโมงค์ลม กลับกลายเป็นว่าความสูงของขอบล้อจะมีผลมากกว่าจำนวนซี่ล้อที่ต้องตัดผ่านอากาศไป แนวคิดนี้เป็นก้าวเดินใหม่ที่สำคัญต่อการพัฒนาล้อจักรยานในช่วง 10 ปีหลังสุด และการศึกษาที่ลึกลงไปยิ่งกว่านั้น ค้นพบว่ารูปทรงของขอบล้อก็ยิ่งมีส่วนสำคัญยิ่งไปกว่ารูปทรงของซี่ล้อเช่นกัน

...ตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาบรรดาผู้ผลิตล้อจักรยานต่างพากันผลิตล้อคอมโพสิทขอบสูงโดยออกแบบรูปทรงของขอบให้มีหน้าตัดเป็นตัว V หรือ U เป็นส่วนมาก แต่ก็มีการออกแบบขอบล้อที่พยายามผสมผสานจุดเด่นของทั้งสองประการเข้าด้วยกัน ทว่าด้วยการศึกษาที่ยังไม่ลงลึกทำให้ขอบล้อแบบนี้ในยุคนั้นจำกัดหน้ายางอยู่แค่ 17 เท่านั้น รวมถึงผิวจับเบรคที่โค้งก็เป็นอีกอุปสรรคที่นักออกแบบต้องแก้ให้ได้

รูปภาพ
...กระทั่งปี 1998 Zipp ได้พัฒนาขอบล้อรูปทรงผสมผสานแบบใหม่ที่มีแนวขอบแบรคที่เป็นแนวระนาบ พร้อมด้วยขอบที่ป่องออกมามากกว่าปกติ เป็นการค้นพบใหม่ที่ปัดเป่าให้ขอบรูปทรงแบบเก่ากระเด็นออกไปจากแนวคิดนักออกแบบ ในอดีตขอบทุกตัวที่มีความสูงเท่ากันจะมีค่าอากาศพลศาสตร์ที่ใกล้เกียงกันมาก แม้ว่าจะมีความพยายามสร้างความต่างนิดๆหน่อยๆจากรายละเอียดระยะการออกแบบต่างๆ แต่สมรรถนะที่ดีที่สุดจะยังถูกจำกัดด้วยปัจจัยใกล้เคียงกันเช่นหน้ายางที่รองรับได้ไม่มากนัก Zipp จึงเข้ามาแก้ปัญหาจุดนี้เพื่อทำตลาดทันที

ย้อนอดีตมามองปัจจุบัน
...ขอบล้อแบบเฉพาะตัวของ Zipp กลายเป็นหนึ่งในขอบล้อที่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบมากที่สุด เพื่อรองรับทุกความสูงของขอบและความต้องการใส่ยางหน้ากว้างขนาดต่างกัน Zipp จึงค่อยๆพัฒนาจนขอบมีรูปร่างแบบ U มากกว่า V เนื่องจากขอบล้อที่กว้างกว่าจะสามารถออกแบบพื้นผิวเบรคที่สามารถนำไปยืดหยุ่นใช้งานได้มากกว่า ซึ่งส่วนป่องกลางนั้นสามารถสร้างความคล่องตัวให้นักออกแบบสามารถทดลองเลื่อนตำแหน่งเพื่อศึกษาหาจุดที่ดีที่สุดในขอบแต่ละแบบได้ จากการพัฒนามากว่าสิบปีทำให้เกิดรูปทรงในอุดมคติของล้อ Zipp 404 และ 303 รวมถึงการขยายการต่อยอดแนวคิดไปยังล้อ 202, 808, 1080 และ Sub-9

...กระทั่งปี 2001 Zipp ได้ค้นพบว่าการที่ตัวยางมีหน้ากว้างมากกว่าขอบจะเป็นจุดอ่อนสำคัญที่จะลดความแอโรของล้อลงไป นั่นก็เป็นเหตุที่ทำให้ขอบล้อหลายยี่ห้อจำกัดความกว้างของยางที่จะใช้เอาใว้ที่ค่าหนึ่งเท่านั้น ทำให้การจะวัดสมรรถนะของล้อยุคเก่าจึงไปตกที่ตัวยางมากกว่าความสมบูรณ์ของขอบล้อ ล้อบางตัวจะลดสมรรถนะลงไปมากกว่า 20% ทันทีที่เปลี่ยนใช้ยางหน้ากว้างกว่าเดิมเพียงนิดเดียว ในขณะที่ล้อ 404 จะลดความสามารถลงไปไม่ถึง 5% เมื่อใช้ยางหน้ากว้างขึ้น

แผนภูมิแสดงสมรรถนะของขอบล้อ
รูปภาพ

...ในแผนภูมินี้จะเห้นได้ว่ารูปทรงของขอบล้อที่ได้รับการพัฒนาจะสามารถคงสมรรถนะเอาใว้ได้หลากหลายทิศางลมมากกว่ารูปทรงแบบปกติ และจากการศึกษายังพบว่าในรูปแบบของล้อ 404 และ 808 ในจุดอุดมคติสามารถรักษาพลังงานได้ 3-7 วัตต์ในการออกแรงกระทำกับล้อ ซึ่งมันหมายถึงความเร็วและการเคลื่อนที่ไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงมากในสถานการณ์จริง และยิ่งศึกษาถึงแรงด้านข้างที่เกิดขึ้นจะยิ่งได้กราฟที่กระทำจากรูปทรงล้อแบบต่างๆดังนี้
รูปภาพ

บทสรุป
...จะเห็นได้ว่าล้อและขอบล้อของ Zipp ที่ได้รับการพัฒนารูปทรงแตกต่างไปจากเดิมจะยิ่งก่อให้เกิดสมรรถนะและความสามารถทางอากาศพลศาสตร์ดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายสอดคล้องกับชีวิตจริงมากขึ้น ซึ่งสร้างความต่างจากล้อรูปทรงเก่าอย่าง V และ U ที่ยังคงมีล้อและขอบล้อมากมายนำมาเป้นแนวทางในการออกแบบอยู่จนถึงทุกวันนี้
โปรโมชั่น “เก่าเทิร์นใหม่ รับเพิ่มสูงสุด10,000 บาท(1-31ก.ค.53) ---> http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 1&t=201524
รูปประจำตัวสมาชิก
Sport Bicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2044
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 18:52
Tel: 02-637-5000 ต่อ257
team: www.sportbicycle.co.th
Bike: Specialized , Colnago , Zipp , Controltech , Skorpion , FFWD , GEO

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Sport Bicycle »

รูปร่างของซี่ล้อคือปัจจัยสำคัญ

รูปร่างของซี่ล้อ
...หนึ่งในกุญแจสำคัญเกี่ยวกับซี่ล้อเกิดขึ้นเมื่อการศึกษาพบว่าแรงฉุดด้านหลังของล้อลดลงอย่างมากเมื่อล้อมีจำนวนซี่น้อยลง การทดสอบในยุคแรกๆศึกษาไปที่การหาจำนวนซี่ล้อที่เหมาะสมแต่ซี่ล้อทั้งหมดยังคงเป็นซี่ล้อกลมแบบปกติ ซึ่งวิธีเดียวที่จะลดแรงฉุดได้ก็คือการลดจำนวนซี่ลงให้ได้มากที่สุด

...หน้ายางมีผลกับการแหวกอากาศไปเบื้องหน้าพอๆกันกับความสามารถของขอบล้อ ดังนั้นการออกแบบล้อที่ดีหมายถึงควบคุมอากาศที่ไหลผ่านหน้ายางเข้ามาสู่ล้อให้เกิดแรงฉุดด้านหลังน้อยที่สุดซึ่งซี่ล้อคือปัจจัยสำคัญที่มาเกี่ยวข้องทันทีกับกระแสอากาศที่ผ่านพ้นหน้ายางเข้ามา การศึกษาซี่ล้อเกือบท้้งหมดเป็นงานด้านวิศวกรรมโครงสร้างเป้นหลัก เพราะเชื่อกันมาตลอดว่าหน้าที่ของซี่ล้อคือการเป้นโครงสร้างและเป็นปัจจัยของความแข็งแรงของล้อซึ่งจะตามมาด้วยน้ำหนักและความแข็งแรง นักออกแบบเคยแต่หาความสมดุลย์ของสองข้อนี้มาตลอด จนเมื่อปลายยุคทศวรรษที่ 80s ถึงต้นยุค 90s นักออกแบบต้องคำนึงถึงปัจจัยใหม่ที่ทุกคนมุ่งความสนใจไปหา ซึ่งก็คือเรื่องของแอโรไดนามิคหรืออากาศพลศาสตร์นี้เอง การพัฒนาซี่ล้อเพื่อสมดุลย์เกณฑ์การออกแบบทั้งสามประการ ทำให้เกิดซี่ล้อแบบใบมีด หรือ ซี่แบบแบนขึ้นมา แรกเริ่มนั้นซี่แบบนี้มาจากการนำซี่ธรรมดาเข้าผ่านแรงดันจนได้รูปทรงแบน ซึ่งปัญหาก็คือการติดตั้งเข้ากับดุมล้อมาตรฐานที่ไม่ยอมรับซี่แบบพิเศษนี้ และรูปทรงที่ไม่เอื้อต่อการรับแรงนี้ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณโครงสร้างเข้าไปอันเป็นที่มาของน้ำหนักที่มากเกินไป

...การพัฒนาต่อมาจึงมาเป้นลักษณะซี่ล้อแบบรี ซึ่งแก้ปัญหาเบื้องต้นได้สำเร็จขาดแต่เรื่องน้ำหนักที่ยังคงมากเกินไป อย่างไรก็ดีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างซี่แบบแบนและวงรีนั้นพบว่า แบบแบนมีแอโรไดนามิคดีกว่าซี่กลม และซี่วงรีก็ดูจะมีความสามารถใกล้เคียงกับซี่แบบแบน ทว่าเมื่อทดสอบด้วยลมด้านข้างที่นักแข่งต้องเจอมากกว่าลมด้านหน้า พบว่าซี่แบบแบนเกิดกระแสลมหมุนเป็นแรงฉุดอยู่ที่อีกด้านหนึ่งของซี่คอยหน่วงการเคลื่นอที่ในขณะที่ซี่แบบวงรีมีกระแสอากาศนี้น้อยกว่ามาก ดังนั้นในปี 1998 Zipp จึงก้าวเข้าสู่การใช้ซี่ลวดแบบรีนี้แทน
กระทั่งปี 2002 Zipp เลือกใช้ซี่ล้อที่มาจากบริษัทเบลเยียมเล็กๆบริษัทหนึ่งที่พัฒนาซี่ล้อขื้นมาและเป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้งานของมืออาชีพ ครั้งหนึ่งที่วิศวกรของ Zipp เดินทางไปดูงานในยุโรป เขาพบว่ากว่า 7 ทีมชั้นนำในการแข่งขันแกรนด์ทัวร์ยอมจายเงินเพื่อซื้อซี่ล้อของบริษัทนี้ นำมาขึ้นล้อใหม่แทนที่จะใช้ล้อทั้งชุดจากผู้สนับสนุนของตนเอง มันคือซี่ล้อ Sapim CX-Ray ลวดแบบดับเบิลบัท รูปทรงถูกรีดให้มีหน้าตัดต่างกันตามด้วยการผ่านความร้อนเพื่อความแข็งแรงทางวัสดุศาสตร์ ที่ยืดอายุของมันออกไปมากกว่าซี่ปกติกว่าสองเท่า และสามารถสร้างแอโรไดนามิคที่ดีกว่าซี่แบบเดิมนิดหน่อย เมื่อข้อดีของซี่ล้อได้มาทั้งความลู่ลมบวกกับน้ำหนักที่เบาเช่นนี้ทำให้ Sapim กลายเป็นผู้ครองความเป็นสุดยอดของซี่ล้อไปโดยปริยาย

รูปภาพ
...ภาพด้านบนแสดงแรงฉุดทางด้านหลังที่ได้จากการคำนวนของคอมพิวเตอร์ที่ศึกษาจากสภาพความเร็ว 30 ไมล์ต่อชั่วโมง การคำนวนแสดงให้เห้นว่า แรงฉุดทางด้านหลังของซี่ล้อแบบกลมจะมีหน้าตัดของแรงกว้างเท่ากับแกนศูนย์กลางของซี่ล้อ และซี่ล้อแบบแบนซึ่งน่าจะแหวกอากาศได้ดีกลับมีแรงฉุดทางด้านหลังมากกว่าที่เกิดขึ้นบนซี่แบบรี เรายังได้ศึกษาต่อไปถึงปัจจัยของทิศทางกระแสอากาศเปรียบเทียบกับขอบล้อต่างๆของ Zipp รวมถึงคู่แข่งรายใหญ่จากอเมริกาและอิตาลี

รูปภาพ
...สิ่งแรกที่เห้นได้ชัดคือการพัฒนาที่ได้จากการเปลี่ยนจากซี่แบบใบมีดไปเป็นซี่แบบรีของล้อ 303 แบบเก่า ซึ่งล้อในยุคนั้นจะใช้จำนวนซี่ถึง 24 ซี่ และพัฒนามาเป้น 18 ซี่ ปัจจุบันจำนวนซี่และความสมบูรณ์ที่ได้จากซี่ CX-Ray คือ 20 ซี่ โดยที่มีน้ำหนักและความลู่ลมดีกว่าเดิมนิดหน่อยแต่ได้ความแข็งแรงมากกว่า หลังจากนั้น Zipp จึงลงทุนครั้งใหญ่เพื่อปรับเปลี่ยนการออกแบบและการผลิตขอบและดุมให้รองรับการใช้งานซี่ของ Sapim ให้ได้มากที่สุด แม้จะเป็นการลงทุนครั้งใหญ่แต่ผลลัพธ์ได้กลับมายิ่งใหญ่กว่า

...อีกสิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ ล้อซี่ล้อกลมธรรมดา 16 ซี่จะมีแอโรไดนามิคใกล้เคียงกับซี่ล้อแบบใบมีด(แบน) 18 ซี่ ซึ่งแนวคิดแรกเริ่มว่าซี่แบบแบนน่าจะมีความสามารถทางอากาศพลศาสตร์ที่ดีกว่ามาก ทั้งนี้เนื่องมาจากระยะห่างระหว่างซี่ลวดกลมไปตรงกับระยะคลาดเคลื่อนของอุโมงค์ลม ซึ่งอุโมงค์ลมนี้ถูกออกแบบพิเศษให้หมุนล้อในกระแสอากาศด้วยความเร็วที่กำหนดได้ จากนั้นจึงประเมินปริมาณวัตต์ที่ต้องใช้ในการหมุนล้อให้ได้ความเร็วคงที่ ดังนั้นการศึกษาเพื่อความมั่นใจจึงต้องอาศัยทั้งการนำค่ากำลังของการหมุนไปศึกษาคู่กับการศึกษาปริมาณอากาศที่หมุนวนเป็นแรงฉุดด้านหลังซี่ล้อ

และแผนภูมิด้านล่างนี้คือค่าที่ได้เมื่อประเมินด้วยวัตต์เป็นหลัก
รูปภาพ
...และสิ่งแรกที่น่าจะสังเกตุได้ชัดเจนอีกก็คือ กำลังที่ต้องใช้มากมายเพื่อหมุนล้อขอบ 46 มม. ใช้ซี่ลวดกลม ที่มากกว่าซี่แบบแบน ขอบเดียวกันอยู่กว่า 10 วัตต์ และยืนยันด้วยการทดสอบล้อ 303 ว่าซี่แบบวงรีก็มีแอโรไดนามิคมากกว่าซี่แบบแบนในทิศทางเดียวกัน รวมถึงพัฒนาการที่ได้มาจากการใชัซี่ Sapim CX-Ray เมื่อนำทั้งเรื่องของอากาศหมุนวนเป้นแรงฉุดและวัตต์ที่ใช้มาประเมินด้วยกันทั้งสองประการ ความต่างเพียงนิดจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญขึ้นมาทันที จากการทดสอบยังพบอีกว่า การที่ล้อคู่แข่งจากอิตาลีมีความต้องการวัตต์ที่น้อยกว่าล้อ 303 นั้นเป็นปัจจัยที่มาจากความยาวของซี่ที่สั้นกว่า(ขอบสูงกว่า) ดังั้นความยาวของซี่เองกลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการประเมินสมรรถนะของล้อ ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่าความสูงของขอบไม่ได้สำคัญเหนือไปว่ารูปร่างของขอบเสียทั้งหมด ในภาพทิศทางลมต่างๆขอบที่แตกต่างจะทำงานร่วมกับซี่ที่เหมาะสมส่งให้เกิดสมรรถนะที่ดีกว่าได้

...การทดสอบทั้งหมดนี้ทำให้ Zipp คำนึงว่าแม้แต่ขอบที่ได้รับการออกแบบและทดสอบมาอย่างดีที่สุด หรือขอบใดๆที่ดีที่สุดในโลก เมื่อนำมาประกอบกับการเลือกใช้ซี่ที่ไม่มีแอโรไดนามิคที่ดีก็จะทำให้ล้อนั้นหมดความสามารถลงไปมาก ในทางกลับการ การเลือกซี่ที่ดีที่สุดก็จะยิ่งทำให้ล้อนั้นแหวกอากาศไปได้ดีที่สุดโดยมีน้ำหนักเบาและความแข็งแรงเต็มที่ มากที่สุดเช่นกัน

และเมื่อเราศึกษาเรื่องของซี่ล้อ จึงต้องพูดถึงจำนวนของซี่ล้อที่เหมาะสม

...ตั้งแต่ผู้คนมั่งมั่นพัฒนาล้อแอโรไดนามิคอย่างเต็มที่ เกิดทฤษฏีและความเชื่อมากมาย หนึ่งในนั้นคือตั้งแต้ยุค 80s ผุ้คนเชื่อว่าจำนวนซี่ล้อยิ่งมากจะยิ่งทำให้ล้อนั้นมีความสามารถใกล้เคียงกับล้อดิสค์ อากาศจะถูกดันให้ผ่านออกจากแนวล้อออกไป ทว่าความเชื่อนี้ถูกลบไปอย่างรวดเร็วเมื่อพบว่าใครก็ตามที่ขี่ล้อ 48 ซี่จะต้องพยายามอย่างหนักที่จะตามคนที่ขี่ล้อ 28 ซี่ให้ได้ทัน จากนั้นมาจนยุค 90s มีข้อถกเถียงกันมากมายถึงจำนวนซี่ที่เหมาะสม รูปทรงที่ดีที่สุด และกระทั่งคำตอบว่าการซ่อน nipple กับไม่ซ่อนอะไรจะได้ผลดีกว่ากัน ซึ่งจากการศึกษาทางด้านฟิสิกส์และอากาศพลศาสตร์ของล้อจักรยานที่ทำโดยมหาวิทยาลัยเท็กซัส A&M LSWT ในเดือนมกราปี 2004 แสดงรายละเอียดต่างๆใว้มากมาย

จำนวนซี่ล้อ
...วิธีที่ง่ายและเด่นชัดที่สุดของการทดสอบเรื่องนี้คือการทดลองสร้างล้อต้นแบบเพื่อการศึกษาขึ้นมาศึกษาเปรียบเทรียบ สิ่งที่นักแข่งคำนึงถึงในการใช้ล้อจักรยานก็คือ
-ความแข็งแรงของล้อ
-ความ stiff ของล้อ
-ความทนทานของล้อ
-ความสามารถในการหมุนของล้อ
-แอโรไดนามิคของล้อ

...ความแข็งแรงทนทานนั้นคงไม่ยากที่จะสามารถอธิบายแยกแยะได้แต่สำหรับเรื่องแอโรไดนามิคและความ stiff นั้นอาจยากที่จะสามรถจำแนกออกมาเพื่อศึกษาได้ ต้องอาศัยการศึกษาเชิงปฏิบัติการ และผลการศึกษานั้นแสดงชัดเจนว่าทั้งความลู่ลมและความแข็งของล้อ ขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ล้อเป็นสำคัญ

รูปภาพ
...เข้าใจได้ไม่ยากนักว่าล้อจะยิ่ง stiff ขึ้นเมื่อเพิ่มจำนวนซี่ล้อเข้าไปมากขึ้น แต่เมื่อลองวิเคราะห์อย่างละเอียดจะพบว่าการเพิ่มซี่จาก 16 เป็น 20 ซี่ ก่อนให้เกิดความ stiff เพิ่มขึ้น 9.2% ในขณะที่การเพิ่มจาก 20 เป็น 24 ซี่จะเพิ่มความแข็งมาเพียง 7.5% และจาก 28 เป้น 32 ซี่จะกลับเพิ่มความแข็งเพียง 3.2% เมื่อคำนวนความแข็งแรงก็พบว่าล้อ 404 ทีมีซี่ 20 ซี่แข็งแรงกว่าล้อ 16 ซี่ 125% แต่ล้อ 32 ซี่กลับแข็งแรงกว่าล้อ 28 ซี่เพียง 118%

...แต่สิ่งหนึ่งที่กราฟไม่สามารถแสดงได้คือ"ความรู้สึก"ของนักกีฬาที่อาจมีน้ำหนักและรูปแบบการขี่แตกต่างกัน ซึ่ง Zipp ค้นพบว่าปริมาณซี่ล้อหน้าที่ยืดหยุ่นเหมาะสมคือ 18 ซี่ที่สามารถรองรับน้ำหนักของนักกีฬาขี่แบบไทม์ไทรอัลได้มากถึง 102 กิโลกรัมและนักกีฬาขี่แบบประเภทถนนได้มากถึง 90 กิโลกริม ทั้งนี้ล้อสำหรับรถถนนนั้นควรจะต้องสปรินท์ได้ดี,เข้าโค้งได้หนักแน่นมั่นคงในขณะที่ล้อสำหรับไตรกีฬาหรือไทม์ไทรอัลนั้นต้องมีการควบคุมที่ดีเยี่ยมรวมถึงความสะดวกสบายและการลู่ลมที่ดี นำกีฬาที่น้ำหนักตัวมากกว่าจะเหมาะกับล้อที่มีซี่มากกว่าเพื่อความ stiff ที่เพียงพอ ดังนั้น Zipp 404 ที่มีซี่มากกว่าจึงมีความ stiff มากกว่า ในทางกลับกันนักกีฬาที่ตัวเบาอาจต้องการสั่งล้อหน้าที่มีเพียง 16 ซี่ เพื่อลดน้ำหนักลงไปโดยไม่คำนึงถึงความ stiff (18 กรัม) สำหรับนักกีฬาที่นำหนักตัวเพียง 56 กิโ
ลกรัม จะแทบไม่รู้สึกถึงความต่างเลยแม้ล้อนั้นจะมีความ stiff ลดลงเกือบ 10%

...สำหรับล้อหลังนั้นจะต้องมีจำนวนซี่ที่มากกว่าเพื่อรองรับแรงด้านข้างที่มาจากน้ำหนักที่กดมากว่าล้อหน้าและการยึดแน่นของชุดขับเคลื่อนที่ต้องต้านแรงจากนักกีฬา รวมถึงทิศทางการพัฒนาระบบเฟืองที่มากขึ้นทำให้โครงสร้างของล้อหลังมีความพิเศษมากขึ้นไปอีก ยิ่งต้องการพื้นที่สำหรับชุดเฟืองมากขึ้นจะช่วยให้โครงสร้างล้อหลังแข็งแรงขึ้นไปด้วย ดังนั้น ล้อ Zipp 303 ที่มี 24 ซี่แบบใหม่จะมีความ stiff เท่ากับล้อเก่าที่มี 28 ซี่ในขณะที่ล้อ 404 จะลดความ stiff ลงนิดหน่อยเมื่อลดซี่จาก 24 มาเป็น 20 ซี่ แต่ด้วยระบบดุมทำให้ไม่สามารถใช้จำนวนซี่เป็น 22 ซี่ได้ ดังนั้นทางออกจึงใช้ซี่เท่าเดิมแต่ได้ความแข็งแรงมากขึ้น และลดน้ำหนักดุมลงมาชดเชย

...เหนือกว่าการลดน้ำหนัก การลดจำนวนซี่ล้อนั้นทำเพื่อแอโรไดนามิคเป็นหลัก จำนวนซี่พิเศษมักถูกสั่งสำหรับกรณีพิเศษเสมอ ทั้งนี้เราเชื่อว่าการลดจำนวนซี่ไม่ใช่วิธีที่ได้ผลชัดเจนเท่ากับการลดสัดส่วนของขอบและการออกแบบซี่ที่เหมาะสม เราจึงมีล้อหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ผสมร่วมกันได้แทน เราไม่ออกแบบสร้างล้อที่มีซี่น้อยกว่า 16 ซี่ ซึ่งเป็นจุดสมดุลย์ที่สุดระหว่างความลู่ลมและความ stiff และไม่มีความล้าสะสมลดทอนอายุของซี่ลง และซี่ 16 ซี่นี้ก็คือจำนวนซี่ที่น้อยที่สุดที่สามารถขี่ต่อไปได้แม้จะมีซี่หักไปแล้ว 1 อัน เพราะแม้ว่าล้อจะดีและเบาเพียงใด หากนักกีฬาไม่สามารถจบการปั่นได้เพราะล้อซี่หักจนไม่สามารถใช้งานได้อีกก็ไม่มีประโยชน์

...พอจะสรุปได้ว่าการเปลี่ยนจำนวนซี่ล้อนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลย เราอาจสรุปได้ว่าการเปลี่ยนจากซี่ธรรมดา 32 ซี่มาเป็นซี่แบบรี 32 ซี่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่มากมายในด้านกำลังวัตต์ อาจจะถึง 10 วัตต์ก็เป็นไปได้ แต่หากเปลี่ยนมาเป็นซี่แบบรี 18-20 ซี่ อาจได้ผลต่างมากกว่า 20 วัตต์ซึ่งมีค่ามากอย่างยิ่งในการแข่งขัน อย่างไรก็ดีในการศึกษาล้อ 404 พบว่าแม้จะลดจำนวนซี่ลงไปจาก 18 เป็น 16 ซี่กลับพบว่าส่งผลต่อกำลังเพียง 1-5 วัตต์ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของกระแสอากาศเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรที่ต้องนำมาวิเคราะห์เมื่อพบว่าความ stiff ก็มีส่วนสำคัญ

...เราเชื่อเสมอว่านักกีฬาทุกคนมีความพิเศษเฉพาะตัว และการเปลี่ยนแปลงเพียงน้อยนิดเองอาจส่งผลต่างในการแข่งขันก็เป็นได้แต่ก็ต้องแลกมาด้วยบางอย่างที่ทดแทนกัน ซี่ที่น้อยกว่าหมายถึงความ stiff ที่หายไปและอายุการใช้งานที่สั้นลงมากในขณะที่ซี่ที่มากขึ้นจะทำให้นักกีฬาสามารถออกแรงได้เต็มที่และใช้งานผ่านถนนที่ขรุขระไปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าซี่ล้อจะหักง่ายๆ แม้กระนั้นก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่เราออกสู่ตลาดพื้นฐานแบบไม่มีการสั่งพิเศษก็สามารถรองรับความต้องการของนักกีฬาได้มากกว่า 95% เราจึงไม่ใช่บริษัทที่สามารถสั่งทำสิ่งใดก็ได้ตามต้องการแม้จะรู้ว่าสิ่งนั้นอาจมีผลกระทบที่ไม่ดีกับผลิตภัณฑ์ ล้อทุกชนิดประกอบจากขอบล้อ ซี่ล้อ และดุมล้อที่ต้องได้รับการคำนวนมาอย่างดี หากลูกค้าต้องการล้อเพื่อสนองความต้องการที่เฉพาะตัว เพียงติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของ Zipp เจ้าหน้าที่จะสามารถแนะนำการเลือกใช้ล้อ Zipp ที่มีอยู่หรือให้คำปรึกษาในการสั่งประกอบล้อใหม่เฉพาะบุคคลที่คำนวนอย่างสมบูรณ์แล้วได้


(มาต่อวันพรุ่งนี้ครับ) :P
โปรโมชั่น “เก่าเทิร์นใหม่ รับเพิ่มสูงสุด10,000 บาท(1-31ก.ค.53) ---> http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 1&t=201524
รูปประจำตัวสมาชิก
LUFT_KUNG
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 673
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2008, 09:04
Tel: 0870264100
team: ไม่ีมีครับ
Bike: TOZZ

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย LUFT_KUNG »

มีรุ่นไหนเข้ามาบ้างครับ ราคาคร่าวๆ ประมาณเท่าไหร่ มั่งครับในแต่ละรุ่น ขอบคุณมากครับ
เณรแอร์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2798
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 01:57
team: โรงพยาบาลสกลนคร
Bike: MOSSO
ตำแหน่ง: ร.พ.สกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ติดต่อ:

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย เณรแอร์ »

รองเท้า MTB รุ่น sport#42 มีมาแจ้งด้วยเน้อ :oops: :cry:
083-3502758เณรแอร์
เณรแอร์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2798
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 01:57
team: โรงพยาบาลสกลนคร
Bike: MOSSO
ตำแหน่ง: ร.พ.สกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ติดต่อ:

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย เณรแอร์ »

:cry: :cry: :cry:
ไฟล์แนบ
sport#42
sport#42
6118-41_l (Custom).jpg (14.87 KiB) เข้าดูแล้ว 12489 ครั้ง
เณรแอร์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2798
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 01:57
team: โรงพยาบาลสกลนคร
Bike: MOSSO
ตำแหน่ง: ร.พ.สกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ติดต่อ:

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย เณรแอร์ »

รออยู่(อุตส่าห์ไม่ซื้อของcoppy) :cry: :cry:
:ugeek: :ugeek: :ugeek:
tapapnam
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 61
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 16:12
Tel: 0866004463
Bike: trek

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย tapapnam »

ราคาเท่าไหร่คับ ลงราคาไว้ที จะได้เกบเงินรอ อันนี้สำคัญ เด๋วเกบเงินไม่ทัน ของหมดอีก รอนานเลยทีนี้
รูปประจำตัวสมาชิก
Mido&Haro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 661
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 20:18
Tel: 086-9115751
team: -----------------------
Bike: GT ----- LOUIS GARNEAU

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Mido&Haro »

ถ้ามาจริงๆ ได้มีเลือดใหลกัน ซิบๆ แน่
จัง คนขี้ลักขี้จก

...วิถีคนกล้า...
รูปประจำตัวสมาชิก
เฟือง8
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 863
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 15:30
Tel: 081-5703807
team: Suphanblood/2Brothers
Bike: Giant

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย เฟือง8 »

Mido&Haro เขียน:ถ้ามาจริงๆ ได้มีเลือดใหลกัน ซิบๆ แน่
404 เลยครับเฮีย :mrgreen:
เส้นชัยไม่มาต้องไปหามัน รางวัลมีไว้ให้คนตั้งใจ ขวากหนามทิ่มเเทงก็ผ่านพ้นไป โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาง่ายดาย...
รูปประจำตัวสมาชิก
Sport Bicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2044
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 18:52
Tel: 02-637-5000 ต่อ257
team: www.sportbicycle.co.th
Bike: Specialized , Colnago , Zipp , Controltech , Skorpion , FFWD , GEO

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Sport Bicycle »

รองเท้า MTB รุ่น sport#42 มีมาแจ้งด้วยเน้อ 083-3502758เณรแอร์
...รับทราบครับ ต้นเดือนมาแน่นอน :P
ราคาเท่าไหร่คับ ลงราคาไว้ที จะได้เกบเงินรอ อันนี้สำคัญ เด๋วเกบเงินไม่ทัน ของหมดอีก รอนานเลยที
เดี๋ยวลงอีกทีครับพี่tapapnam ราคาคงไม่หนีจากปี08 ของมาต้นเดือน ส่วนรุ่นเข้ามาทุกรุ่นให้เลือกได้เหมาะสมการใช้งาน กระทู้นี้ขอลงเทคโนโลยีก่อนนะครับ
โปรโมชั่น “เก่าเทิร์นใหม่ รับเพิ่มสูงสุด10,000 บาท(1-31ก.ค.53) ---> http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 1&t=201524
รูปประจำตัวสมาชิก
Sport Bicycle
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2044
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 18:52
Tel: 02-637-5000 ต่อ257
team: www.sportbicycle.co.th
Bike: Specialized , Colnago , Zipp , Controltech , Skorpion , FFWD , GEO

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย Sport Bicycle »

มาดูข้อมูลกันต่อครับ :P

Composite Technology
...หากประสบการณ์ 20 ปีในแวดวงคาร์บอนคอมโพสิทจะให้อะไรซักอย่างกับ Zipp มันก็คงเป็นบทเรียนที่ว่าแอโรไดนามิคไม่ได้มาควบคู่ไปกับความแข็งแรง ทนาน และ ความสบายเสมอไป ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยี VCLC, M2CM และ Carbon Bridge ภายในล้อ Zipp ขึ้นมา

Carbon Bridge
เทคโนโลยีเพื่อความแข็งแกร่งและซึมซับแรงสะเทือน
...Zipp เพิ่มความแข็งแรงของขอบด้านนอกของโครงสร้างล้อด้วยการใช้เคฟลาร์แบบหลากทิศทางติดตั้งลงไปเป็นโครงสร้างที่ขอบของล้อ เพื่อเป็นการกระจายแรงกระแทกที่กระทำกับล้อ ประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม 28-50% ขึ้นอยู่กับชนิดของขอบ โครงสร้างนี้เองที่ทำให้ล้อมี lateral stiffness หรือความแข็งในแนวระนาบที่เพิ่มขึ้น
รูปภาพ

...เคฟลาร์มีความ stiff เป็น 1 ใน 3 ของคาร์บอนแต่มีความแข็งแรงเทียบกับเหล็กกล้าที่มีน้ำหนักเท่ากันมากกว่าถึง 7 เท่าพร้อมด้วยความสามารถในการรับแรงเฉือนมากกว่า 3.5 เท่า(เหตุนี้เองทำให้เคฟลาร์เป็นวัสดุสำหรับทำเสือเกราะกันกระสุน) ดังนั้นโครงสร้างเคฟลาร์ที่ขอบจะช่วยให้แรงกระแทกกระจายไปบนโครงสร้างผนังคาร์บอนโดยไม่สะสมทำลายโครงสร้างคาร์บอน ดังนั้นเราสามารถออกแบบโครงสร้างผนังให้บางลงโดยที่ยังคงความแข็งแรงเท่าเดิม นั่นคือเคล็ดลับในการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

...เฉกเช่นเดียวกับหลังคาโค้งแบบโรมันที่สามารถกระจายน้ำหนักได้ดีสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมได้สูงและมีรูปทรงที่หลากหลายมากขึ้น คาร์บอนและเคฟลาร์ของ Zipp ก็ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างซึ่งกันและกัน โดยการเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่มันสมควรจะอยู่เพื่อให้มันทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีที่สุด ด้วยรูปทรงเฉพาะตัวทำให้ Zipp ก้าวขึ้นเป็นผู้นำล้ำหน้าในการออกแบบขอบล้อทันที

แผนภูมินี้แสดงพัฒนาการของการรับแรงกระแทกของล้อ Zipp ที่ได้รับการพัฒนาระบบโครงสร้าง Carbon Bridge
รูปภาพ

Multi-Material Co-Molding หรือ M2CM
...รูปทรงของขอบล้อ Zipp เป็นรูปทรงที่จัดว่าแหวกอากาศไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด ในขณะเดียวกันนั้น เทคโนโลยี M2CM ก็ทำให้ขอบล้อมีความแข็งแรงทนทานเข้าใกล้คำว่ายั่งยืนของขอบล้ออลูมินั่ม ด้วยการผสมผสานขอบล้อแบบอลูมินั่มเข้ากับขอบแบบคาร์บอนที่ลู่ลม เป็นเคล็ดลับของขอบล้อแอโรแบบยางงัดที่ไร้เทียมทานของ Zipp

...ความแข็งแรงได้มาจากการติดตั้งขอบอลูมินั่มพิเศษน้ำหนักเบา 200 กรัมเข้ากับขอบล้อคาร์บอนอย่างแข็งแรง ซึ่งโครงสร้างคาร์บอนจะกลายเป็นตัวกระจายแรงกระแทกเมื่อขอบอลูมินั่มต้องรับแรง นี่เองทำให้ขอบแบบยางงัดของ Zipp เป็นล้อที่ทนทานยิ่งกว่าล้อคาร์บอนหรือแม้แต่ล้ออลูมินั่มทั่วไป ล้อแบบนี้ยังรวมเอาความมั่นคงในการแบรคแบบอลูมินั่มและความนุ่มนวลลู่ลมของล้อคาร์บอนเข้าด้วยกัน

...ด้วย M2CM ล้อยางงัดของ Zipp เป็นหนึ่งในล้อที่แข็งแรงที่สุดในโลก ขอบ 404 ยางงัดสามารถทนการใช้งานแบบออฟโร้ดได้มากกว่า 16,000 กิโลเมตร(ทั้งนี้เราไม่แนะนำให้ผุ้ใช้นำไปใช้งานแบบนี้) และ 808 ยางงัดเองอยู่เหนือกว่ามาตรฐานการทดสอบแรงกระแทกของทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปอยู่มากมาย

Visco-Elastic Constrained Layer Control หรือ VCLC
...เมื่อเราพูดว่า "Zipp คือล้อที่เร็วที่สุด" เราไม่ได้พูดจากการทดลองในอุโมงค์ลมแต่เราพูดจากการทดสอบจริงบนถนน ซึ่งรวมไปถึงบนเส้นทางที่ขรุขระ, หลุมบ่อ และการเข้าโค้ง เราพัฒนาเทคโนโลยี VCLC ของเราขึ้นมาเพื่อลดความเปราะบางและสร้างการควบคุมที่มั่นคง

...นั่นแปลว่าล้อ Zipp จะเกาะถนนแนบติดยามเข้าโค้งด้วยความเร็วสุงและลดแรงสั่นสะเทือนจากพื้นถนนขึ้นมาสู่ตัวเฟรมเพื่อลดความล้าและคงให้นักกีฬาสามารถใช้ความเร็วสูงที่สุดต่อไปได้

Woving Carbon vs Unidirectional
...เมื่อเส้นใยแบบถักผสานเข้าด้วยโครงสร้างแบบหลากทิศทาง โครงสร้างเส้นใยแบบถักเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบคาร์บอนไฟเบอร์มานานแสนนาน แต่มันไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป เรายอมรับในกรณีของความแข็งแรง คงทนและความสามารถทางด้านโครงสร้างของโครงสร้างแบบพักของเส้นใย แต่ด้วยการพัฒนาการของวัสดุศาสตร์และการออกแบบโครงสร้าง ทำให้นักออกแบบของ Zipp ก้าวสู่หนทางใหม่ เดิมทีโครงสร้างคาร์บอนที่ถูกถักทอขึ้นจะเป็นผิวนอกของโครงสร้างคาร์บอนทั่วไป เป็นการเสริมความแข็งแกร่งได้อย่างดีเยี่ยม ปัจจุบันนี้ โครงสร้างแบบเส้นใยถักนี้คงเหลือความจำเป็นในเฉพาะจุดที่มีเอกลักษณ์แบบนั้นจริงๆเท่านั้น ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ล้อ Zipp ที่แข็งแรงเท่าเดิม, ล้อ Zipp ที่คงทนเท่าเดิม และ ล้อ Zipp ที่"เบากว่าเดิม" พร้อมด้วยความ stiff ที่"มากกว่าเดิม"

Uni-directional fiber
...เส้นใยแบบหลากทิศทางหรือ"UNI" นี้เกิดขึ้นจากพื้นฐานการทำงานของนักออกแบบและทีมงานที่จะวิเคราะห์แนวแรงของแรงที่กระทำกับโครงสร้างคาร์บอนของล้อ Zipp ซึ่งเป้นการยากที่จะสามารถหาแนวแรงบนวงล้อใดๆได้อย่างชัดเจน ดังนั้นแนวคิดใหม่จึงเกิดขึ้นด้วยการใช้แนวโครงสร้างเชิงรัศมีตามวงโค้งของขอบล้อ จากการคิดค้นนี้เอง ลำพังเฉพาะโครงสร้างอย่างเดียว ล้อต้นแบบก็สามารถรับแรงได้ถึง 85% ของล้อยุคเก่าที่ประกอบสำเร็จแล้ว ประกอบด้วยการเพิ่มโครงสร้างคาร์บอนในหลากทิศทางเพื่อรับแรงที่มากระทำจากทิศทางอื่น ซึ่งเทคนิคนี้ช่วยลดแรงสั่นจากถนนมาสู่ตัวรถได้มากกว่าเดิมอีกด้วย ด้วยแนวคิดนี้ทีมงานวิจัยและพัฒนาของ Zipp ใช้เวลาศึกษาหาข้อสรุปของแนวแรงที่สมบูรณ์แบบอย่างจริงจังเพื่อหาตำแหน่งและรูปแบบที่เหมาะของโครงสร้างในแต่ละส่วน

Woven fiber
...ความนิยมของลักษณะเส้นใยแบบนี้ในโลกของเทคโนโลยีอวกาศ, การแข่งรถชั้นนำ และ การแข่งจักรยานอาชีพเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของวัสดุชิ้นนี้เป็นอย่างดี โครงสร้างนี้ประกอบจากการประสานกันของเส้นใยมากกว่า 2 แนวแรงทำให้สามารถรับแรงได้หลากหลายแนวมากที่สุด และข้อดีที่สุดของลักษณะเส้นใยแบบนี้ก็คือ เมื่อมันได้รับแรงกระแทก ณ. จุดเดียวมากจนถึงจุดวิกฤติ จนเกิดความเสียหายกับโครงสร้างเส้นใย ความเสียหายจะจำกัดอยู่เฉพาะจุดเล็กๆไม่ลุกลามออกไปทั่วเหมือนโลหะ และยังคงความแข็งแรงอยู๋ตลอดความยาวทั้งเส้นนั้น อาศัยชั้นเรซิ่นที่เคลือบหรือแนวเส้นอื่นๆที่ซ้อนกันอยู่เหมือนแซนวิชเป็นตัวยึดเอาใว้ ซึ่งจุดนี้นี่เองที่ทำให้ระบบโครงสร้างแบบนี้ยังคงมีจุดเด่นกว่า UNI อยู่ เราจึงเลือกใช้โครงสร้างแบบถักทอนี้ในตำแหน่งที่รองรับยางและขอบนอกของวงล้อ ซึ่งเป็นจุดที่มักจะได้รับแรงกระแทกเป็นส่วนแรก

ผลลัพธ์ที่ได้
...โครงสร้างแบบ UNI ถูกนำไปใช้ในการออกแบบโครงสร้างโดยรวมที่ต้องรับแรงดึงและแรงอัดของล้อโดยที่มีความแข็งแรงเทียบเท่าปกติและมีความเบาที่สุด ร่วมกับโครงสร้างแบบเส้นใยถักที่ถูกใช้ในส่วนสำคัญๆที่ต้องรับแรงกระแทกหรือแรงเฉือน วัสดุบริเวณขอบที่รับยางเบรคยังมีการใช้เส้นใยซิลิก้าและเซรามิคส์ทอเข้ากับเส้นใยคาร์บอนเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงอัดที่มากขึ้นจากการเบรค แนวคิดในการออกแบบทั้งหมดนี้สร้างนิยามใหม่ให้กับอัตราส่วนระหว่างความแข็งแรงและน้ำหนักของล้อคาร์บอนแอโรไดนามิค

(ติดตามตอนต่อไปในกระทู้นี้ครับ) :P
โปรโมชั่น “เก่าเทิร์นใหม่ รับเพิ่มสูงสุด10,000 บาท(1-31ก.ค.53) ---> http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 1&t=201524
kasareewa
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 100
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2008, 16:00
Tel: 0819377930
team: Sawasdee hotel - Bike station - RAMA9
Bike: BMC SLR01

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย kasareewa »

รบกวนสอบถามครับ Tarmac Expert สิ้นเดือนนี้จะมามั้ยครับ
The Sprinter Wanna Be
รูปประจำตัวสมาชิก
joe cr1
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 436
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 09:50
Tel: 0801340748
team: phrae
Bike: scott

Re: ++ภาค20 ...เตรียมพบกับZIPP ต้นเดือนส.ค.52++

โพสต์ โดย joe cr1 »

เรื่องล้อจบไป ขอถามเรื่องเฟรม sl2 จะมาเมื่อไหร่ครับ แล้วถ้าอีก 2หรือ 3 เดือนจะมามันจะเป็นปี 2010 เลยหรือเปล่าครับ ช่วยตอบด้วยนะครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “รวมสินค้าใหม่(กระทู้เดิม)”